วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

เด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้ (LD)

เด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้  (LD)
เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้เป็นกลุ่มเดียวกัน  Learning Disabilities (LD) หรือไม่ เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ในห้องเรียนอาจเกิดจากการละเลยใส่ใจ  ความเบื่อหน่าย ความไม่เข้าใจ  การถูกเร่งเรียนจนเด็กเบื่อ  หรือเป็นโรคสมาธิสั้นก็ได้ส่งผลทำให้ติดตามการเรียนในห้องเรียนไม่ทัน  แต่ภาวะ  Learning Disabilities (LD) เป็นความพิการเช่นเดียวกับเด็กตาบอด หูหนวก ที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษทางด้านการแพทย์และการศึกษา ในการให้วินิจฉัยและปรับรายละเอียดการเรียนการสอนที่เฉพาะตัว


เมื่อไรจึงจะเรียกเด็กว่าเป็น  Learning Disabilities (LD) แพทย์จะวินิจฉัยว่าเด็กเป็น  Learning  Disabilities  (LD)  ต่อเมื่อมีความสามารถในการอ่านหนังสือและ/หรือเขียนหนังสือและ/หรือคำนวณต่ำกว่าชั้นที่เด็กเรียน 2 ชั้นเรียน  โดยที่มีระดับเชาน์ปัญญาปกติ  และทำให้เด็กติดตามการเรียนตามปกติไม่ได้  มิได้เกิดจากภาวะอวัยวะพิการ  ขาดโอกาสในการเรียน  ปัญญาอ่อนหรือถูกละทิ้ง  ไม่อยากเรียน  หรือเป็นโรคทางจิตเวชอื่น  เช่น  ออทิสติก  เป็นต้น

ครูจะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กเป็น  Learning Disabilities (LD)
ถ้าคุณครูศึกษาถึงระดับความสามารถของเด็กในการอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ และดูที่การคำนวณเฉพาะตัวเลขที่ไม่มีโจทย์  จะทำให้เกิดความสงสัยว่าอาจเป็น  Learning Disabilities (LD) และถ้าได้พูดคุยหรือสังเกตความสามารถนอกห้องเรียนก็จะเห็นแววของความฉลาดซึ่งจะแตกต่างจากเด็กปัญญาอ่อนชัดเจน ที่ทักษะการเรียนอาจเสียหายแบบเดียวกันแต่กลุ่มปัญญาอ่อนจะมีความลำบากในการช่วยตัวเอง และแก้ปัญหาต่าง ๆ ควรส่งเด็กที่สงสัยพบแพทย์  พร้อมข้อมูลของระดับการอ่านหนังสือ  เขียนหนังสือ  และดูที่การคำนวณเฉพาะตัวเลขที่ไม่มีโจทย์  ตรวจเชาวน์ปัญญา  ถ้า  I.Q.  ปกติร่วมกับซักประวัติไม่พบ  ถ้าไม่พบภาวะอวัยวะพิการ  การขาดโอกาสในการเรียน  ปัญญาอ่อน  หรือถูกละทิ้ง  ไม่อยากเรียน  หรือเป็นโรคทางจิตเวชอื่น  เช่น  ออทิสติก  เป็นต้น แพทย์จะออกใบรับรองความพิการตามกฎหมายให้  เพื่อรับรองสิทธิในการได้รับความช่วยเหลือทางการแพทย์  และการศึกษาให้

ทำไมจึงไม่แยกเด็ก  LD ออกจากเด็กปกติ
    เพราะจะทำให้ครูสอนง่ายขึ้น การแยกเด็ก  LD  ออกจากเด็กปกติจะทำในกรณีเพื่อการศึกษา  แนววิธีการสอนและการจัดสอบเพื่อวัดความรู้  การสอนเด็กปกติรวมกับเด็ก  LD  จะทำได้ง่าย ถ้าปรับระบบการสอนมาเน้นการทดลอง  การดู  และการฟังเพิ่มขึ้น  และการ  IEP  สำหรับเด็กจะช่วยทำให้คุณครูในห้องรู้ว่าจะสอนให้ในระดับใด  คุณครูจะได้ไม่ต้องกังวลกับรายละเอียดข้อมูลที่ต้องสอนทั้งหมดเท่าเด็กปกติ  ยกตัวอย่างเช่น  เด็ก  LD  อาจจะอ่านกาพย์  โคลง  กลอน  ฉันท์  ไม่ได้แต่ถ้ามีคนอ่านให้ฟังก็จะจำได้เท่าคนอื่น  เป็นต้น 
      การมีห้องเสริมวิชาการ  หรือ  Sound  Lab  หรือ  Audiovisual  Room  จะช่วยทำให้เด็กกลุ่มนี้พัฒนาความรู้ต่อไปได้ เด็กที่เขียนหนังสือเองแล้วอ่านไม่รู้เรื่องหรือเขียนผิดพลาด แต่พอลอกงานคนอื่นกลับทำได้ดี  อย่างนี้จะเรียกว่าเป็น LD หรือไม่ จะวินิจฉัยว่าเป็น  LD  ด้านการเขียนหรือไม่จะต้องดูที่ความสามารถในการเขียนหนังสือเองว่าสามารถเขียนเองได้ดีในระดับการศึกษาชั้นไหน  ถ้าความสามารถในการเขียนหนังสือต่ำกว่าชั้นที่เด็กเรียน  2  ชั้นเรียน  โดยที่มีความระดับเชาวน์ปัญญาปกติ  และทำให้เด็กติดตามการเรียนตามปกติไม่ได้  จึงจะเรียกว่ามีปัญหาในการเรียนรู้  โดยที่ความสามารถนั้นมิได้เกิดจากภาวะอวัยวะพิการ  ขาดโอกาสในการเรียน  ปัญญาอ่อนหรือถูกละทิ้ง  ไม่อยากเรียน  หรือเป็นโรคทางจิตเวชอื่น  เช่น  ออทิสติก  เป็นต้น  แต่ความสามารถในการเขียนหนังสือโดยการลอกตามแบบไม่เสียหาย  ซึ่งใช้เพียงตาและมือทำงานประสานกันเท่านั้น  เด็กจึงลอกงานเพื่อได้เร็วเท่ากับเด็กอื่น  แต่ความสามารถในการเขียนหนังสือเองต้องใช้สมองส่วนที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับตัวหนังสือซึ่งมีความเสียหาย  บกพร่องทำให้การสะกด  การเรียงตัวอักษร  การสื่อความหมายผิดพลาด

https://www.songkhlahealth.org/paper/361

วิธีสอนเด็ก LD กรณีตัวอย่าง

   


     โรงเรียนที่ไปเยี่ยมเยือนก็คือ รร.บ้านน้ำมวบ อ.เวียงสา จ.น่าน โรงเรียนประถมขนาดเล็กซึ่งนับว่ามีความโดดเด่นไม่แพ้กันในเรื่องของการบ่มเพาะการเรียนรู้ของเด็ก LD โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของเทคนิคการสอนและการปรับในนวัตกรรมต่าง ๆ คนิท แจ่มเที่ยงตรง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านน้ำมวบ เผยว่า ก่อนหน้านี้ปัญหาใหญ่ของแทบทุกโรงเรียนเลยคือ มีเด็กกลุ่มที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้เลย นำไปสู่การทำให้โรงเรียนมีผลสัมฤทธิ์ต่ำ ทาง รร.บ้านน้ำมวบจึงได้จัดทำกระบวนการเรียนการสอนเพื่อเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ขึ้นหลายกิจกรรม ประกอบด้วย เพื่อนช่วยเพื่อน ให้นักเรียนที่เรียนดีช่วยเหลือเพื่อนที่เรียนช้า จัดตารางเรียนพิเศษให้แก่เด็กที่เรียนช้าหลังเลิกเรียนทุกวัน    

          ในแง่ปฏิบัติ เพ็ญ พิมสาร ดีกรีว่าที่รางวัลครูสอนดีของ สสค. ครูผู้ที่งัดเอานำนวัตกรรมพิเศษมาสอนเด็ก LD เพื่อเสริมสร้างสติปัญญาและทักษะการเรียนรู้จนสัมฤทธิผล เล่าว่า การสอนเด็กที่เป็น LD จะเริ่มจากการตรวจสอบว่าเด็กคนนั้นเป็น LD จริงหรือไม่ ส่วนตัวแล้วจะเริ่มจากการสังเกตนักเรียนด้วยการดูจากจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การสอน การตอบคำถาม ทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียน หากมีนักเรียนยังทำไม่ได้ก็จะสอนซ้ำพิเศษเป็นรายบุคคล ซึ่งถ้ายังไม่ได้อีกแสดงว่ามีแนวโน้มที่จะเป็น LD 

          ต่อมาจึงเป็นการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมต่อว่าเด็กคนดังกล่าวมีพฤติกรรมบกพร่องทางสติปัญญาหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมขี้ลืม สอนวันนี้จำได้ พรุ่งนี้ลืม อ่านหนังสือจากหลังไปหน้า อ่านหนังสือสลับบรรทัด เขียนตัวหนังสือสลับกัน เช่น ตัว "น" เป็นตัว "ม" หรือ "ถ" เป็น "ภ" ซึ่งก็พบว่าที่ รร.บ้านน้ำมวบมีเด็กนักเรียนที่เป็น LD จำนวนไม่น้อย อย่างในปีนี้มีมากถึงจาก 46 คน จากนักเรียนทั้งหมด 209 คน

          ไม่นานนัก ครูเพ็ญก็พาเราไปร่วมชมสาธิตการเรียนการสอนน้อง ๆ ในห้องเรียนพิเศษของเด็กที่เป็น LD ไปพร้อม ๆ กับการอธิบายรายละเอียดด้วยว่า การสอนโดยมุ่งความสำคัญกับเด็ก LD ได้เริ่มลองผิดลองถูกทำมาตั้งแต่ปี 2542 กว่าจะมาเข้ารูปเข้ารอยในปี 2548 ซึ่งเคล็ดลับสำคัญที่สุดในการสอนเด็ก LD คือเราต้องเป็นคนที่อารมณ์ดีอยู่เสมอ เพื่อให้เด็กไม่รู้สึกเครียดเวลาเรียนกับเรา เวลาพูดก็ต้องสื่อสารไปในเชิงบวกเชิงให้กำลังใจ "หากเขาทำไม่ได้จะไม่ด่าว่าเขาโง่เด็ดขาด แต่จะบอกหนูทำดีแล้วนะ ถ้าแก้ไขเพิ่มเติมตรงนี้หนูจะเก่งกว่านี้อีก

          นอกจากนี้ยังได้มีการจัดชั่วโมงเรียนพิเศษหลังเลิกเรียนให้กับเด็ก LD ด้วย โดยภายในห้องเรียนพิเศษนี้จะเต็มไปด้วยอุปกรณ์ช่วยสร้างการเรียนรู้อย่างในวิชาภาษาไทย จะมีกระจกให้เสียงปากของครูและปากของตัวเองในการพูดออกเสียงคำที่ควบกล้ำชัดเจน เช่น "ขวาง" หรือ "กว้าง" อุปกรณ์รูเล็ตจำภาษาช่วยในการจดจำตัวอักษรภาษาไทย  

          ส่วนในวิชาคณิตศาสตร์ที่เด็ก LD มักมีปัญหาการคูณและการทดเลข ก็จะมีการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าแท่งเนเปียร์ อุปกรณ์ช่วยคำนวณจากแนวคิดของนักคณิตศาสตร์ John Napier โดยจะมีลักษณะเป็นตารางช่องสามเหลี่ยม สีสันสวยงาม ถ้าต้องการคูณเลขใดก็นำแท่งเนเปียร์ตัวเลขนั้นมาวางเทียบกับแถวของอีกตัวเลขที่ต้องการคูณ ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะตรงกับในตารางสามเหลี่ยมนั้น พร้อมกับการฝึกทำโจทย์ที่มีการแบ่งการคูณเป็นช่องหลักต่าง ๆ ชัดเจน ซึ่งวิธีเรียนเสริมเช่นนี้จะช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น ประกอบกับการเรียนการสอนแบบปกติในห้องเรียนก็จะให้เรียนเป็นแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ให้นักเรียนปกตินั่งเรียนคู่กับคนที่เป็น LD เพื่อให้เขาสามารถเรียนรู้พฤติกรรมการเรียนรู้ตามเด็กปกติ และให้เด็กปกติช่วยเสริมในสิ่งที่ไม่เข้าใจ

          ครูเพ็ญยังได้ปิดท้ายว่า แรงบันดาลใจในการทำทุกสิ่งทุกอย่างนี้มาจากการที่ตนเองมีใจรักเด็ก ๆ ทุกคน อยากให้เด็กๆ ทุกคนที่มาเรียนได้มีความรู้ความสามารถเท่าเทียมกัน ต้องให้เขาสามารถเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมได้ไม่แพ้คนอื่น ๆ 

          "อย่างไรก็ตาม อีกผู้หนึ่งที่จะช่วยเด็กเหล่านี้ได้ไม่ใช่ครู แต่เป็นผู้ปกครอง เพราะสังคมไทยเราอยากให้ผู้ปกครองเข้าใจ ยอมรับในสิ่งที่เด็กเหล่านี้เป็น เด็กที่เป็น LD จะพัฒนาต่อไปไม่ได้เลยถ้าผู้ปกครองไม่เปิดใจหรืออายในสิ่งที่เด็กเป็น แต่ถ้ายอมรับได้ ใครจะรู้บางทีเขาอาจจะไปโลดเลยก็ได้"


เด็ก LD หรือเด็กที่บกพร่องทางด้านการเรียนรู้

เด็กLD หรือเด็กที่บกพร่องทางด้านการเรียนรู้

LD หรือ Learning Disabilities หมายถึง ความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้ แสดงออกมาในรูปของปัญหาด้านการอ่าน การเขียน การสะกดคำ การคำนวณและเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ รศ. พญ. ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์ ผู้อำนวยการสถาบันสร้างสรรค์ศักยภาพสมองครีเอทีฟเบรน กล่าวว่า เด็ก LD หรือเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เป็นเด็กที่มีวงจรการทำงานของสมองไม่เป็นไปตามที่ควรจะเป็นเซลล์สมองบางส่วนอยู่ผิดที่ ทำให้มีปัญหาในการเรียน เรียนอ่อนบางวิชา หรือหลายๆ วิชา ทั้งที่สติปัญญาปกติ

การบกพร่องที่พบบ่อยในเด็กLD

  1. บางคนมีปัญหาในการอ่านทั้งที่มีสายตาหรือประสาทตาปกติ แต่การแปลภาพในสมองไม่เหมือนคนทั่วไป ทำให้เห็นตัวหนังสือกลับหัวกลับหาง ลอยไป ลอยมา ไม่คงที่ บางครั้งเห็นๆ หยุดๆ มองเห็นตัวหนังสือหายไปเป็นบรรทัด บางครั้งเห็นตัวหนังสือแต่ไม่รู้ความหมาย
  2. บางคนมีปัญหาการฟัง ทั้งที่การได้ยินปกติ แต่สมองไม่สามารถแยกแยะเสียงสูง- ต่ำ จึงมักเขียนสะกดผิด และไม่ทราบความหมายของคำ
  3. บางคนมีปัญหาเรื่องทิศทาง ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับภาษา ไม่รู้ว่าซ้ายหรือขวา กะระยะทางไม่ถูก ทำให้เดินชนอยู่บ่อยๆ
  4. บางคนคำนวณไม่ได้ เพราะไม่เข้าใจสัญลักษณ์ตัวเลข ฯ
จากการวิจัยในประเทศไทยพบว่า ปัจจุบันมีเด็กไทย โดยเฉพาะในระดับประถมศึกษาปีที่ 1-2 กว่า 700,000 คน มีความบกพร่องทางการ เรียนรู้ อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ตามวัย ทั้งที่มีระดับสติปัญญา (IQ) ปกติหรือสูงกว่าปกติได้ในบางคน ซึ่งเป็นอาการของเด็ก LD

สาเหตุของเด็ก LD

ศ. ดร. ผดุง อารยะวิญญู อาจารย์ประจำภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ระบุว่า มีสาเหตุสำคัญ 3 ประการ ประการแรก คือ กรรมพันธุ์ เด็กบางคนอาจมีญาติผู้ใหญ่ที่ เป็น LD แต่สังคมในสมัยก่อนยังไม่รู้จัก LD ประการที่สอง การที่เด็กคลอดก่อนกำหนด ทำให้เซลล์สมองผิด ปกติ และสุดท้ายคือ สารเคมีเข้าสู่ร่างกายและสะสมในปริมาณที่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารตะกั่วซึ่งมาจากอากาศและอาหารที่ปนเปื้อนสารเหล่านี้
นอกจากนี้ โรค LD ยังอาจมีสาเหตุมาจากเคยมีโรคติดเชื้อหรืออุบัติเหตุรุนแรงที่สมอง เป็นโรคลมชัก โรค LD มักพบร่วมกับโรคสมาธิสั้น โรคกระตุก (Tic Disorders) และกลุ่มที่มีความล่าช้าในภาษาและการพูด โดยเฉพาะกับโรคสมาธิสั้น พบว่าเป็นร่วมกันถึง 30-40% คือในเด็กที่เป็น LD หรือสมาธิสั้น 10 คน จะมี 4 คน ที่จะเป็นทั้งสมาธิสั้นและ LD

อาการและพฤติกรรมของเด็ก LD

อาการของเด็ก LDจะมีมาตั้งแต่กำเนิด ทั้งที่มี IQ และร่างกายทุกส่วนปกติ และจะปรากฎชัดเมื่อเข้าเรียน คือ เบื่อการอ่าน อ่านหนังสือตะกุกตะกักไม่สมกับวัย เมื่อพ่อแม่ ครู ให้อ่านหรือทำการบ้าน ก็จะไม่ยอมอ่าน ทำให้สอบตก ถึงขั้นต้องเรียนซ้ำชั้น โดยวิชาที่เป็นปัญหามากที่สุด คือ คณิตศาสตร์ เนื่องจากอ่านไม่ออก จับความไม่ได้ ตีความโจทย์ไม่เป็น ทั้งที่เมื่ออ่านให้ฟังก็สามารถตอบได้ถูก

อาการของเด็ก LD อาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

1. มีปัญหาในการอ่านหนังสือ (Dyslexia) อาจจะอ่านไม่ออก หรืออ่านได้บ้าง แต่สะกดคำไม่ถูก ผสมคำไม่ได้ สลับตัวพยัญชนะ สับสนกับการผันสระc]t วรรณยุกต์ บางทีสนใจแต่การสะกดคำ ทำให้อ่านแล้วจับความไม่ได้
2.มีปัญหาในการเขียนหนังสือ (Dysgraphia) ทั้งๆที่รู้ว่าจะเขียนอะไร แต่ก็เขียนไม่ได้ หรือเขียนได้ช้า เขียนตกหล่น เขียนพยัญชนะสลับกัน หรือคำเดียวกันแต่เขียนสองครั้งไม่เหมือนกัน บางคนเขียนแบบสลับซ้ายขวาเหมือนส่องกระจก ลายมือโย้เย้ ขนาดของตัวอักษรไม่เท่ากัน ขึ้นลงไม่ตรงบรรทัด ไม่เว้นช่องไฟ อาจจะเกิดจากมือและสายตาทำงานไม่ประสานกัน หรือการรับภาพของสมองไม่เหมือนคนอื่นๆ
3. มีปัญหาในการคำนวณ (Dyscalculia) อาจจะคำนวณไม่ได้เลย หรือทำได้แต่สับสนกับตัวเลข ไม่เข้าใจสัญลักษณ์ ไม่เข้าใจค่าของตัวเลข บางคนสับสนตั้งแต่การจำเครื่องหมายบวก ลบ คูณ หาร ไม่สามารถจับหลักการได้ เช่น หลักหน่วย หลักสิบ หลักร้อยต่างกันอย่างไร บางคนบวกลบเป็น เข้าใจเครื่องหมาย แต่ตีโจทย์คณิตศาสตร์ไม่ได้ เช่น ถามว่า 2+2 เท่ากับเท่าไร ตอบได้ แต่ถ้าบอกว่ามีส้มอยู่ 2 ลูก ป้าให้มาอีก 2 ลูก รวมเป็นกี่ลูก เด็กกลุ่มนี้จะตอบไม่ได้

จะทราบได้อย่างไรว่าเด็กคนไหนเป็นเด็ก LD

แม้เด็ก LD จะไม่สามารถวินิจฉัยได้ชัดเจนในเด็กต่ำกว่า 6 ขวบ แต่ก็สามารถค้นหากลุ่มเสี่ยงได้ตั้งแต่ชั้นอนุบาล โดยเฉพาะในกลุ่มที่ใช้มือไม่เก่ง งุ่มง่าม ซุกซน พูดช้า การทรงตัวไม่ดี สับสนทิศทาง สับสนซ้ายขวา หรือเด็กที่อายุเกินชั้นป. 1 แล้วยังพูดไม่ชัด มีปัญหาเรื่องของการใช้ภาษา พูด อธิบายหรือเล่าอะไรไม่ได้ ประโยคไม่ปะติดปะต่อ ก็อาจจะมี LD ร่วมด้วย และเมื่อถึงวัยประถมศึกษาที่ต้องแสดงความสามารถทางการเรียนแยกย่อยรายวิชา อาการของโรค ก็จะแสดงให้เห็นเด่นชัดขึ้น
นอกจากนี้ ครู ผู้ปกครองสามารถสังเกตได้ว่า เด็กมีอาการของโรค LD หรือไม่ ด้วยการดูจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเด็กที่มักจะไม่มีระเบียบในชีวิต ขี้ลืม หาของไม่ค่อยเจอทั้งที่อยู่ใกล้ตัว เด็ก LD จะไม่ค่อยสนใจอ่าน เขียน และทำการบ้าน มีลายมือสูงๆ ต่ำๆ ผอมๆ อ้วนๆ ปะปนกันในหนึ่งบรรทัด เขียนไม่เป็นระบบ ทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างไม่รอบคอบ ผิดๆ ถูกๆ
อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองที่สงสัยว่าลูกเป็น LD สามารถพาลูกไปรับการทดสอบและรับการช่วยเหลือได้ที่ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร) และโรงพยาบาลที่มีเครื่องทดสอบ เช่น โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นต้น

จะช่วยเหลือเด็ก LD ได้อย่างไร

LD ถือเป็นโรคที่ไม่มีทางรักษาให้หายได้เด็ดขาด แต่สามารถรักษาให้มีอาการดีขึ้นตามลำดับ การฝึกฝนอาจจะทำให้ทักษะการอ่าน เขียน หรือคำนวณพัฒนาขึ้นมาได้บ้างเป็นบางส่วน แต่โดยธรรมชาติ วิธีการเรียนรู้ของเด็ก LD จะแตกต่างจากเด็กอื่นๆ เทคนิคที่ใช้จึงแตกต่างกันไป
ผู้ปกครองและครูจะต้องมีความเข้าใจถึงความแตกต่างและข้อจำกัดของเด็ก ต้องสอนเด็กกลุ่มนี้เป็นพิเศษ อาจแยกวิชาที่เด็กอ่อน เช่น อ่อนการสะกดคำ ก็แยกมาสอนเฉพาะเพื่อพัฒนาส่วนนั้น รวมทั้งช่วยฝึกฝนประสาทตาและมือให้เด็ก เพราะสองส่วนนี้เป็นสิ่งสำคัญในการใช้อ่านและเขียน
เมื่อสงสัยว่า เด็กเป็น LD ซึ่งถือว่าเป็นความพิการชนิดหนึ่งที่เด็กจะต้องได้รับความช่วยเหลือทางการแพทย์และการศึกษาตามกฎหมาย ครูมีสิทธิที่จะส่งเด็กไปพบแพทย์ เมื่อตรวจพบ แพทย์จะเป็นผู้ออกใบรับรองเพื่อให้เด็กได้รับความช่วยเหลือ ซึ่งทั้งพ่อแม่ ครู และแพทย์ต้องทำงานร่วมกันในการให้ความช่วยเหลือเด็ก 
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team
http://www.mamaexpert.com/posts/content-300

เด็กแอลดี (LD : Learning Disability)




สาเหตุของภาวะความบกพร่องในการเรียนรู้ 

(LD : Learning Disability)

เด็กแอลดี (LD : Learning Disability) หรือ เด็กที่อยู่ในภาวะความบกพร่องในการเรียนรู้ เด็กๆ เหล่านี้จะมีสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือฉลาดกว่า แต่การเรียนรู้ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายๆ ด้านจะช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน
โรคแอลดีเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสมองส่วนใดหรือมีความผิดปกติอย่างไร พบว่ามักจะอยู่ในกลุ่มที่แม่มีปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์ มีปัญหาระหว่างคลอดหรือหลังคลอด หรือสมองของเด็กมีการทำงานผิดปกติ โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อ อุบัติเหตุ ได้รับสารพิษ เป็นต้น
เด็กแอลดีไม่ได้เป็นปัญญาอ่อน มีสติปัญญาปกติหรือมากกว่าปกติ และไม่ได้พิการใดๆ ทั้งสิ้น สาเหตุจะต้องมาจากความผิดปกติของสมองเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่การอยู่ในวัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะด้อยโอกาสในการดูแล หรือ เด็กที่มีความบกพร่องด้านการเรียน อาจเกิดจากระบบการสอนที่ไม่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กตามวัย อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความบกพร่องด้านการเรียนได้ เช่น การเร่งให้เด็กเขียนหนังสือในขณะที่พัฒนาการกล้ามเนื้อของเด็กยังไม่พร้อม เป็นต้น จึงไม่จัดอยู่ในกลุ่มของเด็กแอลดี
โรคแอลดีเป็นโรคที่ติดตัวเด็กไปจนโต การรักษาในวัยเด็กระยะแรกจะสามารถช่วยได้ เพราะเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้อาจประสบความสำเร็จในด้านการเรียนและด้านอื่นๆ ได้ แต่กความบกพร่องทางการเรียนรู้เป็นเสมือนโรคที่ซ่อนเร้น บางครั้งพบว่าเด็กไม่แสดงอาการชัดแจ้ง แต่ควรสังเกตและตรวจสอบตั้งแต่เด็กยังเล็กอยู่ว่าเข้าข่ายเหล่านี้หรือไม่
        • พ่อแม่ คนในครอบครัว หรือญาติผู้ใหญ่ มีประวัติเป็นแอลดี
        • แม่มีอายุน้อยมาก
        • เด็กมีน้ำหนักแรกเกิดเท่าไร น้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์มากไหม
        • เด็กมีภาวะความบาดเจ็บทางสมองจากการคลอดก่อนหรือหลังกำหนด
        • เด็กเคยเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของอวัยวะ เช่น หู ซึ่งสามารถสร้างความกระทบกระเทือนไปถึงสมองบางส่วนหรือไม่
        • เด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษ เช่น มลพิษจากสารตะกั่ว เป็นต้น
นอกจากนี้ยังสังเกตได้จากพัฒนาการของเด็กว่า เป็นไปตามปกติหรือไม่ โดยเฉพาะด้านสติปัญญาที่จะส่งผลสัมพันธ์กับ
พัฒนาการด้านอื่นๆ เช่น
วัยอนุบาล
        • เด็กสามารถพูดคุยออกเสียงได้ชัดเจน สื่อสารได้ เข้าใจนิทานหรือเรื่องอิงจินตนาการที่พ่อแม่เล่าให้ฟัง
        • ความเข้าใจเรื่องมิติสัมพันธ์ รู้จักด้านซ้าย ด้านขวา ไม่ใส่รองเท้าสลับข้าง เขียนอักษรได้ถูกต้อง ไม่สลับทิศทาง เป็นต้น
        • การทำงานประสานกันระหว่างตาและมือ และการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
        • สามารถนับเลขจำนวนง่ายๆ ได้ เช่น นับ 1-10 ได้ เป็นต้น
วัยประถม
        • เด็กมีความสนใจหรือใส่ใจมากน้อยแค่ไหน พ่อแม่ผู้ปกครองควรดูที่โจทย์การบ้านว่ามีความยากง่ายอย่างไร แล้วเปรียบเทียบว่าเด็กใช้เวลาทำการบ้านนานเกินไปหรือไม่
        • เด็กมีความเข้าใจในบทเรียนต่างๆ มากน้อยแค่ไหน เมื่อถูกซักถาม สามารถอธิบายได้หรือไม่
        • เด็กวัยประถมควรอ่านสะกดคำได้ อ่านแล้วสามารถเรียงลำดับเหตุการณ์ความเป็นมาก่อนหรือหลังได้อย่างเข้าใจ
        • มีความเข้าใจเรื่องการคิดคำนวณ บวก ลบ คูณ หารเลขลักหน่วย หลักสิบ เป็นต้น

ข้อสังเกตและอาการบ่งชี้ของภาวะความบพร่องในการเรียนรู้ (LD : Learning Disability)
เด็กแอลดีอาจแสดงออกมาเป็นความบกพร่องทางการฟัง การพูด การเขียน การคำนวณ เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนทำให้เรียนไม่ได้ตามศักยภาพที่มีอยู่ เด็กพวกนี้ถึงแม้จะเรียนพร้อมกับเด็กคนอื่น แต่ก็เรียนรู้ไม่ได้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดงนี้
1. ด้านการอ่าน (Dislexia)
        • อาจจะอ่านไม่ออกหรืออ่านได้บ้าง สะกดคำไม่ถูก ผสมคำไม่ได้ สลับตัวพยัญชนะ สับสนกับการผันสระ อ่านตกหล่น ข้ามคำ อ่านไม่ได้ใจความจนถึงขั้นอ่านไม่ออกเลย
        • อ่านช้า ลำบากในการอ่าน จะต้องสะกดคำก่อนจึงจะอ่านได้
        • อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
        • อ่านเดาจากอักษรตัวแรก เช่น บาท เป็นบทที่, เมื่อนั้น เป็น บัดนั้น
        • อ่านข้าม อ่านเพิ่ม อ่านสลับคำ เช่น กรน อ่านเป็น นรก, กลม เป็น กมล เพราะความสามารถในการรับตัวหนังสือเข้าไปแล้วแปลเป็นตัวอักษรเสียไป
        • ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
        • อ่านแล้วจับใจความสำคัญหรือเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่องที่อ่านไม่ได้
        • สำหรับเด็กที่มีความสามารถในการคำนวณ แต่มีปัญหาในการอ่าน ก็ไม่สามารถทำคะแนนได้ดีเวลาสอบ เนื่องจากโจทย์ที่ให้ต้องอ่านเพื่อตีความหมาย
2. ด้านการเขียนและการสะกดคำ (Disgraphia)
        • รู้ว่าจะเขียนอะไร แต่เขียนไม่ได้ เขียนตก เขียนพยัญชนะสลับกัน บางคนเขียนแบบสลับซ้ายเป็นขวาเหมือน ส่องกระจก เกิดจากมือและสายตาทำงานไม่ประสานกัน เขียนกลับหลัง เขียนพยัญชนะ สระวรรณยุกต์ สลับตำแหน่งกัน (เด็กกลุ่มนี้มักจะเริ่มสังเกตเห็นปัญหาได้ชัดเจนตอนเริ่มเข้าเรียน) เช่น ก ไก่ เขียนหันหัวไปทางขวาแทนที่จะเป็นทางซ้าย
        • ลากเส้นวนๆ ซ้ำๆ ไม่แน่ใจว่าจะเขียนหัวเข้าหรือหัวออก เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน เช่น น เป็น ม, ภ เป็น ถ, ด เป็น ค, b เป็น d, 6 เป็น 9 เป็นต้น
        • เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
        • เขียนเรียงลำดับ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนทีละตัวได้
        • เขียนไม่ตรงบรรทัด ขนาดตัวหนังสือเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน ไม่มีช่องไฟ
        • จับดินสอแน่นมาก ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายๆ ครั้ง
        • สะกดคำผิด เช่น บดบาด (บทบาท) แพด (แพทย์)
3. ด้านการคำนวณ (Discalculia) อาจจะคำนวณไม่ได้เลย หรือทำได้แต่สับสนกับตัวเลข ไม่เข้าใจสัญลักษณ์ ไม่เข้าใจค่าของตัวเลข ไม่สามารถจับหลักการ บวก ลบ คูณ หารได้
        • เขียนตัวเลขผิด ไม่เข้าใจเครื่องหมาย สัญลักษณ์ ค่าของตัวเลขหลักต่างๆ หรือไม่เข้าใจวิธีการคำนวณตัวเลข
        • นับเลขไปข้างหน้าหรือนับย้อนหลังไม่ได้
        • จำสูตรคูณไม่ได้
        • จะคำนวณเลขจากซ้ายไปขวา แทนที่จะเป็นจากขวาไปซ้าย
        • ไม่เข้าใจเรื่องเวลา
        • เขียนเลขสลับตำแหน่งกัน เช่น จาก 12 เป็น 21
        • เอาตัวเลขน้อยลบออกจากตัวเลขมาก เช่น 35-8 =27 เด็กจะเอา 5 ลบออก 8 เพราะมองว่า 5 เป็นเลขจำนวนน้อย แทนที่จะมองว่า 5 เป็นตัวแทนของ 15



วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ตัวอย่าง การเขียนหลักสูตรท้องถิ่น



               

ตัวอย่าง  การเขียนหลักสูตรท้องถิ่น


หลักสูตร การทำขนมจีน –น้ำยา หล่มเก่า



ความสำคัญ
            ขนมจีน เป็นอาหารที่นิยมรับประทานกันทั่วทุกภาคของประเทศไทย นอกจากจะทำรับประทานในครอบครัวแล้วยังสามารถทำขายเป็นอาชีพได้ ขนมจีนอำเภอหล่มเก่าเป็นอาหารพื้นบ้านที่ขึ้นชื่อของจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกว่าขนมจีนที่อื่น คือ เส้นขนมจีนจะทำขึ้นมาใหม่ ๆ เส้นจะเหนียว ขาว นุ่ม มีเส้นเล็ก สีของเส้นขนมจีนนอกจากจะเป็นเส้นสีขาวธรรมดาแล้ว ยังมีเส้นทีใช้สีจากสมุนไพรชนิดต่าง ๆ เช่นเส้นสีเหลืองจากฟักทอง เส้นสีม่วงจากดอกอัญชัน เส้นสีเขียวจากใบเตย เส้นสีส้มจากแครอท เป็นต้นด้วยลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์นี้จึงทำให้ขนมจีนหล่มเก่าเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย และเรียกกันติดปากว่า ขนมจีนหล่มเก่า

จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจและ มีทักษะในการทำขนมจีนหล่มเก่า
2. เพื่อเป็นการส่งเสริม อนุรักษ์ขนมธรรมเนียมประเพณี และสืบสานการทำขนมจีนหล่มเก่า
3. เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้


วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงวิธีการและขั้นตอนการทำขนมจีนหล่มเก่า
2. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการทำขนมจีนหล่มเก่า
3. เพื่อให้ผู้เรียนมีความตระหนักรู้จักการอนุรักษ์ขนมธรรมเนียมประเพณี และสืบสานการทำขนมจีนหล่มเก่า

เนื้อหาหลักสูตร  
ประกอบด้วยเนื้อหา 5 เรื่อง ดังนี้
1. ประวัติความเป็นมาของขนมจีน
2. วิธีการทำขนมจีนหล่ม
3. การบรรจุภัณฑ์
4. การบริหารจัดการและการตลาด
5. การให้บริการ

เวลาเรียน
หลักสูตรการทำขนมจีน น้ำยา หล่มเก่า ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 50 ชั่วโมง
ภาคทฤษฎี 18 ชั่วโมง
ภาคปฏิบัติ 32 ชั่วโมง

แหล่งการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียน
1. ใบความรู้เนื้อหาวิชาการทำขนมจีน ประกอบด้วย 5 เรื่อง
2. แหล่งเรียนรู้ ร้านบุญมีขนมจีน อำเภอหล่มเก่า

กิจกรรมการเรียนรู้
1. ศึกษาความรู้ด้านทฤษฎี
2. ฝึกปฏิบัติ
3. ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้

การวัดผลประเมินผล
1. การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้/การมีส่วนร่วม
2. การประเมินผลงาน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการทำขนมจีน น้ำยา หล่มเก่า
2. ผู้เรียนสามารถทำขนมจีน น้ำยา หล่มเก่า ได้
3. ผู้เรียนมีความตระหนักการอนุรักษ์ขนมธรรมเนียมประเพณี และสืบสานการทำขนมจีนหล่มเก่า
4. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ ในการประกอบอาชีพได้

โครงสร้างเนื้อหาหลักสูตร
เรื่องที่ ประวัติความเป็นมาของขนมจีน จำนวน 3 ชั่วโมง
1.1 ประวัติขนมจีนทั่วไป
1.2 ประวัติขนมจีนหล่มเก่า
เรื่องที่ วิธีการทำขนมจีนหล่มเก่า จำนวน 27 ชั่วโมง
2.1 วัสดุ อุปกรณ์ และวัตถุดิบสำหรับทำขนมจีนหล่มเก่า
2.2 วิธีการ และขั้นตอนการทำขนมจีนหล่มเก่า
2.3 การทำน้ำยา
2.4 การทำเครื่องเคียง
เรื่องที่ การบรรจุภัณฑ์ จำนวน 9 ชั่วโมง
3.1 การออกแบบและบรรจุภัณฑ์
เรื่องที่ การบริหารจัดการและการตลาด จำนวน 3 ชั่วโมง
4.1 วางแผน
4.2 เทคนิคการขาย
4.3 การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
เรื่องที่ การให้บริการ จำนวน 8 ชั่วโมง
5.1 ความหมาย ความสำคัญของการให้บริการ
5.2 เทคนิคการการบริการสำหรับผู้ประกอบการ
5.3 การปฏิบัติตนในการให้บริการลูกค้า




หลักสูตรการทำข้าวหลาม  น้ำหนาว




ความสำคัญ

     ปัจจุบันประชาชนอำเภอน้ำหนาว มีการประกอบอาชีพเสริม ด้วยการทำข้าวหลาม  โดยนำเอาวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น คือไม้ไผ่ และข้าวไร่ (พันธ์พญาลืมแกง) มาทำเป็นข้าวหลาม เพื่อรับประทานและทำจำหน่าย เป็นสินค้าประจำท้องถิ่น นอกจากนั้นยังเป็นการส่งเสริมประเพณีเผาข้าวหลามประจำปีของอำเภอน้ำหนาว ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนธันวาคมของทุกปีอีกด้วย


จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นมีอาชีพเสริม
2. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำข้าวหลามน้ำหนาว และสามารถทำข้าวหลามได้
3. เพื่อส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ประเพณีเผาข้าวหลาม ประจำปีของอำเภอน้ำหนาว

วัตถุประสงค์
        1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำข้าวหลามน้ำหนาว
        2. เพื่อให้มีทักษะในการทำข้าวหลาม
        3. เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้

เนื้อหาของหลักสูตร
ประกอบด้วยเนื้อหา 2 เรื่อง ดังนี้
1. วัสดุ อุปกรณ์ ในการทำข้าวหลาม
2. ขั้นตอนในการทำข้าวหลาม ไส้ต่าง ๆ

เวลาเรียน                                                                               
        ภาคทฤษฎี ชั่วโมง
        ภาคปฏิบัติ  15 ชั่วโมง

สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้
         1. ใบความรู้เรื่องการทำข้าวหลามน้ำหนาว
         2. แหล่งการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำข้าวหลามน้ำหนาว

กิจกรรมการเรียนรู้
           1. การเรียนรู้ทฤษฎี
           2. การฝึกปฏิบัติ
           3. ศึกษาดูงานแหล่งการเรียนรู้

การวัดและประเมินผล
             วิธีวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ประกอบด้วย
             1. การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วม
             2. การประเมินชิ้นงาน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำข้าวหลามน้ำหนาว
2. ผู้เรียนสามารถทำข้าวหลามน้ำหนาวได้
3. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้

โครงสร้างเนื้อหาหลักสูตร
            เรื่องที่ 1. วัสดุอุปกรณ์ในการทำข้าวหลาม  จำนวน 5 ชั่วโมง วัสดุอุปกรณ์ในการทำข้าวหลาม ได้แก่ ไม้ไผ่ ข้าวเหนียว น้ำกะทิ เกลือป่น น้ำตาลทราย และเผือก/ถั่ว

            เรื่องที่ ขั้นตอนการทำข้าวหลาม   จำนวน 13  ชั่วโมง
                                – การคัดเลือกชนิดไม้ไผ่
                                – การแช่ข้าวเหนียว
                                – การผสม น้ำกะทิ น้ำตาลทราย เกลือป่น เข้าด้วยกัน
                                – การนำข้าวเหนียว มาคลุกเคล้ากับส่วนผสม และใส่ไส้ชนิดต่าง ๆ
                                – การกรอกส่วนผสมใส่กระบอก
                                – การเผาข้าวหลาม

แหล่งข้อมูล 
https://panchalee.wordpress.com/2009/10/06/local_curricula/