แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานต่อไปนี้
1. พื้นฐานของพุทธศาสนา
1.1 อริยสัจ 4 พุทธศาสนาเป็นพื้นฐานของชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมของผู้เรียน ดังนั้นในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นให้สอดคล้องกับชีวิตของผู้เรียนและชุมชนจึงต้องเริ่มจากปัญหา เพื่อแก้ไข
1.2 อิทัปปัจจยตา หลักพุทธศาสนาเชื่อว่า เพราะมีสิ่งนี้ สิ่งนั้นจึงตามมา หรือเมื่อมีแล้ว อย่างนั้นจะตามมา ทุกอย่างมีความเกี่ยวข้องกัน ไม่เป็นอิสระแต่เป็นองค์รวม
1.3 เชื่อว่าทุกสิ่งมาจากเหตุ ที่ผ่านมาการเรียนการสอนเน้นการท่องจำมากกว่าการสอนให้เหตุผล ดังนั้น การเรียนการสอนต้องให้คนได้เรียนรู้การหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา
1. พื้นฐานของพุทธศาสนา
1.1 อริยสัจ 4 พุทธศาสนาเป็นพื้นฐานของชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมของผู้เรียน ดังนั้นในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นให้สอดคล้องกับชีวิตของผู้เรียนและชุมชนจึงต้องเริ่มจากปัญหา เพื่อแก้ไข
1.2 อิทัปปัจจยตา หลักพุทธศาสนาเชื่อว่า เพราะมีสิ่งนี้ สิ่งนั้นจึงตามมา หรือเมื่อมีแล้ว อย่างนั้นจะตามมา ทุกอย่างมีความเกี่ยวข้องกัน ไม่เป็นอิสระแต่เป็นองค์รวม
1.3 เชื่อว่าทุกสิ่งมาจากเหตุ ที่ผ่านมาการเรียนการสอนเน้นการท่องจำมากกว่าการสอนให้เหตุผล ดังนั้น การเรียนการสอนต้องให้คนได้เรียนรู้การหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา
2. ความเชื่อพื้นฐานทางการศึกษาผู้ใหญ่ (คิดเป็น)
คิดเป็น มีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนต้องการมีความสุข แต่ความสุขแต่ละคนแตกต่างกัน เนื่องจากชีวิตมนุษย์มีความแตกต่างกัน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจึงต้องหลากหลาย และสอดคล้องกับความต้องการ ความแตกต่างของแต่ละคนและชุมชน
ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน
คือ
2.1 ขั้นหาสาเหตุของปัญหา เป็นการหาข้อมูลมาวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น
2.2 ขั้นวิเคราะห์ เป็นการวิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหา โดยใช้ข้อมูลมาประกอบ
2.3 ขั้นตัดสินใจ ได้ทางเลือกแล้วจึงแก้ปัญหาในทางที่มีข้อมูลต่างๆสมบูรณ์ที่สุด
2.4 ขั้นตัดสินใจไปสู่การปฏิบัติ เมื่อตัดสินใจเลือกทางเลือกแล้วต้องยอมรับว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
2.5 ขั้นปฏิบัติในการแก้ปัญหา เป็นการประเมินผล เพื่อนำมาสู่กระบวนการคิดแก้ปัญหาใหม่
2.6 การให้การศึกษาเพื่อไปสู่การคิดเป็น โดยผู้เรียนสำรวจปัญหาที่เกิดขึ้น วิเคราะห์สาเหตุ แล้วเลือกวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด โดยคำนึงถึงความชอบธรรม แล้วกลับมาตรวจสอบสาเหตุของปัญหา เพื่อแนวทางแก้ปัญหาในวงจรใหม่ต่อไป
3. พื้นฐานของชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรมไทย
หลักสูตรท้องถิ่น เป็นหลักสูตรที่พัฒนาจากสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียน โดยผู้เรียน ครู และชุมชนร่วมกันสร้าง ผู้เรียนจึงเกิดการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้
3.1 ชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรมของผู้เรียน ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับผู้เรียนที่ได้จากการสำรวจ ซึ่งตอบสนองต่อการจัดกระบวนการเรียนการสอน และการแสวงหาความรู้
3.2 ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชีวิตของมนุษย์จะเติบโตในลักษณะองค์รวม ต้องเกี่ยวข้องกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อาศัย รวมทั้งสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างมีคุณค่า
4. หลักการเรียนรู้
หลักสูตรท้องถิ่นของกรมการศึกษานอกโรงเรียนพัฒนาบนพื้นฐานทางวิชาการ โดเน้นหลักการต่อไปนี้
4.1 การเรียนรู้แบบองค์รวมหรือแบบสหวิทยาการ การเรียนการสอนแบบแยกส่วน บางครั้งอาจใช้ได้ในบางจุด การสอนแบบองค์รวมเหมาะกับชีวิตจริง
4.2 เน้นการบูรณาการความรู้สู่การนำไปใช้ในชีวิตจริง การจัดการเรียนการสอนควรจัดให้เกิดความสอดคล้องระหว่างการเรียนรู้และการทำงาน หรือชีวิตจริง ควรเป็นเรื่องราวที่เป็นจริง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
4.3 การขยายผลและการประยุกต์ความรู้ไปใช้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ ต้องจัดกิกรรมการเรียนการสอนให้ครบตามทฤษฎีเชิงระบบ คือ ขั้น1 input การแสวงหาและการถ่ายทอดความรู้ร่วมกันระหว่างครูและผู้เรียน ขั้น 2 process กระบวนการที่ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปขยายผลหรือประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง และขั้นที่ 3 output การแสดงผลที่เกิดจากการเรียนรู้ของการนำความรู้ไปขยายผลหรือประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
4.4 เน้นการต่อยอดความคิดมากกว่าการถ่ายทอดความรู้เพียงอย่างเดียว มนุษย์ถ้าคิดได้ คิดเป็น จะสามารถแสวงหาความรู้ได้โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ในลักษณะที่ปฏิบัติจริงหลายๆกระบวนการรวมทั้งเรียนรู้เพื่อใช้ประโยชน์ เพื่อส่งผลต่อการดำเนินชีวิต
4.5 ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การจัดการเรียนการสอนต้องใช้เทคนิคและกระบวนการโดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลัก ให้ผู้เรียนได้เรียนจากสภาพชีวิตความเป็นอยู่ผสมผสานกับทฤษฎีความรู้เพิ่มเติม
4.6 พื้นฐานของทฤษฎีเชิงระบบ คำว่าระบบ คือ การนำองค์ประกอบหลายๆส่วนมาสอดประสานกันอย่างสอดคล้อง และส่งเสริมซึ่งกันและกัน การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรท้องถิ่นโดยวิธีของทฤษฎีเชิงระบบพัฒนาตามขั้นตอน ดังนี้
4.6.1 ปัญหา (แท้) คือปัญหาที่เกิดจากเหตุ
4.6.2 ความต้องการ (ที่เป็นรูปธรรม)
4.6.3 หัวข้อเนื้อหา (ที่เป็นรูปธรรม)
4.6.4 สาระสำคัญ
4.6.5 วัตถุประสงค์
4.6.6 กระบวนการเรียนรู้ที่ครอบคลุม I-P-O
4.6.7 สื่อการเรียนการสอน
4.6.8 การประเมินผล
2.1 ขั้นหาสาเหตุของปัญหา เป็นการหาข้อมูลมาวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น
2.2 ขั้นวิเคราะห์ เป็นการวิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหา โดยใช้ข้อมูลมาประกอบ
2.3 ขั้นตัดสินใจ ได้ทางเลือกแล้วจึงแก้ปัญหาในทางที่มีข้อมูลต่างๆสมบูรณ์ที่สุด
2.4 ขั้นตัดสินใจไปสู่การปฏิบัติ เมื่อตัดสินใจเลือกทางเลือกแล้วต้องยอมรับว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
2.5 ขั้นปฏิบัติในการแก้ปัญหา เป็นการประเมินผล เพื่อนำมาสู่กระบวนการคิดแก้ปัญหาใหม่
2.6 การให้การศึกษาเพื่อไปสู่การคิดเป็น โดยผู้เรียนสำรวจปัญหาที่เกิดขึ้น วิเคราะห์สาเหตุ แล้วเลือกวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด โดยคำนึงถึงความชอบธรรม แล้วกลับมาตรวจสอบสาเหตุของปัญหา เพื่อแนวทางแก้ปัญหาในวงจรใหม่ต่อไป
3. พื้นฐานของชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรมไทย
หลักสูตรท้องถิ่น เป็นหลักสูตรที่พัฒนาจากสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียน โดยผู้เรียน ครู และชุมชนร่วมกันสร้าง ผู้เรียนจึงเกิดการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้
3.1 ชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรมของผู้เรียน ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับผู้เรียนที่ได้จากการสำรวจ ซึ่งตอบสนองต่อการจัดกระบวนการเรียนการสอน และการแสวงหาความรู้
3.2 ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชีวิตของมนุษย์จะเติบโตในลักษณะองค์รวม ต้องเกี่ยวข้องกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อาศัย รวมทั้งสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างมีคุณค่า
4. หลักการเรียนรู้
หลักสูตรท้องถิ่นของกรมการศึกษานอกโรงเรียนพัฒนาบนพื้นฐานทางวิชาการ โดเน้นหลักการต่อไปนี้
4.1 การเรียนรู้แบบองค์รวมหรือแบบสหวิทยาการ การเรียนการสอนแบบแยกส่วน บางครั้งอาจใช้ได้ในบางจุด การสอนแบบองค์รวมเหมาะกับชีวิตจริง
4.2 เน้นการบูรณาการความรู้สู่การนำไปใช้ในชีวิตจริง การจัดการเรียนการสอนควรจัดให้เกิดความสอดคล้องระหว่างการเรียนรู้และการทำงาน หรือชีวิตจริง ควรเป็นเรื่องราวที่เป็นจริง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
4.3 การขยายผลและการประยุกต์ความรู้ไปใช้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ ต้องจัดกิกรรมการเรียนการสอนให้ครบตามทฤษฎีเชิงระบบ คือ ขั้น1 input การแสวงหาและการถ่ายทอดความรู้ร่วมกันระหว่างครูและผู้เรียน ขั้น 2 process กระบวนการที่ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปขยายผลหรือประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง และขั้นที่ 3 output การแสดงผลที่เกิดจากการเรียนรู้ของการนำความรู้ไปขยายผลหรือประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
4.4 เน้นการต่อยอดความคิดมากกว่าการถ่ายทอดความรู้เพียงอย่างเดียว มนุษย์ถ้าคิดได้ คิดเป็น จะสามารถแสวงหาความรู้ได้โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ในลักษณะที่ปฏิบัติจริงหลายๆกระบวนการรวมทั้งเรียนรู้เพื่อใช้ประโยชน์ เพื่อส่งผลต่อการดำเนินชีวิต
4.5 ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การจัดการเรียนการสอนต้องใช้เทคนิคและกระบวนการโดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลัก ให้ผู้เรียนได้เรียนจากสภาพชีวิตความเป็นอยู่ผสมผสานกับทฤษฎีความรู้เพิ่มเติม
4.6 พื้นฐานของทฤษฎีเชิงระบบ คำว่าระบบ คือ การนำองค์ประกอบหลายๆส่วนมาสอดประสานกันอย่างสอดคล้อง และส่งเสริมซึ่งกันและกัน การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรท้องถิ่นโดยวิธีของทฤษฎีเชิงระบบพัฒนาตามขั้นตอน ดังนี้
4.6.1 ปัญหา (แท้) คือปัญหาที่เกิดจากเหตุ
4.6.2 ความต้องการ (ที่เป็นรูปธรรม)
4.6.3 หัวข้อเนื้อหา (ที่เป็นรูปธรรม)
4.6.4 สาระสำคัญ
4.6.5 วัตถุประสงค์
4.6.6 กระบวนการเรียนรู้ที่ครอบคลุม I-P-O
4.6.7 สื่อการเรียนการสอน
4.6.8 การประเมินผล
4.7 ทฤษฎีเชิงการสร้างปัญญา การเรียนรู้เกิดจากการสร้างความรู้โดยตรง เมื่อผู้เรียนมีข้อมูลอาจจะกระทำด้วยตนเองหรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลง พูดคุยกับกลุ่มอื่น ผู้เรียนจะได้ประสบการณ์ใหม่ มีการจัดระบบเป็นหมวดหมู่ ถือว่าผู้เรียนมีสาระของเนื้อหา
4.8 การใช้ผู้ชำนาญการในท้องถิ่น การจัดการเรียนการสอนชุมชนจึงเป็นภูมิปัญญาด้านต่างๆ รวมทั้งตัวผู้เรียนด้วยที่สามารถนำมาใช้เป็นสื่อเพื่อการเรียนรู้ โดยเฉพาะหลักสูตรท้องถิ่นซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสภาพปัญหา ความเป็นอยู่ในชุมชน
4.9 การศึกษาตลอดชีวิต
หลักสูตรท้องถิ่นถือเป็นกระบวนการจัดการศึกษาที่ส่งผลให้คนสามารถจัดการกับชีวิตด้วยตนเอง
สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข แนวคิดที่สำคัญในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
อยู่บนรากฐานของหลักศาสนาและการศึกษาที่สอนให้คนเป็นผู้มีความคิด รู้จักตนเอง
บนพื้นฐานชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรม
ซึ่งการจัดการเรียนการสอนเป็นเรื่องสอดคล้องกับสภาพปัญหาความเป็นอยู่ของผู้เรียนที่อยู่ในชุมชนนั้นๆ
จุดเน้นของการพัฒนาและการสร้างหลักสูตรท้องถิ่น
จุดเน้นของการพัฒนาและการสร้างหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อให้การจัดการศึกษาสอดคล้อง อำนวยประโยชน์ต่อนักเรียนในการพัฒนาคุณภาพชีวิต อาชีพ เศรษฐกิจ ตามเจตนารมณ์นั้น จุดเน้นของการพัฒนาและการสร้างหลักสูตรท้องถิ่นต้องคำนึงถึง 3 ส่วน คือ
1. เนื้อหาสาระ ที่ต้องให้นักเรียนได้เรียนรู้และภูมิใจในชุมชนของตนเอง
2. กระบวนการเรียนการสอน ต้องให้ผู้เรียนได้สัมผัสกับประสบการณ์จริงจากชุมชน
3. ต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาช่วยในการเรียนการสอน
ลักษณะของหลักสูตรท้องถิ่นที่ดี
หลักสูตรระดับท้องถิ่นที่ดี เป็นหลักสูตรที่ตอบสนองต่อสภาพชีวิตของผู้เรียน
มีลักษณะดังนี้
1. ตอบสนองความหลากหลายของปัญหา มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์ให้เหมาะสม เน้นกระบวนการสอนให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจริง จนเกิดทักษะ
2. ส่งเสริมให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วม เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้จากท้องถิ่น เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเรียนกับชีวิตจริง มีการส่งเสริมให้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการศึกษา
3. สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตจริง มุ่งเน้นการเรียนรู้อย่างบูรณาการ ไม่แยกส่วนหรือตัดตอนของกระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมทางวิชาการ
4. สามารถพัฒนาเพิ่มขึ้นได้ตลอดเวลา เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนปลงไปตลอดเวลา สามารถปรับเปลี่ยนได้ทันที
5. ส่งเสริมความเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพของสังคม มุ่งเน้นด้านศีลธรรม จริยธรรม การธำรงไว้ซึ่งสังคมประชาธิปไตย ก่อให้เกิดศรัทธาเชื่อมั่นภูมิใจในภูมิปัญญา ค่านิยม ความเชื่อ ความคาดหวังและอุดมการณ์ที่ต่างกันของคนในท้องถิ่นกับผููู้สร้างหลักสูตร ปรัชญาการศึกษาของท้องถิ่นกับปรัชญาการศึกษาโดยทั่วไปถูกกำหนดเป็นกรอบในการจัดการศึกษา เน้นความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติ ปรัชญาการศึกษาสำหรับท้องถิ่นมองว่าธรรมชาติเป็นถิ่นที่อยู่ของตน แต่ปรัชญาการศึกษาไม่ใส่ใจกับการคงอยู่ของธรรมชาติมากเท่ากับการให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้คุ้มค่า และมากที่สุด
***********************************