หลากมุมมองของเพื่อนๆ
(1) KAEK..Ka
การวิจัยแบบผสม (mixed research)
คือ การวิจัยที่นำเอาวิธีการเชิงปริมาณกับเชิงคุณภาพ มาผสมผสานใช้ในงานวิจัยเดียวกัน อาจใช้ คู่ขนาน หรือใช้คนละช่วงเป็นลำดับก่อน- หลัง ข้อดีของวิธีการวิจัยแบบผสม คือ มีความเหมาะสมกว่าที่จะใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งเพียงวิธีการเดียว การใช้สองวิธีการร่วมกัน มีผลให้ได้ผลงานวิจัยที่มีความสมบูรณ์ถูกต้อง ทำให้เข้าใจปัญหาการวิจัยได้ดียิ่งขึ้น สามารถเลือกตัวแปรได้เหมาะสม และกว้างขวาง
ส่วนการวิจัยแบบบูรณาการ (integrated research)
หมายถึง การวิจัยที่ใช้ความรู้ แนวคิด
ทฤษฎี วิธีวิทยาจากหลายสาขาวิชาร่วมกัน เพื่อให้ได้คำตอบของการวิจัยที่มีความครบถ้วน สมบูรณ์ เป็นองค์รวม ข้อดีของการวิจัยแบบบูรณาการ คือ เป็นการเชื่อมโยงคำตอบ สามารถตอบคำถามการวิจัยได้ หลายด้าน เติมเต็มกันระหว่างสาขาวิชา ทำให้มีความสมบูรณ์มากกว่าการแยกส่วน ได้ผลผลิตที่เป็นองค์รวม และยังได้ความร่วมมือของนักวิจัยต่างสาขา เป็นการสร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันของนักวิชาการ ตลอดจน ผลวิจัยนำไปใช้ได้หลายสาขาวิชา
กระบวนการวิจัย ทั้ง 2 แบบ
ใช้ 5 ขั้นตอนของวิธีการวิทยาศาสตร์เหมือนกัน คือ
ขั้นกำหนดปัญหาการวิจัย
ขั้นกำหนดสมมุติฐานของการวิจัย
ขั้นกำหนดวิธีการและรวบรวมข้อมูล
ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล และ
ขั้นสรุปผลการวิจัย
สำหรับกระบวนการวิจัยที่เป็นลักษณะเฉพาะของการวิจัยแต่ละแบบ มีความแตกต่างกัน สรุปได้ดังนี้
1. ขั้นกำหนดปัญหาการวิจัย
การวิจัยแบบผสม ต้องพิจารณาความเหมาะสมของปัญหาการวิจัย ระบุความจำเป็นที่ต้อง
ใช้การวิจัยแบบผสม กำหนดคำถามการวิจัยทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพ ส่วน การวิจัยแบบบูรณาการ ต้องพิจารณาปัญหาว่ามีลักษณะบูรณาการของสาขาวิชาหรือไม่ และมีสาขาวิชาใดที่เกี่ยวข้อง เรียกว่าเป็น ปัญหาหลัก และวิเคราะห์ปัญหารอง หรือวัตถุประสงค์ของการวิจัย
2. ขั้นกำหนดสมมุติฐานของการวิจัย
การวิจัยแบบผสม มีการคาดคะเนผลการวิจัยในส่วนที่เก็บรวบรวม แล้ววิเคราะห์ด้วยวิธีเชิงปริมาณ (อาจมีข้อมูลเชิงคุณภาพประกอบด้วยก็ได้) ส่วน การวิจัยแบบบูรณาการ สมมติฐานต้องกำหนดให้สอดคล้องกับปัญหารองหรือวัตถุประสงค์การวิจัย จำนวนสมมติฐานอาจมากกว่า หรือเท่ากับวัตถุประสงค์ก็ได้
3. ขั้นกำหนดวิธีการและรวบรวมข้อมูล
การวิจัยแบบผสมต้องกำหนด แผนปฏิบัติการ กล่าวคือ ถ้าเป็นวิธีเชิงปริมาณ ต้องกำหนดประชากร การเลือกตัวอย่าง การเก็บข้อมูล ถ้าเป็นวิธีเชิงคุณภาพ ต้องกำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูล วิธีรวบรวมข้อมูล เครื่องมือและการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ส่วน การวิจัยแบบบูรณาการ ต้องพิจารณาวิธีวิทยาของสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และนำมาใช้อย่างเหมาะสม
4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยแบบผสม ต้องวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ส่วนการวิจัยแบบบูรณาการต้องนำวิธีวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลของแต่ละสาขาวิชานำมาใช้อย่างเหมาะสม
5. ขั้นสรุปผลการวิจัย
การวิจัยแบบผสม ต้องสรุปข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ส่วน การวิจัยแบบบูรณาการ ต้องนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ค้นพบไปตรวจสอบกับปัญหาย่อย หรือปัญหารองของการวิจัยและบูรณาการคำตอบทั้งหมดเพื่อตอบปัญหาหลัก
*****************************************************************
(2) O-LEA..krab
แนวคิดเกี่ยวกับการวิจัยแบบผสม
ความหมาย คือ การวิจัยที่นำเอาวิธีการเชิงปริมาณ กับเชิงคุณภาพ มาผสมผสานใช้ในงานวิจัยเดียวกัน
ความสำคัญ สำหรับบางปัญหาวิจัย วิธีการวิจัยแบบผสมอาจมีความเหมาะสมกว่าที่จะใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่ง เพียงวิธีการเดียว การใช้สองวิธีการร่วมกัน มีผลให้ได้ผลงานวิจัยที่มีความสมบูรณ์ถูกต้องยิ่งขึ้น
ประโยชน์
- ทำให้เข้าใจปัญหาการวิจัยได้ดียิ่งขึ้น
- ทำให้เลือกตัวแปรได้เหมาะสม และกว้างขวาง
- เป็นการเสริมกันระหว่างสองวิธีการ
หลักการ
1) เป็นการผสมวิธีการวิจัย
2) วิธีการที่นำมา ผสมกัน คือวิธีเชิงประมาณ และวิธีเชิงคุณภาพ
3) การผสมทำได้หลายแบบ
แนวคิดเกี่ยวกับการวิจัยแบบบูรณาการ
ความหมาย คือ การวิจัยที่ใช้เนื้อหา วิธีวิทยา จากหลายสาขาวิชาร่วมกัน เพื่อให้ได้คำตอบของการวิจัย
ที่มีความครบถ้วน สมบูรณ์ เป็นองค์รวม
ความสำคัญ
1) ตอบคำถามการวิจัยได้ทุกด้าน หรือหลายด้าน
2) เป็นการเสริมกันระหว่างสาขาวิชา
3) ได้ผลผลิตที่เป็นองค์รวม และความสมานฉันท์ของนักวิจัยต่างสาขา
ประโยชน์
- ผลวิจัยนำไปใช้ได้หลายสาขาวิชา
- เป็นการสร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันของนักวิชาการ
หลักการ
1) เป็นการบูรณาการเนื้อหา(ปัญหา) และ/หรือวิธีวิทยาจากสาขาวิชาต่าง ๆ
2) การบูรณาการอาจมี ลักษณะหรือระดับความกลมกลืนที่หลากหลาย
กระบวนการวิจัยที่ต่างกันระหว่างการวิจัยแบบผสมกับการวิจัยแบบบูรณาการ
1) กระบวนการวิจัย ที่เป็นลักษณะเฉพาะของการวิจัย แบบผสม (จาก 5 ขั้นตอน หรือ 9-10 ขั้นตอน)
- อาจใช้วิธีการผสมในบางขั้นตอน หรือทุกขั้นตอน
- อาจใช้วิธีการผสมที่ วิธีการทั้งสองมีความเด่นเท่าเทียมกัน หรือ วิธีการหนึ่งเด่นอีกวิธีการหนึ่งไม่เด่น
2) กระบวนการวิจัยที่เป็นลักษณะเฉพาะของการวิจัยแบบบูรณาการ (จาก 5 ขั้นตอน หรือ 9-10 ขั้นตอน)
- การพิจารณากำหนดกระบวนการ ต้องเริ่มที่ปัญหาหลัก ปัญหารองของการวิจัย (วัตถุประสงค์ของการวิจัย)
- กรณีที่ปัญหารองมีลักษณะบูรณาการ ขั้นตอนต่างๆ ต้องบูรณาการไปด้วย (การบูรณาการเน้น เนื้อหา และวิธีวิทยา)
- กรณีปัญหารองแยกเป็นแต่ละสาขาวิชา ขั้นตอนต่างๆ อาจใช้วิธีวิทยาของแต่ละสาขาวิชา (เพื่อตอบปัญหาที่เป็นของสาขาวิชานั้นๆ)
*************************************************************
(3)AUON POOLOOK..kra
ประเด็นของความแตกต่าง แยกเป็น 3 ประเด็น ดังนี้
1. ความแตกต่างด้านแนวคิดของการวิจัย
การวิจัยแบบผสม (mixed research)
เป็นการใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกันในงานวิจัยเดียวกัน
การวิจัยแบบบูรณาการ (Integrated research)
มุ่งเน้นการใช้วิธีวิทยาการจากหลากหลายสาขาวิชา เพื่อหาคำตอบในการวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ แบบองค์รวม
แต่การวิจัยทั้งสองแบบมีความสำคัญ คือ ทำให้ผู้วิจัยสามารถหาคำตอบของการวิจัยอย่างมีความครอบคลุม หรือเป็นองค์รวมมากกว่าการใช้วิธีการวิจัยเดียวหรือวิทยาการวิจัยเดียว
2. ความแตกต่างด้านหลักการของการวิจัย
การวิจัยแบบผสม มีหลักการ ดังนี้
(1) เน้นการใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพประกอบกัน
(2) การผสมระหว่างวิธีการทั้งสองอาจมีได้หลายแบบ เช่น ใช้วิธีการเชิงปริมาณบางขั้นตอน ใช้วิธีการเชิงคุณภาพบางขั้นตอน หรือใช้ทั้งสองวิธีการไปพร้อม ๆ กัน และการใช้สองวิธีการดังกล่าวอาจเป็นลักษณะที่วิธีหนึ่งมีบทบาทเด่น อีกวิธีหนึ่งมีบทบาทด้อยหรือทั้งสองวิธีมีบทบาทเท่าๆกันก็ได้
(3) การผสม เน้นการผสมวิธีการ มิใช่การผสมเนื้อหาหรือสาขาวิชาการ
การวิจัยแบบบูรณาการ มีหลักการ ดังนี้
(1) มุ่งให้ได้คำตอบที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์แบบองค์รวม (holistic)
(2) มุ่งให้ได้คำตอบที่มีความถูกต้อง เที่ยงตรง และครอบคลุมที่สุด โดยที่คำตอบนั้นจะได้ความเป็นองค์รวมหรือไม่ก็ตาม การวิจัยแบบบูรณาการระหว่างสาขาวิชาที่มิได้เน้นเป้าหมายให้ได้คำตอบถึงระดับที่เป็นองค์รวมเป็นสำคัญ เรียกการวิจัยแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary research)
รูปแบบการวิจัยแบบบูรณาการ
1) บูรณาการแบบพหุวิทยาการ(multidisciplinary) เป็นการรวมตัวกัน ระหว่างวิทยาการสองสาขาวิชาขึ้นไป โดยไม่มีการผสมผสานระหว่างองค์ประกอบของศาสตร์
2) บูรณาการแบบอเนกวิทยาการ (pluridisciplinarity) เป็นการรวมตัวกันระหว่างวิทยาการที่มีจุดมุ่งหมายใกล้เคียงกัน และเป็นวิทยาการระดับเดียวกัน ผลจากการบูรณาการได้เป็นวิชาใหม่ที่มีขอบเขตกว้างกว่าเดิมและก้าวหน้ามากขึ้น
3) บูรณาการแบบสหวิทยาการ(Interdisciplinarity)เป็นการผสมผสานของวิทยาการในอุดมคติของวิทยาการทั้ง 4 แบบ มีการผสมผสานองค์ประกอบของวิทยาการเข้าเป็นระบบเดียวกัน ได้เป็นวิทยาการสาขาใหม่ที่ครอบคลุมมวลวิทยาการเดิมและความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาการเดิมด้วย
3. ความแตกต่างด้านกระบวนการของการวิจัย
การวิจัยแบบผสม ดำเนินการตามขั้นตอนวิทยาศาสตร์ 5 ขั้น เป็นการผสมผสานระหว่าง 2 วิธีการ กิจกรรมสำคัญอยู่ที่การผสมผสานระหว่างวิธีการวิจัย เชิงปริมาณกับวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ
การวิจัยแบบบูรณาการ ดำเนินการตามขั้นตอนวิทยาศาสตร์ 5 ขั้น เป็นการบูรณาการจากหลายสาขาวิชา กิจกรรมสำคัญอยู่ที่การบูรณาการปัญหาวิจัย และการใช้วิธีวิทยาของสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการแต่ละขั้นตอนของการวิจัย.
Bye Bye Kra