การสอนภาษาแบบธรรมชาติ
(The Natural Approach)
การสอนภาษาแบบธรรมชาติ(The Natural Approach ) เป็นผลจากการศึกษาค้นคว้าของ สตีเฟน คราเชน (Stephen Krashen) นักภาษาศาสตร์ประยุกต์แห่งมหาวิทยาลัย Southern California และเทรซี่ เทเรล อาจารย์สอนภาษาสเปนในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทั้งสองท่านได้พัฒนาแนวคิดวิธีการสอนแบบธรรมชาตินี้จากการศึกษาเรื่องการเรียนรู้ภาษาที่สองของคราเชน และประสบการณ์การสอนภาษาสเปนให้ชาวต่างชาติของเทรซี่ เทเรลเอง
แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษาตามแนวทางแบบธรรมชาติ
แนวคิดที่เป็นความเชื่อของทฤษฎีนี้ คือ ผู้เรียนภาษาที่พ้นวัยเด็กมาแล้วยังคงมีความสามารถที่จะเรียนรู้ภาษาที่สองได้เช่นเดียวกับการเรียนรู้ทักษะภาษาแม่ในวัยเด็ก ถึงแม้ผู้เรียนวัยผู้ใหญ่มีความแตกต่างจากผู้เรียนที่เป็นเด็กในแง่ของการเรียนรู้ หรือเข้าใจรูปแบบภาษาที่เป็นนามธรรมตลอดจนกฎทางไวยากรณ์ของภาษาเป้าหมายอย่างรู้ตัว (conscious learning) ซึ่งอาจทำให้เกิดความไม่กล้าแสดงออกเท่าเด็กก็ตาม
คราเชน และ เทเรล (Krashen and Terrell 1983) กล่าวว่า “การสื่อสารเป็นเป้าหมายหลักในการทำหน้าที่ของภาษา” ดังนั้นแกนหลักของการสอนแบบธรรมชาติอยู่ที่การสอนทักษะการสื่อสารนั้นเอง โดยภาพรวมหลักของการสอนภาษาและการเรียนรู้ภาษาของผู้เรียนจะถูกเน้นไปที่ “ความหมาย” เป็นหลัก ซึ่งทั้งคราเชนและเทเรลได้เน้นในเรื่องของความหมายไว้ที่การเรียนคำศัพท์ และการนำภาษาที่เรียนไปใช้เพื่อการสื่อสาร และจากมุมมองของคราเชน การได้มาซึ่งภาษา คือ การหลอมรวมกฎของภาษาโดยผ่านการสื่อสาร กล่าวคือความสามารถทางภาษาของผู้เรียนจะถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นได้จากการที่ใส่ข้อมูลที่มีความหมาย (Comprehensive Input) ภายใต้โครงสร้างทางไวยากรณ์ทางภาษาที่ถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสม ให้กับระดับความสามารถของผู้เรียนที่มีอยู่ และใส่เนื้อหาทางภาษาใหม่เพิ่มเติมเข้าไป
คราเชน และ เทเรล (Krashen and Terrell 1983) กล่าวว่า “การสื่อสารเป็นเป้าหมายหลักในการทำหน้าที่ของภาษา” ดังนั้นแกนหลักของการสอนแบบธรรมชาติอยู่ที่การสอนทักษะการสื่อสารนั้นเอง โดยภาพรวมหลักของการสอนภาษาและการเรียนรู้ภาษาของผู้เรียนจะถูกเน้นไปที่ “ความหมาย” เป็นหลัก ซึ่งทั้งคราเชนและเทเรลได้เน้นในเรื่องของความหมายไว้ที่การเรียนคำศัพท์ และการนำภาษาที่เรียนไปใช้เพื่อการสื่อสาร และจากมุมมองของคราเชน การได้มาซึ่งภาษา คือ การหลอมรวมกฎของภาษาโดยผ่านการสื่อสาร กล่าวคือความสามารถทางภาษาของผู้เรียนจะถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นได้จากการที่ใส่ข้อมูลที่มีความหมาย (Comprehensive Input) ภายใต้โครงสร้างทางไวยากรณ์ทางภาษาที่ถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสม ให้กับระดับความสามารถของผู้เรียนที่มีอยู่ และใส่เนื้อหาทางภาษาใหม่เพิ่มเติมเข้าไป
นอกจากนี้แล้วแนวคิดการเรียนภาษาแบบธรรมชาติยังได้เน้นถึงเรื่องสมมุติฐานเกี่ยวกับการตรวจสอบความถูกต้องของตัวผู้เรียนเอง (The Monitor Hypothesis) และสมมุติฐานในเรื่องตัวกรองอารมณ์ ( The Affective Filter Hypothesis) โดยที่ตลอดในช่วงระยะเวลาที่ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ภาษาโดยรู้สึกตัว (Consciously) นี้ เมื่อความสามารถทางภาษาได้รับการพัฒนาขึ้น ผู้เรียนจะรู้สึกถึงสิ่งที่ตัวเองได้สื่อสารออกไปว่า “ถูก” หรือ “ผิด” และจะทำการแก้ไขเมื่อมีเวลาพอเพียง เช่น การใช้ภาษาในเวลาที่มีการทดสอบทางภาษา เป็นต้น ซึ่งการตรวจสอบนี้ เมื่อทำซ้ำนานเข้าก็จะทำให้ผู้เรียนมีความคล่องแคล่วในการใช้ภาษาตามมาในที่สุด และในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้ การรับข้อมูลและการเรียนรู้ภาษาของผู้เรียนจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเมื่อสภาวะทางอารมณ์และความวิตกกังวลของผู้เรียนได้รับการควบคุมโดยการเสริมแรงในเรื่องบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเป็นกันเอง(Richardsand Rodgers,2001 ,p181,183 )
ด้วยความขอบคุณอย่างยิ่งค่ะ..สำหรับแหล่งข้อมูล เพื่อประโยชน์สำหรับการศึกษา
http://darunee521.blogspot.com/2011/02/natural-approach-na.html