วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

เด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้ (LD)

เด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้  (LD)
เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้เป็นกลุ่มเดียวกัน  Learning Disabilities (LD) หรือไม่ เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ในห้องเรียนอาจเกิดจากการละเลยใส่ใจ  ความเบื่อหน่าย ความไม่เข้าใจ  การถูกเร่งเรียนจนเด็กเบื่อ  หรือเป็นโรคสมาธิสั้นก็ได้ส่งผลทำให้ติดตามการเรียนในห้องเรียนไม่ทัน  แต่ภาวะ  Learning Disabilities (LD) เป็นความพิการเช่นเดียวกับเด็กตาบอด หูหนวก ที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษทางด้านการแพทย์และการศึกษา ในการให้วินิจฉัยและปรับรายละเอียดการเรียนการสอนที่เฉพาะตัว


เมื่อไรจึงจะเรียกเด็กว่าเป็น  Learning Disabilities (LD) แพทย์จะวินิจฉัยว่าเด็กเป็น  Learning  Disabilities  (LD)  ต่อเมื่อมีความสามารถในการอ่านหนังสือและ/หรือเขียนหนังสือและ/หรือคำนวณต่ำกว่าชั้นที่เด็กเรียน 2 ชั้นเรียน  โดยที่มีระดับเชาน์ปัญญาปกติ  และทำให้เด็กติดตามการเรียนตามปกติไม่ได้  มิได้เกิดจากภาวะอวัยวะพิการ  ขาดโอกาสในการเรียน  ปัญญาอ่อนหรือถูกละทิ้ง  ไม่อยากเรียน  หรือเป็นโรคทางจิตเวชอื่น  เช่น  ออทิสติก  เป็นต้น

ครูจะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กเป็น  Learning Disabilities (LD)
ถ้าคุณครูศึกษาถึงระดับความสามารถของเด็กในการอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ และดูที่การคำนวณเฉพาะตัวเลขที่ไม่มีโจทย์  จะทำให้เกิดความสงสัยว่าอาจเป็น  Learning Disabilities (LD) และถ้าได้พูดคุยหรือสังเกตความสามารถนอกห้องเรียนก็จะเห็นแววของความฉลาดซึ่งจะแตกต่างจากเด็กปัญญาอ่อนชัดเจน ที่ทักษะการเรียนอาจเสียหายแบบเดียวกันแต่กลุ่มปัญญาอ่อนจะมีความลำบากในการช่วยตัวเอง และแก้ปัญหาต่าง ๆ ควรส่งเด็กที่สงสัยพบแพทย์  พร้อมข้อมูลของระดับการอ่านหนังสือ  เขียนหนังสือ  และดูที่การคำนวณเฉพาะตัวเลขที่ไม่มีโจทย์  ตรวจเชาวน์ปัญญา  ถ้า  I.Q.  ปกติร่วมกับซักประวัติไม่พบ  ถ้าไม่พบภาวะอวัยวะพิการ  การขาดโอกาสในการเรียน  ปัญญาอ่อน  หรือถูกละทิ้ง  ไม่อยากเรียน  หรือเป็นโรคทางจิตเวชอื่น  เช่น  ออทิสติก  เป็นต้น แพทย์จะออกใบรับรองความพิการตามกฎหมายให้  เพื่อรับรองสิทธิในการได้รับความช่วยเหลือทางการแพทย์  และการศึกษาให้

ทำไมจึงไม่แยกเด็ก  LD ออกจากเด็กปกติ
    เพราะจะทำให้ครูสอนง่ายขึ้น การแยกเด็ก  LD  ออกจากเด็กปกติจะทำในกรณีเพื่อการศึกษา  แนววิธีการสอนและการจัดสอบเพื่อวัดความรู้  การสอนเด็กปกติรวมกับเด็ก  LD  จะทำได้ง่าย ถ้าปรับระบบการสอนมาเน้นการทดลอง  การดู  และการฟังเพิ่มขึ้น  และการ  IEP  สำหรับเด็กจะช่วยทำให้คุณครูในห้องรู้ว่าจะสอนให้ในระดับใด  คุณครูจะได้ไม่ต้องกังวลกับรายละเอียดข้อมูลที่ต้องสอนทั้งหมดเท่าเด็กปกติ  ยกตัวอย่างเช่น  เด็ก  LD  อาจจะอ่านกาพย์  โคลง  กลอน  ฉันท์  ไม่ได้แต่ถ้ามีคนอ่านให้ฟังก็จะจำได้เท่าคนอื่น  เป็นต้น 
      การมีห้องเสริมวิชาการ  หรือ  Sound  Lab  หรือ  Audiovisual  Room  จะช่วยทำให้เด็กกลุ่มนี้พัฒนาความรู้ต่อไปได้ เด็กที่เขียนหนังสือเองแล้วอ่านไม่รู้เรื่องหรือเขียนผิดพลาด แต่พอลอกงานคนอื่นกลับทำได้ดี  อย่างนี้จะเรียกว่าเป็น LD หรือไม่ จะวินิจฉัยว่าเป็น  LD  ด้านการเขียนหรือไม่จะต้องดูที่ความสามารถในการเขียนหนังสือเองว่าสามารถเขียนเองได้ดีในระดับการศึกษาชั้นไหน  ถ้าความสามารถในการเขียนหนังสือต่ำกว่าชั้นที่เด็กเรียน  2  ชั้นเรียน  โดยที่มีความระดับเชาวน์ปัญญาปกติ  และทำให้เด็กติดตามการเรียนตามปกติไม่ได้  จึงจะเรียกว่ามีปัญหาในการเรียนรู้  โดยที่ความสามารถนั้นมิได้เกิดจากภาวะอวัยวะพิการ  ขาดโอกาสในการเรียน  ปัญญาอ่อนหรือถูกละทิ้ง  ไม่อยากเรียน  หรือเป็นโรคทางจิตเวชอื่น  เช่น  ออทิสติก  เป็นต้น  แต่ความสามารถในการเขียนหนังสือโดยการลอกตามแบบไม่เสียหาย  ซึ่งใช้เพียงตาและมือทำงานประสานกันเท่านั้น  เด็กจึงลอกงานเพื่อได้เร็วเท่ากับเด็กอื่น  แต่ความสามารถในการเขียนหนังสือเองต้องใช้สมองส่วนที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับตัวหนังสือซึ่งมีความเสียหาย  บกพร่องทำให้การสะกด  การเรียงตัวอักษร  การสื่อความหมายผิดพลาด

https://www.songkhlahealth.org/paper/361