วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Teach Less Learn More ตอน 6 : วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์


วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ 
"ครูเพื่อศิษย์" 


การเรียนรู้ที่แท้จริง
อยู่ในโลกจริงหรือชีวิตจริง
การเรียนวิชาในห้องเรียน
ยังเป็นการเรียนแบบสมมติ
“ดังนั้นครูเพื่อศิษย์จึงต้องออกแบบ
การเรียนรู้ให้ศิษย์” ได้เรียนในสภาพที่
ใกล้เคียงชีวิตจริงที่สุด

********************

จงอย่าชมความสามารถ
ให้ชมความมานะพยายาม
เพื่อทำให้สิ่งที่มีคุณค่าคือ
ความมานะพยายาม
ความสำเร็จที่ได้มาจาก
ความบากบั่นเอาชนะอุปสรรค
จงอย่าชื่นชมความสำเร็จที่ได้มาโดยง่าย

*******************
ภาค ๕ เรื่องเล่าตามบริบท : 
จับความจากยอดครูมาฝากครูเพื่อศิษย์
เรื่องเล่าของครูฝรั่ง
จับความจาก Teaching Outside the Box : How to
Grab Your Students by Their Brains เขียนโดย
LouAnne Johnson
เตรียมทำการบ้านเพื่อการเป็นครู
 ให้ได้ความไว้วางใจจากศิษย์
สอนศิษย์กับสอนหลักสูตร แตกต่างกัน
ถ้อยคำที่ก้องอยู่ในหูเด็ก
เตรียมตัว เตรียมตัว และเตรียมตัว
จัดเอกสารและเตรียมตนเอง
ทำสัปดาห์แรกให้เป็นสัปดาห์แห่งความประทับใจ
เตรียมพร้อมรับ “การทดสอบครู” 
และสร้างความพึงใจแก่ศิษย์
 วินัยไม่ใช่สิ่งน่ารังเกียจ
 สร้างนิสัยรักเรียน
การอ่าน
 ศิราณีตอบปัญหาครูและนักเรียน
 ประหยัดเวลาและพลังงาน
ยี่สิบปีจากนี้ไป

*************************************

น้อมกราบครูผู้สอนศิษย์..ศ.ดร.วิจารณ์ พานิช

พบกับเนื้อหาเต็มๆได้ค่ะ..ทีนี่

เชิญดาวน์โหลด e-book 

วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษ ที่ ๒๑ 



วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Teach Less Learn More ตอน 5 : กรอบคิดของการสอนน้อย,เรียนรู้มาก


ที่มาของแนวคิด Teach Less, Learn More
แนวคิด Teach Less, Learn More (TLLM)เป็นแนวคิดการจัดการศึกษาของประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ภายใต้วิสัยทัศน์ในการพัฒนาระบบการศึกษาที่กล่าวว่า Thinking Schools, Learning Nation(TSLN) ซึ่งต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการศึกษาเพื่อการ     จัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งThinking Schools เป็นวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้โรงเรียนทุกโรงเรียนจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นนักคิด ส่วน Learning Nation เป็นวิสัยทัศน์ของการเรียนรู้ที่ต้องการให้ผู้เรียนมีความรู้ที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับนวัตกรรมและความสามารถในกาiสร้างสรรค์เพื่อำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง 
นอกจากนี้แนวคิด Teach Less,Learn More (TLLM) ยังมุ่งเน้นประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนที่ดีขึ้นและเป็นการเตรียมความพร้อมในการใช้ชีวิตของผู้เรียน ซึ่งต้องการเปลี่ยนจากการจัดการศึกษาในเชิงปริมาณไปสู่การจัดการศึกษาในเชิงคุณภาพ คือต้องการเพิ่มการจัดการศึกษาในเชิงคุณภาพและลดกาiจัดการศึกษาในเชิงปริมาณซึ่งการเพิ่มการจัดการศึกษาในเชิงคุณภาพ คือ การเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดของตนเอง ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการใช้แนวการสอนหรือวิธีสอนที่มีประสิทธิภาพเพื่อท ให้ผู้เรียนประสบผลสเร็จทางการเรียนรู้ ส่วนการลดการจัดการศึกษา ในเชิงปริมาณ คือ การลดบทบาทของครูจากผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้นำ กระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ การลดการเรียนรู้โดยการท่องจำ การสอบ และการหาคำตอบ

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สนับสนุนแนวคิด Teach Less, Learn More
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สนับสนุนแนวคิด Teach Less, Learn More ได้แก่ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist) เป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับตัวผู้เรียน เชื่อว่าผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ ได้ด้วยตนเอง จากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อมอย่างกระตือรือร้น

กรอบแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
1. ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง และผู้เรียนแต่ละคนสร้างความรู้ด้วยวิธีการที่แตกต่างกันรวมทั้งอาจแตกต่างกับแนวทางของผู้สอน
2.ประสบการณ์เดิมของผู้เรียนเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการสร้างความรู้ใหม๋และผู้เรียนแต่ละคนมีความรู้และประสบการณ์เดิมที่แตกต่างกัน
3. การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม การมีประสบการณ์ตรง และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันของผู้เรียนมีส่วนช่วยในการสร้างความรู้ใหม่
4. ครูมีบทบาทในการจัดบริบทการเรียนรู้ตั้งคำถามที่ท้าทายความสามารถ กระตุ้นสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการสร้างความรู้ และให้ความช่วยเหลือผู้เรียนในทุกๆด้าน

สมมติฐานของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
     ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ มีสมมติฐานเกี่ยวกับการสร้างความรู้ของผู้เรียน (อัมพร  ม้าคนอง , 2546:6-7) ดังนี้
1. มนุษย์สร้างความรู้ผ่านกิจกรรมการไตร่ตรอง การสื่อสาร และการอภิปราย ซึ่งทำให้พวกเขาสร้างประสบการณ์ในการแก้ปัญหา โดยมีแผนภาพโมเดลการเพิ่มพลัง   การเรียนรู้ของผู้เรียน ในการอธิบายความอยากรู้อยากเห็นการมีปฏิสัมพันธ์ ความขัดแย้ง การไตร่ตรอง การจัดโครงสร้างใหม่ การสร้างพลังกับเพื่อน ทางปัญญา การเรียนรู้
  1.1 ความอยากรู้อยากเห็น และความขัดแย้งเป็นกลไกสำคัญในการกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียน
  1.2 การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเป็นองค์ประกอบที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา
  1.3 ความขัดแย้งทางปัญญานำมาซึ่งการไตร่ตรอง
  1.4 การไตร่ตรองกระตุ้นให้เกิดการจัดโครงสร้างใหม่ทางปัญญา
  1.5 ข้อ 1.1 ถึง 1.4 เกิดเป็นวงจร โดยประสบการณ์ของผู้เรียนมีผลต่อการเกิดของวงจรและวงจรนี้เองที่ทำให้ผู้เรียนสามารถสร้างพลังการเรียนรู้ให้กับตนเอง
2.การสร้างความรู้ของผู้เรียนแต่ละคนแตกต่างกันและต่างจากที่ผู้สอนคาดหวังผู้สอนต้องยอมรับและจัดการที่จะสนับสนุนสิ่งที่ผู้เรียนคิด
3. องค์ประกอบสำคัญในการจัดการเรียนรู้ มีดังนี้
 3.1 การรวบรวมสิ่งที่ผู้เรียนสร้างขึ้นให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง
 3.2 การสร้างแรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างความรู้
 3.3 การวิเคราะห์ความคิดของผู้เรียนในกระบวนการเรียนการสอน
จากที่กล่าวมา พบว่า แนวคิด Teach Less, Learn More เป็นแนวคิดในการจัดการเรียนรู้ที่อยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เน้นให้ผู้เรียนได้คิดและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น โดยครูมีบทบาทมีเพียงส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดและเกิดการสร้างองค์ความรู้

บทบาทของผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Teach Less, Learn More
ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Teach Less, Learn More ผู้สอนต้องสอนให้น้อยลงหรือ Teach Less แต่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากขึ้นหรือ Learn More นั่นคือผู้สอนต้องกระตุ้นให้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งบทบาทการสอนของผู้สอนแม้จะน้อยลง แต่บทบาทที่เพิ่มมากขึ้นของผู้สอน คือ ผู้สอนต้องมีการวางแผนและออกแบบกิจกรรมเรียนการสอน เตรียมสื่อและแหล่งเรียนรู้ และเตรียมคำถามที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด TL, LM ผู้สอนต้องคำนึงถึงคำถาม  3       คำถาม ได้แก่
1.ทำไมต้องสอน ?
2.สอนอะไร ?
3. สอนอย่างไร ?


รายละเอียดของทั้ง3 คำถามสรุปเป็นประเด็นที่ผู้สอนควรคำนึงถึง
ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Teach Less, Learn More : TL,LM  ได้ดังนี้
   1.ผู้สอนควรตระหนักว่าในการจัดการศึกษาแก่ผู้เรียนนั้นควรส่งเสริม ให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียนรู้   และมีกำลังในการเรียนรู้ ไม่ใช่เน้นแต่เพียงเนื้อหา/ความรู้ที่จะสอนเท่านั้o
   2.ผู้สอนควรสอนให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับมโนทัศน์และแนวคิดที่สำคัญ มากกว่าการท่องจำ ได้
   3.ผู้สอนควรสอนเพื่อเตรียมผู้เรียนสำหรับการทดสอบของชีวิตมากกว่ามีชีวิตเพื่อการทดสอบ
   4.ผู้สอนควรสอนให้ผู้เรียนเห็นภาพรวมของเนื้อหาและเข้าใจการเชื่อมโยงกันของเนื้อหา มากกว่าที่จะสอนเนื้อหาแยกกันเป็นเรื่องๆ
   5. ผู้สอนควรกระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นคุณค่า มีทัศนคติที่ดี และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง มากกว่าที่จะนำความรู้ไปใช้ในการสอบเท่านั้น
   6. ผู้สอนควรเน้นที่กระบวนการของการเรียนรู้ของผู้เรียนมากกว่าการเน้นไปที่ผลการเรียนรู้เพียงอย่างเดียว
   7. ผู้สอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยการใช้คำ ถามกระตุ้น มากกว่าการให้ผู้เรียนปฏิบัติตามคำสั่งเท่านั้น
   8. ผู้สอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มากกว่าการที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการทำแบบฝึกหัดและท่องจำ
   9. ผู้สอนควรเป็นผู้แนะนำ สร้างบรรยากาศและจัดสถานการณ์ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง มากกว่าการเรียนจากคบอกของผู้สอน
   10. ในการจัดการเรียนรู้ผู้สอนควรคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน ทั้งในด้านความเหมาะสมกับผู้เรียนมากกว่าการใช้วิธีสอนแบบเดียวกันกับผู้เรียนทั้งหมด
   11. ผู้สอนควรใช้วิธีการประเมินผลที่หลากหลาย และเป็นการประเมินตามสภาพจริง  ในการวิเคราะห์คุณภาพและพัฒนาการของผู้เรียน มากกว่าการประเมินผู้เรียนจากการสอบเท่านั้น

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Teach Less, Learn More
การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Teach Less, Learn More สามารถจัดการเรียนรู้ได้หลากหลายวิธี  แต่ต้องเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ   การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Teach Less, Learn More ที่โรงเรียน Raffles Girls’ School ณ ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ พบว่าวิธีหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้ คือ การออกแบบย้อนกลับ (Backward Design) ซึ่งพัฒนาโดย Wiggins & McTighe ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก  3 ขั้นตอน ได้แก่
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ ประกอบด้วย การกำหนดคำถามสำคัญ การกำหนดความเข้าใจที่คงทน (enduring understanding) จุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา/ความรู้ที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ และทักษะที่ต้องการพัฒนา เมื่อเสร็จสิ้นการสอนแล้วผู้เรียนต้องเกิดความเข้าใจที่คงทน (enduring understanding) ซึ่งเป็นความสามารถอย่างลึกซึ้งในการอธิบาย ประยุกต์ใช้ความรู้และเชื่อมโยงไปสู่สถานการณ์ต่างๆ โดยการกำหนดความเข้าใจที่คงทน (enduring understanding) มีหลักเกณฑ์ในการกำหนด ดังนี้
1. ความเข้าใจที่คงทนของเรื่องที่กำลังสอนควรสามารถถ่ายโอนไปสู่เรื่องอื่นๆ และชีวิตจริง เพื่อเห็นความเชื่อมโยงของเนื้อหาและความสำคัญของเนื้อหาที่มีต่อชีวิตจริง
2. ความเข้าใจที่คงทนต้องผ่านกระบวนการสืบสวน อภิปราย ตั้งคำถาม และประเมินผล ไม่สามารถทำความเข้าใจได้ในทันที
3. ความเข้าใจที่คงทนเกิดมาจากการเชื่อมโยงมโนทัศน์ หลักการ กฎ หรือทฤษฎีกับทักษะ/กระบวนการ
4. ความเข้าใจที่คงทนควรนำไปสู่บทสรุปของเรื่องโดยผ่านกระบวนการคิดขั้นสูง

ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดหลักฐานการเรียนรู้และการประเมินผลการเรียนรู้ หลักฐานการเรียนของผู้เรียน ได้แก่ ชิ้นงานหรือภาระงาน ซึ่งจะเป็นร่องรอยของการเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติงานหรือทำกิจกรรมของผู้เรียน ทำให้ผู้สอนทราบว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ หรือไม่ตัวอย่างของชิ้นงาน เช่น รายงาน เรียงความ  แผนภาพ หุ่นจำลอง แฟ้มสะสมผลงาน โครงงาน เป็นต้น ตัวอย่างของภาระงาน เช่น การสอบ การพูดปากเปล่า การแสดงบทบาทสมมติ การตอบคำถาม การอธิบาย การกล่าวรายงาน การอภิปราย เป็นต้นการประเมินผลการเรียนรู้ เป็นกระบวนการในการการตรวจสอบ ค้นหา หรือรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนแล้วนำ ผลที่ได้มาสรุป และตัดสินว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ การประเมินผลการเรียนรู้เป็นองค์ประกอบสำคัญของการเรียนการสอน และไม่สามารถแยกออกจากกระบวนการเรียนการสอนได้ ซึ่งการประเมินผลที่สอดคล้องกับแนวคิด TL,LM คือการประเมินตามสภาพจริง เนื่องจากเป็นการประเมินผลที่สามารถประเมินได้ทั้งกระบวนการ และผลที่ได้จากการเรียนรู้ประเด็นที่ผู้สอนควรคำนึงถึงในการพิจารณา กำหนด และประเมินหลักฐานการเรียนรู้ของผู้เรียนได้แก่
1. ความเข้าใจที่คงทน/ผลการเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนคืออะไร
2. จะใช้เครื่องมือใดในการประเมินความเข้าใจที่คงทน/ผลการเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน
3. ผู้สอนจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้วหรือยัง
4. หลักฐานที่แสดงว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้คืออะไรและเพียงพอที่จะสรุปว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่
5. การประเมินผลการเรียนรู้ควรประเมินตามผลการเรียนรู้ที่ตั้งไว้ 

ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เป็นการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดขั้นสูง ซึ่งต้องสอดคล้องกับขั้นตอนที่ 1 และ2 โดยประเด็นที่ต้องคำนึงถึงในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน มีดังนี้
1. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ควรอยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่ผู้เรียนสนใจ และแหล่งเรียนรู้ควรอยู่ในชีวิตจริง
2. เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน รวมทั้งได้นำ ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นนักคิด และนักแก้ปัญหา
4. ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สืบสอบหาความรู้ ลงมือปฏิบัติและแก้ปัญหาด้วยตนเอง
5.ผู้สอนมีบทบาทในการจัดบริบทการเรียนรู้ที่หลากหลายตั้งคำถามที่ท้าทายความสามารถและกระตุ้นสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการสร้างความรู้

บทสรุป
จากที่กล่าวมาตั้งแต่ต้น พบว่า แนวคิดTeach Less, Learn More (TLLM) เป็นแนวคิดหนึ่งในการจัดการศึกษาของประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ที่สอดคล้องกับแนวการจัดการศึกษาระดับชาติของประเทศไทย โดยอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ซึ่งต้องการให้ผู้สอนลดบทบาทในการสอนของตนเองให้น้อยลง และส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น    การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดTeach Less, Learn More สามารถจัดการเรียนรู้ได้หลากหลายวิธีแต่ต้องเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งวิธีการหนึ่งที่ประเทศสิงคโปร์นำ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้คือ    
การออกแบบย้อนกลับ (Backward Design) ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 3 ขั้นตอน    ได้แก่
     1.การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ 
     2.การกำหนดหลักฐานการเรียนรู้  
     3.การวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  


โดยที่ในขั้นตอนที่ 3 การวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ สามารถประยุกต์ใช้แนวการจัดการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด (Cognitively Guided Instruction : CGI) ซึ่งเป็นแนวการจัดการเรียนรู้  ที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ ละการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ให้ความสำคัญกับการคิดของผู้เรียน  โดยมีผู้สอนเป็นผู้สนับสนุน และเอื้ออำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง   เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำงานเป็นกลุ่ม มีโอกาสนำ เสนอความคิดของตนเอง ร่วมกันอภิปราย ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงความรู้เดิมกับชีวิตจริงซึ่งสอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Teach Less, Learn More : TLLM
…………………………………………………………………….

คัดจากบทความทางวิชาการ ของ ดร.เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร
เรื่อง การประยุกต์ใช้แนวคิด Teach Less, Learn More (TLLM) สู่การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ Application of Teach Less, Learn More to Learning Management in Mathematics Classroom
จากวารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 เดือนตุลาคม 2554 - มกราคม 2555

วัชราภรณ์ วัตรสุข : เรียบเรียง (ตัดทอนตัวอย่างคณิตศาสตร์ออก เพื่อใช้ประกอบการอบรมครูภาษาไทย)

Teach less Learn More ตอน 4 : ระบบฐานความรู้ ; การจัดการความรู้ (KM)



1. ความหมาย
     การจัดการความรู้ (KM : Knowledge management ) คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา ในที่สุด   เป็นเครื่องมือเพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมกัน ได้แก่
1) บรรลุเป้าหมายของงาน
2) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน
3) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้
4) บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน

2. ประเภทของความรู้ 
 
      ความรู้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้สองประเภท คือ
1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) หรือความรู้แฝงเร้น เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่ายจึงต้องอาศัยกลไกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้คนได้พบกัน สร้างความไว้วางใจกัน และถ่ายทอดความรู้ระหว่างกันและกันเช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ บางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

3. ระดับของความรู้

       เมื่อจำแนกระดับของความรู้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ คือ
  1. ความรู้เชิงทฤษฏี (Know-What) เป็นความรู้เชิงข้อเท็จจริง รู้อะไร เป็นอะไร จะพบในผู้ที่สำเร็จการศึกษามาใหม่ๆ ที่มีความรู้โดยเฉพาะความรู้ที่จำมาได้จากความรู้ชัดแจ้งซึ่งได้จากการได้เรียนมาก แต่เวลาทำงาน ก็จะไม่มั่นใจ มักจะปรึกษารุ่นพี่ก่อน
  2. ความรู้เชิงทฤษฏีและเชิงบริบท (Know-How) เป็นความรู้เชื่อมโยงกับโลกของความเป็นจริง ภายใต้สภาพความเป็นจริงที่ซับซ้อนสามารถนำเอาความรู้ชัดแจ้งที่ได้มาประยุกต์ใช้ตามบริบทของตนเองได้ มักพบในคนที่ทำงานไปหลายๆปี จนเกิดความรู้ฝังลึกที่เป็นทักษะหรือประสบการณ์มากขึ้น
  3. ความรู้ในระดับที่อธิบายเหตุผล (Know-Why) เป็นความรู้เชิงเหตุผลระหว่างเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ผลของประสบการณ์แก้ปัญหาที่ซับซ้อน และนำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น เป็นผู้ทำงานมาระยะหนึ่งแล้วเกิดความรู้ฝังลึก สามารถอดความรู้ฝังลึกของตนเองมาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นหรือถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้พร้อมทั้งรับเอาความรู้จากผู้อื่นไปปรับใช้ในบริบทของตนเองได้
  4. ความรู้ในระดับคุณค่า ความเชื่อ (Care-Why) เป็นความรู้ในลักษณะของความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ที่ขับดันมาจากภายในตนเองจะเป็นผู้ที่สามารถสกัด ประมวล วิเคราะห์ความรู้ที่ตนเองมีอยู่ กับความรู้ที่ตนเองได้รับมาสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้ เช่น สร้างตัวแบบหรือทฤษฏีใหม่หรือนวัตกรรม ขึ้นมาใช้ในการทำงานได้

4. กระบวนการจัดการความรู้ ตามแนว กพร.
    1. การบ่งชี้ความรู้
    2. การสร้างและแสวงหาความรู้
    3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ
    4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้
    5. การเข้าถึงความรู้
    6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
    7. การเรียนรู้
5. เครื่องมือจัดการความรู้
1.ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of practice : CoP)
2.การศึกษาดูงาน (Study tour)
3.การทบทวนหลังปฏิบัติการหรือการถอดบทเรียน (After action review : AAR)
4.การเรียนรู้ร่วมกันหลังงานสำเร็จ (Retrospect)
5.เรื่องเล่าเร้าพลัง (Springboard Storytelling)
6.การค้นหาสิ่งดีรอบตัวหรือสุนทรียสาธก (Appreciative Inquiring)
7.เวทีเสวนาหรือสุนทรียสนทนา (Dialogue)
8.เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist)
9.การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Action Learning)
9.มาตรฐานเปรียบเทียบ (Benchmarking)
10.การสอนงาน (Coaching)
11.การเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring)
12.ฟอรัม ถามตอบ (Forum)
13.บทเรียนจากความผิดพลาด (Lesson Learning)
14.เวทีกลุ่มเฉพาะ (Focus Group)

6. ระบบการได้มาซึ่งนวัตกรรมที่เกิดจากกระบวนการจัดการความรู้
1.การตรวจหาความจริง (Investigation)
2.การตระเตรียม (Preparation)
3.การบ่มเพาะ (Incubation)
4.การทำให้ส่องสว่าง (Illumination)
5.การตรวจสอบยืนยัน (Verification)
6.การนำไปใช้ (Application) 





อ้างอิงจาก วิกิพีเดียและเอกสารประกอบการอบรมครู เรื่อง TLLM