วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2562

แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข







แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุขจากการลงมือทำด้วยตนเอง (1)


หากจะสอนวิชาการงานพื้นฐานอาชีพ ระดับประถมศึกษาให้เด็กได้ ลงมือทำ ทำอย่างมีความสุข เกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองและสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ จะเลือกสอนหรือใช้แนวคิดของนักการศึกษาคนใด
1.การลงมือทำ
   1.1.บลูเนอร์ (Bruner)กล่าวว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคมที่ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองทั้งนี้โดยมีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์หรือความรู้เดิม
   1.2.สกินเนอร์ (Skinner) กล่าวว่า พฤติกรรมส่วนใหญ่มนุษย์  มนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเองไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้ากับสิ่งเร้าใหม่
2. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข
   2.1.จอร์น ดิวอี้ (John Dewey)กล่าวว่า การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าในสิ่งที่ตนเองชอบ จะทำให้ผู้เรียนเกิดความสุขในการเรียน
  2.2.กิติยวดี บุญซื่อและคณะ กล่าวว่าทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุขมีอยู่ 6 ทฤษฎีดังนี้ 
             1. ทฤษฎีสร้างความรักและศรัทธาในวิชา
             2. ทฤษฎีการเห็นคุณค่าของการเรียนรู้
             3. ทฤษฎีเปิดประตูสู่ธรรมชาติ     
             4. ทฤษฎีการมุ่งมาดและมั่นคง
             5. ทฤษฎีการดำรงไมตรีจิต
             6.ทฤษฎีชีวิตที่สมดุล
3.เกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
   3.1.ธอร์นไดค์ (Thorndike)กล่าวถึง การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง โดยมีหลักพื้นฐานว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองที่มักจะออกมาในรูปแบบต่างๆ หลายรูปแบบ โดยการลองถูกลองผิด จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดีและเหมาะสมที่สุด
   3.2.สกินเนอร์ (Skinner) กล่าวถึง ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดพฤติกรรม และผลของการกระทำของพฤติกรรมนั้นโดยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนั้น ทฤษฏีนี้เน้นการกระทำของผู้ที่เรียนรู้มากกว่าสิ่งที่ผู้สอนกำหนดขึ้นและทุกทฤษฎีของทฤษฎีการเรียนรู้นั้นผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 




แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุขจากการลงมือทำด้วยตนเอง (2)

1.ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข
          เป็นทฤษฎีที่ กิติยวดี บุญซื่อ (กิติยวดี บุญซื่อ และคณะ
2540) เป็นหัวหน้าคณะผู้เชี่ยวชาญทำการพัฒนาขึ้น โดยมีจุดประสงค์จะหาวิธีเรียนแบบใหม่ที่ทำให้ผู้เรียนเรียนอย่างสนุกสนานทุกครั้ง ทุกชั่วโมง ผู้เรียนมาโรงเรียนด้วยความตื่นเต้นและมุ่งมั่น อยากรู้ในสิ่งที่เขายังไม่รู้ อยากทำในสิ่งที่เขาไม่เคยทำ อยากเป็นในสิ่งที่เขายังไม่เคยเป็น การเรียนรู้อย่างมีความสุขมีองค์ประกอบอยู่ 6 ประการได้แก่
1. เด็กแต่ละคนได้รับการยอมรับว่า เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่มีหัวใจและสมอง มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีสิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติจากผู้ใหญ่อย่างมนุษย์คนหนึ่ง
2. ครูให้ความเมตตา จริงใจ และอ่อนโยนต่อเด็กทุกคนโดยทั่วถึง เอาใจใส่ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน มีความยุติธรรม สม่ำเสมอ อารมณ์มั่นคง สดชื่นแจ่มใส วางตนเป็นแบบอย่างที่ดี เสียสละและอดทน
3. เด็กเกิดความรัก และภูมิใจในตนเอง รู้จักปรับตัวได้ทุกที่ทุกเวลา เห็นคุณค่าของชีวิตและความเป็นมนุษย์ของตน ยอมรับจุดดี จุดด้อยของตน รู้วิธีปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมต่างๆโดยไม่เสียสุขภาพจิต
4. เด็กแต่ละคนมีโอกาสเลือกเรียนตามความถนัด และความสนใจ
5. บทเรียนสนุก แปลกใหม่ จูงใจให้ติดตามและเร้าใจให้อยากค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองในสิ่งที่สนใจ การเรียนไม่ขีดวงจำกัดอยู่ภายในห้องเรียน การเรียนสัมพันธ์กับวิถีชีวิต
6. สิ่งที่เรียนรู้สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน เกิดประโยชน์และเกิดความหมายต่อตัวเขา

การจัดการเรียนการสอนที่จะทำให้การเรียนรู้ดำเนินไปอย่างราบรื่นและมีความสุขร่วมกันทั้งผู้เรียนและผู้สอน ควรมีลักษณะดังนี้
1.บทเรียนเริ่มต้นจากง่ายไปหายาก
2.วิธีเรียนสนุก ไม่น่าเบื่อ
3.ทุกขั้นตอนของการเรียนรู้มุ่งพัฒนาและส่งเสริมกระบวนการคิดในแนวต่างๆ
4.มีกิจกรรมหลากหลาย สนุกชวนให้ผู้เรียนสนใจบทเรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม
5.แนวการเรียนรู้สัมพันธ์และสอดคล้องกับธรรมชาติ
6.สื่อที่ใช้ประกอบการสอนเร้าใจให้เกิดการเรียนรู้
7.การประเมินผลเน้นพัฒนาการของผู้เรียนในภาพรวมมากกว่าผลเรียนทางวิชาการ และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนประเมินตนเองด้วย

          2.ประเวศ วะสี (2541:27) ได้กล่าวถึงปัญหาการศึกษาไทยประการหนึ่ง คือการเรียนเป็นความทุกข์เพราะการเรียนยาก ไม่สนุก น่าเบื่อ ทำให้คนเกลียดการศึกษา นำไปสู่ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้นครูควรทำให้การเรียนรู้เป็นความสุข สนุก ชวนให้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

2.การเรียนรู้จากการลงมือทำ
1.แนวคิดเรื่องการปรับตัว จอห์น ดิวอี้ ตระหนักเรื่อง การปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญและจะ ต้องนำไปใช้เป็นแนวคิดของการจัดการศึกษา หรือเป็นแก่นแห่งการศึกษา
-มนุษย์ต้องเผชิญกับปัญหา จึงต้องฝึกให้มนุษย์แก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำ ฝึกปฏิบัติ ฝึกคิด ฝึกลงมือทำ ฝึกทักษะกระบวนการต่างๆ ประสบการณ์ที่มนุษย์พบหรือเผชิญ มีอยู่ 2 ประเภทคือ
-ขั้นปฐมภูมิ เป็นประสบการณ์ที่ไม่เป็นความรู้ หรือยังไม่ได้คิดแบบไตร่ตรองและขั้นทุติยภูมิคือที่เป็นความรู้ ได้ผ่านการคิดไตร่ตรอง ประสบการณ์ขั้นแรกจะเป็นรากฐานของขั้นที่สอง
ปรัชญาของ จอห์น ดิวอี้ เป็นปรัชญาที่ยกย่องประสบการณ์ ผู้เรียนต้องเรียนรู้จากการกระทำในสถานการณ์จริง การศึกษาตามทัศนะของจอห์น ดิวอี้คือ ความเจริญ งอกงามทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา การจัดกระบวนการเรียน รู้ที่เน้นการปฏิบัติจริง เป็นการจัดกิจกรรมในลักษณะกลุ่มปฏิบัติการที่เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงจากการเผชิญสถาน การณ์จริงและการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำ ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง ฝึกคิด ฝึกลงมือทำ ฝึกทักษะกระบวน การต่างๆ ฝึกการแก้ปัญหาด้วยตนเอง และฝึกทักษะการเสาะแสวงหาความรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม กระบวนการเรียนรู้แบบแก้ ปัญหา เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนคิดเป็นและแก้ปัญหาเป็น โดยการนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ บางครั้งก็เรียนวิธีสอนนี้ว่าการสอนแบบวิทยาศาสตร์
2.บลูเนอร์ ได้บอกไว้ว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคมที่ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองทั้งนี้โดยมีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์หรือความรู้เดิม


3.การเรียนรู้ด้วยตัวเอง
1.ซีมัวร์ พาร์เพิร์ท หลักการที่ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง หลักการเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructionism คือ การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยให้ผู้เรียนลงมือประกอบกิจกรรมการ เรียนรู้ด้วยตนเองหรือได้ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอกที่มีความหมาย ซึ่งจะรวมถึงปฏิกิริยา ระหว่างความรู้ในตัวของผู้เรียนเอง ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมภายนอก การเรียนรู้จะได้ผลดีถ้า หากว่าผู้เรียนเข้าใจในตนเอง มองเห็นความสาคัญในสิ่งที่เรียนรู้และสามารถเชื่อมโยงความรู้ ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เก่า(รู้ว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้าง) และสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ ขึ้นมา
2.เพียเจท์ คือ การจัดการเรียนรู้ที่ครูเป็นผู้ให้ข้อมูลและนักเรียนเป็นผู้รับข้อมูล ครูยิ่งให้ข้อมูลมากเท่าไร นักเรียนก็ยิ่งรับข้อมูลได้มากเท่านั้นหลักการคือ S (Stimulant) คือ แรงกระตุ้น อาจเป็นครู ผู้สอน หรือสิ่งแวดล้อมที่จะไปกระตุ้นนักเรียนหรือผู้เรียน O (Organism) คือ ผู้ที่ถูกกระตุ้น คือ นักเรียน หรือผู้เรียน จากสมการข้างต้น ผู้เรียนจะเป็นผู้ที่อยู่นิ่งๆ (passive) หรือเป็นผู้ที่ถูกกระทำ ซึ่งผู้เรียนจะต้องพึ่งพาสิ่งที่มากระตุ้นก็คือครู ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้จากการที่ครูเป็นผู้ให้ความรู้และผู้เรียนเป็นผู้รับความรู้อย่างเดียว หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผู้เรียนเปรียบเสมือนกล่องเก็บของว่างๆ และครูจะเป็นผู้นำข้อมูลความรู้ต่างๆ มาใส่ให้ นี่คือการเรียนรู้แบบเดิม







แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุขจากการลงมือทำด้วยตนเอง (3)

ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข
1.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กิติยวดี บุญซื่อ
การพัฒนาให้เด็กเป็นคนที่ เก่ง ดี และ มีความสุข ต้องมีความสมดุลในการจัด กระบวนการเรียน การสอน บรรยากาศ และ สภาพแวดล้อมโดยให้เด็กได้ สนุก สนาน กับกิจกรรมการเรียน และเสริมสร้าง ประสบการณ์ที่ สร้างสรรค์ ให้ผู้เรียนมี ความสุข จากการช่วยเหลือ อื้ออาทรและร่วมมือร่วมใจกัน สามารถจัดการ จัดระบบโดยร่วมมือกันรับผิดชอบ ในการปฏิบัติตากฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อตกลง เพื่อเสริมสร้างวินัยในตนเอง สำหรับการอยู่ร่วมกัน และให้ผู้เรียนมีความสนใจใฝ่รู้ ซึ่งต้องอาศัย กระบวน การเรียนรู้ ตามสภาพจริง (Authentic Learning) และ กระบวนการ ประเมินตามสภาพจริง (Authentic Evaluation)
2.สุพิน บุญชูวงค์
ได้ให้ความหมายของการสอนไว้ว่า การสอนคือ การจัดประสบการณ์ที่เหมาะ
สมให้นักเรียนได้ปะทะเพื่อที่จะให้เกิดการเรียนรู้ หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น การสอนจึง
เป็นกระบวนการสำคัญที่ก่อให้เกิดความเจริญงอกงาม การสอนจึงเป็นภารกิจที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์
จึงสามารถก่อให้เกิดประสบการณ์ที่มีความหมายต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียน
การสอนที่ดีมีองค์ประกอบมากมาย แต่ที่สำคัญในการจัดการสอนที่ดีนั้นต้องประกอบด้วยสิ่งที่
คนสอนสร้างขึ้น และแนวทางของการเรียนรู้ที่ยั่งยืน อาทิเช่น
1. มีความเข้าใจในจุดมุ่งหมายของบทเรียน เตรียมเนื้อหา อุปกรณ์การประเมิน
2. ยึดนักเรียนเป็นหลัก เข้าใจความแตกต่างในด้านวัย อายุ ประสบการณ์เดิม มากกว่าหลักสูตร
3. สร้างบรรยากาศให้เหมาะสมเอื้อต่อการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมและอารมณ์
4. ให้นักเรียนเกิดความรู้ความสามารถ ทักษะ เจตคติ ความประพฤติ
5. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ
6. ให้โอกาสได้ค้นได้คิดหาเหตุผล มิใช่เอาความจริงจากตำรา
7. ควรสัมพันธ์เนื้อหากันกับวิชาเดียวกัน ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ และชีวิตประจำวัน
8. ช่วยให้นักเรียนสนใจในวิชาที่เรียน กระตุ้นทั้งภายในและภายนอก
9. ไม่ยึดในวิธีสอนวิธีใดวิธีหนึ่ง ให้เหมาะกับบทเรียน วัย หลักสูตร ประมวลการสอน
10. ต้องประเมินผลอยู่ตลอดเวลา โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น สังเกต ซักถาม การทดสอบ การสอนต้องตรงต่อเวลา
11. ควรเริ่มจากความมุ่งหมาย หารกำหนดวิธีสอน ใช้อุปกรณ์และวัดผล วิเคราะห์ หลักสูตรและแผนการสอน
12. ให้ผู้เรียนมีส่วนในการวางแผนการสอน มีส่วนในการจัดกิจกรรม และการวัดผลประเมินการลงมือทำ


1.จิราภรณ์ ยกอินทร์
การเรียนการสอนที่พัฒนาทักษะการคิด การแก้ปัญหา และการนาความรู้ไปประยุกต์ใช้ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ การสร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน และร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน อีกทั้งเป็นการให้ผู้เรียนได้เป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง ดังที่ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2553) ได้อธิบายถึงลักษณะสำคัญของการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ดังนี้
1) เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา และการนาความรู้ไปประยุกต์ใช้
2) เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด
3) ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
4) ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนทั้งในด้านการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน และร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน
5) ผู้เรียนได้เรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการทางาน และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
6) เป็นการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟัง คิดอย่างลุ่มลึก ผู้เรียนจะจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
7) เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิดขั้นสูง
8) เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ และหลักการสู่การสร้างความคิดรวบยอด
9) ผู้สอนจะเป็นผู้อานวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง
10) ความรู้เกิดจากประสบการณ์ การสร้างองค์ความรู้ และการสรุปทบทวนของผู้เรียน

2.ไชยยศ เรืองสุวรรณ
เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา การนําความรู้ไปประยุกต์ใช้
เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้
ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน มีการสร้างองค์ความรู้
การสร้างปฎิสัมพันธ์ร่วมกัน และร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน
ผู้เรียนได้เรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการทํางาน และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
เป็นกระบวนการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟัง คิด
เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นทักษะการคิดขั้นสูง
เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูล, ข่าวสาร, สารสนเทศ, และหลักการสู่การสร้างความคิดรวบยอดความคิดรวบยอด
ผู้สอนจะเป็นผู้อํานวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง
ความรู้เกิดจากประสบการณ์ การสร้างองค์ความรู้ และการสรุปทบทวนของผู้เรียน

3.เกิดกระบวนการเรียนรู้ทำด้วยตนเอง
1.นางสาว อมรรัตน์ จันทวงค์
การเรียนรู้ด้วยตนเอง มีแนวคิดพื้นฐานมาจากทฤษฎีกลุ่มมนุษย์นิยม (Humanism) ซึ่งมีความเชื่อเรื่องความเป็นอิสระ และความเป็นตัวของตัวเองของมนุษย์ ดังที่มีผู้กล่าวไว้ว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับความดี มีความเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง สามารถหาทางเลือกของตนเอง มีศักยภาพและพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างไม่มีขีดจำกัด มีความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อผู้อื่น  ซึ่งเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับนักจิตวิทยามนุษย์นิยม (Humanistic Psychology) ที่ให้ความสำคัญในฐานะที่ผู้เรียนเป็นปัจเจกบุคคล และมีแนวคิดว่า มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพ และมีความโน้มเอียงที่จะใส่ใจ ใฝ่รู้ ขวนขวายเรียนรู้ด้วยตนเอง มนุษย์สามารถรับผิดชอบพฤติกรรมของตนเองและถือว่าตนเองเป็นคนที่มีค่า
2.สกินเนอร์ (Skinner)
Burrhus Skinner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning theory หรือ Instrumental Conditioning หรือ Type-R. Conditioning) เขามีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาส       สิคนั้น จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov Skinnerได้อธิบายคำว่า" พฤติกรรม " 




แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุขจากการลงมือทำด้วยตนเอง (4)


1.การเรียนรู้โดยลงมือกระทำ  มาจากปรัชญาหรือความเชื่อของปรัชญา พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) หรือบางท่านเรียกปรัชญาการศึกษานี้ว่า ปรัชญาพิพัฒนาการ ปรัชญานี้มีต้นกำเนิดมาจากปรัชญาแม่บทคือ ปรัชญาปฏิบัตินิยม ปรัชญาปฏิบัตินิยมให้ความสนใจอย่างมากต่อ การปฏิบัติ หรือ การลงมือกระทำเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือทำ เด็กได้รับอิสระริเริ่มความคิดและลงมือทำตามความคิด ผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์และใช้กระบวนการแก้ปัญหาด้วยตนเองคือ การให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญที่จะสืบค้นหาความรู้ นักการศึกษาที่มีชื่อเสียงที่มีความเชื่อปรัชญาการศึกษานี้คือ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) เป็นผู้นำนักปราชญ์ซึ่งเชื่อว่ามนุษย์จะต้องปรับตัวเพื่อให้ชีวิตอยู่รอด จึงมีวลีที่แพร่หลายและนำมาใช้ในการจัดการศึกษาคือ “Learning by doing” “หรือการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงแนวคิดของจอห์น ดิวอี้ คือ
-แนวคิดเรื่องการปรับตัว จอห์น ดิวอี้ ตระหนักเรื่อง การปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญและจะ ต้องนำไปใช้เป็นแนวคิดของการจัดการศึกษา หรือเป็นแก่นแห่งการศึกษา
-มนุษย์ต้องเผชิญกับปัญหา จึงต้องฝึกให้มนุษย์แก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำ ฝึกปฏิบัติ ฝึกคิด ฝึกลงมือทำ ฝึกทักษะกระบวนการต่างๆ

2.ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข
โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ กิติยวดี บุญซื่อ (กิติยวดี บุญซื่อ และคณะ 2540) เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งได้นำเสนอ " ทฤษฎี การเรียนรู้อย่างมีความสุข " สรุปหลักการสำคัญว่า การเรียนรู้อย่างมีความสุข จะต้องมีแนวคิดพื้นฐานที่จะต้องสร้างความรักและความศรัทธาให้กับนักเรียน เพราะศรัทธาเป็นจุดเริ่มต้นของ การเรียนรู้ ที่ดีที่สุด การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการได้สัมผัส และสัมพันธ์กับของจริงและธรรมชาติ การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ตนเอง และบุคคลรอบข้าง ช่วยให้เขาปรับตัวได้อย่างเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวการประยุกต์กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา ในการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย การพัฒนาให้เด็กเป็นคนที่ เก่ง ดี และ มีความสุข ต้องมีความสมดุลในการจัด กระบวนการเรียน การสอน บรรยากาศ และ สภาพแวดล้อมโดยให้เด็กได้ สนุก สนาน กับกิจกรรมการเรียน และเสริมสร้าง ประสบการณ์ที่ สร้างสรรค์ ให้ผู้เรียนมี ความสุข จากการช่วยเหลือ อื้ออาทรและร่วมมือร่วมใจกัน สามารถจัดการ จัดระบบโดยร่วมมือกันรับผิดชอบ ในการปฏิบัติตากฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อตกลง เพื่อเสริมสร้างวินัยในตนเอง สำหรับการอยู่ร่วมกัน และให้ผู้เรียนมีความสนใจใฝ่รู้ ซึ่งต้องอาศัย กระบวน การเรียนรู้ ตามสภาพจริง (Authentic Learning) และ กระบวนการ ประเมินตามสภาพจริง (Authentic Evaluation)  

3.การเรียนรู้ด้วยตนเอง
นักการศึกษาได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ด้วยตนเอง ดังนี้
1.สมคิด อิสระวัฒน์ (2538 : 4) ให้ความหมายการเรียนรู้ด้วย ตนเองว่าเป็นการเรียนรู้ ที่ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มด้วยตนเอง โดยอาศัย ความช่วยเหลือหรือไม่ก็ได้ ผู้เรียนวิเคราะห์ความต้องการที่จะเรียนรู้ ของตน กำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้แยกแยะ เจาะจง แหล่งข้อมูลใน การเรียนรู้ คัดเลือกวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมและประเมินผลการเรียนรู้นั้นๆ
2.ชัยฤทธิ์ โพธิสุวรรณ (2541 : 4) กล่าวว่า การเรียนรู้ด้วยตนเอง คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะด้วยความช่วยเหลือสนับสนุนจาก ภายนอกตัวผู้เรียนหรือไม่ก็ตาม ริเริ่มการเรียนรู้เลือกเป้าหมาย แสวงหา แหล่งทรัพยากรของการเรียนรู้ เลือกวิธีการเรียนรู้จนถึงการประเมิน ความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเอง
            3 โนลส์ (Knowles, 1975 : 18) ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ ด้วยตนเอง สรุปได้ว่า การเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นกระบวนการที่ผู้เรียน คิดริเริ่มการเรียนเอง โดยวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ของตน กำหนดเป้าหมาย และสื่อการเรียน ติดต่อกับบุคคลอื่น หาแหล่งความรู้ เลือกใช้ยุทธวิธีการเรียนรู้เสริมแผนการเรียนรู้และประเมินผลการเรียน ของตน ซึ่งอาจจะได้รับหรือไม่ได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่นก็ตาม 




ผลงานของนักศึกษา สาขาการประถมศึกษา
มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ชั้นปีที่ 4
ขอบคุณภาพจากศูนย์การเรียนรู้บ้านใบบุญ