วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

การพัฒนาหลักสูตรของ Hilda Taba


      แนวคิดและกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่นิยมนำมาใช้ในการวางแผนหลักสูตร (curriculum planning) ในปัจจุบัน เรียกว่าแนวคิดการบริหารทางวิทยาศาสตร์ (scientific management) ซึ่งเป็นแนวคิดของนักหลักสูตรกลุ่มผลผลิต (product approach) หรือหลักสูตรที่กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (desirable result) ในรูปของคุณลักษณะหรือสมรรถนะในด้านความรู้และทักษะของผู้เรียนเป็นปลายทางของการพัฒนาผู้เรียน แนวคิดหลักสูตรกลุ่มผลผลิตนี้เป็นฐานสำคัญที่ก่อให้เกิดกระแสการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์ (outcome based-education) และก่อให้เกิดรูปแบบหลักสูตรใหม่ตามมา ได้แก่ หลักสูตรอิงมาตรฐาน (standards-based curriculum) และหลักสูตรอิงสมรรถนะ (competencies based-curriculum) เป็นต้น

      แม้ว่ารูปแบบของหลักสูตรจะมีความแตกต่างในด้านการกำหนดเป้าหมาย แต่หลักสูตรในกลุ่มนี้ ล้วนแต่มีวิธีการดำเนินการพัฒนาบนกระบวนการหรือขั้นตอนที่คล้ายคลึงกัน และขั้นตอนเหล่านั้น มาจากแนวคิดของนักหลักสูตรกลุ่มผลผลิต ได้แก่ Tyler (1949), Taba (1962), Saylor, Alexander และ Lewis (1982) โดยเฉพาะแนวคิดของ Taba นั้น ได้รับความนิยมอย่างยิ่ง เพราะเธอได้เสนอแนวคิดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่เป็นขั้นตอนชัดเจนและให้ความสำคัญกับครูในฐานะผู้สร้างหลักสูตร

Hilda Taba(1902-1967) เป็นนักหลักสูตรกลุ่มแนวคิดการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ (scientific management) ที่มีชื่อเสียงในวงการด้านหลักสูตรและการสอน เธอเป็นศิษย์ของ John Dewey นักปรัชญาการศึกษาพิพัฒนิยม Taba สำเร็จปริญญาดุษฎีบัณฑิตด้วยการเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง พลวัตของการศึกษา: วิธีวิทยาของแนวคิดการศึกษาพิพัฒนาการ (1932) (Dynamics of Education: A Methodology of Progressive Educational Thought) ซึ่งเน้นการนำเสนอการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นประชาธิปไตย ภายหลังเมื่อเธอหันมาสนใจเกี่ยวกับทฤษฎีหลักสูตร เธอจึงได้มีโอกาสร่วมงานกับ John Dewey, Benjamin Bloom, Ralph W. Tyler, Deborah Elkins และ Robert Havinghurst และได้เขียนผลงานซึ่งเป็นตำราเล่มสำคัญเกี่ยวกับหลักสูตรคือ Curriculum Development: Theory and Practice (1962) ซึ่งเธอได้แสดงแนวคิดของตนเองไว้อย่างชัดเจนว่า หลักสูตรการศึกษาควรมุ่งเน้นไปที่การสอนให้ผู้เรียนคิดมากกว่าจะเป็นการถ่ายทอดข้อเท็จจริง

Taba (1962: 10) ได้กล่าวถึงความหมายของหลักสูตรสรุปได้ว่า หลักสูตรเป็นเอกสารที่เขียนขึ้น โดยประกอบด้วยเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ เนื้อหาสาระ กิจกรรมหรือประสบการณ์การเรียนรู้และการประเมินผลการเรียนรู้ และการพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการวินิจฉัย (diagnosis) และตัดสินใจ (decision) เกี่ยวกับองค์ประกอบเหล่านั้น การพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของ Tabaดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนรวมทั้งสิ้น 7 ขั้นตอน ดังนี้

1. การวินิจฉัยความต้องการ (diagnosis of needs) การศึกษาความต้องการเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรก ผู้พัฒนาหลักสูตร (ครู) จะต้องวินิจฉัยประสบการณ์ ความต้องการและความสนใจของผู้เรียนเพื่อมากำหนดเนื้อหาของหลักสูตร

2. การกำหนดวัตถุประสงค์ (formulation of objectives) เมื่อทราบความต้องการของผู้เรียนหรือของสังคมแล้ว ผู้พัฒนาหลักสูตรจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ซึ่งจะใช้กำหนดเนื้อหาว่าจะมีความเฉพาะเจาะจงเพียงใดและวิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

3. การเลือกเนื้อหา (selection of content) ผู้พัฒนาหลักสูตรเลือกเนื้อหาสาระที่จะนำมาให้ผู้เรียนศึกษาโดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์ เนื้อหาที่เลือกมานั้นจะต้องมีความตรง (validity) ตามวัตถุประสงค์และมีนัยสำคัญ (significance) ต่อผู้เรียน

4. การจัดองค์ประกอบของเนื้อหา (organization of content) เนื้อหาที่คัดเลือกมาได้นั้น ผู้พัฒนาหลักสูตรจะต้องนำมาจัดเรียงลำดับ (sequence) โดยใช้เกณฑ์หรือระบบบางอย่าง ทั้งยังจะต้องคำนึงถึงความเชื่อมโยงและการเน้น (focus) ให้เหมาะกับวัตถุประสงค์ที่จะสอนและระดับของผู้เรียน

5. การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ (selection of learning experiences) ผู้พัฒนาหลักสูตรจะต้องพิจารณาเรื่องของการจัดเรียงลำดับประสบการณ์ และจะต้องเลือกวิธีการจัดการเรียนการสอนที่จะสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับเนื้อหาตามวัตถุประสงค์

6. การจัดองค์ประกอบของประสบการณ์การเรียนรู้ (organization of learning experiences) การจัดองค์ประกอบของประสบการณ์การเรียนรู้ ผู้พัฒนาหลักสูตรจะต้องคำนึงถึงยุทธศาสตร์การสอนที่สำคัญคือการพัฒนากระบวนการสร้างมโนทัศน์ (strategic of concept attainment) และคำนึงถึงคำถามสำคัญ ได้แก่ จะทำอย่างไรให้เนื้อหาสาระสอดคล้องกับประสบการณ์และความสนใจของผู้เรียน และจะทำอย่างไรให้การจัดประสบการณ์ การเรียนรู้สอดคล้องและตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล

7. การวินิจฉัยว่าสิ่งที่จะประเมินคืออะไรและจะใช้วิธีการและเครื่องมือใดในการประเมิน (determination of what to evaluate and of the ways and means of doing it) นักหลักสูตรจะต้องประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร โดยจะต้องตอบคำถามว่า จะประเมินคุณภาพของการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้อย่างไรและจะใช้เครื่องมือและวิธีการใดในการประเมิน

จากแนวคิดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรของ Taba ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า Tabaได้ให้ความสำคัญกับครูหรือผู้สอนว่าจะต้องเป็นผู้ที่พัฒนาหลักสูตร หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือหลักสูตรต้องออกแบบโดยผู้ใช้ และกระบวนการพัฒนาหลักสูตรทั้ง 7 ขั้นตอน เป็นรูปแบบการพัฒนาจากรากหญ้า (grass-roots model) ซึ่งแตกต่างจาก Tyler ที่ให้ความสำคัญกับผู้เชี่ยวชาญในการกำหนดวัตถุประสงค์และเนื้อหาที่จะจัดให้แก่ผู้เรียน หน้าที่หลักของครูตามแนวคิดของ Taba คือ ผู้จัดการเนื้อหาและมโนทัศน์ความรู้ต่างๆ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการเรียนรู้ของผู้เรียน และหลักสูตรจะต้องสร้างขึ้นจากภายในชั้นเรียน ก่อนที่จะพัฒนาขึ้นเป็นหลักสูตรสถานศึกษา


.................................

เอกสารอ้างอิง

Taba, H. 1962. Curriculum development: theory and practice. New York, NY: Harcourt, Brace & World.


ขอบคุณแหล่งข้อมูล จาก http://www.gotoknow.org/posts/429445

People’s Participation

การมีส่วนร่วมของประชาชน (People’s Participation)

แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน (People’s Participation) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชนบท ทั้งนี้ ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 ที่มุ่งเน้นคนเป็นสำคัญมากกว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ ได้พยายามเปลี่ยนแปลงแนวทางการพัฒนาจากระดับบนลงล่าง (Top - down) มาเป็นจากระดับล่างขึ้นบน (Bottom - up) แนวทางดังกล่าวสอดรับกับแนวคิดของ โอคเลย์ (Oakley. 1984 : 17) ได้กล่าวว่า แนวทางจากระดับล่างขึ้นบนนี้ เกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับแนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดหาย (Missing ingredient) ในกระบวนการพัฒนา การมีส่วนร่วมของชุมชนนั้น มีนักวิชาการได้อธิบายและให้ความหมาย ปัจจัย ขั้นตอนการมีส่วนร่วมของชุมชน รูปแบบของชุมชนต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาไว้มากมาย ซึ่งผู้วิจัยได้นำมากล่าวไว้เท่าที่จำเป็นและ
สอดคล้องกับแนวทางการศึกษา ดังนี้


1. ความหมายของการมีส่วนร่วมของชุมชน

การมีส่วนร่วมของชุมชนนั้นมีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

โคเฮนและอัฟฮอฟ (Cohen and Uphoff. 1981 : 6) ได้ให้ความหมาย การมีส่วนร่วมของชุมชนว่า สมาชิกของชุมชนต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องใน 4 มิติ ได้แก่

1. การมีส่วนร่วมการตัดสินใจว่าควรทำอะไรและทำอย่างไร

2. การมีส่วนร่วมเสียสละในการพัฒนา รวมทั้งลงมือปฏิบัติตามที่ได้ตัดสินใจ

3. การมีส่วนร่วมในการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน

4. การมีส่วนร่วมในการประเมินผลโครงการ

โดยสร้างโอกาสให้สมาชิกทุกคนของชุมชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมช่วยเหลือและเข้ามามีอิทธิพลต่อกระบวนการดำเนินกิจกรรมในการพัฒนา รวมถึงได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนานั้นอย่างเสมอภาค องค์การสหประชาชาติ (United Nation. 1981 : 5) และ
รีเดอร์ (Reeder. 1974 : 39) ได้ให้ความหมายเจาะจงถึงการมีส่วนร่วม ว่าการมีส่วนร่วมเป็นการปะทะสังสรรค์ทางสังคม ทั้งในลักษณะการมีส่วนร่วมของปัจเจกบุคคล และการมีส่วนร่วมของกลุ่ม

นอกจากนี้ สุชาดา จักรพิสุทธิ์ (ออนไลน์. 2547) ศึกษาเรื่องชุมชนกับการ มีส่วนร่วมจัดการศึกษา สรุปได้ว่า การมีส่วนร่วมของชุมชน แบ่งได้ออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่

1. ลักษณะการมีส่วนร่วมจากความเกี่ยวข้องทางด้านเหตุผล โดยการเปิดโอกาสให้สังคม องค์กรต่างๆ ในชุมชน ประชาชนมีบทบาทหลักตามสิทธิ หน้าที่ในการเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ตั้งแต่การคิดริเริ่ม การพิจารณาตัดสินใจ วางแผน การร่วมปฏิบัติและการรับผิดชอบในผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมทั้งส่งเสริม ชักนำ สนับสนุนให้การดำเนินงานเกิดผลประโยชน์ต่อชุมชนตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดด้วยความสมัครใจ

2. ลักษณะการมีส่วนร่วมจากความเกี่ยวข้องทางด้านจิตใจ เป็นการมีส่วนร่วมของชุมชน ที่การเกี่ยวข้องทางด้านจิตใจ อารมณ์ รวมทั้ง ค่านิยมของประชาชนเป็นเครื่องชี้นำตนเองให้เข้ามามีส่วนร่วม แสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การกระทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ทำให้ผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วม เกิดความผูกพัน มีความรู้สึกรับผิดชอบต่อกิจกรรมที่ดำเนินงานด้วยความสมัครใจ

จากแนวคิดและทัศนะที่ได้กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด สามารถแยกประเด็นสรุปได้ว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนเกิดขึ้นจาก เป้าหมายที่ต้องการ ค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรมประเพณี ความผูกพัน การเสริมแรง โอกาส ความสามารถ การสนับสนุน ความคาดหมายในสิ่งที่ต้องการ โดยมีพื้นฐานของการมีส่วนร่วม ดังนี้

1. การมีส่วนร่วมบนพื้นฐานของเหตุผล

2. การมีส่วนร่วมบนพื้นฐานของค่านิยม

3. การมีส่วนร่วมบนพื้นฐานของประเพณี

4. การมีส่วนร่วมบนพื้นฐานของความผูกพัน ความเสน่หา

โดยสรุป การมีส่วนร่วมของชุมชนนั้น เกิดจากจิตใจที่ต้องการเข้าร่วมในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ของกลุ่มคนที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตทางสังคม ซึ่งการเร้าให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมนั้น ผู้ดำเนินงานจะต้องมีความเข้าใจในวิธีการดำเนินชีวิต ค่านิยม ประเพณี ทัศนคติของบุคคล เพื่อให้เกิดความสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม


2. ปัจจัยที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วม

การที่ชุมชนจะเข้ามามีส่วนร่วมนั้น มีปัจจัยที่ส่งผลให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งมีนักวิชาการได้เสนอแนวคิด ดังนี้

คูฟแมน (Koufman. 1949 : 7) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนในชนบท พบว่า อายุ เพศ การศึกษา ขนาดของครอบครัว อาชีพ รายได้และระยะเวลาการอยู่อาศัยในท้องถิ่น มีความสัมพันธ์กับระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน

นอกจากนี้ ประยูร ศรีประสาธน์ (2542 : 5) ได้นำเสนอปัจจัยของการมีส่วนร่วม ว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วม มีด้วยกัน 3 ปัจจัย คือ

1. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ เพศ

2. ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจ ได้แก่ การศึกษา อาชีพ รายได้ และการเป็นสมาชิกกลุ่ม

3. ปัจจัยด้านการสื่อสาร ได้แก่ การรับข่าวสารจากสื่อมวลชนและสื่อบุคคล

จากแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปปัจจัยต่อการมีส่วนร่วมทำกิจกรรมได้ ดังนี้

1. ลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ต่างๆ

2. ลักษณะทางเศรษฐกิจ ได้แก่ อาชีพ รายได้

3. การได้รับข้อมูลข่าวสาร ได้แก่ ความถี่ในการรับรู้ข่าวสาร และแหล่งที่มาของข่าวสาร


3. ขั้นตอนการมีส่วนร่วมของชุมชน

การเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน เพื่อการกระทำกิจกรรมใดกิจกรรม

หนึ่งให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนนั้น มีนักวิชาการได้เสนอแนวคิดถึงขั้นตอนการมีส่วนร่วมของชุมชน ดังนี้

ฟอร์นารอฟ (Fornaroff. 1980 : 104) เสนอว่ากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน มีขั้นตอนการมีส่วนร่วม ดังนี้

1. การวางแผน รวมถึงการตัดสินใจในการกำหนดเป้าหมาย กลวิธี ทรัพยากรที่ต้องใช้ ตลอดจนการติดตามประเมินผล

2. การดำเนินงาน

3. การใช้บริการจากโครงการ

4. การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์

นอกจากนี้ อภิญญา กังสนารักษ์ (2544 : 14 – 15) ได้นำเสนอขั้นตอนการมีส่วนร่วมของชุมชนว่า ชุมชนต้องมีส่วนร่วมใน 4 ขั้นตอน คือ

1. การมีส่วนร่วมในการริเริ่มโครงการ ร่วมค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหาภายในชุมชน ร่วมตัดสินใจกำหนดความต้องการและร่วมลำดับความสำคัญของความต้องการ

2. การมีส่วนร่วมในขั้นการวางแผน กำหนดวัตถุประสงค์ วิธีการ แนวทาง

การดำเนินงาน รวมถึงทรัพยากรและแหล่งวิทยากรที่จะใช้ในโครงการ

3. การมีส่วนร่วมในขั้นตอนการดำเนินโครงการ ทำประโยชน์ให้แก่โครงการ โดยร่วมช่วยเหลือด้านทุนทรัพย์ วัสดุอุปกรณ์ และแรงงาน

4. การมีส่วนร่วมในการประเมินผลโครงการ เพื่อให้รู้ว่าผลจากการดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยสามารถกำหนดการประเมินผลเป็นระยะต่อเนื่องหรือประเมินผลรวมทั้งโครงการในคราวเดียวก็ได้


ส่วน อคิน รพีพัฒน์ (2547 : 49) ได้แบ่งขั้นตอนการมีส่วนร่วมออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ

1. การกำหนดปัญหา สาเหตุของปัญหา ตลอดจนแนวทางแก้ไข

2. การตัดสินใจเลือกแนวทาง และวางแผนพัฒนา แก้ไขปัญหา

3. การปฏิบัติงานในกิจกรรมการพัฒนาตามแผน

4. การประเมินผลงานกิจกรรมการพัฒนา

ขั้นตอนการเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน วิรัช วิรัชนิภาวรรณ (ออนไลน์. 2547) ได้สรุปและนำเสนอขั้นตอนการมีส่วนร่วมใน 2 ลักษณะ ได้แก่

ลักษณะที่ 1 มีขั้นตอน ดังนี้

1. การคิด

2. การตัดสินใจ

3. การวางแผน

4. การลงมือปฏิบัติ

ลักษณะที่ 2 มีขั้นตอน ดังนี้

1. การกำหนดปัญหา

2. การวางแผน

3. การดำเนินงาน

4. การประเมินผล

5. การบำรุงรักษา และพัฒนาให้คงไว้

จากแนวคิดเกี่ยวกับขั้นตอนการมีส่วนร่วมของชุมชนทั้งหมดสรุปได้ว่า ขั้นตอนของการเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชนนั้นมี 6 ขั้นตอน ได้แก่

1. การค้นหาปัญหา สาเหตุของปัญหา และแนวทางแก้ไข

2. ตัดสินใจกำหนดความต้องการ

3. ลำดับความสำคัญ

4. วางแผน กำหนดวัตถุประสงค์ วิธีการ แนวทางการดำเนินงาน ทรัพยากร

5. วางแผน กำหนดวัตถุประสงค์ วิธีการ แนวทางการดำเนินงาน ทรัพยากร

6. ดำเนินงานตามโครงการ และ/หรือ สนับสนุนการดำเนินงาน

7. ประเมินผล


4. รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา

จากขั้นตอนของการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อการร่วมทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนนั้น บนพื้นฐานของการเข้ามามีส่วนร่วม ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม (ออนไลน์. 2547) ได้นำเสนอความคิดเห็นผ่านบทความ “แลหน้าเศรษฐกิจสังคมไทย” สรุปการเข้ามีส่วนร่วมของประชาชนได้ใน 2 ลักษณะ ได้แก่

1. การมีส่วนร่วมของประชาชนที่รัฐเป็นผู้นำ การมีส่วนร่วมในลักษณะนี้เป็นการมองมาจากเบื้องบนหรือมาจากรัฐ ประชาชนเป็นเพียงผู้คอยรับนโยบายและปฏิบัติตาม

2. การมีส่วนร่วมที่เกิดจากความต้องการของประชาชนด้วยความสมัครใจโดยที่รัฐคอยช่วยเหลือให้คำแนะนำหรือคอยอำนวยความสะดวกเท่านั้น

ทังนี้ จากการที่กฎหมายได้กำหนดบทบาทของท้องถิ่นกับการจัดการศึกษาในสาระมาตรา 41 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ที่ระบุไว้ว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใดระดับหนึ่งหรือทุกระดับตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการภายในท้องถิ่น ทั้งนี้ วิชิต นันทสุวรรณ และจำนงค์ แรกพินิจ (2541 : 21-29) ได้นำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาไว้ดังนี้

1. รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาตนเอง การจัดการศึกษาในลักษณะนี้ เกิดจากความสามารถและความต้องการของคนในชุมชน ที่มุ่งให้เกิดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและตอบสนองความต้องการของสมาชิกในชุมชน โดยยึดหลักให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างไม่มีขีดจำกัดของระยะเวลา สถานที่ เพศ และอายุ เป็นการเปิดโอกาสให้คนได้เรียนรู้ตามอัธยาศัยที่ แท้จริง ชุมชนได้เข้ามามีบทบาทหลักในการจัดการศึกษา ทั้งนี้ รูปแบบการมีส่วนร่วมตามแนวทางนี้ ต้องอาศัยองค์ประกอบ 3 อย่างที่มีอยู่ในชุมชน ได้แก่ คน ความรู้ และทรัพยากร โดยมีกระบวนการดำเนินการ คือ

1. การวิเคราะห์ – สังเคราะห์ ปัญหาชุมชน

2. หาทางออกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิต

3. ดำเนินการสร้างกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้แก้ไขปัญหาที่มีอยู่

4. ประเมินผลกิจกรรม

โดยการกำหนดเนื้อหาหรือกิจกรรมการเรียนรู้ จะเริ่มจากจุดเล็กๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันแล้วขยายออกไปสู่เนื้อหาหรือกิจกรรมที่ซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตทั้งหมด

2. รูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ชุมชนมีส่วนร่วมกับโรงเรียนในการสร้างหลักสูตรท้องถิ่นที่สัมพันธ์ และสอดคล้องกับความเป็นจริงของสภาพชุมชน สนองความต้องการและวิถีชีวิตของชุมชนในท้องถิ่น โดยบุคคลในท้องถิ่น เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้รู้ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง มาจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นและประเมินผล

3. รูปแบบการเชื่อมประสานการจัดการศึกษาระหว่างโรงเรียนกับชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชนในรูปแบบนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะกับชุมชนที่มีกระบวนการเรียนรู้ที่เข้มแข็ง มีองค์กรชุมชนเพื่อจัดการเรียนรู้ร่วมกัน มีเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับชุมชนอื่น

รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา ตามที่ได้กล่าวมานั้น สรุปได้ว่า รูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานั้น นอกจากจะเป็นการมีส่วนร่วมกับโรงเรียนในการพัฒนา การจัดการเรียนการสอนแล้ว นอกจากจะเป็นการมีส่วนร่วมกับโรงเรียนในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแล้ว ยังเป็นไปในลักษณะของการร่วมกันจัดการศึกษาให้แก่คนในชุมชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนนั้น ๆ ด้วยบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมในระดับสูง

ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยมุ่งที่จะพัฒนาความรู้ ทักษะ ของเกษตรกร ซึ่งเป็นประชาชนนอกระบบโรงเรียนในชุมชน จึงกำหนดใช้รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาตนเอง โดยมุ่งหมายให้กลุ่มประชากรในชุมชนได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อการพัฒนาความรู้ ทักษะ และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และชุมชนได้ต่อไปอย่างยั่งยืน

จากการศึกษาทฤษฎี หลักการ แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด สรุปได้ว่า

การมีส่วนร่วมของชุมชน เกิดจากจิตใจที่ต้องการเข้าร่วมในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง เพื่อให้เกิดผล ต่อความต้องการของกลุ่มคนที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตทางสังคม ทั้งนี้ ในการที่จะให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริงนั้น การจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมต้องคำนึงถึง วิถีการดำเนินชีวิต ค่านิยม ประเพณี ทัศนคติของบุคคล เพื่อให้เกิดความสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม เพราะกลุ่มคนในชุมชน มีความแตกต่างกันใน ลักษณะส่วนบุคคล ลักษณะทางเศรษฐกิจ และการได้รับข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ การเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชนโดยสรุปมีขั้นตอมทั้งสิ้น 5 ขั้นตอนคือ 1) การวิเคราะห์ - สังเคราะห์ปัญหาของชุมชน 2) การวางแผนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิต 3) การกำหนดกิจกรรม 4) การดำเนินกิจกรรม และ 5) การประเมินผลกิจกรรม ซึ่งเป็นขั้นตอนของการเข้ามามีส่วนร่วมที่ให้ความสำคัญโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง โดยมีหน่วยงานภาครัฐคอยช่วยเหลือ ให้คำแนะนำหรืออำนวยความสะดวกเท่านั้น



เอกสารอ้างอิง



ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม. แลหน้าเศรษฐกิจสังคมไทย. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :

http://www.thailabour.org/thai/news/47120601.html. 25 มกราคม 2547.

ประยูร ศรัประสาธน์. รายงานการวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วม ในการดำเนินงานของ

คณะกรรมการการศึกษาประจำโรงเรียนประถมศึกษา. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2542.

วิชิต นันทสุวรรณ และจำนงค์ แรกพินิจ. " บทบาทของชุมชนกับการศึกษา ". รายงานการศึกษา

วิจัยเสนอสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี , 2541.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. การบริหารและจัดการเทศบาลในยุคปฏิรูปการเมือง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โฟร์เฟซ , 2546.


สุชาดา จักรพิสุทธิ์. “การศึกษาทางเลือกของชุมชน”, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

27 (4) : 18 – 23. (มิถุนายน – สิงหาคม 2547).

อคิน รพีพัฒน์. การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา. กรุงเทพฯ : ศูนย์การศึกษานโยบายสาธารณสุข, 2547.

อภิญญา กังสนารักษ์. รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในองค์กรที่มีประสิทธิผลระดับคณะของ

สถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544.

Cohen , J.M. and Uphoff , N.T. Rural Development Participation : Concept and Measures for

Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee

Center for International Studies , Cornell University , 1981.

Fornaroff , A. Community involvment in Health System for Primary Health Care. Geneva :

World Health Organization , 1980.

Koufman , H.F. Participation Organized Activities in Selected Kentucky Localities.

Agricultural Experiment Station Bulletins. March , 1949.

Oakley , P. Approaches To Participation In Rural Development. Geneva : Internation Office, 1984.

Reeder , W.W. Some Aspects of The Information Social Participation of Farm Families in

New York State. New York : Unpublished Ph.D Dissertation , Cornell University , 1974.

United Nation , Department of Internation Economic and Social Affair. Popular Participation as

a Strategy for Promoting Community Level Action and Nation Development.

Report of The Meeting for The Adhoc Group of Expert. New York :United Nation , 1981.

........................................

http://trat.nfe.go.th/trat/topic5_old.php?page=5

การพัฒนาหลักสูตร

หลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญของการจัดการศึกษา เพราะเป็นสิ่งที่กำหนดแนวทางการปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ หลักสูตรที่ดีต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอ เพื่อให้มีเนื้อหาสาระทันกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และการเมือง ซึ่งมีนักการศึกษาได้อธิบาย และให้ความหมายการพัฒนาหลักสูตร ดังนี้

1. ความหมายของหลักสูตร

นักการศึกษา ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้อย่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับทัศนะ ความเชื่อ แนวคิด ปรัชญาและประสบการณ์ ซึ่งสามารถประมวลความหมายของหลักสูตรที่สำคัญได้ ดังนี้

เซยเลอร์ อเล็กซานเดอร์ และเลวิส (Sayler, Alexander and Lewis. 1981 : 8) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตร หมายถึง แผนการเรียนการสอนที่จัดโอกาสในการเรียนรู้ให้แก่บุคคลที่ได้รับการศึกษา

บีน และคนอื่นๆ (Beane & others. 1986 : 34 - 35) สรุปความหมายของหลักสูตรไว้โดยใช้เกณฑ์ความเป็นรูปธรรม (Concrete) ไปสู่นามธรรม (Abstract) และจากการยึดโรงเรียนเป็นศูนย์กลาง (School - centered) ไปสู่การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner - centered) โดยได้อธิบายไว้ ดังนี้

1. หลักสูตร คือ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากกระบวนการจัดการศึกษา (Curriculum as product)

2. หลักสูตร คือ โครงการหรือแผนการในการจัดการศึกษา (Curriculum as program)

3. หลักสูตร คือ การเรียนรู้ที่กำหนดไว้อย่างมีความหมาย (Curriculum as intended learning)

4. หลักสูตร คือ ประสบการณ์ของผู้เรียน (Curriculum as experience of the learner)

โอลิวา (Oliva. 1992 : 8 – 9) ได้ให้นิยามความหมายของหลักสูตร โดยแบ่งเป็น

1. การให้นิยามโดยยึดจุดประสงค์ (Purpose) หลักสูตร จึงมีภาระหน้าที่ที่จะทำให้ผู้เรียนควรจะเป็นอย่างไรหรือมีลักษณะอย่างไร หลักสูตรแนวคิดนี้จึงมีความหมายในลักษณะที่เป็นวิธีการ ที่นำไปสู่ความสำเร็จตามจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมาย เช่น หลักสูตร คือ การถ่ายทอด มรดกทางวัฒนธรรม หลักสูตร คือ การพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน เป็นต้น

2. การให้นิยามโดยยึดบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Contexts) นิยามหลักสูตรในลักษณะนี้ เป็นการอธิบายถึงลักษณะทั่วไปของหลักสูตร ซึ่งแล้วแต่ว่าเนื้อหาสาระของหลักสูตรมีลักษณะเป็นอย่างไร เช่น หลักสูตรที่ยึดเนื้อหาวิชา หลักสูตรที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหลักสูตรเพื่อการปฏิรูปสังคม เป็นต้น

3. การให้นิยามโดยยึดวิธีดำเนินการหรือยุทธศาสตร์ (Strategies) เป็นการให้นิยามหลักสูตร ในเชิงวิธีดำเนินการที่เป็นกระบวนการ ยุทธศาสตร์หรือเทคนิควิธีการที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน เช่น หลักสูตร คือ กระบวนการแก้ปัญหา หลักสูตร คือ การทำงานกลุ่ม หลักสูตร คือ การเรียนรู้รายบุคคล หลักสูตร คือ โครงการหรือแผนการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น

โอลิวา ได้สรุปความหมายของหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตร คือ แผนงานหรือโครงการที่จัดประสบการณ์ทั้งหมดให้แก่ผู้เรียนโดยแผนงานต่างๆ จะถูกกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร มีขอบเขตกว้างขวาง หลากหลาย เพื่อเป็นแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ต้องการ ดังนั้น หลักสูตรอาจเป็นหน่วย (Unit) เป็นรายวิชา (Course) หรือเป็นรายวิชาย่อย (Sequence of courses) ทั้งนี้ แผนงานหรือโครงการทางการศึกษาดังกล่าว อาจจัดขึ้นได้ทั้งในและนอกชั้นเรียน ภายใต้การบริหารและดำเนินงานของสถานศึกษา

โซเวลล์ (Sowell. 1996 : 5) ได้กล่าวว่า มีผู้อธิบายความหมายของหลักสูตรไว้อย่างมากมาย เช่น หลักสูตรเป็นการสะสมความรู้ดั้งเดิม เป็นวิธีการคิด เป็นประสบการณ์ที่ถูกกำหนดไว้ เป็นแผนการจัดสภาพการเรียนรู้ เป็นความรู้และคุณลักษณะของผู้เรียน เป็นเนื้อหาและกระบวนการ เป็นแผนการเรียนการสอน เป็นจุดหมายปลายทางและผลลัพธ์ของการจัดการเรียนการสอนและเป็นผลผลิตของระบบเทคโนโลยี เป็นต้น โซเวลล์ ได้อธิบายว่า เป็นเรื่องปกติที่นิยามความหมายของหลักสูตรมีความแตกต่างกันไปเพราะบางคนให้ความหมายของหลักสูตรในระดับที่แตกต่างกันหรือไม่ได้แยกหลักสูตรกับการจัดการเรียนการสอน แต่อย่างไรก็ตาม โซเวลล์ ได้สรุปว่า หลักสูตร คือ การสอนอะไรให้กับผู้เรียน ซึ่งมีความหมายที่กว้างขวาง ที่รวมทั้งข้อมูลข่าวสาร ทักษะ และ ทัศนคติ ทั้งที่ได้กำหนดไว้และไม่ได้กำหนดไว้ให้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษา

ชมพันธุ์ กุญชร ณ อยุธยา (2540 : 3 – 5) ได้อธิบายความหมายของ หลักสูตรว่า มีความแตกต่างกันไปตั้งแต่ความหมายที่แคบสุดจนถึงกว้างสุด ซึ่งสามารถจำแนกความคิดเห็นของนักการศึกษาที่ได้ให้นิยามความหมายของหลักสูตรแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้

1. หลักสูตร หมายถึง แผนประสบการณ์การเรียน นักการศึกษาที่มีความคิดเห็นว่า หลักสูตร หมายถึง แผนประสบการณ์การเรียนนั้น มองหลักสูตรที่เป็นเอกสารหรือโครงการของการศึกษาที่สถาบันการศึกษาไว้วางแผนไว้ เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาตามแผนหรือโครงการที่กำหนดไว้ หลักสูตรตามความหมายนี้ หมายรวมถึง แผนการเรียนหรือรายวิชาต่างๆ ที่กำหนดให้เรียนรวมทั้งเนื้อหาวิชาของรายวิชาต่างๆ กิจกรรมการเรียนการสอน และการประเมินผล ซึ่งได้กำหนดไว้ในแผนความคิดเห็นของนักการศึกษากลุ่มนี้ ไม่รวมถึงการนำหลักสูตรไปใช้หรือการเรียนการสอนที่ปฏิบัติจริง

2. หลักสูตร หมายถึง ประสบการณ์การเรียนของผู้เรียน ที่สถาบันการศึกษาจัดให้แก่ผู้เรียนประกอบด้วย จุดมุ่งหมาย เนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การประเมินผล

รุจิร์ ภู่สาระ (2545 : 1) ได้อธิบายความหมายของหลักสูตรว่า หมายถึง แผนการเรียน ประกอบด้วยเป้าหมาย และจุดประสงค์เฉพาะที่จะนำเสนอและจัดการเนื้อหา รวมถึงแบบของการเรียนการสอนตามจุดประสงค์ และท้ายที่สุดจะต้องมีการประเมินผลของการเรียน

จากแนวคิดของนักการศึกษาหลายท่านดังกล่าวพบว่า มีการให้นิยามแตกต่างกันไป ทั้งนี้เพราะแต่ละคนมีเกณฑ์ที่ใช้ในการอธิบายแตกต่างกัน ในการศึกษาครั้งนี้ สรุปได้ว่า หลักสูตร หมายถึง แนวการจัดประสบการณ์ และ/หรือ เอกสาร ที่มีการจัดทำเป็นแผนการจัดสภาพการเรียนรู้หรือโครงการจัดการศึกษา โดยมีการกำหนดวิธีการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดผลการเรียนรู้ตามจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายตามที่หลักสูตรกำหนดไว้


2. ความสำคัญของหลักสูตร

ความสำคัญของหลักสูตรที่มีต่อการจัดการศึกษานั้น นักการศึกษาหลายท่านได้กล่าว

ตรงกันว่า หลักสูตรมีความสำคัญต่อการจัดการศึกษา ทั้งนี้ ธำรง บัวศรี (2532 : 6 - 7) ได้กล่าวว่า หลักสูตรมีความสำคัญ เพราะหลักสูตรเป็นส่วนกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ โดยมีรายละเอียดที่บ่งชี้ว่า ผู้เรียนควรเรียนรู้อะไร มีเนื้อหาสาระมากน้อยเพียงไร ควรได้รับการฝึกฝนให้มีทักษะในด้านใด และควรมีพัฒนาการทั้งในส่วนของร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญาอย่างไร

นอกจากนี้ สุมิตร คุณานุกร (2536 : 199 -200) กล่าวถึง ความสำคัญของหลักสูตรว่าหลักสูตรมีความสำคัญ เพราะเป็นเครื่องชี้นำทางหรือเป็นบทบัญญัติของรัฐในการจัดการศึกษา เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษานำไปปฏิบัติ อีกทั้งยังเป็นเกณฑ์มาตรฐานทางการศึกษา และควบคุมการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา

นอกจากนี้ ปฎล นันทวงศ์ และไพโรจน์ ด้วงวิเศษ (2543 : 9) สรุปความสำคัญของหลักสูตรว่า หลักสูตรมีความสำคัญยิ่งในฐานะที่เป็นเอกสารที่กำหนดแนวทางในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาทุกฝ่ายต้องยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ เพื่อพัฒนาบุคคลให้มีประสิทธิภาพตามที่พึงประสงค์ให้แก่สังคมและประเทศชาติ

จากความสำคัญของหลักสูตรข้างต้น สรุปว่า หลักสูตรมีความสำคัญ เพราะหลักสูตรเป็นเอกสารซึ่งเป็นแผนการหรือโครงการจัดการศึกษาที่ระบุแนวทางการจัดมวลประสบการณ์ เป็นส่วนกำหนดทิศทางการจัดการศึกษาให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษานำไปปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพทางการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาที่หลักสูตรกำหนดไว้



3. องค์ประกอบของหลักสูตร

ในการพัฒนาหลักสูตรต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบของหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่มีความสอดคล้อง และมีความสัมพันธ์กัน โดย เคอร์ (Kerr. 1976 : 16 - 17) ได้นำเสนอองค์ประกอบของหลักสูตรไว้ 4 ส่วน ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 2) เนื้อหาสาระ 3) ประสบการณ์การเรียน และ 4) การประเมินผล ซึ่งสอดคล้องกับ ทาบา (Taba. 1962 : 10) ที่ได้เสนอองค์ประกอบของหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตรไม่ว่าจะสร้างขึ้นในลักษณะใด ย่อมประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ 1) จุดมุ่งหมาย 2) เนื้อหาสาระ 3) กิจกรรมและรูปแบบการเรียนการสอน และ 4) การประเมินผล

จากการศึกษาองค์ประกอบของหลักสูตร ตามที่นักการศึกษาได้กำหนดไว้ สรุปได้ว่า นักการศึกษาได้นำเสนอองค์ประกอบของหลักสูตรไว้มีความสอดคล้องกัน โดยองค์ประกอบของหลักสูตรที่สำคัญมี 4 ส่วน คือ 1) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 2) เนื้อหาสาระ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ และ 4) การประเมินผล


4. แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตร

นักการศึกษาหลายท่าน ได้อธิบายความหมายของการพัฒนาหลักสูตร ไว้คล้ายคลึงกัน

ซึ่งสรุปได้ว่า การพัฒนาหลักสูตรมีความหมายใน 2 ลักษณะ คือ ลักษณะที่ 1 เป็นการทำหลักสูตร ที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น และลักษณะที่ 2 เป็นการจัดทำหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน (Sowell. 1996 : 16)

จากความหมายดังกล่าว พบว่า การพัฒนาหลักสูตรนั้น มีความหมายที่ครอบคลุมในหลายมิติตั้งแต่ การวางแผนหลักสูตร จัดทำหลักสูตรหรือยกร่างหลักสูตร (Curriculum planning) การนำหลักสูตรไปใช้หรือการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ (Curriculum implementation) และการประเมินผลหลักสูตร (Curriculum evaluation) การพัฒนาหลักสูตรให้ดีและมีคุณภาพนั้น ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในแต่ละมิติว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ รายละเอียดของมิติในการพัฒนาหลักสูตรมีดังนี้


การวางแผนจัดทำหลักสูตรหรือยกร่างหลักสูตร ประกอบด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน การกำหนดจุดมุ่งหมาย การกำหนดเนื้อหาสาระและประสบการณ์การเรียนรู้ การกำหนดการวัดและประเมินผล การนำหลักสูตรไปใช้หรือการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย การจัด ทำรายละเอียดของหลักสูตร เพื่อให้ผู้ใช้หลักสูตรสามารถใช้หลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ การผลิตและการใช้สื่อการเรียนการสอน การเตรียมบุคลากร การบริหารหลักสูตรและการสอนตามหลักสูตร การประเมินผลหลักสูตร ประกอบด้วย การประเมินเอกสารหลักสูตร การประเมินการใช้หลักสูตร การประเมินสัมฤทธิผลของหลักสูตร และการประเมินหลักสูตรทั้งระบบ โอลีวา (Oliva. 1992 : 14 – 15)

จากแนวคิดของนักการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร พบว่า การพัฒนาหลักสูตรเป็นการทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นหรือเป็นการจัดทำหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน เป็นกระบวนการที่เป็นระบบเชื่อมโยงกันในมิติต่างๆ ได้แก่ การวางแผนจัดทำหลักสูตรหรือยกร่างหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ และการประเมินผลหลักสูตร





เอกสารอ้างอิง



ชมพันธุ์ กุญชร ณ อยุธยา. การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ข่าวทหารอากาศ, 2540.

ธำรง บัวศรี. ทฤษฎีหลักสูตร : การออกแบบและการพัฒนา. กรุงเทพฯ : เอราวัณการพิมพ์, 2532.

ปฎล นันทวงศ์ และ ไพโรจน์ ด้วงวิเศษ. หลักสูตรและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา : สถาบันราชภัฏสงขลา, 2543.

รุจิร์ ภู่สาระ. การพัฒนาหลักสูตร : ตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์, 2545.

สุมิตร คุณานุกร. หลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536.

Beane , James A , Toepler , Jr. Conrad F. and Alessi , Jr. Samuel J. Curriculum Planning and

Development. Massachusette : Allyn and Bacon , 1986.

Kerr . Joseph and Keneth. “Metting the Changing Need of Adoults Through Education

Programes and Services,” Dissertation Adstracts Interrational. 36 (10) : 6424 – A. April 1976.

Oliva , Peter F. Developing The Curriculum 3 rd ed. New York : Harper Collins Publishers, 1992.

Saylor , J.Galen , Alexander , William M. and Lewis , Arthur J. Curriculum Planing for Better

Teaching and Learning. New York : Holt Rinehart and Winston, 1981.

Sowell , Evelys , J. Curriculum An Integrative Introduction. New Jersey : Prentice Hall , 1996.

Taba , Hilda . Curriculum Development : Theory and Practice . New York : Harcourt Brace and World, 1962.

....................................................

คัดจาก http://trat.nfe.go.th/trat/topic5_old.php?page=2

การพัฒนาหลักสูตร

การพัฒนาหลักสูตร

การพัฒนาหลักสูตร มีรูปแบบหลายรูปแบบ และหลายขั้นตอน การแสวงหารูปแบบในการพัฒนาหลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็น
เพราะรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวที่มุ่งชี้ต่อการพัฒนาหลักสูตรให้สะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น การนำรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรมาใช้จะต้องมีการเลือกหรือปรับใช้ให้เข้ากับสภาพความเป็นจริงของชีวิตและสังคมของผู้ใช้หลักสูตร โดยแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรนั้น มีหลายรูปแบบ ได้แก่


ไทเลอร์ (Tyler. 1949 : 1)

ได้ให้แนวคิดในวางแผนโครงร่างหลักสูตร โดยใช้วิธี Means-Ends Approach เป็นหลักการและเหตุผลในการสร้างหลักสูตรและการสอน ที่เน้นการตอบคำถามพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่

1.มีจุดมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้าง ที่สถาบันการศึกษาจะต้องกำหนดให้ผู้เรียน

2.มีประสบการณ์การศึกษาอะไรบ้าง ที่สถาบันการศึกษาควรจัดขึ้นเพื่อช่วยให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้

3.จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไร จึงจะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพ

4.จะประเมินผลประสิทธิภาพของประสบการณ์ในการศึกษาอย่างไร จึงจะตัดสินใจได้ว่าบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้

จากคำถามทั้ง 4 ข้อ ชี้ให้เห็นว่าการสร้างหรือพัฒนาหลักสูตร ต้องคำนึงถึงการกำหนดจุดมุ่งหมาย การกำหนดประสบการณ์ทางการศึกษา การจัดประสบการณทางการศึกษาให้แก่ผู้เรียน และการประเมินสัมฤทธิผลของหลักสูตร


ในการกำหนดจุดมุ่งหมาย ไทเลอร์ ได้กล่าวถึงจุดประสงค์ต่างๆว่า นักพัฒนาหลักสูตรควรกำหนดจุดประสงค์ทั่วไป (General Objectives) โดยศึกษาข้อมูล 3 แหล่ง คือ เนื้อหาวิชาจากผู้เชี่ยวชาญ ข้อมูลผู้เรียน และข้อมูลสังคม จุดประสงค์ทั่วไปนี้ จะเป็นจุดประสงค์ชั่วคราว(Tentative Objectives)จากจุดประสงค์ชั่วคราว จะถูกกลั่นกรอง จากข้อมูลด้านปรัชญาการศึกษา สังคม ที่สถานศึกษายึดถืออยู่ และด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ซึ่งจะตัดทอนจุดประสงค์ที่ไม่จำเป็นออก และทำให้จุดประสงค์มีความชัดเจนขึ้น จุดประสงค์ที่ได้นี้จะเป็นจุดประสงค์ที่แท้จริงในการพัฒนาหลักสูตร จากนั้นจึงเลือกและจัดประสบการณ์การเรียนรู้หรือประสบการณ์ทางการศึกษาสำหรับผู้เรียน เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดขึ้น และกำหนดการประเมินผลหลักสูตร


เซย์เลอร์ อเล็กซานเดอร์ และเลวิส (Saylor,Alexander and Lewis)
ได้เสนอรูปแบบและกระบวนการพัฒนาหลักสูตร มีขั้นตอน รายละเอียดในการพัฒนาหลักสูตร ดังนี้

1.เป้าหมาย จุดมุ่งหมาย และขอบเขต (Goals , Objectives and Domains)

นักพัฒนาหลักสูตรควรกำหนดเป้าหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตรเป็นสิ่งแรก เป้าหมายในแต่ละประเด็นควรบอกถึงขอบเขตของ
หลักสูตร เซย์เลอร์ อเล็กซานเดอร์ และเลวิส ได้เสนอขอบเขตที่สำคัญ 4 ขอบเขต ได้แก่ พัฒนาการส่วนบุคคล (Personal Development) มนุษยสัมพันธ์ (Human Relation)ทักษะการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง (Continued Learning Skills) และความชำนาญเฉพาะด้าน (Specialization)ทั้งนี้ อาจจะมีขอบเขตที่สำคัญอื่นๆอีก ซึ่งนักพัฒนาหลักสูตรสามารถพิจารณาให้เหมาะสมกับผู้เรียน และลักษณะของสังคม

เป้าหมาย จุดมุ่งหมาย และขอบเขต จะถูกคัดเลือกจากการพิจารณาตัวแปรภายนอก (External Variables) อย่าง
รอบคอบ ได้แก่ ทัศนะและความต้องการของสังคม ข้อบังคับทางกฎหมายของรัฐ ข้อค้นพบจากงานวิจัย ปรัชญาของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางด้านหลักสูตร เป็นต้น


2. การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design)
หลังจากที่ได้กำหนดเป้าหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแล้ว
นักพัฒนาหลักสูตรต้องวางแผนออกแบบหลักสูตร ตัดสินใจเลือกและจัดเนื้อหาสาระ เลือกประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสม และ
สอดคล้องกับเนื้อหาสาระ รูปแบบหลักสูตรที่เลือกแล้ว ควรให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับ เป้าหมาย จุดมุ่งหมายของหลักสูตร
รวมทั้งความต้องการของผู้เรียน ลักษณะของสังคม ตลอดจนข้อกำหนดต่างๆของสังคม และปรัชญาการศึกษา


3.การใช้หลักสูตร (Curriculum Implementation)
หลังจากตัดสินใจเลือกรูปแบบของหลักสูตรแล้ว เป็นขั้นตอนของการนำหลักสูตรไปใช้ ครูผู้สอนควรวางแผน และจัดทำแผนการสอนในรูปแบบต่างๆ โดยเลือกวิธีการสอน และวัสดุสื่อการเรียนการสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่ได้กำหนดไว้


4.การประเมินผลหลักสูตร (Curriculum Evaluation)
การประเมินผลหลักสูตรเป็นขั้นตอนสุดท้ายของรูปแบบนี้ นักพัฒนาหลักสูตร และครูผู้สอนจะต้องตัดสินใจเลือกเทคนิคการประเมินผลที่สามารถตรวจสอบความสำเร็จของหลักสูตร คือ สามารถบอกได้ว่าหลักสูตรบรรลุเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ การประเมินผลหลักสูตรควรเน้นการประเมินตัวหลักสูตร คุณภาพการสอน และพฤติกรรมทางการเรียนรู้ของผู้เรียน ผลจากการประเมินจะช่วยให้นักพัฒนาหลักสูตรสามารถตัดสินใจได้ว่า จะใช้หลักสูตรนี้ต่อไป ควรปรับปรุงแก้ไขหรือควรจะยกเลิกหลักสูตรดังกล่าว



โอลิวา (Oliva. 1992 : 171 - 175)
ได้เสนอแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตร โดยเสนอองค์ประกอบในการพัฒนาหลักสูตร 12 องค์ประกอบ และมีการดำเนินการเป็นขั้นตอน ดังนี้

1.กำหนดเป้าหมายของการจัดการศึกษา ปรัชญา และหลักจิตวิทยาการศึกษาซึ่งเป้าหมายนี้เป็นความเชื่อที่ได้มาจากความต้องการของสังคม และผู้เรียน

2.วิเคราะห์ความต้องการของชุมชน ผู้เรียน และเนื้อหาวิชา

3.กำหนดจุดหมายของหลักสูตร

4.กำหนดวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

5.จัดโครงสร้างของหลักสูตร และนำหลักสูตรไปใช้

6.กำหนดจุดหมายของการเรียนการสอน

7.กำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน

8.เลือกยุทธวิธีการจัดการเรียนการสอน

9.เลือกวิธีการประเมินผลก่อนเรียนและหลังเรียน

10.นำยุทธวิธีการจัดการเรียนการสอนไปใช้

11.ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน

12.ประเมินผลหลักสูตร


จากแนวคิดของนักพัฒนาหลักสูตรดังกล่าวข้างต้นสรุปได้ว่า รูปแบบและกระบวนการพัฒนาหลักสูตร เป็นกระบวนการที่
ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ โดยในแต่ละขั้นตอนมีกิจกรรมเพื่อการจัดทำหลักสูตร ให้ตอบสนองกับความต้องการของผู้เรียน
สภาพการณ์ของสังคม จากรูปแบบและกระบวนการพัฒนาหลักสูตรข้างต้น ในภาพรวมมีความคล้ายคลึงกัน ต่างกันเพียงใน
รายละเอียด ผู้วิจัยได้สังเคราะห์รูปแบบ และกระบวนการพัฒนาหลักสูตร เพื่อเป็นกรอบแนวคิดทางทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
ซึ่งมีขั้นตอนหลักในการพัฒนาหลักสูตร 4 ขั้นตอนได้แก่

1.การศึกษาความต้องการของผู้เรียน สังคมชุมชน เนื้อหาวิชา รวมทั้งปรัชญาทางการศึกษา จิตวิทยาการศึกษา รวมทั้งกฎเกณฑ์ข้อระเบียบต่างๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งเป็นขั้นตอนการศึกษาสภาพทั่วไป
ก่อนการพัฒนาหลักสูตร

2.กำหนดหลักการ เป้าหมาย จุดประสงค์ของหลักสูตร การจัดเนื้อหาวิชา กิจกรรมการเรียนการสอน

3.การนำหลักสูตรไปใช้

4.การวัดผลและประเมินผล



เอกสารอ้างอิง
Oliva , Peter F. Developing the Curriculum. 3 rd ed. New York : Harper Collins Publisher , 1992.

Saylor , Galen J., Alexander , William M. & Lewis , Arthur J. Curriculum Planning for Better

Teacher and Learning. 4 th ed. New York : Holt Rinehart and Winston , 1981.

Tyler, Ralph W. Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago : University of Chicago Press, 1949
.....................................
จาก http://trat.nfe.go.th/trat/topic5_old.php?page=4

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

TOEFL

TOEFL


TOEFL ย่อมาจาก Test of English as a Foreign Language

TOEFL อ่านออกเสียงว่า โทเฟิล หรือ โทเฟล


TOEFL เป็นการทดสอบความสามารถเพื่อประเมินความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ ในการใช้ภาษาอังกฤษของผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาประจำชาติ โดยเป็นการสอบแบบมาตรฐาน ที่วัดความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาต่างชาติที่ต้องการเข้าศึกษาต่อกับสถาบันการศึกษาในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางของการเรียนการสอนโดยมีจัดการสอบเป็นแบบปรนัยเพื่อวัดความเข้าใจภาษาอังกฤษ (แบบอเมริกา)

การสอบ TOEFL ในอดีตประกอบด้วย 2 แบบคือ

1.การสอบแบบที่ใช้กระดาษในการทำข้อสอบ (Paper-Based Testing:PBT)
2.การสอบที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำข้อสอบ (Computer-Based Testing:CBT)

จนกระทั่งในปี 2005ได้เปลี่ยนแปลงการสอบให้สอบผ่านอินเตอร์เน็ต Internet-Based Testing: IBT
โดยเลิกใช้การสอบทั้ง 2 แบบไปเรื่อยๆ จนกว่าการสอบผ่านอินเตอร์เน็ตจะแพร่หลายมากขึ้นและยกเลิกไปในที่สุด

ในประเทศไทยมีการสอบแบบระบบ IBTแล้วในกรุงเทพ ส่วนที่อื่นๆยังใช้ระบบ PBT ก็จะเปลี่ยนไปใช้ระบบอินเตอร์เน็ตในไม่ช้านี้ ส่วนสาเหตุที่ต้องมีการเปลี่ยนระบบมาเป็นการสอบในระบบใหม่นั้น เพราะตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจะพบว่าการสอบ TOEFL จะมีการเปลี่ยนแปลงและมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา เพื่อลบจุดบอดบางส่วนของเด็กต่างชาติที่ต้องการเรียนต่อในต่างประเทศ

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จึงเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาการสอบ TOEFL สำหรับทั่วโลก โดย ETS (Education Testing Service) ต้นสังกัดของการจัดสอบได้อธิบายเกี่ยวกับการจัดสอบ TOEFL ระบบใหม่ดังนี้

การสอบแบบ IBT เป็นการสอบทักษะแบบบูรณาการ เป็นการสอบที่ต้องใช้ทักษะภาษาอังกฤษทั้งการพูด ฟังอ่าน และเขียนในการสอบ โดยการสอบในแต่ละส่วนจะเชื่อมโยงกันหมด ผู้สอบจะต้องตั้งใจฟังสิ่งที่เค้าพูดทั้งหมด เพราะหมายความว่าเราจะตอบพูด หรือเขียนไม่ได้เลยถ้าไม่ตั้งใจฟังตั้งแต่แรก

การสอบแบบใหม่ช่วยลบจุดด้อยของนักศึกษาต่างชาติบางคนที่ได้คะแนนสอบดีแต่ไม่สามารถสื่อสาร นำเสนองานผ่านการพูดจาเป็นภาษาอังกฤษได้ดีอย่างที่ควรเป็น การสอบครั้งใหม่นี้จึงเหมือนการจำลองการเข้าไปศึกษาจริงในสถาบันการศึกษาต่างๆที่อาจารย์ได้พูดถึงบทเรียนต่างๆและการให้การบ้านเพื่อให้ทำรายงานและนำเสนอต่อหน้าอาจารย์เรียกว่าการสอนในระบบใหม่นี้มาได้ใช้เพียงทักษะด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้นในการสอบแต่ละส่วนแต่การสอบในแต่ละส่วนในส่วนต้องใช้ทักษะอื่นด้วย เช่น การสอบข้อเขียน ต้องฟังสิ่งที่เขาพูด หรือสิ่งที่เค้าให้มาตั้งแต่เริ่มสอบจนเข้าใจเสียก่อนที่จะเขียนตอบได้ไม่ใช่ให้เขียนตามโจทย์ที่ให้มาแบบ Essay ในแบบเดิมอีก ซึ่งระบบใหม่ทำให้รับรู้ถึงทักษะทางภาษาอังกฤษของแต่ละคนอย่างแท้จริง

ในส่วนของข้อดีในการใช้ระบบอินเตอร์เน็ตเข้ามาช่วยในการสอบ อาทิ ความสะดวกในการสอบเพราะมีศูนย์สอบเพิ่มขึ้น ส่วนการสอบ Speaking จะส่งถึงศูนย์ใหญ่ได้ทันทีซึ่งหมายถึงการประเมินผลคะแนนจะสะดวกรวดเร็ว และเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด รวมถึงการสมัครสอบ และการรับผลคะแนนแบบออนไลน์นั้นง่ายดายมากขึ้น


TOEFL ทดสอบอะไรบ้าง

TOEFL จะทดสอบภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การพูด (Speaking) การฟัง (Listening) การอ่าน(Reading) และการเขียน (Writing) และในบางครั้งจะต้องผสมผสานทักษะต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อใช้ในการตอบคำถามโดยเน้นการวัดความรู้ทางภาษาอังกฤษในเชิงวิชาการ เพื่อนำความรู้ทางภาษาอังกฤษไปใช้ในการศึกษาต่อในระดับสูงโดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงครึ่งสำหรับการสอบ โดยแบ่งเนื้อหาเป็น 4 ทักษะ มีรายละเอียดคร่าวๆดังนี้

Readingเป็นทักษะที่ใช้วัดความเข้าใจของการอ่านในเชิงวิชาการของผู้สอบ โดยผู้สอบต้องตอบคำถามจากบทความ 3 -5 บทความ ในแต่ละบทจะต้องตอบคำถาม 12 – 15 ข้อ ส่วนนี้ต้องทำข้อสอบรวม 39 ข้อ ใช้เวลา 60 นาที ระดับคะแนนจะอยู่ที่ 0-30 คะแนน

Listening
เป็นทักษะที่ใช้วัดความเข้าใจในการฟังภาษาอังกฤษ ผู้สอบต้องฟังบทสนทนาในประเด็นทั่วไป 2 เรื่อง และสถานการณ์จำลองในห้องเรียน 4 เรื่องต้องตอบคำถามจากสิ่งที่ได้ยินแต่ละบทสนทนา และเล่าเรื่องที่ได้ฟัง โดยส่วนนี้ต้องทำข้อสอบ 35 ข้อใช้เวลา 60 นาที ระดับคะแนนจะอยู่ที่ 0-30 คะแนนข้อสอบแบ่งเป็น

-Academic Lecture 4 เรื่อง /24 ข้อ
-Campus Conversation 2 เรื่อง/10 ข้อ

นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลงข้อสอบไปจากเดิมบ้าง เช่น มีการนำสำเนียง Americanมาทดสอบด้วย


Writing
เป็นทักษะที่ใช้วัดความเข้าใจในการเขียนเชิงวิชาการ โดยผู้สอบต้องแสดงความสามารถในการใช้ภาษา และการคิดวิเคราะห์ การพัฒนาความคิดในประเด็นที่ได้อ่านจากข้อสอบ 2 ข้อใช้เวลา 55 นาทีระดับคะแนนจะอยู่ที่ 0-30 คะแนนข้อสอบแบ่งเป็น


คำถามที่ 1

ผู้สอบจะได้อ่านบทความทางวิชาการในเวลาประมาณ 3 นาที และฟังการบรรยายที่เกี่ยวข้องกับสิ่ง ที่ได้อ่านจากนั้นผู้สอบต้องสรุปบรรยาย หรือแสดงทรรศนะจากสิ่งที่ได้อ่าน และฟัง โดยต้องเขียน 150-220คำในเวลา 25 นาที
คำถามที่ผู้สอบจะได้อ่านประโยคสั้นๆ และตอบคำถามโดยการบรรยาย หรือแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลจากสิ่งที่ได้อ่าน โดยต้องเขียนอย่างน้อย 300 ในเวลา 30 นาที

Speakingเป็นทักษะที่ใช้วัดความเข้าใจในการพูดภาษาอังกฤษ เนื้อหาเชิงวิชาการ ผู้สอบต้องตอบคำถามด้วยการพูด รวม6ข้อ หลังจากอ่านบทความ และการฟังบรรยายในแต่ละประเด็นข้อสอบใช้เวลา 20นาที ระดับคะแนนจะอยู่ที่ 0-30 คะแนนข้อสอบ โดยแบ่งประเภทของคำถาม ดังนี้

คำถามที่ 1 และ 2
เป็นเรื่องราวที่ผู้สอบคุ้นเคย อาจเป็นประสบการณ์ หรือทัศนะส่วนตัว มีเวลาในการเตรียมตอบคำถาม 15 วินาที และมีเวลาตอบคำถาม 45 วินาที ในแต่ละข้อ


คำถามที่ 3 และ 4
ผู้สอนจะได้อ่านข้อความสั้นๆ ในประเด็นใดประเด็นหนึ่งจากนั้นจะได้ฟังบทสนทนา หรือการบรรยายใน
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้นนั้น ผู้สอนต้องตอบคำถามจากสิ่งที่ได้อ่าน และฟัง โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา
และตอบคำถามที่เหมาะสม ที่เวลาเตรียมตอบคำถาม 30 วินาที และตอบคำถาม 60 วินาทีในแต่ละข้อ

คำถามที่ 5 และ 6
ผู้สอบจะได้ฟังบทสนทนาเพื่อการวิเคราะห์ในเชิงวิชาการ หรือฟังบรรยายทางวิชาการ ผู้สอบต้องตอบคำถามจากสิ่งที่อ่าน และฟัง โดยการวิเคราะห์สรุปข้อมูลที่ได้มา และตอบคำถามที่เหมาะสม มีเวลาเตรียมตัวตอบคำถาม 20 วินาที และมีเวลาตอบคำถาม 60 วินาที ในแต่ละข้อ


วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การเขียนบทคัดย่อวิชาการเขียนความเรียงขั้นสูง: กรณีศึกษาครูณัฏฐ์ชรินท์ ตลอดพงษ์






















มาเขียนบทคัดย่อ ในวิชาการเขียนความเรียงขั้นสูงกันเถอะ

คณะครูผู้สอนวิชาการเขียนความเรียงขั้นสูง ตามหลักสูตรมาตรฐานสากลนั้นมักจะถกเถียงกันเรื่อง การเขียนบทคัดย่อในวิชาการเขียนความเรียงขั้นสูง ผู้เขียนจึงขอแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับหลักการเขียนบทคัดย่อและตัวอย่างดังต่อไปนี้ค่ะ

บทคัดย่อ (Abstract) หมายถึง ส่วนที่แสดงเนื้อหาสำคัญของเอกสารโดยย่อ หรือ ข้อเขียนที่สรุปความของรายงานหรือบทความอย่างกะทัดรัดชัดเจนโดยมีใจความ ครอบคลุมเนื้อหาสำคัญทั้งหมด นั่นเอง
ลักษณะของบทคัดย่อ นั้น เมื่อผู้อ่านๆบทคัดย่อจบแล้ว ต้องมองภาพรวมของงานวิจัยทั้งเล่มออก ส่วนรายละเอียดนั้น ผู้อ่านสามารถติดตามอ่านได้ในบทความงานวิจัย

ประเภทของบทคัดย่อ
บทคัดย่อมี 2 ประเภท คือ
1. บทคัดย่อประเภทให้ข้อมูลความรู้ (Informative Abstract) เขียนเพื่อรายงานผลการศึกษา หรือบทสรุปที่ผู้ใช้ต้องการอย่างเพียงพอ เพื่อหลีกเลี่ยงความจำเป็นในการอ่านเอกสารต้นฉบับ
2. บทคัดย่อประเภทพรรณนา (Indicative of Descriptive Abstract) เขียน เพื่อชี้แนะข้อเท็จจริงที่สำคัญที่สุดในเอกสาร โดยปราศจากรายงานถึงผลการศึกษา ค้นคว้า หรือสรุป เพื่อให้ผู้อ่านใช้ประกอบการตัดสินใจ ว่าจะต้องอ่านหรือศึกษาเอกสารต้นฉบับหรือไม่ โดยทั่วไปนิยมใช้เขียนเพื่อสรุปเอกสารที่นำเสนอ หรือทัศนคติที่กว้างขวาง เช่น เอกสารด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือบทวิจารณ์ เป็นต้น

หลักการเขียนบทคัดย่อ มีหลักสำคัญ 3 ประการ ดังนี้

1. มีความสั้น กะทัดรัดและกระชับ (Concision) เขียนเฉพาะสาระที่เป็นประเด็นใจความสำคัญของเอกสาร โดยใช้สำนวนกะทัดรัด มีความกระชับ ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย ซ้ำซ้อน
2. มีความถูกต้อง (Precision) คือ สามารถถ่ายทอดประเด็นสำคัญของเอกสารได้อย่างถูกต้อง ตามความหมายเดิมของเอกสารต้นฉบับ ไม่ควรมีการตีความหรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ อันทำให้ผู้อ่านเข้าใจสาระของเอกสารต้นฉบับผิดไป
3. มีความชัดเจน (Clarity) คือมีการ เรียบเรียงถ้อยคำเพื่อเสนอในบทคัดย่อจะต้องสื่อความหมายให้เข้าใจชัดเจน โดยใช้รูปประโยคที่สมบูรณ์ไม่ใช่เขียนกระท่อนกระแท่นเป็นคำ ๆ

ที่มา
กลุ่มนักศึกษาปริญญาโท ยุทธศาสตร์การพัฒนารุ่นที่ 5. หลักการเขียนบทคัดย่อ. online ,
http://www.oknation.net/blog/ma-sd52/2009/08/11/entry-2
วัชรา ทองหยด. ประเด็นร้อนอีกประเด็นในการเขียนบทคัดย่อตามความเข้าใจ
ของผู้เขียน. online ,http://gotoknow.org/journals/watcha/entries/5534.




ตัวอย่างบทคัดย่อ

(คลิกที่นี่ค่ะ)

ทีนี้มาลองเขียนบทคัดย่อกันนะคะดูตามตัวอย่างค่ะ

เข้าชม : 6258

นำเสนอโดย : ณัฏฐ์ชรินท์ ตลอดพงษ์
โรงเรียนมัธยมตระการพืชผล
สพม.อุบลราชธานี -อำนาจเจริญ เขต 29
อยู่ในขั้น : ปรมาจารย์

แชร์ไปที่ Facebook3
..........................................................

คัดจากเว็บไซต์ http://www.sahavicha.com/?name=test&file=readtest&id=2195
เพื่อการศึกษา

ตัวอย่างการเขียนหน่วยการเรียนรู้ ความเรียงขั้นสูง ม.๑

หน่วยการเรียนรู้ ความเรียงขั้นสูง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
(Extended-Essay )


มาตรฐานการเรียนรู้ สาระที่ ๒ การเขียน

มาตรฐานที่ ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราว ในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ


ตัวชี้วัดที่ ๒. เขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำถูกต้องชัดเจน เหมาะสมและสละสลวย
๘. เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าและโครงงาน


คำอธิบายรายวิชา

เขียนชื่อเรื่อง และกำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการศึกษา เขียนคำนำ โดยใช้ภาษาที่สื่อความหมายชัดเจน นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นลำดับขั้นตอน ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเขียนบทสรุป ในส่วนของเนื้อหาการเขียนบทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ เขียนสารบัญ นำเสนอข้อมูลประกอบการอธิบายด้วย แผนที่ แผนภาพ แผนภูมิ ภาพประกอบและตาราง เขียนเอกสารอ้างอิง บรรณานุกรม และวิธีการนำเสนอการอ้างอิงถ้อยคำหรือความคิดเห็นอย่างถูกต้อง



หัวข้อเนื้อหาวิชา
๑. ความหมายและหลักการเขียนความเรียงขั้นสูง
๑. ความหมายของความเรียงขั้นสูง
๒. การพัฒนาทักษะการเขียน
๓. หลักการเรียบเรียงข้อความ

๒. หลักการเขียนความเรียงขั้นสูง
๑. การใช้คำและความหมายของคำ
๒. การใช้ระดับภาษาในการเขียน
๓. การใช้คำบุพบทและคำเชื่อมความ
๔. การใช้คำลักษณนาม

๓. องค์ประกอบของการเขียนความเรียงขั้นสูง
๑. การเขียนคำนำ
๒. การเขียนเนื้อเรื่อง
๓. ความสำคัญและที่มาของโครงาน
๔. วัตถุประสงค์ของโครงงาน
๕. สมมติฐานของโครงงาน
๖. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๗. ภาคผนวก



การเขียนความเรียงขั้นสูง (Extended Essay)

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดว่า เป็นการเขียนในเชิงวิชาการโดยใช้ภาษาอย่างถูกต้อง เนื้อหามุ่งเน้นเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ใช้สำหรับการเขียนรายงาน การวิจัย หรือการทำโครงงานของนักเรียนประกอบด้วย วิธีการเขียนชื่อเรื่อง การกำหนดประเด็นปัญหา การเขียนคำนำ ข้อมูลสารสนเทศ การใช้ภาษาที่สื่อความหมายชัดเจน นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นลำดับขั้นตอน ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเขียนบทสรุป
ในส่วนของเนื้อหาการเขียนบทคัดย่อ การเขียนกิตติกรรม ประกาศ การเขียนสารบัญ การนำเสนอประกอบการอธิบายด้วย แผนที่ แผนภาพ แผนภูมิ ภาพประกอบและตาราง การเขียนเอกสาร อ้างอิง บรรณานุกรม รวมทั้งวิธีการนำเสนอการอ้างอิงถ้อยคำหรือความคิดเห็นอย่างถูกต้อง
ความเรียงขั้นสูงเป็นการเขียน เพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้เรียบเรียงมีความรอบรู้ในทางวิชาการ สามารถนำประเด็นปัญหาของโครงงาน อันเป็นที่มาของการทำงานวิจัยในอนาคตต่อไป การเขียนจึงต้องใช้เทคนิค กระบวนการด้วยภาษาเชิงวิชาการขั้นสูงได้อย่างดี

การพัฒนาทักษะการเขียนความเรียงขั้นสูง
๑. การใช้คำ การใช้คำต้องใช้ให้ถูกต้องตรงตามความหมายของคำนั้นๆ เพื่อทำให้การเขียนหรือการพูดสื่อสารไปยังผู้อื่นได้ตามที่ต้องการ คือเกิดความเข้าใจที่ตรงกัน งานที่ทำบรรลุผลได้ง่าย ผู้ที่ใช้ภาษาได้ถูกต้องและดีทั้งการเขียนและพูดนั้น จะสร้างพลังทางภาษาให้เกิดขึ้นและได้รับความเชื่อถือกันทั่วไป การใช้คำที่ถูกจะสื่อความได้ชัดเจนและบรรลุผลตามที่ต้องการ หรือถ้าสื่อความได้ก็จะไม่มีความชัดเจน แต่ถ้าใช้ผิดความหมายจะไม่สื่อความ ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ เช่น หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งพาดหัวข่าวว่า
เด็กไทยกินเรียบภาษาไทยโอลิมปิก คำว่า กินเรียบ ความหมายตามพจนานุกรมฯ หมายถึง กินหมด ชนะหมด ในประโยคนี้หมายถึง ชนะทุกรายการ เป็นคำศัพท์ใช้เฉพาะกลุ่ม ถ้าคนที่ไม่รู้ความหมายจะไม่เข้าใจว่า ทำไมเด็กไทยจึงกินเรียบ แต่ถ้าใช้คำถูกต้องก็จะเป็นว่า เด็กไทยชนะการแข่งขันภาษาไทยโอลิมปิกทุกรายการ

นอกจากนั้นยังรวมไปถึงการใช้คำที่ไม่สอดคล้องกับความหมายตามบริบทหมายถึง คำหรือข้อความแวดล้อมหรือข้างเคียงที่ช่วยให้เข้าใจความหมายของคำบางคำ เช่น

"สมจิตรกลับโคราชชาวบ้านแตกตื่นชื่นชมความสามารถ คำว่า แตกตื่น หมายถึงแห่กันไปด้วยความตื่นเต้นตกใจหรืออยากรู้อยากเห็น"

ประโยคที่ใช้คำถูกต้อง คือ สมจิตรกลับโคราชชาวบ้านตื่นเต้นชื่นชมความสามารถ
พังสารภีช้างในปางช้างจ.อยุธยาคลอดลูกแล้ว คำว่า คลอดลูก เป็นคำกริยาหมายถึง ออกหรือออกลูก ใช้แก่คนทั่วไป ภายหลังใช้ว่า คลอด ส่วนสัตว์ทั่วไปจะใช้ว่า ออก แต่ช้างเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ต้องใช้ว่า ตกลูก

ประโยคที่ใช้คำถูกต้อง คือ พังสารภีช้างในปางช้างจ.อยุธยาตกลูกแล้ว


หรือการใช้สรรพนามที่ไม่ถูกต้อง เช่น ฉันสงสารเค้าเหลือเกิน แมวตัวนี้อุตส่าห์เลี้ยงมา ๕ ปีเค้าเสียชีวิตแล้ว แมวเป็นสัตว์ดังนั้นสรรพนามที่ใช้ต้องเป็น มัน ส่วนคำกริยาเสียชีวิตของสัตว์ต้องใช้ว่า ตาย

ประโยคที่ใช้คำถูกต้องคือ ฉันสงสารมันเหลือเกิน แมวตัวนี้อุตส่าห์เลี้ยงมา ๕ ปี มันตายแล้ว


แบบฝึกเรื่องการใช้คำให้ถูกต้อง

จงพิจารณาประโยคต่อไปนี้ว่าใช้คำใดที่ใช้ไม่ถูกต้องเหมาะสมแล้วเปลี่ยนให้ถูกต้อง

๑. เรามีเพลงที่เกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์เยอะที่สุด …………………………………………………………………………………………………………..
๒. ไก่ส่งเสียงร้องเจื้อยแจ้วแต่เช้าตรู่ทุกวัน …………………………………………………………………………………………………………..
๓. พี่สาวของธงชัยออกลูกเป็นชายเมื่อวานนี้ …………………………………………………………………………………………………………..
๔. ส.พ.ฐ. คลอดเกณฑ์การรับสมัครนักเรียนชั้นม.๑ และม.๔แล้ว …………………………………………………………………………………………………………..
๕. เขารู้สึกเซ็งกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจนกลายเป็นปัญหาที่ไม่รู้จักจบสิ้น …………………………………………………………………………………………………………..
๖. คุณตาและคุณยายทำพระพุทธรูปมอบแก่วัดใกล้บ้าน …………………………………………………………………………………………………………..
๗. สุรพงษ์ให้เงินทุนการศึกษาแก่นักเรียนชั้น ม.๑ ๓,๐๐๐ บาท
…………………………………………………………………………………………………………..
๘. สมใจนำอาหารไปเลี้ยงพระภิกษุสงฆ์เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา …………………………………………………………………………………………………………..
๙. คุณพ่อของสมศักดิ์ทำศาลาที่พักผู้โดยสารที่หน้าปากซอย …………………………………………………………………………………………………………..
๑๐. อากาศเดือนเมษายนปีนี้ร้อนจัดมากสมชายจึงติดแอร์ลดความร้อน …………………………………………………………………………………………………………..

แหล่งที่มา: ศักดิ์ แวววิริยะ เอกสารประกอบการเรียนภาษาไทย ท21102 ส.ก.น.

คัดมาจาก: http://www.skoolbuz.com/library/content/2443

เพื่อการศึกษา ด้วยความขอบคุณค่ะ

วิชาการสร้างองค์ความรู้

TOK เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้และมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ความรู้ที่ตนได้รับ และตอบสนองความรู้


วิชา การสร้างองค์ความรู้ หรือ วิชาทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge:TOK) เป็นอีกหนึ่งวิชาที่ โรงเรียนในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล จะต้องเปิดเป็นรายวิชาเพิ่มเติมในโครงสร้างหลักสูตร ดร.เฉลิม ฟักอ่อน ได้กรุณาให้รายละเอียด เกี่ยวกับวิชาทฤษฎีความรู้ และวิธีการวัดประเมินผล ดังนี้

Theory of knowledge(TOK) เป็นสาระ/วิชาเกี่ยวกับ วิชาการเกิดความรู้(Way of knowing)ของแต่ละบุคคล เช่น การมีความรู้หรือความรู้เกิดขึ้นจากความรู้สึก(Sense perception) จากการหาเหตุผล(Reason) จากอารมณ์/ภาษา/น้ำเสียง(Tone)/สัญลักษณ์(Symbol)/ชื่อเรียกต่าง ๆ(Nomencrature) -วิชาความรู้ด้านต่าง ๆ(Area of knowledge) เช่น คณิตศาสตร์(Mathematics) วิทยาศาสตร์(Natural science) ประวัติศาสตร์(History) ศิลปะและจริยธรรม/ศีลธรรม(Arts and Ethics)

โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนศึกษาความแตกต่างของธรรมชาติ และวิธีการหาความรู้ของแต่ละบุคคล การอธิบายความรู้ของแต่ละคน และการศึกษาปัญหาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการหาความรู้ เช่น อาจจะตั้งคำถามว่า จะเชื่อได้อย่างไรว่าวิธีการทางวิทยาศาสตร์(Scientific method) เป็นวิธีการหาความรู้หรือเป็นวิธีการได้รับความรู้ที่ถูกต้องหรือเชื่อถือได้? เพราะเหตุใดเราจึงต้องมีความรู้ทางประวัติศาสตร์? เราจะใช้ชีวิตอย่างไร? – วิชาธรรมชาติของความรอบรู้(Nature of knowing) โดยเรียนรู้ว่าสาระสนเทศ ข้อมูล ความเชื่อ ความศรัทธา ความคิดเห็น ความรู้ และภูมิปัญญา ว่าแตกต่างกันอย่างไร –วิชาชุมชนแห่งการเรียนรู้(Knowledge communites) ชุมชนแต่ละชุมชนมีอะไรบ้างที่เป็นองค์ความรู้ หรือเราควรจะตรวจสอบความเชื่อเรื่องอะไรบ้างในชุมชน –วิชาแหล่งความรู้ และการใช้ความรู้ของผู้รู้(Knowers’ source and applications of knowledge) เช่น อาจจะศึกษาว่า อายุ การศึกษา วัฒนธรรม และประสบการณ์ มีอิทธิพลต่อการเลือกแหล่งเรียนรู้และข้อมูลสารสนเทศของความรู้ที่สนใจอย่างไร? การที่เรารู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือรู้การทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราจำเป็นต้องมีองค์ความรู้หรือไม่? การพิสูจน์/ยืนยันความรู้ของเรา(Justifications of knowledge claims) เพราะเหตุใดจึงต้องมีการตรวจสอบ/ประเมินองค์ความรู้ที่ตนมีอย่างมีหลักเกณฑ์? เป็นไปได้หรือไม่ว่า ตรรกะ(Logic) การรับรู้ด้วยความรู้สึก(Sensory perception) การเปิดเผย/คำพูด/คำสอน(Revelation) ความเชื่อ/ความศรัทธา(Faith) ความจดจำ(Memory) เสียงส่วนใหญ่(Consensus) ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ(Authority) การหยั่งรู้(Intuition) และการตระหนัก(Self-awareness) เป็นหลักเกณฑ์การพิสูจน์/ตรวจสอบความรู้ต่าง ๆ ที่เชื่อถือได้? การใช้การเกาะเกี่ยวเชื่อมโยงของสิ่งต่าง ๆ(Coherence) ความสอดคล้องกัน(Correspondence) การทำงานในสภาพจริง/การปฏิบัติ(Pragmatism) และการยอมรับเป็นส่วนใหญ่มา เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบความจริงความถูกต้องของความรู้

TOK เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้และมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ความรู้ที่ตนได้รับ และตอบสนองความรู้/ปัญหาที่สำคัญ(Respond to knowledge issues)ในบริบทต่าง ๆ ที่ต้องใช้หลากหลายสาขาของความรู้(Different areas of knowledge) หลากหลายวิธีการรอบรู้(Ways of knowing) และหลากหลายวิธีในการนำเสนอแนวคิด(Expressing ideas) อย่างถูกต้อง(Accurately) และด้วยความซื่อสัตย์(Honestly) ตลอดจนยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เป็นประสบการณ์ตรงของผู้เรียนโดยจากการทำงาน TOK ที่ตนสนใจ

การทำงานในการเรียนสาระ/วิชา TOK มุ่งหวังให้ผู้เรียนมีการวางแผนการทำงาน และทำงานตามเป้าหมายที่ผู้เรียนกำหนดโดยอาจจะเป็นงานเดี่ยวหรืองานกลุ่ม(ไม่ควรเกิน 3 คน) หัวข้อเรื่องที่ศึกษาควรเป็นหัวข้อเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับชีวิตจริงที่เป็นความสนใจของผู้เรียน

การประเมิน TOK ประเมิน 2 ส่วน คือ ประเมินผลงานการเขียน/รายงานการศึกษา(Essay) และประเมินการนำเสนอผลงาน(Presentation) ซึ่งผลงานการเขียนที่เป็นองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาด้วยประสบการณ์จริงของผู้เรียนที่ผู้เรียนนำเสนอนั้น ควรเป็นผลงานที่มีเนื้อหาสาระที่เป็นความถูกต้อง เป็นความจริงมีเหตุผล มีหลักการทฤษฎีรองรับ เป็นเรื่องที่น่าสนใจและนำเสนอในลักษณะที่ชักชวนหรือเปิดให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ หรือแสดงความคิดเห็นได้ จากบุคคลอื่นหรือบุคคลทั่วไป หรือสาธารณชนที่ได้อ่านหรือฟังการนำเสนอ ว่าเห็นด้วยส่วนใดขององค์ความรู้ที่นำเสนอ และเห็นด้วยเพียงใด ในการนำเสนอผลงาน(Presentation)นั้น ผู้เรียนต้องแสดงไห้เห็นว่า เรื่องที่ทำมีความสำคัญ(Significant)อย่างไร เรื่องที่นำเสนอเกี่ยวข้องกับความรู้(Knowledge)ต่าง ๆ อย่างไร โดยผู้เรียนต้องบรรยายให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว พร้อมทั้งนำเสนอความรู้เพิ่มเติมที่เป็นความคิดหรือแนวคิดต่าง ๆ

ในมุมมองที่หลากหลาย ครูที่ปรึกษาควรช่วยให้ผู้เรียนเลือกหัวข้อเรื่องที่ศึกษา และช่วยให้ผู้เรียนเลือกแนวคิด(Approach)ที่เหมาะสมสอดคล้องกับเรื่องที่ศึกษา การนำเสนอผลงาน(Presentation)ตามหลักสากลจะกำหนดให้ผู้เรียนนำเสนอเรื่องละไม่เกิน 10 นาที โดยผู้เรียนจะนำเสนอได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น โต้วาที(Debate) เกมส์ skits สัมภาษณ์ ฯลฯ ยกเว้นนำเสนอด้วยการอ่านเอกสาร(ห้ามนำเสนอด้วยการอ่านเอกสาร ต้องนำเสนออย่างเป็นธรรมชาติ) ซึ่งจะประเมินได้ว่าผู้เรียนได้ทำงานนั้นจริงหรือไม่ มีหลักวิชาอะไรที่เป็นความรู้สนับสนุน ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ของเรื่องที่สนใจได้หรือไม่"

วิชาเพิ่มเติม ที่กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนแก่งคอยได้จัดลงในโครงสร้างหลักสูตร คือ วิชา การอ่านเพื่อการสร้างองค์ความรู้ โดยครูตั๊ก เขียนคำอธิบายรายวิชา ไว้ว่า

"ศึกษาหาความรู้จากหนังสือและสื่อต่างๆ จาก แหล่งการเรียนรู้อย่าง กว้างขวาง การใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ การเลือกใช้สารสนเทศประเภทต่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้ตามความสนใจ ความสามารถและความถนัดของตน บอกช่องทางการรับรู้ความรู้ สาขาของความรู้ องค์ประกอบต่างๆของความรู้ที่ได้รับ โดยใช้กระบวนการอ่าน การเขียน การฝึกปฎิบัติ กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการเรียนทางภาษา เพื่อให้ผู้เรียน รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน รักและภูมิใจในความเป็นไทย"

เขียนคำอธิบายรายวิชาไว้อย่างนี้ คงสนองตอบศักยภาพและองค์ความรู้ของผู้เรียน ให้ก้าวไกลทัดเทียมมาตรฐานสากลได้ในระดับหนึ่ง ค่ะ...ครูตั๊ก โรงเรียนแก่งคอย


การเขียนความเรียงขั้นสูง:กรณีศึกษาครูตั๊ก

บันทึกนี้ผู้เขียนได้คัดมาจากบันทึกของครูตั๊ก โรงเรียนแก่งคอย
เนื่องด้วยมีความสนใจในการสร้างหลักสูตรการเขียนความเรียงขั้นสูง (Extended Essay)
โดยเป็นหลักสูตรเฉพาะของโรงเรียนมาตรฐานสากล (หนึ่งในสี่ ของสาระเพิ่มเติมที่โรงเรียนต้องจัดทำ)
จึงขออนุญาตครูตั๊กและสมาชิกที่ร่วมแสดงความคิดเห็นและแสดงความประสงค์ที่จะขอศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม     ทั้งนี้เพื่อเป็นการศึกษา เรื่อง "กระบวนการสอนเขียนความเรียงขั้นสูง" อย่างละเอียดต่อไป    ด้วยความขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ค่ะ




การเขียนความเรียงขั้นสูง

เป็นการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเขียนและเรียบเรียงความคิดข้อคิดเห็น การให้ข้อเสนอเชิงวิชาการโดยใช้ภาษาอย่างถูกต้องเมื่อวันที่ 2มีนาคม 2553 ครูตั๊กได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมอบรม โรงเรียนมาตรฐานสากล ที่โรงเรียนปทุมวิไล จังหวัดปทุมธานี การไปครั้งนี้ ไปแบบไม่มีข้อมูลใดๆทั้งสิ้น ทราบเพียงคร่าวๆว่า โรงเรียนแก่งคอย เป็น 1 ใน 500 โรงเรียน ที่กระทรวงศึกษาธิการต้องการยกระดับให้เป็นโรงเรียนดีมีมาตรฐานสากล

เมื่อได้รับฟังข้อมูลต่างๆ แล้ว จึงทราบว่าภาระงานที่ต้องทำคือ จะขับเคลื่อนอย่างไรให้ ผู้เรียนจะมีศักยภาพเป็นพลโลก (World Citizen) ที่อยู่ภายใต้บริบท ล้ำเลิศวิชาการ สื่อสารอย่างน้อย 2 ภาษา ล้ำหน้าทางความคิด ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์การกล่อมเกลาผู้เรียนให้พร้อมใจกันรับผิดชอบและร่วมอนุรักษ์โลก

ภาระงานที่ได้รับมอบหมายอีกประการหนึ่งก็คือ การพัฒนาหลักสูตรและการสอน ขึ้นใหม่ ให้เทียบเคียงกับมาตรฐานสากล โดยจะต้องปรับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และจัดทำแผนกลยุทธ์กันใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดทำสาระเพิ่มเติม 4 เรื่อง ซึ่งได้แก่ ทฤษฎีความรู้ การเขียนความเรียงขั้นสูง กิจกรรมโครงงาน และ โลกศึกษา ท่านวิทยากรชี้แจงว่า แต่ละกลุ่มสาระต้องพิจารณาว่า ในรายวิชาทั้ง 4 เรื่องนั้น กลุ่มสาระใดจะรับเป็นเจ้าภาพ ก็ให้จัดทำเป็นรายวิชาเพิ่มเติมเข้าไป ดูท่าทีแล้ว กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่ครูตั๊กสังกัดอยู่คงจะหนีไม่พ้น วิชาความเรียงขั้นสูง เมื่อไปศึกษาเอกสารจึงพบว่า สาระการเรียนรู้ การเขียนความเรียงขั้นสูง เป็นการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเขียนและเรียบเรียงความคิดข้อคิดเห็น การให้ข้อเสนอเชิงวิชาการโดยใช้ภาษาอย่างถูกต้อง

เนื้อหาเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ใช้สำหรับการเขียนความเรียงขั้นสูง (Extended- Eassay) ได้แก่ วิธีการเขียนชื่อเรื่อง การกำหนดประเด็นปัญหา การเขียนคำนำ ข้อมูลสารสนเทศ การใช้ภาษาที่สื่อความหมายชัดเจน นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นลำดับขั้นตอน เป็นที่น่าเชื่อถือ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการเขียนบทสรุป เนื้อหาเกี่ยวกับการเรียบเรียงบทความ การเขียนบทคัดย่อ การเขียนกิตติกรรมประกาศ การเขียนสารบัญ การนำเสนอประกอบการอธิบายด้วย แผนที่ แผนภาพ แผนภูมิ ภาพประกอบและตาราง การเขียนเอกสารอ้างอิง บรรณานุกรม รวมทั้งวิธีการนำเสนอการอ้างอิงถ้อยคำหรือความคิดเห็น

เห็นขอบข่ายเนื้อหาวิชาแล้ว ก็น่าหนักใจ เพราะเหมือนกับการเขียนผลงานวิจัย หรือรายงานวิจัยนั่นเอง หนักหนาสาหัสมิใช่เล่นเลย

แต่เพื่อ ความเป็นมาตรฐานสากลของโรงเรียนแก่งคอย งานนี้ ครูตั๊ก สู้ตายค่ะ !!
....................................................................

คัดมาจาก http://www.gotoknow.org/blog/wipawann/342452?page=1

....................................................................


ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องที่แสดงความคิดเห็น

1.ครูผู้ร่วมชะตากรรม [IP: 202.143.128.135]
13 มีนาคม 2553 12:33
#1903686

นี่ขนาดว่าครูตั๊กเป็นครูภาษาไทยยังรู้สึกหนักใจแล้วดิฉันเป็นครูภาษาต่างประเทศล่ะคะ ตั้งแต่ไปรับหลักการมา 2 ครั้ง 5 วัน  รวมกับศึกษาจากเอกสารที่โหลดจากอินเทอร์เนต บอกได้คำเดียวว่า เป็นไปได้ยากมากสำหรับเด็กในอำเภอเล็ก ๆ ในต่างจังหวัด มันใช่ทุกขลาภหรือเปล่านี่ !!!!!!!!!!!!!!!!!!!!

2.คุณครูตั๊ก (ความเคลื่อนไหวล่าสุด)
19 มีนาคม 2553 21:14
#1914960

ครู อ. คะ ถ้าจะบูรณาการความเรียงขั้นสูงกับโลกศึกษา ก็ย่อมทำได้ค่ะ เพราะเนื้อหาของความเรียงขั้นสูง คือ การเขียนรายงานจากการค้นคว้า หากครูผู้สอนและนักเรียน จะร่วมกันกำหนดหัวข้อ โดยใช้เนื้อหาของโลกศึกษา ก็จะทำให้บูรณาการสองวิชานี่เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน บางทีอาจจะได้ วิชาสร้างองค์ความรู้ มาอีกวิชาหนึ่งด้วยนะคะ เพราะในเนื้อหา นั้น นักเรียนสามารถบอกช่องทางการค้นคว้าหาความรู้ บอกคุณค่า ประโยชน์ของเรื่องต่างๆได้ การจัดการเรียนการสอนในลักษItนี้ จะคล้ายๆกับ Storyline Approach ค่ะ ศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติมจาก

http://www.edu.buu.ac.th/journal/Journal%20Edu/Link_Jounal%20edu_14_1.pdf

เป็นกำลังใจให้ ครุผู้ร่มชะตากรรมและครูโอ๋ ค่ะ เรา จะก้าวไป พร้อมๆกันนะคะ

..........................................................


ครูเด็กดี [IP: 202.129.52.107]
25 มีนาคม 2553 10:32
#1923367

ได้รับมอบหมายให้สอนวิชานี้เหมือนกัน ไม่รู้จะทำอย่างไร มันเหมือนวิชาการเขียนรายงานจากการค้นคว้าหรือไม่

ช่วยบอกด้วยค่ะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ
...........................................................


ครูน้องใหม่
[IP: 180.180.59.13]
28 มีนาคม 2553 20:33
#1928963

คุณครูตั๊กค่ะ....พอจะมีเอกสารหรือแหล่งข้อมูลการเขียนความเรียงชั้นสูงบ้างไหมค่ะ

จะต้องสอนแล้วเป็นน้องใหม่ค่อนข้างลำบากใจมากๆ ยังไงขอรบกวนหน่อยนะคะ
...........................................................

ครูอยุธยา [IP: 125.26.1.174]
31 มีนาคม 2553 22:36
#1933425

ได้รับมอบหมายให้สอนความเรียงขั้นสูง (ระดับประถม) เช่นกันค่ะ ขอตัวอย่างโครงสร้างหลักสูตร คำอธิบายรายวิชา และแนวการสอนบ้างนะคะ คุณครูตั๊ก ขอบคุณค่ะ
............................................................

ครูไทย [IP: 119.42.68.140]
01 เมษายน 2553 15:13
#1934175

ถึง ครูตั๊ก

ได้รับมอบหมายให้สอนวิชานี้เช่นกันค่ะ

รบกวนขอดูตัวอย่าง โครงสร้างหลักสูตร คำอธิบายรายวิชา และแนวการสอนบ้างค่ะ

หนักใจมากเลย ขอบคุณมาล่วงหน้า
............................................................

ครูอดุลยภาคย์ [IP: 110.164.233.99]
07 เมษายน 2553 00:01
#1942680

ผมตลกยิ่งกว่านะครับ คือไม่ได้ไปอบรม ไม่รู้เรื่องมาก่อน ไม่มีรายชื่อเกี่ยวข้องในคำสั่งหางว่าว แต่ต้องทำหน้าที่เขียนเอกสารเพื่อให้ครูทั้งโรงเรียน 145 คน อ่าน เเละเขียนคำอํธิบายรายวิชา กำหนดเช่วโมงสอน ทั้ง 4 สาระ เลย ตลกมากๆ ผมก็ทำใกล้เสร็จแล้วครับ ก็ใช้ทั้งการค้นคว้า และวิชาประดาน้ำ ใครอยากได้ก็ส่งเมล์มาไว้นะครับ แต่ก็กรุณามีอะไรมาแลกเปลี่ยนกันก็ดี

ครับ ผม อดุลยภาคย์ คำเพราะ สอน ป ๖ รร อนุบาลขอนแก่นครับ แอด MSN ไว้ก็ได้นะครับ ตอนนี้ทำต่อก่อนครับ เขาต้องการเอางานก่อนเช้า
...........................................................

ครูดุ่ย [IP: 118.172.87.152]
09 เมษายน 2553 14:42
#1946312

เนื่องจากได้รับมอบหมายให้สอนรายวิชานี้ แต่ไม่รู้ว่าต้องสอนอะไรบ้าง เท่าที่อ่านน่าจะเกี่ยวกับภาษาไทย แต่นี่ทำไมให้ครูคอมมาสอนวิชานี้ก็ไม่ทราบ พอดีอ่านแล้วเจอความเห็นของ ครูอดุลยภาคย์ จึงอยากได้ข้อมูลมาศึกษา แต่ไม่รู้จะเมล์ไปที่ไหน จึงขออีเมล์ด้วยนะคะ
..............................................................

ครูน้องใหม่ [IP: 118.172.87.152]
09 เมษายน 2553 14:48
#1946319

ถึง ครูตั๊ก

ขอความกรุณาส่งข้อมูลเกี่ยวกับรายวิชานี้ให้ด้วยนะคะ เพราะตอนนี้งงเป็นไก่ตาแตก ว่าจะเอาอะไรไปสอนนักเรียนดี มันเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อย่างไร ทำไมต้องให้ครูคอมมาสอนวิชานี้ด้วย ยังไงช่วยส่งแนวการสอนมาให้ดิฉันด้วย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ครูน้องใหม่อย่างดิฉันด้วยนะคะ ก่อนที่จะท้อไปซะก่อน กับอาชีพครู

duidui50@hotmail.com (ครูคอมมัธยม จังหวัดพะเยา)
.................................................................

ครูเอ้ [IP: 202.139.223.18]
10 เมษายน 2553 22:21
#1948159

หากมีสิ่งดีๆเกียวกับการสอนแบบนี้ มาร่วมแลกเปลี่ยนวิธีการคิด การทำร่วมกันก็ดีนะคะ ส่วนโรงเรียนครูเอ้นั้นกลุ่มสาระฯไทยจะร่วมกันกับหมวดต่างประเทศร่วมกันออกแบบร่วมกันร่วมทั้งTAK แต่ไม่รู้ว่าจะออกมาแนวไหน .
................................................................

คุณครูตั๊ก (ความเคลื่อนไหวล่าสุด)
11 เมษายน 2553 16:19
#1949158

เพื่อนครูที่รักคะ ตอนนี้ครูตั๊กและเพื่อนครูก็กำลังจัดทำคำอธิบายรายวิชาและหน่วยการเรียนอยู่ค่ะ ซึ่งต้องรับผิดชอบทั้งมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยแบ่งออกเป็น 6 รายวิชาค่ะ สอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3 รายวิชา และมัธยมศึกษาตอนปลายอีก 3 รายวิชา บางโรงเรียน จัด 12 รายวิชา ซึ่งส่วนนี้ ขึ้นอยู่กับครูในกลุ่มสาระฯของแต่ละโรงเรียนจะตกลงกันค่ะ โครงสร้างรายวิชา ความเรียงขั้นสูง ที่กลุ่มสาระการเรียนรู้ของครูตั๊กทำไว้ และขอนำมาแลกเปลี่ยนกัน มีดังนี้ค่ะ

มัธยมศึกษาปีที่ 1 วิชาความเรียงขั้นสูง 1

มัธยมศึกษาปีที่ 2 วิชาความเรียงขั้นสูง 2

มัธยมศึกษาปีที่ 3 วิชาความเรียงขั้นสูง 3

ตัวอย่างคำอธิบายรายวิชา วิชาความเรียงขั้นสูง 3 รายวิชาเพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 1 ชั่วฌมง/ภาค 0.5 หน่วยกิต

"ศึกษาความหมาย และมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการค้นคว้า การใช้สารสนเทศ แหล่งและทรัพยากรสารสนเทศ การเลือกสรร สื่อการอ่าน การสืบค้นข้อมูล การเขียนรายงานทางวิชาการ ตามรูปแบบการเขียน โดยใช้กระบวนการอ่าน การเขียน เพื่อให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่าน รักการเขียน เห็นคุณค่าของการอ่าน มุ่งมั่นในการทำงานใฝ่เรียนรู้ และศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง" เพื่อนๆ คงจะพอได้ประโยชน์บ้างนะคะ หากเขียนเสร็จเต็มรูปแบบเมื่อไหร่ คงจะได้นำมาแลกเปลี่ยนกันอีกในโอกาสต่อไปค่ะ

ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆคนค่ะ

..................................................................

รัชนี สุวรรณนัท์ [IP: 125.26.151.77]
15 เมษายน 2553 18:39
#1955722

เรียน คณครูตั๊กค่ะ

กำลังศึกษาค้นคว้าเรื่องความเรียงขั้นสูงค่ะ พอดีอ่านพบจากคุณครูตั๊ก ดีใจจังค่ะรบกวนคุณครูตั๊ก่งขอมูลที่ e mail rat.sw06@hotmal.com ด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ
....................................................................

ครูตุ๊ [IP: 118.172.108.214]
15 เมษายน 2553 21:12
#1955930

ปี 2554 คงจะได้สอนวิชานี้เหมือนกันขอหลักสูตรนี้ด้วยคนนะคะ ขอบคุณค่ะ
....................................................................

จักรพันธ์ คำแหงพล [IP: 124.120.172.202]
17 เมษายน 2553 10:23
#1957823

รบกวนช่วยส่งข้อมูลวิชาการเขียนความเรียงขั้นสูงของชั้น ม.1 ให้ด้วยนะคะ ขอบคุณครูตั๊กมากค่ะ

....................................................................

ครูบ้านไกล [IP: 125.27.159.77]
22 เมษายน 2553 11:47
#1965280

สวัสดีค่ะครูตั๊ก

ตอนนี้มีปัญหาเช่นเดียวกับหลาย ๆ คนเพราะว่าได้รับมอบหมายให้เขียนหลักสูตรมาตรฐานสากล แต่ด้วยความที่ว่าไม่ได้มีความรู้พื้นฐานเรื่องนี้เลย เพราะไม่ได้รับการอบรมมาก่อน แต่ได้รับมอบหมายให้มาเขียน มันก็เลยประสบปัญหาที่ต้องการผู้ช่วยอย่างมาก

พอดีว่ามาพบตัวอย่างที่คุณครูทำไว้ มันน่าสนใจมากและต้องการนำมาเป็นตัวอย่างในการจัดทำของโรงเรียน จะรบกวนคุณครูส่งเมลมาให้ได้ไหมคะ เพราะว่าตอนนี้พยายามทำแล้วแต่ว่าเหมือนอยู่ในมหาสมุทร งมอะไรไม่เจอ ยิ่งกว่างมเข็มอีก

และสอนในรายวิชาภาษาไทยเหมือนกับคุณครูตั๊ก ถ้าอย่างไรขอความกรุณาคุณครูส่งเมลมาให้ได้ไหมคะ หวังว่าคุณครูคงให้แสงสว่างในการจัดทำ เพราะว่าเราก็ร่วมอยู่ในชะตากรรม 500 โรงเรียนแรกทั่วประเทศเหมือนกัน

ขอบคุณนะคะ

E-mail : sutheera15@hotmail.com
.................................................................

ครูดุ่ย [IP: 58.147.74.6]
22 เมษายน 2553 14:26
#1965419

ถึง ครูทุกคนที่ขอข้อมูล

ไม่ทราบว่าท่านที่ได้ขอข้อมูลครูตั๊กไป ได้รับข้อมูลกันรึเปล่า พอดีให้เมล์ไว้แล้ว แต่ไปเช็คดูไม่พบว่าครูตั๊กส่งข้อมูลมาให้เลย จึงอยากสอบถามท่านอื่นว่าได้รับหรือไม่ แต่ถ้าจะให้ดี ถ้าไม่เป็นการรบกวนครูตั๊กมากเกินไป ก็ให้ Link เพื่อเข้าไปโหลดได้เลย เพื่อที่จะได้ไม่ต้องลำบากครูตั๊กมากเกินไป และก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ครูท่านอื่นที่ร่วมชะตาเดียวกัน
....................................................................

แดง [IP: 118.173.44.182]
02 พฤษภาคม 2553 12:00
#1980240

อยากทราบโครงสร้างความเรียงชั้นสูงระดับประถมศึกษาคะ

.....................................................................

ครูทรรศน์ [IP: 110.168.70.62]
03 พฤษภาคม 2553 20:40
#1982034

สวัสดีค่ะ คุณครูตั๊ก

วันนี้ อยู่ ๆ ได้รับคำสั่งให้ไปทำหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล 4 เรื่อง โดยได้เรื่อง การเขียนความเรียงขั้นสูง ยังไม่ได้อบรมใด ๆ มาเลย ได้รับเกียรติอย่างมาก และขอขอบคุณคุณครูตั๊ก ที่มีรายละเอียดให้อ่าน พอเข้าใจบ้างหน่อย ๆ ค่ะ อยากให้คุณครูตั๊ก ช่วยอธิบายรายละเอียดให้มากกว่านี้ก็น่าจะเข้าใจและเป็นวิทยาทานแก่ครูแก่ ๆ ใกล้เกษียณก็จะดีนะคะ

ขอบคุณคุณครูทุกท่านที่ช่วยกันเขียนให้ความรู้ โดยเฉพาะคุณครูตั๊กค่ะ

....................................................................

พลาย (ความเคลื่อนไหวล่าสุด)
07 พฤษภาคม 2553 07:06
#1986369

เขียนเสร็จเมื่อไหร่อย่าลืมบอกนะครับ
.....................................................................

ครูเด็กดี [IP: 202.129.52.109]
08 พฤษภาคม 2553 13:06
#1988243

ครูเด็กดีขอบคุณครูตั๊กมากคะ อีเมลของครูเด็กดี คือ dpjan2@gmail.com ขอความกรุณาส่งเอกสารให้ด้วยนะคะ
.....................................................................


















คุณครูตั๊ก (ความเคลื่อนไหวล่าสุด)
10 พฤษภาคม 2553 00:42
#1990452



ต้องขอโทษเพื่อนครูทุกท่านด้วยนะคะ ที่หายไปนาน หลายคนฝาก mail ไว้ ขอโทษด้วยนะคะที่ไม่ได้ตอบเมล์ ครูตั๊กติดภาระงานเรื่องการจัดตารางเรียนของฝ่ายวิชาการค่ะ นำคำอธิบาย ในระดับ ม.ต้น มาฝากก่อน 3 รายวิชา ค่ะ ส่วนของ ม.ปลาย กำลังปรับแก้ค่ะ

รายวิชา ความเรียงขั้นสูง ๑ รหัสวิชา ท ๒๑๒๐๑
รายวิชาเพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
เวลา ๒๐ ชั่วโมง/ภาคเรียน จำนวน ๐.๕ หน่วยกิต

ศึกษาความหมาย และมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการศึกษาค้นคว้า การใช้สารสนเทศ แหล่งและทรัพยากรสารสนเทศ การเลือกสรร สื่อการอ่าน การสืบค้นข้อมูล องค์ประกอบของรายงานเชิงวิชาการ โดยใช้กระบวนการอ่าน การเขียน เพื่อให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่าน รักการเขียน เห็นคุณค่าของการอ่าน มุ่งมั่นใน การทำงานใฝ่เรียนรู้ และศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง

ผลการเรียนรู้

๑. อธิบายความหมายของการศึกษาค้นคว้าได้
๒. อธิบายระบบสารสนเทศได้
๓. บอกแหล่งและทรัพยากรสารสนเทศได้
๔. ใช้แหล่งและทรัพยากรสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้
๕. อธิบายรูปแบบและองค์ประกอบของรายงานเชิงวิชาการได้

................................


รายวิชา ความเรียงขั้นสูง ๒ รหัสวิชา ท ๒๒๒๐๑

รายวิชาเพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒


เวลา ๒๐ ชั่วโมง/ภาคเรียน จำนวน ๐.๕ หน่วยกิต

ศึกษาความหมายของการเขียนรายงาน ส่วนประกอบของรายงาน ขั้นตอนการเขียนรายงาน การอ้างอิง และบรรณานุกรม
โดยใช้กระบวนการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่าน รักการเขียน เห็นคุณค่าของการอ่าน มุ่งมั่นใน การทำงานใฝ่เรียนรู้ และศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง


ผลการเรียนรู้

๑. บอกความหมายของการเขียนรายงานได้
๒. บอกส่วนประกอบของรายงานได้
๓. เขียนรายงานตามขั้นตอนได้ถูกต้อง
๔. เขียนเอกสารอ้างอิง และบรรณานุกรมได้ถูกต้อง


..........................

รายวิชา ความเรียงขั้นสูง ๓ รหัสวิชา ท ๒๓๒๐๑
รายวิชาเพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

เวลา ๒๐ ชั่วโมง/ภาคเรียน จำนวน ๐.๕ หน่วยกิต

ศึกษาความหมาย ความสำคัญ ประเภท และลักษณะของบทความ เขียนบทความได้ตาม หลักการเขียนบทความ โดยใช้กระบวนการอ่าน การเขียน การฝึกปฎิบัติ กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการเรียนทางภาษา เพื่อให้ผู้เรียน มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานอย่างสร้างสรรค์ รักและภูมิใจในความเป็นไทย


ผลการเรียนรู้

๑. บอกความหมายและความสำคัญของการเขียนบทความได้
๒. ระบุประเภทของบทความได้
๓. อธิบายหลักทั่วไปในการเขียนบทความได้
๔. เขียนบทความได้

.........

ก็ขอนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะคะ คงยังไม่ดีที่สุด ใครมีข้อเสนอแนะอะไร ครูตั๊กยินดีน้อมรับฟังและพร้อมแก้ไขปรับปรุงค่ะ ในส่วนของหน่วยการเรียน คุณครูก็กำหนดเองตามความเหมาะสมค่ะ........................


คุณครูตั๊ก (ความเคลื่อนไหวล่าสุด)
10 พฤษภาคม 2553 21:55
#1991821

วันนี้ โรงเรียนได้เชิญ ท่านศน. รังสรรค์ เพ็งนู ศน. สพท ราชบุรี 1 มาบรรยายเรื่อง หลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล ให้กับคณะครู

ที่โรงเรียน ได้รับทราบ ท่านวิทยากรพูดชัดเจนค่ะ ขอสรุปคร่าวๆ ว่า ไม่ว่าเราจะสอนวิชาอะไร เราสามารถจัดกิจกรรมการเรียนสอนตามหลักสูตรมาตรฐานสากลได้ค่ะ เพราะการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนนั้นเราสอน 8 สาระ 1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เมื่อจบหลักสูตรแล้วนักเรียนจะเกิดสมรรถนะหลัก 5 ด้าน คือ สื่อสารเป็น

คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ใช้ทักษะชีวิต และใช้เทคโนโลยี

ในความเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลนั้น เราเพิ่ม TOK (ครูสอนโดยอย่ายึดติดกับหนังสือเรียนนะคะ) ขอบข่ายของความรู้

คือ วิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ มนุษยศาสตร์ ประวัติศาสตร์ จริยศาสตร์ คณิตศาสตร์ โดย

- ส่งเสริมความคิดวิเคราะห์วิจารณ์

- ส่งเสริมการเรียนรู้ว่าด้วยธรรมชาติและขอบข่ายของความรู้ วิพากษ์และประเมินขอบข่ายขององค์ความรู้สาขาต่างๆ

- วิเคราะห์ แยกแยะ ประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งความรู้

ส่วนวิชา ความเรียงขั้นสูงนั้น ท่านวิทยากร กล่าวว่า ให้นักเรียนเขียนตามศักยภาพของนักเรียน แต่เรื่องที่จะเขียนนั้น ไม่ใช่บทกวี หรือคำประพันธ์ แต่เป็นการเขียนรายงาน ที่เกิดจาก การศึกษา ค้นคว้า วิจัยอิสระในเรื่องที่นักเรียนสนใจ ประเด็นที่ศึกษา ไม่ควรกว้างหรือแคบจนเกินไป (วิทยากร ท่านยกตัวอย่างเรื่อง การตอกตะปู ท่านบอกว่า เขียนเรื่องนี้ แคบเกินไป) การเขียนความเรียงขั้นสูงนั้น จะศึกษาในเชิงลึก สัมพันธ์กับวิชาที่เรียน โดยมีความยาวประมาณ 4,000 คำ

ท่านวิทยากร ได้เน้นให้เห็นว่า การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนนั้นเราสอนตามหลักสูตรอยู่แล้ว เพียงแต่ เพิ่มความเข้มข้นในหลักสูตรให้มากขึ้น จึงมีกลุ่มวิชา TOK EE CAS และ Global เป็นหัวใจของการจบหลักสูตร

ฝากคุณครูไป อ่านเพิ่มเติม ในเว็บไซต์นี้นะคะ http://www.worldclassschoolthai.net/

เราจะก้าวเดินไปอย่างช้าๆ แต่มั่นคงค่ะ
.......................................................


ครูโรงเรียนสระแก้ว [IP: 125.27.132.169]
21 พฤษภาคม 2553 20:24
#2008420

คุณครูตั๊กคะ ครูภาษาไทยคนนี้ได้รับมอบหมายให้สอนวิชาความเรียงขั้นสูง (ระดับมัธยมศึกษา) เช่นกันค่ะขอตัวอย่างโครงสร้างหลักสูตร หน่วยการเรียน และแนวการสอนบ้างนะคะคุณครูตั๊ก เพื่อเป็นบุญเป็นกุศล ขอบคุณค่ะ

ส่งมาที่ pirom_ptu@hotmail.com ค่ะ
........................................................

ครูม.4 [IP: 125.27.132.194]
22 พฤษภาคม 2553 13:53
#2009572

เช่นกันค่ะขอตัวอย่างโครงสร้างหลักสูตร หน่วยการเรียน และแนวการสอนบ้างนะคะคุณครูตั๊ก ขอบคุณค่ะ เทอมนี้สอน 3 วิชา ไปไม่เป็นแล้วค่ะ

.......................................................

ตันเจริญ [IP: 125.24.35.147]
27 พฤษภาคม 2553 23:22
#2018210

คุณครูตั๊กคะ

ขอขอบคุณในความเอื้อเฟื้อตัวอย่างหลักสูตรการเขียนความเรียงขั้นสูง ม. ต้น

ถ้าหลักสูตรของ ม.ปลายเสร็จแล้ว กรุณาส่งผ่านe -mail ด้วยนะคะ

v.tancharoen@ gmsil.com

.......................................................

พินดา [IP: 118.173.165.17]
28 พฤษภาคม 2553 12:40
#2018908

รบกวนขอดูตัวอย่าง โครงสร้างหลักสูตร คำอธิบายรายวิชา และแนวการสอนอย่างคร่าวๆ บ้างค่ะ ส่งที่ manam_mee@hotmail.com ขอบพระคุณค่ะ
.......................................................

เพียงใจ เพชรบูรณ์ [IP: 222.123.237.223]
28 พฤษภาคม 2553 15:58
#2019157

ขอศึกษาตัวอย่าง การเขียนความเรียงขั้นสูง

กำลังพายเรือในอ่างอยู่เลยค่ะ ไม่รู้จะนำอะไรไปสอนให้กับนักเรียนได้อย่างถูกต้องดีค่ะ

รบกวนส่งมาที่เมลล์ piangjai_krujim@hotmail.com
........................................................


คุณครูตั๊ก (ความเคลื่อนไหวล่าสุด)
30 พฤษภาคม 2553 20:14
#2022557

เรียนคุณครูที่ต้องการคำอธิบายรายวิชา ความเรียงขั้นสูง นะคะ ครูตั๊กได้โพสต์ไว้แล้วค่ะ ที่ ความเห็น 29 มี 3 รายวิชาค่ะ ในระดับม.ต้น ขอบคุณ คุณครูทุกท่านนะคะ ที่เข้ามาแวะเวียนเยี่ยมชมค่ะ

.........................................................



คุณครูตั๊ก (ความเคลื่อนไหวล่าสุด)
14 มิถุนายน 2553 21:48
#2044014


ได้มีโอกาสไปประชุมที่ พัทยา เมื่อวันที่ 1้2-13 2553 มิถุนายน ได้รับหลักการ และแนวปฏิบัติ ในการสอน วิชาความเรียงขั้นสูง

โดยท่านวิทยากร อาจารย์ภาสกร พงษ์สิทธากร คุณครูที่ยังไม่ได้เข้า้รับการอบรม สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้นะคะที่

http://www.worldclassschoolthai.net/testimonials-1/xeksarprakxbkarbrryaykhorngkarprachumphathnabukhlakrkhorngkarykradabrongreiynmatrthansakl

จะมีเอกสารครบทั้ง 4 เรื่องค่ะ

สำหรับครูตั๊กเอง..ก็คงจะต้องไปปรับคำอธิบายรายวิชาใหม่อีกครั้งหนึ่งค่ะ ให้สอดคล้องกับรายละเอียดในเอกสาร ขอให้คุณครูทุกท่าน

ที่สอนวิชา EE มีความสุขในการทำงานนะคะ
.............................................................


ธัญญรัตน์ ต้นนุ่น [IP: 125.27.63.105]
25 มิถุนายน 2553 18:32
#2058780

คุณครูตั๊กคะ

หนูเป็นนิสิตฝึกสอนนะคะ ได้รับมอบหมายให้สอนวิชา ความเรียงขั้นสูง เพิ่งฝึกสอนก็ได้สอนวิชายากมากกกกซะแล้ว สับสนไปหมดเลยคะ ไม่รู้จะฝึกนักเรียน หรือ ขั้นตอนอย่างไรให้เด็กรู้ที่ละขั้น แล้วเขียนได้ หนูสอนป.6 คะ

ตอนนี้ทำแผนก็มึนไปหมด

คุณครูตั๊กพอจะมีเอกสารหรือวิธีการสอนแนะนำหนูบ้างไหมคะ รบกวนส่งมาที่เมลล์หน่อยนะคะ ขอบคุณมากเลยคะ

nune_sodami@hotmail.com

.......................................................

[IP: 117.47.2.212]
24 กรกฎาคม 2553 20:32
#2104422

การเขียนความเรียงต้องเริ่มอย่างไรก่อนคะ

เขียนเรื่องสมุนไพรในพระราชดำริอ่ะค่ะ
.......................................................


คุณครูตั๊ก (ความเคลื่อนไหวล่าสุด)
01 สิงหาคม 2553 17:06
#2114369

เริ่มต้น คงต้องวางโครงเรื่องที่จะเขียนก่อนนะคะ ว่า จะเขียนในหัวข้อใดบ้างทำเป็นหัวข้อย่อยๆ นะคะ

หลังจากได้โครงเรื่องแล้ว ก็ศึกษาเอกสารค่ะ ว่าหัวข้อต่างๆที่กำหนดไว้ จะค้นคว้าจากที่ไหนได้บ้าง หนังสือ เอกสาร เว็บไซต์ ฯลฯริ่มจา

ได้เอกสารแล้ว ก็เริ่มต้นเขียนค่ะ เริ่มจาก บทนำ.. เป็นการสร้างความสนใจให้ผู้อ่าน ส่วนเนื้อหา คือข้อมูลที่เราค้นคว้าไว้ เขียนตาม

โครงเรื่อง และส่วนสุดท้าย เป็นบทสรุป ค่ะ รวบรวมใจความสำคัญของแต่ละหัวข้อ มาเรียบเรียงในส่วนท้ายนี้..

ที่กล่าวมานี้เป้นหลักการนะคะ ส่วนการเขียนนั้น ที่โรงเรียนกำหนดให้เขียนเป็นบทหรือเปล่าคะ..

ครูตั๊กให้เด็กๆที่เขียนความเรียง ให้เขียนเป็นบทๆมาค่ะ แต่ละบทต้องมีองค์ประกอบครบ สามส่วน คือ บทนำ เนื้อหา และสรุป..

ในส่วนท้าย ต้องเขียนบรรณานุกรมมาด้วย.. ค่ะ

สงสัยอะไร อย่างไร แวะมาได้นะคะ ยินดีตอบข้อซักถามค่ะ /ครูตั๊ก..
................................................................



จุฬาลักษณ์ [IP: 110.49.193.87]
21 สิงหาคม 2553 14:17
#2143640

มีตัวอย่างการเขียนไหมค่ะ???

โครงร่างการศึกษา มีตัวอย่างไหมค่ะ

พอจะเขียน แล้วเขียนไม่ถูกค่ะ
..............................................................


ลีลา [IP: 202.143.191.2]
01 กันยายน 2553 12:58
#2157417

สวัสดีค่ะ หนูมีความประสงค์อยากให้ ครูตั๊กช้วย บอกวิธีการ เขียนเรียงความขั้นสูง โดยใช้หัวข้อ เรื่อง วัยรุ่นกับการเขียนหนังสือ ว่าเป็นอ่องไร ดดย เกิ่นนำด้วยว่าขึ้นต้นอย่างไรบ้างค่ะ ขอบคุณค่ะ
..............................................................



กร [IP: 119.42.93.118]
05 กันยายน 2553 13:58
#2162902

เขียนเกี่ยวกับควรเริ่มจากอะไรค่ะ

พิก [IP: 119.42.93.118]
05 กันยายน 2553 14:00
#2162910

เขียนเกี่ยวกับยาเสพติดควรเริ่มจากอะไรค่ะ

น่ารัก [IP: 119.42.107.50]
15 กันยายน 2553 11:56
#2175866

สวัสดีค่ะ หนูอยากให้ครูตั๊กช่วยสรุปความเรียง

ขั้นสูงเรือง ครอบครัวแสนวุ่นวายค่ะ

หนูอยากมีแนวทางในการดำเนินงาน
....................................................


ศศิรจน์ ร้อยดาพันธุ์ [IP: 61.19.66.219]
06 ตุลาคม 2553 21:58
#2206013

คุณครูตั๊กคะ...เพิ่งได้รับมอบหมายให้สอนความเรียง ม.ปลาย 10ห้อง

ไม่เคยสอน ไม่เคยอบรมเลย...พยายามศึกษาจากหลายๆแหล่งเรียนรู้แล้ว..คิดว่าไม่กระจ่าง

ขอความกรุณาคุณครูตั๊กช่วยเป็นวิทยาทานหน่อยนะคะ..ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ..

ครูตุ่ม...
...................................................



ครูไก่ เพื่อนเก่า [IP: 125.24.65.141]
08 ตุลาคม 2553 18:20
#2207977

ครูตั๊กคะ ดิฉันขอความกรุณาช่วยเหลือ แนะนำการเขียนความเรียงขั้นสูง ต้องฝึกเด็กแข่ง แต่เป็นภาษาอังกฤษ ชายเหน่งบังคับ ปลุกเร้าให้ลองทำ แต่ดิฉันไม่ได้สอนวิชานี้ เป็นงงมากๆ ช่วยด้วยนะ
..................................................


ผู้รอคอย [IP: 61.19.68.29]
09 ตุลาคม 2553 11:59
#2208515

สวัสดีค่ะ คุณครูตั๊ก ตอนนี้ดิฉันได้รับมอบหมายให้สอนวิชาการเขียนความเรียงขั้นสูง ของม.ปลาย ด้วยค่ะ แต่ยังไม่ทราบว่าจะเขียนคำอธิบายรายวิชาอย่างไรบ้าง ตามระดับความยากง่าย เพราะเริ่มตั้งแต่ ม.4 ถึง ม. 6 เลยค่ะ รบกวนคุณครูช่วยแนะนำด้วยนะคะ ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ
.........................................................



คุณครูตั๊ก (ความเคลื่อนไหวล่าสุด)
14 ตุลาคม 2553 00:31
#2213532


ตอบครูตุ่ม คุณศศิรจน์

คำอธิบายรายวิชา ความเรียงขั้นสูง ที่ไปรับหลักการมานะคะ คุณครูสามารถ ใช้คำอธิบายรายวิชา และผลการเรียนรู้ เหมือนกัน ตลอด 3 ปีค่ะ รายละเอียด ขึ้นอยู่กับบริบทของโรงเรียนนะคะแต่ในเอกสาร มีกรอบไว้ให้ค่ะว่าจะสอนในทิศทางใด โปรดไปศึกษาจากเอกสาร เรื่อง คู่มือการพัฒนาหลักสูตรและการสอน นะคะ ทุกโรงเรียนจะมีเล่มนี้ค่ะ..

ตอบ คุณจุฬาลักษณ์ คุณพิก คุณน่ารัก

กว่าจะตอบคำถามนี้ คงเสร็จสิ้นการสอบไปแล้ว ต้องขออภัยด้วยนะคะ การเริ่มต้นการเขียนความเรียง ก็เริ่มจาก

๑. การเลื่อกเรื่อง และตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจ

๒. กำหนดขอบเขตของเนื้อหา เพื่อนำมาจัดทำเป็นโครงเรื่อง และนำไปสู่แผนการแบ่งบท

๓. เมื่อได้โครงเรื่องแล้ว เป็นขั้นตอนของการไปเก็บรวบรวมข้อมูล และนำมาสังเคราะห์

๔. เรียบเรียงเรื่อง ตามโครงเรื่องหรือแผนแบ่งบทที่ได้จัดทำไว้ ค่ะ

ยกตัวอย่าง

๑. เรื่องยาเสพติด

๒. กำหนดขอบเขต

๒.๑ ความหมายของยาเสพติด

๒.๒ ชนิดของยาเสพติด

๒.๓ ลักษณะอาการของผู้ติดยาเสพติด

๒.๔ การป้องกันและการให้ความช่วยเหลือ

๓. จากขอบเขตที่กำหนดไว้ ก็ไปเก็บรวบรวมข้อมูลค่ะ จากหนังสือ สื่อต่างๆ เว็บไซต์

๔. นำเนื้อเรื่องทั้งหมด มาเขียนด้วยสำนวนของผู้เขียนเอง โดยการสังเคราะห์วรรณกรรมที่ไปสืบค้นหรือที่ไปค้นคว้ามา

๕. จัดทำรูปเล่มให้มีองค์ประกอบครบ ตามรูปแบบการเขียนรายงานทางวิชาการ

ในส่วนของครูผู้สอนนะคะ อาจประเมินผล ขั้นสุดท้ายด้วยการสอบสัมภาษณ์ แทนการสอบข้อเขียน เพราะนักเรียนแต่ละคน จะศึกษาค้นคว้าเรื่องตามความสนใจ

ตอบ คุณครูไก่เพื่อนเก่า

ดีใจมากๆค่ะ ที่ได้พบกัน สำหรับ EE ของวิชาภาษาอังกฤษ คงจะมาทำเป็นรูปแบบรายงานแบบของวิชาภาษาไทยไม่ได้

คงจะต้องนึกถึง สมัยเรียนวิชา writing นะคะ คุณครู คงต้องดูจากมาตรฐานและตัวชีวัดที่เกี่ยวข้องกับการเขียนค่ะ โดยผลการเรีรู้ร้อาจจะเริ่มจาก การสอน tense prefix suffix idoms etc. อันนี้ ดูจากบริบทของนักเรียนนะคะ. เริ่มจากง่ายไปหายากนะคะ

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเป็นกำลังใจให้ครูตั๊กค่ะ
.............................................................

artdy [IP: 113.53.171.89]
30 ตุลาคม 2553 07:22
#2231906

ครูตั๊กคะ

คือหนูได้รับมอบหมายเป็นตัวแทนเขียนความเรียงขั้นสูงอ่ะค่ะ

แต่หนูก็ไม่ค่อยรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้เท่าไหร่ คือหนูได้รับมอบหมายเรื่อง เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับไข่ไก่ค่ะ

แต่หนูไม่รู้จะขึ้นต้นคำนำด้วยอะไรหนูก็เลยอยากให้ครูตั๊กช่วยหนูด้วยนะคะ

(ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะครูต๊ก)

.............................................................

นิ่ม [IP: 223.206.1.45]
30 ตุลาคม 2553 17:51
#2232520

สวัสดีค่ะครูตั๊ก

ไม่รู้ว่าครูตั๊กจะมาเปิดอ่านทันไหม ครูตั๊กมีเบอร์ไหมคะ ขอให้หนูหน่อย ทางเมลล์ก็ได้ค่ะ a.tina68@hotmail.comหนูอยากปรึกษาความเรียงขั้นสูง

งงตั้งแต่ ตีความหมายคำไม่ถูก อยู่ดีๆ ก็ได้มาสอน เพราะไปรับปากหัวหน้าวิชาการไว้ ทีแรกก็นึกว่าเป็นเรียงความธรรมดา เพราะเคยเห็นข้อสอบที่ครูเค้าออกสอบมันคล้ายเรียงความเลยค่ะ งงว่าจะสอนแบบไหน แบบเรียงความ มีย่อหน้า 3 ย่อหน้างั้นเหรอคะ แต่ที่แน่ๆ อยากเห็นตัวอย่างค่ะ ขอดูหน่อยเถอะค่ะ หนูจะเริ่มสอนวันจันทร์ที่ 1 นี้
..............................................................


coco [IP: 125.26.59.7]
06 พฤศจิกายน 2553 14:37
#2241407

ครูคะ

คือว่าหนูอยากได้แบบฟอร์มอ่ะค่ะ

เเล้วหนูก็ทำหลักการเเละเหตุผลไม่เป็น

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
.................................................................

น้อง [IP: 118.173.193.22]
06 พฤศจิกายน 2553 23:46
#2241988

ช่วยหนูหน่อยนะค่ะ

หนูต้องทำงานเกี่ยวกับวิชานี้

ซึ่งกลุ่มของหนูเลือก อาหารที่ขึ้นชื่อในเบตง

แล้วหนูต้องทำยังงั้นให้มันออกมาแบสมบูรณ์แบบค่ะ

หนูพึ่งเรียนปีนี้ปีแรกหนูเลยไม่เข้าจัยค่ะ

ช่วยส่งมาทางเมลหนูนะค่ะ

หนูจะนำไปบอกเพื่อนในกลุ่มหนูค่ะ

ถ้าช่วยหนูได้

หนูขอขอบคุณล่วงนะเลยค่ะ

ขอบคุณนะค่ะ
....................................................


[IP: 119.42.115.133]
07 พฤศจิกายน 2553 12:46
#2242495

ครูตั๊กคะ เดี๊ยนได้รับผิดฃอบทั้งม.1,4 ความรุ้หลอกเด็กไม่มีเลยเรื่องนี้ เซ็งจิต

[IP: 182.232.40.49]
07 พฤศจิกายน 2553 19:48
#2242798

ครูค่ะครูของหนูให้เขียนเรียงความเรื่อง เรียนภาษาไทยอย่างไรให้ได้เกรด4 อะคค่ะต้องเขียนแบบไหนหรอค่ะ

ครูสาว [IP: 1.46.149.168]
07 พฤศจิกายน 2553 23:30
#2243022

ขอบคุณครูตั๊กที่ให้แนวคิดดีๆ เกี่ยวกับการเขียนความเรียงขั้นสูง มีปัญหาด้านการสอนความเรียงจะปรึกษานะค่ะ

19 [IP: 203.172.208.236]
08 พฤศจิกายน 2553 11:06
#2243386

สวัสดีค่ะคุณครูตั๊ก ถ้าหนูจะสอนให้เด็กเขียนความเรียงขั้นสูงเป็น หนูต้องเริ่มจากอะไรก่อนค่ะ คือหนูต้องทำเป็นแผนการสอนเรื่องการเขียนความเรียงขั้นสูง ขอครูตั๊กช่วยแนะนำหน่อยนะค่ะ

......................................................................

คุณครูตั๊ก (ความเคลื่อนไหวล่าสุด)
08 พฤศจิกายน 2553 20:55
#2244195

สวัสดีค่ะ ทุกๆท่าน ต้องขอโทษเป็นอย่างมากค่ะ ที่อาจจะเข้ามาตอบคำถามช้ามาก แต่คิดว่าคงจะพอได้รับประโยชน์นะคะ

ในส่วนของคุณครู ที่จะ้ต้องสอนวิชานี้ คุณครูสามารถค้นคว้า้เอกสาร เกี่ยวกับการเขียนรายงานจากการค้นคว้า การรวบรวมข้อมูลจากสารสนเทศ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จากเนต หรือจะซื้อหนังสือตามศูนย์หนังสือได้ค่ะ

ส่วนน้องๆนักเรียนที่เรียนวิชานี้ ก็จะคล้ายๆกับการเขียนรายงานโครงงานค่ะ เพียงแต่เนื้อหาเป็นการศึกษาค้นคว้า ข้อมูล ทฤษฎี แะนำมาเรียบเรียงด้วยภาษาของตนเอง ค่ะ

เริ่มจาก ชื่อเรื่องนะคะ ตั้งชื่อเรื่องให้มีความน่าสนใจ จากนั้น กำหนดขอบเขตว่า จะค้นคว้าในเรื่องใดบ้าง ซึ่งก็คือขั้นตอนของการวางโครงเรื่อง เมื่อได้ขอบเขตของเรื่องแล้ว ก็ลงมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร อินเตอร์เนต ตำรา ฯลฯ เมื่อได้ข้อมูลแต่ละเรื่องแล้ว ก็นำข้อมูลที่ได้ มาเขียนเรียบเรียง มีการอ้างอิง และควรจบบทด้วยการสรุปที่เขียนโดยภาษาของตนเอง ซึ่งลักษณะเช่นนี้ เป็นการเขียนเชิงคุณภาพ ค่ะ

ขอบคุณทุกคนที่ เข้ามาเยี่ยมเยือนนะคะ/ครูตั๊ก

...........................................................

นร.รร.บ้านหลวง น่าน [IP: 118.172.124.69]
09 พฤศจิกายน 2553 16:59
#2245518

ขอบพระคุณคุณครูตั๊กที่ให้ความรู้เรื่องการเขียนเรียงความที่ดี อีกไม่นานผมต้องไปแข่งขันเขียนเรียงความด้วยสิขอกำลังใจด้วยนะครับ

นร.สตรีพัทลุง [IP: 118.173.201.22]
14 พฤศจิกายน 2553 08:51
#2251502

ครูตั๊กขา การเขียนความเรียง กับ เรียงความ เหมือนกันไหมค่ะ แล้ววิธีการเขียนต้องมี 3 ย่อหน้าไหม

...........................................................


อาชิตะ ชะบาโตะ [IP: 110.49.151.225]
14 พฤศจิกายน 2553 21:17
#2252230

ครูตั๊กครับการเรียงความขั้นสูงมี3ย่อหน้าใช่ไหมครับคือ คำนำ เนื้อเรื่อง สรุป ใช่ป่าวครับ คุณครูตั๊กช่วยบอกทีคร้าฟ!!!

จุรีรัตน์ [IP: 182.232.242.102]
16 พฤศจิกายน 2553 19:53
#2254498

ครูค่ะหนูไม่รู้ว่าจะตั้งหัวข้อเรื่องอะไร

สรัลพร [IP: 222.123.94.145]
22 พฤศจิกายน 2553 19:16
#2262225

หนูเขียนแข่งขันได้ที่ 1 ของเพชรบุรีเป็นตัวแทนแข่งระดับภาคค่ะ

สรัลพร [IP: 222.123.94.145]
22 พฤศจิกายน 2553 19:24
#2262238

ไม่จำเป็นต้อง 3 ย่อหน้าหรอกค่ะถ้าอย่างเช่นสถานที่ท่องเที่ยวมีหลายที่ อย่างสมมุติ3ที่ ก็ย่อ3ย่อหน้าก็ได้ค่ะถ้ามีหัวข้อใหม่ก็ย่อหน้าได้ค่ะ ส่วนคำนำ เนื้อเรื่อง สรุป คนละส่วนค่ะ ต้องมี 1.หน้าปก 2.ปกรอง 3.คำนำ 4.สารบัญ 5.บทนำ 6.เนื้อเรื่อง ไม่จำเป็นต้องหน้าเดียว 7.บทสรุป 8.ภาพเกี่ยวกับเรื่องที่ทำ ไม่จำเป็นต้องหน้าเดียว 9.เอกสารอ้างอิงอย่างน้อย 2 ชื่อ

okนะคะคุณอาชิตะ ชะบาโตะ

บุษบา ชัยสา [IP: 118.172.228.83]
23 พฤศจิกายน 2553 15:44
#2263611

ความเรียงขั้นสูงไม่รู้จะมีกลวิธีใดให้นักเรียนที่เรียนอ่อนที่สุดห้อง 8-10 เรียนรู้เรื่องบอกหน่อยนะคะเอาบุญ

คุณครูตั๊ก (ความเคลื่อนไหวล่าสุด)
23 พฤศจิกายน 2553 17:39
#2263722

ขอบคุณ คุณสลัลพร มากค่ะ

คุณครูตั๊ก (ความเคลื่อนไหวล่าสุด)
23 พฤศจิกายน 2553 17:42
#2263726

คุณบุษบาคะ ห้องที่ครูตั๊กสอน ก็เป็นเด็กเรียนอ่อนค่ะ คุณครูมอบหมายงานให้ครั้งละน้อยๆ เพื่อให้เด็กทำได้ และจะได้เกิดกำลังใจในการทำงาน สู้ๆ นะคะ เอาใจช่วยทุกคนค่ะ

ครูวาสินี เวชชประสิทธิ์ [IP: 58.8.128.209]
29 พฤศจิกายน 2553 08:48
#2271013

ขอบคุณครูตั๊กมากเลยค่ะ ที่กรุณาเปิดไฟให้ห้องเรียน EE ความเรียงขั้นสูงสว่างไสวขึ้นอีกแรงหนึ่ง ให้กำลังใจครูตั๊กสร้างกุศลนี้ต่อไปอีกค่ะ


ศุภลักษณ์ [IP: 119.31.126.66]
29 พฤศจิกายน 2553 14:35
#2271489

ไม่รู้จะเริ่มทำยังไงดีค่ะครูสั่งงานให้ทำวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาแล้วต้องส่งพฤหัสนี้ค่ะ งงมาก เป็นครั้งแรกที่ได้ทำ ไม่รู้รูปแบบการทำด้วย อยากรู้รูปแบบการทำมากๆ ค่ะ

ด.ข.พีรณัฐ สิงคาน [IP: 223.207.155.84]
29 พฤศจิกายน 2553 19:18
#2271807

ครู คับคือว่า การเขียนเรียงความอะคับ เขา ดูกันตรงไหนบ้งคับ แล้ว ต้องอ้างอิงด้วยไหม

ขวัญ [IP: 223.206.86.132]
08 ธันวาคม 2553 19:28
#2283489

หนูเขียยนไม่เปน

รัชตะ คำใบ [IP: 113.53.70.170]
14 ธันวาคม 2553 18:59
#2289905

คุรครูครับคำนำความเรียงเขียนยังไงครับ

สราลี [IP: 61.19.66.102]
18 ธันวาคม 2553 20:01
#2294790

ครูค่ะ

คือว่ามันยากมากเข้าใจยากมากค่ะครู

คือหนูไม่เข้าใจวิธีการทำค่ะ

ทำส่งอาจารย์ที่ไรก็ผิดตลอดเลยค่ะครู

คุณครูตั๊ก (ความเคลื่อนไหวล่าสุด)
19 ธันวาคม 2553 20:15
#2296371

วันนี้ได้มีโอกาสไปร่วมงาน ประชุมทางวิชาการและเสนอผลงานโรงเรียนมาตรฐานสากล ที่ ศูนย์ราชการเฉลิมพระกียรติ 80 พรรษาที่ กทม. ได้ชมนิทรรศการของโรงเรียนต่างๆ ด้วยความื่นตาติ่นใจ และได้เห็นหลักสูตร EE ของโรงเรียนที่นำมาจัดนิทรรศการ

ก็มีความเชื่อมั่นค่ะ ว่าทุกโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนวิชาความเรียงขั้นสูง ได้เป็นอย่างดี เป็นกำลังใจให้คุณครูทุกท่าน ที่สอวิชา ความเรียงขั้นสูง และเป็นกำลังใจให้นักเรียน ทุกคนค่ะ

ทุกคนอาจจะเหนื่อย งวยงง หลงทาง แต่ทุกอย่างไม่มีอะไรผิดอะไรถูก ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละโรงเรียน และสามารถปรับแก้ไขหลักสูตรได้ตลอดเวลาค่ะ ยังมีนิทรรศการในวันที่ 20 ธ.ค. อีกหนึ่งวันค่ะ คุณครูที่ว่างจากการสอน และไปกลับสะดวก

ครูตั๊กขอเชิญมาชมนิทรรศการนะคะ ได้ประโยชน์และได้แนวทางไปปรับใช้ในโรงเรียนของเราได้มากทีเดียวค่ะ

อินทรา [IP: 202.129.52.213]
20 ธันวาคม 2553 09:34
#2297118

คือว่าหนูไม่เข้าใจครูมีตัวอย่างให้ดูใหมค่ะ

คุณครูตั๊ก (ความเคลื่อนไหวล่าสุด)
21 ธันวาคม 2553 03:41
#2298584

สำหรับน้องๆ นักเรียนที่เขียนขอตัวอย่างมาหรือ อยากให้เขียนอธิบาายพิ่มเติม ส่ง e-mail มานะคะ ครูตั้กจะแนบไฟล์ตัวอย่างไปให้ค่ะ

ภาณุ [IP: 111.84.184.239]
06 มกราคม 2554 17:44
#2320454

ขอตัวอย่างเรื่องเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวหน่อยได้หมัยครับ

ok [IP: 115.87.98.160]
12 มกราคม 2554 01:39
#2326939

รบกวนขอตัวอย่าง "การเขียนความเรียงขั้นสูง" ภาษาไทย 1 เล่ม นะคะ

อยากทราบว่ามี ตัวอย่าง "Extended Essay" จากเพื่อนครูอังกฤษที่โรงเรียนหรือไม่ ขอเป็นตัวอย่าง สัก 1 ชุด

เพราะเคยส่งนักเรียนเข้าแข่งขัน แต่ทั้งครูและกรรมการเองก็ไม่สันทัด ผลงานก็ยังไม่เคยได้ถึงเกณฑ์

ไปนิทรรศการในวันที่ 20 ธ.ค.เช่นกันค่ะ EEที่เป็นภาษาอังกฤษหายากมาก พบ1ชิ้น แต่ถูกหยิบยืมไปจนไม่ทราบอยู่ที่ไหนเลยค่ะ

จึงอยากขอแลกเปลี่ยนเพื่อเรียนรู้ จะเป็นพระคุณยิ่ง

ขอขอบคุณล่วงหน้าด่วนๆๆนะคะ จะแสดงในOpen House พฤหัส 13 ม.ค.นี้แล้วค่ะ

วันทนา คันธสร [IP: 203.172.161.118]
12 มกราคม 2554 09:06
#2327066

เป็นครูสอนการเขียนความเรียงอยากได้ตัวอย่างผลงานเขียนความเรียงไว้เพื่อศึกษาและเป็นตัวอย่างให้นักเรียนด้วยค่ะ

ขอขอบคุณครูตั๊กมากเลยค่ะ

[IP: 180.183.212.78]
12 มกราคม 2554 18:10
#2327662

อยากดูตัวอย่างค่ะ

วนพรรณ [IP: 125.27.229.133]
13 มกราคม 2554 22:16
#2329306

คือว่าโรงรียนหนูก็เรียนงงมากคะ

ประภัสสร [IP: 1.47.204.178]
18 มกราคม 2554 10:39
#2334405

การเขียนความเรียงขั้นสูง เรื่อง โขน

ควรจะเขียน บทนำ อย่างไรดีค่ะ จึงจำถูกต้องเหมาะสม

ครูสมสมร จรจรัส [IP: 124.121.228.124]
19 มกราคม 2554 17:00
#2336101

ดิฉันว่าการเขียนความขั้นสูงไม่ใช่เรื่องง่ายค่ะ

แอลฟ่า [IP: 49.230.171.80]
25 มกราคม 2554 21:10
#2342608

ทำเรื่องไดโนเสาร์ค่ะ แต่ไม่รุว่าควรเขียนบดคัดย่อกับบทนำยังไงค่ะช่วยบอกให้ทราบได้ไหมค่ะ

จะขอบคุณมากค่ะอาจารย์

จิราวรรณ [IP: 182.232.244.15]
27 มกราคม 2554 18:21
#2344314

คุณครูค่ะหนูอยากดูตัวอย่างมากเลยค่ะตอนนี้ เพราะหนูไม่ค่อยเข้าใจเรื่องนี้เท่าไหร่เลย

อรณิชา [IP: 61.7.177.222]
30 มกราคม 2554 22:33
#2347646

รบกวนขอตัวอย่าง "การเขียนเรียงความขั้นสูง" ภาษาไทย หน่อยนะคะ

น้ำฟ้า [IP: 203.114.109.2]
31 มกราคม 2554 11:52
#2348049

คุณครูตั๊กค่าช่วยแนะนำการเขียนความเรียงขั้นสูง เรื่องภาวะโลกร้อน ถ้ามีตัวอย่างช่วยส่งมาทางอีเมลล์ด้วยนะค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าหวังอาจารย์คงช่วยหนูได้ ขอบคุณค่ะ

[IP: 118.174.88.94]
09 กุมภาพันธ์ 2554 18:12
#2358223

ตอนนี้หนูเกิดภาวะงงกับความเรียงอะค่ะไม่รู้ว่าขั้นตอนการทำเป็นยังไง
.......................................................................

นร.พะเยา [IP: 118.172.131.237]
12 กุมภาพันธ์ 2554 07:34
#2360681

ตอนนี้หนูเรียนระบบมาตรฐานสากล แล้วตองเขียนความเรียงอาชีพที่อยากเป็น โดยใช้การอ้างอิง หนูไม่ค่อยเข้าใจเลยค่ะ คะแนนก็สูงมากเลย

ไม่มีอะ [IP: 61.7.171.58]
21 กุมภาพันธ์ 2554 18:42
#2371369

อะรัยวะตูงง

[IP: 112.121.131.194]
25 กุมภาพันธ์ 2554 08:20
#2375023

ดิฉันน่ะไม่เคยศึกษาหรือไปอบรมเรื่องนี้มาก่อน แต่จากการศึกษาและอ่านตามแนวการเขียนเรียงความขั้นสูง เขาบอกว่าเป็นสาระว่าด้วยการศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระในเรื่องที่ผู้เรียนสนใจจากสาระการเรียนรู้เน้นการฝึกกระบวนการค้นคว้าด้วยตนเอง การถ่ายทอดสื่อความหมายแนวคิดและข้อมูลเป็นความเรียง พวกคุณกำลังหลงทางหรือเปล่าวิชานี้น่าจะเป็นการบูรณาการทุกสาระการเรียนรู้และครูบรรณารักษ์ตามคู่มือ ไม่ใช่ครูภาษไทยเป็นคนสอนเลย ครูภาษาไทยแค่ช่วยให้ใช้ภาษาไทยที่เรียนมาแล้วเรียบเรียงเนื้อหา มันจึงไม่ใช่ความเรียงหรือเรียงความ แต่เป็นการเรียบเรียงรายงานการค้นคว้าวิจัย

มีอาจารย์ที่จบดุษฎีบัณฑิตทางอักษรศาสตร์ท่านหนึ่งฝากถามพวกคุณว่า เรียงความมีขั้นสูงและขั้นตำล่ะมีมั้ย ชักเลอะเทอะกันใหญ่

คนเป็นครู ภาษาย ๓๐ กว่าปี



ครูไทย [IP: 202.143.191.26]
11 มีนาคม 2554 15:39
#2387540

ได้รับมอบหมายให้สอนวิชานี้ชั้น ม.2 แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจนัก จึงต้องรบกวนครูตั๊กขอแนวทางการจัดการเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชา และรายละเอียดของมาตรฐาน/ผลการเรียนรู้(ทั้ง 3 ชั้น เลยนะคะ) ขอบคุณมากค่ะ

ครูไทย [IP: 202.143.191.26]
11 มีนาคม 2554 15:50
#2387549

ขอรายละเอียดโครงสร้างหลักสูตร คำอธิบายรายวิชาไว้ กรุณาส่ง atcha45@hotmail.com นะคะ เมื่อสักครู่ลือบอกอีเมล์ค่ะ

สับสนเหมือนกันค่ะ [IP: 61.19.67.229]
03 พฤษภาคม 2554 12:29
#2427513

สอนโรงเรียนมาตรฐานสากลเหมือนกัน พออ่านข้อความของเพื่อนครูแล้วก็สับสน เพราะท่ี่่ีโรงเรียนจัดวิชาความเรียงขั้นสูงในสาระภาษาต่างประเทศด้วย ตอนนี้นอนไม่หลับแล้วววว.... ตกลงตามหลักเกณฑ์แล้วเขาให้จัดอย่างไรกันแน่ แล้ววิธีสอนก็ต้องค้นค้วาเองหรือ ยากนะคะ ครูว่ายากนักหนาแล้ว ... แล้วนักเรียนละ.....แต่ถ้ายังไม่เออลี่ ก็สู้ ๆๆ ค่ะ...

นักเรียน [IP: 223.205.37.72]
14 พฤษภาคม 2554 10:16
#2439188

คือ ว่าทำไม มันเยอะจัง ค่ะ เขียนก็ยากเหมือนเขียนวิจัยเลย ค่ะ คือมันเร็วไปรึเปล่า สำหรับเด็ก ม4. เรียงความขั้นสูง2เล่มต่อ ปี คือ ว่ามันคิดยากนะ ค่ะ กว่าจะทำได้

เด็กอุบล [IP: 180.180.34.232]
19 พฤษภาคม 2554 14:54
#2442844

หนูยุป.6ก็เขียนนะค่ะ

ถวัลย์ [IP: 113.53.137.92]
22 พฤษภาคม 2554 11:04
#2447179

ยากจังคับ

เด็ก สุรศักดิ์ [IP: 115.67.220.226]
24 พฤษภาคม 2554 20:49
#2449652

ยาก จางเยย นร๊ คับ

[IP: 202.143.143.130]
26 พฤษภาคม 2554 10:45
#2450709

อย่าๆๆๆๆๆ

อิอิ

555+

Lnw Ma [IP: 118.172.97.10]
27 พฤษภาคม 2554 18:16
#2451751

ยากๆๆๆๆๆๆๆๆ

ควาเห็นของนักเรียน [IP: 101.51.1.179]
28 พฤษภาคม 2554 12:53
#2452393

ตอนนี้หนูต้องเขียนเรียงความขั้นสูงค่ะ หนูเป็นนักเรียนห้องเรียนอัจฉริยะ จึงคิดว่าการหาข้องมูลหรือการนำมาเรียบเรียง รวมถึงเวลาที่ค่อนข้างนานหรือความซับซ้อนของเรียงความขั้นสูงไม่ใช่ปัญหาสำหรับหนูเลยค่ะ แต่ปัญหาที่อยากให้อาจารย์ผู้สอนทุกท่านให้ความสำคัญอย่างมากเลยก็คือ การสอนหรือการอธิบายให้เด็กเข้าใจค่ะ ว่ากำลังต้องการให้เด็กทำอะไร ตอนนี้พวกหนูมึนกับคำอธิบายและการสั่งงานของอาจารย์มากค่ะ พวกหนูถามเรื่องหนึ่งอาจารย์กลลับตอบอีกเรื่อง หรือที่สื่อสารกับไม่เข้าใจเป็นเพราะอายุที่ห่างกันมาาาาากกกกกกเหลือเกิน ขอความกรุณาอาจารย์ทุกท่านรับไว้พิจารณาด้วยค่ะ หนูไม่อยากให้เพื่อนๆอีกหลายพันคนต้องมึนเหมือนกับหนูค่ะ

มะลิวัลย์ [IP: 115.67.69.208]
30 พฤษภาคม 2554 20:50
#2454830

สวัสดีค่ะครู วิภาวรรณ เรืองวิรัตน์ หนูมีงานที่ครูร.ร สั่งมาต้องการคำช่วยเหลือจากครูค่ะเพราะพึ่งส่งมาครั้งแรกเองค่ะ เรื่องการเขียนความเยงเกี่ยวกับรายวิชาภาไทย

นักเรียน ครับบบ [IP: 110.49.235.111]
30 พฤษภาคม 2554 22:35
#2454931

ผมอยากทราบว่า การเขียนความเรียงขั้นสูงเรืองไหนควรเขียนหรึอไม่ควรเขียนครับบ ผมยังงงอยู่เลยไม่รู้จะทำเรื่องแบบไหนครับบ กรุณาด้วยนะครับ..

ครูแบงค์ [IP: 223.206.188.178]
02 มิถุนายน 2554 14:02
#2456933

คือผมสอนคณิตศาสตร์ แล้วจำเป็นต้องสอนหลักสูตร TOK นี้ด้วย แต่..กระผมเองก็ยังไม่เข้าใจรูปแบบสักเท่าไร

ตอนนี้ผมเริ่มสอนเด็กโดย 1.อธิบายให้เด็กฟังคร่าว ๆไปว่าเป็น ทฤษฎีสร้างองค์ความรู้ด้วยต้นเอง นำสิ่งที่เรียนไป

ประยุกต์กับชีวิตประจำวัน เช่น การแปลงทางเรขาสู่ลวดลายศิลป์

2. แล้ว ก็ให้เด็กไปคิดหัวข้อที่สนใจกันมาเพื่อนจะนำมาศึกษา หรือ ปฏิบัติ กันต่อ

......แล้วผมควร สอนต่อแบบไหน ดี ครับ...ขอคำแนะนำด้วยครับ...

อนุชา [IP: 113.53.221.206]
05 มิถุนายน 2554 12:52
#2459451

ผมไม่รู้จะเริ่มต้นการเขียนความเรียงยังงัยคับตอนนี้ผมกำลัง งง มากคับ และควรเขียนเรื่องไหนดี ผมขอคำแนะนำด้วยนะคับ ....ขอบคุณครับ.....

นวพร [IP: 49.48.147.100]
05 มิถุนายน 2554 13:49
#2459488

เป็นครูโรงเรียนมาตรฐานสากลเหมือนกันค่ะได้รับมอบหมายให้สอนวิชาความเรียงขั้นสูงม.2 ไม่เคยอบรมเลยขอความกรุณาช่วยส่งโครงสร้างรายวิชามาที่ n_aw3@hotmail.com และอยากให้อาจารย์ตั๊กนำตัวอย่างผลงานนักเรียนบางส่วนที่พอจะเผยแพร่ได้ลงในเว็บของอาจารย์ด้วยนะคะถือซะว่าเป็นวิทยาทานก็แล้วกันค่ะ

เรณุกา วุฒิสาร [IP: 115.87.135.9]
05 มิถุนายน 2554 15:34
#2459564

ได้รับมอบหมายให้สอนวิชาความเรียงขั้นสูงม.1 ไม่เคยอบรมเลยขอความกรุณาช่วยส่งโครงสร้างรายวิชามาที่ ranukawut@hotmail.com และอยากให้อาจารย์ตั๊กนำตัวอย่างผลงานนักเรียนลงในเว็บของอาจารย์ด้วยนะคะถือซะว่าเป็นวิทยาทานก็แล้วกันค่ะ

ขอบคุณอาจารย์มากๆค่ะ

เรณุกา วุฒิสาร

โรงเรียนป้อมนาคราชสวาทยานนท์

อ. พระสมุทรเจดีย์

จังหวัด สมุทรปราการ

โทร 084 649- 4084

วิลาวรรณ ศรีคุ้ย [IP: 1.47.235.218]
12 มิถุนายน 2554 05:42
#2464731

ขอดูตัวอย่างการเขียนความเรียงขั้นสูงเรื่องอะไรก็ได้คะ แบบฉบับเต็มที่เริ่มตั้งแต่ต้นจนจบนะคะ ดิฉันต้องนำไปสอนเด็กแต่ครูก็ทำไม่ถูกเหมือนกันคะ ส่งมาที่ อีเมลนี้ได้เลยนะคะ poo.-kob@hotmail.com ขอบพระคุณอย่างสูงคะ ครูวิลาวรรณ

นางสาวศรัณยา ลำบาล [IP: 119.42.96.88]
16 มิถุนายน 2554 13:02
#2467866

สวัสดีค่ะ

หนูขอตัวอย่างเรียงความชั้นสูง เพื่อที่จะได้เป็นแนวทางในการเขียนและทำความเข้าใจในการเขียนเรียงความชั้นสูง ขอความกรุณาคุณครูช่วยส่ง มาที่ อีเมล saranya_joy2011@hotmail.com ด้วยนะคะ

ชนัญชิดา ไชยสถาน [IP: 111.84.197.230]
23 มิถุนายน 2554 16:17
#2472715

ครูที่โรงเรียนให้หนูเขียนความเรียงชั้นสูงส่งประกวด แล้วหนูไม่เคยทำมาก่อนเลยค่ะ ต้องทำอะไรมั่งคะ

พรพิมล หงษ์น้อย [IP: 115.67.22.243]
26 มิถุนายน 2554 09:44
#2474841

เรียนครูตั๊ก หนูเพิ่งจบปริญญาตรีค่ะเข้าสอนในโรงเรียนครั้งแรกต้องสอนรายวิชาความเรียนขั้นสูงในระดับชั้น ม.2 ค่ะ หนูไม่แน่ใจว่าสิ่งที่หนูสอนเด็กอยู่นี้หนูทำถูกต้องแล้วหรือยังเพราะหนูก็ไม่ค่อยเข้าใจในรายละเอียดของสาระเท่าไหร่ และไม่เคยอบรมค่ะ แต่หนูก็ได้สอนรายวิชานี้ หนูจึงอยากรบกวนอาจาย์ช่วยอธิบายในรายละเอียดของวิชานี้และขอรบกวนดูผลงานของนักเรียนด้วยค่ะ ขอกราบขอบพระคุณมาล่วงหน้า ณ โอกาสนี้ miss_you_to_me@hotmail.com อีเมล์ของหนูค่ะ

พิมพ์ชนก ปิงสุแสน [IP: 61.7.228.130]
30 มิถุนายน 2554 14:32
#2478366

ขอดูตัวอย่างการเขียนความเรียงขั้นสูงเรื่องอะไรก็ได้คะ แบบฉบับเต็มที่เริ่มตั้งแต่ต้นจนจบนะคะ ดิฉันต้องนำไปสอนเด็กแต่ครูก็ทำไม่ถูกเหมือนกันคะ ส่งมาที่ อีเมลนี้ได้เลยนะคะ pimcha_kendo@hotmail.com และอยากให้อาจารย์ตั๊กนำตัวอย่างผลงานนักเรียนบางส่วนที่พอจะเผยแพร่ได้ลงในเว็บของอาจารย์ด้วยนะคะถือซะว่าเป็นวิทยาทานก็แล้วกันค่ะ

ขอบพระคุณอย่างสูงคะ ครูวิลาวรรณ

รุณณี รุ่งระวีวิลาศ [IP: 223.206.22.212]
30 มิถุนายน 2554 20:53
#2478588

เรียน ครูตั๊ก

โรงเรียนดิฉันไม่ใช่โรงเรียนมาตรฐานสากล แต่ดิฉันได้อ่านเรื่องเรียงความขั้นสูงจากการที่ ศึกษานิเทศก์ให้โรงเรียนส่งนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันการเขียนเรียงความขั้นสูงซึ่งดิฉันไม่เคยสอนเด็กเลย เพราะในหลักสูตรไม่มีแต่เคยอ่านในอินเทอร์เน็ต จึงไม่กล้าส่ง นักเรียนเข้าร่วมแข่งขัน ทราบแต่ว่ามีลักษณะการเขียนคล้ายการเขียนรายงานวิจัย ดิฉันจึงใคร่ขอรบกวนครูตั๊ก กรุณาส่งตัวอย่างการเขียนความเรียงขั้นสูงเรื่องอะไรก็ได้คะ แบบฉบับเต็มที่เริ่มตั้งแต่ต้นจนจบนะคะ ดิฉันต้องนำไปสอนเด็กแต่ครูก็ทำไม่ถูกเหมือนกันคะ ส่งมาที่ อีเมลนี้ได้เลยนะคะ runnee@live.com และอยากให้อาจารย์ตั๊กนำตัวอย่างผลงานนักเรียนบางส่วนที่พอจะเผยแพร่ได้ลงใน เป็นตัวอย่างให้ด้วยนะคะ ดิฉันขอขอบพระคุณครูตั๊กล่วงหน้าค่ะ

พัชราภรณ์ พันนังศณี [IP: 118.173.145.2]
04 กรกฎาคม 2554 17:48
#2481036

ยากมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก................