วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory)

 
ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory)

การเรียนรู้ คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี  การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม  ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่  แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้าง   ปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
 


การเรียนรู้ตามทฤษฎีของนักจิตวิยาและนักการศึกษาที่มีชื่อเสียง อาทิ
 
 
1.การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom ( Bloom's Taxonomy)
Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ
  • ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
  • ความเข้าใจ (Comprehend)
  • การประยุกต์ (Application)
  • การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
  • การสังเคราะห์ ( Synthesis) โดยการนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม  เน้นโครงสร้างใหม่
  • การประเมินค่า ( Evaluation) สามารถวัดได้และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด



 2.การเรียนรู้ตามทฤษฎีของเมเยอร์ ( Mayor)
 
     ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้   การวิเคราะห์ความจำเป็นเป็นสิ่งสำคัญ และตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียน   เมเยอร์แบ่งออกเป็นส่วนย่อย 3 ส่วน คือ
  • พฤติกรรม ควรชี้ชัดและสังเกตได้
  • เงื่อนไข พฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ
  • มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด




 3.การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner)
  • ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
  • ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
  • ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
  • ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
  • ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
  • เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม



 
4.การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor)
  •     ความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน
  •     การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึงการจัดสิ่งที่มีความง่ายไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
  •     บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมด ของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม




 
5.การเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย ( Gagne )
 
    Gagne ได้แบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 8 ลำดับขั้น จากง่ายไปหายาก คือ 
  • การเรียนรู้สัญญาณ ( signal-Learning)
  • การเรียนรู้สิ่งเร้า-ตอบสนอง (stimulus-response)
  • การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง (chaining) 
  • การเชื่อมโยงภาษา (verbal association)
  • การเรียนรู้ความแตกต่าง (discrimination learning)
  • การเรียนรู้ความคิดรวบยอด (concept learning)
  • การเรียนรู้กฎ (rule learning)
  • การเรียนรู้การแก้ปัญหา (problem solving)


 องค์ประกอบสำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ จากแนวคิดของกานเย ( Gagne) คือ
  • ผู้เรียน( Learner) มีระบบสัมผัสและ ระบบประสาทในการรับรู้
  • สิ่งเร้า(Stimulus) คือ สถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
  • การตอบสนอง(Response) คือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้
 
 
การสอนด้วยสื่อตามแนวคิดของกานเย (Gagne) มีจุดที่สำคัญ ดังนี้
  • เร้าความสนใจ มีโปรแกรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน เช่น ใช้ การ์ตูน หรือ กราฟิกที่ดึงดูดสายตา 
  • ความอยากรู้อยากเห็นจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียน การตั้งคำถามก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง
  • บอกวัตถุประสงค์ ผู้เรียนควรทราบถึงวัตถุประสงค์ ให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียนเพื่อให้ทราบว่าบทเรียนเกี่ยวกับอะไร
  • กระตุ้นความจำผู้เรียน สร้างความสัมพันธ์ในการโยงข้อมูลกับความรู้ที่มีอยู่ก่อน เพราะสิ่งนี้สามารถทำให้เกิดความทรงจำในระยะยาวได้เมื่อได้โยงถึงประสบการณ์ผู้เรียน โดยการตั้งคำถาม เกี่ยวกับแนวคิด หรือเนื้อหานั้นๆ
  • เสนอเนื้อหา ขั้นตอนนี้จะเป็นการอธิบายเนื้อหาให้กับผู้เรียน โดยใช้สื่อชนิดต่างๆ ในรูป กราฟิก หรือ เสียง วิดีโอ
  • การยกตัวอย่าง การยกตัวอย่างสามารถทำได้โดยยกกรณีศึกษา การเปรียบเทียบ เพื่อให้เข้าใจได้ซาบซึ้ง
  • การฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะหรือพฤติกรรม เป็นการวัดความเข้าใจว่าผู้เรียนได้เรียนถูกต้อง เพื่อให้เกิดการอธิบายซ้ำเมื่อรับสิ่งที่ผิด
  • การให้คำแนะนำเพิ่มเติม เช่น การทำแบบฝึกหัด โดยมีคำแนะนำ
  • การสอบ เพื่อวัดระดับความเข้าใจ
  • การนำไปใช้กับงานที่ทำ  ในการทำสื่อควรมีเนื้อหาเพิ่มเติม หรือหัวข้อต่างๆ ที่ควรจะรู้เพิ่มเติม

กานเย ( Gagne) ได้แบ่งสมรรถนะการเรียนรู้ของมนุษย์ไว้ 5 ประการ (ติดตามตอนต่อไป)




แหล่งข้อมูล
ทิศนา  แขมณี. ศาสตร์การสอน, องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.