วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

ถาม-ตอบ เรื่องระเบียบวิธีวิจัย (2)



















คำถาม การประเมินงานวิจัยมีหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการประเมินงานวิจัยอย่างไรบ้าง จงอธิบายมาพอสังเขป

คำตอบ

๑.หลักเกณฑ์การประเมินงานวิจัย (Evaluation of Research)
หลักเกณฑ์การประเมินงานวิจัย พิจารณาจาก

(๑) ความครบถ้วนของหัวข้อในรายงานการวิจัย

๑) ความเป็นมาและปัญหาวิจัย
๒) วัตถุประสงค์ของการวิจัย
๓) สมมุติฐานการวิจัย
๔) ขอบเขตของการวิจัย
๕) ข้อตกลงเบื้อต้น
๖) คำจำกัดความเชิงปฏิบัติการ
๗) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๘) เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
๙) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
๑๐) เครื่องมือวิจัย
๑๑) การรวบรวมข้อมูล
๑๒) การวิเคราะห์ข้อมูล
๑๓) การสรุปผลการวิจัย
๑๔) การอภิปรายผล
๑๕) ข้อเสนอแนะ

(๒) ความชัดเจนของรายงานการวิจัยและคุณค่าของผลวิจัยต่อวงวิชาการ และการนำไปใช้ประโยชน์ เป็นการพิจารณาว่าผู้วิจัยได้ระบุปัญหาชัดเจนหรือไม่ และทำไมจึงเลือกปัญหานั้นมาวิจัย ความชัดเจนที่ต้องประเมินได้แก่

๑) วัตถุประสงค์การวิจัย (ชัดเจน-ครอบคลุมเรื่องที่จะวิจัย)
๒) สมมุติฐานการวิจัย (แนวคิด-ทฤษฎีมีชี้แนะสมมุติฐานการวิจัยและสอดคล้องวัตถุประสงค์การวิจัย)
๓) ขอบเขตการวิจัย (ระบุตัวแปรครบและทุกตัวแปรมีบทบาทในงานวิจัย)
๔) คำจำกัดความเชิงปฏิบัติการ (มีครบถ้วน สามารถนำไปวิจัยได้)
๕) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ(ประโยชน์กว้างขวาง นำไปใช้ได้จริง)
๖) วิธีดำเนินการวิจัย (ระบุประชากร กลุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่มฯ เครื่องมือวิจัยระบุวิธีการสร้างชัดเจน เสนอวิธีการตรวจสอบความเชื่อถือได้ของเครื่องมือ วิธีรวบรวมข้อมูล วิธีวิเคราะห์ข้อมูล และวิธีนำเสนอข้อมูล)
๗) ความเชื่อมโยง (ชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ สมมุติฐาน วิธีดำเนินการวิจัย)
๘) ชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ(ถูกต้อง ตรงกัน
๙) บทคัดย่อ (องค์ประกอบครบ-ปัญหาวิจัย วัตถุประสงค์ ใครคือผู้ทำวิจัย เมื่อไร ที่ไหน อย่างไรและสรุปผลการวิจัย)


๒. แนวปฏิบัติในการประเมินงานวิจัย (Evaluation of Research)

การประเมินคุณภาพงานวิจัย เป็นการพิจารณาในด้านวิธีวิทยาการวิจัย (Research Mothodology ) ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อมุ่งแสวงหาสถานภาพทางการวิจัย (ทำอะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน ใคร อย่างไร) ช่วยให้ผู้วิจัยมีความคิดใหม่ๆ และวิธีการใหม่ๆในการทำวิจัย ช่วยให้นักวิจัยประเมินความพยายามของตนโดยเปรียบเทียบกับความพยายามของผู้อื่นในเรื่องที่ใกล้เคียงกัน แนวปฏิบัติในการประเมินงานวิจัย มีดังนี้

๑. การประเมินหัวข้อปัญหาการวิจัย

๑) หัวข้อปัญหาการวิจัยหรือชื่อเรื่องมีความชัดเจนเพียงใด
๒) หัวข้อปัญหาการวิจัยได้แสดงถึงขอบเขตการวิจัยหรือไม่
๓) หัวข้อปัญหาการวิจัยได้แสดงถึงวิธีการศึกษาหรือแนวทางการศึกษาหรือไม่

๒. การประเมินความเป็นมาความเป็นมาของปัญหา

๑) กล่าวถึงปัญหาชัดเจน ชี้ให้เห็นความสำคัญของปัญหาการวิจัยนั้นคือมีเหตุผลที่ทำการวิจัยชัดเจนและเหตุผลที่ทำการวิจัยก็เป็นเหตุผลสำคัญ
๒) มีหลักเหตุผลที่หนักแน่นเพียงพอในการเลือกตัวแปรหรือองค์ประกอบที่จะศึกษาและแสดงถึงความสัมพันธ์กับปัญหาวิจัย
๓) ชี้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมโนภาพ (Concept)ที่อยู่เบื้องหลังปัญหาอย่างเป็นระบบไปตามลำดับ
๔) แยกประเด็นปัญหาที่ชัดเจน โดยใช้หัวข้อหรือบริเฉท(Paragraph)ดี เหมาะสม
๕) ใช้ข้อความที่รัดกุมไม่คลุมเครือ

๓. การประเมินความสำคัญของการวิจัย
เพื่อพิจารณาว่างานวิจัยนั้นมีคุณค่าในระดับวิชาการเพียงใด โดยเฉพาะองค์ความรู้ (Body of Knowledge) นั้นมีคุณค่าในด้านทฤษฏี ในศาสตร์ศึกษาหรือไม่ องค์ความรู้ที่ได้สามรถนำไปปฏิบัติได้มากน้อยเพียงใด

๔. การประเมินขอบเขตของปัญหาการวิจัย
ปัญหาการวิจัยได้ระบุขอบเขตได้อย่างชัดเจนหรือไม่ มีการกำหนดตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ครอบคลุมถึงสิ่งที่จะศึกษาเขียนไว้อย่างชัดเจนเพียงใด

๕. การประเมินนิยามคำศัพท์เฉพาะ

๑) มีการนิยามตัวแปรและคำศัพท์ที่ใช้ในการวิจัยอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และชัดเจนเพียงใด
๒) การนิยามคำศัพท์เชิงปฏิบัติการ นิยามได้ถูกต้องและครบตามทฤษฏีที่ได้ศึกษาค้นคว้า และสรุปเอาไว้ในส่วนที่เป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องเพียงใด
๓) คำศัพท์หรือตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยมีการใช้โดยตลอดทั้งเล่มหรือไม่


๖. การประเมินสมมติฐานการวิจัย
๑) สมมติฐานการวิจัยมีแนวคิด ทฤษฎี หรือผลการวิจัยรองรับหรือไม่
๒) สมมติฐานการวิจัยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยหรือไม่
๓) สมมติฐานการวิจัยสามารถทดสอบได้หรือไม่
๔) สมมติฐานขัดกับความเป็นจริงหรือไม่

๗. การประเมินเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
๑) การนำเสนอแนวคิด ทฤษฏี ตลอดจนผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับปัญหาการวิจัยหรือไม่
๒) แนวคิดทฤษฏีและผลการวิจัยที่นำเสนอเพียงพอหรือไม่
๓) การนำเสนอแนวคิดทฤษฏีและผลการวิจัยได้นำเสนอโดยเชื่อมโยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับประเด็นปัญหาการวิจัยหรือไม่
๔) การนำเสนอแนวคิดทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้มีการจัดหมวดหมู่จัดลำดับและมีความสอดคล้องกับตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาหรือไม่
๕) ได้เชื่อมโยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตามอันจะนำไปสู่การตั้งสมมติฐานและกรแบแนวคิดการวิจัยหรือไม่
๖) ในการนำเสนอแนวคิดทฤษฏีและการวิจัยที่เกี่ยวข้องได้ระบุแหล่งที่มาหรือ อ้างอิง หรือไม่


๘. การประเมินวิธีดำเนินการวิจัย
๑) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสอดคล้องกับประเด็นปัญหาการวิจัยหรือไม่
๒) ในกรณีที่ใช้กลุ่มตัวอย่างศึกษาได้กล่าวถึงการได้มาของกลุ่มตัวอย่างชัดเจนหรือไม่
๓) เครื่องมือการวิจัยมีการระบุที่ไปที่มาชัดเจนหรือไม่ เป็นการสร้างใหม่หรือพัฒนามาจากงานวิจัยอื่น
๔) ในกรณีที่สร้างเครื่องมือใหม่มีความสอดคล้องกับนิยามศัพท์ที่เขียนไว้หรือไม่
๕) เครื่องมือที่ใช้ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญหรือไม่และผู้เชี่ยวชาญมีความน่าเชื่อถือเพียงใด
๖) เครื่องมือที่ใช้มีความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นสูงมากน้อยเพียงใด
๗) การให้คะแนนและการแปลความหมายของคะแนนเป็นมาตรฐานหรือยอมรับได้หรือไม่
๘) คำชี้แจงของเครื่องมือมีความชัดเจนเพียงใด
๙) ข้อคำถามที่ใช้มีความครอบคลุมในประเด็นที่ต้องการศึกษา
๑๐) ข้อคำถามมีความชัดเจนรัดกุมและเหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา


๙. การเก็บรวบรวมข้อมูล

๑) มีการกำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลได้อย่างเหมาะสมกับวิธีการศึกษาหรือไม่
๒) มีการบันทึกข้อมูลที่เป็นระบบและชัดเจนเพียงใด


๑๐. การวิเคราะห์ข้อมูล

๑) ใช้สถิติสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยหรือไม่
๒) ใช้สถิติสอดคล้องกับระดับการวัดของตัวแปรหรือไม่
๓) ในกรณีที่ต้องการตรวจสอบข้อตกลงเบื้องต้นของตัวสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ผู้วิจัยได้ตรวจสอบหรือไม่ แล้วถ้าพบว่าไม่เป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้น ผู้วิจัยได้แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องตามหลักสถิติหรือไม่
๔) ขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพียงพอกับการใช้สถิติหรือไม่


๑๑. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมาย
๑) สัญลักษณ์ทางสถิตติมีความถูกต้องหรือไม่
๒) การแปลความหมายเป็นไปตามหลักสถิติหรือไม่
๓) การแปลความหมายได้แปลอย่างปราศจากอคติหรือไม่
๔) การแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูลมีความสอดคล้องกับสถิติที่ใช้หรือไม่
๕) รูปแบบการนำเสนอเหมาะสมและง่ายต่อการทำความเข้าใจมากน้อยเพียงใด


๑๒. การสรุปผลการวิจัย
๑) สรุปผลได้สอดคล้องกับปัญหาการวิจัยหรือไม่
๒) สรุปผลได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัยหรือไม่
๓) สรุปผลได้ครบและถูกต้องในประเด็นหลักๆหรือไม่
๔) สรุปผลเป็นไปตามผลการวิเคราะห์หรือไม่
๕) สรุปผลสามารถบอกได้หรือไม่ว่าปฏิเสธหรือยอมรับสมมติฐานการวิจัย


๑๓. การอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
๑) การอภิปรายผลอยู่บนพื้นฐานของแนวคิด ทฤษฎี ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องหรือไม่
๒) ได้อาศัยความรู้และประสบการณ์มาช่วยในการอภิปรายผลหรือไม่
๓) แนวคิดเรื่องทฤษฏีที่นำมาอภิปรายผลมีความสอดคล้องกับปัญหาการวิจัยหรือไม่
๔) เอกสารที่นำมาอ้างอิงมีความทันสมัยหรือไม่
๕) อภิปรายผลได้นำเสนออย่างเป็นระบบสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัยและ สมมติฐานการวิจัยหรือไม่
๖) ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับผลการวิจัยที่จะนำไปสู่การนำผลวิจัยนี้ไปใช้หรือไม่
๗) ได้เสนอแนะการนำผลการวิจัยไปใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือไม่และข้อเสนอแนะนั้นเกินขอบเขตการวิจัยหรือไม่
๘) มีการเสนอแนะสำหรับการวิจัยในครั้งต่อไปหรือไม่และข้อเสนอแนะนั้นได้เพิ่มองค์ความรู้ในปัญหาวิจัยที่คล้ายคลึงมากเพียงใด

๑๔. บรรณานุกรม ระบบการเขียนและภาคผนวก
๑) บรรณานุกรมครบถ้วนและถูกต้องหรือไม่
๒) ได้มีการตรวจสอบการสะกดคำหรือไม่
๓) ภาคผนวกได้นำเสนอข้อมูลที่จำเป็นเพื่อให้เข้าใจงานวิจัยมากน้อยเพียงใด



๑. หลักเกณฑ์การประเมินงานวิจัย (Evaluation of Research)
หลักเกณฑ์การประเมินงานวิจัย พิจารณาจาก
(๑) ความครบถ้วนของหัวข้อในรายงานการวิจัย
๑) ความเป็นมาและปัญหาวิจัย
๒) วัตถุประสงค์ของการวิจัย
๓) สมมุติฐานการวิจัย
๔) ขอบเขตของการวิจัย
๕) ข้อตกลงเบื้อต้น
๖) คำจำกัดความเชิงปฏิบัติการ
๗) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๘) เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
๙) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
๑๐) เครื่องมือวิจัย
๑๑) การรวบรวมข้อมูล
๑๒) การวิเคราะห์ข้อมูล
๑๓) การสรุปผลการวิจัย
๑๔) การอภิปรายผล
๑๕) ข้อเสนอแนะ

(๒) ความชัดเจนของรายงานการวิจัยและคุณค่าของผลวิจัยต่อวงวิชาการ และการนำไปใช้ประโยชน์ เป็นการพิจารณาว่าผู้วิจัยได้ระบุปัญหาชัดเจนหรือไม่ และทำไมจึงเลือกปัญหานั้นมาวิจัย ความชัดเจนที่ต้องประเมินได้แก่
๑) วัตถุประสงค์การวิจัย (ชัดเจน-ครอบคลุมเรื่องที่จะวิจัย)
๒) สมมุติฐานการวิจัย (แนวคิด-ทฤษฎีมีชี้แนะสมมุติฐานการวิจัยและสอดคล้อง
วัตถุประสงค์การวิจัย)
๓) ขอบเขตการวิจัย (ระบุตัวแปรครบและทุกตัวแปรมีบทบาทในงานวิจัย)
๔) คำจำกัดความเชิงปฏิบัติการ (มีครบถ้วน สามารถนำไปวิจัยได้)
๕) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ(ประโยชน์กว้างขวาง นำไปใช้ได้จริง)
๖) วิธีดำเนินการวิจัย (ระบุประชากร กลุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่มฯ เครื่องมือวิจัยระบุวิธีการสร้างชัดเจน เสนอวิธีการตรวจสอบความเชื่อถือได้ของเครื่องมือ วิธีรวบรวมข้อมูล วิธีวิเคราะห์ข้อมูล และวิธีนำเสนอข้อมูล)
๗) ความเชื่อมโยง (ชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ สมมุติฐาน วิธีดำเนินการวิจัย)
๘) ชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ(ถูกต้อง ตรงกัน)
๙) บทคัดย่อ (องค์ประกอบครบ-ปัญหาวิจัย วัตถุประสงค์ ใครคือผู้ทำวิจัย เมื่อไร ที่ไหน อย่างไรและสรุปผลการวิจัย)