วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ความหมายของการคิด




ความหมายของการคิด

Beyer (1987) กล่าวว่า การคิดเป็นกระบวนการโดยรวมที่บุคคลจะกระทาต่อข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับรู้เข้ามาโดยประสาทสัมผัส และข้อมูลเดิมที่มีอยู่ เพื่อสร้างความคิด ให้เหตุผล หรือตัดสิน ดังนั้น ความคิดจึงเกี่ยวข้องกับการรับรู้สิ่งต่างๆ ประสบการณ์เดิม การกระทำอย่างมีสติ การบ่มเพาะ และการหยั่งรู้

Ruggiero (1988) ให้ความหมายของการคิดว่า การคิด หมายถึง กิจกรรมทางปัญญาที่ช่วยในการแก้ปัญหา หรือทาปัญหาให้เป็นระบบ ช่วยในการตัดสินใจ หรือทาให้ความต้องการที่จะเข้าใจสิ่งต่างๆ สาเร็จลงได้ การคิดเป็นการค้นหาคาตอบ การสร้างความหมาย หรือความเข้าใจสิ่งนั้นๆ

Smith (1992) ได้อธิบายความแตกต่างของการคิดขั้นพื้นฐาน และการคิดขั้นสูง สรุปได้ว่า การคิดขั้นพื้นฐานเป็นการคิดแบบธรรมดาทั่วๆ ไป เป็นการกระทาที่เป็นนิสัย ขาดการไตร่ตรอง ทาได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องสอน แต่การคิดขั้นสูง เป็นการผสมผสานของคุณลักษณะหรือองค์ประกอบที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น การวางแผน การทานาย การกากับ การประเมิน และการตั้งคาถาม รวมถึงขั้นตอนของการใช้ทักษะหลายๆ ทักษะร่วมกัน เช่น การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การให้เหตุผลแบบอุปนัยและนิรนัย

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2542) ให้ความหมายของการคิดว่า เป็นกลไกของสมองที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์ที่ใช้ในการสร้างแนวความคิดรวบยอด ด้วยการจำแนกความแตกต่าง การจัดกลุ่ม และการกำหนดชื่อเรื่องเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ได้รับ การคิดเป็นผลที่เกิดจากการที่สมองถูกรบกวนจากสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว และประสบการณ์ดั้งเดิมของมนุษย์  

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (2545) กล่าวว่า การคิด คือกิจกรรมของความคิดที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจง รู้ว่ากาลังคิดเพื่อวัตถุประสงค์อะไรบางอย่าง และสามารถควบคุมให้คิดจนบรรลุเป้าหมายได้

ศิริชัย กาจนวาสี และคณะ (2551)  ให้ความหมายของการคิดว่า เป็นกระบวนการที่มนุษย์รับรู้สิ่งเร้า มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งเร้า และพยายามจัดกระทาสิ่งเร้านั้น โดยผ่านกระบวนการทางสมอง จนได้ผลผลิตที่เป็นความคิด ซึ่งมนุษย์จะสื่อสารความคิดออกมาโดยการพูด การเขียน หรือการกระทำ

Piaget (1964) กล่าวว่า การคิด คือการปฏิบัติการทางสมอง ซึ่งการปฏิบัติการทางสมอง คือ การที่สมองที่แปลงความรู้ใหม่ให้เหมาะสมที่จะเก็บเข้าที่เข้าทาง (Accomodation)  ดังนั้นเมื่อสมองทำงานจึงต้องมีกระบวนการคู่เกิดขึ้นเสมอ คือ การรับ (Assimilation) และการเก็บ (Accommodation) เพื่อเก็บความรู้ใหม่ไปปรุงแต่งแบบแห่งความคิด (Though Pattern) และทาหน้าที่แปลง (Transform) สิ่งใหม่ที่เข้ามาโดยอาศัยความรู้เดิมที่มีอยู่บ้างแล้ว จากนั้นจึงเก็บความรู้ใหม่ที่เข้าที่เข้าทางแล้วให้เป็นระบบ
  

Hillgard (1967) กล่าวว่า การคิดเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสมอง โดยมีกระบวนการใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งของหรือสถานการณ์ต่างๆ หรือเป็นกระบวนการที่เป็นภาพหรือสัญลักษณ์แทนสิ่งของหรือสถานการณ์ต่างๆ ให้ปรากฏขึ้นในความคิด (idea) หรือจิตใจ (mind)


ทิศนา แขมมณี และคณะ (2543) อธิบายทักษะการคิดขั้นสูง หรือทักษะการคิดที่ซับซ้อน (higher order or more complexed thinking skills) สรุปได้ว่า ทักษะการคิดขั้นสูง เป็นทักษะที่มีขั้นตอนหลากหลาย และต้องอาศัยทักษะพื้นฐานหลายๆ ทักษะ

Kaplan (1990) ได้อธิบายทักษะการคิดขั้นสูงโดยสรุปได้ว่า ทักษะการคิดขั้นสูงเป็นทักษะการคิดที่ประณีต ซับซ้อน เช่นการวิเคราะห์ การเปรียบเทียบ การสรุปอ้างอิง การตีความ และการประเมิน ทักษะการคิดขั้นสูงจะนาไปสู่การแก้ปัญหาที่หลากหลายที่คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

Kauchack และ Eggen (1993) ให้ความหมายของทักษะการคิดโดยสรุปได้ว่า ทักษะการคิดเป็นกลยุทธ์ทางปัญญา ที่ช่วยให้บุคคลประมวลข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เชิดศักดิ์ โฆวาสินธ์ (2540) กล่าวว่า การคิดเป็นกระบวนการทางสมองทั้งในส่วนที่เป็นศักยภาพของสมอง ในการที่จะรับรู้ข้อมูลต่างๆ มาประมวลผลเบื้องต้น แล้วใช้วิธีการคิดที่มีอยู่ หรือเคยได้รับการฝึกฝนมาประมวลสรุป เพื่อแสดงออกเป็นผลผลิตของการคิด

ทักษินันท์ หิรัญเกิด (2543) กล่าวว่า การคิดมีลักษณะเป็นทั้งกระบวนการและผลผลิตซึ่งมีลักษณะที่ต่อเนื่องกันแยกออกจากกันโดยเด็ดขาดไม่ได้ แต่อาจนำมาใช้อธิบายต่างกันในกรณีที่กล่าวถึงกระบวนการภารกิจจะใช้วิธีการคิดซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการคิดมาแก้ปัญหา หรือทำงานในการจัดการศึกษานั้นมุ่งให้ผู้เรียนเกิดการคิดทั้งในลักษณะของกระบวนการ หรือวิธีการคิดที่ดี  เพื่อให้ได้ผลผลิตของการคิดที่มีคุณภาพสามารถนาไปใช้ในการแก้ปัญหาตลอดจนสร้างคุณลักษณะ ประจาตัวให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา

โดยสรุป ทักษะการคิดขั้นสูง หมายถึง เป็นการคิดที่มีองค์ประกอบซับซ้อนทั้งวิธีการและขั้นตอนในการใช้ทักษะหลายๆประการร่วมกัน เช่น บูรณาการการคิดวิเคราะห์เข้ากับการคิดสังเคราะห์และการให้เหตุผลแบบอุปนัยและนิรนัย