จีนใกล้จะออกแพลตฟอร์มสกุลเงินดิจิตัล (digital currency) ตัวเองในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า ขณะเดียวกันได้ประกาศพร้อมสนับสนุนให้มีการใช้เงินหยวน เพื่อให้เป็นสกุลเงินสากลในเขตการค้าเสรีนำร่อง
ธนาคารกลางจีนได้เตรียมการเพิ่มสัดส่วนของทองคำสำรองที่เป็นทางการเป็นจำนวน
1.948 ตัน นับเป็นอันดับ 6 ของโลก โดยเพิ่มขึ้นจากช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งสำรองอยู่ที่จำนวน 1.853
ตัน
เพื่อรองรับนโยบายการใช้เงินหยวนให้มีบทบาทมากขึ้นในตลาดการเงินโลก
รวมทั้งการออกเงินสกุลหยวนที่เรียกว่า Yuan Digital Currency
HCM Capital เปิดเผยว่า จีนได้พัฒนากรอบที่เรียกว่า Digital
Currency Electronic Payment หรือ DCEP ซึ่งธนาคารกลางจีนได้รับอนุญาตจากให้ทำการออกสกุลเงินที่เป็น
Digital Currency ให้กับธนาคารพาณิชย์
และบริษัทที่มีเครือข่ายของระบบชำระเงิน คือ Alipay และ WeChat
Pay ให้เข้ามาร่วมอยู่ในกระบวนการนี้ด้วย
ถึงแม้ว่า ในช่วงที่ผ่านมา Digital
Currency จะถูกมองว่าเป็นความเสี่ยงที่นำไปสู่การฉ้อโกง
และอาจเป็นช่องทางของกระบวนการฟอกเงิน
รวมทั้งเป็นแหล่งสนับสนุนทางการเงินให้กับการก่อการร้าย แต่ Digital Currency ของจีนจะมีการจดทะเบียนที่สวิตเซอร์แลนด์
เพื่อเป็นช่องทางผลักดันสู่ตลาดการเงินทั่วโลกที่ต้องการรู้และเข้าถึงเกี่ยวกับวิธีการใช้
และการกำกับดูแลโดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยี โดยหากธนาคารกลางจีนสามารถออก Digital
Currency ได้ก็จะเป็นธนาคารกลางแห่งแรกของโลกที่ดำเนินการได้สำเร็จ
ทั้งนี้ Digital Currency ดังกล่าวจึงถือเป็นเงินตราแบบใหม่ที่ออกโดยธนาคารกลาง
ซึ่งได้รับการการันตีจากสินทรัพย์ที่ธนาคารพาณิชย์นำมาฝากไว้ที่ธนาคารกลาง ดังนั้น
Digital Currency จึงทำหน้าที่ได้เสมือนหลักทรัพย์ตามกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ในระยะเริ่มต้น Digital
Currency ของธนาคารกลางจีนจะถูกนำมาใช้ในประเทศเท่านั้น
โดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนในแบบเดียวกันกับการกำหนดค่าเงินหยวนในระบบปกติ
ซึ่งก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางจีนระบุว่า Digital Currency จะถูกนำมาใช้แทนที่ธนบัตรและเหรียญ ที่ใช้เป็นเงินสดหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจจีนอย่างมีเสถียรภาพ
นอกจากนี้ Digital Currency ของธนาคารกลางจีนนี้
จะถูกใส่ไว้ในกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการทำธุรกรรมโดยตรงของบุคคล ซึ่งกระเป๋าเงินที่ว่านั้นอาจเป็นแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนในอนาคต
จีนกำลังเดินหน้าในการผลักดันเงินหยวนให้มีบทบาทเป็นเงินสากลในตลาดการเงินและการค้าโลกครั้งสำคัญ
หลังจากในช่วงหลายปีก่อนเงินหยวนได้เข้าไปเป็น 1
ใน 5 สกุลหลักของโลกที่อยู่ในตะกร้าเงินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(IMF) ด้วย
เพื่อสนองตอบต่อเป้าหมายขยายเส้นทางขนส่งทางเรือ อากาศและทางบก
ในการค้าและการลงทุนที่เชื่อมโยงกัน 3
ทวีปทั้งเอเชีย แอฟริกา และยุโรป ตามยุทธศาสตร์เส้นทางทางสายไหมใหม่
หรือ One Belt And Road ของศตวรรษที่ 21 และล่าสุด
ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการนำร่องให้ระบบการทำงานได้สอดประสานกัน
โดยธนาคารกลางจีนยืนยันสนับสนุนเงินหยวนเป็นสกุลเงินสากล
และมีรากฐานที่แข็งแกร่งในอนาคต ทั้งนี้ จีนได้จัดตั้งเขตการค้าเสรีนำร่องรวม 18
แห่ง หลังจากที่ได้จัดตั้งเขตการค้าเสรีนำร่องแห่งแรกที่เซี่ยงไฮ้
ธนาคารกลางจีนได้เตรียมการเพิ่มสัดส่วนของทองคำสำรองที่เป็นทางการเป็นจำนวน
1.948 ตัน นับเป็นอันดับ 6 ของโลก โดยเพิ่มขึ้นจากช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งสำรองอยู่ที่จำนวน 1.853
ตัน
เพื่อรองรับนโยบายการใช้เงินหยวนให้มีบทบาทมากขึ้นในตลาดการเงินโลก
รวมทั้งการออกเงินสกุลหยวนที่เรียกว่า Yuan Digital Currency
HCM Capital เปิดเผยว่า จีนได้พัฒนากรอบที่เรียกว่า Digital
Currency Electronic Payment หรือ DCEP ซึ่งธนาคารกลางจีนได้รับอนุญาตจากให้ทำการออกสกุลเงินที่เป็น
Digital Currency ให้กับธนาคารพาณิชย์
และบริษัทที่มีเครือข่ายของระบบชำระเงิน คือ Alipay และ WeChat
Pay ให้เข้ามาร่วมอยู่ในกระบวนการนี้ด้วย
ถึงแม้ว่า ในช่วงที่ผ่านมา Digital
Currency จะถูกมองว่าเป็นความเสี่ยงที่นำไปสู่การฉ้อโกง
และอาจเป็นช่องทางของกระบวนการฟอกเงิน
รวมทั้งเป็นแหล่งสนับสนุนทางการเงินให้กับการก่อการร้าย แต่ Digital Currency ของจีนจะมีการจดทะเบียนที่สวิตเซอร์แลนด์
เพื่อเป็นช่องทางผลักดันสู่ตลาดการเงินทั่วโลกที่ต้องการรู้และเข้าถึงเกี่ยวกับวิธีการใช้
และการกำกับดูแลโดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยี โดยหากธนาคารกลางจีนสามารถออก Digital
Currency ได้ก็จะเป็นธนาคารกลางแห่งแรกของโลกที่ดำเนินการได้สำเร็จ
ทั้งนี้ Digital Currency ดังกล่าวจึงถือเป็นเงินตราแบบใหม่ที่ออกโดยธนาคารกลาง
ซึ่งได้รับการการันตีจากสินทรัพย์ที่ธนาคารพาณิชย์นำมาฝากไว้ที่ธนาคารกลาง ดังนั้น
Digital Currency จึงทำหน้าที่ได้เสมือนหลักทรัพย์ตามกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ในระยะเริ่มต้น Digital
Currency ของธนาคารกลางจีนจะถูกนำมาใช้ในประเทศเท่านั้น
โดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนในแบบเดียวกันกับการกำหนดค่าเงินหยวนในระบบปกติ
ซึ่งก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางจีนระบุว่า Digital Currency จะถูกนำมาใช้แทนที่ธนบัตรและเหรียญ ที่ใช้เป็นเงินสดหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจจีนอย่างมีเสถียรภาพ
นอกจากนี้ Digital Currency ของธนาคารกลางจีนนี้
จะถูกใส่ไว้ในกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการทำธุรกรรมโดยตรงของบุคคล ซึ่งกระเป๋าเงินที่ว่านั้นอาจเป็นแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนในอนาคต
จีนกำลังเดินหน้าในการผลักดันเงินหยวนให้มีบทบาทเป็นเงินสากลในตลาดการเงินและการค้าโลกครั้งสำคัญ
หลังจากในช่วงหลายปีก่อนเงินหยวนได้เข้าไปเป็น 1
ใน 5 สกุลหลักของโลกที่อยู่ในตะกร้าเงินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(IMF) ด้วย
เพื่อสนองตอบต่อเป้าหมายขยายเส้นทางขนส่งทางเรือ อากาศและทางบก
ในการค้าและการลงทุนที่เชื่อมโยงกัน 3
ทวีปทั้งเอเชีย แอฟริกา และยุโรป ตามยุทธศาสตร์เส้นทางทางสายไหมใหม่
หรือ One Belt And Road ของศตวรรษที่ 21 และล่าสุด
ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการนำร่องให้ระบบการทำงานได้สอดประสานกัน
โดยธนาคารกลางจีนยืนยันสนับสนุนเงินหยวนเป็นสกุลเงินสากล
และมีรากฐานที่แข็งแกร่งในอนาคต ทั้งนี้ จีนได้จัดตั้งเขตการค้าเสรีนำร่องรวม 18
แห่ง หลังจากที่ได้จัดตั้งเขตการค้าเสรีนำร่องแห่งแรกที่เซี่ยงไฮ้