วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิชาการสร้างองค์ความรู้

TOK เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้และมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ความรู้ที่ตนได้รับ และตอบสนองความรู้


วิชา การสร้างองค์ความรู้ หรือ วิชาทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge:TOK) เป็นอีกหนึ่งวิชาที่ โรงเรียนในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล จะต้องเปิดเป็นรายวิชาเพิ่มเติมในโครงสร้างหลักสูตร ดร.เฉลิม ฟักอ่อน ได้กรุณาให้รายละเอียด เกี่ยวกับวิชาทฤษฎีความรู้ และวิธีการวัดประเมินผล ดังนี้

Theory of knowledge(TOK) เป็นสาระ/วิชาเกี่ยวกับ วิชาการเกิดความรู้(Way of knowing)ของแต่ละบุคคล เช่น การมีความรู้หรือความรู้เกิดขึ้นจากความรู้สึก(Sense perception) จากการหาเหตุผล(Reason) จากอารมณ์/ภาษา/น้ำเสียง(Tone)/สัญลักษณ์(Symbol)/ชื่อเรียกต่าง ๆ(Nomencrature) -วิชาความรู้ด้านต่าง ๆ(Area of knowledge) เช่น คณิตศาสตร์(Mathematics) วิทยาศาสตร์(Natural science) ประวัติศาสตร์(History) ศิลปะและจริยธรรม/ศีลธรรม(Arts and Ethics)

โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนศึกษาความแตกต่างของธรรมชาติ และวิธีการหาความรู้ของแต่ละบุคคล การอธิบายความรู้ของแต่ละคน และการศึกษาปัญหาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการหาความรู้ เช่น อาจจะตั้งคำถามว่า จะเชื่อได้อย่างไรว่าวิธีการทางวิทยาศาสตร์(Scientific method) เป็นวิธีการหาความรู้หรือเป็นวิธีการได้รับความรู้ที่ถูกต้องหรือเชื่อถือได้? เพราะเหตุใดเราจึงต้องมีความรู้ทางประวัติศาสตร์? เราจะใช้ชีวิตอย่างไร? – วิชาธรรมชาติของความรอบรู้(Nature of knowing) โดยเรียนรู้ว่าสาระสนเทศ ข้อมูล ความเชื่อ ความศรัทธา ความคิดเห็น ความรู้ และภูมิปัญญา ว่าแตกต่างกันอย่างไร –วิชาชุมชนแห่งการเรียนรู้(Knowledge communites) ชุมชนแต่ละชุมชนมีอะไรบ้างที่เป็นองค์ความรู้ หรือเราควรจะตรวจสอบความเชื่อเรื่องอะไรบ้างในชุมชน –วิชาแหล่งความรู้ และการใช้ความรู้ของผู้รู้(Knowers’ source and applications of knowledge) เช่น อาจจะศึกษาว่า อายุ การศึกษา วัฒนธรรม และประสบการณ์ มีอิทธิพลต่อการเลือกแหล่งเรียนรู้และข้อมูลสารสนเทศของความรู้ที่สนใจอย่างไร? การที่เรารู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือรู้การทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราจำเป็นต้องมีองค์ความรู้หรือไม่? การพิสูจน์/ยืนยันความรู้ของเรา(Justifications of knowledge claims) เพราะเหตุใดจึงต้องมีการตรวจสอบ/ประเมินองค์ความรู้ที่ตนมีอย่างมีหลักเกณฑ์? เป็นไปได้หรือไม่ว่า ตรรกะ(Logic) การรับรู้ด้วยความรู้สึก(Sensory perception) การเปิดเผย/คำพูด/คำสอน(Revelation) ความเชื่อ/ความศรัทธา(Faith) ความจดจำ(Memory) เสียงส่วนใหญ่(Consensus) ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ(Authority) การหยั่งรู้(Intuition) และการตระหนัก(Self-awareness) เป็นหลักเกณฑ์การพิสูจน์/ตรวจสอบความรู้ต่าง ๆ ที่เชื่อถือได้? การใช้การเกาะเกี่ยวเชื่อมโยงของสิ่งต่าง ๆ(Coherence) ความสอดคล้องกัน(Correspondence) การทำงานในสภาพจริง/การปฏิบัติ(Pragmatism) และการยอมรับเป็นส่วนใหญ่มา เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบความจริงความถูกต้องของความรู้

TOK เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้และมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ความรู้ที่ตนได้รับ และตอบสนองความรู้/ปัญหาที่สำคัญ(Respond to knowledge issues)ในบริบทต่าง ๆ ที่ต้องใช้หลากหลายสาขาของความรู้(Different areas of knowledge) หลากหลายวิธีการรอบรู้(Ways of knowing) และหลากหลายวิธีในการนำเสนอแนวคิด(Expressing ideas) อย่างถูกต้อง(Accurately) และด้วยความซื่อสัตย์(Honestly) ตลอดจนยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เป็นประสบการณ์ตรงของผู้เรียนโดยจากการทำงาน TOK ที่ตนสนใจ

การทำงานในการเรียนสาระ/วิชา TOK มุ่งหวังให้ผู้เรียนมีการวางแผนการทำงาน และทำงานตามเป้าหมายที่ผู้เรียนกำหนดโดยอาจจะเป็นงานเดี่ยวหรืองานกลุ่ม(ไม่ควรเกิน 3 คน) หัวข้อเรื่องที่ศึกษาควรเป็นหัวข้อเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับชีวิตจริงที่เป็นความสนใจของผู้เรียน

การประเมิน TOK ประเมิน 2 ส่วน คือ ประเมินผลงานการเขียน/รายงานการศึกษา(Essay) และประเมินการนำเสนอผลงาน(Presentation) ซึ่งผลงานการเขียนที่เป็นองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาด้วยประสบการณ์จริงของผู้เรียนที่ผู้เรียนนำเสนอนั้น ควรเป็นผลงานที่มีเนื้อหาสาระที่เป็นความถูกต้อง เป็นความจริงมีเหตุผล มีหลักการทฤษฎีรองรับ เป็นเรื่องที่น่าสนใจและนำเสนอในลักษณะที่ชักชวนหรือเปิดให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ หรือแสดงความคิดเห็นได้ จากบุคคลอื่นหรือบุคคลทั่วไป หรือสาธารณชนที่ได้อ่านหรือฟังการนำเสนอ ว่าเห็นด้วยส่วนใดขององค์ความรู้ที่นำเสนอ และเห็นด้วยเพียงใด ในการนำเสนอผลงาน(Presentation)นั้น ผู้เรียนต้องแสดงไห้เห็นว่า เรื่องที่ทำมีความสำคัญ(Significant)อย่างไร เรื่องที่นำเสนอเกี่ยวข้องกับความรู้(Knowledge)ต่าง ๆ อย่างไร โดยผู้เรียนต้องบรรยายให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว พร้อมทั้งนำเสนอความรู้เพิ่มเติมที่เป็นความคิดหรือแนวคิดต่าง ๆ

ในมุมมองที่หลากหลาย ครูที่ปรึกษาควรช่วยให้ผู้เรียนเลือกหัวข้อเรื่องที่ศึกษา และช่วยให้ผู้เรียนเลือกแนวคิด(Approach)ที่เหมาะสมสอดคล้องกับเรื่องที่ศึกษา การนำเสนอผลงาน(Presentation)ตามหลักสากลจะกำหนดให้ผู้เรียนนำเสนอเรื่องละไม่เกิน 10 นาที โดยผู้เรียนจะนำเสนอได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น โต้วาที(Debate) เกมส์ skits สัมภาษณ์ ฯลฯ ยกเว้นนำเสนอด้วยการอ่านเอกสาร(ห้ามนำเสนอด้วยการอ่านเอกสาร ต้องนำเสนออย่างเป็นธรรมชาติ) ซึ่งจะประเมินได้ว่าผู้เรียนได้ทำงานนั้นจริงหรือไม่ มีหลักวิชาอะไรที่เป็นความรู้สนับสนุน ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ของเรื่องที่สนใจได้หรือไม่"

วิชาเพิ่มเติม ที่กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนแก่งคอยได้จัดลงในโครงสร้างหลักสูตร คือ วิชา การอ่านเพื่อการสร้างองค์ความรู้ โดยครูตั๊ก เขียนคำอธิบายรายวิชา ไว้ว่า

"ศึกษาหาความรู้จากหนังสือและสื่อต่างๆ จาก แหล่งการเรียนรู้อย่าง กว้างขวาง การใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ การเลือกใช้สารสนเทศประเภทต่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้ตามความสนใจ ความสามารถและความถนัดของตน บอกช่องทางการรับรู้ความรู้ สาขาของความรู้ องค์ประกอบต่างๆของความรู้ที่ได้รับ โดยใช้กระบวนการอ่าน การเขียน การฝึกปฎิบัติ กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการเรียนทางภาษา เพื่อให้ผู้เรียน รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน รักและภูมิใจในความเป็นไทย"

เขียนคำอธิบายรายวิชาไว้อย่างนี้ คงสนองตอบศักยภาพและองค์ความรู้ของผู้เรียน ให้ก้าวไกลทัดเทียมมาตรฐานสากลได้ในระดับหนึ่ง ค่ะ...ครูตั๊ก โรงเรียนแก่งคอย