วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

Teaching Strategies: Curriculum Design

 

Teaching Strategies: Curriculum Design


Faculty undertake revisions of the curriculum for a variety of reasons including shifts in disciplinary approaches and emphases and changes in student demographics and interests. The links in this section provide guidance for faculty who are undertaking curriculum design or revision.

The National Academy for Academic Leadership: Designing a College Curriculum (Gardinier, 2000)
http://www.thenationalacademy.org/readings/designing.html
Lists principles to consider when assessing the quality of curricula in a review process. These principles apply both to college-wide and more restricted disciplinary curricula and to curricula at both the undergraduate and graduate levels. This resource also offers tips for clearly defining curricular outcomes.
The National Academy for Academic Leadership: Curriculum Review (Diamond & Gardinier, 2000)
http://www.thenationalacademy.org/readings/curriculum.html
Included are a number of key questions to ask when reviewing curricula. Most of them are germane whether a curriculum is in general education or a specialized field. Although designed for reviewing curricula that already exist, many of these questions also can be helpful when beginning to design a new curriculum.
The College Curriculum Renewal Project (Georgetown University)
http://cndls.georgetown.edu/about/grants/ccrp/
Examples from a Georgetown initiative to revise the curricula of individual courses. The most important guiding question for the College Curriculum Renewal Project has always been: How do we expand and deepen student learning? And more specifically: How do we expand and deepen student learning in the core curriculum? In the major? How do we reward and encourage the most intellectually interested and curious students in a particular subject?
Curriculum Design and Revision (Carleton College)
http://serc.carleton.edu/departments/programs/curriculum.html
This is a useful resource on how a program actually does curriculum design.  This site is specific to geoscience departments, but the information and processes are applicable widely. See also the following link from Carleton on the matrix approach to curriculum design: http://serc.carleton.edu/departments/programs/matrix.html.
Matrix Approach to Curriculum Design (Carleton College)
http://serc.carleton.edu/departments/programs/matrix.html
For many years, the Geology Departments at Carleton College and the College of William and Mary have utilized a "matrix approach" to assessing and revising their curricula. Rows of the matrix represent essential skills to be developed and columns represent courses within the core curriculum. This allows faculty to see where skills are developed and whether there are any "skills gaps" within the curriculum.
Western (Ontario) Guide to Curriculum Review (McNay, 2009)
http://www.uwo.ca/tsc/pdf/PG_4_Curriculum.pdf
Comprehensive and useful booklet from the University of Western Ontario. It includes a brief discussion of the “hidden curriculum” (p. 11), which is often learned more readily, understood more thoroughly, and remembered longer than is the official curriculum.
Thank you : http://www.crlt.umich.edu/tstrategies/tscd.php




A Model for Teaching with Technology

 A Model for Teaching with Technology





From a systems approach, teaching with technology involves four major components: the students, the instructor, course content, and technology tools (See Figure 1). An examination of each component raises a set of issues that we need to consider in order to make technology integration as successful as possible. For example, content can be examined in terms of learning outcomes and the discipline being taught. Instructors can think of their own experience with technology, the amount of time they have for planning and teaching, and their view of their role in the teaching and learning process.

We need to think carefully about our students, their exposure and access to technology as well as their preferred learning styles. Finally, we can turn to the technology itself and analyze it according to its functions. This approach to teaching and learning with technology assumes that the four component parts are integrated and that changes in one part will require adjustments to the other three in order to achieve the same goals. From Zhu & Kaplan (2001) McKeachie's Teaching Tips.


From Zhu & Kaplan (2001) McKeachie's Teaching Tips.
http://www.crlt.umich.edu/inst/model.php#toprail



วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555

หลักการสอนภาษาแบบธรรมชาติ



หลักการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
        จากความเชื่อ แนวคิด และหลักการสอนภาษาแบบธรรมชาติที่นักการศึกษาหลายท่านได้อธิบายไว้ สรุปเป็นหลักการสำคัญของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ ดังนี้


        1. การจัดสภาพแวดล้อม   การสอนภาษาต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม ตัวหนังสือที่ปรากฏในห้องเรียนต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ หนังสือที่ใช้จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว ไม่แบ่งเป็นทักษะย่อยๆ และจะต้องให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมด้วย

       
2. การสื่อสารที่มีความหมาย  การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริงที่มีความหมายต่อเด็ก ครูจะต้องจัดเวลาให้เด็กมีโอกาสอ่านเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมายจริงๆ ไม่ใช่เป็นเพียงกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อการฝึกหัด และให้เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาสตลอดทั้งวัน โดยไม่ต้องกำหนดตายตัวว่าช่วงเวลาใดต้องอ่าน หรือช่วงเวลาใดต้องเขียน


       3. การเป็นแบบอย่าง การสอนภาษาจะต้องให้เด็กเห็นประโยชน์ของการใช้ภาษาในความมุ่งหมายต่างๆ ครูต้องอ่านและเขียนโดยมีจุดมุ่งหมายในการใช้จริงๆให้เด็กได้เห็น เช่น เพื่อการสื่อสาร เพื่อความเพลิดเพลิน เพื่อค้นหาวิธีการ ฯลฯ นอกจากนี้ครูยังต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก เพื่อสร้างให้เด็กเกิดความรู้สึกที่ดีต่อการอ่าน    
       
       

      4. การตั้งความคาดหวัง  การสอนภาษาจะต้องเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับที่เด็กเรียนรู้ที่จะพูด ครูควรเชื่อมั่นว่าเด็กจะสามารถอ่านและเขียนได้ดีขึ้นและถูกต้องยิ่งขึ้น เด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียนตั้งแต่ยังอ่านและเขียนไม่เป็น ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับโอกาสที่จะอ่านและเขียนตั้งแต่วันแรกที่มาโรงเรียน และที่สำคัญคือครูไม่ควรคาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผู้ใหญ่

       
5. การคาดคะเน  การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา สร้างสมมุติฐาน-เบื้องต้นของตน และมีโอกาสเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน และมีโอกาสคิดประดิษฐ์สัญลักษณ์และคิดสะกดเพื่อการเขียน

       
6. การให้ข้อมูลย้อนกลับ  การสอนภาษาควรตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็กในทางบวก ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็กว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายแม้ว่ายังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ และพยายามตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ ครูอาจให้เด็กได้เห็นตัวอย่างที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมชาติ เช่น การอ่านหนังสือเล่มที่เด็กชอบอ่านให้เด็กฟังในโอกาสอื่นๆ หรือเขียนให้ดูเมื่อมีการสนทนาในกลุ่มใหญ่ เป็นต้น

       
7. การยอมรับนับถือ  การสอนภาษาจะต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก ว่าเด็กเรียนรู้การอ่านและเขียนอย่างแตกต่างกัน ตามช่วงเวลา และอัตราที่แตกต่างกัน ครูต้องศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล ศึกษาความสนใจ ความสามารถ และสอนเด็กตามความสามารถที่แตกต่างกันของเด็ก เด็กต้องได้ตัดสินใจเลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง ในช่วงเวลาเดียวกันเด็กไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมอย่างเดียวกัน หรือทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน เพราะการเรียนรู้ภาษาไม่มีลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องตายตัว   

           8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น  การสอนภาษาต้องส่งเสริมให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่จะคาดคะเนในการอ่านหรือเขียน แม้ว่าไม่เคยอ่านหรือเขียนมาก่อน ครูต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือด้านการอ่านและเขียนเมื่อจำเป็น เด็กต้องไม่ถูกตราหน้าว่าไม่มีความสามารถในการอ่านและเขียน ดังนั้น การสอนภาษาจึงต้องเป็นไปอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการและความสามารถของเด็ก เพื่อให้เด็กมีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถที่จะอ่านและเขียนได้        
       
     


แหล่งอ้างอิง จากเว็บไซต์ห้องเรียนครูแมว
ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ : เพื่อประกอบการศึกษา  

การสอนภาษาแบบธรรมชาติ (The Natural Approach)


การสอนภาษาแบบธรรมชาติ
(The Natural Approach)


      การสอนภาษาแบบธรรมชาติ(The Natural Approach ) เป็นผลจากการศึกษาค้นคว้าของ สตีเฟน คราเชน (Stephen Krashen)  นักภาษาศาสตร์ประยุกต์แห่งมหาวิทยาลัย Southern California    และเทรซี่ เทเรล อาจารย์สอนภาษาสเปนในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย  ประเทศสหรัฐอเมริกา  โดยทั้งสองท่านได้พัฒนาแนวคิดวิธีการสอนแบบธรรมชาตินี้จากการศึกษาเรื่องการเรียนรู้ภาษาที่สองของคราเชน  และประสบการณ์การสอนภาษาสเปนให้ชาวต่างชาติของเทรซี่ เทเรลเอง


แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษาตามแนวทางแบบธรรมชาติ
          
     แนวคิดที่เป็นความเชื่อของทฤษฎีนี้ คือ ผู้เรียนภาษาที่พ้นวัยเด็กมาแล้วยังคงมีความสามารถที่จะเรียนรู้ภาษาที่สองได้เช่นเดียวกับการเรียนรู้ทักษะภาษาแม่ในวัยเด็ก ถึงแม้ผู้เรียนวัยผู้ใหญ่มีความแตกต่างจากผู้เรียนที่เป็นเด็กในแง่ของการเรียนรู้ หรือเข้าใจรูปแบบภาษาที่เป็นนามธรรมตลอดจนกฎทางไวยากรณ์ของภาษาเป้าหมายอย่างรู้ตัว (conscious learning) ซึ่งอาจทำให้เกิดความไม่กล้าแสดงออกเท่าเด็กก็ตาม

     คราเชน และ เทเรล (Krashen and Terrell 1983) กล่าวว่า การสื่อสารเป็นเป้าหมายหลักในการทำหน้าที่ของภาษาดังนั้นแกนหลักของการสอนแบบธรรมชาติอยู่ที่การสอนทักษะการสื่อสารนั้นเอง   โดยภาพรวมหลักของการสอนภาษาและการเรียนรู้ภาษาของผู้เรียนจะถูกเน้นไปที่ ความหมายเป็นหลัก ซึ่งทั้งคราเชนและเทเรลได้เน้นในเรื่องของความหมายไว้ที่การเรียนคำศัพท์  และการนำภาษาที่เรียนไปใช้เพื่อการสื่อสาร และจากมุมมองของคราเชน การได้มาซึ่งภาษา คือ การหลอมรวมกฎของภาษาโดยผ่านการสื่อสาร กล่าวคือความสามารถทางภาษาของผู้เรียนจะถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นได้จากการที่ใส่ข้อมูลที่มีความหมาย (Comprehensive Input) ภายใต้โครงสร้างทางไวยากรณ์ทางภาษาที่ถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสม ให้กับระดับความสามารถของผู้เรียนที่มีอยู่ และใส่เนื้อหาทางภาษาใหม่เพิ่มเติมเข้าไป

      นอกจากนี้แล้วแนวคิดการเรียนภาษาแบบธรรมชาติยังได้เน้นถึงเรื่องสมมุติฐานเกี่ยวกับการตรวจสอบความถูกต้องของตัวผู้เรียนเอง (The Monitor Hypothesis) และสมมุติฐานในเรื่องตัวกรองอารมณ์ ( The Affective Filter Hypothesis) โดยที่ตลอดในช่วงระยะเวลาที่ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ภาษาโดยรู้สึกตัว (Consciously) นี้  เมื่อความสามารถทางภาษาได้รับการพัฒนาขึ้น ผู้เรียนจะรู้สึกถึงสิ่งที่ตัวเองได้สื่อสารออกไปว่า ถูกหรือ ผิดและจะทำการแก้ไขเมื่อมีเวลาพอเพียง      เช่น การใช้ภาษาในเวลาที่มีการทดสอบทางภาษา เป็นต้น  ซึ่งการตรวจสอบนี้ เมื่อทำซ้ำนานเข้าก็จะทำให้ผู้เรียนมีความคล่องแคล่วในการใช้ภาษาตามมาในที่สุด  และในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้ การรับข้อมูลและการเรียนรู้ภาษาของผู้เรียนจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเมื่อสภาวะทางอารมณ์และความวิตกกังวลของผู้เรียนได้รับการควบคุมโดยการเสริมแรงในเรื่องบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเป็นกันเอง(Richardsand Rodgers,2001 ,p181,183 )





ด้วยความขอบคุณอย่างยิ่งค่ะ..สำหรับแหล่งข้อมูล เพื่อประโยชน์สำหรับการศึกษา

http://darunee521.blogspot.com/2011/02/natural-approach-na.html


วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2555

การสอนภาษาโดยองค์รวม (Whole Language Approach)



การสอนภาษาโดยองค์รวม
(Whole Language Approach)


ผู้ศึกษามีความสนใจในเรื่องนี้ จึงได้ศึกษาและรวบรวมเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง ทั้งความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี จากเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อการศึกษาเท่านั้น ซึ่งไม่ได้หมายถึงว่าได้ลงมือปฏิบัติแล้ว โดยเฉพาะทฤษฎีนี้ซึ่งเป็นแนวการสอนภาษาแบบตรงกันข้ามกับแบบเดิม จึงขอบอกกล่าวแก่ท่านผู้อ่าน มา ณ ที่นี้ และขอขอบคุณผู้เขียน,เว็บที่ใช้ในการศึกษาและเป็นแหล่งข้อมูล





ความเป็นมา

การสอนภาษาโดยองค์รวม (Whole Language Approach)  เป็นนวัตกรรมการศึกษาที่เสนอแนวคิดใหม่ในการสอนภาษา  เกิดจากความพยายามของนักการศึกษาและนักภาษาศาสตร์  ซึ่งมองเห็นปัญหาการเรียนรู้ภาษาของเด็ก ซึ่งเกิดจากการสอนที่ครูมุ่งเน้นสาระทางภาษาเป็นหลัก ทําให้การเรียนการสอนไม่น่าสนใจ ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ คือไม่เหมาะกับวัย ความสนใจ และความสามารถของเด็ก  และเมื่อคํานึงถึงประโยชน์ที่เด็กจําเป็นต้องใช้ภาษาในการเรียนรู้และการสื่อสารในชีวิตจริง  พบว่าการสอนภาษาแบบเดิม (Traditional Approaches) ไม่เน้นความสําคัญของประสบการณ์และภาษาที่เด็กใช้ในชีวิตจริง  จึงไม่ได้ให้โอกาสเด็กเรียนรู้ภาษา และใช้ภาษาเพื่อสื่อสารอย่างมีความหมายเท่าที่ควร
 
หลักการและแนวทฤษฎีที่มีอิทธิพล

แนวการสอนภาษาโดยองค์รวม เกิดจากหลักการและแนวทฤษฎีของนักการศึกษาและนักภาษาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง คือ 
·         เซนแบลตต์ (Rosenblatt)
·         เคนเนท กู๊ดแมน (Kenneth Goodman)
·         จูดิท นิวแมน (Judith Newman)
·         วัตสัน (Watson)

1.เซนแบลตต์ (Rosenblatt) ที่ชี้ให้เห็นความสําคัญของการจัดประสบการณ์ เพื่อพัฒนา     การคิดและภาษาของเด็กในบริบททางสังคมวัฒนธรรมการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก  ตลอดจนการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ตอบสนองธรรมชาติ  และเหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย  หลักการเหล่านี้เมื่อนํามาเป็นแนวคิดในการปรับเปลี่ยนการสอนภาษา จะทําให้เด็กมีความสนใจเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ภาษาได้ดีขึ้นเพราะสิ่งที่เรียนมีความหมายและไม่เกิดความรู้สึกว่าการเรียนภาษาเป็นเรื่องยากลําบาก

2.เคนเนท กู๊ดแมน (Kenneth Goodman) เชื่อว่า การสอนภาษา เป็นเรื่องสําคัญสําหรับชีวิตเด็ก และโดยที่เด็กต้องเรียนรู้ภาษา และต้องใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้ ครูจะต้องตระหนักในความสําคัญ ดังกล่าว และจากการศึกษาภาษาศาสตร์เชิงจิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา ปรัชญา การรู้หนังสือ  และการจัดหลักสูตร กู๊ดแมนได้รับการยกย่องในฐานะผู้บุกเบิกแนวการสอนภาษาโดยองค์รวม มีผู้ให้ความสนใจนําความคิดไปใช้ในประเทศต่างๆ และมีผู้ให้การสนับสนุนเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ในช่วงปี 1970 เป็นต้นมา

3.จูดิท นิวแมน (Judith Newman) กล่าวไว้ในหนังสือ Whole Language Theory in Use ว่าการสอนภาษาโดยแนวคิดองค์รวมมีลักษณะเป็นปรัชญา(Philosophical stance) ความคิดของผู้สอนจะก่อตัวขึ้นจากหลักการสอนที่ผู้สอนนํามาประสานกัน

4.วัตสัน(Watson)อธิบายว่าผู้สอนจะประสานแนวการสอนของตนกับองค์ประกอบทางทฤษฎี (theory) ความเชื่อ (belief) และการนําความรู้ทางทฤษฎีและความเชื่อไปปฏิบัติจริง (practice)  องค์ประกอบทั้ง 3 มีความสัมพันธ์สนับสนุนกัน และกันเป็นวงจรที่ช่วยให้ผู้สอนเกิดการพัฒนาการสอนด้วยตนเอง โดยใช้ข้อมูลจากการสังเกตเด็กเพื่อทําความเข้าใจในความสามารถและการแสดงออกของเด็กแต่ละคน   บันทึกความก้าวหน้าของเด็กเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาของเด็กได้อย่างเหมาะสม   ครูจะสามารถสร้างแนวคิดเชิงปรัชญาการสอนจากการแสวงหาคําตอบ (inquiry)  โดยพยายามนําทฤษฎีไปใช้ในการสอนจริง (inactive theory active) พิสูจน์ความเชื่อของตนให้ปรากฏ (unexamined belief examined) และพัฒนาการสอนขึ้นเอง (borrowed practice owned)
                    



กระบวนการเรียนการสอนภาษาโดยองค์รวม


บรรยากาศการเรียนภาษาในชั้นเรียน มีลักษณะเป็นการร่วมมือกันระหว่างครูและเด็กๆ   ตั้งแต่การวางแผน คือคิดด้วยกันว่าจะทําอะไร  ทําเมื่อไร  ทําอย่างไร  จําเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อะไร  จะหาสิ่งที่ต้องการมาได้อย่างไร  ใครจะช่วยทํางานในส่วนใด

การวางแผนจะมีทั้งแผนระยะยาว (long-range plans) เพื่อวางกรอบความคิดกว้างๆ และแผนระยะสั้น (short-range plans) ซึ่งเด็กและครูจะใช้ความคิดพูดคุยปรึกษากันเพื่อหารายละเอียดและขั้นตอนในการทํากิจกรรม

บทบาทของครู จะเป็นผู้หาวิธีการที่จะเชื่อมโยงประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่เดิมให้สัมพันธ์กับกิจกรรมที่จัดขึ้น ซึ่งอาจเป็นการเล่าเรื่องที่เด็กเคยพบเห็น การเปิดโอกาสให้เด็กพูดจากความคิดหรือประสบการณ์ในขณะฟังเรื่องจากหนังสือที่ ครูเลือกมาอ่านให้ฟัง การจัดหาหนังสือที่เหมาะกับวัยไว้ในชั้นเรียน  เพื่อให้เด็กมีโอกาสหยิบมาอ่านหรือพลิกดูเสมอ  เพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยกับภาพความคิดและตัวหนังสือ   ซึ่งครูไม่จําเป็นต้องสอนให้เด็กอ่านออก   เช่น การอ่านแบบเรียนเล่ม 1 เล่ม 2 ที่เคยนิยมใช้มาแต่เดิม


การเขียน ก็เช่นกัน เด็กไม่ควรถูกบังคับให้เขียนตัวพยัญชนะ คํา ประโยคตามที่ครูสั่ง แต่ในบรรยากาศการสอนแนวใหม่นี้  เด็กจะแสดงความต้องการให้ครูเห็นว่าเขาต้องการเขียนสิ่งที่มีความหมายสิ่งที่เขายากบอกให้ผู้อื่นเข้าใจ  การเขียนในระยะแรกจึงเป็นการที่เด็กสร้างความคิด ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ของเด็กและความต้องการสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบ  จะเห็นว่าในระยะแรกเด็กจะเขียนเส้นขยุกขยิกคล้ายตัวหนังสือ หรือเขียนสะกดบางคําได้ แต่ยังไม่ถูกต้อง ครูที่เข้าใจแนวการสอนภาษาโดยองค์รวม จะค่อยๆ ส่งเสริมความคิดความต้องการเขียนหนังสือของเด็ก โดยไม่ตําหนิให้เด็กแก้ไขสิ่งที่เขียนผิดในทันที    แต่จะแนะให้เด็กสังเกตจากตัวอย่างต่างๆ ที่เด็กพบเห็นได้บ่อยๆ  การสังเกตจะช่วยให้เด็กปรับการเขียนให้ถูกต้องได้ โดยไม่เกิดความรู้สึกผิดหรือถูกลงโทษ  ซึ่งอาจจะมีผลทางทัศนคติของเด็กได้มาก ดังนั้นการสังเกตเด็กเป็นเรื่องที่สําคัญอย่างยิ่ง  ที่ครูจะต้องเฝ้าดูว่าเด็กแต่ละคนแสดงออกอย่างไร ครูจึงต้องมีบทบาทในการเฝ้าดูเด็ก (kid-watcher) เพื่อประเมินความสามารถและเรียนรู้ และจัดประสบการณ์ที่เอื้ออํานวยการพัฒนาภาษาของเด็กด้วยตัวครูเองตลอดเวลา
 
การประเมินผล ที่ครูพิจารณาจากการสังเกต  การบันทึก การเก็บร่องรอยทางภาษาของเด็กขณะทํากิจกรรมต่างๆ และการสะสมชิ้นงาน  ถือว่าสําคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นการประเมินการเรียนรู้ภาษาจากสภาพจริง (authentic forms of assessment) และมีประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กมากกว่าการใช้แบบทดสอบทางภาษา