วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2563

จีนกับบทบาทผู้นำด้านการพัฒนา Quantum Computer ของโลก




Credit: thehackernews.com

  • จีนประสบความสำเร็จส่งดาวเทียมสื่อสาร Quantum ขึ้นสู่อวกาศเป็นรายแรกของโลก
จีนเป็นประเทศแรกของโลกที่ได้มีการส่งดาวเทียมควอนตัมขึ้นสู่อวกาศ เพื่อทดลองการสร้างเครือข่ายการสื่อสารเชิงควอนตัม โดยเป็นการทดลองรับ-ส่งข้อมูลผ่านดาวเทียม ที่จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ภาคพื้นดินกับดาวเทียม(รวมทั้งดาวเทียมกับดาวเทียมด้วยกัน) ด้วยระบบควอนตัมซึ่งจะเป็นระบบเครือข่ายการสื่อสารที่รวดเร็วมากกว่าความเร็วเสียง และมีความปลอดภัยสูงสุด ที่เหล่าแฮกเกอร์จะไม่สามารถดักฟัง หรือโจรกรรมข้อมูลได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลในการรับส่งข้อมูลที่เป็นความลับ เช่น การรับส่งข้อมูลต่างๆ ของหน่วยงานรัฐบาล ทหาร และอื่นๆ นับเป็นความสำเร็จก้าวสำคัญของประเทศจีนที่ก้าวล้ำนำชาติอื่นๆ ทั้งด้านเทคโนโลยีและด้านความมั่นคงทางไซเบอร์



ผลักดันแผนงานที่ชัดเจน ด้วยเม็ดเงินลงทุนมหาศาล พร้อมบุคลากรชั้นนำระดับโลก 
การสนับสนุนด้าน Quantum Computing ของประเทศจีน มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ทั้งการวางแผนงานที่ชัดเจน การทุ่มทรัพยากรที่เหมาะสม รวมถึงการดึงบุคลากรชั้นนำระดับโลกมาเป็นผู้ขับเคลื่อนหลักในการพัฒนาด้านนี้ โดยสามารถแบ่งรายละเอียดได้ดังนี้
  • ยกการพัฒนา Quantum Computing เป็นแผนงาน “ยุทธศาสตร์พัฒนาเทคโนโลยีของชาติ”
ในแผนงาน “โครงการนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งปี 2030” นอกจากเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่เราได้พูดถึงเมื่อครั้งก่อนแล้ว (อ่าน Blog เรื่องปัญญาประดิษฐ์ในประเทศจีนได้ที่นี่) จีนยังได้ระบุถึงการพัฒนาเทคโนโลยี Quantum Computing ไว้ในแผน โดยเน้นการวิจัยและค้นคว้าความรู้พื้นฐานของเทคโนโลยีนี้เป็นหลัก เพื่อรองรับการต่อยอดใช้งานในอนาคต
  • ลงทุนด้วยงบประมาณมหาศาลสร้างforbes.com โดยเฉพาะ
การวางแผนค้นคว้าจะเกิดขึ้นได้ต้องมีการสนับสนุนทรัพยากรที่เหมาะสม ซึ่งรัฐบาลจีนได้ประกาศลงทุน 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อตั้งศูนย์ทดลองด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลควอนตัมแห่งชาติ (National Laboratory for Quantum Information Science) ณ เมืองอันฮุย ซึ่งเป็นเมืองที่รัฐบาลวางให้เป็นศูนย์กลางด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศ โดยศูนย์นี้มีกำหนดเปิดภายในปี 2020 
ตัวเลขดังกล่าวเมื่อเทียบกับนานาชาตินั้น ถือว่าสูงมาก เพราะปัจจุบันบริษัทสหรัฐฯ ลงทุนด้านการค้นคว้าเทคโนโลยีนี้คิดเป็นเงินรวมกันเพียง 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น
  • นำทีมพัฒนาโดยบุคลากรชั้นนำระดับโลก
บุคลากรเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนงานวิจัย ซึ่งจีนได้แต่งตั้งนักฟิสิกส์ชื่อว่า Pan JianWei เป็นหัวหน้าทีมพัฒนา Quantum Computing โดย Pan JianWei ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 10 นักวิทยาศาสตร์ที่ทรงอิทธิพลแห่งปี 2017 จากนิตยสาร Nature พร้อมกับได้รับฉายาว่าเป็น บิดาแห่งควอนตัม (Father of Quantum) ในปัจจุบันอีกด้วย
ผลงานด้าน Quantum Computing ที่เป็นรูปธรรมจากฝีมือนักวิจัยชาวจีน
นอกจากการสนับสนุนด้านนโยบาย ทรัพยากร และบุคลากรแล้ว ประเทศจีนยังแสดงผลงานด้าน Quantum Computing ให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจดังนี้


นักวิจัยจีนครองสถิติการสร้าง Quantum Computer ที่เร็วที่สุดในโลก
เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2018 นักฟิสิกต์จากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน นำโดย Pan JianWei ได้ประกาศความสำเร็จในการสร้าง Quantum Computer ที่มีจำนวนหน่วยประมวลผล Quantum ที่ 18 Qubit มากกว่าสถิติเดิมที่มีจำนวนหน่วยประมวลผล Quantum ที่ 10 Qubit นับได้ว่าเป็นผลงานของ Pan JianWei และทีมที่สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการ Quantum Computing ได้เมื่อปี 2017
  • “Quantum Radar”- ปฏิวัตการใช้เรดาร์แบบเดิมๆ ด้วยพื้นฐานเทคโนโลยี Quantum
ปัจจุบัน เรายังคงใช้เรดาร์สำหรับการระบุตำแหน่งของอากาศยานเพื่อประโยชน์ในการจัดการจราจร แต่ระบบนี้มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถตรวจจับบางพื้นผิวได้ ทำให้เกิดเครื่องบินบางชนิดที่สามารถหลบเลี่ยงเรดาร์ได้ ด้วยเหตุนี้ จึงมีการพัฒนาเรดาร์แบบใหม่ที่ใช้พื้นฐานจากเทคโนโลยีควอนตัม เรียกว่า Quantum Radar ด้วยหลักการ Entangled Particle ที่ตรวจจับความเปลี่ยนแปลงขั้นอนุภาคที่เล็กที่สุด ซึ่งจีนได้ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้เมื่อปี 2016


จะเห็นได้ว่าจากการบ่มเพาะปัจจัยที่พร้อมทุกด้านของจีน ทำให้การพัฒนาต่างๆ เกิดผลด้านการใช้งานที่ชัดเจน นำไปสู่นวัตกรรมที่แพร่หลายในอนาคต โดยประเทศจีนยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่น่าสนใจอีกมาก ซึ่ง Digital Ventures จะนำมาเสนอในโอกาสต่อไป

ขอบคุณที่มาของข้อมูลจาก cgtn.com และ futurism.com
แหล่งข้อมูล  http://dv.co.th/blog-th/china-quantum-computer/