1. ความหมาย
การจัดการความรู้ (KM :
Knowledge management ) คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน
และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล
ไปสู่ สารสนเทศ
เพื่อให้เกิด ความรู้
และ ปัญญา
ในที่สุด เป็นเครื่องมือเพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมกัน ได้แก่
1) บรรลุเป้าหมายของงาน
2) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน
3) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้
4) บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน
2. ประเภทของความรู้
ความรู้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้สองประเภท คือ
1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit
Knowledge) หรือความรู้แฝงเร้น เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่ายจึงต้องอาศัยกลไกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้คนได้พบกัน สร้างความไว้วางใจกัน และถ่ายทอดความรู้ระหว่างกันและกันเช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit
Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม
ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ บางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
3. ระดับของความรู้
เมื่อจำแนกระดับของความรู้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ คือ- ความรู้เชิงทฤษฏี (Know-What) เป็นความรู้เชิงข้อเท็จจริง รู้อะไร เป็นอะไร จะพบในผู้ที่สำเร็จการศึกษามาใหม่ๆ ที่มีความรู้โดยเฉพาะความรู้ที่จำมาได้จากความรู้ชัดแจ้งซึ่งได้จากการได้เรียนมาก แต่เวลาทำงาน ก็จะไม่มั่นใจ มักจะปรึกษารุ่นพี่ก่อน
- ความรู้เชิงทฤษฏีและเชิงบริบท (Know-How) เป็นความรู้เชื่อมโยงกับโลกของความเป็นจริง ภายใต้สภาพความเป็นจริงที่ซับซ้อนสามารถนำเอาความรู้ชัดแจ้งที่ได้มาประยุกต์ใช้ตามบริบทของตนเองได้ มักพบในคนที่ทำงานไปหลายๆปี จนเกิดความรู้ฝังลึกที่เป็นทักษะหรือประสบการณ์มากขึ้น
- ความรู้ในระดับที่อธิบายเหตุผล (Know-Why) เป็นความรู้เชิงเหตุผลระหว่างเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ผลของประสบการณ์แก้ปัญหาที่ซับซ้อน และนำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น เป็นผู้ทำงานมาระยะหนึ่งแล้วเกิดความรู้ฝังลึก สามารถอดความรู้ฝังลึกของตนเองมาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นหรือถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้พร้อมทั้งรับเอาความรู้จากผู้อื่นไปปรับใช้ในบริบทของตนเองได้
- ความรู้ในระดับคุณค่า ความเชื่อ (Care-Why) เป็นความรู้ในลักษณะของความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ที่ขับดันมาจากภายในตนเองจะเป็นผู้ที่สามารถสกัด ประมวล วิเคราะห์ความรู้ที่ตนเองมีอยู่ กับความรู้ที่ตนเองได้รับมาสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้ เช่น สร้างตัวแบบหรือทฤษฏีใหม่หรือนวัตกรรม ขึ้นมาใช้ในการทำงานได้
4. กระบวนการจัดการความรู้ ตามแนว กพร.
- การบ่งชี้ความรู้
- การสร้างและแสวงหาความรู้
- การจัดความรู้ให้เป็นระบบ
- การประมวลและกลั่นกรองความรู้
- การเข้าถึงความรู้
- การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
- การเรียนรู้
5. เครื่องมือจัดการความรู้
1.ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of practice : CoP)
2.การศึกษาดูงาน (Study tour)
3.การทบทวนหลังปฏิบัติการหรือการถอดบทเรียน (After action review :
AAR)
4.การเรียนรู้ร่วมกันหลังงานสำเร็จ (Retrospect)
5.เรื่องเล่าเร้าพลัง (Springboard Storytelling)
6.การค้นหาสิ่งดีรอบตัวหรือสุนทรียสาธก (Appreciative Inquiring)
7.เวทีเสวนาหรือสุนทรียสนทนา
(Dialogue)
8.เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist)
9.การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ
(Action Learning)
9.มาตรฐานเปรียบเทียบ (Benchmarking)
10.การสอนงาน (Coaching)
11.การเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring)
12.ฟอรัม ถาม–ตอบ (Forum)
13.บทเรียนจากความผิดพลาด (Lesson Learning)
14.เวทีกลุ่มเฉพาะ (Focus Group)
6. ระบบการได้มาซึ่งนวัตกรรมที่เกิดจากกระบวนการจัดการความรู้
1.การตรวจหาความจริง (Investigation)
2.การตระเตรียม (Preparation)
3.การบ่มเพาะ (Incubation)
4.การทำให้ส่องสว่าง (Illumination)
5.การตรวจสอบยืนยัน (Verification)
6.การนำไปใช้ (Application)
อ้างอิงจาก วิกิพีเดียและเอกสารประกอบการอบรมครู เรื่อง TLLM