วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

World Class Standard School (3)











ภาพความสำเร็จโรงเรียนมาตรฐานสากล

ลักษณะการเป็นมาตรฐานสากล ประกอบด้วย

1. การจัดการเรียนการสอน
2. บริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ



คุณลักษณะโรงเรียนมาตรฐานสากล มีดังนี้

1. ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก [เป็นเลิศวิชาการ,สื่อสารสองภาษา, ล้ำหน้าทางความคิด , ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์]
2. การจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล
3. บริหารจัดการด้วยระบบ คุณภาพ



วัตถุประสงค์ โรงเรียนมาตรฐานสากล
1. พัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพ เป็นพลโลก
2. ยกระดับการจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล
3. ยกระดับการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ



บทบาทและภารกิจการยกระดับคุณภาพโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล


สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1. จัดตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากลในระดับ สพฐ.
2. จัดตั้งภาคีเครือข่ายและคณะกรรมการประสานงานโรงเรียนร่วมพัฒนาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ
4. พัฒนาผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรหลัก เพื่อเพิ่มสมรรถนะการยกระดับคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล ตลอดจนสนับสนุนทรัพยากร งบประมาณ สื่อ เอกสาร ตำราเรียน เทคโนโลยี นวัตกรรมที่มีคุณภาพระดับสากลเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของโรงเรียน
5. วิจัยและพัฒนารูปแบบและแนวทางการพัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากลและติดตาม ประเมินผลการดำเนินการ รายงาน ประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่



สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
1. ศึกษา ทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากลและประสานงาน อำนวยความสะดวกให้กับโรงเรียนในโครงการ
2. ประสานงาน อำนวยความสะดวกในการดำเนินงานของ ศ.กม. และศน.ม
3. ส่งเสริมและสนับสนุน อำนวยความสะดวกในการนิเทศ ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียนของ ศน.ม.
4. ประสานการกำกับ ติดตาม ประเมินผลร่วมกับ ศ.กม.และศน.ม.


ศูนย์ประสานงานการจัดการมัธยมศึกษา(ศกม.) และกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัด

1. สร้างความเข้าใจ และความตระหนักให้กับผู้บริหาร ครู และบุคลากรในโรงเรียนในโครงการฯ
2. ประสาน สพท. ศน.ม. และ สพฐ.ในการดำเนินงานบริหารโครงการ
3. ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของ ศน.ม. โรงเรียน และเครือข่ายโรงเรียนร่วมพัฒนา
4. ประสาน ศน.ม.ในการสรรหาโรงเรียนต้นแบบ และการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของโรงเรียนระหว่างเครือข่ายในส่วนภูมิภาค
5. กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานของโรงเรียนมาตรฐานสากล
6. รายงานผลการดำเนินงาน ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่



เครือข่ายการนิเทศการมัธยมศึกษา(ศน.ม.)

1. นิเทศ ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล
2. ส่งเสริมให้โรงเรียนจัดทำแผนกลยุทธ์และจัดทำพันธะสัญญากับสพฐ.
3. ประสานความร่วมมือระหว่าง สพฐ. ศ.กม. สมป.จังหวัด และสพท. ในการการนิเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของภาคีเครือข่ายโรงเรียนร่วมพัฒนาทั้งในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระหว่างประเทศ
4. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินงานของโรงเรียนระหว่างเครือข่ายการนิเทศ ในระดับภูมิภาคและสรรหาโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับกลุ่มจังหวัด
5. พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน
6. วิจัยและพัฒนาแบบมีส่วนร่วมการพัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากล
7. นิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการพัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากลและรายงานผลการดำเนินงาน ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่



สถานศึกษา
1. สร้างความตระหนักและชี้แจงแนวทางพัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากลให้แก่ ครู บุคลากร และผู้เกี่ยวข้อง
2. ทบทวน ปรับแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล
3. พัฒนาครูและบุคลากรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อยกระดับคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล
4. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กระบวนการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผลตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล
5. พัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี ห้องสมุด และแหล่งเรียนรู้
6. แสวงหาภาคีเครือข่าย และ จัดกิจกรรมการพัฒนากับโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partner Schools) ทั้งภายในและต่างประเทศ
7. วิจัยและพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการสอน
8. นิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล รายงาน ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่



ขั้นตอนการดำเนินงาน

ขั้นตอนการดำเนินงานการยกระดับคุณภาพโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล ประจำปีงบประมาณ 2553

ลำดับ
กิจกรรมหลัก
เป้าหมาย
ตัวชี้วัด

1.จัดทำสื่อ เอกสารสนับสนุนการดำเนินงานผลิตเอกสาร คู่มือ แนวทางการดำเนินงานโครงการ 4 ต้นฉบับ สำหรับบุคลากร สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานจำนวนสื่อ/เอกสารที่จัดพิมพ์เผยแพร่ต่อต้นฉบับ

2.ประชุมสัมมนาส่ร้างความเข้าใจการขับเคลื่อนคุณภาพโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรหลักโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย 1,300 คน ทราบแนวทางการดำเนินงาน จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา

3.ศน.ม ประชุมปฏิบัติการทบทวนแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนและจัดทำพันธะสัญญากับสพฐ.(MOU)โรงเรียน 500โรงเรียนทบทวน จัดทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ และพันธะสัญญากับ สพฐ.ร้อยละของโรงเรียนที่จัดทำพันธะสัญญา

4.จัดตั้งภาคีเครือข่ายและคณะกรรมการประสานงานโรงเรียนร่วมพัฒนาทั้งในประเทศและต่างประเทศ (Partner Schools)
โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายทุกโรงเรียนมีเครือข่ายที่ปฏิบัติกิจกรรมการร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษา ร้อยละของโรงเรียนที่ปฏิบัติกิจกรรมการการร่วมพัฒนากับโรงเรียนในเครือข่าย

5.คัดสรรและจัดหาสื่อ เอกสาร ตำราเรียนที่มีคุณภาพระดับสากล สนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียน โรงเรียน 500 โรงเรียนมีสื่อ เอกสาร ตำราเรียนที่มีคุณภาพระดับสากลใช้ในการจัดการเรียนการสอน ร้อยละของโรงเรียนที่นำ สื่อ/ตำราเรียนที่ได้รับ ไปใช้จัดการเรียนการสอน

6.ประชุมปฏิบัติการจัดทำแนวทางการพัฒนาหลักสูตรและการสอน โรงเรียน 500 โรงเรียนและผู้เกี่ยวข้องมีเอกสารแนวทางการพัฒนาหลักสูตรและการสอนที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศและสอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียน ร้อยละของโรงเรียนที่จัดหลักสูตรและการสอนได้สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียนและขีดความสามารถของโรงเรียน

7.พัฒนาผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเพิ่มสมรรถนะการยกระดับคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล สพฐ.ดำเนินการวิจัยผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่เกี่ยวข้องทุกคนเพิ่มขีดความสามารถในการการยกระดับคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล จำนวนผู้เกี่ยวข้องที่ได้รับการพัฒนา

8.พัฒนารูปแบบและแนวทางการพัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากลแบบมีส่วนร่วม (PAR)มีรูปแบบการพัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐานสากลระดับประเทศ รายผลการวิจัย 1 เรื่อง

9.ศน.ม นิเทศ วิจัยและพัฒนาแบบมีส่วนร่วม การพัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากล(PAR)มีผลการวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับภูมิภาค รายงานผลการวิจัยระดับกลุ่มจังหวัด 19 เรื่อง

10.โรงเรียนวิจัยและพัฒนารูปแบบและหลักสูตรการสอนโรงเรียนทุกโรงเรียนมีรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรและการสอนที่พัฒนาแล้ว
รายงานผลการวิจัยและพัฒนาของโรงเรียน 500 เรื่อง

11.โรงเรียนจัดกิจกรรมการพัฒนาและเทียบเคียงมาตรฐานกับโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partner Schools) ทั้งภายในและต่างประเทศโรงเรียน 500 โรงเรียน จัดกิจกรรมการพัฒนาและเทียบเคียงมาตรฐานร้อยละของโรงเรียนที่จัดกิจกรรมการพัฒนาและเทียบเคียงมาตรฐาน


12.จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินงานของโรงเรียนระหว่างเครือข่ายการนิเทศในระดับภูมิภาคผู้บริหาร ครูและบุคลากรทุกโรงเรียนในโครงการ19 กลุ่มจังหวัดได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าในการพัฒนาโรงเรียน จำนวนบุคลากร:โรงเรียนที่ได้ร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในแต่ละกลุ่มจังหวัด

13.สรรหาโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับกลุ่มจังหวัด มีโรงเรียนที่เป็นต้นแบบโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับกลุ่มจังหวัดอย่างน้อยกลุ่มจังหวัดละ 1 โรง จำนวนโรงเรียนต้นแบบในแต่ละกลุ่มจังหวัดที่ผ่านการประเมินสรรหาตามเกณฑ์

14.นิเทศ กำกับ ติดตาม ผลการพัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากลโรงเรียนทุกโรงเรียนได้รับการ ส่งเสริมสนับสนุนเพื่อการพัฒนา อย่างต่อเนื่องจำนวนโรงเรียนที่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุน

15.ประเมินผลการดำเนินการ รายงาน ประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่โรงเรียนมีการพัฒนาตามเกณฑ์และมีผลการพัฒนา ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ร้อยละของโรงเรียนที่มีผลการประเมิน ผ่านเกณฑ์

16.สัมมนานำเสนอผลงานระดับชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ยกย่องเชิดชูเกียรติ (National Symposium) สพฐ.ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ ครู บุคลากรทางการศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 2,000 คนเข้าร่วมประชุมสัมมนาจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา