วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง



การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ อิงมาตรฐาน
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2560

     
เริ่มจากการจัดทำโครงสร้างรายวิชา (ประกอบด้วยหลายหน่วยการเรียนรู้)
เพื่อให้เห็นภาพรวมของวิชาแล้วจึงนำแต่ละหน่วยการเรียนรู้ไปทำการออกแบบ
การจัดการเรียนรู้โดยเทคนิค Backward Design

การจัดทำหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2560
ขั้นแรกต้องจัดทำโครงสร้างรายวิชาก่อน เพื่อให้มองเห็นภาพรวมของรายวิชา ดังนี้
    1. ศึกษาตัวชี้วัดทั้งหมดในคำอธิบายรายวิชา
    2. จัดกลุ่มตัวชี้วัดที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันแล้วตั้งชื่อหน่วยให้น่าสนใจ
    3. กำหนดสาระสำคัญของแต่ละหน่วย
    4. กำหนดจำนวนชั่วโมง และ คะแนนสำหรับแต่ละหน่วยให้เหมาะสม
    (รวมตลอดปี/ภาคเรียนเท่ากับที่กำหนดในโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา) 
สาระสำคัญ คือองค์ความรู้สำคัญ เป็น ความคิดรวบยอด (Concept)
ที่เป็นหลักการที่ต้องการให้ฝังติดตัวผู้เรียนไปเป็นเวลานาน
และสามารถนำมาใช้ได้เมื่อต้องการ ในสาระสำคัญน่าจะมี 3 ส่วน
ได้แก่ ความรู้ ทักษะ/กระบวนการ และคุณลักษณะของวิชา
ที่ต้องการให้เป็นองค์ความรู้ที่ติดตัวผู้เรียนไปเป็นเวลานาน
เมื่อได้โครงสร้างรายวิชาในภาพรวมแล้ว จึงนำแต่ละหน่วย
มาออกแบบการเรียนรู้โดยเทคนิค Backward Design ดังนี้
    1. กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ของหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายการเรียนรู้ของหน่วยฯ มีดังนี้
      1.1 สาระสำคัญ(Concept) เป็นองค์ความรู้โดยรวมที่ต้องการให้ฝังติดตัวผู้เรียนไปเป็นเวลานาน หรือที่เรียกว่า “ความเข้าใจที่คงทน(Enduring Understanding) เป็นองค์ความรู้ที่เป็นหลักการ หรือหลักวิชาของแต่ละเรื่อง
      1.2 ตัวชี้วัดชั้นปี หรือตัวชี้วัดช่วงชั้นที่นำมาจัดกลุ่มทำเป็นหน่วยฯ
      1.3 คุณลักษณะ(ของวิชา)
      1.4. สมรรถนะสำคัญ(จากหลักสูตร)
      1.5 คุณลักษณะอันพึงประสงค์(จากหลักสูตร)
    2. กำหนดหลักฐานที่เป็นผลที่เกิดจากการเรียนรู้ของผู้เรียนตามเป้าหมายที่กำหนด ได้แก่
      2.1 ชิ้นงาน/ภาระงานโดยรวมที่เป็นหลักฐานที่แสดงว่าผู้เรียนมีความเข้าใจตามเป้าหมายของหน่วยฯ แล้ว สำหรับเป้าหมาย สาระสำคัญ
      2.2 ชิ้นงาน/ภาระงานที่เป็นหลักฐานว่ามีความเข้าใจตามเป้าหมายที่เป็นตัวชี้วัด คุณลักษณะ สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
    3. ออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีหลักฐานที่เป็นผลการเรียนรู้ตามเป้าหมายของหน่วยฯ ที่กำหนด โดยนำหลักฐานแต่ละหลักฐานมาเป็นตัวกำหนดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมีหลักฐานการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้แล้วจึงนำข้อมูลทั้งหมดมาเขียน "แผนการจัดการเรียนรู้" ซึ่งมีองค์ประกอบ ได้แก่

      3.1 หัวแผนการจัดการเรียนรู้
            (หน่วยการเรียนรู้เรื่อง....รหัส และชื่อรายวิชา......
             กลุ่มสาระการเรียนรู้.......ชั้น......ภาคเรียนที่.....เวลา....ชั่วโมง)
      3.2 มาตรฐานการเรียนรู้..............
      3.3 ตัวชี้วัด..................
      3.4 สาระสำคัญ.......
      3.5 สาระการเรียนรู้
        3.5.1 ความรู้
        3.5.2 ทักษะ/กระบวนการ
        3.5.3 คุณลักษณะ
        3.5.4 สมรรถนะสำคัญ
        3.5.5 คุณลักษณะอันพึงประสงค์
      3.6 การจัดการเรียนรู้/ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
      (นำเข้าสู่บทเรียน สอน สรุปประเมิน ควรเขียนเป็นรายชั่วโมงตามตารางสอนที่จัดให้)
      3.8 สื่อ อุปกรณ์ และแหล่งการเรียนรู้
      3.9 การวัด และประเมินผล (วิธีการวัด เครื่องมือวัด เกณฑ์การวัด)


      เมื่อจัดทำโครงสร้างรายวิชา และจัดทำหน่วยการเรียนรู้เรียบร้อยแล้ว 
      ควรมีการประเมิน ความถูกต้อง และเหมาะสมของหน่วยฯ
      ก่อนที่จะนำไปจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน

      แหล่งข้อมูล http://www.education.preecha.net/cursci.html