วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2562

4 ปรากฏการณ์สำคัญในปี 2019 ของอุตสาหกรรม Blockchain-Cryptocurrency และ 6 ประเด็นสำคัญที่น่าจับตาในปี 2020





สรุป 4 ปรากฏการณ์สำคัญในปี 2019

มิถุนายน 2019 - Facebook เปิดตัวเงินสกุลดิจิตอล Libra
ท่ามกลางความตกเป็นเป้าสนใจและการคาดเดาของสื่อและนักวิเคราะห์เกี่ยวกับกับโปรเจกต์ blockchain-cryptocurrency นี้มาเป็นเวลาหลายเดือน ในที่สุด Facebook ก็ได้เปิดตัวโปรเจกต์เงินสกุลดิจิทัล Libra อย่างเป็นทางการในวันที่ 18 มิถุนายน 2019
ด้วยขนาด ecosystem ขนาดมหึมาของ Facebook ที่มีผู้ใช้อยู่ถึง 3 พันล้านคนทั่วโลก บวกด้วยผู้เข้าร่วมโปรเจกต์ที่ขนเอาบิ๊กเนมระดับโลกมาเพียบ รวมถึง use case ที่ทำการบ้านมาเป็นอย่างดี ก็เพียงพอที่จะทำให้ Libra เป็นโปรเจกต์ blockchain ที่สร้างความตื่นตัวเป็นวงกว้างมากที่สุดแห่งปี 2019 ได้แล้ว
และความตื่นตัวนี้ก็ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในวงผู้ใช้งานเท่านั้น การที่บริษัทเอกชนอย่างเช่น Facebook สามารถสร้างสิ่งที่ใกล้เคียงกับเงินตราขึ้นมาเองได้ และมีผู้คนจำนวนมากพอที่พร้อมจะเชื่อถือและใช้เงินสกุลนั้น ถือเป็น wakeup call ครั้งสำคัญของบรรดาธนาคารกลางและผู้กำกับดูแลนโยบายทางการเงินทั่วโลกให้ต้องลุกขึ้นมาเตรียมพร้อมรับมือกับ disruption ครั้งใหญ่นี้
ขอเล่าแถมนิดนึงว่า ทีมงานของ SmartContract Blockchain Studio เราเป็นผู้สร้าง Libra .NET SDK ตัวแรกของโลก เป็นฝีมือคนไทยล้วนๆ นะครับ และเปิดเป็น opensource ด้วย สามารถเข้าลองใช้หรือร่วม contribute กันได้ที่ www.github.com/blockcoli/libranet ครับ
กันยายน 2019 - Physically-settled BTC Futures Contracts
Bitcoin futures แบบที่ได้รับการ regulated อย่างถูกต้อง นั้นเอาจริงๆ ก็ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ เพราะเริ่มมีมาตั้งแต่ปลายปี 2017 แล้ว โดยมี Chicago Board Options Exchange (Cboe) และ Chicago Mercantile Exchange (CME) เป็น 2 รายแรกที่ได้รับอนุญาตในเดือนธันวาคม 2017 ในวันแรกที่เปิดให้ซื้อขายก็ช่วยดันราคา BTC ให้เพิ่มขึ้นถึง 10% และมีทราฟฟิกปริมาณมหาศาลจนถึงกับทำให้เว็บไซต์ของ Cboe ล่มเลยทีเดียว
แต่ว่าที่ผ่านมานั้น สัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะเป็นแบบ cash-settled ซึ่งเมื่อหมดอายุหรือมีการใช้สิทธิ (exercise) ตามสัญญาแล้ว ผู้ขายจะส่งมอบเป็นเงินที่มีมูลค่าเท่ากันให้ แทนที่จะส่งมอบเป็น asset ของสัญญานั้น หรือพูดง่ายๆคือเมื่อมีการใช้สิทธิสัญญา bitcoin futures ดังกล่าว แทนที่ผู้ขายจะส่งเป็น BTC ให้ตรงๆ ก็จะส่งเงินที่มีมูลค่าเท่ากับ BTC ตามสัญญาให้ ซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว สัญญา futures ของ Cboe จะอ้างอิงราคาจาก exchange ชื่อ Gemini ส่วนสัญญาของ CME จะอ้างอิงกับ CME CF Bitcoin Reference Rate (BRR) โดยใช้ IOSCO Principles for Financial Benchmarks และในช่วงเริ่มต้นจะอ้างอิงราคาจากหลายๆ exchange ได้แก่ Bitstamp, GDAX, itBit และ Kraken
ต่อมาในปี 2018 บริษัท Bakkt ซึ่งบริษัทลูกของ Intercontinental Exchange (ICE) เจ้าของเดียวกับ NYSE ได้ระดมทุนเพิ่มเติม และประกาศจะให้บริการ bitcoin futures แบบ physically-settled หรือแบบที่ส่งมอบกันเป็น bitcoin จริงๆ และหลังจากถูกปฎิเสธจาก Commodity Futures Trading Commission (CFTC) ซึ่งเป็นองค์กรกํากับดูแลการซื้อขายอนุพันธ์ของสหรัฐอเมริกามาหลายครั้ง ในที่สุด Bakkt ก็ประสบความสำเร็จในการขออนุญาต และเริ่มขาย physical Bitcoin futures แบบล่วงหน้า 1 วันและแบบล่วงหน้า 30 วัน ในวันที่ 22 กันยายน 2019
ไม่ว่า Bitcoin futures นี้จะดีหรือไม่ดี เราจะชอบหรือไม่ชอบ back ด้วย bitcoin จริงหรือไม่จริง แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่านี่เป็น milestone สำคัญสำหรับสินทรัพย์น้องใหม่ที่มีอายุเพียง10 ปี เพื่อที่จะเดินทางไปสู่การสร้าง Bitcoin ETF และการได้รับการยอมรับจากนักลงทุนสถาบันต่อ crypto assets ตัวอื่นๆในอนาคต
ตุลาคม 2019 - ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ออกมากล่าวสนับสนุนเทคโนโลยี Blockchain
ทุกครั้งที่ยักษ์ใหญ่อย่างจีนขยับตัว โลกก็สั่นสะเทือน ถ้ายังจำเรื่องที่จีนสั่งแบน ICO และปิด crypto exchange ในช่วงเดือนกันยายน 2017 กันได้ เหตุการณ์นั้นก่อให้เกิดความปั่นป่วนในตลาด crypto ทั่วโลก ราคา BTC ลดลงจาก $4,200 ลงไปที่ $2,900 ในทันที และ marketcap ก็หายไป 3หมื่นล้านเหรียญ ภายในช่วงเวลาไม่กี่วัน 
และในเดือนตุลาคม 2019 โลกก็สั่นสะเทือนอีกครั้ง เมื่อสำนักข่าวซินหัว ได้รายงานว่า สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และเลขาธิการใหญ่คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้กล่าวสนับสนุนเทคโนโลยี Blockchain ในงานประชุม Collective Study of the Political Bureau of the Central Committee ครั้งที่ 18 ว่า Blockahin เป็นเทคโนโลยีที่จะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและอุตสาหกรรมระลองใหม่นี้ และจีนจะต้องเร่งการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้จีนเป็นผู้นำ blockchain ของโลกให้ได้
เมื่อผู้นำสูงสุดที่เคยมีท่าทีที่ปิดกั้น cryptocurrency และเมินเฉยต่อเทคโนโลยี blockchain อยู่ๆออกมาให้การสนับสนุนอย่างเป็นทางการ จีนทั้งจีนก็ออกมาขานรับนโยบายใหม่กันอย่างพร้อมเพรียง มี blockchain project ทั้งจากฝั่งรัฐและฝั่งบริษัทยักษ์ใหญ่ในจีนทยอยเปิดตัวกันไม่เว้นแต่ละวัน เงิน Crypto Yuan กลับมาอยู่ในหัวข้อข่าวทั่วโลกอีกครั้ง หุ้นบริษัทจีนที่เกี่ยวข้องกับ blockchain ราคาพุ่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ราคา BTC ที่ก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรด้วยกันเขาเลยก็พุ่งขึ้นจาก$8,000 มาอยู่ที่ $10,000 อย่างรวดเร็ว
แม้ว่ากระแสนี้จะจางหายไปในเวลาอันสั้น แต่ถ้ามองถึงในอดีตที่จีนประกาศตัวว่าจะเป็นมหาอำนาจด้าน AI และส่งผลให้เกิดการลงทุน การพัฒนา และความก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดในเรื่องเทคโนโลยี AI ในจีน การประกาศตัวจะเป็นผู้นำด้าน Blockchain ครั้งนี้ก็น่าจับตาดูว่า จีนจะต้องมีความเคลื่อนไหวครั้งใหญ่เกี่ยวกับเทคโนโลยี blockchain และ cryptocurrency ในเร็วๆนี้แน่นอน 
ธันวาคม 2019 -  Ethereum Istanbul Upgrade
ในที่สุด การ upgrade อันยาวนานกว่า 2 ปีใน phase ของ Metropolis ก็มาถึง release สุดท้ายเสียที (ถ้าไม่นับ Muir Glacier ที่เป็น unplanned และ Berlin ที่ยังเถียงกันไม่จบนะครับ)
ที่ผ่านมา ทุกๆการ upgrade ตั้งแต่ release แรกที่ชื่อ Byzantium ในเดือนตุลาคม 2017 มาถึงคราวของ Constantinople และ St. Petersburg ในเดือนกุมภาพันธ์ 2019 จะพบปัญหาทางเทคนิคและมีความล่าช้าจากกำหนดการที่ประกาศไว้มาโดยตลอด ซึ่งทำให้การ upgrade ล่าสุดที่ชื่อว่า Istanbul ในวันที่ 8 ธันวาคม 2019 นี้ถูกจับตามองอย่าใกล้ชิดจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพราะในระบบขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้จำนวนมากอย่าง Ethereum การ upgrade ไม่ได้แค่เพียวหมายถึงต้นทุนที่เปลี่ยนไปจากการเปลี่ยนแปลง gas use หรือการไล่แก้ code จาก EIP ใหม่ที่ใส่เข้ามาเท่านั้น แต่ยังหมายถึงความมั่นใจที่มีต่อ foundation และทีมผู้พัฒนา ว่าจะสามารถผลักดันสิ่งที่เคยพูดไว้สัญญาไว้ให้เป็นจริงได้

  6 ประเด็นสำคัญใน Blockchain-Crypto                      ที่น่าจับตามองในปี 2020

1. เงิน Libra ของ Facebook
แม้ว่าอนาคตของ Libra จะยังมีความไม่แน่นอนอยู่สูงมาก เนื่องจากการถอนตัวของสมาชิกสำคัญ และความกดดันจากรัฐบาลของประเทศใหญ่ๆหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐ หรือสหภาพยุโรป แต่ทีมงานของ Libra ก็ยังมุ่งหน้าเดินหน้าพูดคุยกับภาครัฐในทุกๆประเทศ และมีการอัพเดทระบบและเทคโนโลยีเบื้องหลังอยู่ตลอดเวลา ทำให้เชื่อได้ว่าเราน่าจะได้เห็นความเคลื่อนไหวใหญ่ของ Libra ในปีหน้าในช่วงกลางปี 2020 ตาม timeline เดิมที่เคยประกาศไว้อย่างแน่นอน
2. Bitcoin Halvingจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าวันหนึ่ง supply ของสินทรัพย์ชนิดหนึ่งอยู่ๆก็หายไปครึ่งหนึ่ง หรือเราทำงานไปแล้วรู้ล่วงหน้าว่าวันนี้เวลานี้ในอนาคต ผลตอบแทนจะหายไปครึ่งหนึ่ง
นั่นคือสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับเงินสกุลดิจิตอลที่ชื่อ bitcoin ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2020 ในเหตุการณ์ที่เรียกกันว่า Halving หรือผลตอบแทนจากการทำ bitcoin mining จะลดลงจาก 12.5 BTC เหลือ 6.25 BTC ตามที่ code กำหนดไว้
การ Halving เคยเกิดขึ้นแล้วหลายครั้ง แต่ในสภาวะตลาดที่มีความกดดันและผันผวนแบบทุกวันนี้ ไม่มีใครสามารถคาดเดาได้เลยว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ..นักขุดรายย่อยจำนวนมากอาจจะถอดปลั๊กออกไปเพราะไม่คุ้มทุน จนเหลือแต่ pool ใหญ่.. บางโมเดลทำนายว่าราคาจะขึ้นไปถึง 6 หมื่นเหรียญสหรัฐจากราคา 8 พันเหรียญในวันนี้.. ผู้รู้บางท่านบอกว่าจะเกิด supply shock ในขณะที่ผู้รู้อีกท่านบอกว่า ไม่มีช๊อคอะไร เพราะตลาดยังมีsupply มากพอจะทำให้ demand side ยังคงผู้กำหนดราคาเหมือนที่ผ่านมา… ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการคาดเดาที่ทุกคนกำลังเฝ้ารอคำเฉลยในกลางปี 2020 นี้อย่างใจจดใจจ่อ
3. CBDC หรือเงินดิจิตอลที่ออกโดนธนาคารกลางการมาถึงของ Libra ในเดือนมิถุนายน 2019 เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเร่งยกระดับความสำคัญของ project ที่เกี่ยวข้องกับ CBDC (Central Bank Digital Currency หรือเงินสกุลดิจิตอลที่ธนาคารกลางเป็นผู้ออก) ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในฝั่งการกำกับดูแล ฝั่งเทคโนโลยี หรือแม้กระทั่งฝั่งนักเศรษฐศาสตร์นักการเงิน
ถ้านับดูในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2019 ปรากฎว่ามีกว่า 25 ประเทศทั่วโลกที่ประกาศว่าประเทศตนเองกำลังศึกษา หรือมีแผนที่จะพัฒนา หรือกำลังทดสอบ CBDC ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น จีน, รัสเซีย, แคนาดา, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, ซาอุดิอาราเบีย, สิงคโปร์,อิ สราเอล, ฝรั่งเศส, เนเธอแลนด์, นอร์เวย์, สวีเดน รวมถึงประเทศไทยด้วย และเชื่อได้ว่าในปี 2020 เราจะได้เห็นการทดลองใช้ CBDC จริงในวงจำกัด หรือใน sandbox ในหลายๆประเทศแน่นอน
ในส่วนของประเทศไทย เรามีโปรเจกต์ชื่อ อินทนนท์ ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ดำเนินการมาถึง phase 3 แล้ว โดย phase ที่จะเน้นไปที่การทดสอบการโอนเงินระหว่างประเทศ (cross-border funds transfer) โดยเป็นการร่วมทดสอบระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยกับธนาคารกลางฮ่องกง (Hong Kong Monetary Authority, HKMA)
4. Ethereum 2.0
ณ จุดเริ่มต้นของ Ethereum เมื่อปลายปี 2013 หรือ 6 ปีก่อน นาย Vitalik และทีมงานผู้ก่อตั้งได้จินตนาการถึง public permissionless blockchain network ที่สามารถเป็น world computer ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และแบ่งขั้นตอนการพัฒนาออกเป็น 4 phaseใหญ่ ได้แก่ Frontier, Homestead, Metropolis และ Serenity ซึ่งต่อมาเรียกทั้งหมดนี้ว่า Ethereum 1.0 และเรียก phase หลังจาก Serenity ว่า Ethereum 2.0
ในทางเทคนิคแล้ว Ethereum 2.0 คือการ upgrade ใหญ่ มีการเปลี่ยน consensus จาก ethash ซึ่งเป็น proof of work มาเป็น casper ซึ่งเป็นแบบ proof of stake, มีการทำ sharding ที่จะช่วยลดปริมาณข้อมูลที่แต่ละ node ต้องเก็บ, มีการเปลี่ยน virtual machine ใหม่ จาก EVM เป็น EWASM ซึ่งเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยี WebAssembly
แต่ในทางความรู้สึกแล้วมันยิ่งใหญ่กว่านั้นมาก เพราะมันเปรียบได้กับการข้ามพ้นวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ของระบบ blockchain ที่มีผู้ใช้มากเป็นอันดับสองของโลก คือความตื่นเต้นของของการได้เห็นฟีเจอร์ที่เราเคยได้ยินแต่ชื่อ ได้อ่านแต่ทฤษฎีมานาน จนรู้สึกเหมือนเป็นนิยายไปแล้ว เกิดมีเลือดเนื้อมีชีวิตขึ้นมาได้จริง
การ upgrade สู่ Ethereum 2.0 นี้ จะเริ่มในไตรมาสแรกของปี 2020 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2022 ซึ่งก็มีการแบ่งออกเป็น phase เช่นเคย โดย upgrade แรกของ Eth2 จะเรียกว่า phase 0 หรือ Beacon Chain จะเป็นระบบใหม่ที่แยกออกต่างหากจาก Ethereum 1.0 ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันเลยและมีความเป็นไปได้ว่าอาจต้องใช้เวลาหลายปีกว่าที่ blockchain ของ eth1 จะรวมเข้ากับ blockchain ของ eth2 ได้โดยสมบูรณ์
นี่คือการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนและส่งผลผลกระทบเป็นวงกว้างกับทั้งผู้ใช้ Ethereum และทุกคนใน blockchain ecosystem 
ประเด็นย่อยหนึ่งของเรื่องนี้คือ การเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยี WebAssambly ของ Ethereum เป็นอีกหนึ่งข้อบ่งชี้สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยีนี้ ซึ่งทีม SmartContract Blockchain Studio เราก็สนใจและศึกษาเทคโนโลยี WebAssambly มาโดยตลอด และได้มีการนำมาทดลองใช้งานจริงใน Blockcoli Wallet ของเราซึ่งก็พัฒนาด้วย WebAssambly
5. Stablecoin / DeFi / Oracle / ÐApp / Smart Contract / Tokenization
ปี 2019 นับว่าเป็นปีที่เราเห็นการเติบโตที่ชัดเจนของเทคโนโลยีในกลุ่มนี้ เช่น stablecoin (cryptocurrency ที่มีมูลค่าคงที่เมื่อเทียบกับอีก asset หนึ่ง) มี market cap เติบโตจาก 3.3พันล้านเหรียญสหรัฐ ขึ้นมาเป็น 5พันล้านเหรียญ และเราได้เห็น stablecoin ที่มีความ decentralization สูงอย่างเช่น DAI (หรือชื่อใหม่ว่า SAI) และ MCD (ซึ่งเรียกว่า DAI) ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นสูงมาก จนเรียกได้ว่าเป็น de-facto standard ของการทำ stablecoin และเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การได้รับความนิยมของ DeFi service และ ÐApp ประเภทต่างๆ รวมถึงเป็นแนวทางในการทำ on-chain assettokenization ที่พิสูจน์แล้วว่าทำได้จริงและมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การเริ่มตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของการมี decentralized oracle ที่ดี
ในปี 2020เราน่าจะเห็น marketcap ที่เติบโตมากขึ้นของธุรกิจในกลุ่มนี้..เห็น adoptionในกลุ่มที่พ้นไปจาก late-early adopter เพิ่มมากยิ่งขึ้น..เห็น decentralized financial instrument ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น..รวมถึงเห็นการปรับปรุงend-to-end experience ของ DeFi ให้เป็นมิตรมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้ใช้งานในวงกว้างได้ในปีหลังจากนี้ต่อไป
นอกจาก stablecoin และ DeFi แล้วแรงผลักดันหลักอีกตัวของธุรกิจในกลุ่ม tokenization และ digital asset ในปี 2020 น่าจะมาจากพวก gaming และ eSport เพราะมีกลุ่ม user จำนวนมหาศาลที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงและกล้า adopt อะไรใหม่ๆ รวมถึงมี ecosystem ที่แข็งแรงมากๆอยู่แล้ว
6. Multi Party Computation (MPC)
อันนี้ไม่ได้เกี่ยวกับ Blockchain โดยตรง แต่เป็นสาขาหนึ่งของ cryptography ที่พูดถึงวิธีการทำให้หลายๆ participants สามารถประมวลผลข้อมูลร่วมกันได้โดยที่ input ของแต่ละคนเป็นความลับ (หรือไม่จำเป็นต้องเปิดเผย input ตัวเองให้คนอื่นรู้) เช่นสมมติว่าเราต้องการคำนวณหาค่าเฉลี่ยของรายได้ของกลุ่มตัวอย่าง แต่ไม่มีใครอยากเปิดเผยข้อมูลรายได้ของตัวเอง เราก็สามารถเอาเทคนิค MPC มาใช้ในการช่วยประมวลผลได้
ในโลก Blockchain และ Crypto นั้น private key ถือเป็นหัวใจสำคัญของทุกๆธุรกรรมและทุกๆความเป็นเจ้าของบัญชี ถ้าใครทำ privacy key หาย ทุกอย่างก็จบสิ้น ในขณะที่ user บางกลุ่มก็ยังไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะเก็บและดูแล key ของตัวเองได้อย่างปลอดภัย ทำให้ปัญหาเรื่อง key management เป็นหนึ่งในปัญหาที่ผู้ให้บริการระบบ blockchain ควรจะออกแบบเตรียมไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ
MPC เป็นหนึ่งในเทคนิคที่ได้รับการพูดถึงมากในช่วงปี 2018–2019 ว่าน่าจะสามารถมาช่วยในการ distribute และการนำ key ที่กระจายออกไปกลับมาใช้ได้ โดยที่ไม่ต้องส่ง key กลับมาให้ตัวกลางประมวลผล จะเห็นได้จากว่าเริ่มมีหลายๆโปรเจกต์เอาไปทดลองใช้แล้ว คาดว่าในปี 2020 น่าจะเห็นการลงทุนใน protocol ที่ใช้ MPC และเห็นการเอา MPC ไปใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นใน use case อื่นๆด้วย
ข่าวโดย สถาพน พัฒนะคูหา