วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

จีนเลื่อนการเปิดตัวเหรียญ​ Cryptocurrency ของตัวเอง เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า



จีนเลื่อนการเปิดตัวเหรียญ​ Cryptocurrency ของตัวเอง 
เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า



แบงก์ชาติจีนชูนโยบายงดใช้เงินสด ฆ่าเชื้อธนบัตรป้องกันแพร่ระบาด




แบงก์ชาติจีนชูนโยบายงดใช้เงินสด ฆ่าเชื้อธนบัตรป้องกันแพร่ระบาด
.
วันศุกร์ (28 ก.พ.) ธนาคารกลางของจีนแนะนำให้ธุรกิจร้านค้าปฏิเสธการรับเงินสด เนื่องจากธนาคารกลางกำลังเพิ่มมาตรการเพื่อให้มั่นใจในความสะอาดของเงินสดที่หมุนเวียนอยู่ในระบบ พร้อมตัดช่องทางการแพร่กระจายของไวรัสผ่านการแลกเปลี่ยนเงิน
.
ธนาคารประชาชนจีน (PBOC) ระบุว่า ธุรกิจต่างๆ ควรปรับปรุงบริการและการสื่อสารกับผู้บริโภคให้สามารถชำระเงินได้โดยไม่ใช้เงินสด พร้อมอ้างอิงคำร้องเรียนจากสาธารณชนเกี่ยวกับการปฏิเสธการใช้เงินสดซึ่งเกิดขึ้นเป็นระยะ เมื่อเร็วๆ นี้
.
ทางธนาคารยังได้เพิ่มปริมาณธนบัตรใหม่ออกสู่ตลาด และกำกับดูแลให้สถาบันการเงินต่างๆ ฆ่าเชื้อเงินสดเพื่อความปลอดภัย
.
ก่อนเทศกาลตรุษจีน ธนาคารฯ ได้จัดสรรธนบัตรใหม่จำนวน 4 พันล้านหยวน (ประมาณ 1.8 หมื่นล้านบาท) ให้กับเมืองอู่ฮั่น ซึ่งเป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาดของไวรัส ขณะเดียวกันธนบัตรใหม่จำนวน 6 แสนล้านหยวน (ประมาณ 2.7 ล้านล้านบาท) ก็ถูกปล่อยหมุนเวียนทั่วประเทศก่อนวันที่ 17 ม.ค.
.
เงินสดที่รวบรวมมาจากพื้นที่หลักที่มีการป้องกันและควบคุมโรคระบาดจะถูกฆ่าเชื้อโดยใช้แสงอัลตร้าไวโอเลตหรืออุณหภูมิสูง และจัดเก็บไว้นานกว่า 14 วันก่อนจะนำกลับเข้าสู่ตลาด ส่วนเงินสดที่รวบรวมจากเขตนอกเหนือพื้นที่ดังกล่าว จะถูกนำเข้ากระบวนการฆ่าเชื้อและต้องกักเก็บไว้นานกว่า 7 วันก่อนจะนำกลับมาหมุนเวียนในระบบอีกครั้ง ตามแนวปฏิบัติของธนาคารฯ
.
การโอนเงินสดข้ามมณฑลระหว่างธนาคาร และการโอนเงินภายในมณฑล ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ก็ถูกระงับเพื่อช่วยยับยั้งการแพร่กระจายของไวรัส
.
นอกจากนี้ ธนาคารยังแนะนำให้ประชาชนใช้ระบบการชำระเงินแบบไม่ใช้เงินสด ซึ่งถูกต้องตามกฎหมายระหว่างการแพร่ระบาด
.
ติดตามข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ : https://www.xinhuathai.com/

https://www.facebook.com/XinhuaNewsAgency.th/photos/a.1660406490842033/2577229372493069/?type=3&theater

วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

รัฐแรกที่เข้ารหัสลับ Chinese DCEP


จีนมุ่งมั่นที่จะเริ่มการออกภายในประเทศ kryptowalutyการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์สกุลเงินดิจิตอล (DCEP)เนื่องจากเป็นชื่อของสกุลเงินดิจิทัลของจีนที่ยังไม่ได้เปิดตัวและมีข้อโต้แย้งมากมาย ผู้สังเกตการณ์เข้ารหัสลับหลายคนมีความเห็นว่า DCEP จะให้บริการทางการจีนในการควบคุมทางการเงินของประชาชน

DCEP เป็นสกุลเงินประจำชาติของจีน

แม้ว่าจะยังไม่ทราบวันที่แน่นอน แต่เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าจีนกำลังวางแผนที่จะเปิดตัว cryptocurrency และรายงานฉบับแรกในหัวข้อนี้ปรากฏขึ้นแล้วในฤดูร้อนนี้
ตามประกาศอย่างเป็นทางการที่ออกโดย ศูนย์แลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของจีน (CCIEE)ธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (PBoC) มุ่งมั่นที่จะเป็นธนาคารแห่งแรกของโลกที่เปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลแห่งชาติ งานนี้ได้รับการดำเนินการเป็นเวลาหลายปี

เรารู้อะไรเกี่ยวกับ DCEP

cryptocurrency จีน DCEP จะถูกสร้างขึ้นตามระบบสองชั้นที่จะเชื่อมต่อทั้งสอง ธนาคารกลางจีน กับธนาคารพาณิชย์รวมถึงธนาคารพาณิชย์กับลูกค้ารายย่อยและสถาบันต่างๆ
รัฐบาลจีนค่อนข้างลังเลที่จะเปิดเผยรายละเอียดทางเทคนิคของการร่วมลงทุน แต่สิ่งบ่งชี้ทั้งหมดคือ DCEP จะไม่เป็นสกุลเงินที่กระจายอำนาจตาม blockchainie.
ในขณะที่ กระเป๋าเงินดิจิตอล จำเป็นสำหรับการจัดเก็บของมันจะออกโดย PBOC.
และนี่คือสิ่งที่ความกังวลเกี่ยวกับแผนของรัฐบาลจีนมาจาก - ขั้นตอนดังกล่าวหมายความว่า สกุลเงินดิจิตอลของชาติจะอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลทั้งหมดเป็นเครื่องมือในการควบคุมประชาชน
ในขณะเดียวกันทางการจีนยืนยันว่า blockchain นั้นจะช่วยให้ระบบการเงินของจีนสามารถแก้ไขปัญหาปัจจุบันได้

จีนไม่ชอบสกุลเงินดิจิตอลอื่น ๆ

แผนการสร้างชาติ cryptocurrencies DCEP พวกเขาอาจประหลาดใจที่จีนไม่ได้ซ่อนความเกลียดชังต่อเงินดิจิตอลเช่น บิทคอยน์ หรือ Bitcoin หรือ Facebook ราศีตุลย์.
CCIE ได้ระบุจุดยืนไว้อย่างชัดเจนว่าสกุลเงินที่กระจายอำนาจใด ๆ ที่ไม่อยู่ภายใต้นโยบายการเงินของรัฐบาลมีความเสี่ยงต่อความไม่มั่นคงดังนั้นจึงไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่น่าเชื่อถือ

ความกังวลเกี่ยวกับการเปิดตัวสกุลเงินดิจิตอลของจีน

ในขณะนี้เป็นการยากที่จะระบุอย่างชัดเจนว่าผลที่ตามมาจากการเปิดตัว DCEP ของจีนจะเป็นอย่างไร แต่ปัญหาที่วางแผนไว้นั้นทำให้เกิดความกังวลมากมาย
มันจะเป็นทางออกที่ก้าวหน้าเพราะจีนจะเป็นคนแรกที่ออกเงินของรัฐเสมือน
วิธีการแก้ปัญหานี้ยังให้โอกาสสำหรับการต่อสู้กับอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ
ในทางตรงกันข้ามเมื่อระบอบการปกครองในประเทศจีน DCEP จะตีความเป็นส่วนตัวของประชาชนโดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ประชาชนใช้จ่ายเงินของพวกเขา
นี่เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับแนวคิดของสกุลเงินดิจิทัลเสรีประชาธิปไตยที่เป็นแนวทางในการสร้าง cryptocurrencies เช่น Bitcoin

สกุลเงินดิจิทัลของจีนจะใช้ชื่อว่า “DCEP”

china-digital-currency
ในขณะที่ People’s Bank of China (PBoC) ยังไม่ได้ยืนยันถึงการเปิดตัวของสกุลเงิน “DCEP” แต่นักการเงินของจีนที่ชื่อว่า Huang Qifan กล่าวว่าธนาคารกลางได้ศึกษามาเกือบหกปีแล้ว
Huang Qifan รองประธานบริหารของศูนย์แลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของจีน ได้ยืนยันว่าธนาคารประชาชนของจีนมีแผนที่จะเปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลของตัวเอง ซึ่งจะเรียกว่า “DCEP” ย่อมาจาก Digital Currency Electronic Payment
China Finance 40 Forum (CF40) องค์กรที่มุ่งเน้นการวิจัยนโยบายการเงินและการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ ได้เผยแพร่เนื้อหาวิดีโอที่มีเนื้อหาที่ตัดตอนมาจากคำพูดของ Qifan ในระหว่างการประชุมสุดยอด Bund เมื่อวันที่ 27 ตุลาคมถึง 29 ตุลาคม ที่ผ่านมา
Huang Qifan เปิดเผยว่าจีนดำเนินโครงการนี้มาเป็นเวลาประมาณห้าหรือหกปีแล้ว และหลังจากการเปิดตัวเหรียญ DCEP นี้ PBoC จะกลายเป็นธนาคารกลางแห่งแรกของโลกที่ออก cryptocurrency ของตนเอง
DCEP สามารถบรรลุการรวบรวมข้อมูลตามเวลาจริงที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเงิน, การทำบัญชี และอื่น ๆ ซึ่งจะเป็นตัวอย่างที่เป็นประโยชน์สำหรับการจัดหาเงินและการดำเนินการตามนโยบายการเงิน


วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

จีน: มหาอำนาจ Blockchain ในอนาคต



จีน: มหาอำนาจ Blockchain ในอนาคต

ความเดิมจากตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้เล่าถึงทิศทางของคริปโทในอนาคต ซึ่งหนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจคือการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของรัฐบาลจีน

โดยผู้เขียนได้เกริ่นว่า ไม่ใช่เพียงแค่การพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลเพียงประการเดียวที่ทำให้จีนเป็นประเทศที่มีอิทธิพลในด้านเทคโนโลยีของโลก แต่จีนยังมีแนวนโยบายต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีภายในประเทศ รวมไปถึงการออกกฎหมายฉบับใหม่เพื่อรองรับเทคโนโลยีเข้ารหัส หรือ Cryptography Law ซึ่ง Cryptography หรือ เทคโนโลยีเข้ารหัสเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานในการพัฒนาระบบ Blockchain นั่นเอง

DCEP สกุลเงินดิจิทัลของจีน DCEP หรือ Digital Currency Electronic Payment
คือ สกุลเงินดิจิทัลของจีน   ที่ทำงานบนระบบ Private Blockchain ซึ่งเป็นระบบที่จำกัดผู้มีสิทธิเข้าถึงข้อมูล (แบบวงปิด) 


ซึ่งแน่นอนว่ารัฐบาลจีนต้องการจำกัดกลุ่มคนในการเข้าถึงและตรวจสอบข้อมูลที่รันอยู่บนระบบ
ในด้านคุณลักษณะ แม้ DCEP จะอิงอยู่กับสกุลเงินหยวนในอัตราส่วน 1:1 ซึ่งรูปแบบดังกล่าวคล้ายการสร้าง Stable Coin ของบริษัทเอกชนต่าง ๆ แต่ในกรณีของ DCEP ผู้ออกและกำหนดนโยบายในการกำกับดูแลจะเป็นรัฐบาลจีน (โดยธนาคารกลางเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากกรณีของ Stable coin สกุลอื่น ๆ ที่ออกโดยเอกชนแต่ใช้สกุลเงินหยวนของจีนมาค้ำประกันไว้ เช่น เหรียญ CNHT ของ Tether หรืออาจกล่าวได้ว่า ...


      "....วัตถุประสงค์ในการออก DCEP นั้นไม่ได้ต่างจากการออกธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ในแบบเดิม แต่ DCEP คือ การทำหยวนให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลและให้มีค่าไม่ต่างจากเงินในรูปแบบ Physical form ซึ่งร้านค้าและประชาชนทั่วไปสามารถใช้แทนกันได้ในระบบการเงินของประเทศจีน..."

ดังนั้น วัตถุประสงค์หลักของ DCEP คือ การสร้างระบบการเงินแบบดิจิทัลที่สามารถส่งเสริมการทำธุรกรรมแบบ Real-time และการเพิ่มความสามารถในการเก็บข้อมูลการทำธุรกรรมเหล่านั้นได้อย่างทันท่วงทีอันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งผ่านนโยบายทางการเงินของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นการลดปัญหาในเรื่องค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการโอนเงินผ่านระบบชำระเงินในแบบเดิม รวมถึงแก้ปัญหาความล่าช้าของระบบ SWIFT ที่ใช้ในระบบการชำระเงินระหว่าง Inter-Bank

สำหรับผู้เขียน เชื่อว่าคุณสมบัติที่โดดเด่นของสกุลเงินดิจิทัล เช่น การเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่างและทำงานผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ จะช่วยให้ DCEP ของจีนสามารถหมุนเวียนอยู่ในระบบการเงินทั่วโลกได้ไม่ยากนัก เหล่านี้ คือ แนวทางของจีนในการปูทางไปสู่การเป็น Digital global currency ในอนาคต

กฎหมาย Cryptography law
ที่ผ่านมา หากไม่นับโครงการ ของรัฐบาลจีน การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในจีน เช่น Cryptocurrency Trading และ ICO นั้น ถูกควบคุมอย่างเข้มงวดจากรัฐบาลจีนมาโดยตลอด เนื่องจากจีนมองว่ากิจกรรมเหล่านี้เป็นการสร้างความเสี่ยงทางการเงินอย่างหนึ่งให้กับประเทศ

อย่างไรก็ดี เมื่อ ต.ค. ที่ผ่านมา จีนได้ประกาศแผนพัฒนา Blockchain โดยประธานาธิบดีสีได้กล่าวชัดเจนว่า การพัฒนา Blockchain คือแผนยุทธศาสตร์หลักที่ต้องเร่งดำเนินการโดยเร็ว และ Cryptography law คือ หนึ่งในกฎหมายที่จะมีผลบังคับใช้ในเดือน ม.ค. 2020  ทั้งนี้ จากการศึกษาข้อมูลที่เปิดเผยโดยรัฐบาลจีน พบว่ามีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

ประเด็นแรก มุ่งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเข้ารหัสในเชิงพาณิชย์ กล่าวคือ กฎหมายฉบับนี้มุ่งส่งเสริมการศึกษาและวิจัย รวมถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ในเชิงวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้มีการค้นคว้า วิจัย และทดลอง เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเข้ารหัสและนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ (เช่น สร้างผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการในรูปแบบใหม่) ทั้งนี้ การพัฒนาดังกล่าวจะต้องไม่เป็นการละเมิดผลประโยชน์ส่วนบุคคลของผู้ใด และไม่เป็นการสร้างผลิตภันฑ์หรือบริการที่กระทบต่อความมั่นคงของภาครัฐ ดังนั้น ก่อนการขายสินค้าหรือนำเสนอบริการโดยใช้ Cryptography ผู้ประกอบการจะต้องเข้าสู่ระบบตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ที่ภาครัฐกำหนด โดยหากนำเสนอสินค้าโดยไม่ผ่านกระบวนการตรวบสอบดังกล่าวจะมีความผิดตามกฎหมายฉบับนี้

ประเด็นที่สอง การให้ความคุ้มครองข้อมูลและการสร้างความปลอดภัยให้กับระบบ
กล่าวคือ เมื่อกฎหมายมุ่งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับ Cryptography แล้ว กฎหมายยังได้ระบุให้มีการคุ้มครองข้อมูลที่ได้มาจากการพัฒนานั้น ซึ่งได้มีการระบุชัดว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปรับใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสจะต้องไม่บังคับให้ผู้พัฒนาระบบเปิดเผยข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหรือข้อมูลที่เป็นความลับทางธุรกิจให้กับตน (เช่น ข้อมูล Source Codes) นอกจากการนี้ กฎหมายยังกำหนดให้การพัฒนา Cryptography ดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ภายใต้กฎหมาย Cybersecurity Law อีกด้วย

ประเด็นที่สาม บทกำหนดโทษในกรณีมีการกระทำโดยมิชอบ เช่น กรณีที่มีการขโมยข้อมูลการเข้ารหัส (Encrypted Information) การ hack ระบบความปลอดภัยของระบบเข้ารหัสของบุคคลอื่น การใช้เทคโนโลยีเข้ารหัสเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำลายความมั่นคงของรัฐ เป็นต้น
ทั้งนี้หากภาครัฐตรวจพบบุคคลที่มีความเสี่ยงในการกระทำความผิดดังกล่าว สามารถสั่งให้บุคคลนั้นกำหนดนโยบายหรือปรับใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันเหตุร้ายอันอาจเกิดขึ้นได้

นโยบายสนับสนุน Blockchain

ธนาคารกลางของจีนได้มีการประกาศเกณฑ์ Certification of FinTech Products (CFP) โดยเป็นการเร่งให้ใบอนุญาตกับผู้ประกอบการ digital payment ที่นำเอาเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในการให้บริการ ซึ่งการออกเกณฑ์ใหม่ในครั้งนี้ ถือเป็นการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการชำระเงินเพื่อรองรับสกุลเงินดิจิทัลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งในปัจจุบัน ผู้ที่มายื่นขอรับใบอนุญาตดังกล่าว เช่น ผู้ให้บริการ point-of-sale mobile terminal และผู้พัฒนา Trusted Execution Environment (TEE) หรือ เทคโนโลยีที่จะช่วยในการสร้าง Consortium Blockchain Network ซึ่งจะเป็นโครงข่ายที่สำคัญในการ Verify การทำธุรกรรมทางการเงินบนระบบ Blockchain

       ท้ายที่สุด รัฐบาลจีนไม่ได้สนับสนุนการใช้ Blockchain ในภาคธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่รัฐบาลยังได้จัดให้มีวิดีโอสื่อการสอนจำนวน 25 รายการเพื่อให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับ Blockchain โดยยังรวมไปถึงการให้ข้อมูลเกี่ยวกับคริปโทสกุลต่าง ๆ เช่น Ethereum และ BitCoin อีกด้วย ....

สำหรับผู้เขียน นี่คือตัวอย่างที่น่าเลียนแบบ
ในการส่งเสริมรัฐบาลและประชาชนในยุค
5G อย่างแท้จริง

[บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน]


วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

รัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมเสนอร่างสร้างเหรียญ Cryptocurrency เองเพื่อแข่งกับจีน


 รัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมเสนอร่างสร้างเหรียญ Cryptocurrency เอง 
เพื่อแข่งกับจีนในวันพรุ่งนี้ (วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2020) 


  ดูเหมือนว่ารัฐบาลญี่ปุ่นนั้นจะเป็นผู้ตามหลังจีนในขณะนี้ เพื่อที่พวกเขาจะแน่ใจว่าจะไม่ล้าหลังในกระแส cryptocurrency โดยล่าสุดนั้นทางผู้ออกกฎหมายได้ออกมาประกาศว่าพวกเขานั้นเตรียมเผยร่างการออกเหรียญคริปโตของพวกเขาเองในวันศุกร์พรุ่งนี้ (7 กุมภาพันธ์ 2020) โดยเหรียญดังกล่าวนั้นจะอยู่ภายใต้การกำกับของธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่น และจะเป็นเหรียญประเภท Central Bank Digital Currency (CBDC)




แข่งกับเงินดิจิทัลหยวนของจีน


รัฐบาลญี่ปุ่นนั้นเริ่มให้ความสนใจในการสร้างเหรียญ cryptocurrency ของตัวเองทันที      หลังจากที่ทางธนาคารกลางจีนนั้น ออกมาเผยถึงแผนการในการนำเอาเทคโนโลยี Blockchain นั้นมาสร้างเหรียญ digital Yuan เมื่อปีที่แล้ว โดยทางรัฐบาลญี่ปุ่นนั้นเชื่อว่าทางจีนกำลังเล็งที่จะท้าชนกับระบบตะกร้าเงินสำรองของโลกในปัจจบัน ซึ่งประกอบไปด้วยเงินดอลลาร์, ยูโร, ปอนด์ และเยน
หลายคนเชื่อว่าประเทศญี่ปุ่นนั้นมองจีนเป็นคู่แข่ง และพวกเขานั้นกลัวว่าเงินดิจิทัลหยวนนั้นหากมีประชาชนในประเทศจีนกว่า 1.4 พันล้านคนหันมาใช้มันจนหมดประเทศ มันจะกลายมาเป็นมาตรฐานด้านการเงินใหม่ในประเทศจีนทันที
ดังนั้นการเคลื่อนไหวของประเทศญี่ปุ่นในการออกมาสร้างเหรียญคริปโตของตัวเองนั้นก็เพื่อที่จะปกป้องความเป็นผู้นำด้านการเงินในเอเชีย และเพื่อปกป้องเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจของตัวเองด้วย
โดยอ้างอิงจากนาย Noriho Nakayama หรือหนึ่งในฝ่ายผู้ออกกฎหมายด้านการเงินในญี่ปุ่นนั้น ร่างที่จะถูกนำมาเสนอพรุ่งนี้จะช่วยปูทางในการให้หลาย ๆ ฝ่ายในประเทศออกมาใช้เหรียญคริปโตกันมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ได้หมายความว่าทางรัฐบาลญี่ปุ่นนั้นจะเปิดตัวเหรียญ cryptocurrency ของพวกเขาเองในเร็ว ๆ นี้ตามที่หลาย ๆ คนคาดการณ์ไว้ เนื่องด้วยความท้าทายด้านเทคโนโลยี


By 
6 กุมภาพันธ์ 2020




https://siamblockchain.com/2020/02/06/japan-to-release-crypto-draft-tmr/

วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

'สกุลเงินดิจิทัล' ใกล้ตัวเราแค่ไหน?


 'สกุลเงินดิจิทัล' ใกล้ตัวเราแค่ไหน?

ครั้งที่แล้วได้คุยถึง "เงินดิจิทัล (digital money)" ในประเทศไทย เช่น เงินใน e-wallet บัตร 7-11 บัตรรถไฟฟ้า ไว้ว่าคนไทยเปิดรับทำให้เติบโตเร็วมาก วันนี้จึงอยากถือโอกาสชวนผู้อ่านคุยเรื่องต่อเนื่องเกี่ยวกับ "สกุลเงินดิจิทัล (digital currencies)" ว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวแค่ไหน

สกุลเงินดิจิทัล vs เงินดิจิทัล?
          ทั้งสองอย่างเหมือนกันตรงคำว่า "ดิจิทัล" ที่จับต้องไม่ได้ แต่มีตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ ความต่างคือ "เงินดิจิทัล" มีเงินสกุลท้องถิ่นหนุนหลัง เช่น ต้องนำเงินบาทมาชำระผู้ให้บริการ e-money ก่อนใช้ชำระค่าสินค้า จึงมีหน่วยเป็นเงินสกุลท้องถิ่นและมีมูลค่าแน่นอน
          "สกุลเงินดิจิทัล หรือ คริปโทเคอร์เรนซี (cryptocurrency)" เช่น บิทคอยน์ (Bitcoin) เป็นสกุลเงินใหม่ที่สร้างขึ้นจากกลไกคณิตศาสตร์ที่กำหนดจำนวนไว้จำกัด ต้องใช้ระบบคอมพิวเตอร์ถอดรหัสเพื่อนำเงินออกจากกลไก สกุลเงินใหม่นี้สร้างขึ้นเพื่อลดการรวมศูนย์ของระบบการชำระเงินผ่านสถาบันการเงินให้สามารถกระจายไปยังผู้ใช้ในเครือข่ายสกุลเงินนั้นๆ ได้ โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (blockchain) ติดตามการเคลื่อนไหวของเงินแม้จะไม่มีตัวกลางและสามารถป้องกันการปลอมแปลงได้ด้วย การชำระ/โอนเงินจึงอยู่แค่ภายในเครือข่าย ซึ่งมีข้อดีที่รวดเร็ว ต้นทุนต่ำ และปลอดภัย แต่ธนาคารกลางส่วนใหญ่ยังไม่รับรองว่าบรรดาคริปโทเคอร์เรนซีที่เอกชนสร้างขึ้นมา สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย คริปโทเคอร์เรนซีจึงทำหน้าที่ของเงินได้ไม่ครบ เพราะยังไม่เป็นสื่อกลางในการชำระเงินและไม่ถูกใช้เป็นหน่วยกำหนดราคาสิ่งของแถมมูลค่ายังผันผวนมาก แต่ถ้าเป็น "สกุลเงินดิจิทัลที่ธนาคารกลางออกใช้ (central bank digital currency: CBDC)" จะมีคุณสมบัติของเงินที่ครบถ้วนเพราะมีมูลค่าแน่นอนใช้แทนสกุลเงินท้องถิ่นได้ตามกฎหมาย

ทำไมสกุลเงินดิจิทัลจึงเริ่มเป็นที่สนใจ?
          ความนิยมใช้คริปโทเคอร์เรนซี อาจเห็นได้ชัดในประเทศที่คนไม่ค่อยเชื่อถือในเงินสกุลท้องถิ่นและไม่มั่นใจในเสถียรภาพระบบการเงินในประเทศ เช่น ประเทศเวเนซุเอลาที่ประสบวิกฤตเศรษฐกิจ เผชิญกับเงินเฟ้อสูงมากเกือบ 1 ล้านเปอร์เซ็นต์ในปี 2561 ทำให้เงินโบลีเวีย (Bolevar) ซึ่งเป็นสกุลเงินท้องถิ่นแทบไม่มีค่า คนจึงหนีภาวะเงินเฟ้อในสกุลเงินโบลีเวียและขาดความเชื่อมั่นในการบริหารของรัฐไปถือคริปโทเคอร์เรนซี แม้รัฐบาลจะออกสกุลเงินดิจิทัลแห่งชาติชื่อ "Petro coin" ที่หนุนหลังด้วยมูลค่าบ่อน้ำมันของรัฐ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จที่จะดึงให้คนกลับมาเชื่อถือในเงินของรัฐได้

สำหรับเงินสกุลดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (CBDC) โดยทั่วไปจะออกเพื่อ 3 วัตถุประสงค์[1] คือ
(1) ไม่ให้เกิดการผูกขาดและลดความเสี่ยงในระบบการชำระเงินจากการพึ่งพาบริการทางการเงินภาคเอกชนมากไป ซึ่งมักเกิดกับประเทศที่คนไม่ค่อยใช้เงินสดแล้ว เช่น สวีเดนที่มีแผนจะออกสกุลเงิน e-krona
(2) ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพระบบการชำระเงิน
(3) เพิ่มโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงิน ทั้งนี้แต่ละธนาคารกลางอาจกำหนดรูปแบบของ CBDC ต่างกัน โดยเฉพาะการให้ดอกเบี้ยบัญชีเงินฝาก CBDC ที่ธนาคารกลาง (interest-bearing) ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินนโยบายการเงินในช่วงเศรษฐกิจขาลง โดยลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากให้ติดลบได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ธนาคารกลางไม่สามารถทำได้ในสังคมใช้เงินสด เพราะคนสามารถเปลี่ยนไปถือเงินสดแทนการเก็บเงินไว้ในบัญชีเงินฝากแล้วถูกเก็บดอกเบี้ย

นอกจากนี้ 
รายงานสำรวจพบว่า ธนาคารกลางส่วนใหญ่ในโลกติดตามการใช้คริปโทเคอร์เรนซีของคนในประเทศอย่างใกล้ชิดและมีการศึกษา CBDC[2] เตรียมไว้เผื่อต้องออกใช้ แม้มีส่วนน้อยที่มีแผนจะออกใช้จริง โดยให้เหตุผลด้านความมั่นคงและการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการชำระเงินเป็นอันดับแรก และมองเหตุผลด้านนโยบายการเงินเป็นเรื่องรอง
การใช้สกุลเงินดิจิทัลในประเทศไทย
          ปัจจุบันการใช้คริปโทเคอเรนซีในไทยเพื่อธุรกรรมชำระเงินยังมีจำกัด และเริ่มมีคนไทยที่ผลิตคริปโทสัญชาติไทยได้ เช่น Zcoin ส่วนนักลงทุนไทยเริ่มรู้จักคริปโทที่เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลภายใต้ พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 โดยมีสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) กำกับดูแลการขึ้นทะเบียนของผู้ประกอบการซื้อขายคริปโทในไทย และเตือนผู้สนใจลงทุนในคริปโทว่ามีความเสี่ยงสูง ต้องมีความรู้และรับความเสี่ยงที่อาจสูญเงินลงทุนได้
          นอกจากนี้ ธปท. ได้เปิดตัวโครงการอินทนนท์ที่เป็นการทดสอบระบบการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงินโดยใช้ CBDC จำลอง (wholesale CBDC) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงิน และเพิ่งรายงานผลการทดสอบระยะที่ 1 ร่วมกับธนาคารพาณิชย์ 8 แห่งในการโอนเงินระหว่างกันและการบริหารสภาพคล่องในช่วงเดือนสิงหาคม 2561 - มกราคมปีนี้ พบว่าเทคโนโลยีบล็อกเชนมีศักยภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการชำระเงินของไทย แต่การจะนำระบบนี้มาใช้งานจริงต้องใช้เวลาทดสอบขีดความสามารถและศึกษาผลกระทบเพิ่มเติม พร้อมประกาศเตรียมทดสอบระยะที่ 2 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์นี้
          ถึงตอนนี้คงพอบอกได้ว่าสกุลเงินดิจิทัลเริ่มใกล้ตัวคนไทยมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่มองว่าเป็นทางเลือกในการลงทุนและกล้ารับความเสี่ยง ส่วน ธปท. เริ่มเห็นประโยชน์จาก wholesale CBDC ในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการชำระเงินระหว่างสถาบันการเงิน แต่การออก CBDC ให้ประชาชนใช้อาจยังดูไกลตัว ตราบใดที่การใช้คริปโทยังไม่สร้างความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของระบบการเงิน รวมถึงคนไทยยังมั่นใจในการใช้สกุลเงินบาท และความมั่นคงในระบบการชำระเงินของประเทศอยู่
--------------------------------------------------------------
บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล 
ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

โดย..นางสาวฐิติมา ชูเชิด
ฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_01Feb2019.aspx