วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ประเภทของการคิด




ประเภทของการคิด

การคิดของมนุษย์นั้นมีทั้งการคิดขั้นพื้นฐานไปจนถึงการคิดขั้นสูง สาหรับการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความคิดของนักเรียนควรมุ่งพัฒนาความสามารถในการคิดระดับสูง    ซึ่งนักทฤษฎีและนักการศึกษาได้แบ่งประเภทของการคิดขั้นสูงไว้ต่างๆ ดังนี้

Anderson and Kratwohl (2001) และ Reilly and Oermann (1999) ได้มีการปรับปรุง ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Bloom เพื่อที่จะเป็นเครื่องมือให้ครูผู้สอนออกแบบการสอนได้มีประสิทธิภาพและมีความทันสมัยเป็นประโยชน์ต่อครูและนักเรียน ซึ่งประกอบด้วยความสามารถที่ซับซ้อนจากน้อยไปหามาก ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้

1. การจำ (Remembering) เป็นการกู้เอาความรู้ที่ได้มาจากความจำระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นความรู้เชิงข้อเท็จจริง ความรู้เชิงมโนทัศน์ ความรู้เชิงวิธีดำเนินการ และความรู้เชิงอภิมาน ประกอบด้วย
     Üการจดจำได้ เช่น การจับคู่โยงคำศัพท์ระหว่าง 2 ภาษา
     Üการระลึกได้ เช่น สามารถเขียนคำศัพท์ที่เหมือนกันใน 2 ภาษาได้
ความรู้จากการจำสำคัญต่อการสร้างการเรียนรู้อย่างมีความหมายและการแก้ไชปัญหา ด้านการจดจำนั้นจะเป็นความรู้แบบที่กระจัดกระจาย และมักไม่เข้ากับบริบทของผู้เรียน สามารถแบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบ ได้แก่
1.1 การจำได้ (Recognizing) คือ การนำเอาข้อมูลที่มีอยู่ในความจำระยะยาวมาเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้มาในปัจจุบัน เช่น การทำแบบฝึกหัดแบบเลือกถูกผิดหรือการเลือกคำตอบที่ถูกต้อง
1.2 การระลึกได้ (recalling) คือ การนาเอาข้อมูลที่มีอยู่ในความจาระยะยาวมาใช้งาน เช่น การตอบคาถามปลายเปิดหรือการเติมคาในช่องว่าง

2. ความเข้าใจ (Understanding)  ผู้เรียนสามารถเข้าใจได้โดยการรู้ความหมายของสิ่งที่เรียนมา ไม่ว่าจะเป็นจากการอ่าน การฟัง หรือแม้กระทั้งการดู เกิดการนาเอาข้อมูลที่ได้มาใหม่มาเชื่อมกับข้อมูลที่มีอยู่ก่อน หรือนำมารวมกัน สามารถแบ่งออกเป็น 7 องค์ประกอบ ได้แก่

2.1 การแปลความหมาย (Interpreting) คือ การที่เรียนสามารถแปลความหมายจากรูปแบบหนึ่งไปสู่อีกรูปแบบหนึ่งได้ อาจจะเป็นจากคาศัพท์หนึ่งไปสู่อีกคาศัพท์หนึ่ง หรือจากรูปภาพสู่คาศัพท์ หรือคาศัพท์ไปสู่รูปภาพ เช่น การถอดความที่ใครบางคนพูดไว้ หรือในการแก้สมการ

2.2 การให้ตัวอย่าง (Exemplifying) ผู้เรียนสามารถให้ตัวอย่างหรือหลักการประกอบได้ เช่น การทดสอบโดยให้ยกตัวอย่างสิ่งของที่มีลักษณะต่างๆ ชนิดของสิ่งของต่างๆ

2.3 การจัดกลุ่ม (Classifying) ผู้เรียนสามารถแยกสิ่งของต่างๆออกเป็นหมวดหมู่ได้เช่นแยกของอาการป่วยทางสมองหรือชนิดของสัตว์ที่อยู่ในประเภทเดียวกัน การทดสอบอาจจะเป็นในเรื่อง ข้อใดไม่เข้าพวก

2.4 การสรุป (Summarizing) คือ การสรุปความจากข้อมูล หรือหัวข้อใหญ่ๆ เช่น การเขียนเรื่องย่อของการปฏิวัติในฝรั่งเศส

         2.5 การอนุมานหรือการสรุปอ้างอิง (Inferring) คือ การที่ผู้เรียนสามารถนาเอาข้อมูลหรือหลักการมาพิจารณาหาความน่าจะเป็นได้ เช่น ผู้เรียนสามารถนาหลักการในไวยากรณ์จากตัวอย่างที่ให้มาได้ หรือการคาดเดาเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อจากเหตุการณ์ที่ได้ให้ไว้
         2.6 การเปรียบเทียบ (Comparing) ผู้เรียนสามารถหาข้อความเหมือนและความต่างของสิ่งของสองสิ่งขึ้นไปได้ เช่นการเปรียบเทียบเรื่องการปฏิวัติกับการทะเลาะเบาะแว้งกันในครอบครัว

        2.7 การอธิบาย (Explaining) ผู้เรียนสามารถหาเหตุและผลได้ เช่นการหาเหตุผลว่าทาไมจึงเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้น เช่น ทาไมจึงเกิดฟ้าแลบ

3. การประยุกต์ใช้ (Applying) เป็นการใช้ขั้นตอนในการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยอาศัย ความรู้เชิงวิธีดาเนินการ ใช้เมื่อผู้เรียนพบกับปัญหาที่ไม่คุ้นเคยและจาเป็นต้องคิดหาขั้นตอนในการแก้ไขต้องคาดว่าจะใช้ความรู้ในด้านใดประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้สองทางคือ การกระทา และการดาเนินการ สามารถแบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบ ได้แก่

         3.1 การกระทำ (Executing) ตามวิธีดาเนินงานไปทีละคาสั่งที่คุ้นเคยหรือตามการหน้าที่ในการกระทา ผู้เรียนสามารถกระทาได้ทันทีหากเจอกับปัญหาที่คุ้นเคย โดยส่วนใหญ่จะใช้ความชำนาญใน การแก้ไขปัญหา

        3.2 การดำเนินงาน (Implementing) การดาเนินงานให้เกิดผลในสถานการณ์ที่แปลกใหม่เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนเลือกใช้ขั้นตอนต่างๆในการแก้ไขปัญหาที่ไม่คุ้นเคยเพราะไม่รู้ขั้นตอนที่ถูกต้องโดยทันที ซึ่งอาจจะไม่มีคาตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคาตอบเดียว เช่นการคิดค้นทฤษฎีต่างๆ ซึ่งอาจจะเริ่มต้นขึ้นจากการกระทา จากนั้นจึงเกิดการประยุกต์ใช้และการดำเนินงาน

4. วิเคราะห์ (Analyze) เป็นความสามารถแจกแจง แยกส่วนองค์ประกอบขององค์กรหรือวัตถุออกเป็นส่วนย่อย และตรวจสอบได้ว่าแต่ละส่วนเกี่ยวข้องกันอย่างไร และแต่ละส่วนนั้นเกี่ยวข้องกับโครงสร้างใหญ่อย่างไร ประกอบด้วยการจำแนกแยกแยะ การแยกจานวน แยกย่อยได้ (Differentiating) การจัดระบบได้ การจัดองค์กรได้ (Organizing) และการให้ความเห็น ให้เหตุผลได้ (Attributing) เปูาหมายส่วนใหญ่ในการศึกษาคือ ผู้เรียนสามารถแยกแยะข้อเท็จจริงออกจาก ความคิดเห็น สนับสนุนข้อสรุปด้วยข้อความขยาย แยกสิ่งที่เกี่ยวข้องออกจากสิ่งแปลกปลอม เชื่อมโยงความคิดเข้าด้วยกัน ทาให้สมมติฐานมีน้าหนักขึ้น แยกความคิดหลักและรองในงานเขียนต่างๆ ได้ หาหลักฐานที่ช่วยสนับสนุนจุดประสงค์ของผู้เขียนได้ สามารถแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบ ได้แก่

4.1 การจำแนกแยกแยะ การแยกจานวน แยกย่อยได้ (Differentiating) สามารถแยกแยะความเกี่ยวข้องและความสำคัญได้ ผู้เรียนจะใช้เมื่อต้องการที่จะเลือกเอาเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้อง หรือสาคัญ และละข้อมูลที่เหลือไว้ แตกต่างกับความเข้าใจตรงที่ต้องสามารถบอกได้ว่าข้อมูลส่วนน้อยนี้สัมพันธ์กับข้อมูลส่วนที่เหลืออย่างไร เช่น การหาเฉพาะจุดที่สำคัญในงานวิจัยฉบับหนึ่ง

4.2 การจัดระบบได้ การจัดองค์กรได้ (Organizing) เป็นการที่ผู้เรียนสามารถที่จะรวมทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารสถานการณ์ หรือการระลึกได้มาไว้อยู่ในโครงสร้างเดียวกัน โดยส่วนใหญ่มักจะไปปนอยู่ในการบวนการแยกย่อย (Differentiating) โดยเมื่อผู้เรียนต้องเผชิญกับปัญหาใดปัญหาหนึ่ง ผู้เรียนสามารถที่จะระบุความสัมพันธ์กันระหว่างส่วนต่างๆได้เช่นข้อเท็จจริงในข้อใดที่ทาให้เกิดสงครามกลางเมืองในอเมริกา และข้อใดไม่ใช่

4.3 การให้ความเห็น ให้เหตุผลได้ (Attributing) เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนสามารถแสดงให้เห็นถึงความคิดเห็น หรือจุดประสงค์ที่มากับการสื่อสารต่างๆ ได้ ต่างกับการแปลตรงที่ว่า ในการทาแปลผู้เรียนเพียงแค่ทาความเข้าใจเท่านั้น แต่การให้เหตุผลนั้น มองไปที่จุดประสงค์หลักที่ผู้เขียนต้องการที่จะสื่อออกมา เช่น การอ่านนิยายผู้เรียนสามารถที่จะบอกได้ว่าแรงจูงใจในการเขียนนิยายเรื่องดังกล่าวของผู้เขียนคืออะไร
5. การประเมินค่า (Evaluating) เป็นการตัดสินหรือโดยใช้กฎเกณฑ์ หรือมาตรฐานบางอย่างส่วนใหญ่จะดูที่คุณภาพประสิทธิภาพและความสม่าเสมอ อาจจะโดยผู้เรียนเองหรือบุคคลอื่นแต่จาเป็นที่จะต้องมีมาตรฐานที่แน่นอน ซึ่งประกอบด้วย การตรวจสอบ (Checking) และการวิพากษ์ (Critiquing) สามารถแบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบ ได้แก่

5.1 การตรวจสอบ (Checking) ตรวจสอบถึงความสม่าเสมอในการดาเนินการโดยเป็นการตรวจสอบดูว่าเป็นไปตามแผนการหรือไม่ เช่น การตรวจสอบดูว่าข้อความเชิญชวนนั้นๆ มีความสม่าเสมอในการเขียนหรือไม่ หรือการให้ผู้เรียนได้ดูเทปการหาเสียงและดูว่ามีช่องโหว่ตรงไหนหรือไม่
5.2 การวิพากษ์ (Critiquing) การตัดสินผล หรือ การดาเนินงานโดยมาตรฐานใดมาตรฐานหนึ่ง โดยการดูที่ข้อดีและข้อเสียของเนื้อความนั้นๆ เช่น การที่มีผู้ที่เสนอว่าควรจะเลิกระบบการคิดเกรดออกว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร หรือดูว่าข้อสันนิษฐานต่างๆ นั้นเป็นไปได้ไหม
6. การสร้าง (Creating) เป็นการรวมสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อทาให้สอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยเป็นสิ่งที่ไม่ได้มีมาก่อน โดยเกี่ยวเนื่องกับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้มีมาก่อน โดยต้องสามารถแยกแยะระหว่าง โดยอาจจะต้องมีการนาเอา ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้ และการวิเคราะห์มาใช้ด้วย สามารถแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบ ได้แก่
6.1 การสร้างสรรค์ (Generating) การระบุปัญหาและหาแนวทางการแก้ไขโดยการใช้ความรู้ที่มีอยู่หรือทฤษฎีต่างๆ กัน ผู้เรียนจะฝึกโดยการพยายามหาทางเลือกในการแก้ไขโจทก์ที่ให้มา เช่น ปัญหาสังคมในกรณีนี้ มีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง
6.2 การวางแผน (Planning) การวางแผนการในการแก้ไขปัญหา โดยการทาเป็นขั้นตอน ซึ่งอาจจะมีเป้าหมายรองหลายเป้าหมายในระหว่างขั้นตอนได้ เช่น การวางแผนการทางานวิจัยชิ้นหนึ่ง
6.3 การผลิต (Producing) การปฏิบัติตามแผนงานที่ได้วางไว้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการสร้าง เช่นเมื่อผู้เรียนมีเปูาหมายแล้วก็ให้ผลิตผลผลิตที่ตอบสนองต่อวิธีการที่คิดไว้ข้างต้น เช่น การเขียนเรียงความไปขอทุนต้องเขียนให้ได้ถึงตามระดับที่เขาได้กาหนดไว้แต่แรกกระบวนการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน และการไม่ใช้บริบทเป็นฐาน

Byrnes (1996) ได้จำแนกความสามารถการคิดขั้นสูงโดยอาศัยจุดมุ่งหมายทางการศึกษา (Taxonomy of Educational Objective) ด้านพุทธิพิสัยตามแนวคิดของ Bloom แบ่งการคิดขั้นสูงออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้

 1. การประยุกต์ (The Application Level) เป็นการนานิยาม สูตร หลักการที่ได้เรียนไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตปัจจุบัน ในโลกแห่งความจริง
2. การวิเคราะห์ (The Analysis Level) เป็นการแยกแยะข้อมูลที่ซับซ้อนออกเป็นองค์ประกอบย่อย แล้วค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบย่อยนั้น
  
3. การสังเคราะห์ (The Synthesis Level) เป็นการนาองค์ประกอบย่อยมาสร้างสิ่งใหม่ที่มีความซับซ้อนมากกว่าสิ่งเดิม
4. การประเมินผล (The Evaluation Level) เป็นการตัดสินสิ่งต่างๆด้วยเกณฑ์มาตรฐาน


Krulid & Rudnick (1993) กล่าวว่า การคิดประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ ที่มีลักษณะความสามารถหรือทักษะตามลาดับขั้นจากต่ำไปสูง คือ
1. การคิดในระดับการระลึก (Recall Thinking) จะรวมทักษะการคิดที่มีธรรมชาติเกือบเป็นอัตโนมัติ เป็นความสามารถในการระลึกข้อเท็จจริง
2. การคิดพื้นฐาน (Basic Thinking) เป็นความเข้าใจความคิดรวบยอดอันเป็นประโยชน์ต่อการนาไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจาวัน และในโรงเรียน
3. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) หรือการคิดเชิงวิพากษ์เป็นความคิดที่ใช้ในการพิจารณาเชื่อมโยง และประเมินลักษณะทั้งหมดของแนวทางแก้ปัญหา ประกอบด้วยทักษะย่อย ได้แก่ การมุ่งเน้นไปในส่วนของข้อมูลในปัญหาหรือสถานการณ์ที่เผชิญอยู่การตรวจสอบความถูกต้องและวิเคราะห์ข้อมูล การจา และการเชื่อมโยงข้อมูลที่เพิ่งได้รับจากการเรียนรู้
4. การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) เป็นความคิดที่เป็นต้นฉบับที่ทาให้เกิดผลผลิตที่ซับซ้อน ความคิดในระดับนี้เป็นสิ่งที่ประดิษฐ์ที่คิด หรือจินตนาการขึ้นเอง ประกอบด้วยทักษะย่อย ได้แก่ การสังเคราะห์ความคิด การสร้างความคิด และการนาความคิดไปใช้เพื่อหาประสิทธิภาพของการคิดใหม่ที่สร้างขึ้น

Marzano และคนอื่นๆ (1988) แบ่งการคิดขั้นสูง เป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. ทักษะการจัดระบบข้อมูล (Organizing) เป็นการจัดระบบข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการนาไปใช้ ประกอบด้วยการเปรียบเทียบ การบอกความเหมือนและความแตกต่างระหว่างหรือในกลุ่มต่างๆ การจัดประเภท การจัดกลุ่มและให้ชื่อสิ่งต่างๆ บนพื้นฐานของคุณลักษณะของสิ่งนั้น และการนาเสนอที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบแต่ไม่เปลี่ยนแปลงส่วนประกอบข้อมูล
2. ทักษะการวิเคราะห์ (Analyzing) เป็นการทาข้อมูลที่มีอยู่ให้กระจ่างขึ้นโดยการตรวจสอบส่วนย่อยๆ และตรวจสอบความสัมพันธ์ต่างๆ ของข้อมูล ได้แก่ การระบุคุณลักษณะหรือส่วนประกอบต่างๆ การระบุความสัมพันธ์หรือรูปแบบ การระบุความคิดหลักหรือองค์ประกอบหลัก และการระบุข้อผิดพลาดหรือเหตุผลที่ไม่ถูกต้อง
3. ทักษะการสร้างกรอบความคิด (Generating) เป็นการสร้างข้อมูลความหมาย หรือความคิดใหม่ ประกอบด้วยการลงสรุปอย่างเป็นเหตุเป็นผล การคาดคะเนเหตุการณ์ และการอธิบาย หรือขยายความถึงผลที่จะตามมาจากเหตุการณ์นั้น
4. ทักษะการผสมผสาน (Integrating) เป็นการเชื่อมโยงและผสมผสานข้อมูล เพื่อสร้างโครงสร้างใหม่ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูลที่มีอยู่ไปสู่ข้อมูลใหม่ที่ผนวกไว้ด้วยกัน
5. ทักษะการประเมิน (Evaluating) เป็นการประเมินความเป็นเหตุเป็นผลและคุณภาพของความคิด ได้แก่ การระบุเกณฑ์ หรือการกาหนดมาตรฐานที่จะใช้ในการตัดสิน และการยืนยัน หรือตรวจสอบความถูกต้องโดยใช้เกณฑ์ที่กาหนดขึ้น

Donald (1992 อ้างถึงใน Higuchi and Donald, 2002) แบ่งการคิดขั้นสูงที่เป็นการคิดที่สาคัญของการแก้ปัญหา การคิดอย่างมีวิจารณญาณ หรือการคิดที่ต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ไว้ 6 ประการ ดังนี้


1. การอธิบาย (Description) เป็นการอธิบายให้เห็นรายละเอียด การให้ความหมายหรือนิยามของสถานการณ์ หรือการให้คาอธิบายรูปแบบ องค์ประกอบของสิ่งต่างๆ
2. การเลือก (Selection) เป็นการเลือกในสิ่งที่ชอบหรือสิ่งที่ต้องการ
3. การสร้างตัวแทนความคิด (Representation) เป็นการอธิบายให้เห็นในรูปของสัญลักษณ์ หรือการสร้างความสัมพันธ์ให้เห็นเป็นรูปสัญลักษณ์ หรือแผนภาพ
4. การสรุปอ้างอิง (Inference) เป็นกระบวนการในการลงข้อสรุปจากข้อมูลหรือเหตุการณ์ที่มีอยู่
5. การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นการรวมส่วนต่างๆ หรือองค์ประกอบต่างๆ ให้เป็นส่วนรวมที่ซับซ้อนมากขึ้น
6. การพิสูจน์ยืนยัน (Verification) เป็นการตรวจสอบความถูกต้อง ความเชื่อมโยง ความคงที่ หรือความสอดคล้อง



ในยุคของการปฏิรูปการศึกษาและปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาความสามารถทางการคิดให้แก่ผู้เรียนในทุกระดับ กาลังได้รับความสนใจอย่างมากจึงได้มีแนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการคิดอยู่มากมาย ได้แก่

ชนาธิป พรกุล (2542) กล่าวว่าทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดได้แก่ทักษะการคิดพื้นฐานได้แก่การฟังการจาการอ่านเป็นต้นทักษะแกนได้แก่การสังเกตการสำรวจการตั้งคาถามเป็นต้นและทักษะการคิดขั้นสูง ได้แก่ การนิยามการผสมผสานการสร้างการปรับโครงสร้าง เป็นต้น

ศิริกาญจน์ โกสุมภ์ และ ดารณี คาวัจนัง (2544) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of multiple intelligences) สรุปแนวคิดไว้ว่า การจัดการเรียนรู้ที่จะใช้แนวคิดทฤษฎีพหุปัญญาจะต้องคำนึงถึงความสามารถเฉพาะด้านหรือหลายด้านของบุคคลเพื่อที่จะฝึกการคิดให้สอดคล้องกับความสามารถและธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละคนเช่นการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความสามารถด้านดนตรีจะต้องใช้ดนตรีเป็นสื่อในการฝึกคิดฝึกด้านศิลปะหรือมิติสัมพันธ์ใช้ภาพในการฝึกคิดหรือการใช้ผังมโนภาพช่วยฝึกการคิดเป็นต้น  

เกรียงศักดิ์เจริญวงศ์ศักดิ์ (2546) กล่าวถึงทฤษฎี 3 ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการคิด ได้แก่ ทฤษฎีชะลอมเป็นการคิดของคนๆ หนึ่งที่มีสมมติฐานในใจแล้วพยายามหาข้อมูลเป็นการสร้างความเชื่อให้เป็นจริง ทฤษฎีฆ่าวัวทิ้ง ผลผลิตเพิ่มเป็นการคิดของคนที่อ้างเหตุและผลที่ผิดพลาดโดยที่ไม่ได้พิจารณาหรือไตร่ตรองอย่างรอบคอบก่อนที่จะประมวลผลหรือสรุปข้อมูลนั้นๆ และทฤษฎีลูกอมในขวดโหลเป็นการสะท้อนการหยิบข้อมูลบางส่วนแล้วไปตีขลุมว่าเป็นเช่นนั้นทั้งหมดซึ่งข้อสรุปนี้เป็นเพียงความน่าจะเป็นเท่านั้นไม่สามารถจะสรุปทั้งหมดได้

สุวิทย์ มูลคำ (2551) ได้จำแนกกลุ่มของกระบวนการคิดออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่มการคิดพื้นฐาน ประกอบด้วย การคิดวิเคราะห์ และการคิดเปรียบเทียบ
2. กลุ่มการคิดอย่างมีเหตุผล ประกอบด้วย การคิดวิพากษ์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดแก้ปัญหา
3. กลุ่มการคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย การคิดสังเคราะห์ การคิดประยุกต์ และการคิดสร้างสรรค์
4. กลุ่มการคิดองค์รวม ประกอบด้วย การคิดเชิงมโนทัศน์ และการคิดบูรณาการ
5. กลุ่มการคิดสู่ความสาเร็จ ประกอบด้วย การคิดอนาคต และการคิดเชิงกลยุทธ์ 

6. จากทฤษฎีแนวคิดและหลักการของนักการศึกษาหลายท่านที่กล่าวข้างต้นสรุปได้ว่าการคิดนั้นเกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่และสามารถมองได้หลายแง่มุมขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่นำไปใช้