ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา / ภาวะปัญญาอ่อน
(Intellectual Disabilities / Mental Retardation)
(Intellectual Disabilities / Mental Retardation)
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา เป็นภาวะที่มีพัฒนาการบกพร่องซึ่งทำให้มีข้อจำกัดด้านสติปัญญา
การเรียนรู้และการปรับตัวในการดำรงชีวิตประจำวัน ในปัจจุบันเริ่มมีการใช้คำว่า บกพร่องทางสติปัญญา
แทนภาวะปัญญาอ่อนมากขึ้น ในองค์กรระดับนานาชาติ เช่น IASSID (International Association
for the Scientific Study of Intellectual Disabilities) WHO (World Health Organization)
WPA (World Psychiatry Association) รวมทั้ง AAMR (The American Association on Mental
Retardation) หรือสมาคมบุคคลปัญญาอ่อนแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งประกอบด้วยสหวิชาชีพจากทั่วโลก
และก่อตั้งมาเป็นเวลานาน 130 ปี ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น The American Association of Intellectual
and Developmental Disabilities (AAIDD) เมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เพื่อเสนอแนวทางที่จะทำให้
สังคมยอมรับผู้บกพร่องทางสติปัญญามากขึ้น
คำจำกัดความของภาวะบกพร่องทางสติปัญญาหรือภาวะปัญญาอ่อน
บุคคลบกพร่องทางสติปัญญา มักมีพัฒนาการด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ ภาษา
และสติปัญญาล่าช้ากว่าบุคคลทั่วไป
และสติปัญญาล่าช้ากว่าบุคคลทั่วไป
ตามเกณฑ์ของ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders,
Fourth Edition, Text Revision (DSM- IV-TR) โดย American Psychiatric
Association (APA) ในปีพ.ศ.2543 ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาหรือภาวะปัญญาอ่อน
หมายถึง ภาวะที่มี
1.ระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย
2.พฤติกรรมการปรับตนบกพร่องตั้งแต่ 2 ด้านขึ้นไป จากทั้งหมด 10 ด้าน
3.อาการแสดงก่อนอายุ 18 ปี
Fourth Edition, Text Revision (DSM- IV-TR) โดย American Psychiatric
Association (APA) ในปีพ.ศ.2543 ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาหรือภาวะปัญญาอ่อน
หมายถึง ภาวะที่มี
1.ระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย
2.พฤติกรรมการปรับตนบกพร่องตั้งแต่ 2 ด้านขึ้นไป จากทั้งหมด 10 ด้าน
3.อาการแสดงก่อนอายุ 18 ปี
เชาวน์ปัญญา
เกณฑ์ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาด้านเชาวน์ปัญญา คือการมีระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่า 70
พฤติกรรมการปรับตน
หมายถึง การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นความสามารถของบุคคลนั้น
ที่จะสามารถดำรงชีวิตได้ด้วยตนเองในสังคม ประกอบด้วย
1. การสื่อความหมาย (Communication)
2. การดูแลตนเอง (Self-care)
3. การดำรงชีวิตภายในบ้าน (Home living)
4. การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม (Social and Interpersonal Skills)
5. การใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน (Use of Community Resources)
6. การควบคุมตนเอง (Self- direction)
7. การนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน (Functional Academic Skills)
8. การใช้เวลาว่าง (Leisure)
9. การทำงาน (Work)
10. การมีสุขอนามัยและความปลอดภัยเบื้องต้น (Health and Safety)
ที่จะสามารถดำรงชีวิตได้ด้วยตนเองในสังคม ประกอบด้วย
1. การสื่อความหมาย (Communication)
2. การดูแลตนเอง (Self-care)
3. การดำรงชีวิตภายในบ้าน (Home living)
4. การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม (Social and Interpersonal Skills)
5. การใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน (Use of Community Resources)
6. การควบคุมตนเอง (Self- direction)
7. การนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน (Functional Academic Skills)
8. การใช้เวลาว่าง (Leisure)
9. การทำงาน (Work)
10. การมีสุขอนามัยและความปลอดภัยเบื้องต้น (Health and Safety)
การประเมินพฤติกรรมการปรับตนตามเกณฑ์การวินิจฉัยในปี พ.ศ.2535
ซึ่งจะต้องบกพร่องอย่างน้อย 2 ด้านจาก 10 ด้าน ในทางปฏิบัติไม่มีเครื่องมือใด
เครื่องมือหนึ่งที่จะประเมินได้ครบทั้ง 10 ด้าน ในครั้งที่ 10
เมื่อปี พ.ศ.2545 AAMR จึงได้ปรับเกณฑ์การวินิจฉัยเรื่องพฤติกรรมการปรับตน
เป็นการปฏิบัติตนที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ในข้อ ก หรือ ข้อ ข ดังนี้
ก. ทักษะด้านใดด้านหนึ่งใน 3 ด้านของพฤติกรรมการปรับตน
ได้แก่ ทักษะด้านความคิดรวบยอด (conceptual skills) ทักษะด้านสังคม (social skills)
หรือทักษะด้านการปฏิบัติตน (practical skills) หรือ
ข. ทักษะทั้ง 3 ด้าน ตามข้อ ก โดยดูจากคะแนนรวมทั้งหมด
ทั้งนี้การประเมินพฤติกรรมการปรับตนนี้ AAMR หรือ AAIDD ได้พัฒนาเครื่องมือ
การประเมินคือ Diagnostic Adaptive Behavior Scale เพื่อให้การประเมินมีมาตรฐานมากขึ้น
ซึ่งจะต้องบกพร่องอย่างน้อย 2 ด้านจาก 10 ด้าน ในทางปฏิบัติไม่มีเครื่องมือใด
เครื่องมือหนึ่งที่จะประเมินได้ครบทั้ง 10 ด้าน ในครั้งที่ 10
เมื่อปี พ.ศ.2545 AAMR จึงได้ปรับเกณฑ์การวินิจฉัยเรื่องพฤติกรรมการปรับตน
เป็นการปฏิบัติตนที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ในข้อ ก หรือ ข้อ ข ดังนี้
ก. ทักษะด้านใดด้านหนึ่งใน 3 ด้านของพฤติกรรมการปรับตน
ได้แก่ ทักษะด้านความคิดรวบยอด (conceptual skills) ทักษะด้านสังคม (social skills)
หรือทักษะด้านการปฏิบัติตน (practical skills) หรือ
ข. ทักษะทั้ง 3 ด้าน ตามข้อ ก โดยดูจากคะแนนรวมทั้งหมด
ทั้งนี้การประเมินพฤติกรรมการปรับตนนี้ AAMR หรือ AAIDD ได้พัฒนาเครื่องมือ
การประเมินคือ Diagnostic Adaptive Behavior Scale เพื่อให้การประเมินมีมาตรฐานมากขึ้น
แบบประเมิน
เครื่องมือประเมินพัฒนาการและระดับเชาวน์ปัญญา
- Bayley Scales of Infant Development
- Wechsler Preschool and Primary Scale of Intelligence III
- Stanford-Binet Intelligence Scale (5th Ed)
- Kaufman Assessment Battery for Children II
- Wechsler Intelligence Scale for Children (WICS-IV)
เครื่องมือประเมินพฤติกรรมการปรับตน
- Vineland Adaptive Behavior Scale II (VBAS II)
- AAMR Adaptive Behavior Scales-School (ABS-s II)
- Diagnostic Adaptive Behavior Scale
เครื่องมือประเมินพัฒนาการและระดับเชาวน์ปัญญา
- Bayley Scales of Infant Development
- Wechsler Preschool and Primary Scale of Intelligence III
- Stanford-Binet Intelligence Scale (5th Ed)
- Kaufman Assessment Battery for Children II
- Wechsler Intelligence Scale for Children (WICS-IV)
เครื่องมือประเมินพฤติกรรมการปรับตน
- Vineland Adaptive Behavior Scale II (VBAS II)
- AAMR Adaptive Behavior Scales-School (ABS-s II)
- Diagnostic Adaptive Behavior Scale
แบบทดสอบเชาวน์ปัญญาที่นิยมใช้เป็นมาตรฐานในประเทศไทย
ได้แก่ Stanford-Binet Intelligence Scale และ Wechsler Intelligence Scale for Children
ส่วนเครื่องมือวัดพฤติกรรมการปรับตนที่ใช้ ได้แก่ Vineland Adaptive Behavior Scales
ได้แก่ Stanford-Binet Intelligence Scale และ Wechsler Intelligence Scale for Children
ส่วนเครื่องมือวัดพฤติกรรมการปรับตนที่ใช้ ได้แก่ Vineland Adaptive Behavior Scales
http://rajanukul.go.th/new/index.php?mode=academic&group=269&id=3228&date_start=&date_end