วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562

รู้จักแผน IEP และ แผน IIP





แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล  (Individualized Education Program: IEP) 
และแผนการสอนเฉพาะบุคคล(Individual Implementation Plan: IIP) ต่างกันอย่างไร


แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล  (IEP)  เป็นแผนการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นรายบุคคล  โดยมีแผนระยะยาวและระยะสั้น  โดยปกติจะเป็นแผนระยะ  1  ปี  และมีการทบทวนทุกภาคเรียน  การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลนั้น ๆ  ทุกฝ่ายจะมีส่วนร่วมพิจารณาในการจัดบริการทางการศึกษาให้สอดคล้องเหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเด็ก  ทั้งการจัดการเรียนการสอน  การวัดประเมินผล  และบริการพิเศษ  ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา  แผนการสอนเฉพาะบุคคล  (IIP)  เป็นแผนการสอนจัดขึ้นเฉพาะเจาะจงสำหรับนักเรียนคนนั้นเพื่อช่วยให้นักเรียนบรรลุจุดประสงค์  และเป้าหมายที่กำหนดไว้ใน  IEP
ในโรงเรียนหนึ่งควรรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมกี่คนจึงจะเหมาะสม จำนวนเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่จะเข้าไปเรียนรวมนั้น  ไม่มีเกณฑ์กำหนดตายตัวแต่โดยทั่วไปในทางปฏิบัติการให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษขึ้นมาเรียนรวมในห้องเรียนปกติห้องเรียนหนึ่งไม่ควรเกิน  3 คน หรืออาจมากกว่านั้น โดยให้คำนึงถึงประเภทระดับความพิการ และความพร้อมของเด็กด้วย
หลักสูตรและการวัดประเมินผลเด็กที่มีความต้องการพิเศษจะแตกต่างกับเด็กปกติหรือไม่ เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนจะต้องมีแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล  (Individualized  Education  Program  : IEP)  สำหรับเด็กปกติจะมีเกณฑ์มาตรฐานซึ่งกรมวิชาการกำหนดไว้  เด็กที่มีความต้องพิเศษมีมาตรฐานเป็นรายบุคคลเพราะมาตรฐานของเด็กที่มีความต้องการพิเศษแต่ละคนไม่เท่ากัน  การจัดหลักสูตรสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษจะใช้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นศูนย์กลาง  หลักสูตรต้องสอดคล้องกับความต้องการของแต่ละคน  สอนตามความต้องการของเด็ก  สอนไปวัดผลไปการวัดผลเด็กที่มีความต้องการพิเศษจะประเมินตามที่กำหนดไว้ใน  IEP  ประเมินความก้าวหน้าของเด็ก
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ  ควรจัดอย่างไร การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษควรจัดเป็นรายบุคคล  เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน  การศึกษาจึงควรสนองความต้องการของเด็กเด็กที่มีความต้องการพิเศษแต่ละคนจึงต้องมีแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล  (IEP)  แต่การสอนอาจรวมกลุ่มสอนเป็นกลุ่มเด็ก ๆ ได้ หากเด็กมีแผนการจัดการศึกษา เฉพาะบุคคลคล้ายกัน
หลักสำคัญในการจัดการเรียนการสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่ครูพึงกระทำมีอะไรบ้าง หลักสำคัญมีดังนี้  ขอให้มีน้ำใจ  โอบอ้อมอารี  และอีกประการคือ  ต้องรู้จักสังเกตพฤติกรรม  เข้าใจเด็ก  ค้นหาปัญหาของเด็กว่าอยู่ที่ไหน  ความต้องการของเด็กอยู่ที่ไหน  สิ่งไหนเด็กชอบ  สิ่งไหนเด็กไม่ชอบ  ทำอย่างไรเด็กจึงจะเรียนรู้ได้ดีขึ้น  ครูปกติที่ไม่ได้รับการอบรมก็สามารถสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้  หากเป็นคนช่างสังเกตและใฝ่หาความรู้เพิ่มเติม  นั่นคือ  หลักสำคัญในการสอน  การสังเกตเป็นวิธีการวิทยาศาสตร์  ถ้าครูนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนก็จะสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้ทุกคน
จำเป็นหรือไม่ที่เด็กที่มีความต้องการพิเศษจะต้องเรียนกับครูที่จบการศึกษาพิเศษโดยตรง โดยหลักการครูที่จบการศึกษาพิเศษจะมีความรู้ด้านการศึกษาพิเศษมากกว่าครูที่ไม่ได้เรียนมาด้านนี้  แต่การเป็นครูที่ดียังมีองค์ประกอบอื่นอีกหลายประการ  เช่น  การเอาใจใส่  ความช่างสังเกต  ความมั่นใจ  การตั้งใจสอน  รู้จักสังเกตพฤติกรรม  ครูที่สอนให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของเด็ก  ครูที่เอาใจใส่เด็ก ครูที่ไม่ดุเด็ก  ไม่ลงโทษเด็กโดยใช้วาจาหยาบคาย  ด่าทอ  เฆี่ยนตี  ครูที่รู้จักให้กำลังใจให้แรงเสริมเด็ก  ครูประเภทนี้จะสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษเหล่านี้ได้  พบว่า  ครูบางคนไม่จบการศึกษาพิเศษ  แต่สอนเด็กได้ดีกว่าครูที่จบการศึกษาพิเศษบางคนก็มี
การสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ  เป็นหน้าที่ของครูทางการศึกษาพิเศษเท่านั้นใช่หรือไม่ การให้การศึกษาแก่เด็กเป็นหน้าที่ของทุกคนในโรงเรียนควรถือเป็นหน้าที่โดยตรง  สำหรับครูที่สอนเด็กปกติจะต้องสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่เรียนรวมในโรงเรียนเดียวกัน  หากครูที่สอนเด็กปกติไม่มีความรู้เกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษก็ควรเป็นหน้าที่ของครูคนนั้นที่จะต้องใฝ่หาความรู้จนสามารถสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้