วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2562

รู้จักเด็กออทิสติก



 
เด็กออทิสติก


       ออทิสติก จัดอยู่ในกลุ่มความผิดปกติที่เรียกว่า กลุ่มโรคออทิสติก (autism spectrum disorders หรือ ASDs) ออทิสติก และ ASDs อื่นๆ   เป็นความผิดปกติด้านพัฒนาการ ซึ่งหมายความว่ามันสร้างความเสียหายต่อความสามารถในการเติบโตและมีพํฒนาการได้ตามปกติของเด็ก 
             กลุ่มโรคออทิสติก ประกอบด้วย
1.แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม (Asperger Syndrome)
2.กลุ่มที่พบมีความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน แต่ไม่ครบตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคชนิดเฉพาะใดๆ (PDD-NOS หรือ atypical autism)
3.โรคออทิสติก (ออทิสติกดั้งเดิม)

ตามนิยามแล้ว กลุ่มโรคออทิสติกส่งผลกระทบต่อโดเมนหลักของการสั่งการของเด็ก 3 โดเมน ซึ่งโดเมนที่คนรู้สึกเป็นศูนย์กลางมากที่สุดคือส่วนที่เป็นปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เด็กที่เติบโตอย่างปกติจะมีการสนทนากับผู้คนหรือมีการแลกเปลี่ยนทางสังคม ซึ่งส่วนนี้จะเป็นความบกพร่องเกือบตลอดเวลาของเด็กที่เป็นออทิสติก ส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งการอีก 2 ส่วนที่พบในเด็กที่เป็นออทิสติกคือปัญหาด้านการพูดภาษาและมีความสนใจ ความคิดและพฤติกรรมต่อบางอย่างซ้ำๆ ตามนิยามแล้ว อาการเหล่านี้จะปรากฏในช่วงอายุ 3 ปี และพวกเขาจะมีระดับปัญญาโดยรวมไม่สมส่วนกันตามระดับของเด็กทั่วไป เด็กที่ปัญญาอ่อนจะมีอาการไม่ปกติบางอย่าง แต่นั่นก็เป็นปกติเมื่อเทียบกับอายุจิตทางปัญญาของพวกเขา

อาการทั่วไปของออทิสติก ประกอบด้วย
·                 ขาดความสนใจ ต่อผู้คนหรือการตอบสนองต่อผู้คน
·                 มีความสนใจมากเกินไป กับวัสดุหรือสิ่งของมากกว่าผู้คน
·                 หลีกเลี่ยงการสบตา
·                 ล้มเหลวในการจดจำหรือขานรับ ชื่อของตัวเอง
·                 ล้มเหลวในการแสดงออกหรือมีความรู้สึกสงสารผู้อื่น
·                 พฤติกรรมทำซ้ำๆ เช่น หมุนหรือโยก
·                 พูดตอบช้าตอบสนองต่อสิ่งอื่นๆช้า

การจัดการศึกษาสำหรับเด็ก/บุคคลออทิสติก จะมีวิธีการอย่างไร

การจัดการศึกษาสำหรับเด็ก/บุคคลออทิสติกนั้น
  เพื่อที่เด็กจะได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ  เหมือนปกติทั่วไปในสังคมมนุษย์  ตั้งแต่ชั้นอนุบาลควรใช้หลักสูตรการเรียนการสอนของเด็กปกติ  เพียงแต่ปรับให้เหมาะสมกับศักยภาพของแต่ละคน มีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)  และแผนการสอนรายบุคคล  (IIP)  มีเกณฑ์การวัดและประเมินผลตาม  IEP  มีจิตวิทยาในการเรียนการสอน  และรู้ธรรมชาติของเด็กออทิสติก  ก็จะช่วยให้เด็กกลุ่มนี้สามารถเรียนรู้ได้
      การฝึกอาชีพการประกอบอาชีพสำหรับเด็กและบุคคลเหล่านี้กระทำได้หรือไม่ ทำได้  เด็กบางคนมีความสามารถพิเศษในบางเรื่อง  ดังนั้นพ่อแม่ผู้ปกครองและครูควรพยายามสังเกตเด็กว่ามีความสนใจเป็นพิเศษในเรื่องใดและทำกิจกรรมใดได้ดีตามศักยภาพของเด็กและบุคคลออทิสติกที่มีอยู่  มีอาชีพหลายอย่างที่คนเหล่านี้ทำได้  ยกตัวอย่างเช่น  จิตรกร  นักดนตรี  นักเขียนโปรแกรม  คอมพิวเตอร์  ผู้ประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์  นักเขียน  งานฝีมือต่าง ๆ  เป็นต้น      
แหล่งข้อมูล https://www.honestdocs.co/autism

ใช้ “นิทาน” ช่วยพัฒนาการเด็กออทิสติก



จิตอาสาใช้นิทานช่วยพัฒนาการเด็กออทิสติก
ช่วยเด็กอยู่นิ่งมากขึ้น พูดคุยกับบุคคลอื่น แนะพ่อแม่อย่าท้อ
ต้องช่วยกันกระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติก


นางสกุลศรี บุญโชติอนันต์ คณะทำงานโครงการนิทานสร้างได้ กล่าวภายในงานมหกรรมวันคนพิการสากลปี 2558 ว่า คณะทำงานดังกล่าวเป็นการต่อยอดจากกิจกรรมเล่านิทานของสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต ที่เล่านิทานให้แก่เด็กออทิสติก เพื่อเสริมทักษะให้เด็กกลุ่มนี้ โดยตนเป็นหนึ่งในแม่ที่นำลูกมาบำบัดรักษาที่สถาบันราชานุกูล และได้เห็นว่าลูกมีพัฒนาการดีขึ้นจากการรับฟังนิทาน คือ เริ่มนิ่งขึ้น จากปกติเด็กกลุ่มนี้จะเคลื่อนไหวตลอด และไม่นิ่ง รวมทั้งเริ่มพูดคุยกับบุคคลอื่นนอกจากแม่ ซึ่งการเล่านิทานจะมีวิธีต่าง ๆ มากมายที่เสริมสร้างตรงนี้ได้ แต่ต้องใช้เวลา โดยลูกของตนเริ่มเล่านิทานให้ฟังตั้งแต่อายุ 2 ขวบ จนอายุ 6 ขวบเริ่มมีอาการดีขึ้น และทุกวันนี้ลูกของตนก็สามารถเล่านิทานได้เองด้วย จึงเกิดความคิดว่าหากมีการเล่านิทานไปยังเด็กออทิสติกคนอื่น ๆ ก็จะช่วยให้พวกเขามีพัฒนาการดีขึ้น

“พวกเราจึงรวมตัวกันในกลุ่มแม่ ๆ ทั้งหมด 7 คน และก่อตั้งเป็นโครงการนิทานสร้างได้ เพื่อเป็นอาสาสมัครในการเล่านิทานให้แก่เด็กออทิสติกโดยเฉพาะ โดยทำงานแบบจิตอาสาเชิงรุก นำกิจกรรมการใช้สื่อนิทานเพื่อสร้างเสริมพัฒนาการ และปรับพฤติกรรมเด็ก ๆ โดยที่ผ่านมาได้เข้าไปเป็นจิตอาสาในโรงพยาบาลเด็ก โรงพยาบาลที่มีกลุ่มเด็กออทิสติก รวมไปถึงศูนย์การศึกษา ศูนย์สังคมสงเคราะห์” นางสกุลศรี กล่าว
นางสกุลศรี กล่าวว่า อยากเชิญชวนพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีลูกป่วยเป็นออทิสติก อย่าท้อแท้ ต้องช่วยกันกระตุ้นพัฒนาการ และปรับพฤติกรรมของลูก ๆ อย่าปล่อยให้เป็นเพียงหน้าที่ของหมอ ครู นักจิตวิทยา โรงเรียน หรือศูนย์ฝึกพัฒนาการ เพียงเพราะคิดว่าต้องทำไม่ได้แน่ ๆ จริง ๆ แล้วไม่ใช่ ที่สำคัญ การอ่านนิทานเป็นเรื่องง่ายมาก เริ่มแรกให้อ่านนิทานภาพก่อน จากนั้น 2 - 3 เดือน จึงเป็นนิทานตัวหนังสือ กระทั่งเมื่อเด็กสนใจก็ให้พวกเขามาร่วมกิจกรรมในการอ่านนิทานร่วมกัน สิ่งสำคัญพ่อแม่ต้องอดทนในการทำ อย่าท้อแท้เป็นพอ

https://mgronline.com/qol/detail/9580000134914




เจาะใจออทิสติกไร้ขีดจำกัด