วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Teach less Learn More ตอน 1 : ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21


ทักษะแห่งอนาคตใหม่  :

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือ อย่างไร ?




      

ศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19
ระบบการศึกษา ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง

         ในประเทศสหรัฐอเมริกาแนวคิดเรื่อง "ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยภาคส่วนที่เกิดจากวงการนอกการศึกษา ประกอบด้วย บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ รวมตัวและก่อตั้งเป็นเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) หรือเรียกย่อๆว่า เครือข่าย P21

        หน่วยงานเหล่านี้มีความกังวลและเห็นความจำเป็นที่เยาวชนจะต้องมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21      ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 จึงได้พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ขึ้น สามารถสรุปทักษะสำคัญอย่างย่อๆ ที่เด็กและเยาวชนควรมีได้ว่า ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R  และ 4C ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ 4 C (Critical Thinking-การคิดวิเคราะห์, Communication- การสื่อสาร Collaboration-การร่วมมือ และ Creativity-ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่ 



       แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คืออย่างไร และคุณลักษณะที่เด็กและเยาวชนพึงมีในโลกยุคใหม่คืออย่างไร คลิกเพื่ออ่านที่นี่

       นอกจากนี้อีกคนหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันเรื่องการฎิรูปการเรียนรู้ดังกล่าวให้กว้างขวางขึ้น คือ เซอร์เคน โรบินสัน นักการศึกษาระดับโลก โดยได้เน้นยำ้ถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงแนวคิดการจัดการศึกษาระบบโรงงาน มาเป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดอย่างสร้างสรรค์และเข้ากับบริบทของโลกที่ได้เปลี่ยนแปลงไป  ชมแอนิเมชั่นด้านบน การเปลี่ยนแปลงแนวคิดด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21  (Changing Education Paradigms) โดย เซอร์เคน โรบินสัน 

         กรอบแนวคิดข้างต้นเองก็เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาทักษะแห่งอนาคตใหม่ในประเทศไทยและท่านที่ริเริ่มและมีบทบาทสำคัญในการผลักดันได้แก่ ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช โดยท่านได้เขียนลงบล็อก  http://www.gotoknow.org อยู่เป็นประจำ รวมถึงได้เขียนหนังสือออกมาชื่อว่า
วิถีสร้างการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21

(สามารถดาวน์โหลดหนังสือได้ที่ http://learning.thaissf.org/document/media/media_396.pdf)



หรือชมวีดีทัศน์  "วิถีสร้างการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21" โดย ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช

         ภาพจาก Langwitches.org
         ขอบคุณบทความดีๆ ที่เห็นควรแบ่งปันบอกต่อ
         จาก http://www.qlf.or.th/Home/Details?contentId=417


วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

โจทย์วิจัย สู่อาเซียนของ สกว.





สกว.พัฒนาโจทย์วิจัย...สู่อาเซียน
แนะ "ปั้นคนรุ่นใหม่-เน้นยุทธศาสตร์ 3 เสาหลัก"


            ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ ผอ.สถาบันรามจิตติ หัวหน้าโครงการจับกระแสความเคลื่อนไหวและนวัตกรรมในการจัดการศึกษาและพัฒนาเด็กและเยาวชน(INTREND)กล่าวในการเสวนา เรื่อง "จับกระแสการเตรียมคนรุ่นใหม่เข้าสู่อาเซียน : วางทิศคิดทางประเทศไทย" ว่าประเทศไทยเรายังมีปัญหาพื้นฐานทั้งในเรื่องโอกาสและคุณภาพการศึกษา โดยยังมีเด็กด้อยโอกาสหลุดจากระบบการศึกษานับล้านคน กลายเป็นแรงงานที่ด้อยคุณภาพ ขาดโอกาสการพัฒนา   คุณภาพการศึกษาโดยรวมก็ยังตกต่ำ จากการขาดกำลังครูและปัจจัยสนับสนุนที่มีคุณภาพและทั่วถึง

           ส่วนการเตรียมคนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ตนอยากเน้นยุทธศาสตร์เชิงประเด็นที่สำคัญๆ และมีผลกระทบสูงเพื่อตอบโจทย์สามเสาหลักอาเซียน โดยในเสาหลักด้านสังคมวัฒนธรรม อยากเน้นมากเพราะเป็นรากฐานความเข้มแข็งของประชาคมระยะยาว อยากให้รัฐส่งเสริมการศึกษาเพื่อความเข้าใจในรากเหง้าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่มีร่วมกัน โดยเน้นการเรียนรู้ผ่านกระบวนการวิจัยที่จะพัฒนาทักษะการคิดเด็ก ส่วนเชิงเนื้อหาควรเน้นประเด็นการค้นคว้าเกี่ยวกับวัฒนธรรมการใช้ชีวิตที่เกี่ยวพันกับประเทศเพื่อนบ้านที่เด็กจับต้องได้

           ส่วนเสาหลักทางเศรษฐกิจตนอยากเน้นเรื่องการพัฒนาทักษะแรงงานทั้งในกลุ่มอายุวัยเรียนและแรงงานนอกกลุ่มอายุวัยเรียนอีกหลายสิบล้านคน อาศัยกลไกสถาบันอาชีวศึกษา วิทยาลัยชุมชน การศึกษานอกระบบเป็นสำคัญ โดยให้ท้องถิ่นร่วมสนับสนุนและรับประโยชน์ที่เกิดขึ้นร่วมกับเพื่อนบ้าน ส่วนเสาหลักด้านการเมืองและความมั่นคงตนขอให้เน้นเรื่องการเคารพในพันธสัญญาหรือข้อปฏิบัติที่มีร่วมกัน โดยเฉพาะพันธสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน

       
ที่มา: ข่าวสด ฉบับวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สกว. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย


น่าสนใจมากทีเดียวกับโจทย์วิจัยนี้   3 เสาหลัก ได้แก่
1.เสาหลักด้านสังคมวัฒนธรรม ** สำคัญที่สุด เพราะเป็นรากฐานของความเข้มแข็ง
2.เสาหลักทางเศรษฐกิจ
3.เสาหลักด้านการเมืองและความมั่นคง








วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ทำอย่างไรให้กลุ่มชาติพันธุ์อ่านเขียนพูดไทยชัดชัด

      
บทความดีๆที่ขออนุญาตนำมาเผยแพร่และศึกษา

 

ถ้าไม่เชื่อเรื่องบุญทำกรรมแต่งแล้วจะเชื่ออะไร เมื่อได้มีโอกาสทำงานวิจัย ที่คาดไม่ได้คิดไม่ถึงว่าจะมีวันนี้ วันที่ได้เรียนรู้มากมายหลากหลายประสบการณ์ทั้งจากพื้นที่ ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ ประสบการณ์นี้คงซื้อหาไม่ได้ แต่เอาไว้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มประสบการณ์ให้กับชีวิตในมุมมองหนึ่ง 

            เมื่อต้องไปทำงานวิจัยการรู้หนังสือสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่   นี่มันคืออะไรกันนี่ คำถาม/ปัญหาการวิจัย คือ ทำอย่างไรให้คนกลุ่มชาติพันธุ์อ่านออกเขียนได้ แล้วทำอย่างไร มีอะไรที่เป็นนวกรรมเพื่อการเรียนรู้ที่จะทำให้คนอ่านออกเขียนได้ ทำอย่างไรกันนี่

            งานวิจัยนี้มีลูกพี่เป็น ดร. สองท่าน เป็นหัวหน้าวิจัย ก็นับว่ามีที่พึ่งได้ในระดับหนึ่งก็แล้วกัน แต่ทั้งลูกพี่และลูกน้องต่างก็ยังคิดกันไม่ออกเลยว่าจะทำอย่างไรให้คนที่ไม่ได้พูดภาษาไทยตั้งแต่เกิด หันมาพูดภาษาไทยได้อย่างดี นี่เขาก็สอนกันมาจนผมขาวหนวดขาวกันหมด กลุ่มชาติพันธุ์ก็ยังพูดภาษาไทยไม่ค่อยได้ และที่สำคัญยังพูดไม่ชัดอีกด้วย จะทำอย่างไรกันนี่

ในประเทศไทยคำว่า การศึกษาแบบทวิภาษา (Bilingual Education) อาจเป็นคำที่ยังไม่คุ้นเคย แต่ที่คุ้นเคย คือคำว่าโรงเรียนสองภาษา หรือ โรงเรียนโปรแกรมภาษาอังกฤษ (English-school programme) ซึ่งใช้กันแพร่หลายในความหมายที่คนเข้าใจกันคือ การศึกษาที่โรงเรียนจัดโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการสอนวิชาต่างๆ ให้กับนักเรียน มีความพยายามที่จะจัดการศึกษาแบบทวิภาษาในประเทศไทยให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งมีภาษาที่หลากหลาย ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ของประเทศไทยและต้องอธิบายให้คลุมกระบวนการและประโยชน์ที่เด็กหรือผู้เรียนกลุ่มชาติพันธุ์จะได้รับ  [1]

           ความหมายของการศึกษาแบบทวิภาษา (Bilingual Education) ตามที่ Wikipedia,  the free encyclopedia[2] ได้อธิบายนั้นครอบคลุมการสอนรายวิชาต่างๆทุกวิชาในโรงเรียนโดยใช้สองภาษาที่ต่างกัน- ในสหรัฐอเมริกา การสอนเกิดขึ้นโดยใช้ภาษาอังกฤษและภาษาของชนกลุ่มน้อย เช่น ภาษา สแปนิช หรือภาษาจีน โดยที่จำนวนการใช้แต่ละภาษามีสัดส่วนแปรเปลี่ยนไป รูปแบบของโปรแกรม (program models) มีดังนี้:

 ·         การศึกษาทวิภาษาแบบสองทางหรือสองภาษา (Two-Way or Dual Language Bilingual Education) โปรแกรมนี้ออกแบบเพื่อช่วยให้นักเรียนทั้งที่เป็นผู้ที่พูดภาษาอังกฤษหรือไม่ได้พูดภาษาอังกฤษในชีวิต(native and non-native English speakers) กลายเป็นผู้ที่ใช้ได้สองภาษาหรือรู้หนังสือทั้งสองภาษา(bilingual or biliterate) โดยอุดมการณ์แล้ว โปรแกรมดังกล่าวในบริบทของสหรัฐอเมริกานั้น ครึ่งหนึ่งของนักเรียนเป็นผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตและอีกครึ่งหนึ่งใช้ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์เช่นภาษาสแปนิช โปรแกรมสองภาษาในลักษณะนี้ได้รับอนุญาตในโรงเรียนของสหรัฐอเมริกาน้อยกว่าถึงแม้ว่าผลการวิจัยจะแสดงให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดในการช่วยให้เรียนภาษาอังกฤษได้ดี และในระยะยาวช่วยพฤติกรรมของผู้เรียนภาษาอังกฤษในโรงเรียนได้ (Center for Applied Linguistics, 2005; Thomas & Collier, 1997; Lindholm-Leary, 2000).
           
·         วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดของการศึกษาแบบทวิภาษาคือ โปรแกรมสองภาษา (Dual Language programme) ซึ่งจะทำนักเรียนเรียนได้ 2 วิธี คือ (1) สอนรายวิชาต่างๆที่หลากหลายด้วยภาษาที่สองของนักเรียน โดยครูทวิภาษาที่ได้รับการอบรมเป็นพิเศษซึ่งสามารถเข้าใจนักเรียนเมื่อเขาถามด้วยภาษาแม่(native language) แต่ครูก็มักตอบด้วยภาษาที่สอง และ (2) ห้องเรียนเพื่อการรู้หนังสือในภาษาแม่ (Native language literacy classes) เพื่อช่วยปรับปรุงการเขียนและทักษะภาษาที่หนึ่ง(first language)ของนักเรียนให้สูงขึ้น การวิจัยพบว่าทักษะต่างๆที่เรียนด้วยภาษาแม่สามารถถ่ายโอนได้ง่ายไปสู่ภาษาที่สองได้ โปรแกรมชนิดนี้ชั้นเรียนภาษาแม่ไม่ได้สอนรายวิชาต่างๆ ชั้นเรียนที่ใช้ภาษาที่สองเน้นเนื้อหามากกว่าไวยากรณ์ ดังนั้นนักเรียนจึงเรียนทุกรายวิชาด้วยภาษาที่สอง


             ฟังแค่เรื่องความหมายของทวิภาษาคืออะไรก็อย่าพึ่งเป็นลมเป็นแล้งไปก่อนล่ะ เรื่องนี้ยังมีอีกยาว ๆ ๆ แล้วค่อย ๆ จับเข่าคุยกันไปก็แล้วกัน เพราะเป้าหมายสำคัญของงานวิจัยคือมีวิธีการอย่างไรที่จะทำอย่างไรให้กลุ่มชาติพันธุ์สามารถเรียนภาษาไทยได้ดีและพูดภาษาไทยได้แบบชัดชัด

·         การศึกษาทวิภาษาแบบพัฒนาการ (Developmental Bilingual Education) เป็นการศึกษาแบบทวิภาษาที่ใช้ภาษาแม่ของเด็กในช่วงเวลาพิเศษที่ขยายเพิ่มขึ้น ควบคู่ไปกับการศึกษาในภาษาอังกฤษ เป้าหมายคือการพัฒนาความเป็นสองภาษา(bilingualism) และให้รู้หนังสือทั้งสองภาษา โปรแกรมลักษณะนี้จัดหาได้เพียงพอสำหรับเด็กที่ภาษาแม่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ และเป็นโปรแกรมที่ธรรมดากว่าโปรแกรมการถ่ายโอน โดยสรุป การศึกษาแบบทวิภาษา เป็นการจัดการศึกษาให้กับนักเรียนที่มีภาษาแม่หรือภาษาชาติกำเนิดของตนเอง โปรแกรมทวิภาษาอาจจัดโดยเริ่มต้นด้วยภาษาแม่เพื่อถ่ายโอนไปยังภาษาหลักซึ่งเป็นภาษาประจำชาติหรือภาษาอังกฤษสำหรับบางประเทศ เพื่อให้เด็กมีความก้าวหน้าในเนื้อหาวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา และมุ่งให้เด็กคล่องแคล่วในการใช้ได้ทั้งสองภาษา
·         การศึกษาทวิภาษาเพื่อการถ่ายโอน (Transitional Bilingual Education) การศึกษาแบบนี้ครอบคลุมการศึกษาสำหรับเด็กที่มีภาษาแม่ของตนเอง โดยปกติเป็นเด็กอายุไม่เกิน 3 ขวบ เพื่อที่จะทำให้มั่นใจว่าเด็กๆ จะไม่ล้าหลังในเนื้อหาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษาในขณะที่กำลังเรียนภาษาอังกฤษ  เป้าหมายคือช่วยให้นักเรียนถ่ายโอนโดยเร็วไปสู่กระแสหลัก(mainstream) คือห้องเรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษเพียงอย่างเดียวและเป้าหมายของโปรแกรมคือการใช้ภาษาอังกฤษอย่างเดียวเท่านั้น โปรแกรมทวิภาษาในประเทศสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่เป็นโปรแกรมเพื่อการถ่ายโอนนี้
            และแล้วก็เหมือนฟ้ามาโปรด เมื่อลูกพี่ ดร.วิศนี ศิลตระกูล พยายามค้นข้อมูลก็ได้เรื่องราวเกี่ยวกับทวิภาษา        ทวิภาษา คืออะไร แล้วจะทำอย่างไรให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ภาษาไทยได้อย่างดีและคล่องแคล่วเมื่อความจำเป็นอย่างนี้ จึงต้องตะลุยกันหาว่า นวกรรมการศึกษาด้าน ทวิภาษา จนพอจะสรุปความหมายได้ว่า


 
           ความหมายของการศึกษาแบบทวิภาษา (Bilingual Education) ตามที่ Wikipedia,  the free encyclopedia[2] ได้อธิบายนั้นครอบคลุมการสอนรายวิชาต่างๆทุกวิชาในโรงเรียนโดยใช้สองภาษาที่ต่างกัน- ในสหรัฐอเมริกา การสอนเกิดขึ้นโดยใช้ภาษาอังกฤษและภาษาของชนกลุ่มน้อย เช่น ภาษา สแปนิช หรือภาษาจีน โดยที่จำนวนการใช้แต่ละภาษามีสัดส่วนแปรเปลี่ยนไป รูปแบบของโปรแกรม (program models) มีดังนี้:

[2] Wikipedia, the free encyclopedia.  Bilingual education. http://en.wikipedia.org/wiki/Bilingual_education



ขอบคุณแหล่งข้อมูล

วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

จุดมุ่งหมายและขั้นตอนของการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง




จุดมุ่งหมายของการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง

โดยทั่วไปนักวิจัยจะทำการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อเพื่อจุดมุ่งหมายประการใดประการหนึ่งหรือหลายประการดังนี้
1. เพื่อแสวงหาแนวคิดพื้นฐานเชิงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำวิจัย
2. เพื่อสำรวจสถานภาพขององค์ความรู้ในเรื่องที่จะทำวิจัย
3. เพื่อแสวงหาสารสนเทศที่จะช่วยตัดสินใจกำหนดแนวทางการวิจัย
4. เพื่อแสวงหาหลักฐานอ้างอิงมาสนับสนุนความคิดเห็นในการอภิปรายผลการวิจัย


ขั้นตอนในการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง
1.     กำหนดจุดมุ่งหมายของการทบทวนเอกสารให้ชัดเจน  การกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนจะช่วยให้ทราบว่าเอกสารใดบ้างควรเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำวิจัย มีแนวทางในการการคัดเลือกเอกสาร และการจับประเด็นจากเอกสารต่าง ๆ ทำได้ง่ายและชัดเจนขึ้น
2.     สำรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง นักวิจัยจะต้องสำรวจว่าการจะทบทวนเอกสารเพื่อจุดมุ่งหมายแต่ละอย่างนั้น ควรจะมีเอกสารอะไรบ้างที่จะต้องนำมาทบทวน  การสำรวจอาจจะเริ่มจากเอกสารรอง ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นโดยใช้สารสนเทศจากเอกสารหลัก
3.     สืบค้นหาเอกสารที่เกี่ยวข้อง  นักวิจัยต้องทราบว่าเอกสารที่ต้องการนั้นอยู่ที่ไหน จะหามาได้อย่างไรนักวิจัยจะต้องรู้จักแหล่งเอกสารประเภทต่างๆ เช่น ห้องสมุด ศูนย์สารนิเทศ ศูนย์เอกสารสนเทศ   หอจดหมายเหตุ ฯลฯ เป็นต้น  และที่สำคัญคือจะต้องมีทักษะในการสืบค้น (Searching skill   หาเอกสารเหล่านั้นด้วย  นั่นคือจะต้องมีความรู้ว่าเอกสารเหล่านั้นจัดเก็บไว้อย่างไร จะเข้าถึงเอกสารนั้นได้อย่างไร  ปัจจุบันเทคโนโลยีในการจัดเก็บเอกสารได้พัฒนาก้าวหน้าไปมาก มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยจัดเก็บเอกสารไว้ในสื่อรูปแบบต่างๆ ที่จะช่วยให้การสืบค้นเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วและกว้างขวาง  นักวิจัยจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการสืบค้นเอกสารจากสื่อเหล่านี้ และติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางด้านนี้อย่างต่อเนื่องเพราะมีการพัฒนาไปค่อนข้างจะรวดเร็ว  จึงจะทำให้การสืบค้นเอกสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4.     คัดเลือกเอกสาร  เอกสารที่ได้จากการสืบค้นในข้อ 3 นั้นไม่ใช่ว่าจะใช้ได้ทั้งหมด นักวิจัยจะทำการคัดเลือกเอาเฉพาะเอกสารที่มีความเกี่ยวข้องจริงๆ ตามจุดมุ่งหมาย  อังนั้นเมื่อได้เอกสารมานักวิจัยจะต้องอ่านอย่างคร่าวๆ (Scanning) ก่อนว่าเอกสารนั้นมีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะวิจัยอย่างแท้จริงหรือไม่  และจะคัดเลือกไว้เฉพาะเอกสารที่มีความเกี่ยวข้องอย่างแท้จริงเท่านั้นเพื่อทบทวนอย่างลึกซึ้งต่อไป
5.    ลงมืออ่านเอกสารอย่างละเอียดจับประเด็นสำคัญให้ได้ตามจุดมุ่งหมาย ถ้าเป็นเอกสารงานวิจัยประเด็นสำคัญที่ต้องการมักจะได้แก่ ปัญหาหรือคำถามหรือวัตถุประสงค์ของการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย ข้อสันนิษฐาน วิธีดำเนินการวิจัย  สรุปผลการวิจัย เป็นต้น  
6.     จดบันทึกสาระที่ได้จากการอ่าน  ควรจดบันทึกลงในบัตร ขนาดของบัตรที่นิยมใช้บันทึกมักจะมีขนาดประมาณ 3 x 5 นิ้ว  ควรบันทึกประเด็นที่ได้จากการอ่านลงในบัตรประเด็นละใบ  และไม่ควรลืมบันทึกข้อมูลบรรณานุกรมของเอกสารด้วย เพื่อจะใช้ประโยชน์ในการอ้างอิงถึงเมื่อจะต้องเรียบเรียงผลการประมวลเอกสารที่เกี่ยวข้อง
7.     สังเคราะห์สาระที่ได้จากอ่านเข้าด้วยกัน
8.     เรียบเรียงผลการประมวลเอกสารที่เกี่ยวข้อง


การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง


การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

วรรณกรรมหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง  (related literature) หมายถึง  เอกสารงานเขียนที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับหัวข้อปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอาจมีหลายลักษณะ เช่น เป็นตำรา สารานุกรม  พจนานุกรม นามานุกรม ดัชนี รายงานสถิติ หนังสือรายปี บทความในวารสาร จุลสาร  ที่สำคัญก็คือรายงานผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น  ผู้วิจัยจะต้องทำการสำรวจอ่านทบทวนอย่างพินิจพิเคราะห์  ทักษะที่สำคัญของการทำวิจัยในขั้นตอนนี้คือ ทักษะในการสืบค้นหาสารนิเทศจากแหล่งต่าง ๆ และทักษะในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
ความสำคัญของการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง
1.   ช่วยให้ผู้วิจัยได้ทราบถึงสภาพขององค์ความรู้ (state of the art) ในเรื่องที่จะทำการวิจัย  คือจะได้ทราบว่าในหัวข้อเรื่องที่ผู้วิจัยสนใจหรือมีข้อสงสัยใคร่หาคำตอบนั้น ได้มีผู้ศึกษาหาคำตอบได้เป็นความรู้ไว้แล้วในแง่มุมหรือประเด็นใดแล้วบ้าง  การจะศึกษาวิจัยเพื่อหาคำตอบในเรื่องนั้นต่อไปควรจะได้ทราบเสียก่อนว่าเรารู้อะไรกันแล้วบ้างเกี่ยวกับเรื่องนั้น ความรู้เหล่านั้นมีความชัดเจนเพียงใด  ยังมีข้อความรู้ที่ขัดแย้งไม่ลงรอยกันบ้างหรือไม่  ประเด็นใดที่ยังไม่มีคำตอบบ้าง  การทราบถึงสถานภาพขององค์ความรู้ในเรื่องที่จะทำวิจัยจะช่วยให้ผู้วิจัยมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ความรู้ใหม่ที่จะได้จากการวิจัยของตนเองนั้นจะมีความสัมพันธ์อย่างไรกับองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วในเรื่องนั้น จะเป็นความรู้ใหม่ที่มีคุณค่าหรือความสำคัญเพียงใด และจะเข้าไปจัดระเบียบอยู่ในองค์ความรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างผสมกลมกลืนได้อย่างไร
2.   ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถหลีกเลี่ยงการทำวิจัยซ้ำซ้อนกับผู้อื่น การวิจัยเป็นเรื่องของการแสวงหาความรู้ใหม่ นักวิจัยไม่นิยมแสงหาความรู้เพื่อที่จะตอบปัญหาเดิมโดยไม่จำเป็น เพราะจะเป็นการเสียเวลา สิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุ สิ่งใดที่รู้แล้วมีผู้หาคำตอบไว้แล้ว นักวิจัยจะไม่ทำวิจัยเพื่อหาคำตอบในเรื่องนั้นซ้ำอีก ดังนั้นนักวิจัยจึงพยายามหลีกเลี่ยงการทำวิจัยซ้ำกับที่ผู้อื่นได้ทำไว้แล้วซึ่งถือเป็นจรรยาบรรณอย่างหนึ่งของนักวิจัย และทำให้การวิจัยนั้นด้อยคุณค่าลง การทบทวนเอกสารวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างถี่ถ้วนและรอบคอบจะทำให้นักวิจัยได้ทราบว่าประเด็นที่ตนเองสนใจจะทำวิจัยนั้นได้มีผู้หาคำตอบไว้แล้วหรือยัง  ถ้ามีแล้วก็จะได้เลี่ยงไปศึกษาในประเด็นอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้มีผู้ศึกษาเอาไว้ต่อไป
3.     ช่วยให้ผู้วิจัยได้มีแนวคิดพื้นฐานเชิงทฤษฎีในเรื่องที่จะทำการวิจัยอย่างเพียงพอ การจะทำวิจัยในเรื่องใดนั้นผู้วิจัยจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นอยู่พอสมควร โดยเฉพาะกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี (Theriticalหรือ Conceptual framwork) เกี่ยวกับเรื่องนั้นจะต้องชัดเจน  สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้วิจัยกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัยได้อย่างชัดเจน  สามารถกำหนดแนวทางในการศึกษาได้อย่างเหมาะสม เข้าใจเนื้อหาสาระของเรื่องที่วิจัยได้อย่างแจ่มแจ้ง
4.     ช่วยให้ผู้วิจัยได้เห็นแนวทางในการดำเนินงานวิจัยของตน  จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องไม่เพียงแต่ทำให้นักวิจัยได้ทราบว่าเรื่องที่สนใจนั้นได้มีผู้วิจัยอื่นได้ค้นคว้าหาคำตอบไว้อย่างไรแล้วเท่านั้น ยังจะได้ทราบด้วยว่านักวิจัยคนอื่น ๆ เหล่านั้นได้มีวิธีการหาคำตอบเอาไว้อย่างไร  มีปัญหาอุปสรรคอย่างไรในการทำวิจัยในเรื่องนั้น  คำตอบที่ได้มามีความชัดเจนแจ่มแจ้งเพียงใด  คำตอบสอดคล้องหรือขัดแยังกันหรือไม่  เอกสารเชิงทฤษฎีต่าง ๆ ได้ชี้แนะแนวทางในการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนั้นอย่างไร  สารสนเทศเหล่านี้นักวิจัยจะนำมาใช้ตัดสินใจกำหนดแนวทางในการวิจัยของตนเริ่มตั้งแต่ การกำหนดประเด็นปัญหาที่เหมาะสม การกำหนดขอบเขตและข้อสันนิษฐานการวิจัยอย่างสมเหตุสมผล ออกแบบวิจัยเพื่อดำเนินการหาคำตอบซึ่งจะเกี่ยวกับการเลือกระเบียบวิธีวิจัย การเลือกตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์หรือประมวลผลข้อมูล ตลอดจนการสรุปและรายงานผลการวิจัย   นักวิจัยจะวางแผนการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาอุปสรรคที่จะทำให้งานวิจัยนั้นล้มเหลวได้  ช่วยให้โอกาสที่จะทำงานมีวิจัยนั้นให้สำเร็จอย่างมีคุณภาพมีสูงขึ้น
5.     ช่วยให้ผู้วิจัยได้มีหลักฐานอ้างอิงเพื่อสนับสนุนในการอภิปรายผลการวิจัย  เมื่อผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยจนได้ข้อสรุปหรือคำตอบให้กับปัญหาแล้ว  ในการรายงานผลการวิจัยผู้วิจัยจะต้องแสดงความคิดเห็นเขิงวิพากษ์วิจารณ์ผลการวิจัย  การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบถี่ถ้วนจะช่วยให้ผู้วิจัยมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการแสดงความเห็นได้อย่างสมเหตุสมผลและมีความหนักแน่นน่าเชื่อถือ
6.     ช่วยสร้างคุณภาพและมาตรฐานเชิงวิชาการให้แก่งานวิจัยนั้น  การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยนั้นจะต้องประมวลมาเป็นรายงานสรุปใส่ไว้ในรายงานการวิจัย หรือเค้าโครงร่างของการวิจัย(Research proposal)ด้วย  การไปทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องมาอย่างกว้างขวางครอบคลุมในเรื่องที่ศึกษาและนำมาเรียบเรียงเอาไว้อย่างดี จะทำให้รายงานหรือโครงร่างการวิจัยนั้นมีคุณภาพและได้มาตรฐาน  เป็นการแสดงถึงศักยภาพของนักวิจัยได้ทางหนึ่งว่ามีความสามารถเพียงพอที่จะทำวิจัยในเรื่องนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ  ในการพิจารณาโครงร่างการวิจัยส่วนหนึ่งที่กรรมการมักจะพิจารณาเป็นพิเศษก็คือ รายงานการประมวลเอกสารที่เกี่ยวข้องนี่เอง


วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

บทความดีๆ เรื่อง แรงงานพม่าในประเทศไทย 1




บทความดีๆ เรื่อง แรงงานพม่าในประเทศไทย 1
ผู้เขียนมาความสนใจเกี่ยวกับ เรื่องแรงงานพม่าที่มีอยู่ในประเทศไทย จึงขออนุญาตศึกษาจากบันทึกต่างๆที่มีผู้รู้ได้ศึกษาและถ่ายทอดไว้ในเว็บไซต์ต่างๆหลายแห่ง  สำหรับบันทึกนี้เป็นของคุณหมอวัลลภ  พรเรืองวงศ์ ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ค่ะ...
ตอนไปซื้อของที่ตลาดไนท์บาซา เชียงใหม่ปรากฏว่า คนขายของที่แวะไปชมหรือพูดคุยสอบถาม 14 แห่ง พูดพม่าได้ประมาณ 11 ร้าน


ทุกวันนี้เมืองไทยเรามีแรงงานต่างด้าวเท่าไร... ไม่มีใครทราบแน่ เพียงแต่ประมาณการณ์กันว่า น่าจะมีรวมกันประมาณ 2 ล้านคน และส่วนใหญ่เป็นชาวพม่า   อาจารย์นักเขียนไทยเชื้อสายมอญที่พูดมอญได้ท่านหนึ่งเล่าว่า เมื่อท่านเข้าไปในเขตมอญของพม่าแล้วถามไถ่ชาวบ้านดู... เกือบทุกบ้านมีประสบการณ์ทำงานในไทยมาแล้ว หรือไม่ก็มีสมาชิกในครอบครัวทำงานในไทยอย่างน้อย 1 คน 
...
ท่านประมาณการณ์ว่า แรงงานพม่าที่เข้ามาทำงานในไทย (กรุงเทพฯ และจังหวัดโดยรอบหรือปริมณฑล) ส่วนใหญ่เป็นชาวมอญ  ถ้าพิจารณาจากประวัติศาสตร์แล้ว... คนมอญประมาณ 1 ใน 3 หรือมากกว่านั้นน่าจะถูกกวาดต้อนไปพุกาม เป็นแรงงานทาสสร้างพระเจดีย์ที่นั่น (คล้ายๆ กับที่เมื่อก่อนคนไทยเป็นแรงงานทาสอาณาจักรขอมสร้างปราสาทไปทั่วกัมพูชาและไทย)
...
พม่ารบกับมอญหลายร้อยปี... คนมอญอาจจะหลบหนีเข้าไทยประมาณ 1 ใน 3 หรือน้อยกว่านั้น อยู่กับคนไทย ช่วยบรรพบุรุษไทยรบ จนกลายเป็นคนมอญเชื้อสายไทย  คนมอญที่เหลือในเขตมอญทุกวันนี้มีน้อยกว่าคนพม่าในเขตมอญเสียอีก สาเหตุหนึ่งที่น้อยลงไปเป็นเพราะอพยพเข้ามาทำงานในไทยมากขึ้นเรื่อยๆ
...
ปีนี้ (2551) ผู้เขียนมีโอกาสเดินทางไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพกับชาวพม่าที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ท่านได้รับการส่องกล้อง ตัดชิ้นเนื้อ ฉีดยาเคมีบำบัดรักษาจนหายดีในพม่า
หลังจากหายแล้วก็หาโอกาสมาตรวจซ้ำในไทย เลยได้เที่ยวเมืองไทยไปด้วย
...
ตอนไปซื้อของที่ตลาดไนท์บาซา เชียงใหม่ปรากฏว่า คนขายของที่แวะไปชมหรือพูดคุยสอบถาม 14 แห่ง พูดพม่าได้ประมาณ 11 ร้าน
ชาวพม่าที่ไปด้วยบอกว่า เป็นคน "ชาน" (พม่าเขียนตัวอักษรเรียกว่า เป็นคน "สยาม" ออกเสียงว่า "ชาน")
...
อาจารย์อนงค์ ภูมชาติ นักวิชาการสาธารณสุข ทำการสำรวจแรงงานต่างด้าวภาคเกษตรกรรมในตำบลสินปุน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ จำนวน 189 คน
ผลการสำรวจพบว่า เป็นชาวมอญประมาณ 2 ใน 3 หรือ 67.1% ส่วนใหญ่มีอายุในระหว่าง 20-30 ปี
...
ผู้เขียนมีโอกาสร่วมติดตามไปส่งท่านพระอาจารย์อมร พระไทยที่เข้าไปศึกษาและปฏิบัติธรรมที่วัดพะเอ้า ตอย่า เมืองเมาะละแหม่ง เขตมอญ พม่าในช่วงวันที่ 15-22 กรกฎาคม 2551
โยมอุปัฏฐากของท่านพระอาจารย์อมรเป็นชาวพม่าเชื้อสายจีน อาศัยอยู่ในเขตมอญมานานแล้ว ท่านบอกว่า เคยทำงานก่อสร้างในไทยมา 14 ปี คุณก้อง โยมอุปัฏฐากชาวชัยภูมิเรียกท่านว่า "อาแปะ"
...
ภาพที่ 1: ภาพถ่ายจากหน้าต่างรถทัวร์จากย่างกุ้งไปเมาละแหม่ง 15 กรกฎาคม 2551 บริเวณด่านตรวจบัตรประชาชน-พาสส์ปอร์ตก่อนข้ามสะพาน ชีวิตที่นั่นทุกอย่างต้องใช้แบบประหยัด แม้แต่รถอีแต๋นคันนี้ก็เช่นกัน


...
อาแปะบอกว่า ตอนนี้ทำงานไม่ไหวแล้ว เพราะเวลาทำอะไรหนักๆ ใจจะสั่นง่าย (ผู้เขียนนั่งมอเตอร์ไซค์ซ้อนท้ายท่านไปสถานีแล้วใจสั่นกลัวตายมาก เพราะอายุเกือบ 60 ปีแล้ว ยังขับรถเร็วแบบเด็กวัยรุ่น)
ท่านมีลูก 5 คน และยินดีเล่าประวัติครอบครัว ผู้เขียนจึงขออนุญาตนำมาเล่าสู่กันฟัง
...
ตอนนี้ภรรยาของท่านกับลูกสาวคนหนึ่ง(จบปริญญาตรีแต่หางานทำในพม่าไม่ได้)ทำงานในบริษัททำความสะอาดแถวลาดกระบัง
ลูกของท่านอีก 2 คนทำงานโรงงานปลาที่สมุทรสาคร ลูกสาวคนถัดไปจบปริญญาโทสาขาคณิตศาสตร์ ตอนนี้ยังหางานทำในพม่าไม่ได้เช่นกัน ลูกคนสุดท้องกำลังเรียนปริญญาตรีสาขาคอมพิวเตอร์อยู่
...
สรุปคือ ครอบครัวอาแปะครอบครัวเดียว 7 คนมีประสบการณ์ทำงานในไทยรวมกันแล้ว 5 คนจาก 7 คน และคนที่เหลือก็อาจจะเข้ามาทำงานในไทย(ในอนาคต)
อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมาะละแหม่งท่านหนึ่งเป็นชาวมอญ... พูดไทยชัดเปรี๊ยะ บ้านของท่านอยู่ปากซอยตรงข้ามวัด ท่านไปเยี่ยมผู้เขียนที่วัด
...
ภาพที่ 2: "ห้องพระ" สร้างให้ยื่นออกจากตัวบ้านเล็กน้อยตามความเชื่อที่ว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นที่เคารพสักการะ หรือเป็นของสูง ไม่ควรให้ชาวบ้านอยู่ร่วมชายคาเดียวกับพระพุทธเจ้า
การใช้กระจกสีนับว่า มีส่วนได้ถวายไฟสีต่างๆ เป็นพุทธบูชา ไม่ทำให้โลกร้อน และเข้ากับบรรยากาศที่นั่น ซึ่งไฟดับ "เกือบทั้งวันและทุกวัน" บ้านอาแปะเป็นบ้านแห่งการบูชา คือ ไหว้ทั้งพระ ไหว้เจ้า(แบบจีน) ไหว้บรรพบุรุษ และไหว้นัต(เทพหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อพม่า)



...
ท่านเล่าให้ฟังว่า ทำงานร้านทำกระจกและอลูมิเนียมแถวพระโขนง 8 ปี ตอนนี้เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
ท่านบอกว่า อาหารพม่า-อาหารมอญมี(น้ำ)มันมากไปหน่อย ท่านชอบอาหารไทย อาหารไทยมีวิตะมินมาก(ท่านบอกอย่างนั้น)
...
พระภิกษุในวัดมีประมาณ 200 กว่ารูป เมื่อท่านที่พูดไทยได้รู้ว่า ผู้เขียนมาจากเมืองไทยก็เข้ามาทักทาย
พระรูปหนึ่งเป็นชาวทวาย(ทางใต้ของพม่า)พูดไทยชัดมาก ท่านบอกว่า ทำงานก่อสร้างที่ระนองมาก่อน
...
ภาพที่ 3: อาหารเช้าแบบง่ายๆ สบายๆ ที่วัดพะโอ๊ะ ตอย่า... พระ แม่ชี ผู้ปฏิบัติธรรมต้องถือถาด ชาม ช้อน และถ้วยไปรับอาหาร
อาหารเช้าซึ่งเกือบทุกวันจะมีข้าวต้ม หัวหอมสับ ถั่วทอดเป็นหลัก บางวันโชคดีมีเจ้าภาพมาทำบุญ จะมีโปรตีนถั่วเหลืองปนลงไป มีชาใส่นม(ละพะแย) ขนม อาหารพิเศษ (เช่น ปอเปี๊ยะในภาพ ฯลฯ) และอาจมีคนถามว่า "เมียนม่าร์ (คนพม่ารวมทุกเชื้อชาติ) หรือเปล่า" ถ้าใช่... เขาจะให้ "งาปิ๊" หรือกะปิพม่ากลิ่นคล้ายปลาร้า(แต่แรงกว่า) ทำจากปลาหมัก ให้ด้วย คนต่างชาติก็รับเจ้างาปิ๊ได้... ถ้าชอบกลิ่นปลาร้า
คนที่นั่นฉลาดเรื่องอาหาร... มีการใส่วิตามินบีชนิดต่างๆ ให้ด้วย เนื่องจากอาหารทำรวมกันแบบเดียวคือ มังสวิรัติ เพื่อให้ทุกคนกินได้คล้ายๆ กัน คนที่กินมังสวิรัตินานๆ มักจะขาดวิตามิน B12 การกินวิตามิน B12 เสริมจึงมีประโยชน์มาก

...
พระอีกรูปหนึ่งเป็นชาวมอญ พูดไทยชัดมากเช่นกัน ท่านบอกว่า ทำงานที่ระนองมาก่อน ตอนหลังย้ายไปทำงานในโรงแรมที่ภูเก็ต ตอนนี้มีพี่น้องทำงานที่ภูเก็ตอยู่ 15 คน
ผู้ปฏิบัติธรรมในพม่าเรียกกันว่า "โยคี" ตอนผู้เขียนไปมีฆราวาสเข้าไปปฏิบัติธรรม ซึ่งส่วนใหญ่จะปฏิบัติธรรมกันแบบจริงจังตลอดพรรษา รวมมีโยคีทั้งหมดประมาณ14 ท่าน
...
โยคีท่านหนึ่งบอกว่า ท่านเป็นกัปตันเรือมาก่อน แต่งงานกับคนอำเภองาว ลำปาง เลยพูดไทยได้
พอพูดไทยกัน... โยคีฝรั่งเศสก็เข้ามาพูดไทยด้วย ท่านพูดไทยชัดเปรี๊ยะเช่นกัน ท่านบอกว่า เข้ามาปฏิบัติธรรมในไทยหลายแห่ง รู้จักพระและแม่ชีดังๆ มากมาย โดยเฉพาะพระป่า
...
ภาพที่ 4: คนมอญและคนพม่าเป็นคนมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาดีมากๆ วัดป่าพะเอ้ามีพื้นที่ประมาณ 1,250 ไร่ กินรวมตั้งแต่พื้นที่ราบไปจนพื้นที่บนเขาเตี้ยๆ
อาสาสมัครของวัด (เรียกว่า "กัปปิยะ") จะเข้าไปทำงานหลายอย่าง เช่น ตื่นก่อนตี 4 เพื่อกรีดยางเอาบุญ โดยมีอาสาสมัครอีกทีมทำงานออฟฟิซ เพื่อดูแลการเงินให้ถูกต้องตามพระวินัยบัญญัติ


ท่านบอกว่า อีกหน่อยจะกลับไปบวชที่เมืองไทย วัดพม่าจะว่าดีก็ดี แต่วัดใหญ่ไปหน่อย ท่านชอบวัดไทยเล็กๆ ที่ระยองมากกว่า
โยคีอีกท่านหนึ่งโกนหัวเรียบร้อย (คนที่ปฏิบัติธรรมในพม่า 2-4 สัปดาห์ขึ้นไปนิยมโกนหัว) เป็นชาวมอญลูกครึ่งกะเหรี่ยง พูดไทยชัดเจน ท่านบอกว่า ทำงานที่สมุทรสาครมา 8 ปี
...
หลังเข้าร่วมปฏิบัติธรรมได้เกือบ 6 วัน... ผู้เขียนมีโอกาสพักที่บ้านอาแปะ และได้ออกเดินสำรวจหมู่บ้านรอบๆ ตอนค่ำ  เจ้าของร้านขายของชำเล็กๆ ที่นั่นร้านหนึ่งจากร้านที่แวะไป 4 แห่งบอกว่า ทำงานก่อสร้างในไทยมาก่อน 20 ปี
...
ตอนขึ้นรถไฟกลับจากเมาะละแหม่งไปย่างกุ้ง... ผู้เขียนพบผู้หญิงท้องแก่ท่านหนึ่ง ท่านพูดไทยได้ชัดเปรี๊ยะเช่นกัน  ท่านบอกว่า ทำงานก่อสร้างแถวๆ ระนอง กลับไปคลอดลูกที่พะโค (หงสาวดี) พอคลอดเสร็จก็จะฝากยายเลี้ยง
...
"ชอบอยู่เมืองไทย... อยากกินอะไรก็ได้กิน" ท่านว่าอย่างนั้น
มีความเป็นไปได้มากที่ว่า
  • แรงงานพม่าในไทยทางภาคเหนือส่วนใหญ่เป็น "คนไต (ชาวไทยใหญ่ในพม่าออกเสียง "คนไทย" เป็น "คนไต")
  • แรงงานแถวๆ แม่สอดน่าจะเป็นคนกะเหรี่ยง พม่า และมอญผสมผสานกันไป
  • แรงงานพม่าในกรุงเทพฯ ปริมณฑล โดยเฉพาะสมุทรสาครเป็น "คนมอญ" ซึ่งก็เป็นพี่ๆ น้องๆ ของคนไทยเรา
...
แรงงานที่กล่าวได้ว่า เป็นพี่ๆ น้องๆ กับคนไทยจริงๆ คงจะเป็นชาวไทยใหญ่ และชาวมอญ ซึ่งเป็นพี่ๆ น้องๆ กับคนไทยมาตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนาน
ชาวไทยใหญ่จริงๆ แล้วก็เป็นคนไทย แต่เป็นคนไทยที่อยู่ไกลออกไป... คนไทยเรากระจัดกระจายไปทั่วภูมิภาคนี้
...
ครั้งหนึ่งผู้เขียนไปนมัสการสังเวชนียสถานที่อินเดีย(วัดป่าพุทธคยา)... พระที่นั่นหลายรูปคล้ายคนอีสานมากๆ ทว่า... พูดไทยไม่ได้ พูดได้แต่ภาษาอังกฤษและภาษาอินเดีย
ท่านบอกว่า เป็นไทยอาหม... นี่ก็ไทยเหมือนกัน แต่อยู่ไกลไปจนถึงอินเดีย
...
ทุกวันนี้เรายังไม่รู้ว่า แรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะแรงงานพม่าในไทยมีจำนวนที่แท้จริงเท่าไร
ทว่า... ถ้ามีการลดราคาค่าบัตรทำงาน (work permit)เพื่อให้แรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่จดทะเบียนถูกต้อง น่าจะดีกว่าการคิดค่าบัตรทำงานสูงๆ และปล่อยให้แรงงานส่วนใหญ่ไม่มีทะเบียน
...
เรื่องที่น่าสนใจมากๆ คือ เวลาคนไทยเราไปต่างบ้านต่างเมือง... นอกจากจะได้รับความช่วยเหลือจากคนไทยด้วยกันแล้ว ยังได้รับความช่วยเหลือจากคนที่เคยอยู่ในไทยอีกด้วย
เมืองไทยคงจะมีอะไรดีหลายอย่าง... ผู้เขียนเคยถามผู้บริจาคเลือดชาวพม่าหลายท่านว่า ชาติหน้าอยากจะเกิดที่ไหน ผู้บริจาค 2 ท่านตอบกลับมาเบาๆ ว่า ขอเกิดเมืองไทย
...
ท่านบอกว่า เมืองไทยเป็นเมืองพระพุทธศาสนา มีความร่มเย็น... เวลาได้ไปเมืองไทยแล้ว มีความสุข    ขอให้พวกเราช่วยกันรักษาอะไรๆ ที่ดีแบบไทยๆ ไว้ครับ...
...


ที่มา
  • กราบขอบพระคุณ > ท่านพระอาจารย์อมร
  • ขอขอบพระคุณ > คุณก้องจากชัยภูมิ + อาแปะ(อุปัฏฐากชาวพม่า)
  • ขอขอบพระคุณ > ท่านอาจารย์อนงค์ ภูมชาติ. นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขกระบี่. สุขภาพภาคประชาชน. ปี 3. ฉบับ 4. เมษายน-พฤษภาคม 2551. หน้า 33-36.

แหล่งข้อมูล http://www.gotoknow.org/blogs/posts/198896

วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

Teaching Strategies: Curriculum Design

 

Teaching Strategies: Curriculum Design


Faculty undertake revisions of the curriculum for a variety of reasons including shifts in disciplinary approaches and emphases and changes in student demographics and interests. The links in this section provide guidance for faculty who are undertaking curriculum design or revision.

The National Academy for Academic Leadership: Designing a College Curriculum (Gardinier, 2000)
http://www.thenationalacademy.org/readings/designing.html
Lists principles to consider when assessing the quality of curricula in a review process. These principles apply both to college-wide and more restricted disciplinary curricula and to curricula at both the undergraduate and graduate levels. This resource also offers tips for clearly defining curricular outcomes.
The National Academy for Academic Leadership: Curriculum Review (Diamond & Gardinier, 2000)
http://www.thenationalacademy.org/readings/curriculum.html
Included are a number of key questions to ask when reviewing curricula. Most of them are germane whether a curriculum is in general education or a specialized field. Although designed for reviewing curricula that already exist, many of these questions also can be helpful when beginning to design a new curriculum.
The College Curriculum Renewal Project (Georgetown University)
http://cndls.georgetown.edu/about/grants/ccrp/
Examples from a Georgetown initiative to revise the curricula of individual courses. The most important guiding question for the College Curriculum Renewal Project has always been: How do we expand and deepen student learning? And more specifically: How do we expand and deepen student learning in the core curriculum? In the major? How do we reward and encourage the most intellectually interested and curious students in a particular subject?
Curriculum Design and Revision (Carleton College)
http://serc.carleton.edu/departments/programs/curriculum.html
This is a useful resource on how a program actually does curriculum design.  This site is specific to geoscience departments, but the information and processes are applicable widely. See also the following link from Carleton on the matrix approach to curriculum design: http://serc.carleton.edu/departments/programs/matrix.html.
Matrix Approach to Curriculum Design (Carleton College)
http://serc.carleton.edu/departments/programs/matrix.html
For many years, the Geology Departments at Carleton College and the College of William and Mary have utilized a "matrix approach" to assessing and revising their curricula. Rows of the matrix represent essential skills to be developed and columns represent courses within the core curriculum. This allows faculty to see where skills are developed and whether there are any "skills gaps" within the curriculum.
Western (Ontario) Guide to Curriculum Review (McNay, 2009)
http://www.uwo.ca/tsc/pdf/PG_4_Curriculum.pdf
Comprehensive and useful booklet from the University of Western Ontario. It includes a brief discussion of the “hidden curriculum” (p. 11), which is often learned more readily, understood more thoroughly, and remembered longer than is the official curriculum.
Thank you : http://www.crlt.umich.edu/tstrategies/tscd.php




A Model for Teaching with Technology

 A Model for Teaching with Technology





From a systems approach, teaching with technology involves four major components: the students, the instructor, course content, and technology tools (See Figure 1). An examination of each component raises a set of issues that we need to consider in order to make technology integration as successful as possible. For example, content can be examined in terms of learning outcomes and the discipline being taught. Instructors can think of their own experience with technology, the amount of time they have for planning and teaching, and their view of their role in the teaching and learning process.

We need to think carefully about our students, their exposure and access to technology as well as their preferred learning styles. Finally, we can turn to the technology itself and analyze it according to its functions. This approach to teaching and learning with technology assumes that the four component parts are integrated and that changes in one part will require adjustments to the other three in order to achieve the same goals. From Zhu & Kaplan (2001) McKeachie's Teaching Tips.


From Zhu & Kaplan (2001) McKeachie's Teaching Tips.
http://www.crlt.umich.edu/inst/model.php#toprail



วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555

หลักการสอนภาษาแบบธรรมชาติ



หลักการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
        จากความเชื่อ แนวคิด และหลักการสอนภาษาแบบธรรมชาติที่นักการศึกษาหลายท่านได้อธิบายไว้ สรุปเป็นหลักการสำคัญของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ ดังนี้


        1. การจัดสภาพแวดล้อม   การสอนภาษาต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม ตัวหนังสือที่ปรากฏในห้องเรียนต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ หนังสือที่ใช้จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว ไม่แบ่งเป็นทักษะย่อยๆ และจะต้องให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมด้วย

       
2. การสื่อสารที่มีความหมาย  การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริงที่มีความหมายต่อเด็ก ครูจะต้องจัดเวลาให้เด็กมีโอกาสอ่านเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมายจริงๆ ไม่ใช่เป็นเพียงกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อการฝึกหัด และให้เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาสตลอดทั้งวัน โดยไม่ต้องกำหนดตายตัวว่าช่วงเวลาใดต้องอ่าน หรือช่วงเวลาใดต้องเขียน


       3. การเป็นแบบอย่าง การสอนภาษาจะต้องให้เด็กเห็นประโยชน์ของการใช้ภาษาในความมุ่งหมายต่างๆ ครูต้องอ่านและเขียนโดยมีจุดมุ่งหมายในการใช้จริงๆให้เด็กได้เห็น เช่น เพื่อการสื่อสาร เพื่อความเพลิดเพลิน เพื่อค้นหาวิธีการ ฯลฯ นอกจากนี้ครูยังต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก เพื่อสร้างให้เด็กเกิดความรู้สึกที่ดีต่อการอ่าน    
       
       

      4. การตั้งความคาดหวัง  การสอนภาษาจะต้องเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับที่เด็กเรียนรู้ที่จะพูด ครูควรเชื่อมั่นว่าเด็กจะสามารถอ่านและเขียนได้ดีขึ้นและถูกต้องยิ่งขึ้น เด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียนตั้งแต่ยังอ่านและเขียนไม่เป็น ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับโอกาสที่จะอ่านและเขียนตั้งแต่วันแรกที่มาโรงเรียน และที่สำคัญคือครูไม่ควรคาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผู้ใหญ่

       
5. การคาดคะเน  การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา สร้างสมมุติฐาน-เบื้องต้นของตน และมีโอกาสเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน และมีโอกาสคิดประดิษฐ์สัญลักษณ์และคิดสะกดเพื่อการเขียน

       
6. การให้ข้อมูลย้อนกลับ  การสอนภาษาควรตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็กในทางบวก ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็กว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายแม้ว่ายังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ และพยายามตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ ครูอาจให้เด็กได้เห็นตัวอย่างที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมชาติ เช่น การอ่านหนังสือเล่มที่เด็กชอบอ่านให้เด็กฟังในโอกาสอื่นๆ หรือเขียนให้ดูเมื่อมีการสนทนาในกลุ่มใหญ่ เป็นต้น

       
7. การยอมรับนับถือ  การสอนภาษาจะต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก ว่าเด็กเรียนรู้การอ่านและเขียนอย่างแตกต่างกัน ตามช่วงเวลา และอัตราที่แตกต่างกัน ครูต้องศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล ศึกษาความสนใจ ความสามารถ และสอนเด็กตามความสามารถที่แตกต่างกันของเด็ก เด็กต้องได้ตัดสินใจเลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง ในช่วงเวลาเดียวกันเด็กไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมอย่างเดียวกัน หรือทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน เพราะการเรียนรู้ภาษาไม่มีลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องตายตัว   

           8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น  การสอนภาษาต้องส่งเสริมให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่จะคาดคะเนในการอ่านหรือเขียน แม้ว่าไม่เคยอ่านหรือเขียนมาก่อน ครูต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือด้านการอ่านและเขียนเมื่อจำเป็น เด็กต้องไม่ถูกตราหน้าว่าไม่มีความสามารถในการอ่านและเขียน ดังนั้น การสอนภาษาจึงต้องเป็นไปอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการและความสามารถของเด็ก เพื่อให้เด็กมีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถที่จะอ่านและเขียนได้        
       
     


แหล่งอ้างอิง จากเว็บไซต์ห้องเรียนครูแมว
ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ : เพื่อประกอบการศึกษา