วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2563

รัฐบาลจีน ประกาศเปิดตัว “แพลตฟอร์มบล็อกเชนแห่งชาติ” ในวันที่ 25 เมษายน นี้


รัฐบาลจีน ประกาศเปิดตัว “แพลตฟอร์มบล็อกเชนแห่งชาติ” ในวันที่ 25 เมษายน นี้
แพลตฟอร์มเครือข่ายบล็อกเชนแห่งชาติของจีน ซึ่งเป็นเครือข่าย Blockchain-based Service Network (BSN) เตรียมจะเปิดตัวในวันที่ 25 เมษายนนี้
โครงการนี้นำโดยหน่วยงานของรัฐบาลจีน , ศูนย์ข้อมูลของรัฐ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยให้ บริษัทสามารถปรับใช้ blockchain applications ได้เร็วขึ้นและราคาถูกกว่า
“โครงสร้างการดำเนินงานและการบำรุงรักษาที่มีต้นทุนสูงเป็นปัญหาหลักในปัจจุบันที่มีผลต่อการพัฒนา blockchain [… ] ดังนั้นจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในอุตสาหกรรม ในการสร้างpublic infrastructure network” กล่าวโดย BSN Development Association ใน whitepaper ล่าสุด (มีแนบด้านล่าง) 
ขณะนี้ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 100,000 หยวน ($14,000) เพื่อสร้างกลุ่มเครือข่ายท้องถิ่น blockchain แบบดั้งเดิมสามเครือข่ายในพื้นที่ โดยสมาคมกล่าวเสริมว่า BSN จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงเหลือเพียง 2,000 ถึง 3,000 ($280 – $ 425) ) ต่อหนึ่งปีเพื่อจัดตั้งและเปิดดำเนินการ
“สิ่งนี้จะส่งเสริมให้องค์กรธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาด micro-sized และบุคคลทั่วไป เช่น นักเรียน สามารถใช้ BSN ในการคิดค้นและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ซึ่งจะช่วยเร่งการพัฒนาอย่างรวดเร็วและเพิ่มการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนอย่างกว้างขวาง” สมาคมกล่าว
เครือข่าย BSN ได้รับการเปิดตัวครั้งแรกในเดือนตุลาคม 2019 โดยสมาคมซึ่งมีสมาชิกผู้ก่อตั้งรวมถึงศูนย์ข้อมูลของรัฐ รวมถึง บริษัท 5 แห่งจากสามอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ โทรคมนาคม การเงินและเทคโนโลยี
สมาชิกเหล่านั้นได้แก่ China Mobile Communications Corporation Design Institute และ China Mobile Communications Corporation Government  และ บริษัทที่ให้บริการแก่องค์กร (telecom), China UnionPay Corporation และ China Mobile Financial Technology (financial) และ Beijing Red Date Technology (เทคโนโลยี / ซอฟต์แวร์)

สมาคมกล่าวว่า BSN ได้สร้างโหนดสาธารณะเกือบ 100 แห่งในประเทศจีน ด้วยการสนับสนุนจากผู้ให้บริการโทรคมนาคมสามราย ได้แก่ China Mobile, China Telecom และ China Unicom
https://bitcoinaddict.org/2020/04/16/china-is-set-to-launch-its-national-blockchain-platform-next-week/


เทคโนโลยี Blockchain คืออะไร?



เทคโนโลยี Blockchain คืออะไร

ในช่วงไม่กีปีที่ผ่านมาเราจะเห็นว่ามันเป็นเรื่องที่เป็นกระแสอยู่มากเลยไม่ว่าจะข่าวสารหรือแม้แต่เงินดิจิทัลอย่าง Bitcoin ที่ราคาพุ่งสูงเมื่อต้นปี 2018 แล้วเทคโนโลยีคืออะไรหละทำไมดูเข้าใจยากกัน

ทำไมเทคโนโลยี Blockchain ถึงฟังดูเข้าใจยาก

ก่อนอื่นสิ่งที่ผมอยากจะบอกคือ Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่เพิ่งเกิดขึ้นมา 10 กว่าปีโดยมันถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับ Bitcoin ซึ่งมันเป็นธรรมดาครับที่มันอาจจะเข้าใจยาก มันก็เหมือนกับวันที่เรามีอินเทอร์เนตวันแรกเมื่อนานมาแล้วมันก็เข้าใจยากเช่นกัน คุณลองคิดดูว่าถ้าคุณเคยส่งจดหมายปกติ อยู่ๆมาวันนึงเราใช้อีเมล์เราก็คงจะงงน่าดูซึ่งเทคโนโลยี Blockchain ก็เป็นอะไรที่น่าสนใจมากครับ marc andreessen Co-founder ของ Netspace เคยกล่าวกับเทคโนโลยี Blockchain ไว้ว่า
“เป็นครั้งแรกที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เนตสามารถส่งสินทรัพย์ดิจิทัลไปให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เนตได้ โดยการส่งแบบนี้มีความปลอดภัยและทุกคนจะรับรู้ร่วมกันว่ามันถูกส่งไปที่นั้น และไม่มีใครสามารเปลี่ยนแปลงมันได้”

ระบบรวมศูนย์ (Centralized) และ ระบบกระจายศูนย์ (Decentralized)

แล้วจริงๆเทคโนโลยี Blockchain คืออะไร จริงแล้วเทคโนโลยี Blockchain เป็นแค่การเก็บข้อมูลเป็น Data base เหมือนเวลาคุณเซฟงานไว้ในคอมนั้นแหละครับ แต่ว่าสิ่งที่ต่างออกไปนั้นคือการที่ข้อมูลนนั้นถูกเก็บไว้หลายๆที่หรือที่เรามันจะได้ยินบ่อยๆว่า Decentralized ส่วนการเก็บข้อมูลไว้ที่ๆเดียวเราจะเรียกมันว่า Centralized ซึ่งถ้าเราเข้าใจ Keyword สองคำนี้เราจะเข้าใจ Blockchain อย่างกระจ่างเเจ้ง

ระบบรวมศูนย์ (Centralized) 

ตัวอย่างของการเก็บข้อมูลแบบ Centralized ที่ใกล้ตัวเรามากที่สุดคือ ธนาคาร เมื่อเราเดินไปเปิดบัญชีและต้องการโอนเงิน เช่นถ้าผมต้องการโอนเงินให้เพื่อนผม ผมก็ต้องไปที่ธนาคาร ตู้เอทีเอมหรือ mobile banking โดยธนาคารจะเป็นคนมาตรวจสอบว่าผมมีเงินจริงไหมหลังจากนั้น ธนาคารจะนำเงินส่งไปให้เพื่อนผม ซึ่งรูปแบบนี้ ธนาคารเป็นตัวกลาง ธนาคารมีเงินของผมอยู่ในตอนที่ส่งให้กับเพื่อนผม มันไม่เหมือนกับการที่ผมเดินไปหาเพื่อนผมแล้วยื่นเงินสดให้ เพื่อนของผม ธนาคารทำหน้าที่เป็นตัวกลางนำเงินของผมไปมอบให้กับเพื่อน และนี่เป็นตัวอย่างของระบบ Centralized
ซึ่งการมีระบบ Centralized นั้นก็มีข้อดีอย่างระบบธนาคารทุกวันนี้ก็ช่วยอำนวยความสะดวกถ้าเราจะโอนเงินไปไหนเช่นถ้าเพื่อนผมอยู่เชียงใหม่ ถ้าไม่มีตัวกลางนี้มาช่วยก็คงจะลำบากพอสมควร แต่ระบบรวมศูนย์นี้ก็มีข้อเสียเช่นกันเพราะบางครั้งศูนย์กลางมีอำนาจเกินไป เช่นถ้าระบบธนาคารพังเราก็จะถอนเงินไม่ได้ อย่างในกรณีที่ E banking ปิดปรับปรุง
ถ้าหากเป็นเวลาที่ธนาคารปิดแล้วคุณก็จะโอนเงินไม่ได้ ตลกไหมครับเงินเป็นของคุณแต่คุณทำอะไรไม่ได้ การที่คุณเอาเงินไปฝากธนาคารเนี่ยเงินไม่ใช่ของคุณ เวลาที่เราเอาเงินไปฝากธนาคารอยากให้ทุกคนคิดดูว่าเงินเป็นของเราจริงๆไหม คำตอบคือไม่นะครับเพราะจริงๆแล้วธนาคารสามารถนำเงินของเราไปปล่อยกู้บางคนอาจจะไม่รู้ แต่จริงๆมันมีตั้งแต่ตอนเราเซ็นเปิดบัญชีแล้ว
อย่างในกรณีที่เรารู้กันอย่างกรณีหวยสามสิบล้าน ลุงจรูญถูกล็อตตารี่ 30 ล้านพอมาวันรุ่งขึ้นปรากฎว่าวันรุ่งขึ้นลุงจรุญโดนยึดเงินพูดง่ายๆคือเงินของเราในทุกวันนี้มีตัวกลางที่มีอำนาจเหนือเงินของเราเต็มไปหมด
ข้อเสียอีกอย่างของระบบตัวกลางนั้นต้องใช้เงินมหาศาลในการจะสร้างระบบบตัวกลาง ธนาคารต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยรวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกมากมายเพื่อป้องกันระบบและดูแลและนี่คือข้อเสียของระบบ Centralized

ระบบกระจายศูนย์ (Decentralized)

พอเราพูดถึง Decentralized ที่มากับ Blockchain โดยมันมีความหมายว่าการกระจายตัว ในระบบ Centralized คือการที่มีตัวกลางเช่นธนาคารในการควบคุม แต่พอเป็นระบบ Decentralized คือแนวคิดที่ว่าเราจะให้คนทุกคนในระบบมาดูแลร่วมกัน
สมมติว่าเรามีคน 10 คนถ้าเป็นระบบ Centralized  จะมีคนๆหนึ่งที่คอยดูแลระบบนี้คอยจัดการโอนเงิน แต่พอเป็นระบบ Decentralized คือการที่เราบอกว่าเราจะไม่เอาตัวกลาง เดียวคน 10 คนนี้จะร่วมกันตรวจสอบระบบ คำถามคือคน 10 คนนี้จะตรวจสอบยังไงเมื่อไม่มีตัวกลางแล้ว

วิธีการที่ Blockchain นำเสนอครับ Blockchain เสนอว่าเราจะทำแบบนี้แล้วกัน เราจะให้ทุกคนเก็บข้อมูลของคนทุกคน ซึ่งตรงนี้ผมจะขอยกตัวอย่างมาจาก Bitcoin นะครับ ซึ่งเป็นเทคโนโลยี Blockchain ตัวแรกที่กำเนิดขึ้น โดยทีนี้ Bitcoin เขานำเสนอว่า เขาจะให้ทุกคนเก็บบัญชีของคนทุกคน สมมติว่าตอนนี้มีคน 10 คนใช่มั้ยครับ สมมติผมเป็นคนที่1 คนที่1 ก็ต้องเก็บบัญชีของคนที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 ที่ 6 ที่7 8 9 10 ไว้ คนที่2 ก็ต้องเก็บข้อมูลคนที่1 3 4 5 6 7 8 9 แบบนี้ไปเรื่อยๆ ครับจนครบ 10 คน
คือเราจะมีสำเนาการโอนข้อมูลธุรกรรมของคนทุกคนในบัญชีของเรา และทุกคนก็จะมีบัญชีของเราด้วย ซึ่งการระบบตรวจสอบ ซึ่งการที่ทำแบบนี้มันทำให้ตรวจสอบคนได้ สมมติว่าผมจะโอนเงินไปที่คนที่2 ผมยกตัวอย่างว่าเขาคือนายB ละกัน มันไม่ใช่แค่ว่าผมโอนไปให้นายB แล้วจบ ผมจะต้องบอกทุกคนด้วยว่าผมโอนข้อมูลไปให้นายB เพื่อที่ทุกคนจดบัญชีเหมือนกัน ทีนี้ด้วยระบบแบบนี้มันจะปลอมแปลงได้ยาก เพราะคุณลองคิดดูว่าสมมติว่าใน 10 คนนี้คิดจะแก้บัญชี หรือพูดง่ายๆ คือจะโกงระบบ สิ่งที่เขาต้องทำคือเขาต้องไปแก้บัญชีของเขา และก็แก้บัญชีของคนอื่นด้วย และถ้าเกิดจะให้ครอบคลุมต้องแก้บัญชีของคนเกินครึ่งถึงจะแก้ได้ ถึงจะโกงระบบสำเร็จ
ทีนี้มันก็เลยค่อนข้างยากครับ ถ้าเทียบกับระบบ Centralized เมื่อเทียบกับระบบ Centralized คือเหมือนกับเรายัดตัวกลาง โจมตีตัวกลางตัวเดียว ถ้าขโมยเงินได้ก็จบ แต่พอเป็นระบบรูปแบบบัญชีที่ทุกคนเก็บด้วยกัน ทุกๆ คนถ้าเกิดจะขโมยก็ต้องขโมยทุกๆ คน ถ้าเกิดให้แก้บัญชีก็ต้องแก้คนทุกคนครับ นี้เป็นคอนเซ็ปของเทคโนโลยี Blockchain
แต่จริงๆ คอนเซ็ปที่การเราเก็บข้อมูลบัญชีแยก จริงๆ มันมีมานานแล้ว มันมีมาก่อน Blockchain ครับ มันเป็นเทคโนโลยีที่เรียกว่า distributed ledger หรือพูดง่ายๆ คือการเก็บสำเนาข้อมูลบัญชีแบบกระจาย ซึ่งมีมานานแล้วแหละ แต่ทีนี้สิ่งที่ Blockchain นำเสนอเพิ่มขึ้นมาใหม่ก็คือ อย่างนึงคือการรูปแบบการเก็บข้อมูลของ Blockchain
ปกติถ้าเกิดลองให้เราคิดไป สมมติว่าใน database อันนึงเราจะเก็บข้อมูลเป็นแถว ใช่มั้ยครับเป็นแถว ถ้าเกิดใครเคยเล่นโปรแกรม Excel มันจะเป็นแบบนั้นเลยเป็นแถวเป็นตารางเรียงลงมา ถ้าเกิดคนที่เรียนคอมพิวเตอร์ก็จะรู้หน่อยว่าระบบ database ที่ใช้เป็น sql เป็นยังไงนะครับ ทีนี้พอมาถึงเป็น Blockchain เขาบอกว่าเราจะเก็บข้อมูลเป็น Block และอ้างอิงกันด้วย chain เราถึงเรียกว่า Blockchain นะครับ
โดยแต่ละ Block เนี่ยจะมีข้อมูลธุรกรรมจำนวนนึงไว้นะครับ แล้วก็ chain จะเป็นสิ่งที่อ้างอิงข้อมูลธุรกรรมอีกกล่องนึง มันคล้ายๆ กับว่า สมมติว่าตอนนี้ ผมมีการโอนเงินในจังหวะนึง ในเวลานึงละ ถูกเก็บอยู่ใน Block ที่ 0 ซึ่งเป็น Block แรกครับ และเมื่อมีการโอนเงินไปอีกส่วนหนึ่งนึงนะครับ หรือเรียกได้ว่าเกิดอีกเวลานึง มันจะถูกเก็บอยู่ใน Block ที่1 นะครับ 0 กับ 1 ทีนี้ตอนที่มันลิงค์ไป Block ที่1 ใน Block ที่1 มันจะเก็บข้อมูลของ Block ที่ 0 ไว้
ก็คือคล้ายๆ ในกล่องที่ 1 จะมีข้อมูลตัวสุดท้ายที่เขียนไว้ว่าใน Block ที่0 มีข้อมูลแบบนี้ๆๆ นะ แล้ว Block ที่ 2 Block ที่3 Block ที่4 มันก็จะเก็บข้อมูลอ้างอิงของ Block ที่แล้วมาเรื่อยๆ ทีนี้สิ่งที่เกิดขึ้นมันเกิดอะไรขึ้น สมมติว่าถ้าเกิดไปแก้ข้อมูลใน Block ที่1 อะไรก็ตามอะไรก็ได้นะครับ สมมติว่าผมแก้ว่าจากการโอนจากนาย A ไปนาย B จากเนี่ยผมให้ โอนเงินให้นาย B ล้านนึงเลย ผมแก้ไปจะเกิดอะไรขึ้น
สิ่งที่เกิดขึ้นคือในระบบ Blockchain สมมติผมแก้ Block ที่ 1 Block ที่ 2 มันจะมีการเก็บข้อมูลไว้ว่า จริงๆ แล้ว Block ที่ 1 มันเคยมีข้อมูลอะไรกันไว้ เก็บไว้นะครับ พอผมแก้ปุ๊บระบบจะตรวจสอบได้ทันทีว่าอ้าว Block ที่1 ไม่ตรงกับ Block ที่ 2 แล้วหนิ ข้อมูลอ้างอิงไม่ตรงกันแล้ว แล้วก็แก้ให้เป็นเหมือนเดิม และนี้เป็นเหตุผลนึงที่ทำให้เทคโนโลยี Blockchain ปลอดภัยมาก
โดยถ้าเกิดสมมติถ้าถามว่า Blockchain มันปลอดภัยถึงขั้นไหน ซึ่งผมก็ต้องกล่าวว่า มันก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบว่ามันจะปลอดภัยแค่ไหนนะครับ อย่าง Blockchain ที่เรียกว่าปลอดภัยที่สุดในโลกคือ Bitcoin นะครับ โดย Bitcoin ถูกรักษาความปลอดภัยด้วยคอมพิวเตอร์กว่าหมื่นตัว แล้วก็กำลังขุดปริมาณมหาศาลมากๆ เลยนะครับ เดี๋ยวเรื่องการขุดมันจะมีอินดีเทลเยอะหน่อยครับ
เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟังใน ep ถัดๆ ไปนะครับ แต่ตอนนี้อยากให้เข้าใจก่อนว่า Blockchain รูปแบบที่เป็น Decentralized มันเป็นยังไง การเก็บ Blockchain ที่เป็น Block เป็น chain มันเป็นยังไง ทีนี้ตามที่ผมเล่าไป สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ด้วยการเก็บข้อมูลแบบกระจาย แล้วการที่ข้อมูลเก็บเป็น Block เป็น chain เนี่ย ข้อมูลมันจะปลอดภัยมากเลยใช่มั้ยครับ ปลอดภัยมากเลยเพราะมัน hack ยากมากนะครับ ยิ่ง Bitcoin เป็นไปไม่ได้ที่แทบจะ hack ไม่ได้เลยด้วยซ้ำ เป็นไปได้ในทางทฤษฎีแต่ปฎิบัติเป็นไปได้ยากสำหรับ Bitcoin

Blockchain คือกับความน่าเชื่อถือของข้อมูล

ทีนี้ในเมื่อ Blockchain กลายเป็นระบบที่มั่นคงปลอดภัยมากๆ มันเกิดอะไรขึ้นนะครับ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ถ้าเกิดเราเก็บข้อมูลอะไรไปใน Blockchain มันกลายเป็นข้อมูลที่คุณสามารถเชื่อได้ว่าข้อมูลนี้เป็นจริง เพราะว่าในเมื่อ Blockchain เป็นสิ่งที่ปลอดภัยมาก เพราะฉะนั้นข้อมูลนี้มันควรจะแบบไม่ควรถูก hack ปลอดภัยมากๆ ไม่ควรจะมีอะไรมาแตะต้องไม่เลยนะครับ และนี้เป็นสิ่งที่ Blockchain นำเสนอคือ Security มหาศาลที่จะทำให้ข้อมูลเป็นจริงนะครับ
https://bitcoinaddict.org/2019/12/13/what-is-blockchain-technology/