วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

ตัวอย่างงานวิจัยแบบผสม

หลากหลายผลงานวิจัยและมุมมองของเพื่อน ใน e-learning

ผลงานชิ้นแรก ของ Nid Noi ..kra











ตัวอย่างงานวิจัยแบบผสม

1. ชื่อเรื่องงานวิจัย การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โดยการสอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่น

2.ชื่อผู้วิจัย เนตรชนก จันทร์สว่าง ปีที่สำเร็จ 2548

3.วัตถุประสงค์การวิจัย/จุดมุ่งหมายของการวิจัย

1. เพื่อพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สาระ สารและการเปลี่ยนแปลงของสาร เรื่อง สารเคมีในชีวิตประจำวัน
2. เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามหลักสูตรวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สาระ สารและการเปลี่ยนแปลงของสาร เรื่อง สารเคมีในชีวิตประจำวัน
3.เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูที่ร่วมวิจัยต่อหลักสูตรวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สาระ สารและการเปลี่ยนแปลงของสาร เรื่อง สารเคมีในชีวิตประจำวัน

4.ตัวแปรที่ศึกษา
4.1 ตัวแปรอิสระ คือ การจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักสูตร วิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สาระ สารและการเปลี่ยนแปลงของสาร เรื่อง สารเคมีในชีวิตประจำวัน
4.2 ตัวแปรตาม คือ ประสิทธิภาพของหลักสูตร วิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สาระ สารและการเปลี่ยนแปลงของสาร เรื่อง สารเคมีในชีวิตประจำวัน


5.นิยามปฏิบัติการ(เฉพาะตัวแปรที่ศึกษา)

1. หลักสูตร หมายถึง หลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มเติมสำหรับ
นักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โดยสอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องสารเคมีในชีวิตประจำวัน ภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางเคมี โดยหลักสูตรใช้วิธีการเรียนแบบสืบเสาะ เนื้อหาประกอบด้วย 5 เรื่องหลัก คือ 1) สารซักล้าง 2) การถนอมอาหารและการปรุงอาหาร 3) สีย้อมจากธรรมชาติ 4) ยาฆ่าแมลงจากธรรมชาติ 5) ยาจากสมุนไพร

2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง ทักษะความรู้ที่ได้จากผู้มีประสบการณ์ ผู้รู้ หรือการสืบทอด
ความรู้กันมา ซึ่งช่วยแก้ปัญหา พัฒนา สนับสนุน ให้วิถีชีวิตกลมกลืนกับกาลเวลาและสิ่งแวดล้อม

3. วัฏจักรการเรียนรู้ หมายถึง รูปแบบการสอนที่นักเรียนสร้างความเข้าใจ(องค์ความรู้)
ได้ด้วยตนเอง จากการใช้วัฏจักรการเรียนนี้ในการทำกิจกรรมในหลักสูตร วัฏจักรประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การกระตุ้น การสำรวจ การอธิบาย(การลงความเห็น) การให้รายละเอียดและ
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การประเมินผลและนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งกิจกรรมการสอนนี้ได้ปรับปรุแก้ไขมาจาก 5Es เพื่อให้กิจกรรมเหมาะสมกับหลักสูตรสารเคมีในชีวิตประจำวัน เป็นการออกแบบการเรียนรู้แบบหนึ่งหลักสูตรหนึ่งวัฏจักร

4. วัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ หมายถึง การสร้างองค์ความรู้ตามหลักวิทยาศาสตร์
ประกอบด้วยการตั้งคำถาม การทำนายผล การปฏิบัติ การทดลอง การสร้างแบบจำลอง การอธิบายและการประยุกต์ใช้ความรู้

5. กลุ่มสำรวจ หมายถึง กลุ่มนักเรียนที่สำรวจตามหัวข้อที่กลุ่มตนเองสนใจ โดยการไปพบและ
ซักถามคนในท้องถิ่น และเรียนจากเอกสารที่จัดเตรียมไว้ให้เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนทำโครงงาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย สารฟอกขาว การปรุงอาหารและถนอมอาหาร สีย้อมธรรมชาติ ยาฆ่าแมลงจากธรรมชาติ ยาจากสมุนไพร โดยแต่ละกลุ่มศึกษาเฉพาะหัวข้อที่กลุ่มตนเองได้รับมอบหมาย

6. ผลการเรียนรู้ หมายถึง นักเรียนสามารถลงมือปฏิบัติได้ ใช้สติปัญญา และใช้เหตุผลในสถานการณ์ต่างๆ ได้ แบ่งการประเมินออกเป็น 3 ด้านดังนี้

6.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง การแสดงความสามารถในการใช้เหตุผล
จากการเรียนจากหลักสูตรนี้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคือ 1) มีความรู้และประมวลความรู้
2) ประยุกต์ใช้ความรู้และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ 3) กระบวนการสืบเสาะความรู้ตามหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งผู้วิจัยประเมินผลโดยให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

6.2 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง นักเรียนมีความสามารถในการเรียนรู้
แบบสืบเสาะตามหลักวิทยาศาสตร์ หลักสูตรนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ประเมินจากทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และประเมินจากทักษะการใช้เหตุผลและการเชื่อมโยง ซึ่งทั้งสองส่วนประกอบด้วย
1) การตั้งสมมติฐาน
2) ตัวแปรอิสระและตัวแปรควบคุม
3) การทดลอง
4) การสังเกต
5) การแบ่งกลุ่ม
6)การแปลความหมายของข้อมูล
7) การลงมือทำ การลงความเห็นและการอ้างอิง
8) การนำเสนอข้อมูล

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ประเมินจากการรายงานตามหัวข้อที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการสำรวจ ทักษะใช้เหตุผลและการเชื่อมโยง ประเมินจากการปฏิบัติ การทดลอง โดยการเช็คตามแบบฟอร์ม
การแสดงผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะการใช้เหตุผลและการเชื่อมโยง ทำได้จากการกำหนดเกณฑ์คะแนนพื้นฐาน

6.3 เจตคติทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง นักเรียนรู้สึกรัก สนใจวิทยาศาสตร์และการเรียน
วิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผลจากการทำกิจกรรมในหลักสูตรนี้ ประเมินผลได้จากการตอบแบบสอบถาม

7. ความคิดเห็นของครูต่อหลักสูตร หมายถึง ความคิดเห็นของครุที่มีต่อหลักสูตร เรื่อง สารเคมีในชีวิตประจำวัน เกี่ยวกับเอกสาร วิธีการสอนในหลักสูตร ประเมินผลจากการตอบแบบสอบถาม


6. ชื่อเครื่องมือวิจัยที่ใช้ทั้งหมด ระบุลักษณะเครื่องมือ

เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล มี 9 ชนิด ได้แก่
6.1 หลักสูตร
6.2 แบบประเมินโครงร่างหลักสูตร
6.3 แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน ปรนัย 4 ตัวเลือก
6.4 แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สเกล 3 ระดับ
6.5 แบบประเมินทักษะการทำปฏิบัติการ สเกล 3 ระดับ
6.6 แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ สเกล 5 ระดับ
6.7 คำถามในการสัมภาษณ์นักเรียน
6.8 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรของครูที่ร่วมวิจัย สเกล 5 ระดับ
6.9 คำถามในการสัมภาษณ์ครูที่ร่วมวิจัย

7 วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง

8 การวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานการวิจัย คือ ค่าที (t-test independent และ t-test for one group) และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way Analysis of Variance)

9 สรุปผลการวิจัยโดยย่อ
หลักสูตรได้ผ่านการตรวจสอบเชิงโครงสร้างและความสอดคล้องของหลักสูตรกับมาตรฐานการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ และมีความเห็นว่าสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนต้นได้ หลักสูตรได้นำไปศึกษาทดลองเบื้องต้นที่โรงเรียนขามป้อมวิทยาคม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 20 ชั่วโมง ได้ปรับปรุงและเพิ่มกิจกรรมให้เหมาะสม หลักสูตรที่ผ่านการปรับปรุงและพัฒนาได้นำไปดลองใช้กับนักเรียนโรงเรียนงัวบาวิทาคมและ มิตรภาพ จำนวน 36 ชั่วโมง


ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า

คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต
คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษามีค่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
คะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยรวมมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
คะแนนทักษะการปฏิบัติการทุกด้านมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
คะแนนเจตคติต่อกิจกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์ มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

นักเรียนแสดงออกถึงความตระหนักของคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นและประโยชน์ของทรัพยากรในท้องถิ่น
นักเรียนแสดงความยินดีที่ได้เรียนตามหลักสูตร เนื่องจากเขาได้พัฒนากระบวนการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง
และมีการทำงานร่วมกันเป็นทีม

ครูที่ร่วมวิจัยมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรอยู่ในระดับสูง
ครูที่ร่วมวิจัยมีความยินดีในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้ศึกษา สำรวจ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสอนและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในจังหวัดมหาสารคาม
ได้อภิปรายเกี่ยวกับหลักสูตรและผลจากการทดลองใช้หลักสูตร และมีความเห็นว่า
หลักสูตรนี้เน้นกระบวนการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้เรียนเป็นผู้ศึกษาสำรวจ
ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้ และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงควรส่งเสริมให้มีการนำหลักสูตรนี้
ไปใช้สำหรับชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นต่อไป


10 ข้อสังเกต / ข้อคิดเห็นของผู้รายงาน

จาการอ่านงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม
สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โดยการสอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำให้ได้ทราบถึงกระบวนการวิจัย
ว่ามีขั้นตอนอย่างไร อีกทั้งได้รับความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรที่เป็นส่วนของหลักสูตรที่เกี่ยวกับสถานศึกษา
และการประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น ผู้วิจัยสามารถดึงเอากิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถแสวงหาคำตอบ
ได้จากชุมชนที่ตนอยู่ได้ และเป็นการปลูกฝังให้ผู้ที่ศึกษาจากหลักสูตรนี้ มีความสำนึกที่ดีเกี่ยวกับท้องถิ่นของตน
และผู้ที่สนใจในหัวข้อการวิจัยในส่วนของการพัฒนาหลักสูตรสามารถนำไปประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของตนในระดับชั้นอื่นได้ต่อไป

เป็นงานวิจัยของ
เนตรชนก จันทร์สว่าง.(2548).การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เพิ่มเติมสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โดยการสอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่น.ปริญญานิพนธ์
กศ.ด.(วิทยาศาสตรศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.


งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสม
เนื่องจากในงานวิจัยมีการผสมวิธีการเชิงปริมาณและวิธีการเชิงคุณภาพ ดังนี้
- ขั้นการพัฒนาหลักสูตร ใช้วิธีการเชิงคุณภาพ กล่าวคือ ในกระบวนการสอบถาม สัมภาษณ์เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ปกครอง ประชาชน ครู นักเรียน ซึ่งการศึกษาในช่วงนี้จะใช้วิธีการเชิงคุณภาพ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา Content Analysis

- ขั้นประเมินผลและการนำหลักสูตรไปใช้เพื่อพัฒนา ใช้กระบวนการเชิงปริมาณ โดยการนำหลักสูตรไปใช้สอนแล้วนำผลสัมฤทธิ์มาวิเคราะห์ ซึ่งเป็นการวิจัยทดลอง โดยใช้กระบวนการเชิงปริมาณที่ทำให้เห็นผลชัดเจนยิ่งขึ้น.