วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554
ถาม-ตอบ เรื่องระเบียบวิธีวิจัย (7)
คำถาม ความสำคัญอย่างเด่นชัดของการวิจัยแบบผสม คืออะไร
คำตอบ
การวิจัยแบบผสม(mixed research) เป็นการวิจัยที่นำเอาวิธีการเชิงปริมาณ(quantitative) กับวิธีการเชิงคุณภาพ (qualitative)มาผสมผสานใช้ในงานวิจัยเดียวกัน โดยมีลักษณะการวิจัย ดังนี้ (1) เน้นการใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพประกอบกัน (2) การผสมระหว่างวิธีการทั้งสองอาจมีได้หลายแบบ เช่น ใช้วิธีการเชิงปริมาณบางขั้นตอน ใช้วิธีการเชิงคุณภาพบางขั้นตอน หรือใช้ทั้งสองวิธีการไปพร้อม ๆ กัน และการใช้สองวิธีการดังกล่าวอาจเป็นลักษณะที่วิธีหนึ่งมีบทบาทเด่น อีกวิธีหนึ่งมีบทบาทด้อย หรือทั้งสองวิธีมีบทบาทเท่าๆ กันก็ได้ (3)การผสมเน้นการผสมวิธีการ มิใช่การผสมเนื้อหาหรือสาขาวิชาการ
ดังนั้น ความสำคัญที่เป็นจุดเด่นของการวิจัยแบบผสม (mixed research) คือ วิธีการวิจัยแบบผสมมีความเหมาะสมในการที่ให้คำตอบของการวิจัยได้ดีที่สุด(เที่ยงตรง เชื่อมั่นได้) และมีประสิทธิภาพสูงสุดในการสรุปอ้างอิง generalization)มากกว่าวิธีการเชิงปริมาณ หรือวิธีการเชิงคุณภาพอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว เพราะการรวมเอาวิธีการวิจัยทั้งสองวิธีมาไว้ในงานวิจัยเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดประเภทข้อมูล วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล หรือทุกอย่างที่กล่าวเข้าด้วยกันจะช่วยทำให้ผลการวิจัยมีความถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554
ถาม-ตอบ เรื่องระเบียบวิธีวิจัย (6)
คำถาม
จงวิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างของการวิจัยเชิงปฏิบัติการกับ การวิจัยสถาบัน
คำตอบ
๑.ความเหมือนของการวิจัยเชิงปฏิบัติการกับการวิจัยสถาบัน
๑.๑ จุดมุ่งหมายของการวิจัยของทั้ง ๒ ประเภท ที่มุ่งวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาองค์กรเช่นเดียวกัน
๑.๒ หลักการและความสำคัญของการวิจัยของทั้ง ๒ ประเภท ที่ต้องดำเนินการวิจัยให้ได้ผลที่รวดเร็ว ทันเวลาที่จะใช้และมีคุณภาพเชื่อถือได้
๑.๓ ประโยชน์ของการวิจัยทั้ง ๒ ประเภท คือ สามารถนำผลการวิจัยไปใช้พิจารณาหรือ ยืนยันนโยบายของสถาบันหรือองค์กรได้
๑.๔ กระบวนการวิจัยของการวิจัยทั้ง ๒ ประเภท ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ๕ ขั้นตอน เช่นเดียวกัน คือ
(๑) ขั้นกำหนดปัญหาการวิจัย
(๒) ขั้นกำหนดสมมุติฐานของการวิจัย
(๓) ขั้นกำหนดวิธีการและการเก็บรวบรวมข้อมูล
(๔) ขั้นวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล
(๕) ขั้นสรุปผลการวิจัย
๑.๕ ผลของการวิจัยของการวิจัยทั้ง ๒ ประเภท นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานขององค์กร (โดยเฉพาะการวิจัยปฏิบัติการ ที่มุ่งแก้ปัญหาและพัฒนาเฉพาะจงส่วนใดส่วนหนึ่งขององค์กร แต่ก็ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงาน เช่น การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน Classroom Action Resrarch))
๒.ความแตกต่างของการวิจัยเชิงนโยบายกับการวิจัยสถาบัน
๒.๑ จุดมุ่งหมายของการวิจัย
การวิจัยสถาบัน มุ่งศึกษาและแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องโดยตรงของแต่ละสถาบัน เพื่อนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนตัดสินใจหรือการแก้ปัญหาในแต่ละสถาบัน โดยเฉพาะ
การวิจัยปฏิบัติการ มุ่งศึกษาและแก้ปัญหาการปฏิบัติงาน โดยผู้รับผิดชอบหรือผู้ปฏิบัติงานนั้นโดยตรง แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันหรือองค์กร
๒.๒ ความสำคัญของการวิจัย
การวิจัยสถาบัน มุ่งค้นหาข้อมูลหรือสารสนเทศ เพื่อให้ผู้บริหารองค์กรหรือสถาบันนำไปใช้แก้ไขปัญหาโดยตรงของสถาบัน ที่เฉพาะเจาะจงตามปัญหาของสถาบันใดสถาบันหนึ่ง
การวิจัยปฏิบัติการ มุ่งใช้ผลการวิจัยเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่ก็ส่งผลต่อคุณภาพโดยรวมของสถาบันหรือองค์กร
๒.๓ ประโยชน์ของการวิจัย
การวิจัยสถาบัน ผู้บริหารสถาบันสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการสนับสนุนและตัดสินใจในการวางแผนงานของสถาบัน
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เกิดประโยชน์โดยตรงกับผู้ปฏิบัติงาน โดยจะช่วยพัฒนาการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น แต่ก็ส่งผลต่อคุณภาพโดยรวมของสถาบันหรือองค์กรเช่นกัน
ถาม-ตอบ เรื่องระเบียบวิธีวิจัย (5)
คำถาม
จงวิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างของการวิจัยเชิงนโยบายกับการวิจัยสถาบัน
คำตอบ
๑.ความเหมือนของการวิจัยเชิงนโยบายกับการวิจัยสถาบัน
๑.๑ จุดมุ่งหมายของการวิจัยของทั้ง ๒ ประเภท ที่มุ่งวิจัยเพื่อพัฒนาองค์กรเหมือนกัน
๑.๒ ความสำคัญของการวิจัยของทั้ง ๒ ประเภท ที่ใช้กระบวนการวิจัยเป็นเครื่องมือค้นหาข้อมูลสารสนเทศ
๑.๓ ประโยชน์ของการวิจัยทั้ง ๒ ประเภท คือ สามารถนำผลการวิจัยไปใช้พิจารณาหรือยืนยันนโยบายของสถาบันได้
๑.๔ กระบวนการวิจัยของการวิจัยทั้ง ๒ ประเภท ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ๕ ขั้นตอน เช่นเดียวกัน คือ
(๑) ขั้นกำหนดปัญหาการวิจัย
(๒) ขั้นกำหนดสมมุติฐานของการวิจัย
(๓) ขั้นกำหนดวิธีการและการเก็บรวบรวมข้อมูล
(๔) ขั้นวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล
(๕) ขั้นสรุปผลการวิจัย
๑.๕ ผลของการวิจัยของการวิจัยทั้ง ๒ ประเภท อาจส่งกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของสถาบันได้
๒.ความแตกต่างของการวิจัยเชิงนโยบายกับการวิจัยสถาบัน
๒.๑ จุดมุ่งหมายของการวิจัย
การวิจัยเชิงนโยบายจะมุ่งตอบสนองนโยบายระดับสถาบันหรือระดับหน่วยงานต่างๆ หรือระดับชาติก็ได้
การวิจัยสถาบัน นอกจากจะมุ่งตอบสนองนโยบายสถาบันแล้ว อาจจะมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในสถาบันซึ่งปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นนั้นอาจไม่อยู่ในนโยบายของสถาบันก็ได้
๒.๒ ความสำคัญของการวิจัย
การวิจัยเชิงนโยบาย มุ่งค้นหาข้อเท็จจริงและแนวคิด เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายการบริหารขององค์กร
การวิจัยเชิงสถาบัน มุ่งค้นหาข้อมูลหรือสารสนเทศ เพื่อให้ผู้บริหารองค์กรหรือสถาบันนำไปใช้แก้ไขปัญหาโดยตรงของสถาบัน ที่เฉพาะเจาะจงตามปัญหาของสถาบันใดสถาบันหนึ่ง
๒.๓ประโยชน์ของการวิจัยเชิงนโยบายจะมีขอบเขตกว้างกว่า เนื่องจากสามารถทำวิจัยกับนโยบายในระดับต่างๆ ที่สูงกว่าระดับสถาบันได้ ในขณะที่การวิจัยสถาบันจะมีประโยชน์ต่อผู้บริหารสถาบันในการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์กับสถาบันเท่านั้น
๒.๔ ผลกระทบที่เกิดขึ้น ของผลการวิจัยเชิงนโยบายจะกว้างและลึกกว่าผลการวิจัยสถาบัน
ถาม-ตอบ เรื่องระเบียบวิธีวิจัย (4)
คำถาม
การเรียนรู้แบบแผนการวิจัยต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักวิจัย ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรกับคำกล่าวนี้ และด้วยแนวคิดนี้ ท่านที่สนใจจะนำไปใช้ในการวิจัยอย่างไร
แนวคำตอบ
แบบแผนการวิจัย (research design) หมายถึง กระบวนการวางแผนที่ทำให้ผู้วิจัยสามารถตอบคำถามการวิจัยได้ด้วยความตรง (validity) มีความเป็นปรนัย (objectively) ถูกต้อง (accurately) และประหยัด (economically)
แบบแผนการวิจัยเป็นเรื่องของการวางแผนวิธีการทำวิจัย โดยเป็นการวางแผนเกี่ยวกับ
๑) การกำหนดตัวแปรและการสร้างเครื่องมือ(measurement design) (ตัวแปรที่ต้องการเก็บข้อมูล, เครื่องมือ การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ)
๒) การวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือการออกแบบการสุ่มตัวอย่าง (sampling design) (เก็บข้อมูลจากใครบ้าง จำนวนเท่าไร เก็บอย่างไร)
๓) การออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล (analysis design) เป็นการวางแผนการวิเคราะห์ข้อมูลหลังจากที่เก็บข้อมูลได้แล้ว (วิเคราะห์อย่างไรให้ตรงวัตถุประสงค์และสมมติฐานการวิจัย ใช้สถิติอะไร แปลความหมายอย่างไร นำเสนอผลการวิเคราะห์อย่างไร)
จุดมุ่งหมายของแบบแผนการวิจัย
๑)เพื่อให้ได้แนวทางในการตอบปัญหาการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ กล่าวคือ มีความตรงทั้งความตรงภายในและความตรงภายนอก ที่ประหยัดทรัพยากร
๒)เพื่อควบคุมความแปรปรวนที่เกิดขึ้นในการวิจัย (variance control)ได้แก่
๒.๑) ทำให้ความแปรปรวนของตัวแปรที่ศึกษาหรือความแปรปรวนมีระบบ (systematic variance) มีค่าสูงสุด (to maximize the variance of the variable)
๒.๒) ลดความแปรปรวนจากความคลาดเคลื่อนหรือความแปรปรวนแบบสุ่มที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนในการวัดตัวแปรให้มีค่าต่ำสุด (to minimize the error)
๒.๓)ควบคุมความแปรปรวนที่เกิดจากตัวแปรแทรกซ้อน (to control the variance of extraneous or “unwanted” variables)
ขั้นตอนของแบบแผนการวิจัย
ขั้นตอนของแบบแผนการวิจัย ประกอบด้วยการกำหนดรูปแบบ ขอบเขต และแนวทางการวิจัย มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
๑) การกำหนดรูปแบบการวิจัย (model) สามารถกำหนดได้หลายรูปแบบตามมิติหรือเกณฑ์ที่ใช้แบ่งแตกต่างกัน
๒) การกำหนดขอบเขตการวิจัย (delimitation) เป็นการกำหนดขอบเขตของประชากร กรอบแนวคิดในการวิจัย จำนวนตัวแปรที่ศึกษา และช่วงระยะเวลาที่ศึกษา ซึ่งควรสอดคล้องกับกรอบแนวคิดในการวิจัย
๓)การกำหนดแนวทางการวิจัย (procedures) จะครอบคลุม ๓ ส่วนหลัก ได้แก่ การออกแบบการวัดตัวแปร (measurement design) การออกแบบการสุ่มตัวอย่าง (sampling design) และการออกแบบการวิเคราะห์
ข้าพเจ้าเห็นด้วยอย่างยิ่งกับแนวคิดนี้ การกำหนดแบบแผนการวิจัยที่ดี ทำให้ผู้วิจัยมีทิศทางและสามารถนำมาใช้เขียนระเบียบวิธีวิจัยในโครงการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะแบบแผนการวิจัยทำให้ผู้วิจัยได้คำตอบของงานวิจัยที่มีความตรงภายใน (internal validity) ความตรงภายนอก (external validity) และประหยัดทรัพยากร และข้าพเจ้าจะนำไปใช้ในการวางแผนการวิจัยของตนเอง โดยการดำเนินตามขั้นตอนของแบบแผนการวิจัยอย่างเป็นขั้นตอน ครอบคลุม ชัดเจนและทำอย่างถูกต้อง ทั้ง ๓ ประเด็น คือ (๑) การกำหนดรูปแบบการวิจัย(๒)การกำหนดขอบเขตการวิจัย (๓)การกำหนดแนวทางการวิจัย
ถาม-ตอบ เรื่องระเบียบวิธีวิจัย (3)
คำถาม
การวิจัยเชิงทดลองอาศัยหลักการของ Max-Min-Con และคำนึงถึงความตรงภายในกับความตรงภายนอก(Internal-External Validity)ให้อธิบายความหมายของหลักการดังกล่าว พร้อมยกตัวอย่างงานวิจัยเชิงทดลองที่ใช้หลักการดังกล่าว
คำตอบ
การออกแบบการวิจัยเชิงทดลอง(Experimental Research) หรือกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Design) ผู้วิจัยต้องยึดหลักการร่วมกัน คือ หลัก “ MAX–MIN–CON” ดังนี้
หลัก MAX–MIN–CON
(1) MAX ย่อมาจาก Maximized systematic variance คือการเพิ่มความแปรปรวนที่เป็นระบบให้มากที่สุด เป็นการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนโดยการเพิ่มความแปรปรวนระหว่างกลุ่ม หรือ ความแปรปรวน ที่เนื่องมาจากการทดลองให้สูงสุด ซึ่งทำได้โดยการกำหนดวิธีการทดลองให้กับกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมให้แตกต่างและเป็นอิสระจากกันและกัน ตลอดจนควบคุมเวลาและสภาวะของการทดลองให้เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้สามารถจัดกระทำกับตัวแปรอิสระให้ส่งผลต่อตัวแปรตามมากที่สุด
(2) MIN ย่อมาจาก Minimized error variance คือ การลดความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อน เป็นการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนโดยการทำให้ค่าความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อนมีค่าน้อยที่สุดหรือเป็นศูนย์ ซึ่งความคลาดเคลื่อน แบ่งเป็น 2 ชนิด ดังนี้
2.1 ความคลาดเคลื่อนอย่างมีระบบ (Systematic error) เป็นความคลาดเคลื่อนที่มีผลต่อกลุ่มตัวอย่าง ทั้งกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งผู้วิจัยสามารถแก้ไขความคลาดเคลื่อนนี้ได้ ดังนี้ คือ ถ้าทราบว่าเครื่องมือวัดมีความบกพร่องก็แก้ความคลาดเคลื่อนได้โดยการสร้างเครื่องมือวัดให้มีความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นสูง ตลอดจนให้มีความเป็นปรนัย และมีประสิทธิภาพสูงด้วยเช่นกัน
2.2 ความคลาดเคลื่อนอย่างสุ่ม (Random error) เป็นความคลาดเคลื่อนที่เกิดกับกลุ่มตัวอย่างบางส่วน ทำให้เกิดความไม่เท่ากันของโอกาสในการเกิดขึ้นของตัวแปรแทรกซ้อน ซึ่งความคลาดเคลื่อนชนิดนี้สามารถแก้ไขโดยใช้กฎการแจกแจงปกติ (Normal distribution law) และคำนวณหาค่าสถิติเพื่อจัดกระทำกับความคลาดเคลื่อนนี้
วิธีการลด error variance คือ
(1) พยายามให้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาในกลุ่มทดลองแต่ละกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันน้อยที่สุด
(2) พยายามลดความคลาดเคลื่อนของการวัด และ
(3) พยายามให้การวัดมีความเที่ยง( Reliability) มากที่สุด
(3) CON ย่อมาจาก Control extraneous systematic variance คือการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนที่ส่งผลอย่างมีระบบ เป็นการควบคุมหรือขจัดให้ตัวแปร อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทดลองออกให้หมด เพื่อให้ตัวแปรตามที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากตัวแปรอิสระเท่านั้น ซึ่งมีวิธีการทำดังนี้
3.1 การสุ่ม (Randomization) วิธีการนี้ถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด เป็นการกระทำให้กลุ่มตัวอย่างที่สุ่มออกมาจากกลุ่มประชากรมีคุณสมบัติด้านต่าง ๆ พอ ๆ กัน จึงสามารถควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนได้เป็นอย่างไร
3.2 การเพิ่มตัวแปร (Add to the design) วิธีการนี้ใช้ในกรณีที่ตัวแปรแทรกซ้อนบางตัวที่ควบคุมได้ยาก ก็ให้เอาตัวแปรนั้นเพิ่มเข้าไปโดยถือว่าเป็นตัวแปรอิสระที่ผู้วิจัยจะต้องศึกษาด้วย
3.3 การจับคู่ (Matching) เป็นวิธีการใช้กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน คือ ทำให้มีลักษณะของตัวแปรแทรกซ้อนในระดับที่เท่า ๆ กัน โดยการจับคู่มี 2 แบบ คือ
1) จับกลุ่ม (Matched group) เป็นการจัดให้ทั้ง 2 กลุ่ม มีคุณสมบัติเหมือนกัน โดยมิได้คำนึงถึงว่าสมาชิกในกลุ่มจะเท่ากันเป็นรายบุคคลหรือไม่ ทำได้โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่ม แล้วนำทั้ง 2 กลุ่มหรือหลาย ๆ กลุ่มมาทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (x) และความแปรปรวน (S2) ถ้าพบว่าแตกต่างกัน ก็ต้องจัดกลุ่มใหม่เพื่อได้กลุ่มตัวอย่างที่มีค่าเฉลี่ยที่ไม่แตกต่างกัน
2) จับคู่รายบุคคล (Matched subjects) เป็นการจัดให้บุคคลที่มีความเหมือนกันหรือเท่าเทียมกันมาจับคู่กัน แล้วแยกออกเป็นคนละกลุ่ม ทำเช่นนี้จนได้ครบตามจำนวนที่ต้องการ ก็จะได้กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่มีคุณสมบัติทุกด้านเหมือนกัน นำ 2 กลุ่มนี้มาทดสอบดูนัยสำคัญเชิงสถิติเพื่อดูความแตกต่างของค่าเฉลี่ย และความแปรปรวนเช่นเดียวกับการจับกลุ่ม
3.4 การใช้สถิติ (Statistical control) เป็นการใช้เทคนิควิธีการทางสถิติที่สามารถนำมาควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนได้ คือการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Analysis of covariance) ซึ่งจะสามารถปรับคุณสมบัติที่แตกต่างกันของกลุ่มตัวอย่างได้ ทำให้ผลที่ปรากฏเป็นผลจากการทดลองเท่านั้น
3.5 การตัดทิ้ง (Elimination) เป็นการขจัดตัวแปรที่คิดว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการทดลองออกไป เช่น ถ้าคิดว่าความสนใจเกี่ยวข้องกับการทดลองและจะไม่เอามาเป็นตัวแปรอิสระ จำเป็นจะต้องตัดตัวแปรนี้ออกไป วิธีการก็คือเลือกเอากลุ่มตัวอย่างที่มีความสนใจเหมือน ๆ กัน เป็นต้น
ตัวอย่างงานวิจัย
(3) ตัวอย่างงานวิจัยที่ใช้หลักการของการวิจัยเชิงทดลองที่ใช้หลัก Mac – Min - Con
ชื่องานวิจัย การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านโดยภูมิปัญญาล้านนา สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย นางวัชราภรณ์ วัตรสุข
วัตถุประสงค์(1)เพื่อสร้างและใช้กิจกรรมส่งเสริมการอ่านโดยภูมิปัญญาล้านนา สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
(2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยด้านการอ่านออกเสียงและอ่านจับใจความของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน โดยภูมิปัญญาล้านนากับเรียนโดยใช้แผนการสอนปกติ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนวัดแม่กำปอง และ โรงเรียนวัดห้วยแก้ว สำนักงานการประถมศึกษากิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 19 คน กลุ่มควบคุม จำนวน 19 คน โดยกลุ่มทดลองเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมส่งเสริมการอ่านโดย ภูมิปัญญาล้านนา กลุ่มควบคุมเรียนโดยใช้แผนการสอนปกติ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1)แผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านโดยภูมิปัญญาล้านนาด้านการใช้ปริศนาคำทายล้านนา สุภาษิตล้านนา นิทานพื้นบ้านล้านนา เพลงพื้นบ้านล้านนา และคำอู้บ่าว–อู้สาวล้านนา (คำเกี้ยวสาว) จำนวน 13 แผน
2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย ด้านการอ่านออกเสียง จำนวน 1 ฉบับ 5 ชุด เป็นแบบทดสอบการอ่านออกเสียงของนักเรียนเป็นรายบุคคลที่ผ่านการวิเคราะห์หาคุณภาพด้วยการให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยด้านการอ่านจับใจความเป็นแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนแบบปรนัยเลือกตอบ จำนวน 1 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88
การนำกิจกรรมส่งเสริมการอ่านโดยภูมิปัญญาล้านนาไปใช้พื่อพัฒนาทักษะการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนประถมศึกษาที่เป็นศูนย์พัฒนากิจกรรมส่งเสริม การอ่าน ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ (การขยายผลการวิจัย) อำเภอละ 1 โรงเรียน รวม 24 โรงเรียน มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ร่วมเรียนรู้จากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านโดยภูมิปัญญาล้านนา รวมทั้งสิ้นจำนวน 639 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2544
การนำเสนอข้อมูลกระทำในรูปของคำบรรยายประกอบตาราง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t – test) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC
ผลการวิจัยพบว่า
1. กิจกรรมส่งเสริมการอ่านโดยภูมิปัญญาล้านนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อในการฝึกทักษะด้านการอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความของนักเรียน โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เรียกว่า “ภูมิปัญญาล้านนา” ด้านภาษาได้แก่ ปริศนาล้านนา สุภาษิตล้านนา นิทานพื้นบ้านล้านนา เพลงพื้นบ้านล้านนา และคำอู้บ่าว – อู้สาวล้านนา (คำเกี้ยวสาว) เป็นเนื้อหาของการจัดกิจกรรม กำหนดจุดประสงค์หลักให้นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกทักษะการอ่าน กระบวนการจัดกิจกรรมและวิธีการวัดผลประเมินผลจัดอย่างหลากหลายตามแนวปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ และเหมาะสมกับวัยและความสนใจของผู้เรียน สื่อที่ใช้ประกอบการจัดกิจกรรมมีความน่าสนใจ และมีการสอดแทรกแนวคิด ข้อเตือนใจ คุณธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกแผนการจัดกิจกรรม
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยด้านการอ่านออกเสียงของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีระดับคุณภาพต่างกัน โดยกลุ่มทดลองมีระดับคุณภาพของการอ่านออกเสียงสูงกว่ากลุ่มควบคุม
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 แสดงว่านักเรียนที่เรียนรู้ด้วย กิจกรรมส่งเสริมการอ่านโดยภูมิปัญญาล้านนามีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความสูงขึ้น และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยด้านการอ่านจับใจความก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
การนำกิจกรรมส่งเสริมการอ่านโดยภูมิปัญญาล้านนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ไปใช้ในโรงเรียนศูนย์พัฒนากิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 24 โรงเรียน นักเรียน จำนวน 639 คน ผลปรากฏว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการอ่าน โดยมีระดับคุณภาพของการอ่านออกเสียงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยด้านการอ่านจับใจความหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
หมายเหตุงานวิจัยเรื่องนี้ ผู้วิจัยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2542 จำนวน 40,000 บาท และได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลวิจัย ระดับชาติ เนื่องในการประชุมสัมมนาเสนอผลวิจัยของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีพุทธศักราช 2545 ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม – 8 เมษายน 2545 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร
ถาม-ตอบ เรื่องระเบียบวิธีวิจัย (2)
คำถาม การประเมินงานวิจัยมีหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการประเมินงานวิจัยอย่างไรบ้าง จงอธิบายมาพอสังเขป
คำตอบ
๑.หลักเกณฑ์การประเมินงานวิจัย (Evaluation of Research)
หลักเกณฑ์การประเมินงานวิจัย พิจารณาจาก
(๑) ความครบถ้วนของหัวข้อในรายงานการวิจัย
๑) ความเป็นมาและปัญหาวิจัย
๒) วัตถุประสงค์ของการวิจัย
๓) สมมุติฐานการวิจัย
๔) ขอบเขตของการวิจัย
๕) ข้อตกลงเบื้อต้น
๖) คำจำกัดความเชิงปฏิบัติการ
๗) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๘) เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
๙) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
๑๐) เครื่องมือวิจัย
๑๑) การรวบรวมข้อมูล
๑๒) การวิเคราะห์ข้อมูล
๑๓) การสรุปผลการวิจัย
๑๔) การอภิปรายผล
๑๕) ข้อเสนอแนะ
(๒) ความชัดเจนของรายงานการวิจัยและคุณค่าของผลวิจัยต่อวงวิชาการ และการนำไปใช้ประโยชน์ เป็นการพิจารณาว่าผู้วิจัยได้ระบุปัญหาชัดเจนหรือไม่ และทำไมจึงเลือกปัญหานั้นมาวิจัย ความชัดเจนที่ต้องประเมินได้แก่
๑) วัตถุประสงค์การวิจัย (ชัดเจน-ครอบคลุมเรื่องที่จะวิจัย)
๒) สมมุติฐานการวิจัย (แนวคิด-ทฤษฎีมีชี้แนะสมมุติฐานการวิจัยและสอดคล้องวัตถุประสงค์การวิจัย)
๓) ขอบเขตการวิจัย (ระบุตัวแปรครบและทุกตัวแปรมีบทบาทในงานวิจัย)
๔) คำจำกัดความเชิงปฏิบัติการ (มีครบถ้วน สามารถนำไปวิจัยได้)
๕) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ(ประโยชน์กว้างขวาง นำไปใช้ได้จริง)
๖) วิธีดำเนินการวิจัย (ระบุประชากร กลุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่มฯ เครื่องมือวิจัยระบุวิธีการสร้างชัดเจน เสนอวิธีการตรวจสอบความเชื่อถือได้ของเครื่องมือ วิธีรวบรวมข้อมูล วิธีวิเคราะห์ข้อมูล และวิธีนำเสนอข้อมูล)
๗) ความเชื่อมโยง (ชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ สมมุติฐาน วิธีดำเนินการวิจัย)
๘) ชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ(ถูกต้อง ตรงกัน
๙) บทคัดย่อ (องค์ประกอบครบ-ปัญหาวิจัย วัตถุประสงค์ ใครคือผู้ทำวิจัย เมื่อไร ที่ไหน อย่างไรและสรุปผลการวิจัย)
๒. แนวปฏิบัติในการประเมินงานวิจัย (Evaluation of Research)
การประเมินคุณภาพงานวิจัย เป็นการพิจารณาในด้านวิธีวิทยาการวิจัย (Research Mothodology ) ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อมุ่งแสวงหาสถานภาพทางการวิจัย (ทำอะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน ใคร อย่างไร) ช่วยให้ผู้วิจัยมีความคิดใหม่ๆ และวิธีการใหม่ๆในการทำวิจัย ช่วยให้นักวิจัยประเมินความพยายามของตนโดยเปรียบเทียบกับความพยายามของผู้อื่นในเรื่องที่ใกล้เคียงกัน แนวปฏิบัติในการประเมินงานวิจัย มีดังนี้
๑. การประเมินหัวข้อปัญหาการวิจัย
๑) หัวข้อปัญหาการวิจัยหรือชื่อเรื่องมีความชัดเจนเพียงใด
๒) หัวข้อปัญหาการวิจัยได้แสดงถึงขอบเขตการวิจัยหรือไม่
๓) หัวข้อปัญหาการวิจัยได้แสดงถึงวิธีการศึกษาหรือแนวทางการศึกษาหรือไม่
๒. การประเมินความเป็นมาความเป็นมาของปัญหา
๑) กล่าวถึงปัญหาชัดเจน ชี้ให้เห็นความสำคัญของปัญหาการวิจัยนั้นคือมีเหตุผลที่ทำการวิจัยชัดเจนและเหตุผลที่ทำการวิจัยก็เป็นเหตุผลสำคัญ
๒) มีหลักเหตุผลที่หนักแน่นเพียงพอในการเลือกตัวแปรหรือองค์ประกอบที่จะศึกษาและแสดงถึงความสัมพันธ์กับปัญหาวิจัย
๓) ชี้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมโนภาพ (Concept)ที่อยู่เบื้องหลังปัญหาอย่างเป็นระบบไปตามลำดับ
๔) แยกประเด็นปัญหาที่ชัดเจน โดยใช้หัวข้อหรือบริเฉท(Paragraph)ดี เหมาะสม
๕) ใช้ข้อความที่รัดกุมไม่คลุมเครือ
๓. การประเมินความสำคัญของการวิจัย
เพื่อพิจารณาว่างานวิจัยนั้นมีคุณค่าในระดับวิชาการเพียงใด โดยเฉพาะองค์ความรู้ (Body of Knowledge) นั้นมีคุณค่าในด้านทฤษฏี ในศาสตร์ศึกษาหรือไม่ องค์ความรู้ที่ได้สามรถนำไปปฏิบัติได้มากน้อยเพียงใด
๔. การประเมินขอบเขตของปัญหาการวิจัย
ปัญหาการวิจัยได้ระบุขอบเขตได้อย่างชัดเจนหรือไม่ มีการกำหนดตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ครอบคลุมถึงสิ่งที่จะศึกษาเขียนไว้อย่างชัดเจนเพียงใด
๕. การประเมินนิยามคำศัพท์เฉพาะ
๑) มีการนิยามตัวแปรและคำศัพท์ที่ใช้ในการวิจัยอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และชัดเจนเพียงใด
๒) การนิยามคำศัพท์เชิงปฏิบัติการ นิยามได้ถูกต้องและครบตามทฤษฏีที่ได้ศึกษาค้นคว้า และสรุปเอาไว้ในส่วนที่เป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องเพียงใด
๓) คำศัพท์หรือตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยมีการใช้โดยตลอดทั้งเล่มหรือไม่
๖. การประเมินสมมติฐานการวิจัย
๑) สมมติฐานการวิจัยมีแนวคิด ทฤษฎี หรือผลการวิจัยรองรับหรือไม่
๒) สมมติฐานการวิจัยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยหรือไม่
๓) สมมติฐานการวิจัยสามารถทดสอบได้หรือไม่
๔) สมมติฐานขัดกับความเป็นจริงหรือไม่
๗. การประเมินเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
๑) การนำเสนอแนวคิด ทฤษฏี ตลอดจนผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับปัญหาการวิจัยหรือไม่
๒) แนวคิดทฤษฏีและผลการวิจัยที่นำเสนอเพียงพอหรือไม่
๓) การนำเสนอแนวคิดทฤษฏีและผลการวิจัยได้นำเสนอโดยเชื่อมโยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับประเด็นปัญหาการวิจัยหรือไม่
๔) การนำเสนอแนวคิดทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้มีการจัดหมวดหมู่จัดลำดับและมีความสอดคล้องกับตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาหรือไม่
๕) ได้เชื่อมโยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตามอันจะนำไปสู่การตั้งสมมติฐานและกรแบแนวคิดการวิจัยหรือไม่
๖) ในการนำเสนอแนวคิดทฤษฏีและการวิจัยที่เกี่ยวข้องได้ระบุแหล่งที่มาหรือ อ้างอิง หรือไม่
๘. การประเมินวิธีดำเนินการวิจัย
๑) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสอดคล้องกับประเด็นปัญหาการวิจัยหรือไม่
๒) ในกรณีที่ใช้กลุ่มตัวอย่างศึกษาได้กล่าวถึงการได้มาของกลุ่มตัวอย่างชัดเจนหรือไม่
๓) เครื่องมือการวิจัยมีการระบุที่ไปที่มาชัดเจนหรือไม่ เป็นการสร้างใหม่หรือพัฒนามาจากงานวิจัยอื่น
๔) ในกรณีที่สร้างเครื่องมือใหม่มีความสอดคล้องกับนิยามศัพท์ที่เขียนไว้หรือไม่
๕) เครื่องมือที่ใช้ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญหรือไม่และผู้เชี่ยวชาญมีความน่าเชื่อถือเพียงใด
๖) เครื่องมือที่ใช้มีความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นสูงมากน้อยเพียงใด
๗) การให้คะแนนและการแปลความหมายของคะแนนเป็นมาตรฐานหรือยอมรับได้หรือไม่
๘) คำชี้แจงของเครื่องมือมีความชัดเจนเพียงใด
๙) ข้อคำถามที่ใช้มีความครอบคลุมในประเด็นที่ต้องการศึกษา
๑๐) ข้อคำถามมีความชัดเจนรัดกุมและเหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา
๙. การเก็บรวบรวมข้อมูล
๑) มีการกำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลได้อย่างเหมาะสมกับวิธีการศึกษาหรือไม่
๒) มีการบันทึกข้อมูลที่เป็นระบบและชัดเจนเพียงใด
๑๐. การวิเคราะห์ข้อมูล
๑) ใช้สถิติสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยหรือไม่
๒) ใช้สถิติสอดคล้องกับระดับการวัดของตัวแปรหรือไม่
๓) ในกรณีที่ต้องการตรวจสอบข้อตกลงเบื้องต้นของตัวสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ผู้วิจัยได้ตรวจสอบหรือไม่ แล้วถ้าพบว่าไม่เป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้น ผู้วิจัยได้แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องตามหลักสถิติหรือไม่
๔) ขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพียงพอกับการใช้สถิติหรือไม่
๑๑. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมาย
๑) สัญลักษณ์ทางสถิตติมีความถูกต้องหรือไม่
๒) การแปลความหมายเป็นไปตามหลักสถิติหรือไม่
๓) การแปลความหมายได้แปลอย่างปราศจากอคติหรือไม่
๔) การแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูลมีความสอดคล้องกับสถิติที่ใช้หรือไม่
๕) รูปแบบการนำเสนอเหมาะสมและง่ายต่อการทำความเข้าใจมากน้อยเพียงใด
๑๒. การสรุปผลการวิจัย
๑) สรุปผลได้สอดคล้องกับปัญหาการวิจัยหรือไม่
๒) สรุปผลได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัยหรือไม่
๓) สรุปผลได้ครบและถูกต้องในประเด็นหลักๆหรือไม่
๔) สรุปผลเป็นไปตามผลการวิเคราะห์หรือไม่
๕) สรุปผลสามารถบอกได้หรือไม่ว่าปฏิเสธหรือยอมรับสมมติฐานการวิจัย
๑๓. การอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
๑) การอภิปรายผลอยู่บนพื้นฐานของแนวคิด ทฤษฎี ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องหรือไม่
๒) ได้อาศัยความรู้และประสบการณ์มาช่วยในการอภิปรายผลหรือไม่
๓) แนวคิดเรื่องทฤษฏีที่นำมาอภิปรายผลมีความสอดคล้องกับปัญหาการวิจัยหรือไม่
๔) เอกสารที่นำมาอ้างอิงมีความทันสมัยหรือไม่
๕) อภิปรายผลได้นำเสนออย่างเป็นระบบสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัยและ สมมติฐานการวิจัยหรือไม่
๖) ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับผลการวิจัยที่จะนำไปสู่การนำผลวิจัยนี้ไปใช้หรือไม่
๗) ได้เสนอแนะการนำผลการวิจัยไปใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือไม่และข้อเสนอแนะนั้นเกินขอบเขตการวิจัยหรือไม่
๘) มีการเสนอแนะสำหรับการวิจัยในครั้งต่อไปหรือไม่และข้อเสนอแนะนั้นได้เพิ่มองค์ความรู้ในปัญหาวิจัยที่คล้ายคลึงมากเพียงใด
๑๔. บรรณานุกรม ระบบการเขียนและภาคผนวก
๑) บรรณานุกรมครบถ้วนและถูกต้องหรือไม่
๒) ได้มีการตรวจสอบการสะกดคำหรือไม่
๓) ภาคผนวกได้นำเสนอข้อมูลที่จำเป็นเพื่อให้เข้าใจงานวิจัยมากน้อยเพียงใด
๑. หลักเกณฑ์การประเมินงานวิจัย (Evaluation of Research)
หลักเกณฑ์การประเมินงานวิจัย พิจารณาจาก
(๑) ความครบถ้วนของหัวข้อในรายงานการวิจัย
๑) ความเป็นมาและปัญหาวิจัย
๒) วัตถุประสงค์ของการวิจัย
๓) สมมุติฐานการวิจัย
๔) ขอบเขตของการวิจัย
๕) ข้อตกลงเบื้อต้น
๖) คำจำกัดความเชิงปฏิบัติการ
๗) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๘) เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
๙) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
๑๐) เครื่องมือวิจัย
๑๑) การรวบรวมข้อมูล
๑๒) การวิเคราะห์ข้อมูล
๑๓) การสรุปผลการวิจัย
๑๔) การอภิปรายผล
๑๕) ข้อเสนอแนะ
(๒) ความชัดเจนของรายงานการวิจัยและคุณค่าของผลวิจัยต่อวงวิชาการ และการนำไปใช้ประโยชน์ เป็นการพิจารณาว่าผู้วิจัยได้ระบุปัญหาชัดเจนหรือไม่ และทำไมจึงเลือกปัญหานั้นมาวิจัย ความชัดเจนที่ต้องประเมินได้แก่
๑) วัตถุประสงค์การวิจัย (ชัดเจน-ครอบคลุมเรื่องที่จะวิจัย)
๒) สมมุติฐานการวิจัย (แนวคิด-ทฤษฎีมีชี้แนะสมมุติฐานการวิจัยและสอดคล้อง
วัตถุประสงค์การวิจัย)
๓) ขอบเขตการวิจัย (ระบุตัวแปรครบและทุกตัวแปรมีบทบาทในงานวิจัย)
๔) คำจำกัดความเชิงปฏิบัติการ (มีครบถ้วน สามารถนำไปวิจัยได้)
๕) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ(ประโยชน์กว้างขวาง นำไปใช้ได้จริง)
๖) วิธีดำเนินการวิจัย (ระบุประชากร กลุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่มฯ เครื่องมือวิจัยระบุวิธีการสร้างชัดเจน เสนอวิธีการตรวจสอบความเชื่อถือได้ของเครื่องมือ วิธีรวบรวมข้อมูล วิธีวิเคราะห์ข้อมูล และวิธีนำเสนอข้อมูล)
๗) ความเชื่อมโยง (ชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ สมมุติฐาน วิธีดำเนินการวิจัย)
๘) ชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ(ถูกต้อง ตรงกัน)
๙) บทคัดย่อ (องค์ประกอบครบ-ปัญหาวิจัย วัตถุประสงค์ ใครคือผู้ทำวิจัย เมื่อไร ที่ไหน อย่างไรและสรุปผลการวิจัย)
วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554
ตัวอย่างงานวิจัยแบบผสม
จากมุมมองของ Auon Poolook
1.ชื่อเรื่องการวิจัย
เรื่อง การพัฒนาทักษะชีวิตประจำวันของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ โดยวิธีการฝึกตามหลักการวิเคราะห์งาน ที่เน้นความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและครอบครัว
ชื่อผู้วิจัย นางสาวโรจน์รวี เล็กวิเชียร
เป็นผลงานระดับดุษฎีนิพนธ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2.วัตถุประสงค์การวิจัย
(1) พัฒนาแผนกิจกรรมการฝึกทักษะชีวิตประจำวัน ด้านทักษะการช่วยเหลือตนเอง ทักษะการช่วยเหลือครอบครัว และทักษะการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดยใช้หลักการวิเคราะห์งาน
(2) ศึกษาผลการใช้แผนกิจกรรมการฝึกทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะ ที่ออกแบบไว้ ที่มีต่อพัฒนาการด้านทักษะชีวิตประจำวัน สังคม และอารมณ์ของเด็ก และ
(3) ศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็กในครอบครัวในการพัฒนาทักษะชีวิตประจำวัน สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้
3. กลุ่มประชากร
กลุ่มทดลอง ได้แก่ เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ ซึ่งเป็นนักเรียนที่เรียนร่วมอยู่ในโรงเรียนวัดช่างเคี่ยน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้เกณฑ์คัดเลือกจำนวน 3 คน และผู้ดูแลเด็กในครอบครัวของเด็ก กลุ่มทดลองทั้ง 3 คน
4. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
4.1 เครื่องมือที่ใช้ในการคัดเลือกเด็กที่เป็นกลุ่มทดลอง ได้แก่
(1)แบบสำรวจทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะ
(2)แบบสัมภาษณ์ผู้ดูแลเด็กในครอบครัว
(3)แบบบันทึกพฤติกรรมความสามารถเบื้องต้นจากรายงานพัฒนาการก้าวหน้า และแบบสังเกตพฤติกรรมทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะ
4.2เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาเด็ก ได้แก่
(1)แผนกิจกรรมที่พัฒนาโดยใช้หลักการวิเคราะห์งานแบบก้าวไปข้างหน้า (Forward Chaining) สำหรับการฝึกทักษะการร้อยและผูกเชือกรองเท้า การฝึกทักษะการซักเสื้อผ้า การฝึกทักษะการระบายสีภาพ และการปั้นดินน้ำมัน
4.3เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่
(1)แบบสังเกตพฤติกรรมทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะ
(2)แบบสัมภาษณ์ผู้ดูแลเด็กในครอบครัว
5.การวิเคราะห์ข้อมูล
5.1ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นการวิเคราะห์ผ่านแบบสรุปผลรวมพฤติกรรมทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะ ใช้การแจกแจงความถี่ (ƒ และค่าเฉลี่ย ( ) โดยเทียบกับเกณฑ์การประเมินความสำเร็จของการใช้แบบฝึกทักษะชีวิตประจำวันที่สร้างขึ้น
5.2ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลที่ได้จาก
(1)การสังเกตโดยผู้วิจัย ผู้ช่วยผู้วิจัย และผู้ดูแลเด็กในครอบครัว
(2)การสัมภาษณ์ผู้ดูแลเด็กในครอบครัวของเด็กกลุ่มทดลอง
(3)ข้อมูลที่ได้จากเครื่องบันทึกภาพ และกล้องดิจิตอล
ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เพื่อ
1) สรุปลำดับภาระงาน (tasks) ที่สอดคล้องกับเด็กรายบุคคล
2) เพื่อสรุปผลการใช้แผนการฝึกที่มีต่อพัฒนาการด้านทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะ รวมทั้งด้านสังคมและอารมณ์ของเด็ก และ
3) เพื่ออธิบายลักษณะการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็กในครอบครัวในการฝึกทักษะชีวิตประจำวันที่มีผลต่อพัฒนาการของเด็ก
6.สรุปผลการวิจัย
(1) การพัฒนาแผนกิจกรรมการฝึกทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะ ผู้วิจัยได้พัฒนาแผนต้นแบบ ซึ่งมีขั้นตอนการวิเคราะห์งานในแต่ละทักษะเท่ากัน เพื่อใช้เป็นแผนกลางสำหรับ ใช้ในการอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้ช่วยผู้วิจัย และผู้ดูแลเด็กในครอบครัวได้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการฝึกตามหลักการวิเคราะห์งาน สามารถนำแผนต้นแบบที่พัฒนาขึ้นนี้ไปใช้ในการฝึกกับเด็ก ได้ถูกต้องตามขั้นตอน และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เมื่อนำแผนต้นแบบไปใช้ฝึกกับเด็กกลุ่มทดลองแล้วพบว่า จำเป็นต้องยืดหยุ่น ปรับแก้ โดยการปรับเพิ่มขั้นตอนและปรับลดขั้นตอน การวิเคราะห์งาน เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพของเด็กแต่ละคน
(2) ผลการใช้แผนกิจกรรมการฝึกทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะที่ได้พัฒนาขึ้นโดยใช้หลักการวิเคราะห์งานแบบก้าวไปข้างหน้า พบว่า แผนกิจกรรมการฝึกที่พัฒนาขึ้น สามารถพัฒนา เด็กกลุ่มทดลองให้มีทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะ จนผ่านเกณฑ์ระดับ 4 ทุกคนคือ ทำได้ถูกต้อง โดยไม่ต้องช่วยเหลือ ติดต่อกัน 3 ครั้งได้ แต่ใช้เวลาและจำนวนครั้งในการฝึกไม่เท่ากัน โดยเด็กชายโจ (นามสมมติ) ใช้เวลาในการฝึกทั้ง 3 ทักษะรวมทั้งสิ้น 5 เดือน เด็กชายบอย (นามสมมติ) 4 เดือน และเด็กหญิงเปิ้ล (นามสมมติ) 3 เดือน ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากศักยภาพของเด็ก ความร่วมมือ ในการฝึก ตลอดจนการใช้สื่อ เทคนิคต่างๆ และแรงเสริมของผู้ดูแลเด็กในครอบครัวแตกต่างกัน เมื่อทดสอบความสามารถด้านทักษะชีวิตประจำวัน ทั้ง 3 ทักษะหลังดำเนินการฝึกเสร็จสิ้นแล้ว 1 สัปดาห์ พบว่า เด็กกลุ่มทดลองทุกคนสามารถปฏิบัติทักษะที่ผ่านมาได้ทุกทักษะ
ส่วนผลที่มีต่อพัฒนาการด้านสังคม และอารมณ์ของเด็กกลุ่มทดลองทั้ง 3 คนนั้น พบว่า เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นกล่าวคือ มีความมั่นใจ และมีสมาธิในการทำงานมากขึ้น กล้าซักถาม พูดคุยกับครู และเด็กบางคนสามารถแนะนำ หรือเป็นพี่เลี้ยงให้กับเพื่อนที่มีความต้องการพิเศษในการฝึกทักษะชีวิตประจำวันได้ ทำให้ได้รับการยอมรับจากเพื่อนมากขึ้น
(3) การมีส่วนร่วมในการฝึกทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะของผู้ดูแลเด็กในครอบครัว พบว่า ผู้ดูแลเด็กในครอบครัวทั้ง 3 ครอบครัวให้ความร่วมมือในการพัฒนาทักษะชีวิตประจำวัน ทั้ง 3 ทักษะตามกระบวนการมีส่วนร่วมทั้ง 3 ขั้นตอน ที่กำหนดไว้ในงานวิจัยครั้งนี้เป็นอย่างดี ทั้งก่อนดำเนินการฝึก ระหว่างฝึก และหลังฝึก จึงทำให้เด็กกลุ่มทดลองทั้ง 3 คนนี้ มีพัฒนาการด้านทักษะชีวิตประจำวันผ่านเกณฑ์การประเมินความสำเร็จที่กำหนดไว้ทุกทักษะ ตลอดจนมีพัฒนาการด้านสังคม และอารมณ์ดีขึ้น การที่เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นในทุกด้านดังกล่าวนั้น พบว่านอกจากแผนกิจกรรมการฝึกที่ได้มีการวางแผนและพัฒนาเป็นอย่างดีแล้ว การมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนและครอบครัวยังเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้ประสบผลสำเร็จดังกล่าว โดยพบว่าลักษณะการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนและครอบครัวในการพัฒนาทักษะชีวิตประจำวันสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้นั้น ตัวบ่งชี้การมีส่วนร่วมที่สำคัญซึ่งพบในทุกขั้นตอนการพัฒนา คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นการให้อิสระ ไม่ครอบงำทางความคิด ให้เกียรติในการเสนอความคิดเห็น และการยอมรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย
นอกจากนั้นแล้ว พบว่า การพัฒนาแผนกิจกรรมการฝึกทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะ จำเป็นต้องมีการยืดหยุ่น ปรับแก้ โดยการปรับเพิ่มขั้นตอนและปรับลดขั้นตอนการวิเคราะห์งาน เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพของเด็กแต่ละคน รวมทั้งมีการสะท้อนบทเรียนที่ได้รับ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ผู้ดูแลเด็กในครอบครัว ผู้วิจัย และผู้ช่วยผู้วิจัยร่วมกันรายงานผลการฝึกแก่กันและกัน รวมทั้งให้ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ที่ได้รับจากการวิจัยครั้งนี้ เพื่อนำไปวางแผนการพัฒนาเด็กต่อเนื่อง
ผลที่ปรากฏจากการสะท้อนบทเรียนการวิจัย
(1)ทำให้ครู ผู้ดูแลเด็กในครอบครัว มีความเข้าใจเกี่ยวกับศักยภาพของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้มากขึ้น โดยเห็นความสำคัญของการพัฒนาเด็กที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายโดยเฉพาะโรงเรียนและครอบครัว
(2)การยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
(3)การให้ข้อมูลแก่กันอย่างเปิดเผย
(4)การเปิดโอกาสให้ผู้ดูแลเด็กในครอบครัวมีส่วนร่วมในการกำหนดจุดมุ่งหมาย เนื้อหาในการเรียนรู้ ปรับกิจกรรมและขั้นตอนการฝึก วิธีการวัดและประเมินผล การใช้สื่อและเทคนิคต่าง ๆ ในการฝึก
(5)การให้แรงเสริมทางบวกที่สอดคล้องกับความต้องการของเด็กเป็นรายบุคคล จนส่งผลให้เด็กกลุ่มทดลองมีพัฒนาการทุกด้านดีขึ้นดังกล่าว
(6)ผู้ดูแลเด็กในครอบครัวเกิดความตระหนัก ในการพัฒนาเด็กมากขึ้น ตลอดจนมีความภาคภูมิใจ และมีความรู้สึกร่วมเป็นส่วนหนึ่งหรือร่วมเป็นเจ้าของงานวิจัย
(7)ผู้ดูแลเด็กในครอบครัวเกิดความตระหนักยินดีในการเป็นแกนนำในการประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับครอบครัวในการพัฒนาเด็กด้านอื่นๆ ต่อไป
สรุปจากการศึกษางานวิจัยเรื่องนี้
งานวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยแบบผสม ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยคุณภาพ โดยปรากฏข้อมูลอย่างชัดเจนจากงานวิจัย ดังนี้
1.การกำหนดวัตถุประสงค์ของงานวิจัย
2.ขั้นตอนและกระบวนการวิจัยที่ผสมผสานกันอย่างต่อเนื่องของผู้วิจัยในด้านปริมาณและคุณภาพ
3.คำตอบการวิจัย ที่อธิบายอย่างชัดเจนทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
4.คำตอบการวิจัยที่ได้จากการวิจัยของผู้วิจัยมีประสิทธิภาพ สามารถใช้เป็นแนวทางการวิจัยต่อไปได้จริง.
ด้วยความขอบคุณเจ้าของผลงานวิจัยมา ณ บันทึกนี้ค่ะ
1.ชื่อเรื่องการวิจัย
เรื่อง การพัฒนาทักษะชีวิตประจำวันของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ โดยวิธีการฝึกตามหลักการวิเคราะห์งาน ที่เน้นความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและครอบครัว
ชื่อผู้วิจัย นางสาวโรจน์รวี เล็กวิเชียร
เป็นผลงานระดับดุษฎีนิพนธ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2.วัตถุประสงค์การวิจัย
(1) พัฒนาแผนกิจกรรมการฝึกทักษะชีวิตประจำวัน ด้านทักษะการช่วยเหลือตนเอง ทักษะการช่วยเหลือครอบครัว และทักษะการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดยใช้หลักการวิเคราะห์งาน
(2) ศึกษาผลการใช้แผนกิจกรรมการฝึกทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะ ที่ออกแบบไว้ ที่มีต่อพัฒนาการด้านทักษะชีวิตประจำวัน สังคม และอารมณ์ของเด็ก และ
(3) ศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็กในครอบครัวในการพัฒนาทักษะชีวิตประจำวัน สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้
3. กลุ่มประชากร
กลุ่มทดลอง ได้แก่ เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ ซึ่งเป็นนักเรียนที่เรียนร่วมอยู่ในโรงเรียนวัดช่างเคี่ยน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้เกณฑ์คัดเลือกจำนวน 3 คน และผู้ดูแลเด็กในครอบครัวของเด็ก กลุ่มทดลองทั้ง 3 คน
4. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
4.1 เครื่องมือที่ใช้ในการคัดเลือกเด็กที่เป็นกลุ่มทดลอง ได้แก่
(1)แบบสำรวจทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะ
(2)แบบสัมภาษณ์ผู้ดูแลเด็กในครอบครัว
(3)แบบบันทึกพฤติกรรมความสามารถเบื้องต้นจากรายงานพัฒนาการก้าวหน้า และแบบสังเกตพฤติกรรมทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะ
4.2เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาเด็ก ได้แก่
(1)แผนกิจกรรมที่พัฒนาโดยใช้หลักการวิเคราะห์งานแบบก้าวไปข้างหน้า (Forward Chaining) สำหรับการฝึกทักษะการร้อยและผูกเชือกรองเท้า การฝึกทักษะการซักเสื้อผ้า การฝึกทักษะการระบายสีภาพ และการปั้นดินน้ำมัน
4.3เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่
(1)แบบสังเกตพฤติกรรมทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะ
(2)แบบสัมภาษณ์ผู้ดูแลเด็กในครอบครัว
5.การวิเคราะห์ข้อมูล
5.1ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นการวิเคราะห์ผ่านแบบสรุปผลรวมพฤติกรรมทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะ ใช้การแจกแจงความถี่ (ƒ และค่าเฉลี่ย ( ) โดยเทียบกับเกณฑ์การประเมินความสำเร็จของการใช้แบบฝึกทักษะชีวิตประจำวันที่สร้างขึ้น
5.2ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลที่ได้จาก
(1)การสังเกตโดยผู้วิจัย ผู้ช่วยผู้วิจัย และผู้ดูแลเด็กในครอบครัว
(2)การสัมภาษณ์ผู้ดูแลเด็กในครอบครัวของเด็กกลุ่มทดลอง
(3)ข้อมูลที่ได้จากเครื่องบันทึกภาพ และกล้องดิจิตอล
ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เพื่อ
1) สรุปลำดับภาระงาน (tasks) ที่สอดคล้องกับเด็กรายบุคคล
2) เพื่อสรุปผลการใช้แผนการฝึกที่มีต่อพัฒนาการด้านทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะ รวมทั้งด้านสังคมและอารมณ์ของเด็ก และ
3) เพื่ออธิบายลักษณะการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็กในครอบครัวในการฝึกทักษะชีวิตประจำวันที่มีผลต่อพัฒนาการของเด็ก
6.สรุปผลการวิจัย
(1) การพัฒนาแผนกิจกรรมการฝึกทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะ ผู้วิจัยได้พัฒนาแผนต้นแบบ ซึ่งมีขั้นตอนการวิเคราะห์งานในแต่ละทักษะเท่ากัน เพื่อใช้เป็นแผนกลางสำหรับ ใช้ในการอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้ช่วยผู้วิจัย และผู้ดูแลเด็กในครอบครัวได้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการฝึกตามหลักการวิเคราะห์งาน สามารถนำแผนต้นแบบที่พัฒนาขึ้นนี้ไปใช้ในการฝึกกับเด็ก ได้ถูกต้องตามขั้นตอน และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เมื่อนำแผนต้นแบบไปใช้ฝึกกับเด็กกลุ่มทดลองแล้วพบว่า จำเป็นต้องยืดหยุ่น ปรับแก้ โดยการปรับเพิ่มขั้นตอนและปรับลดขั้นตอน การวิเคราะห์งาน เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพของเด็กแต่ละคน
(2) ผลการใช้แผนกิจกรรมการฝึกทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะที่ได้พัฒนาขึ้นโดยใช้หลักการวิเคราะห์งานแบบก้าวไปข้างหน้า พบว่า แผนกิจกรรมการฝึกที่พัฒนาขึ้น สามารถพัฒนา เด็กกลุ่มทดลองให้มีทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะ จนผ่านเกณฑ์ระดับ 4 ทุกคนคือ ทำได้ถูกต้อง โดยไม่ต้องช่วยเหลือ ติดต่อกัน 3 ครั้งได้ แต่ใช้เวลาและจำนวนครั้งในการฝึกไม่เท่ากัน โดยเด็กชายโจ (นามสมมติ) ใช้เวลาในการฝึกทั้ง 3 ทักษะรวมทั้งสิ้น 5 เดือน เด็กชายบอย (นามสมมติ) 4 เดือน และเด็กหญิงเปิ้ล (นามสมมติ) 3 เดือน ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากศักยภาพของเด็ก ความร่วมมือ ในการฝึก ตลอดจนการใช้สื่อ เทคนิคต่างๆ และแรงเสริมของผู้ดูแลเด็กในครอบครัวแตกต่างกัน เมื่อทดสอบความสามารถด้านทักษะชีวิตประจำวัน ทั้ง 3 ทักษะหลังดำเนินการฝึกเสร็จสิ้นแล้ว 1 สัปดาห์ พบว่า เด็กกลุ่มทดลองทุกคนสามารถปฏิบัติทักษะที่ผ่านมาได้ทุกทักษะ
ส่วนผลที่มีต่อพัฒนาการด้านสังคม และอารมณ์ของเด็กกลุ่มทดลองทั้ง 3 คนนั้น พบว่า เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นกล่าวคือ มีความมั่นใจ และมีสมาธิในการทำงานมากขึ้น กล้าซักถาม พูดคุยกับครู และเด็กบางคนสามารถแนะนำ หรือเป็นพี่เลี้ยงให้กับเพื่อนที่มีความต้องการพิเศษในการฝึกทักษะชีวิตประจำวันได้ ทำให้ได้รับการยอมรับจากเพื่อนมากขึ้น
(3) การมีส่วนร่วมในการฝึกทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะของผู้ดูแลเด็กในครอบครัว พบว่า ผู้ดูแลเด็กในครอบครัวทั้ง 3 ครอบครัวให้ความร่วมมือในการพัฒนาทักษะชีวิตประจำวัน ทั้ง 3 ทักษะตามกระบวนการมีส่วนร่วมทั้ง 3 ขั้นตอน ที่กำหนดไว้ในงานวิจัยครั้งนี้เป็นอย่างดี ทั้งก่อนดำเนินการฝึก ระหว่างฝึก และหลังฝึก จึงทำให้เด็กกลุ่มทดลองทั้ง 3 คนนี้ มีพัฒนาการด้านทักษะชีวิตประจำวันผ่านเกณฑ์การประเมินความสำเร็จที่กำหนดไว้ทุกทักษะ ตลอดจนมีพัฒนาการด้านสังคม และอารมณ์ดีขึ้น การที่เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นในทุกด้านดังกล่าวนั้น พบว่านอกจากแผนกิจกรรมการฝึกที่ได้มีการวางแผนและพัฒนาเป็นอย่างดีแล้ว การมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนและครอบครัวยังเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้ประสบผลสำเร็จดังกล่าว โดยพบว่าลักษณะการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนและครอบครัวในการพัฒนาทักษะชีวิตประจำวันสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้นั้น ตัวบ่งชี้การมีส่วนร่วมที่สำคัญซึ่งพบในทุกขั้นตอนการพัฒนา คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นการให้อิสระ ไม่ครอบงำทางความคิด ให้เกียรติในการเสนอความคิดเห็น และการยอมรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย
นอกจากนั้นแล้ว พบว่า การพัฒนาแผนกิจกรรมการฝึกทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะ จำเป็นต้องมีการยืดหยุ่น ปรับแก้ โดยการปรับเพิ่มขั้นตอนและปรับลดขั้นตอนการวิเคราะห์งาน เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพของเด็กแต่ละคน รวมทั้งมีการสะท้อนบทเรียนที่ได้รับ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ผู้ดูแลเด็กในครอบครัว ผู้วิจัย และผู้ช่วยผู้วิจัยร่วมกันรายงานผลการฝึกแก่กันและกัน รวมทั้งให้ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ที่ได้รับจากการวิจัยครั้งนี้ เพื่อนำไปวางแผนการพัฒนาเด็กต่อเนื่อง
ผลที่ปรากฏจากการสะท้อนบทเรียนการวิจัย
(1)ทำให้ครู ผู้ดูแลเด็กในครอบครัว มีความเข้าใจเกี่ยวกับศักยภาพของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้มากขึ้น โดยเห็นความสำคัญของการพัฒนาเด็กที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายโดยเฉพาะโรงเรียนและครอบครัว
(2)การยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
(3)การให้ข้อมูลแก่กันอย่างเปิดเผย
(4)การเปิดโอกาสให้ผู้ดูแลเด็กในครอบครัวมีส่วนร่วมในการกำหนดจุดมุ่งหมาย เนื้อหาในการเรียนรู้ ปรับกิจกรรมและขั้นตอนการฝึก วิธีการวัดและประเมินผล การใช้สื่อและเทคนิคต่าง ๆ ในการฝึก
(5)การให้แรงเสริมทางบวกที่สอดคล้องกับความต้องการของเด็กเป็นรายบุคคล จนส่งผลให้เด็กกลุ่มทดลองมีพัฒนาการทุกด้านดีขึ้นดังกล่าว
(6)ผู้ดูแลเด็กในครอบครัวเกิดความตระหนัก ในการพัฒนาเด็กมากขึ้น ตลอดจนมีความภาคภูมิใจ และมีความรู้สึกร่วมเป็นส่วนหนึ่งหรือร่วมเป็นเจ้าของงานวิจัย
(7)ผู้ดูแลเด็กในครอบครัวเกิดความตระหนักยินดีในการเป็นแกนนำในการประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับครอบครัวในการพัฒนาเด็กด้านอื่นๆ ต่อไป
สรุปจากการศึกษางานวิจัยเรื่องนี้
งานวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยแบบผสม ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยคุณภาพ โดยปรากฏข้อมูลอย่างชัดเจนจากงานวิจัย ดังนี้
1.การกำหนดวัตถุประสงค์ของงานวิจัย
2.ขั้นตอนและกระบวนการวิจัยที่ผสมผสานกันอย่างต่อเนื่องของผู้วิจัยในด้านปริมาณและคุณภาพ
3.คำตอบการวิจัย ที่อธิบายอย่างชัดเจนทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
4.คำตอบการวิจัยที่ได้จากการวิจัยของผู้วิจัยมีประสิทธิภาพ สามารถใช้เป็นแนวทางการวิจัยต่อไปได้จริง.
ด้วยความขอบคุณเจ้าของผลงานวิจัยมา ณ บันทึกนี้ค่ะ
ตัวอย่างงานวิจัยแบบผสม
หลากหลายผลงานวิจัยและมุมมองของเพื่อน ใน e-learning
ผลงานชิ้นแรก ของ Nid Noi ..kra
ตัวอย่างงานวิจัยแบบผสม
1. ชื่อเรื่องงานวิจัย การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โดยการสอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.ชื่อผู้วิจัย เนตรชนก จันทร์สว่าง ปีที่สำเร็จ 2548
3.วัตถุประสงค์การวิจัย/จุดมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สาระ สารและการเปลี่ยนแปลงของสาร เรื่อง สารเคมีในชีวิตประจำวัน
2. เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามหลักสูตรวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สาระ สารและการเปลี่ยนแปลงของสาร เรื่อง สารเคมีในชีวิตประจำวัน
3.เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูที่ร่วมวิจัยต่อหลักสูตรวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สาระ สารและการเปลี่ยนแปลงของสาร เรื่อง สารเคมีในชีวิตประจำวัน
4.ตัวแปรที่ศึกษา
4.1 ตัวแปรอิสระ คือ การจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักสูตร วิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สาระ สารและการเปลี่ยนแปลงของสาร เรื่อง สารเคมีในชีวิตประจำวัน
4.2 ตัวแปรตาม คือ ประสิทธิภาพของหลักสูตร วิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สาระ สารและการเปลี่ยนแปลงของสาร เรื่อง สารเคมีในชีวิตประจำวัน
5.นิยามปฏิบัติการ(เฉพาะตัวแปรที่ศึกษา)
1. หลักสูตร หมายถึง หลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มเติมสำหรับ
นักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โดยสอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องสารเคมีในชีวิตประจำวัน ภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางเคมี โดยหลักสูตรใช้วิธีการเรียนแบบสืบเสาะ เนื้อหาประกอบด้วย 5 เรื่องหลัก คือ 1) สารซักล้าง 2) การถนอมอาหารและการปรุงอาหาร 3) สีย้อมจากธรรมชาติ 4) ยาฆ่าแมลงจากธรรมชาติ 5) ยาจากสมุนไพร
2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง ทักษะความรู้ที่ได้จากผู้มีประสบการณ์ ผู้รู้ หรือการสืบทอด
ความรู้กันมา ซึ่งช่วยแก้ปัญหา พัฒนา สนับสนุน ให้วิถีชีวิตกลมกลืนกับกาลเวลาและสิ่งแวดล้อม
3. วัฏจักรการเรียนรู้ หมายถึง รูปแบบการสอนที่นักเรียนสร้างความเข้าใจ(องค์ความรู้)
ได้ด้วยตนเอง จากการใช้วัฏจักรการเรียนนี้ในการทำกิจกรรมในหลักสูตร วัฏจักรประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การกระตุ้น การสำรวจ การอธิบาย(การลงความเห็น) การให้รายละเอียดและ
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การประเมินผลและนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งกิจกรรมการสอนนี้ได้ปรับปรุแก้ไขมาจาก 5Es เพื่อให้กิจกรรมเหมาะสมกับหลักสูตรสารเคมีในชีวิตประจำวัน เป็นการออกแบบการเรียนรู้แบบหนึ่งหลักสูตรหนึ่งวัฏจักร
4. วัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ หมายถึง การสร้างองค์ความรู้ตามหลักวิทยาศาสตร์
ประกอบด้วยการตั้งคำถาม การทำนายผล การปฏิบัติ การทดลอง การสร้างแบบจำลอง การอธิบายและการประยุกต์ใช้ความรู้
5. กลุ่มสำรวจ หมายถึง กลุ่มนักเรียนที่สำรวจตามหัวข้อที่กลุ่มตนเองสนใจ โดยการไปพบและ
ซักถามคนในท้องถิ่น และเรียนจากเอกสารที่จัดเตรียมไว้ให้เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนทำโครงงาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย สารฟอกขาว การปรุงอาหารและถนอมอาหาร สีย้อมธรรมชาติ ยาฆ่าแมลงจากธรรมชาติ ยาจากสมุนไพร โดยแต่ละกลุ่มศึกษาเฉพาะหัวข้อที่กลุ่มตนเองได้รับมอบหมาย
6. ผลการเรียนรู้ หมายถึง นักเรียนสามารถลงมือปฏิบัติได้ ใช้สติปัญญา และใช้เหตุผลในสถานการณ์ต่างๆ ได้ แบ่งการประเมินออกเป็น 3 ด้านดังนี้
6.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง การแสดงความสามารถในการใช้เหตุผล
จากการเรียนจากหลักสูตรนี้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคือ 1) มีความรู้และประมวลความรู้
2) ประยุกต์ใช้ความรู้และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ 3) กระบวนการสืบเสาะความรู้ตามหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งผู้วิจัยประเมินผลโดยให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
6.2 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง นักเรียนมีความสามารถในการเรียนรู้
แบบสืบเสาะตามหลักวิทยาศาสตร์ หลักสูตรนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ประเมินจากทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และประเมินจากทักษะการใช้เหตุผลและการเชื่อมโยง ซึ่งทั้งสองส่วนประกอบด้วย
1) การตั้งสมมติฐาน
2) ตัวแปรอิสระและตัวแปรควบคุม
3) การทดลอง
4) การสังเกต
5) การแบ่งกลุ่ม
6)การแปลความหมายของข้อมูล
7) การลงมือทำ การลงความเห็นและการอ้างอิง
8) การนำเสนอข้อมูล
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ประเมินจากการรายงานตามหัวข้อที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการสำรวจ ทักษะใช้เหตุผลและการเชื่อมโยง ประเมินจากการปฏิบัติ การทดลอง โดยการเช็คตามแบบฟอร์ม
การแสดงผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะการใช้เหตุผลและการเชื่อมโยง ทำได้จากการกำหนดเกณฑ์คะแนนพื้นฐาน
6.3 เจตคติทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง นักเรียนรู้สึกรัก สนใจวิทยาศาสตร์และการเรียน
วิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผลจากการทำกิจกรรมในหลักสูตรนี้ ประเมินผลได้จากการตอบแบบสอบถาม
7. ความคิดเห็นของครูต่อหลักสูตร หมายถึง ความคิดเห็นของครุที่มีต่อหลักสูตร เรื่อง สารเคมีในชีวิตประจำวัน เกี่ยวกับเอกสาร วิธีการสอนในหลักสูตร ประเมินผลจากการตอบแบบสอบถาม
6. ชื่อเครื่องมือวิจัยที่ใช้ทั้งหมด ระบุลักษณะเครื่องมือ
เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล มี 9 ชนิด ได้แก่
6.1 หลักสูตร
6.2 แบบประเมินโครงร่างหลักสูตร
6.3 แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน ปรนัย 4 ตัวเลือก
6.4 แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สเกล 3 ระดับ
6.5 แบบประเมินทักษะการทำปฏิบัติการ สเกล 3 ระดับ
6.6 แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ สเกล 5 ระดับ
6.7 คำถามในการสัมภาษณ์นักเรียน
6.8 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรของครูที่ร่วมวิจัย สเกล 5 ระดับ
6.9 คำถามในการสัมภาษณ์ครูที่ร่วมวิจัย
7 วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง
8 การวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานการวิจัย คือ ค่าที (t-test independent และ t-test for one group) และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way Analysis of Variance)
9 สรุปผลการวิจัยโดยย่อ
หลักสูตรได้ผ่านการตรวจสอบเชิงโครงสร้างและความสอดคล้องของหลักสูตรกับมาตรฐานการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ และมีความเห็นว่าสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนต้นได้ หลักสูตรได้นำไปศึกษาทดลองเบื้องต้นที่โรงเรียนขามป้อมวิทยาคม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 20 ชั่วโมง ได้ปรับปรุงและเพิ่มกิจกรรมให้เหมาะสม หลักสูตรที่ผ่านการปรับปรุงและพัฒนาได้นำไปดลองใช้กับนักเรียนโรงเรียนงัวบาวิทาคมและ มิตรภาพ จำนวน 36 ชั่วโมง
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า
คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต
คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษามีค่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
คะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยรวมมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
คะแนนทักษะการปฏิบัติการทุกด้านมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
คะแนนเจตคติต่อกิจกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์ มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
นักเรียนแสดงออกถึงความตระหนักของคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นและประโยชน์ของทรัพยากรในท้องถิ่น
นักเรียนแสดงความยินดีที่ได้เรียนตามหลักสูตร เนื่องจากเขาได้พัฒนากระบวนการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง
และมีการทำงานร่วมกันเป็นทีม
ครูที่ร่วมวิจัยมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรอยู่ในระดับสูง
ครูที่ร่วมวิจัยมีความยินดีในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้ศึกษา สำรวจ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสอนและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในจังหวัดมหาสารคาม
ได้อภิปรายเกี่ยวกับหลักสูตรและผลจากการทดลองใช้หลักสูตร และมีความเห็นว่า
หลักสูตรนี้เน้นกระบวนการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้เรียนเป็นผู้ศึกษาสำรวจ
ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้ และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงควรส่งเสริมให้มีการนำหลักสูตรนี้
ไปใช้สำหรับชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นต่อไป
10 ข้อสังเกต / ข้อคิดเห็นของผู้รายงาน
จาการอ่านงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม
สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โดยการสอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำให้ได้ทราบถึงกระบวนการวิจัย
ว่ามีขั้นตอนอย่างไร อีกทั้งได้รับความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรที่เป็นส่วนของหลักสูตรที่เกี่ยวกับสถานศึกษา
และการประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น ผู้วิจัยสามารถดึงเอากิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถแสวงหาคำตอบ
ได้จากชุมชนที่ตนอยู่ได้ และเป็นการปลูกฝังให้ผู้ที่ศึกษาจากหลักสูตรนี้ มีความสำนึกที่ดีเกี่ยวกับท้องถิ่นของตน
และผู้ที่สนใจในหัวข้อการวิจัยในส่วนของการพัฒนาหลักสูตรสามารถนำไปประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของตนในระดับชั้นอื่นได้ต่อไป
เป็นงานวิจัยของ
เนตรชนก จันทร์สว่าง.(2548).การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เพิ่มเติมสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โดยการสอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่น.ปริญญานิพนธ์
กศ.ด.(วิทยาศาสตรศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสม
เนื่องจากในงานวิจัยมีการผสมวิธีการเชิงปริมาณและวิธีการเชิงคุณภาพ ดังนี้
- ขั้นการพัฒนาหลักสูตร ใช้วิธีการเชิงคุณภาพ กล่าวคือ ในกระบวนการสอบถาม สัมภาษณ์เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ปกครอง ประชาชน ครู นักเรียน ซึ่งการศึกษาในช่วงนี้จะใช้วิธีการเชิงคุณภาพ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา Content Analysis
- ขั้นประเมินผลและการนำหลักสูตรไปใช้เพื่อพัฒนา ใช้กระบวนการเชิงปริมาณ โดยการนำหลักสูตรไปใช้สอนแล้วนำผลสัมฤทธิ์มาวิเคราะห์ ซึ่งเป็นการวิจัยทดลอง โดยใช้กระบวนการเชิงปริมาณที่ทำให้เห็นผลชัดเจนยิ่งขึ้น.
ผลงานชิ้นแรก ของ Nid Noi ..kra
ตัวอย่างงานวิจัยแบบผสม
1. ชื่อเรื่องงานวิจัย การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โดยการสอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.ชื่อผู้วิจัย เนตรชนก จันทร์สว่าง ปีที่สำเร็จ 2548
3.วัตถุประสงค์การวิจัย/จุดมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สาระ สารและการเปลี่ยนแปลงของสาร เรื่อง สารเคมีในชีวิตประจำวัน
2. เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามหลักสูตรวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สาระ สารและการเปลี่ยนแปลงของสาร เรื่อง สารเคมีในชีวิตประจำวัน
3.เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูที่ร่วมวิจัยต่อหลักสูตรวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สาระ สารและการเปลี่ยนแปลงของสาร เรื่อง สารเคมีในชีวิตประจำวัน
4.ตัวแปรที่ศึกษา
4.1 ตัวแปรอิสระ คือ การจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักสูตร วิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สาระ สารและการเปลี่ยนแปลงของสาร เรื่อง สารเคมีในชีวิตประจำวัน
4.2 ตัวแปรตาม คือ ประสิทธิภาพของหลักสูตร วิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สาระ สารและการเปลี่ยนแปลงของสาร เรื่อง สารเคมีในชีวิตประจำวัน
5.นิยามปฏิบัติการ(เฉพาะตัวแปรที่ศึกษา)
1. หลักสูตร หมายถึง หลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มเติมสำหรับ
นักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โดยสอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องสารเคมีในชีวิตประจำวัน ภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางเคมี โดยหลักสูตรใช้วิธีการเรียนแบบสืบเสาะ เนื้อหาประกอบด้วย 5 เรื่องหลัก คือ 1) สารซักล้าง 2) การถนอมอาหารและการปรุงอาหาร 3) สีย้อมจากธรรมชาติ 4) ยาฆ่าแมลงจากธรรมชาติ 5) ยาจากสมุนไพร
2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง ทักษะความรู้ที่ได้จากผู้มีประสบการณ์ ผู้รู้ หรือการสืบทอด
ความรู้กันมา ซึ่งช่วยแก้ปัญหา พัฒนา สนับสนุน ให้วิถีชีวิตกลมกลืนกับกาลเวลาและสิ่งแวดล้อม
3. วัฏจักรการเรียนรู้ หมายถึง รูปแบบการสอนที่นักเรียนสร้างความเข้าใจ(องค์ความรู้)
ได้ด้วยตนเอง จากการใช้วัฏจักรการเรียนนี้ในการทำกิจกรรมในหลักสูตร วัฏจักรประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การกระตุ้น การสำรวจ การอธิบาย(การลงความเห็น) การให้รายละเอียดและ
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การประเมินผลและนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งกิจกรรมการสอนนี้ได้ปรับปรุแก้ไขมาจาก 5Es เพื่อให้กิจกรรมเหมาะสมกับหลักสูตรสารเคมีในชีวิตประจำวัน เป็นการออกแบบการเรียนรู้แบบหนึ่งหลักสูตรหนึ่งวัฏจักร
4. วัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ หมายถึง การสร้างองค์ความรู้ตามหลักวิทยาศาสตร์
ประกอบด้วยการตั้งคำถาม การทำนายผล การปฏิบัติ การทดลอง การสร้างแบบจำลอง การอธิบายและการประยุกต์ใช้ความรู้
5. กลุ่มสำรวจ หมายถึง กลุ่มนักเรียนที่สำรวจตามหัวข้อที่กลุ่มตนเองสนใจ โดยการไปพบและ
ซักถามคนในท้องถิ่น และเรียนจากเอกสารที่จัดเตรียมไว้ให้เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนทำโครงงาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย สารฟอกขาว การปรุงอาหารและถนอมอาหาร สีย้อมธรรมชาติ ยาฆ่าแมลงจากธรรมชาติ ยาจากสมุนไพร โดยแต่ละกลุ่มศึกษาเฉพาะหัวข้อที่กลุ่มตนเองได้รับมอบหมาย
6. ผลการเรียนรู้ หมายถึง นักเรียนสามารถลงมือปฏิบัติได้ ใช้สติปัญญา และใช้เหตุผลในสถานการณ์ต่างๆ ได้ แบ่งการประเมินออกเป็น 3 ด้านดังนี้
6.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง การแสดงความสามารถในการใช้เหตุผล
จากการเรียนจากหลักสูตรนี้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคือ 1) มีความรู้และประมวลความรู้
2) ประยุกต์ใช้ความรู้และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ 3) กระบวนการสืบเสาะความรู้ตามหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งผู้วิจัยประเมินผลโดยให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
6.2 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง นักเรียนมีความสามารถในการเรียนรู้
แบบสืบเสาะตามหลักวิทยาศาสตร์ หลักสูตรนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ประเมินจากทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และประเมินจากทักษะการใช้เหตุผลและการเชื่อมโยง ซึ่งทั้งสองส่วนประกอบด้วย
1) การตั้งสมมติฐาน
2) ตัวแปรอิสระและตัวแปรควบคุม
3) การทดลอง
4) การสังเกต
5) การแบ่งกลุ่ม
6)การแปลความหมายของข้อมูล
7) การลงมือทำ การลงความเห็นและการอ้างอิง
8) การนำเสนอข้อมูล
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ประเมินจากการรายงานตามหัวข้อที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการสำรวจ ทักษะใช้เหตุผลและการเชื่อมโยง ประเมินจากการปฏิบัติ การทดลอง โดยการเช็คตามแบบฟอร์ม
การแสดงผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะการใช้เหตุผลและการเชื่อมโยง ทำได้จากการกำหนดเกณฑ์คะแนนพื้นฐาน
6.3 เจตคติทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง นักเรียนรู้สึกรัก สนใจวิทยาศาสตร์และการเรียน
วิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผลจากการทำกิจกรรมในหลักสูตรนี้ ประเมินผลได้จากการตอบแบบสอบถาม
7. ความคิดเห็นของครูต่อหลักสูตร หมายถึง ความคิดเห็นของครุที่มีต่อหลักสูตร เรื่อง สารเคมีในชีวิตประจำวัน เกี่ยวกับเอกสาร วิธีการสอนในหลักสูตร ประเมินผลจากการตอบแบบสอบถาม
6. ชื่อเครื่องมือวิจัยที่ใช้ทั้งหมด ระบุลักษณะเครื่องมือ
เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล มี 9 ชนิด ได้แก่
6.1 หลักสูตร
6.2 แบบประเมินโครงร่างหลักสูตร
6.3 แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน ปรนัย 4 ตัวเลือก
6.4 แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สเกล 3 ระดับ
6.5 แบบประเมินทักษะการทำปฏิบัติการ สเกล 3 ระดับ
6.6 แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ สเกล 5 ระดับ
6.7 คำถามในการสัมภาษณ์นักเรียน
6.8 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรของครูที่ร่วมวิจัย สเกล 5 ระดับ
6.9 คำถามในการสัมภาษณ์ครูที่ร่วมวิจัย
7 วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง
8 การวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานการวิจัย คือ ค่าที (t-test independent และ t-test for one group) และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way Analysis of Variance)
9 สรุปผลการวิจัยโดยย่อ
หลักสูตรได้ผ่านการตรวจสอบเชิงโครงสร้างและความสอดคล้องของหลักสูตรกับมาตรฐานการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ และมีความเห็นว่าสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนต้นได้ หลักสูตรได้นำไปศึกษาทดลองเบื้องต้นที่โรงเรียนขามป้อมวิทยาคม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 20 ชั่วโมง ได้ปรับปรุงและเพิ่มกิจกรรมให้เหมาะสม หลักสูตรที่ผ่านการปรับปรุงและพัฒนาได้นำไปดลองใช้กับนักเรียนโรงเรียนงัวบาวิทาคมและ มิตรภาพ จำนวน 36 ชั่วโมง
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า
คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต
คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษามีค่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
คะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยรวมมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
คะแนนทักษะการปฏิบัติการทุกด้านมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
คะแนนเจตคติต่อกิจกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์ มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
นักเรียนแสดงออกถึงความตระหนักของคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นและประโยชน์ของทรัพยากรในท้องถิ่น
นักเรียนแสดงความยินดีที่ได้เรียนตามหลักสูตร เนื่องจากเขาได้พัฒนากระบวนการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง
และมีการทำงานร่วมกันเป็นทีม
ครูที่ร่วมวิจัยมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรอยู่ในระดับสูง
ครูที่ร่วมวิจัยมีความยินดีในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้ศึกษา สำรวจ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสอนและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในจังหวัดมหาสารคาม
ได้อภิปรายเกี่ยวกับหลักสูตรและผลจากการทดลองใช้หลักสูตร และมีความเห็นว่า
หลักสูตรนี้เน้นกระบวนการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้เรียนเป็นผู้ศึกษาสำรวจ
ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้ และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงควรส่งเสริมให้มีการนำหลักสูตรนี้
ไปใช้สำหรับชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นต่อไป
10 ข้อสังเกต / ข้อคิดเห็นของผู้รายงาน
จาการอ่านงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม
สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โดยการสอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำให้ได้ทราบถึงกระบวนการวิจัย
ว่ามีขั้นตอนอย่างไร อีกทั้งได้รับความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรที่เป็นส่วนของหลักสูตรที่เกี่ยวกับสถานศึกษา
และการประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น ผู้วิจัยสามารถดึงเอากิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถแสวงหาคำตอบ
ได้จากชุมชนที่ตนอยู่ได้ และเป็นการปลูกฝังให้ผู้ที่ศึกษาจากหลักสูตรนี้ มีความสำนึกที่ดีเกี่ยวกับท้องถิ่นของตน
และผู้ที่สนใจในหัวข้อการวิจัยในส่วนของการพัฒนาหลักสูตรสามารถนำไปประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของตนในระดับชั้นอื่นได้ต่อไป
เป็นงานวิจัยของ
เนตรชนก จันทร์สว่าง.(2548).การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เพิ่มเติมสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โดยการสอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่น.ปริญญานิพนธ์
กศ.ด.(วิทยาศาสตรศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสม
เนื่องจากในงานวิจัยมีการผสมวิธีการเชิงปริมาณและวิธีการเชิงคุณภาพ ดังนี้
- ขั้นการพัฒนาหลักสูตร ใช้วิธีการเชิงคุณภาพ กล่าวคือ ในกระบวนการสอบถาม สัมภาษณ์เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ปกครอง ประชาชน ครู นักเรียน ซึ่งการศึกษาในช่วงนี้จะใช้วิธีการเชิงคุณภาพ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา Content Analysis
- ขั้นประเมินผลและการนำหลักสูตรไปใช้เพื่อพัฒนา ใช้กระบวนการเชิงปริมาณ โดยการนำหลักสูตรไปใช้สอนแล้วนำผลสัมฤทธิ์มาวิเคราะห์ ซึ่งเป็นการวิจัยทดลอง โดยใช้กระบวนการเชิงปริมาณที่ทำให้เห็นผลชัดเจนยิ่งขึ้น.
ขั้นตอนการวิจัยแบบผสม และการวิจัยแบบบูรณาการ
มุมมองของเราเอง จาก e-learning หน้า Web Board
ขั้นตอนการวิจัยแบบผสม และการวิจัยแบบบูรณาการ
สามารถแยกพิจารณาได้เป็นสองส่วน คือ ขั้นตอนการวิจัยในส่วนที่เหมือนกันของการวิจัยทั้งสองแบบ และขั้นตอนเฉพาะของแต่ละแบบ ดังนี้
1. ขั้นตอนการวิจัยในส่วนที่เหมือนกัน
ขั้นตอนการวิจัยที่ใช้ในการวิจัยแบบผสมกับที่ใช้ในการวิจัยแบบบูรณาการ ส่วนที่เหมือนกัน คือ การวิจัยทั้งสองแบบใช้กระบวนการหรือขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ ที่ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ
(1) ขั้นกำหนดปัญหาของการวิจัย
(2) ขั้นกำหนดสมมติฐานของการวิจัย
(3) ขั้นกำหนดวิธีการและเก็บรวบรวมข้อมูล
(4) ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
(5) ขั้นสรุปผลการวิจัย
2. ขั้นตอนการวิจัยที่เป็นลักษณะเฉพาะของการวิจัยแต่ละแบบ มีดังนี้
2.1 ขั้นตอนการวิจัยที่เป็นลักษณะของการวิจัยแบบผสม เป็นขั้นตอนที่เฉพาะเจาะจงหรือขั้นตอนเพิ่มเติม ที่อาจแทรกเสริมจาก 5 ขั้นตอนหลัก ได้แก่
1) ขั้นกำหนดปัญหาของการวิจัย ในการวิจัยแบบผสมนั้น เมื่อนักวิจัยมีความชัดเจนในเรื่องปัญหาวิจัยแล้ว นักวิจัยจะต้องพิจารณาว่าการวิจัยนั้นเหมาะสมที่จะใช้วิธีการผสมหรือไม่ ดังนั้นในขั้นตอนนี้จึงเป็นการพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะใช้วิธีการแบบผสม กล่าวคือ พิจารณาว่าปัญหานั้นเหมาะสมที่จะใช้วิธีการแบบผสมหรือไม่ นักวิจัยมีทักษะทั้งสองวิธีการเพียงพอหรือไม่ มีทรัพยากรเพียงพอหรือไม่ เป็นความต้องการของผู้ใช้งานวิจัยนั้นด้วยหรือไม่
2) ขั้นกำหนดสมมติฐานของการวิจัย นักวิจัยจะต้องกำหนดคำตอบหรือคาดคะเนผลของการวิจัย โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นการเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ด้วยวิธีเชิงปริมาณ อย่างไรก็ตามในส่วนที่เป็นเชิงคุณภาพหากมีหลักฐาน แนวโน้ม ที่ชัดเจน นักวิจัยก็อาจตั้งสมมติฐานได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการประมวลเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในการวิจัยแบบผสมอาจมีสมมติฐานที่ต้องตรวจสอบด้วยข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงวิจัยคุณภาพประกอบกันด้วยก็ได้
3) ขั้นกำหนดวิธีการและเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยจะต้องกำหนดแผนหรือขั้นตอนปฏิบัติการว่าเมื่อใดจะเก็บรวบรวมข้อมูลชนิดใด ใช้วิธีการอะไร (เชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพ) สิ่งที่ต้องมีความชัดเจนในขั้นนี้ก็คือ ในส่วนของวิธีเชิงปริมาณ นักวิจัยต้องกำหนดประชากร จำนวนและวิธีการเลือกตัวอย่าง นิยามปฏิบัติการของตัวแปร รวมถึงวิธีการรวบรวมข้อมูล ในส่วนของวิธีเชิงคุณภาพนักวิจัยต้องกำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เทคนิคหรือเครื่องมือที่ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูล วิธีการรวบรวมข้อมูล รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือและวิธีการรวบรวมข้อมูล เมื่อใดจะเก็บรวบรวมข้อมูลชนิดใด ใช้วิธีการอะไร (เชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพ) สิ่งที่ต้องมีความชัดเจนในขั้นนี้ก็คือ ในส่วนของวิธีเชิงปริมาณ นักวิจัยต้องกำหนดประชากร จำนวนและวิธีการเลือกตัวอย่าง นิยามปฏิบัติการของตัวแปร รวมถึงวิธีการรวบรวมข้อมูล ในส่วนของวิธีเชิงคุณภาพนักวิจัยต้องกำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เทคนิคหรือเครื่องมือที่ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูล วิธีการรวบรวมข้อมูล รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือและวิธีการรวบรวมข้อมูล
4) ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล นักวิจัยจะต้องคำนึงถึงการวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละชนิดที่รวบรวมได้ในแต่ละขั้นตอนของการวิจัย โดยอาจวิเคราะห์แบบแยก คือ เชิงปริมาณส่วนหนึ่ง เชิงคุณภาพส่วนหนึ่ง หรือวิเคราะห์แบบรวมกัน คือวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แล้วนำผลที่ได้บูรณาการหรือเสริมกัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับแบบการวิจัยที่ใช้ ขั้นตอนของการวิจัย โดยอาจวิเคราะห์แบบแยก คือ เชิงปริมาณส่วนหนึ่ง เชิงคุณภาพส่วนหนึ่ง หรือวิเคราะห์แบบรวมกัน คือวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แล้วนำผลที่ได้บูรณาการหรือเสริมกัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับแบบการวิจัยที่ใช้
5) ขั้นสรุปผลการวิจัย ในการวิจัยแบบผสมการสรุปผลการวิจัยอาจทำเป็นตอน ๆ (ถ้าการวิจัยแบ่งเป็นตอน เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ) หรือสรุปผลการวิจัยแบบผสมระหว่างผลที่พบจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพประกอบกัน
2.2 ขั้นตอนการวิจัยที่เป็นลักษณะที่เป็นลักษณะเฉพาะของการวิจัยแบบบูรณาการ
ขั้นตอนที่เฉพาะเจาะจงหรือขั้นตอนเพิ่มเติม พิจารณาแทรกเสริมจาก 5 ขั้นตอนหลักของการวิจัยแบบบูรณาการ ได้แก่
1) ขั้นกำหนดปัญหาของการวิจัย ในการวิจัยแบบบูรณาการต้องพิจารณาว่าปัญหานั้นเป็นปัญหาที่มีลักษณะบูรณาการของสาขาวิชาตั้งแต่สองสาขาวิชาขึ้นไปหรือไม่ ถ้าใช่มีสาขาวิชาอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง ปัญหาดังกล่าวอาจเรียกว่า ปัญหาหลักของการวิจัย จากปัญหาหลักนักวิจัยจะวิเคราะห์แยกเป็นปัญหารองของการวิจัย ซึ่งแต่ละปัญหารองอาจเป็นแบบบูรณาการปัญหาจากหลายสาขาวิชา หรือเป็นปัญหาของเฉพาะแต่ละสาขาวิชา
2) ขั้นกำหนดสมมติฐานของการวิจัย สมมติฐานของการวิจัยแบบบูรณาการจะกำหนดให้สอดคล้องกับปัญหาย่อยหรือวัตถุประสงค์ของการวิจัย กล่าวคือเป็นสมมติฐานแบบบูรณาการสาขาวิชาหรือเฉพาะสาขาวิชา สมมติฐานอาจมีจำนวนเท่ากันหรือมากกว่าจำนวนวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้
3) ขั้นกำหนดวิธีการและเก็บรวบรวมข้อมูล ในการเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยแบบบูรณาการ นักวิจัยต้องพิจารณาวิธีวิทยาของสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำมาใช้อย่างเหมาะสม นักวิจัยต้องประชุมปรึกษากันว่าจะผสมผสานระหว่างวิธีวิทยาหรือจะใช้แต่ละวิธีวิทยากับแต่ละปัญหาย่อยของการวิจัย
4) ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิจัยแบบบูรณาการนักวิจัยจะวางแผนที่สอดรับกับสมมติฐานและปัญหาย่อยของการวิจัย รวมทั้งข้อมูลที่รวบรวมได้ด้วย ในขั้นนี้ก็เช่นกันที่นักวิจัยจะต้องนำวิธีวิทยาในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการกับข้อมูลของแต่ละสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องมาใช้อย่างเหมาะสม
5) ขั้นสรุปผลการวิจัย ขั้นนี้นักวิจัยจะต้องนำผลการวิเคราะห์ข้อมูล และผลการวิจัยที่พบไปตรวจสอบกับปัญหาวิจัย โดยตรวจสอบปัญหาย่อย และบูรณาการคำตอบทั้งหมดเพื่อตอบปัญหาหลักของการวิจัย.
ขั้นตอนการวิจัยแบบผสม และการวิจัยแบบบูรณาการ
สามารถแยกพิจารณาได้เป็นสองส่วน คือ ขั้นตอนการวิจัยในส่วนที่เหมือนกันของการวิจัยทั้งสองแบบ และขั้นตอนเฉพาะของแต่ละแบบ ดังนี้
1. ขั้นตอนการวิจัยในส่วนที่เหมือนกัน
ขั้นตอนการวิจัยที่ใช้ในการวิจัยแบบผสมกับที่ใช้ในการวิจัยแบบบูรณาการ ส่วนที่เหมือนกัน คือ การวิจัยทั้งสองแบบใช้กระบวนการหรือขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ ที่ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ
(1) ขั้นกำหนดปัญหาของการวิจัย
(2) ขั้นกำหนดสมมติฐานของการวิจัย
(3) ขั้นกำหนดวิธีการและเก็บรวบรวมข้อมูล
(4) ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
(5) ขั้นสรุปผลการวิจัย
2. ขั้นตอนการวิจัยที่เป็นลักษณะเฉพาะของการวิจัยแต่ละแบบ มีดังนี้
2.1 ขั้นตอนการวิจัยที่เป็นลักษณะของการวิจัยแบบผสม เป็นขั้นตอนที่เฉพาะเจาะจงหรือขั้นตอนเพิ่มเติม ที่อาจแทรกเสริมจาก 5 ขั้นตอนหลัก ได้แก่
1) ขั้นกำหนดปัญหาของการวิจัย ในการวิจัยแบบผสมนั้น เมื่อนักวิจัยมีความชัดเจนในเรื่องปัญหาวิจัยแล้ว นักวิจัยจะต้องพิจารณาว่าการวิจัยนั้นเหมาะสมที่จะใช้วิธีการผสมหรือไม่ ดังนั้นในขั้นตอนนี้จึงเป็นการพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะใช้วิธีการแบบผสม กล่าวคือ พิจารณาว่าปัญหานั้นเหมาะสมที่จะใช้วิธีการแบบผสมหรือไม่ นักวิจัยมีทักษะทั้งสองวิธีการเพียงพอหรือไม่ มีทรัพยากรเพียงพอหรือไม่ เป็นความต้องการของผู้ใช้งานวิจัยนั้นด้วยหรือไม่
2) ขั้นกำหนดสมมติฐานของการวิจัย นักวิจัยจะต้องกำหนดคำตอบหรือคาดคะเนผลของการวิจัย โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นการเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ด้วยวิธีเชิงปริมาณ อย่างไรก็ตามในส่วนที่เป็นเชิงคุณภาพหากมีหลักฐาน แนวโน้ม ที่ชัดเจน นักวิจัยก็อาจตั้งสมมติฐานได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการประมวลเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในการวิจัยแบบผสมอาจมีสมมติฐานที่ต้องตรวจสอบด้วยข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงวิจัยคุณภาพประกอบกันด้วยก็ได้
3) ขั้นกำหนดวิธีการและเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยจะต้องกำหนดแผนหรือขั้นตอนปฏิบัติการว่าเมื่อใดจะเก็บรวบรวมข้อมูลชนิดใด ใช้วิธีการอะไร (เชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพ) สิ่งที่ต้องมีความชัดเจนในขั้นนี้ก็คือ ในส่วนของวิธีเชิงปริมาณ นักวิจัยต้องกำหนดประชากร จำนวนและวิธีการเลือกตัวอย่าง นิยามปฏิบัติการของตัวแปร รวมถึงวิธีการรวบรวมข้อมูล ในส่วนของวิธีเชิงคุณภาพนักวิจัยต้องกำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เทคนิคหรือเครื่องมือที่ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูล วิธีการรวบรวมข้อมูล รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือและวิธีการรวบรวมข้อมูล เมื่อใดจะเก็บรวบรวมข้อมูลชนิดใด ใช้วิธีการอะไร (เชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพ) สิ่งที่ต้องมีความชัดเจนในขั้นนี้ก็คือ ในส่วนของวิธีเชิงปริมาณ นักวิจัยต้องกำหนดประชากร จำนวนและวิธีการเลือกตัวอย่าง นิยามปฏิบัติการของตัวแปร รวมถึงวิธีการรวบรวมข้อมูล ในส่วนของวิธีเชิงคุณภาพนักวิจัยต้องกำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เทคนิคหรือเครื่องมือที่ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูล วิธีการรวบรวมข้อมูล รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือและวิธีการรวบรวมข้อมูล
4) ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล นักวิจัยจะต้องคำนึงถึงการวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละชนิดที่รวบรวมได้ในแต่ละขั้นตอนของการวิจัย โดยอาจวิเคราะห์แบบแยก คือ เชิงปริมาณส่วนหนึ่ง เชิงคุณภาพส่วนหนึ่ง หรือวิเคราะห์แบบรวมกัน คือวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แล้วนำผลที่ได้บูรณาการหรือเสริมกัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับแบบการวิจัยที่ใช้ ขั้นตอนของการวิจัย โดยอาจวิเคราะห์แบบแยก คือ เชิงปริมาณส่วนหนึ่ง เชิงคุณภาพส่วนหนึ่ง หรือวิเคราะห์แบบรวมกัน คือวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แล้วนำผลที่ได้บูรณาการหรือเสริมกัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับแบบการวิจัยที่ใช้
5) ขั้นสรุปผลการวิจัย ในการวิจัยแบบผสมการสรุปผลการวิจัยอาจทำเป็นตอน ๆ (ถ้าการวิจัยแบ่งเป็นตอน เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ) หรือสรุปผลการวิจัยแบบผสมระหว่างผลที่พบจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพประกอบกัน
2.2 ขั้นตอนการวิจัยที่เป็นลักษณะที่เป็นลักษณะเฉพาะของการวิจัยแบบบูรณาการ
ขั้นตอนที่เฉพาะเจาะจงหรือขั้นตอนเพิ่มเติม พิจารณาแทรกเสริมจาก 5 ขั้นตอนหลักของการวิจัยแบบบูรณาการ ได้แก่
1) ขั้นกำหนดปัญหาของการวิจัย ในการวิจัยแบบบูรณาการต้องพิจารณาว่าปัญหานั้นเป็นปัญหาที่มีลักษณะบูรณาการของสาขาวิชาตั้งแต่สองสาขาวิชาขึ้นไปหรือไม่ ถ้าใช่มีสาขาวิชาอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง ปัญหาดังกล่าวอาจเรียกว่า ปัญหาหลักของการวิจัย จากปัญหาหลักนักวิจัยจะวิเคราะห์แยกเป็นปัญหารองของการวิจัย ซึ่งแต่ละปัญหารองอาจเป็นแบบบูรณาการปัญหาจากหลายสาขาวิชา หรือเป็นปัญหาของเฉพาะแต่ละสาขาวิชา
2) ขั้นกำหนดสมมติฐานของการวิจัย สมมติฐานของการวิจัยแบบบูรณาการจะกำหนดให้สอดคล้องกับปัญหาย่อยหรือวัตถุประสงค์ของการวิจัย กล่าวคือเป็นสมมติฐานแบบบูรณาการสาขาวิชาหรือเฉพาะสาขาวิชา สมมติฐานอาจมีจำนวนเท่ากันหรือมากกว่าจำนวนวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้
3) ขั้นกำหนดวิธีการและเก็บรวบรวมข้อมูล ในการเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยแบบบูรณาการ นักวิจัยต้องพิจารณาวิธีวิทยาของสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำมาใช้อย่างเหมาะสม นักวิจัยต้องประชุมปรึกษากันว่าจะผสมผสานระหว่างวิธีวิทยาหรือจะใช้แต่ละวิธีวิทยากับแต่ละปัญหาย่อยของการวิจัย
4) ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิจัยแบบบูรณาการนักวิจัยจะวางแผนที่สอดรับกับสมมติฐานและปัญหาย่อยของการวิจัย รวมทั้งข้อมูลที่รวบรวมได้ด้วย ในขั้นนี้ก็เช่นกันที่นักวิจัยจะต้องนำวิธีวิทยาในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการกับข้อมูลของแต่ละสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องมาใช้อย่างเหมาะสม
5) ขั้นสรุปผลการวิจัย ขั้นนี้นักวิจัยจะต้องนำผลการวิเคราะห์ข้อมูล และผลการวิจัยที่พบไปตรวจสอบกับปัญหาวิจัย โดยตรวจสอบปัญหาย่อย และบูรณาการคำตอบทั้งหมดเพื่อตอบปัญหาหลักของการวิจัย.
ความแตกต่างของการวิจัยแบบผสมกับการวิจัยแบบบูรณาการ
หลากมุมมองของเพื่อนๆ
(1) KAEK..Ka
การวิจัยแบบผสม (mixed research)
คือ การวิจัยที่นำเอาวิธีการเชิงปริมาณกับเชิงคุณภาพ มาผสมผสานใช้ในงานวิจัยเดียวกัน อาจใช้ คู่ขนาน หรือใช้คนละช่วงเป็นลำดับก่อน- หลัง ข้อดีของวิธีการวิจัยแบบผสม คือ มีความเหมาะสมกว่าที่จะใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งเพียงวิธีการเดียว การใช้สองวิธีการร่วมกัน มีผลให้ได้ผลงานวิจัยที่มีความสมบูรณ์ถูกต้อง ทำให้เข้าใจปัญหาการวิจัยได้ดียิ่งขึ้น สามารถเลือกตัวแปรได้เหมาะสม และกว้างขวาง
ส่วนการวิจัยแบบบูรณาการ (integrated research)
หมายถึง การวิจัยที่ใช้ความรู้ แนวคิด
ทฤษฎี วิธีวิทยาจากหลายสาขาวิชาร่วมกัน เพื่อให้ได้คำตอบของการวิจัยที่มีความครบถ้วน สมบูรณ์ เป็นองค์รวม ข้อดีของการวิจัยแบบบูรณาการ คือ เป็นการเชื่อมโยงคำตอบ สามารถตอบคำถามการวิจัยได้ หลายด้าน เติมเต็มกันระหว่างสาขาวิชา ทำให้มีความสมบูรณ์มากกว่าการแยกส่วน ได้ผลผลิตที่เป็นองค์รวม และยังได้ความร่วมมือของนักวิจัยต่างสาขา เป็นการสร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันของนักวิชาการ ตลอดจน ผลวิจัยนำไปใช้ได้หลายสาขาวิชา
กระบวนการวิจัย ทั้ง 2 แบบ
ใช้ 5 ขั้นตอนของวิธีการวิทยาศาสตร์เหมือนกัน คือ
ขั้นกำหนดปัญหาการวิจัย
ขั้นกำหนดสมมุติฐานของการวิจัย
ขั้นกำหนดวิธีการและรวบรวมข้อมูล
ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล และ
ขั้นสรุปผลการวิจัย
สำหรับกระบวนการวิจัยที่เป็นลักษณะเฉพาะของการวิจัยแต่ละแบบ มีความแตกต่างกัน สรุปได้ดังนี้
1. ขั้นกำหนดปัญหาการวิจัย
การวิจัยแบบผสม ต้องพิจารณาความเหมาะสมของปัญหาการวิจัย ระบุความจำเป็นที่ต้อง
ใช้การวิจัยแบบผสม กำหนดคำถามการวิจัยทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพ ส่วน การวิจัยแบบบูรณาการ ต้องพิจารณาปัญหาว่ามีลักษณะบูรณาการของสาขาวิชาหรือไม่ และมีสาขาวิชาใดที่เกี่ยวข้อง เรียกว่าเป็น ปัญหาหลัก และวิเคราะห์ปัญหารอง หรือวัตถุประสงค์ของการวิจัย
2. ขั้นกำหนดสมมุติฐานของการวิจัย
การวิจัยแบบผสม มีการคาดคะเนผลการวิจัยในส่วนที่เก็บรวบรวม แล้ววิเคราะห์ด้วยวิธีเชิงปริมาณ (อาจมีข้อมูลเชิงคุณภาพประกอบด้วยก็ได้) ส่วน การวิจัยแบบบูรณาการ สมมติฐานต้องกำหนดให้สอดคล้องกับปัญหารองหรือวัตถุประสงค์การวิจัย จำนวนสมมติฐานอาจมากกว่า หรือเท่ากับวัตถุประสงค์ก็ได้
3. ขั้นกำหนดวิธีการและรวบรวมข้อมูล
การวิจัยแบบผสมต้องกำหนด แผนปฏิบัติการ กล่าวคือ ถ้าเป็นวิธีเชิงปริมาณ ต้องกำหนดประชากร การเลือกตัวอย่าง การเก็บข้อมูล ถ้าเป็นวิธีเชิงคุณภาพ ต้องกำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูล วิธีรวบรวมข้อมูล เครื่องมือและการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ส่วน การวิจัยแบบบูรณาการ ต้องพิจารณาวิธีวิทยาของสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และนำมาใช้อย่างเหมาะสม
4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยแบบผสม ต้องวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ส่วนการวิจัยแบบบูรณาการต้องนำวิธีวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลของแต่ละสาขาวิชานำมาใช้อย่างเหมาะสม
5. ขั้นสรุปผลการวิจัย
การวิจัยแบบผสม ต้องสรุปข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ส่วน การวิจัยแบบบูรณาการ ต้องนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ค้นพบไปตรวจสอบกับปัญหาย่อย หรือปัญหารองของการวิจัยและบูรณาการคำตอบทั้งหมดเพื่อตอบปัญหาหลัก
*****************************************************************
(2) O-LEA..krab
แนวคิดเกี่ยวกับการวิจัยแบบผสม
ความหมาย คือ การวิจัยที่นำเอาวิธีการเชิงปริมาณ กับเชิงคุณภาพ มาผสมผสานใช้ในงานวิจัยเดียวกัน
ความสำคัญ สำหรับบางปัญหาวิจัย วิธีการวิจัยแบบผสมอาจมีความเหมาะสมกว่าที่จะใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่ง เพียงวิธีการเดียว การใช้สองวิธีการร่วมกัน มีผลให้ได้ผลงานวิจัยที่มีความสมบูรณ์ถูกต้องยิ่งขึ้น
ประโยชน์
- ทำให้เข้าใจปัญหาการวิจัยได้ดียิ่งขึ้น
- ทำให้เลือกตัวแปรได้เหมาะสม และกว้างขวาง
- เป็นการเสริมกันระหว่างสองวิธีการ
หลักการ
1) เป็นการผสมวิธีการวิจัย
2) วิธีการที่นำมา ผสมกัน คือวิธีเชิงประมาณ และวิธีเชิงคุณภาพ
3) การผสมทำได้หลายแบบ
แนวคิดเกี่ยวกับการวิจัยแบบบูรณาการ
ความหมาย คือ การวิจัยที่ใช้เนื้อหา วิธีวิทยา จากหลายสาขาวิชาร่วมกัน เพื่อให้ได้คำตอบของการวิจัย
ที่มีความครบถ้วน สมบูรณ์ เป็นองค์รวม
ความสำคัญ
1) ตอบคำถามการวิจัยได้ทุกด้าน หรือหลายด้าน
2) เป็นการเสริมกันระหว่างสาขาวิชา
3) ได้ผลผลิตที่เป็นองค์รวม และความสมานฉันท์ของนักวิจัยต่างสาขา
ประโยชน์
- ผลวิจัยนำไปใช้ได้หลายสาขาวิชา
- เป็นการสร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันของนักวิชาการ
หลักการ
1) เป็นการบูรณาการเนื้อหา(ปัญหา) และ/หรือวิธีวิทยาจากสาขาวิชาต่าง ๆ
2) การบูรณาการอาจมี ลักษณะหรือระดับความกลมกลืนที่หลากหลาย
กระบวนการวิจัยที่ต่างกันระหว่างการวิจัยแบบผสมกับการวิจัยแบบบูรณาการ
1) กระบวนการวิจัย ที่เป็นลักษณะเฉพาะของการวิจัย แบบผสม (จาก 5 ขั้นตอน หรือ 9-10 ขั้นตอน)
- อาจใช้วิธีการผสมในบางขั้นตอน หรือทุกขั้นตอน
- อาจใช้วิธีการผสมที่ วิธีการทั้งสองมีความเด่นเท่าเทียมกัน หรือ วิธีการหนึ่งเด่นอีกวิธีการหนึ่งไม่เด่น
2) กระบวนการวิจัยที่เป็นลักษณะเฉพาะของการวิจัยแบบบูรณาการ (จาก 5 ขั้นตอน หรือ 9-10 ขั้นตอน)
- การพิจารณากำหนดกระบวนการ ต้องเริ่มที่ปัญหาหลัก ปัญหารองของการวิจัย (วัตถุประสงค์ของการวิจัย)
- กรณีที่ปัญหารองมีลักษณะบูรณาการ ขั้นตอนต่างๆ ต้องบูรณาการไปด้วย (การบูรณาการเน้น เนื้อหา และวิธีวิทยา)
- กรณีปัญหารองแยกเป็นแต่ละสาขาวิชา ขั้นตอนต่างๆ อาจใช้วิธีวิทยาของแต่ละสาขาวิชา (เพื่อตอบปัญหาที่เป็นของสาขาวิชานั้นๆ)
*************************************************************
(3)AUON POOLOOK..kra
ประเด็นของความแตกต่าง แยกเป็น 3 ประเด็น ดังนี้
1. ความแตกต่างด้านแนวคิดของการวิจัย
การวิจัยแบบผสม (mixed research)
เป็นการใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกันในงานวิจัยเดียวกัน
การวิจัยแบบบูรณาการ (Integrated research)
มุ่งเน้นการใช้วิธีวิทยาการจากหลากหลายสาขาวิชา เพื่อหาคำตอบในการวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ แบบองค์รวม
แต่การวิจัยทั้งสองแบบมีความสำคัญ คือ ทำให้ผู้วิจัยสามารถหาคำตอบของการวิจัยอย่างมีความครอบคลุม หรือเป็นองค์รวมมากกว่าการใช้วิธีการวิจัยเดียวหรือวิทยาการวิจัยเดียว
2. ความแตกต่างด้านหลักการของการวิจัย
การวิจัยแบบผสม มีหลักการ ดังนี้
(1) เน้นการใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพประกอบกัน
(2) การผสมระหว่างวิธีการทั้งสองอาจมีได้หลายแบบ เช่น ใช้วิธีการเชิงปริมาณบางขั้นตอน ใช้วิธีการเชิงคุณภาพบางขั้นตอน หรือใช้ทั้งสองวิธีการไปพร้อม ๆ กัน และการใช้สองวิธีการดังกล่าวอาจเป็นลักษณะที่วิธีหนึ่งมีบทบาทเด่น อีกวิธีหนึ่งมีบทบาทด้อยหรือทั้งสองวิธีมีบทบาทเท่าๆกันก็ได้
(3) การผสม เน้นการผสมวิธีการ มิใช่การผสมเนื้อหาหรือสาขาวิชาการ
การวิจัยแบบบูรณาการ มีหลักการ ดังนี้
(1) มุ่งให้ได้คำตอบที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์แบบองค์รวม (holistic)
(2) มุ่งให้ได้คำตอบที่มีความถูกต้อง เที่ยงตรง และครอบคลุมที่สุด โดยที่คำตอบนั้นจะได้ความเป็นองค์รวมหรือไม่ก็ตาม การวิจัยแบบบูรณาการระหว่างสาขาวิชาที่มิได้เน้นเป้าหมายให้ได้คำตอบถึงระดับที่เป็นองค์รวมเป็นสำคัญ เรียกการวิจัยแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary research)
รูปแบบการวิจัยแบบบูรณาการ
1) บูรณาการแบบพหุวิทยาการ(multidisciplinary) เป็นการรวมตัวกัน ระหว่างวิทยาการสองสาขาวิชาขึ้นไป โดยไม่มีการผสมผสานระหว่างองค์ประกอบของศาสตร์
2) บูรณาการแบบอเนกวิทยาการ (pluridisciplinarity) เป็นการรวมตัวกันระหว่างวิทยาการที่มีจุดมุ่งหมายใกล้เคียงกัน และเป็นวิทยาการระดับเดียวกัน ผลจากการบูรณาการได้เป็นวิชาใหม่ที่มีขอบเขตกว้างกว่าเดิมและก้าวหน้ามากขึ้น
3) บูรณาการแบบสหวิทยาการ(Interdisciplinarity)เป็นการผสมผสานของวิทยาการในอุดมคติของวิทยาการทั้ง 4 แบบ มีการผสมผสานองค์ประกอบของวิทยาการเข้าเป็นระบบเดียวกัน ได้เป็นวิทยาการสาขาใหม่ที่ครอบคลุมมวลวิทยาการเดิมและความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาการเดิมด้วย
3. ความแตกต่างด้านกระบวนการของการวิจัย
การวิจัยแบบผสม ดำเนินการตามขั้นตอนวิทยาศาสตร์ 5 ขั้น เป็นการผสมผสานระหว่าง 2 วิธีการ กิจกรรมสำคัญอยู่ที่การผสมผสานระหว่างวิธีการวิจัย เชิงปริมาณกับวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ
การวิจัยแบบบูรณาการ ดำเนินการตามขั้นตอนวิทยาศาสตร์ 5 ขั้น เป็นการบูรณาการจากหลายสาขาวิชา กิจกรรมสำคัญอยู่ที่การบูรณาการปัญหาวิจัย และการใช้วิธีวิทยาของสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการแต่ละขั้นตอนของการวิจัย.
Bye Bye Kra
(1) KAEK..Ka
การวิจัยแบบผสม (mixed research)
คือ การวิจัยที่นำเอาวิธีการเชิงปริมาณกับเชิงคุณภาพ มาผสมผสานใช้ในงานวิจัยเดียวกัน อาจใช้ คู่ขนาน หรือใช้คนละช่วงเป็นลำดับก่อน- หลัง ข้อดีของวิธีการวิจัยแบบผสม คือ มีความเหมาะสมกว่าที่จะใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งเพียงวิธีการเดียว การใช้สองวิธีการร่วมกัน มีผลให้ได้ผลงานวิจัยที่มีความสมบูรณ์ถูกต้อง ทำให้เข้าใจปัญหาการวิจัยได้ดียิ่งขึ้น สามารถเลือกตัวแปรได้เหมาะสม และกว้างขวาง
ส่วนการวิจัยแบบบูรณาการ (integrated research)
หมายถึง การวิจัยที่ใช้ความรู้ แนวคิด
ทฤษฎี วิธีวิทยาจากหลายสาขาวิชาร่วมกัน เพื่อให้ได้คำตอบของการวิจัยที่มีความครบถ้วน สมบูรณ์ เป็นองค์รวม ข้อดีของการวิจัยแบบบูรณาการ คือ เป็นการเชื่อมโยงคำตอบ สามารถตอบคำถามการวิจัยได้ หลายด้าน เติมเต็มกันระหว่างสาขาวิชา ทำให้มีความสมบูรณ์มากกว่าการแยกส่วน ได้ผลผลิตที่เป็นองค์รวม และยังได้ความร่วมมือของนักวิจัยต่างสาขา เป็นการสร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันของนักวิชาการ ตลอดจน ผลวิจัยนำไปใช้ได้หลายสาขาวิชา
กระบวนการวิจัย ทั้ง 2 แบบ
ใช้ 5 ขั้นตอนของวิธีการวิทยาศาสตร์เหมือนกัน คือ
ขั้นกำหนดปัญหาการวิจัย
ขั้นกำหนดสมมุติฐานของการวิจัย
ขั้นกำหนดวิธีการและรวบรวมข้อมูล
ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล และ
ขั้นสรุปผลการวิจัย
สำหรับกระบวนการวิจัยที่เป็นลักษณะเฉพาะของการวิจัยแต่ละแบบ มีความแตกต่างกัน สรุปได้ดังนี้
1. ขั้นกำหนดปัญหาการวิจัย
การวิจัยแบบผสม ต้องพิจารณาความเหมาะสมของปัญหาการวิจัย ระบุความจำเป็นที่ต้อง
ใช้การวิจัยแบบผสม กำหนดคำถามการวิจัยทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพ ส่วน การวิจัยแบบบูรณาการ ต้องพิจารณาปัญหาว่ามีลักษณะบูรณาการของสาขาวิชาหรือไม่ และมีสาขาวิชาใดที่เกี่ยวข้อง เรียกว่าเป็น ปัญหาหลัก และวิเคราะห์ปัญหารอง หรือวัตถุประสงค์ของการวิจัย
2. ขั้นกำหนดสมมุติฐานของการวิจัย
การวิจัยแบบผสม มีการคาดคะเนผลการวิจัยในส่วนที่เก็บรวบรวม แล้ววิเคราะห์ด้วยวิธีเชิงปริมาณ (อาจมีข้อมูลเชิงคุณภาพประกอบด้วยก็ได้) ส่วน การวิจัยแบบบูรณาการ สมมติฐานต้องกำหนดให้สอดคล้องกับปัญหารองหรือวัตถุประสงค์การวิจัย จำนวนสมมติฐานอาจมากกว่า หรือเท่ากับวัตถุประสงค์ก็ได้
3. ขั้นกำหนดวิธีการและรวบรวมข้อมูล
การวิจัยแบบผสมต้องกำหนด แผนปฏิบัติการ กล่าวคือ ถ้าเป็นวิธีเชิงปริมาณ ต้องกำหนดประชากร การเลือกตัวอย่าง การเก็บข้อมูล ถ้าเป็นวิธีเชิงคุณภาพ ต้องกำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูล วิธีรวบรวมข้อมูล เครื่องมือและการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ส่วน การวิจัยแบบบูรณาการ ต้องพิจารณาวิธีวิทยาของสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และนำมาใช้อย่างเหมาะสม
4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยแบบผสม ต้องวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ส่วนการวิจัยแบบบูรณาการต้องนำวิธีวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลของแต่ละสาขาวิชานำมาใช้อย่างเหมาะสม
5. ขั้นสรุปผลการวิจัย
การวิจัยแบบผสม ต้องสรุปข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ส่วน การวิจัยแบบบูรณาการ ต้องนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ค้นพบไปตรวจสอบกับปัญหาย่อย หรือปัญหารองของการวิจัยและบูรณาการคำตอบทั้งหมดเพื่อตอบปัญหาหลัก
*****************************************************************
(2) O-LEA..krab
แนวคิดเกี่ยวกับการวิจัยแบบผสม
ความหมาย คือ การวิจัยที่นำเอาวิธีการเชิงปริมาณ กับเชิงคุณภาพ มาผสมผสานใช้ในงานวิจัยเดียวกัน
ความสำคัญ สำหรับบางปัญหาวิจัย วิธีการวิจัยแบบผสมอาจมีความเหมาะสมกว่าที่จะใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่ง เพียงวิธีการเดียว การใช้สองวิธีการร่วมกัน มีผลให้ได้ผลงานวิจัยที่มีความสมบูรณ์ถูกต้องยิ่งขึ้น
ประโยชน์
- ทำให้เข้าใจปัญหาการวิจัยได้ดียิ่งขึ้น
- ทำให้เลือกตัวแปรได้เหมาะสม และกว้างขวาง
- เป็นการเสริมกันระหว่างสองวิธีการ
หลักการ
1) เป็นการผสมวิธีการวิจัย
2) วิธีการที่นำมา ผสมกัน คือวิธีเชิงประมาณ และวิธีเชิงคุณภาพ
3) การผสมทำได้หลายแบบ
แนวคิดเกี่ยวกับการวิจัยแบบบูรณาการ
ความหมาย คือ การวิจัยที่ใช้เนื้อหา วิธีวิทยา จากหลายสาขาวิชาร่วมกัน เพื่อให้ได้คำตอบของการวิจัย
ที่มีความครบถ้วน สมบูรณ์ เป็นองค์รวม
ความสำคัญ
1) ตอบคำถามการวิจัยได้ทุกด้าน หรือหลายด้าน
2) เป็นการเสริมกันระหว่างสาขาวิชา
3) ได้ผลผลิตที่เป็นองค์รวม และความสมานฉันท์ของนักวิจัยต่างสาขา
ประโยชน์
- ผลวิจัยนำไปใช้ได้หลายสาขาวิชา
- เป็นการสร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันของนักวิชาการ
หลักการ
1) เป็นการบูรณาการเนื้อหา(ปัญหา) และ/หรือวิธีวิทยาจากสาขาวิชาต่าง ๆ
2) การบูรณาการอาจมี ลักษณะหรือระดับความกลมกลืนที่หลากหลาย
กระบวนการวิจัยที่ต่างกันระหว่างการวิจัยแบบผสมกับการวิจัยแบบบูรณาการ
1) กระบวนการวิจัย ที่เป็นลักษณะเฉพาะของการวิจัย แบบผสม (จาก 5 ขั้นตอน หรือ 9-10 ขั้นตอน)
- อาจใช้วิธีการผสมในบางขั้นตอน หรือทุกขั้นตอน
- อาจใช้วิธีการผสมที่ วิธีการทั้งสองมีความเด่นเท่าเทียมกัน หรือ วิธีการหนึ่งเด่นอีกวิธีการหนึ่งไม่เด่น
2) กระบวนการวิจัยที่เป็นลักษณะเฉพาะของการวิจัยแบบบูรณาการ (จาก 5 ขั้นตอน หรือ 9-10 ขั้นตอน)
- การพิจารณากำหนดกระบวนการ ต้องเริ่มที่ปัญหาหลัก ปัญหารองของการวิจัย (วัตถุประสงค์ของการวิจัย)
- กรณีที่ปัญหารองมีลักษณะบูรณาการ ขั้นตอนต่างๆ ต้องบูรณาการไปด้วย (การบูรณาการเน้น เนื้อหา และวิธีวิทยา)
- กรณีปัญหารองแยกเป็นแต่ละสาขาวิชา ขั้นตอนต่างๆ อาจใช้วิธีวิทยาของแต่ละสาขาวิชา (เพื่อตอบปัญหาที่เป็นของสาขาวิชานั้นๆ)
*************************************************************
(3)AUON POOLOOK..kra
ประเด็นของความแตกต่าง แยกเป็น 3 ประเด็น ดังนี้
1. ความแตกต่างด้านแนวคิดของการวิจัย
การวิจัยแบบผสม (mixed research)
เป็นการใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกันในงานวิจัยเดียวกัน
การวิจัยแบบบูรณาการ (Integrated research)
มุ่งเน้นการใช้วิธีวิทยาการจากหลากหลายสาขาวิชา เพื่อหาคำตอบในการวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ แบบองค์รวม
แต่การวิจัยทั้งสองแบบมีความสำคัญ คือ ทำให้ผู้วิจัยสามารถหาคำตอบของการวิจัยอย่างมีความครอบคลุม หรือเป็นองค์รวมมากกว่าการใช้วิธีการวิจัยเดียวหรือวิทยาการวิจัยเดียว
2. ความแตกต่างด้านหลักการของการวิจัย
การวิจัยแบบผสม มีหลักการ ดังนี้
(1) เน้นการใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพประกอบกัน
(2) การผสมระหว่างวิธีการทั้งสองอาจมีได้หลายแบบ เช่น ใช้วิธีการเชิงปริมาณบางขั้นตอน ใช้วิธีการเชิงคุณภาพบางขั้นตอน หรือใช้ทั้งสองวิธีการไปพร้อม ๆ กัน และการใช้สองวิธีการดังกล่าวอาจเป็นลักษณะที่วิธีหนึ่งมีบทบาทเด่น อีกวิธีหนึ่งมีบทบาทด้อยหรือทั้งสองวิธีมีบทบาทเท่าๆกันก็ได้
(3) การผสม เน้นการผสมวิธีการ มิใช่การผสมเนื้อหาหรือสาขาวิชาการ
การวิจัยแบบบูรณาการ มีหลักการ ดังนี้
(1) มุ่งให้ได้คำตอบที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์แบบองค์รวม (holistic)
(2) มุ่งให้ได้คำตอบที่มีความถูกต้อง เที่ยงตรง และครอบคลุมที่สุด โดยที่คำตอบนั้นจะได้ความเป็นองค์รวมหรือไม่ก็ตาม การวิจัยแบบบูรณาการระหว่างสาขาวิชาที่มิได้เน้นเป้าหมายให้ได้คำตอบถึงระดับที่เป็นองค์รวมเป็นสำคัญ เรียกการวิจัยแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary research)
รูปแบบการวิจัยแบบบูรณาการ
1) บูรณาการแบบพหุวิทยาการ(multidisciplinary) เป็นการรวมตัวกัน ระหว่างวิทยาการสองสาขาวิชาขึ้นไป โดยไม่มีการผสมผสานระหว่างองค์ประกอบของศาสตร์
2) บูรณาการแบบอเนกวิทยาการ (pluridisciplinarity) เป็นการรวมตัวกันระหว่างวิทยาการที่มีจุดมุ่งหมายใกล้เคียงกัน และเป็นวิทยาการระดับเดียวกัน ผลจากการบูรณาการได้เป็นวิชาใหม่ที่มีขอบเขตกว้างกว่าเดิมและก้าวหน้ามากขึ้น
3) บูรณาการแบบสหวิทยาการ(Interdisciplinarity)เป็นการผสมผสานของวิทยาการในอุดมคติของวิทยาการทั้ง 4 แบบ มีการผสมผสานองค์ประกอบของวิทยาการเข้าเป็นระบบเดียวกัน ได้เป็นวิทยาการสาขาใหม่ที่ครอบคลุมมวลวิทยาการเดิมและความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาการเดิมด้วย
3. ความแตกต่างด้านกระบวนการของการวิจัย
การวิจัยแบบผสม ดำเนินการตามขั้นตอนวิทยาศาสตร์ 5 ขั้น เป็นการผสมผสานระหว่าง 2 วิธีการ กิจกรรมสำคัญอยู่ที่การผสมผสานระหว่างวิธีการวิจัย เชิงปริมาณกับวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ
การวิจัยแบบบูรณาการ ดำเนินการตามขั้นตอนวิทยาศาสตร์ 5 ขั้น เป็นการบูรณาการจากหลายสาขาวิชา กิจกรรมสำคัญอยู่ที่การบูรณาการปัญหาวิจัย และการใช้วิธีวิทยาของสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการแต่ละขั้นตอนของการวิจัย.
Bye Bye Kra
วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554
กระบวนการสังเคราะห์งานวิจัย
กระบวนการสังเคราะห์งานวิจัย
การสังเคราะห์งานวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เมตา มีขั้นตอนเหมือนกับการวิจัยโดยทั่วไปซึ่งประกอบด้วย
1. การกำหนดปัญหาวิจัย
การกำหนดปัญหาวิจัยของการสังเคราะห์งานวิจัย มีวิธีการกำหนดปัญหาเช่นเดียวกับปัญหาวิจัยโดยทั่วไป เนื่องจากคำว่า “ปัญหาวิจัย” ก็คือข้อสงสัยที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ฉะนั้นปัญหาวิจัยของการสังเคราะห์งานวิจัยก็คือ สิ่งที่ยังเป็นข้อสงสัยที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากในปัจจุบันมีงานวิจัยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และงานวิจัยดังกล่าวส่วนใหญ่จะศึกษาตัวแปรที่มีลักษณะเหมือนกันหรือตัวแปรเดียวกัน แต่ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นผลการวิจัยจึงมีทั้งสอดคล้องกันและขัดแย้งกัน ซึ่งข้อสรุปดังกล่าวยังไม่มีข้อยุติ และผู้ที่จะนำผลการวิจัยดังกล่าวไปใช้ก็ไม่สามารถจะนำผลไปใช้ได้ เมื่อกำหนดปัญหาวิจัยแล้วจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย
2. การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัยโดยใช้วิธีการสังเคราะห์งานวิจัยก็มีลักษณะเหมือนกับการวิจัยโดยทั่วไป กล่าวคือหลังจากผู้วิจัยได้ทราบถึงปัญหาที่จะทำการวิจัยแล้ว สิ่งที่ผู้วิจัยควรดำเนินการต่อไปก็คือศึกษาปัญหาที่จะทำการวิจัยอย่างรอบคอบ โดยการศึกษาจากทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัย ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ปัญหาการวิจัยชัดเจนขึ้นและจะได้เป็นแนวทางในการกำหนดขอบเขตการวิจัยและสมมติฐานการวิจัยต่อไป
3. การดำเนินการสังเคราะห์งานวิจัย
ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์เมตา ซึ่งประกอบด้วย
3.1 การเสาะค้นงานวิจัย หลังจากที่ผู้วิจัยกำหนดปัญหาและวิเคราะห์การวิจัยที่จะสังเคราะห์งานวิจัยแล้ว สิ่งที่ผู้วิจัยจะต้องดำเนินการต่อไปคือ การเสาะค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัยนั้นๆ ซึ่งกลาส (Glass,1981:62-63) ได้กล่าวถึงแหล่งเสาะค้นงานวิจัยที่จะนำมาวิเคราะห์เมตาว่าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ก. แหล่งปฐมภูมิ (primary sources) หมายถึงแหล่งที่ผู้วิจัยจะเก็บข้อมูลวิจัยจากงานวิจัยนั้นโดยตรง อันได้แก่ รายงานการวิจัยที่พิมพ์เผยแพร่เป็นเล่ม และพิมพ์เผยแพร่ในวารสารต่างๆ วิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์ของนิสิตและนักศึกษา รายงานการวิจัยของหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนงานประชุมสัมมนาเกี่ยวกับการวิจัย และอื่นๆ เป็นต้น
ข. แหล่งทุติยภูมิ (Secondary sources) หมายถึงแหล่งข้อมูลที่ผู้วิจัยไม่ได้เก็บข้อมูลผลการวิจัยจากรายงานการวิจัยนั้นโดยตรง แต่เป็นข้อมูลผลการวิจัยที่ผู้วิจัยเก็บรวบรวมจากรายงานสรุป และในวารสารต่างๆ อันได้แก่ Review of Educational Research, Sociological Review, Abstracts in Anthropology, Dissertation Abstracts International, Educational Index, Psychological Abstracts, Sociological Abstracts เป็นต้น
3.2 การคัดเลือกงานวิจัย หลังจากที่ผู้วิจัยได้เสาะค้นหางานวิจัยจากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งปฐมภูมิหรือแหล่งทุติยภูมิแล้ว สิ่งที่ผู้วิจัยจะต้องดำเนินการต่อไปก็คือ การคัดเลือกงานวิจัย ซึ่งมีอยู่หลายวิธี เช่น เลือกมาทั้งหมด ใช้วิธีการสุ่มมา ใช้วิธีการคัดเลือก อย่างไรก็ตาม ไลท์ (Light and Pillemer,1984:31-38) ได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการคัดเลือกงานวิจัยในกรณีที่เลือกมาทั้งหมด กับการเลือกเฉพาะผลงานที่มีการพิมพ์ ดังนี้
ก. การเลือกมาทั้งหมด วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด กล่าวคือ เป็นการรวบรวมผลการวิจัยทุกเรื่องเท่าที่จะหาได้ ทั้งงานวิจัยที่มีการพิมพ์และงานวิจัยที่ไม่มีการพิมพ์ วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและเอก รายงานการวิจัยเท่าที่จะหาได้จากองค์กรต่างๆ เช่น Rand Operation, Urban Institute และสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ วิธีนี้สามารถทำให้หลีกเลี่ยงการเลือกเรื่องที่จะนำมาศึกษาหรือการตัดสินใจที่ว่าทำไมจึงเลือกบางเรื่องมาศึกษา
ข. การเลือกเฉพาะผลงานที่มีการตีพิมพ์ วิธีนี้เป็นการนำเสนอเฉพาะผลงานที่มีการตีพิมพ์ เท่านั้นมารวมเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งในกรณีเช่นนี้ไม่ได้หมายความถึงเฉพาะวิทยานิพนธ์และเอกสารการประชุมเท่านั้น เนื่องจากสิ่งเหล่านี้มีอยู่ในห้องสมุดและสามารถหาได้แทบทุกแห่ง การไม่นำรายงานที่ไม่มีการตีพิมพ์มาพิจารณาจะเป็นการทุ่นเวลา งบประมาณ และยังสามารถควบคุมคุณภาพของงานวิจัยได้ด้วย
แต่การคัดเลือกงานวิจัยเฉพาะที่มีการตีพิมพ์มาเสนอนั้นก็มีผู้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ โรเซนทาล (Rosenthal, 1978 อ้างถึงใน Light and Pillemer, 1984) ได้เขียนบทความเกี่ยวกับสิ่งตีพิมพ์ที่มีความลำเอียง โดยสรุปว่าผลงานวิจัยที่นำมาอ้างในวารสารจะเป็นผลงานวิจัยที่มีการตีพิมพ์ ก็จะมีการยอมรับมากกว่าข้อค้นพบที่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นในการคัดเลือกงานวิจัย ถ้าผู้วิจัยคัดเลือกเฉพาะผลงานวิจัยที่มีการตีพิมพ์ ก็จะทำให้ผลที่ได้สูงกว่าความเป็นจริง ซึ่งในเรื่องนี้ สมิธ (Smith, 1980 อ้างถึงใน Light and Pillemer,1984) ได้ศึกษาผลงานวิจัย 10 เรื่องที่เสนอในวารสารกับผลงานวิจัยที่ได้มาจากแหล่งอื่นๆ ผลปรากฏว่าค่าที่ได้จากผลงานวิจัย หากเลือกเฉพาะผลงานวิจัยที่มีการตีพิมพ์จะทำให้ได้ข้อสรุปที่มีความคลาดเคลื่อนได้ ดังนั้นจึงควรหันมาพิจารณาเอกสารอื่นๆที่ไม่มีการตีพิมพ์ แต่เป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่ง เนื่องจากการรวบรวมผลงานวิจัยจากแหล่งต่างๆ โดยละเว้นผลงานที่ไม่มีการตีพิมพ์ จะทำให้ข้อสรุปที่ได้จาการศึกษามีความลำเอียงไปโดยปริยาย
อย่างไรก็ตาม ในการคัดเลือกงานวิจัย ไม่ว่าผู้วิจัยจะคัดเลือกโดยวิธีใดก็ตาม ผู้วิจัยจะต้องตรวจสอบคุณภาพของงานวิจัยก่อนว่ามีคุณภาพมากน้อยเพียงใด ซึ่ง อุทุมพร จามรมาน (2527:22) ได้เสนอเกณฑ์การประเมินงานวิจัย ดังนี้
เกณฑ์การประเมินงานวิจัย ดังนี้
1) ความชัดเจนในปัญหาวิจัย สมมติฐาน ข้อตกลง ความจำกัดของการวิจัย ความไม่สมบูรณ์ของการวิจัย
2) คำจำกัดความที่ใช้ในรายงานได้รับการระบุอย่างชัดเจนหรือไม่
3) การออกแบบการวิจัยมีการบรรยายอย่างครบถ้วนและถูกต้องหรือไม่
4) ประชากร กลุ่มตัวอย่าง และการสุ่มตัวอย่าง ถูกต้องหรือไม่
5) เครื่องมือวิจัยมีความเที่ยงตรงหรือไม่
6) เทคนิคการรวบรวมข้อมูลเหมาะสมกับงานวิจัยครั้งนี้
7) เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล ถูกต้อง เหมาะสม ตรงตามกระบวนการข้อมูลตัวแปร และวัตถุประสงค์การวิจัยหรือไม่
8) การเสนอผลวิจัยครบถ้วน ไม่ลำเอียง และถูกต้อง
9) การสรุปผลวิจัยชัดเจน ถูกต้อง ครบถ้วน และอ่านง่าย
3.3 การรวบรวมผลงานวิจัยและการลงรหัสข้อมูล
หลังจากที่ผู้วิจัยได้เลือกงานวิจัยโดยใช้เกณฑ์การประเมินงานวิจัยแล้ว สิ่งที่ผู้วิจัยต้องดำเนินการต่อไป คือ การรวบรวมผลงานวิจัย โดยการศึกษางานวิจัยอย่างละเอียด เพื่อนำค่าสถิติต่างๆ ซึ่งเป็นข้อค้นพบจากงานวิจัยทุกเรื่องไปวิเคราะห์เมตา ในการรวบรวมผลงานวิจัย ผู้วิจัยจะต้องสร้างเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานการวิจัย โดยทั่วไปแล้วเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมผลงานวิจัยหรือที่เรียกว่า แบบสรุปงานวิจัย
แบบสรุปงานวิจัยจะประกอบด้วย
1) ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะของงานวิจัย ได้แก่ ชื่อผู้วิจัย ชื่องานวิจัย ปีที่พิมพ์ สถาบันที่ทำการวิจัย เนื้อเรื่องที่ทำวิจัย สมมติฐาน ตัวแปร กลุ่มตัวอย่าง วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือการวิจัย การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
2) ข้อมูลเกี่ยวกับผลการวิจัย ได้แก่ ค่าสถิติต่างๆ
4. การวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิเคราะห์ข้อมูลของงานวิจัยโดยทั่วไป ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์จะเป็นข้อมูลที่ได้จากการวัดหรือการสังเกต ซึ่งอยู่ในรูปของคะแนน แต่ในการวิเคราะห์เมตานั้น สำหรับการวิจัยเชิงทดลองข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าดัชนีมาตรฐาน เรียกว่า ค่าขนาดอิทธิพล (Effect Size) ใช้ตัวย่อว่า E.S. หรือ d แต่ถ้าเป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ ค่าดัชนีมาตรฐานที่ได้ คือ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ใช้ตัวย่อว่า r
5. การเสนอผลการสังเคราะห์งานวิจัย ในขั้นนี้เป็นการสรุปผลการวิเคราะห์และจัดทำรายงาน สำหรับการสรุปผลการวิเคราะห์นอกจากจะต้องมีการสรุปผล การอภิปรายผลเชื่อมโยงผลการวิจัยกับความรู้ในอดีต และความรู้ทางทฤษฏีแล้ว ยังต้องให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและข้อเสนอแนะทางวิชาการด้วย และผลการวิเคราะห์ต้องให้ข้อค้นพบที่ลึกซึ้งเหนือชั้นกว่างานวิจัยแต่ละเรื่องที่นำมาสังเคราะห์ และข้อสรุปรวมทั้งข้อเสนอแนะต้องมีความกว้างขวางโดยทั่วไป (generality) มากกว่างานวิจัยปกติ (นงลักษณ์ วิรัชชัย 2542:98-99)
การสังเคราะห์งานวิจัย
1. แนวคิดของประเด็นหลัก
1.1 การสังเคราะห์งานวิจัย เป็นการหาข้อสรุปจากงานวิจัยหลายๆเรื่องที่จะศึกษาในปัญหาเดียวกัน เทคนิคการสังเคราะห์งานวิจัยที่ได้รับความสนใจในขณะนี้ คือ การสังเคราะห์งานวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งเทคนิคที่ใช้ คือ การวิเคราะห์เมตา (Meta-analysis) และการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพ
1.2 การสังเคราะห์งานวิจัย มีกระบวนการดำเนินงานเช่นเดียวกับการดำเนินวิจัยทั่วไป โดยแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน คือ ขั้นการกำหนดปัญหา ขั้นการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ขั้นดำเนินการสังเคราะห์งานวิจัย ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล และขั้นการเสนอผลการสังเคราะห์งานวิจัย
1.3 กรณีตัวอย่างการสังเคราะห์งานวิจัย ทำให้ผู้ที่ต้องการสังเคราะห์งานวิจัยได้เห็นกระบวนการสังเคราะห์งานวิจัย ตลอดจนได้ข้อสรุปจากข้อค้นพบของการสังเคราะห์งานวิจัย
2.ความจำเป็นต้องมีการสังเคราะห์งานวิจัย
เนื่องจากปัจจุบันสถาบันการศึกษา หน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน ตระหนักถึงความสำคัญของการวิจัยและการทำวิจัยมากขึ้น เพื่อนำผลไปใช้ในการวางแผน ปรับปรุงงานด้านต่างๆ รวมทั้งงานวิจัยของนิสิตนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา จึงส่งผลให้งานวิจัยจำนวนมากที่ศึกษาในปัญหาเดียวกันอาจแตกต่างในเรื่องของกลุ่มตัวอย่าง วิธีการวิจัย ผลการวิจัยจึงมีทั้งสอดคล้องหรือขัดแย้งกัน จึงทำให้ผู้วิจัยที่ต้องการทำวิจัยสืบเนื่อง หรือนำผลการวิจัยไปใช้ไม่สามารถหาข้อยุติได้ จึงจำเป็นต้องหาวิธีการที่เหมาะสมเพื่อสังเคราะห์ข้อสรุปจากงานวิจัยที่มีอยู่
3.วิธีการสังเคราะห์งานวิจัย
การสังเคราะห์งานวิจัยสามารถทำได้ 2 วิธี คือ การสังเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative synthesis) และการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative synthesis)
3.1 วิธีการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการบรรยายสรุปข้อค้นพบที่ได้จากงานวิจัย แต่ละเรื่อง โดยบรรยายให้เห็นถึงความสัมพันธ์ และความขัดแย้งระหว่างผลการวิจัย เป็นวิธีการที่ใช้ได้กับการสังเคราะห์งานวิจัยทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีนี้นอกจากจะใช้ได้กับการวิจัยแล้ว ยังเป็นวิธีการที่ใช้กันมากในการเขียนรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยการรวบรวมงานวิจัยที่ศึกษาในเรื่องเดียวกัน แล้วบรรยายเกี่ยวกับวิธีการและข้อค้นพบที่ได้จากงานวิจัยแต่ละเรื่องและข้อสรุปข้อค้นพบที่ได้ วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ง่ายและเป็นวิธีที่ใช้กันมาก
การสังเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพส่วนใหญ่ใช้สถิติพรรณนาในการวิเคราะห์คุณลักษณะ ของงานวิจัยและใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ในการสรุปข้อค้นพบจากงานวิจัย ตัวอย่างงานวิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา เช่น เรื่องการสังเคราะห์งานวิจัยทางด้านหลักสูตร (มาเรียม นิลพันธุ์ 2543)
ขั้นตอนการสังเคราะห์งานวิจัย มีดังนี้
1. อ่านและทำความเข้าใจรายงานการวิจัยที่จะนำมาสังเคราะห์
2. วางกรอบการจัดหมวดหมู่งานวิจัยและจัดแยกสาระงานวิจัยตามหมวดหมู่ที่กำหนด
3. วิเคราะห์เนื้อหา รายงานการวิจัยแต่ละกลุ่ม ให้ได้ข้อสรุปตามหลักการสังเคราะห์งานวิจัยและเปรียบเทียบให้เห็นว่าผลการวิจัยในแต่ละกลุ่มสอดคล้องหรือขัดแย้งกันอย่างไร
วิธีการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพดังกล่าวข้างต้น เป็นวิธีการสังเคราะห์แบบเดิมที่ยังไม่มีระบบ การสังเคราะห์ซ้ำอาจจะทำให้ได้ผลเหมือนเดิมได้ยาก โนบลิท และแฮร์ (Noblit and Hare,1988) ได้เสนอแนวคิดในการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า
การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาอภิมาน โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงาน 7 ขั้นตอน ดังนี้ (นงลักษณ์ วิรัชชัย 2542:120-121)
ขั้นตอนที่ 1 ขั้นเริ่มต้น
การดำเนินงานขั้นตอนนี้เป็นแบบเดียวกับการดำเนินการวิจัยทั่วๆไป
นักวิจัยต้องกำหนดปัญหาวิจัยที่ต้องการศึกษา แสวงหาคำตอบ ลักษณะปัญหาวิจัยควรเป็นปัญหาที่มีคำถามประเภท ทำไม อย่างไร มีกระบวนการเป็นขั้นตอน หรือเปลี่ยนแปลงเป็นแบบใดบ้าง รวมทั้งต้องสามารถอธิบายได้ว่าปัญหาวิจัยนั้นมีความสำคัญในเชิงวิชาการ และในภาคปฏิบัติอย่างไร
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตัดสินใจเรื่องงานวิจัยที่จำนำมาสังเคราะห์
การดำเนินงานขั้นตอนนี้เทียบเคียงได้กับการเลือกกรณีศึกษาสำหรับกรณีศึกษาสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ นักวิจัยอาจพิจารณาเลือกเฉพาะงานวิจัยที่มีคุณค่า มีประเด็นที่ควรค่าแก่การศึกษาและตีความ
ขั้นตอนที่ 3 ขั้นอ่านงานวิจัย
ขั้นตอนนี้นักวิจัยต้องอ่านและทำความเข้าใจเนื้อหาสาระใน
งานวิจัยที่นำมาวิเคราะห์ โดยอ่านซ้ำๆ แต่ยังไม่ต้องมีการตีความ หรือเปรียบเทียบ จุดประสงค์ ของการอ่าน คือ การทำความรู้จัก ทำความเข้าใจรายละเอียดของงานวิจัยให้ทะลุปรุโปร่ง
ขั้นตอนที่ 4 ขั้นกำหนดกรอบแสดงความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างงานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์
ในขั้นตอนนี้นักวิจัยต้องพัฒนากรอบแสดงความเกี่ยวข้องระหว่างงานวิจัยแต่ละเรื่อง โดยจับประเด็นหลัก สังกัปแนวคิด วิธีการ ผลการวิจัย จากงานวิจัยแต่ละเรื่องมาเทียบเคียงกัน นอกจากนี้ยังอาจพิจารณาจากประโยคคำ วลี เพื่อหาความหมายที่เปรียบเทียบกันได้ด้วย
ขั้นตอนที่ 5 ขั้นแปลความหมายหรือตีความเทียบเคียงระหว่างงานวิจัย
การดำเนินการขั้นตอนนี้คล้ายกับการนำแนวคิด สังกัปจากงานวิจัยเรื่องหนึ่งไปใช้กับงานวิจัยอีกเรื่องหนึ่ง แล้วนำผลที่น่าจะได้รับมาเปรียบเทียบกัน การดำเนินงานขั้นตอนนี้มีความสำคัญมาก การแปลความหมายหรือการตีความทำได้เป็น 3 แบบ คือ การแปลความหมายเทียบกลับไปกลับมา (Reciprocal translation) การแปลความหมายเชิงหักล้าง (reputational translation) และการแปลความเพื่อเสนอประเด็นการโต้แย้งหรือการถกแถลง (build a line-of-argument)
ขั้นตอนที่ 6 ขั้นสังเคราะห์การแปลความหมาย
ขั้นตอนนี้นักวิจัยนำผลการแปลความหมาย ทั้งหมดมาสังเคราะห์ ลักษณะการสังเคราะห์จะได้ข้อความรู้ที่เป็นภาพรวมของงานวิจัยทุกเรื่อง มีความกว้างขวาง และความลึกซึ้งมากเกินกว่าที่จะได้รับจากงานวิจัยแต่ละเรื่อง ผลการสังเคราะห์ในส่วนนี้เป็นแบบเดียวกับหลักการสังเคราะห์งานวิจัยในการวิเคราะห์อภิมาน
ขั้นตอนที่ 7 ขั้นการสรุปและรายงานผลการสังเคราะห์
งานขั้นตอนนี้เป็นแบบเดียวกับการนำเสนอ รายงานการวิจัยโดยทั่วไป
3.2 วิธีการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงปริมาณ เป็นวิธีการที่นำมาใช้ในการสังเคราะห์งานวิจัย ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี ดังเช่น
3.2.1 วิธีการนับคะแนนเสียง (Voting method) เป็นการแจงนับความถี่ของผลการวิจัย โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มตามผลที่ได้จากการทดสอบสมมติฐาน คือ
ก. ผลจากการทดสอบสมมติฐานมีนัยสำคัญทางสถิติและค่าสถิติจากการทดสอบเป็นบวก
ข. ผลการทดสอบสมมติฐานมีนัยสำคัญทางสถิติ และค่าสถิติจากการทดสอบเป็นลบ
ค. ผลการทดสอบสมมติฐานไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
ในการศึกษาพิจารณาว่างานวิจัยได้จำแนกไว้ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากที่สุดตามผลการทดสอบสมมติฐานทั้ง 3 ลักษณะแล้ว ก็จะได้ข้อสรุปเป็นไปตามนั้น ถึงแม้ว่าวิธีการนี้จะเป็นวิธีการที่ค่อนข้างมาตรฐานกว่าวิธีการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพก็ตาม แต่วีการนี้ก็มีข้อจำกัด คือ ในการที่มีตัวแปรตามสมมติฐานของตัวแปรตามอีกตัวหนึ่งพบว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดอื่นๆ คือ วิธีนี้ไม่ได้พิจารณาถึงความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มและจากการวัด
จากวิธีการนับคะแนนเสียงดังกล่าวข้างต้น นอกจากจะมีข้อจำกัดดังกล่าวแล้ว ประการสำคัญของวิธีการนับคะแนนเสียง คือ ไม่ได้มีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ดังนั้น การพิจารณาขนาดของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรจำเป็นต้องใช้วีการวิเคราะห์ที่ดีกว่า นั่นคือ วิธีการที่เรียกว่า การวิเคราะห์เมตา (Meta-analysis) คำว่า การวิเคราะห์เมตา มีคำภาษาไทยที่ใช้ได้แตกต่างกัน เช่น การวิเคราะห์อภิมาน การอภิวิเคราะห์ การวิเคราะห์รวมผล แต่ในแนวการศึกษาฉบับนี้จะใช้คำวิการวิเคราะห์เมตา
3.2.2 วิธีการวิเคราะห์เมตา เป็นวิธีการที่กลาสได้กล่าวถึงปี ค.ศ. 1976 และให้ความหมาย ของการวิเคราะห์เมตาว่า เป็นการนำวิธีการทางสถิติมาวิเคราะห์โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหาข้อสรุปจากงานวิจัยหลายๆเรื่องที่ศึกษาปัญหาวิจัยเดียวกัน จากความหมายของกลาสในการวิเคราะห์เมตาจะประกอบด้วย 1) การค้นหางานวิจัย 2) การอธิบายลักษณะงานวิจัยในเชิงปริมาณ 3)การหาค่าของผลการวิจัยจากการวิจัยกับขนาดอิทธิพล ดังนั้นข้อมูลที่นำมาสังเคราะห์ ได้แก่ คุณลักษณะงานวิจัย (research characteristics) และผลการวิจัย (research outcomes)
สำหรับการวิเคราะห์เมตา ดัชนีมาตรฐานมี 2 ประเภท แยกตามประเภทของการวิจัย คือ
1. การวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) ดัชนีมาตรฐานที่ใช้คือ ขนาดอิทธิพล
(Effect Size ใช้ตัวย่อว่า ES หรือ D )
2. การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (correlation research) ดัชนีมาตรฐานที่ใช้คือ สัมประสิทธิ์
สหสัมพันธ์ (correlation coefficient ใช้ตัวย่อว่า r )
1. การคำนวณขนาดอิทธิพล จากการวิจัยเชิงทดลองโดยการวิเคราะห์เมตา
ในการวิเคราะห์เมตานั้นมีหลายแนวคิด แต่ในแนวการศึกษานี้จะขอกล่าวถึงการวิเคราะห์เมตาตามแนวคิดของกลาส (Glass) การวิเคราะห์เมตาตามแนวคิดของฮันเตอร์ และชมิดท์ (Hunter and Schmidt) และการวิเคราะห์เมตาตามแนวคิดของเฮดเจส และฮอลคิน (Hedges and Olkin)
1.1 การวิเคราะห์เมตาตามแนวคิดของกลาสคำว่า ขนาดอิทธิพล (Effect Size :ES) กลาสได้ให้นิยามอยู่บนพื้นฐานแนวคิดว่าเป็นความจริงแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มทดลอง ( ) และค่าเฉลี่ยของกลุ่มควบคุม ( ) หารด้วยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มควบคุม (Sc)
1.2 การวิเคราะห์เมตาตามแนวคิดของฮันเตอร์และชมิดท์ การหาดัชนีมาตรฐานที่ใช้แทนค่าขนาดอิทธิพลตามแนวคิดของฮันเตอร์และชมิดท์นั้น แตกต่างจากของกลาสตรงที่ว่า ฮันเตอร์และชมิดท์มีความเชื่อว่าค่าขนาดอิทธิพลน่าจะเป็นผลมาจากความคลาดเคลื่อนด้วย เพราะฉะนั้นในการที่จะทราบค่าขนาดอิทธิพลที่แท้จริงจะต้องขจัดความคลาดเคลื่อนออกไปจากค่าขนาดอิทธิพล ซึ่งความคลาดเคลื่อนดังกล่าวประกอบด้วย ความคลาดเคลื่อนจากการสุ่ม (Sampling error) ความคลาดเคลื่อนจากการวัด (error of measurement) และความแตกต่างของพิสัย (range variation)
1.3 การวิเคราะห์เมตาตามแนวความคิดของเฮดเจสและออลคิน เฮดเจสและออลคินได้เสนอแนวความคิดในการวิเคราะห์เมตาในปี ค.ศ.1985 วิธีการของเขามีชื่อเรียกว่า วิธีการทางสถิติแนวใหม่สำหรับการวิเคราะห์เมตา (Modern statistical method for meta-analysis)
กระบวนการสังเคราะห์งานวิจัย
การสังเคราะห์งานวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เมตามีขั้นตอนเหมือนกับการวิจัยโดยทั่วไปซึ่งประกอบด้วย
1. การกำหนดปัญหาวิจัย
การกำหนดปัญหาวิจัยของการสังเคราะห์งานวิจัย มีวิธีการกำหนดปัญหาเช่นเดียวกับปัญหาวิจัยโดยทั่วไป เนื่องจากคำว่า “ปัญหาวิจัย” ก็คือข้อสงสัยที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ฉะนั้นปัญหาวิจัยของการสังเคราะห์งานวิจัยก็คือ สิ่งที่ยังเป็นข้อสงสัยที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากในปัจจุบันมีงานวิจัยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และงานวิจัยดังกล่าวส่วนใหญ่จะศึกษาตัวแปรที่มีลักษณะเหมือนกันหรือตัวแปรเดียวกัน แต่ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นผลการวิจัยจึงมีทั้งสอดคล้องกันและขัดแย้งกัน ซึ่งข้อสรุปดังกล่าวยังไม่มีข้อยุติ และผู้ที่จะนำผลการวิจัยดังกล่าวไปใช้ก็ไม่สามารถจะนำผลไปใช้ได้ เมื่อกำหนดปัญหาวิจัยแล้วจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย
2. การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัยโดยใช้วิธีการสังเคราะห์งานวิจัยก็มีลักษณะเหมือนกับการวิจัยโดยทั่วไป กล่าวคือหลังจากผู้วิจัยได้ทราบถึงปัญหาที่จะทำการวิจัยแล้ว สิ่งที่ผู้วิจัยควรดำเนินการต่อไปก็คือศึกษาปัญหาที่จะทำการวิจัยอย่างรอบคอบ โดยการศึกษาจากทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัย ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ปัญหาการวิจัยชัดเจนขึ้นและจะได้เป็นแนวทางในการกำหนดขอบเขตการวิจัยและสมมติฐานการวิจัยต่อไป
3. การดำเนินการสังเคราะห์งานวิจัย
ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์เมตา ซึ่งประกอบด้วย
3.1 การเสาะค้นงานวิจัย หลังจากที่ผู้วิจัยกำหนดปัญหาและวิเคราะห์การวิจัยที่จะสังเคราะห์งานวิจัยแล้ว สิ่งที่ผู้วิจัยจะต้องดำเนินการต่อไปคือ การเสาะค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัยนั้นๆ ซึ่งกลาส (Glass,1981:62-63) ได้กล่าวถึงแหล่งเสาะค้นงานวิจัยที่จะนำมาวิเคราะห์เมตาว่าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ก.แหล่งปฐมภูมิ (primary sources) หมายถึงแหล่งที่ผู้วิจัยจะเก็บข้อมูลวิจัยจาก
งานวิจัยนั้นโดยตรง อันได้แก่ รายงานการวิจัยที่พิมพ์เผยแพร่เป็นเล่ม และพิมพ์เผยแพร่ในวารสารต่างๆ วิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์ของนิสิตและนักศึกษา รายงานการวิจัยของหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนงานประชุมสัมมนาเกี่ยวกับการวิจัย และอื่นๆ เป็นต้น
ข.แหล่งทุติยภูมิ (Secondary sources) หมายถึงแหล่งข้อมูลที่ผู้วิจัยไม่ได้เก็บข้อมูลผลการวิจัยจากรายงานการวิจัยนั้นโดยตรง แต่เป็นข้อมูลผลการวิจัยที่ผู้วิจัยเก็บรวบรวมจากรายงานสรุป และในวารสารต่างๆ อันได้แก่ Review of Educational Research, Sociological Review, Abstracts in Anthropology, Dissertation Abstracts International, Educational Index, Psychological Abstracts, Sociological Abstracts เป็นต้น
3.2 การคัดเลือกงานวิจัย หลังจากที่ผู้วิจัยได้เสาะค้นหางานวิจัยจากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งปฐมภูมิหรือแหล่งทุติยภูมิแล้ว สิ่งที่ผู้วิจัยจะต้องดำเนินการต่อไปก็คือ การคัดเลือกงานวิจัย ซึ่งมีอยู่หลายวิธี เช่น เลือกมาทั้งหมด ใช้วิธีการสุ่มมา ใช้วิธีการคัดเลือก อย่างไรก็ตาม ไลท์ (Light and Pillemer,1984:31-38) ได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการคัดเลือกงานวิจัยในกรณีที่เลือกมาทั้งหมด กับการเลือกเฉพาะผลงานที่มีการพิมพ์ ดังนี้
ก. การเลือกมาทั้งหมด วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด กล่าวคือ เป็นการรวบรวมผลการวิจัยทุกเรื่องเท่าที่จะหาได้ ทั้งงานวิจัยที่มีการพิมพ์และงานวิจัยที่ไม่มีการพิมพ์ วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและเอก รายงานการวิจัยเท่าที่จะหาได้จากองค์กรต่างๆ เช่น Rand Operation, Urban Institute และสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ วิธีนี้สามารถทำให้หลีกเลี่ยงการเลือกเรื่องที่จะนำมาศึกษาหรือการตัดสินใจที่ว่าทำไมจึงเลือกบางเรื่องมาศึกษา
ข. การเลือกเฉพาะผลงานที่มีการตีพิมพ์ วิธีนี้เป็นการนำเสนอเฉพาะผลงานที่มีการตีพิมพ์ เท่านั้นมารวมเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งในกรณีเช่นนี้ไม่ได้หมายความถึงเฉพาะวิทยานิพนธ์และเอกสารการประชุมเท่านั้น เนื่องจากสิ่งเหล่านี้มีอยู่ในห้องสมุดและสามารถหาได้แทบทุกแห่ง การไม่นำรายงานที่ไม่มีการตีพิมพ์มาพิจารณาจะเป็นการทุ่นเวลา งบประมาณ และยังสามารถควบคุมคุณภาพของงานวิจัยได้ด้วย
แต่การคัดเลือกงานวิจัยเฉพาะที่มีการตีพิมพ์มาเสนอนั้นก็มีผู้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ โรเซนทาล (Rosenthal, 1978 อ้างถึงใน Light and Pillemer, 1984) ได้เขียนบทความเกี่ยวกับสิ่งตีพิมพ์ที่มีความลำเอียง โดยสรุปว่าผลงานวิจัยที่นำมาอ้างในวารสารจะเป็นผลงานวิจัยที่มีการตีพิมพ์ ก็จะมีการยอมรับมากกว่าข้อค้นพบที่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นในการคัดเลือกงานวิจัย ถ้าผู้วิจัยคัดเลือกเฉพาะผลงานวิจัยที่มีการตีพิมพ์ ก็จะทำให้ผลที่ได้สูงกว่าความเป็นจริง ซึ่งในเรื่องนี้ สมิธ (Smith, 1980 อ้างถึงใน Light and Pillemer,1984) ได้ศึกษาผลงานวิจัย 10 เรื่องที่เสนอในวารสารกับผลงานวิจัยที่ได้มาจากแหล่งอื่นๆ ผลปรากฏว่าค่าที่ได้จากผลงานวิจัย หากเลือกเฉพาะผลงานวิจัยที่มีการตีพิมพ์จะทำให้ได้ข้อสรุปที่มีความคลาดเคลื่อนได้ ดังนั้นจึงควรหันมาพิจารณาเอกสารอื่นๆที่ไม่มีการตีพิมพ์ แต่เป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่ง เนื่องจากการรวบรวมผลงานวิจัยจากแหล่งต่างๆ โดยละเว้นผลงานที่ไม่มีการตีพิมพ์ จะทำให้ข้อสรุปที่ได้จาการศึกษามีความลำเอียงไปโดยปริยาย
อย่างไรก็ตาม ในการคัดเลือกงานวิจัย ไม่ว่าผู้วิจัยจะคัดเลือกโดยวิธีใดก็ตาม ผู้วิจัยจะต้องตรวจสอบคุณภาพของงานวิจัยก่อนว่ามีคุณภาพมากน้อยเพียงใด ซึ่ง อุทุมพร จามรมาน (2527:22) ได้เสนอเกณฑ์การประเมินงานวิจัย ดังนี้
1) ความชัดเจนในปัญหาวิจัย สมมติฐาน ข้อตกลง ความจำกัดของการวิจัย ความไม่สมบูรณ์ของการวิจัย
2) คำจำกัดความที่ใช้ในรายงานได้รับการระบุอย่างชัดเจนหรือไม่
3) การออกแบบการวิจัยมีการบรรยายอย่างครบถ้วนและถูกต้องหรือไม่
4) ประชากร กลุ่มตัวอย่าง และการสุ่มตัวอย่าง ถูกต้องหรือไม่
5) เครื่องมือวิจัยมีความเที่ยงตรงหรือไม่
6) เทคนิคการรวบรวมข้อมูลเหมาะสมกับงานวิจัยครั้งนี้
7) เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล ถูกต้อง เหมาะสม ตรงตามกระบวนการข้อมูลตัวแปร และวัตถุประสงค์การวิจัยหรือไม่
8) การเสนอผลวิจัยครบถ้วน ไม่ลำเอียง และถูกต้อง
9) การสรุปผลวิจัยชัดเจน ถูกต้อง ครบถ้วน และอ่านง่าย
3.3 การรวบรวมผลงานวิจัยและการลงรหัสข้อมูล หลังจากที่ผู้วิจัยได้เลือกงานวิจัยโดยใช้เกณฑ์การประเมินงานวิจัยแล้ว สิ่งที่ผู้วิจัยต้องดำเนินการต่อไป คือ การรวบรวมผลงานวิจัย โดยการศึกษางานวิจัยอย่างละเอียด เพื่อนำค่าสถิติต่างๆ ซึ่งเป็นข้อค้นพบจากงานวิจัยทุกเรื่องไปวิเคราะห์เมตา ในการรวบรวมผลงานวิจัย ผู้วิจัยจะต้องสร้างเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานการวิจัย โดยทั่วไปแล้วเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมผลงานวิจัยหรือที่เรียกว่า แบบสรุปงานวิจัย จะประกอบด้วย 1) ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะของงานวิจัย ได้แก่ ชื่อผู้วิจัย ชื่องานวิจัย ปีที่พิมพ์ สถาบันที่ทำการวิจัย เนื้อเรื่องที่ทำวิจัย สมมติฐาน ตัวแปร กลุ่มตัวอย่าง วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือการวิจัย การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 2) ข้อมูลเกี่ยวกับผลการวิจัย ได้แก่ ค่าสถิติต่างๆ
4. การวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิเคราะห์ข้อมูลของงานวิจัยโดยทั่วไป ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์จะเป็นข้อมูลที่ได้จากการวัดหรือการสังเกต ซึ่งอยู่ในรูปของคะแนน แต่ในการวิเคราะห์เมตานั้น สำหรับการวิจัยเชิงทดลองข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าดัชนีมาตรฐาน เรียกว่า ค่าขนาดอิทธิพล (Effect Size) ใช้ตัวย่อว่า E.S. หรือ d แต่ถ้าเป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ ค่าดัชนีมาตรฐานที่ได้ คือ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ใช้ตัวย่อว่า r
5. การเสนอผลการสังเคราะห์งานวิจัย ในขั้นนี้เป็นการสรุปผลการวิเคราะห์และจัดทำรายงาน สำหรับการสรุปผลการวิเคราะห์นอกจากจะต้องมีการสรุปผล การอภิปรายผลเชื่อมโยงผลการวิจัยกับความรู้ในอดีต และความรู้ทางทฤษฏีแล้ว ยังต้องให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและข้อเสนอแนะทางวิชาการด้วย และผลการวิเคราะห์ต้องให้ข้อค้นพบที่ลึกซึ้งเหนือชั้นกว่างานวิจัยแต่ละเรื่องที่นำมาสังเคราะห์ และข้อสรุปรวมทั้งข้อเสนอแนะต้องมีความกว้างขวางโดยทั่วไป (generality) มากกว่างานวิจัยปกติ (นงลักษณ์ วิรัชชัย 2542:98-99)
ป้ายกำกับ:
การสังเคราะห์งานวิจัย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)