วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

วิเคราะห์หลักสูตร ๕๑




การวิเคราะห์ว่าในส่วนต่างๆของหลักสูตร อิงปรัชญาการศึกษา ทฤษฎีการศึกษา ทฤษฎีการเรียนรู้ และทฤษฎีการสอนใดบ้างโดยระบุแนวคิดหรือหลักการที่นำไปสู่การกำหนดส่วนนั้น ๆ ของหลักสูตร 


จากการศึกษาองค์ประกอบของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ พบว่า ทุกองค์ประกอบแสดงถึงการอิงปรัชญาการศึกษาทฤษฎีการศึกษา  ทฤษฎีการเรียนรู้ และทฤษฎีการสอน    โดยปรากฏแนวคิด หลักการในรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบ  ดังนี้
         
๑. วิสัยทัศน์ : มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ 
ในประเด็นวิสัยทัศน์ ที่เป็นเจตนารมณ์ของหลักสูตรฯ  มีการอิงปรัชญาการศึกษา ทฤษฎีการศึกษา ทฤษฎีการเรียนรู้  และทฤษฎีการสอน ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(๑)แนวคิดปรัชญาการศึกษาธรรมชาตินิยม(Naturalism)ประสบการณ์นิยม(Experimentalism) และก้าวหน้านิยม (Progressivism) เป็นแนวคิดและหลักการของสากล และแนวคิดปรัชญาการศึกษาของไทย คือ  แนวคิดของศาสตราจารย์สาโรช บัวศรี  ดังนี้
  • การศึกษาเป็นเรื่องของการพัฒนาตัวผู้เรียน  การศึกษาหมายถึง “ความเจริญงอกงาม” (growth)  ดังกำหนดในวิสัยทัศน์ว่า  “..มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก..”  นั่นก็คือความเจริญงอกงามของผู้เรียนที่เกิดจากการเรียนรู้นั่นเอง   
  • มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ(child centered) บนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ  ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดของ จอนห์น ดิวอี้  คือ “การเรียนรู้จากการกระทำ Learning by doing)     
  • การศึกษามีความมุ่งหมายทางจริยธรรม  เป็นคุณภาพของผู้เรียน ดังปรากฏในวิสัยทัศน์
  • การศึกษาต้องส่งเสริมวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยที่ยึดหลักเสรีภาพของมนุษย์
  • การพัฒนาความเป็นอิสรภาพของมนุษย์ (autonomy) และความเข้าใจตนเอง(self-knowledge)
  • การเพิ่มศักยภาพของตนเองในการที่จะเลือกวิถีชีวิต
  • แนวทางตามหลักพุทธธรรม นำสู่จุดหมายของการศึกษาได้ ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา  และการเรียนรู้เกี่ยวกับ ตนเอง สิ่งแวดล้อม และ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเรียนรู้จริยธรรม
  • การระบุวิสัยทัศน์ของหลักสูตรฯ ที่ครอบคลุมความสามารถของผู้เรียนที่เกิดจากการเรียนรู้ดังกล่าวเป็นไปตามแนวคิดของกลุ่มนักก้าวหน้านิยม ที่กล่าวถึงการสรุปรวมวิธีการสร้างหลักสูตรโดยยึดวัตถุประสงค์เป็นหลัก ที่เกิดจากการวิเคราะห์กรอบแนวคิด ๕ ประการ คือ (๑)ความจำเป็นหรือความต้องการพื้นฐานของผู้เรียน (๒)ปัญหาของสังคม (๓)พิจารณาจากหลักการ แนวคิดของแต่ละสาระ/วิชา  (๔)พิจารณาจากปรัชญาการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางกว้างๆในการกำหนดวัตถุประสงค์  และ (๕) การใช้หลักของจิตวิทยาการเรียนรู้ เพื่อช่วยในการกำหนดวัตถุประสงค์  

(๒) ทฤษฎีการศึกษา  การกำหนดวิสัยทัศน์ ได้อิงทฤษฎีกลุ่มก้าวหน้านิยม (Progressivism) หรือกลุ่มประสบการณ์นิยม ที่มีแนวคิดและหลักการเกี่ยวข้องกับการกำหนดวิสัยทัศน์ของหลักสูตร ดังนี้
  • การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม
  • การศึกษาคือ ชีวิต เพื่อสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ โดยการกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนมีความรู้ และทักษะพื้นฐาน  เจตคติ ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  
  • แนวความคิดของกลุ่มนักก้าวหน้าที่ให้ความสำคัญกับวิถีชีวิตและค่านิยมประชาธิปไตยที่ช่วยให้เกิดบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างเสรี และนำมาซึ่งความเจริญงอกงามทางปัญญา
  • การศึกษาจะต้องจัดให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน
  • ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการศึกษา มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความเจริญงอกงามรอบด้านทั้งอารมณ์ สังคม ร่างกาย และจิตใจ    
  • ทุกประเด็นทั้งหมดดังกล่าวนำมากำหนดวิสัยทัศน์หลักสูตรที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก

(๓)ทฤษฎีการเรียนรู้ การกำหนดวิสัยทัศน์อิงทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มธรรมชาตินิยม (Natural Unfoldment)  
  • จัดการศึกษาโดยมุ่งปลดปล่อยศักยภาพของมนุษย์ตามธรรมชาติ
  • จัดการเรียนรู้ให้เด็กเป็นศูนย์กลาง  ให้เสรีภาพแก่เด็กที่จะเรียนรู้ตามความต้องการและตามความสนใจ  เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างอิสระ

(๔)ทฤษฎีการสอน :อิงทฤษฎีการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(Student-Centered Instruction)
  • แนวคิดในการสอนครูต้องคำนึงถึงการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ
  • ครูต้องช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆ 
  • ผู้เรียนเรียนรู้โดยการกระทำ (learning by doing)
  • การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้    มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างตื่นตัวและได้ใช้กระบวนการเรียนรู้ต่างๆ จะนำไปสู่การเกิด “การเรียนรู้ที่แท้จริง “ 
  • ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นทั้งความรู้ความเข้าใจ  ทักษะ  เจตคติ  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ฯลฯ จากกระบวนการที่ผู้เรียนรับรู้และจัดกระทำต่อสิ่งเร้าต่างๆ เพื่อสร้างความหมายของสิ่งที่เรียนรู้นั้นเชื่อมโยงกับความรู้และประสบการณ์เดิมของตน จนเกิดเป็นความหมายที่ตนเข้าใจอย่างแท้จริง
  • จากแนวคิดทั้งหมดนำมากำหนดเป็นวิสัยทัศน์ของหลักสูตร   ที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ




๒. หลักการ : หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดไว้ ๖ ข้อ สรุปโดยสังเขป ดังนี้ (๑)เพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล   (๒)เพื่อปวงชน ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและมีคุณภาพ (๓)กระจายอำนาจ  สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น  (๔)โครงสร้างยืดหยุ่นทั้งสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัดการเรียนรู้ (๕) เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (๖) เป็นหลักสูตรสำหรับ ๓ ระบบ คือในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย  เทียบโอนผลการเรียนรู้ได้

ในประเด็นหลักการของหลักสูตรฯ รวม ๖ ข้อ มีการอิงปรัชญาการศึกษา ทฤษฎีการศึกษา ทฤษฎีการเรียนรู้  และทฤษฎีการสอน  ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(๑)แนวคิดปรัชญาการศึกษา : อิงปรัชญาการศึกษาประสบการณ์นิยม (Pragmatism) ปรัชญาการศึกษา    อัตภาวะนิยม (Existentialism)  และ ปรัชญาพิพัฒนนิยม (Progressivism)  แนวคิดได้แก่
  • เน้นการส่งเสริมสร้างประสบการณ์ของสังคม โดยมุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล
  • การสร้างอุปนิสัยและรสนิยมที่ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักตัดสินใจและยึดถือความเห็นของคนส่วนใหญ่โดยคำนึงถึงผลในทางปฏิบัติที่จะมีต่อส่วนรวม  
  • ความเชื่อเกี่ยวกับหลักสูตรที่มุ่งส่งเสริมผู้เรียนให้มีเสรีภาพในการเลือกเรียนรู้อย่างกว้างขวาง 
  • การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner-centered Learning)  แนวคิดนี้จะให้ความสำคัญ เรื่องของการปฏิบัติ หรือ ลงมือทำ
  • จอห์นดิวอี้เน้นความสำคัญของประชาธิปไตย จริยธรรม เน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ (experience) ลงมือทำและแก้ปัญหาด้วยตัวเอง

(๒) ทฤษฎีการศึกษา : อิงทฤษฎีการศึกษา พิพัฒนวาท (Progressivism) และทฤษฎีการศึกษาบูรณาวาท (Reconstructionism)
·         มีแนวคิดว่าการศึกษาจะต้องจัดให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน
·         เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการศึกษา
·         มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความเจริญงอกงามรอบด้านทั้งอารมณ์ สังคม ร่างกาย และจิตใจ  โดยนำแนวคิดของทฤษฎีการศึกษานี้มากำหนดหลักการของหลักสูตร ข้อที่ ๑ เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐาน ของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล และข้อ ๕ เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   
·         ส่งเสริมให้โรงเรียนมีบทบาทในการปฏิรูปสังคม เพื่อใช้การศึกษาเป็นปัจจัยในการสร้างสังคมใหม่ที่มีความเสมอภาค และเกิดความเป็นธรรม
·        แนวคิดของทั้ง ๒ ทฤษฎีดังกล่าว ได้นำมากำหนดเป็นหลักการของหลักสูตรที่เน้นการศึกษาเพื่อปวงชน  ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค มีคุณภาพ อย่างทั่วถึง

(๓) ทฤษฎีการเรียนรู้ :  อิงทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มธรรมชาตินิยม (Natural Unfoldment)   ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development) ของเพียเจต์  และ ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory)
  • มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองไปตามธรรมชาติ
  • การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา
  • ในการพัฒนาเด็ก ควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
  • จัดการเรียนรู้ให้เด็กเป็นศูนย์กลาง  ให้เสรีภาพแก่เด็กที่จะเรียนรู้ตามความต้องการและตามความสนใจ  เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างอิสระ
  • การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง  ซึ่งนำมากำหนดเป็นหลักการของหลักสูตร ข้อ ๑ เพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรม
  • การนำแนวคิดของทฤษฎีการเรียนรู้มาใช้ในการกำหนดหลักการของหลักสูตร ในข้อ ๔-๖ ที่มีหลักการให้เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้เวลาและการจัดการเรียนรู้ และเป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย  ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย  สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้และประสบการณ์ได้  

(๔)ทฤษฎีการสอน อิงทฤษฎีการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student–Centered Instruction)  
·         แนวคิดคือ ในการสอนครูต้องคำนึงถึงการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญและช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆ 
·         เรียนรู้โดยการกระทำ (learning by doing) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้
·         เรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างตื่นตัวและใช้กระบวนการเรียนรู้ต่างๆ นำไปสู่การเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง 
·         ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นทั้งที่เป็นความรู้ความเข้าใจ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ฯลฯ  จากกระบวนการที่ผู้เรียนรับรู้และจัดกระทำต่อสิ่งเร้าต่างๆ เพื่อสร้างความหมายของสิ่งที่เรียนรู้นั้นเชื่อมโยงกับความรู้และประสบการณ์เดิมของตน จนเกิดเป็นความหมายที่ตนเข้าใจอย่างแท้จริง ซึ่งหลักสูตรแกนกลางฯได้นำแนวคิดของทฤษฎีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง   (Student – Centered Instruction) มาเป็นหลักการของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ


๓.จุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งให้เกิดกับผู้เรียน ๕ ประการ คือ (๑) มีคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง   มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ  ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  (๒) มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา   การใช้เทคโนโลยี  และมีทักษะชีวิต (๓ )มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย (๔) มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก  ยึดมั่นในวิถีชีวิตและ การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(๕) มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย  การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม  มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข      
ในประเด็นนี้ มีการอิงปรัชญาการศึกษา ทฤษฎีการศึกษา ทฤษฎีการเรียนรู้  และทฤษฎีการสอน  ดังนี้

 (๑) ปรัชญาการศึกษา : อิงปรัชญาการศึกษาประสบการณ์นิยม(Pragmatism) อัตภาวะนิยม(Existentialism) และปรัชญาพิพัฒนนิยม (Progressivism)  เช่นเดียวกับวิสัยทัศน์และหลักการของหลักสูตร ดังกล่าวข้างต้น เนื่องด้วยเป็นจุดหมายหรือวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ที่มุ่งให้เกิดกับผู้เรียนเป็นหลัก ในเรื่อง ความรู้ ทักษะ และค่านิยมที่พึงประสงค์  รวมทั้งการมีคุณธรรม จริยธรรม   โดยมีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียน

(๒) ทฤษฎีการศึกษา : อิงทฤษฎีการศึกษาพิพัฒนวาท (Progressivism) และทฤษฎีการศึกษาบูรณวาท (Reconstructionism)  
  • แนวคิดที่ว่าการศึกษาจะต้องจัดให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการศึกษา มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความเจริญงอกงามรอบด้านทั้งอารมณ์ สังคม ร่างกาย และจิตใจและการเรียนรู้โดยวิธีการแก้ปัญหา    
  • มุ่งส่งเสริมให้สถานศึกษามีบทบาทในการปฏิรูปสังคม เพื่อให้เกิดความเสมอภาค และความเป็นธรรมในสังคมให้มากยิ่งขึ้น และเป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โดยนำแนวคิดของทฤษฎีการศึกษานี้มากำหนดในจุดหมายของหลักสูตร ข้อ ๔-๕ คือ ความรักชาติ การมีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก  รวมทั้งจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมเป็นต้น

(๓) ทฤษฎีการเรียนรู้ :  อิงกลุ่มมนุษยนิยม  (Humanism)
  • ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ของคนแต่ละคน  เชื่อว่า  คนดี  มาแต่กำเนิดมีอิสรภาพมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม  มีความสามารถเฉพาะตัว หากผู้เรียนได้รับอิสรภาพและเสรีภาพ ผู้เรียนจะสามารถพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
·         การจัดการศึกษาคำนึงถึงความต้องการของผู้เรียน การเข้าใจในความต้องการพื้นฐานผู้เรียนจะช่วยให้ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และการตอบสนองความต้องการพื้นฐานผู้เรียนอย่างเพียงพอ โดยการให้อิสรภาพและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้
·         การจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ในการค้นหาศักยภาพ และรู้จักตนเองได้ตรงตามสภาพความเป็นจริง
·         หลักสูตรได้นำแนวคิดของทฤษฎีการเรียนรู้นี้มาเป็นแนวคิดในการกำหนดจุดหมายของหลักสูตรที่ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญา มีความสุข  มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา  การใช้เทคโนโลยี  มีทักษะชีวิต   มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี  มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย   มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก  ยึดมั่นในวิถีชีวิตและ การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข     มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย 

(๔) ทฤษฎีการสอน อิงทฤษฎีการสอนกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม (Group Investigation Instructional Model)
  • ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะแสวงหาคำตอบ กับปัญหาที่มีลักษณะที่เกิดความสงสัย หรือปัญหาที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด  เนื่องจากผู้เรียนอยู่ในสังคมต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียนทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคม
  • มุ่งพัฒนาทักษะในการสืบสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ความเข้าใจ โดยอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือทางสังคมช่วยกระตุ้นความสนใจหรือความอยากรู้ และช่วยดำเนินงานการแสวงหาความรู้หรือคำตอบที่ต้องการ
  • หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  นำมาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และมีความรู้ ความสามารถในการสื่อสารการคิด การแก้ปัญหา   การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต ประกอบอาชีพ

๔.สมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน  มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด  ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ ๕ ประการ ดังนี้  ๑. ความสามารถในการสื่อสาร ๒.ความสามารถในการคิด             ๓. ความสามารถในการแก้ปัญหา ๔. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต   .ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
ในประเด็นสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน  มีการอิงปรัชญาการศึกษา ทฤษฎีการศึกษา ทฤษฎีการเรียนรู้  และทฤษฎีการสอน  ดังนี้
(๑)ปรัชญาการศึกษา : อิงปรัชญาการศึกษาประสบการณ์นิยม (Pragmatism) 
  • มุ่งส่งเสริมสร้างประสบการณ์ของสังคม 
  • จัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner-centered Learning)
  • ใช้วิธีการแก้ปัญหาและการทดลองค้นคว้าให้ทำกิจกรรมเป็นหลัก
  • ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักตัดสินใจและยึดถือความเห็นของคนส่วนใหญ่โดยคำนึงถึงผลส่วนรวม
(๒) ทฤษฎีการศึกษา : อิงตามทฤษฎีการศึกษาพิพัฒนวาท (Progressivism) หรือกลุ่มก้าวหน้านิยม
  • การศึกษาจะต้องจัดให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน
  • เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการศึกษา
  • มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความเจริญงอกงามรอบด้านทั้งอารมณ์ สังคม ร่างกาย และจิตใจ
  • เน้นการเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา
  • ความรู้เป็นเครื่องมือสำหรับการแสวงหาประสบการณ์
  • การทดลองจะได้รับการเน้นมากกว่าการมุ่งสอนเนื้อหาวิชาทฤษฎี
  • โรงเรียนต้องจัดประสบการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้
  • นำแนวคิดมากำหนดเป็นสมรรถนะของผู้เรียนที่จำเป็นในการดำรงชีวิตในสังคมอนาคต

(๓) ทฤษฎีการเรียนรู้  : อิงกลุ่มมนุษยนิยม  (Humanism)  มีแนวคิดว่า
  • ผู้เรียนจะสามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาพที่ผ่อนคลายเป็นอิสระ
  • การจัดการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ( student-centered teaching)
  • ครูทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน โดย
  • ครูใช้วิธีการสอนแบบชี้แนะ
  • ครูใช้การเรียนรู้แบบเน้นกระบวนการ (process learning) เป็นสำคัญ เนื่องจากกระบวนการเรียนรู้เป็นเครื่องมือสำหรับผู้เรียนใช้ในการดำรงชีวิตและแสวงหาความรู้ต่อไปในชีวิตจริง
  • หลักสูตรได้นำแนวคิดของทฤษฎีการเรียนรู้ดังกล่าวมากำหนดสมรรถนะจำเป็นที่ผู้เรียนต้องมีสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบันและสังคมในอนาคต เมื่อผู้เรียนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

(๔) ทฤษฎีการสอน  อิงทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Instructional Model of Co-operative Learning)
  • เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยอาศัยหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือของจอห์นสันและจอห์นสัน (Johnson และ Johnson )
  • ผู้เรียนควรร่วมมือกันในการเรียนรู้มากกว่าการแข่งขัน
  • การเรียนรู้แบบร่วมมือต้องอาศัยหลักการพึงพากัน โดยถือว่าทุกคนมีความสำคัญเท่าเทียมกันและจะต้องพึงพากันเพื่อความสำเร็จร่วมกัน
  • มีปฏิสัมพันธ์กัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อมูล และผลการเรียนรู้ต่างๆ
  • การเรียนรู้ร่วมกันต้องอาศัยทักษะทางสังคม
  • มีการวิเคราะห์กระบวนการกลุ่มในงานร่วมกัน
  • รูปแบบนี้มุ่งช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาสาระสาระต่างๆด้วยตนเอง ด้วยความร่วมมือและความช่วยเหลือจากเพื่อนๆ
  • ได้พัฒนาทักษะทางสังคมต่างๆ เช่นทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ 
  • ได้พัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้   ทักษะการคิด   และทักษะการแก้ปัญหาและอื่นๆ
  • หลักสูตรได้นำแนวคิดนี้มาใช้เป็นแนวในการออกแบบสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนมุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด  ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ  ๕ ประการในการดำรงชีวิตในสังคม


๕. คุณลักษณะอันพึงประสงค์   หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์   เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข  ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก   รวม ๘ ประการ  ดังนี้๑.  รักชาติ  ศาสน์ กษัตริย์  ๒.  ซื่อสัตย์สุจริต  .  มีวินัย ๔. ใฝ่เรียนรู้ ๕. อยู่อย่างพอเพียง๖.  มุ่งมั่นในการทำงาน  ๗.  รักความเป็นไทย .  มีจิตสาธารณะ
ในประเด็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของหลักสูตรฯ ที่กำหนดให้เกิดกับผู้เรียน รวม ๘ ประการ มีการอิงปรัชญาการศึกษา ทฤษฎีการศึกษา ทฤษฎีการเรียนรู้  และทฤษฎีการสอน  ดังนี้

(๑) ปรัชญาการศึกษา : อิงตามแนวคิดของปรัชญาการศึกษาประสบการณ์นิยม (Pragmatism) และปรัชญาการศึกษาอัตภาวะนิยม (Existentialism) แนวคิดปรัชญาการศึกษาธรรมชาตินิยม(Naturalism) และ ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพุทธธรรม โดยพระธรรมปิฎก   ตามแนวคิดและหลักการ ดังนี้
  • การฝึกฝนอบรมด้วยหลักไตรสิกขา จะเป็นไปได้ดี จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยภายนอก  โดยเฉพาะกัลยาณมิตรที่ดี  และปัจจัยภายใน คือ โยนิโสมนสิการ อันได้แก่ การคิดอย่างถูกวิธี
  • จัดการศึกษาโดยมุ่งปลดปล่อยศักยภาพของมนุษย์ตามธรรมชาติ
  • จัดการเรียนรู้ให้เด็กเป็นศูนย์กลาง  ให้เสรีภาพแก่เด็กที่จะเรียนรู้ตามความต้องการและตามความสนใจ  เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างอิสระ
  • การพัฒนาคุณลักษณะนิสัยที่เป็นนามธรรม ผู้เรียนต้องเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรียนรู้
  • ในด้านการสร้างอุปนิสัยและรสนิยมที่ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักตัดสินใจและยึดถือความเห็นของคนส่วนใหญ่โดยคำนึงถึงผลในทางปฏิบัติที่จะมีต่อส่วนรวม
  • การเรียนการสอนที่มุ่งฝึกให้ผู้เรียนรู้จักเลือกอย่างมีความรับผิดชอบ และกระตุ้นให้ผู้เรียนมีเสรีภาพในการเลือกอย่างถูกต้องและเหมาะสม และด้านการสร้างอุปนิสัยและรสนิยมที่ฝึกให้ผู้เรียนมีสำนึกในเสรีภาพการเลือกอย่างมีความรับผิดชอบ

(๒) ทฤษฎีการศึกษา : อิง ทฤษฎีการศึกษาพิพัฒนวาท (Progressivism)
  • การศึกษาจะต้องจัดให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน
  • เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการศึกษา
  • มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความเจริญงอกงามรอบด้านทั้งอารมณ์ สังคม ร่างกาย และจิตใจ
  • เน้นการเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา
  • ความรู้เป็นเครื่องมือสำหรับการแสวงหาประสบการณ์
  • การทดลองจะได้รับการเน้นมากกว่าการมุ่งสอนเนื้อหาวิชาทฤษฎี     โรงเรียนต้องจัดประสบการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้โดยนำแนวคิดมากำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนที่จำเป็นในการดำรงชีวิตในสังคมอนาคต

(๓) ทฤษฎีการเรียนรู้ : อิง กลุ่มมนุษยนิยม  (Humanism)ได้แก่  ทฤษฎีของมาสโลว์  (Maslow)    
·         ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ของคนแต่ละคน 
·         เชื่อว่า  คนดี  มาแต่กำเนิด
·         มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น คือ ขั้นความต้องการทางร่างกาย (physical need) ขั้นความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (safety need) ขั้นความต้องการความรัก (love need) ขั้นความต้องการยอมรับยกย่องจากสังคม (self-esteem) และขั้นความต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ (self-actualization)
·         หากความต้องการพื้นฐานได้รับการตอบสนองอย่างพอเพียงสำหรับตนในแต่ละขั้น ผู้เรียนจะสามารถพัฒนาตนไปสู่ขั้นที่สูงขึ้น
·         การจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ในการรู้จักตนเองตามสภาพความเป็นจริง
·         การแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้นี้มากำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนเพื่อความเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม หากผู้เรียนได้รับการเรียนรู้ที่เอื้อต่อผู้เรียนจะทำให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาที่สมบูรณ์ โดยเป็นคนดีมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการตามที่หลักสูตรกำหนด

(๔) ทฤษฎีการสอน  : อิงทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Instructional Model of Co-operative Learning) เช่นเดียวกับสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน   โดยเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยอาศัยหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือของจอห์นสันและจอห์นสัน (Johnson และ Johnson )  ผู้เรียนควรร่วมมือกันในการเรียนรู้มากกว่าการแข่งขัน   การเรียนรู้แบบร่วมมือต้องอาศัยหลักการพึงพากัน   โดยถือว่าทุกคนมีความสำคัญเท่าเทียมกันและจะต้องพึงพากันเพื่อความสำเร็จร่วมกัน มีปฏิสัมพันธ์กัน  แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อมูล และผลการเรียนรู้ต่างๆ การเรียนรู้ร่วมกันต้องอาศัยทักษะทางสังคม  มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดจิตตระหนักรู้  จากการเรียนรู้ จนกระทั่งเกิดเป็นลักษณะนิสัยที่ฝังแน่นติดตัวผู้เรียนอย่างคงทน


๖. มาตรฐานการเรียนรู้    หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ รวม ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้   ทั้งนี้โดยคำนึงถึงการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล   จึงต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา  เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้  ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมสุขศึกษาและพลศึกษาศิลปะการงานอาชีพและเทคโนโลยีภาษาต่างประเทศ    และ ๗. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน   ที่มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพ พัฒนาอย่างรอบด้านเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม เสริมสร้างให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย  ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคม สามารถจัดการตนเองได้ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 
ในประเด็นมาตรฐานการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามกำหนดในหลักสูตร  มีการอิงปรัชญาการศึกษา ทฤษฎีการศึกษา ทฤษฎีการเรียนรู้  และทฤษฎีการสอน  ดังนี้

(๑) ปรัชญาการศึกษา : อิงตามแนวคิดปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (Essentialism) ประสบการณ์นิยม (Pragmatism) ปรัชญาการศึกษาอัตนิยม (Existentialism)  ปรัชญาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) และปรัชญาการศึกษาไทย(เดิม)
  • มีความเชื่อว่าการศึกษา คือ เครื่องมือในการสืบทอดมรดกทางสังคม  ดังนั้นหลักสูตรจึงควรประกอบด้วย ความรู้  ทักษะ เจตคติ  ค่านิยม และวัฒนธรรม  อันเป็นแก่นสำคัญ ดังปรากฏเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ของกลุ่มสาระต่างๆ
  • ด้านหลักสูตรที่เน้นวิชาที่ส่งเสริมสร้างประสบการณ์ของสังคม  และการปฏิรูปให้สังคมดีขึ้น ดังระบุเป็นมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  • หลักสูตรจะต้องให้ผู้เรียนเรียนรู้สาระการเรียนรู้ครอบคลุมการพัฒนาสมองทั้งสองซีก ซึ่งหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดสาระการเรียนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ครอบคลุมการพัฒนาสมองทั้ง ๒ ซีก  การพัฒนาสมองซีกซ้ายจะเอื้อในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ และการพัฒนาสมองซีกขวา เรียนภาษาไทย สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ      การงานอาชีพและเทคโนโลยี
  • ด้านการเรียนการสอนมุ่งฝึกให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบ  รู้จักเลือก  และฝึกให้ผู้เรียนมีสำนึกในเสรีภาพการเลือก  
  • จุดมุ่งหมายของการศึกษาไทย(เดิม) ที่เน้นการศึกษาในองค์ ๓ คือ พุทธิศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา เพื่อความเป็นพลเมืองดี   โดยหลักสูตรแกนกลางได้พัฒนาและแยกเป็นกลุ่มสาระ ๘ กลุ่ม

(๒) ทฤษฎีการศึกษา  อิงทฤษฎีการศึกษา พิพัฒนวาท (Progressivism)
  • มีแนวคิดว่าการศึกษาจะต้องจัดให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการศึกษา มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความเจริญงอกงามรอบด้านทั้งอารมณ์ สังคม ร่างกาย และจิตใจ  โดยนำแนวคิดของทฤษฎีการศึกษานี้มากำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ครอบคลุมการพัฒนาการทั้งอารมณ์ สังคม ร่างกาย และจิตใจ  

(๓) ทฤษฎีการเรียนรู้  :  จากการที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ผู้เรียน ต้องเรียน รวม ๘ กลุ่มสาระ  ซึ่งแต่ละสาระมีศาสตร์ที่ต่างกันออกไป  ดังนั้นการเรียนรู้จึงต้องอิงตามทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง หลายกลุ่ม และแต่ละกลุ่มก็จะมีความเหมาะสมสอดคล้องกับแต่ละสาระ/วิชา ดังนี้
·         ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory)  ทฤษฎีนี้ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์  การทำงานของสมอง  ความจำที่เกี่ยวกับภาษา  และความจำที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ เป็นต้น
·         ทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligences Theory) ของการ์ดเนอร์(Gardner)  ประกอบด้วยความสามารถ ๓ ประการ คือ ความสามารถในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นไปตามธรรมชาติ ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประสิทธิภาพและสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรม ความสามารถในการแสวงหาหรือตั้งปัญหาเพื่อหาคำตอบและเพิ่มพูนความรู้  และประกอบด้วยเชาวน์ปัญญา ๘ ด้าน ได้แก่ ภาษา  คณิตศาสตร์  ดนตรี  การเคลื่อนไหวของร่างกายและกล้ามเนื้อ ความสัมพันธ์กับผู้อื่น การเข้าใจตนเอง และความเข้าใจธรรมชาติ
·         ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเอง โดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)   ผลของการเรียนรู้จะมุ่งเน้นที่กบวนการสร้างความรู้และการตระหนักรู้ในกระบวนการนั้น
·         ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Co-operative or Collaborative Learning) มุ่งเน้นการพึ่งพาและเกื้อกูลกัน   การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด   ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน และการใช้ทักษะปฏิสัมพันธ์กันระหว่างบุคคล และทักษะการทำงาน

(๔) ทฤษฎีการสอน :  ในประเด็นนี้ก็จะสอดคล้องกับการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อการบรรลุตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้   ดังนั้นจึงอิงทฤษฎีการสอนหลายรูปแบบ  เช่น
  • ทฤษฎีการสอนที่ยึดครูเป็นศูนย์
  • ทฤษฎีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
  • รูปแบบการสอนตามวัฎจักรการเรียนรู้ ๔  MAT เป็นรูปแบบการสอนที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสได้ใช้สมองทุกส่วนทั้งซีกซ้ายและซีกขวาในการสร้างความรู้ความเข้าให้แก่ตนเอง ซึ่งผู้เรียนมีลักษณะการเรียนรู้ที่แตกต่างกันทั้ง ๔ แบบ ให้สามารถใช้สมองทุกส่วนของตนในการพัฒนาศักยภาพของตนอย่างเต็มที่  โดยหลักสูตรได้นำแนวคิดของทฤษฎีการสอนนี้ไปเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานสาระการเรียนรู้ที่หลากหลาย ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ครอบคลุมการพัฒนาการสมองของผู้เรียนทุกด้าน  เป็นต้น


๘. ระดับการศึกษา   ๑. ระดับประถมศึกษา มุ่งเน้นทักษะพื้นฐานด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ ทักษะการคิดพื้นฐาน การติดต่อสื่อสาร กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม และพื้นฐานความเป็นมนุษย์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างสมบูรณ์และสมดุลทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และวัฒนธรรม โดยเน้นจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ    ๒. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น   มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้สำรวจความถนัดและความสนใจของตนเอง ส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตน มีทักษะในการคิดวิจารณญาณ  คิดสร้างสรรค์ และคิดแก้ปัญหา มีทักษะในการดำเนินชีวิต มีทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความดีงาม และมีความภูมิใจในความเป็นไทย ตลอดจนใช้เป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพหรือการศึกษาต่อ    ๓. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย   น้นการเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะด้าน สนองตอบความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียนแต่ละคนทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ       มีทักษะในการใช้วิทยาการและเทคโนโลยี ทักษะกระบวนการคิดขั้นสูง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ มุ่งพัฒนาตนและการประกอบอาชีพ มุ่งพัฒนาตนและประเทศตามบทบาทของตน สามารถเป็นผู้นำ และผู้ให้บริการชุมชนในด้านต่าง ๆ

ในประเด็นระดับการศึกษา ของหลักสูตรฯ  ที่แบ่งออกเป็น ๓ ระดับ ตามวัยและพัมนาการของผู้เรียน  มีการอิงปรัชญาการศึกษา ทฤษฎีการศึกษา ทฤษฎีการเรียนรู้  และทฤษฎีการสอน  ดังนี้

(๑) ปรัชญาการศึกษา อิงปรัชญาการศึกษาประสบการณ์นิยม (Pragmatism) และ อัตภาวะนิยม (Existentialism)  และปรัชญาการศึกษาปฏิรูปสังคม (Reconstructionism)
  • มุ่งส่งเสริมสร้างประสบการณ์ของสังคม  โดยจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner-centered Learning) ใช้วิธีการแก้ปัญหาและการทดลองค้นคว้าให้ทำกิจกรรมเป็นหลัก และฝึกให้ผู้เรียนรู้จักตัดสินใจและยึดถือความเห็นของคนส่วนใหญ่โดยคำนึงถึงผลส่วนรวมตามระดับการพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ระระดับชั้น
  • มุ่งส่งเสริมผู้เรียนให้มีเสรีภาพในการเลือกสิ่งที่เรียนตามที่ตนต้องการ ให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด มีเสรีภาพในการเลือกตัดสินใจเมื่อเผชิญกับปัญหาและสถานการณ์ต่างๆ และสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นหาความหมายและสาระสำคัญของชีวิตด้วยตัวผู้เรียนเอง  โดยในมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้สำรวจความถนัดและความสนใจของตนเอง ส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและเน้นการเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะด้าน สนองตอบความสามารถ ความถนัด  ความสนใจของผู้เรียนแต่ละคนทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ  ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้ตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตนที่มีต่อสังคมและปฏิรูปสังคมให้ดีขึ้น โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมให้มากยิ่งขึ้น และเป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โดยมุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้สามารถพัฒนาตนและประเทศตามบทบาทของตน สามารถเป็นผู้นำ และผู้ให้บริการชุมชนในด้านต่าง ๆ 

(๒) ทฤษฎีการศึกษา  อิงตามทฤษฎีการศึกษา พิพัฒนวาท (Progressivism) ที่มีแนวคิดว่าการศึกษาจะต้องจัดให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการศึกษา มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความเจริญงอกงามรอบด้านทั้งอารมณ์ สังคม ร่างกาย และจิตใจ โดยเน้นการเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา ความรู้เป็นเครื่องมือสำหรับการแสวงหาประสบการณ์ การทดลองจะได้รับการเน้นมากกว่าการมุ่งสอนเนื้อหาวิชาทฤษฎี โดยโรงเรียนต้องจัดประสบการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคม  โดยการกำหนดมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนในแต่ละระดับชั้นให้มีความสมบูรณ์ทุกด้านทั้งด้านอารมณ์ สังคม ร่างการ และทักษะวิชาการ และทักษะในการดำรงชีวิตแตกต่างกันตามวัยวุฒิของผู้เรียนในแต่ระดับชั้น ส่วนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจะอิงตามทฤษฎีการศึกษาบูรณวาท (Reconstructionism) ที่มุ่งส่งเสริมให้สถานศึกษามีบทบาทในการปฏิรูปสังคม เพื่อให้เกิดความเสมอภาค และความเป็นธรรมในสังคม


(๓) ทฤษฎีการเรียนรู้  อิงตามกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivism)  ได้แก่ทฤษฎีของเพียเจท์  (Piaget)  เรื่องพัฒนาการทางสติปัญญา โดย การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่างๆ ของผู้เรียนเป็นลำดับขั้น

(๔) ทฤษฎีการสอน  : อิงตามมาตรฐานการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ที่มีความเหมาะสมกับแต่ละระดับ

๙. เวลาเรียนและโครงสร้างเวลาเรียน      ได้กำหนดกรอบโครงสร้างเวลาเรียนขั้นต่ำสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้  ๘ กลุ่ม และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ซึ่งสถานศึกษาสามารถเพิ่มเติมได้ตามความพร้อมและจุดเน้น    โดยสามารถปรับให้เหมาะสมตามบริบทของสถานศึกษาและสภาพของผู้เรียน

ในประเด็น เวลาเรียนและโครงสร้างเวลาเรียน ของหลักสูตรฯ  มีการอิงปรัชญาการศึกษา ทฤษฎีการศึกษา ทฤษฎีการเรียนรู้  และทฤษฎีการสอน  ดังนี้

(๑) ปรัชญาการศึกษา :
  • อิงตามแนวคิดปรัชญาการศึกษาอัตภาวะนิยม (Existentialism) ที่มีแนวคิดด้านหลักสูตรที่มุ่งส่งเสริมผู้เรียนให้มีเสรีภาพในการเลือกอย่างกว้างขวาง ด้านการเรียนการสอนที่มุ่งฝึกให้ผู้เรียนรู้จักเลือกอย่างมีความรับผิดชอบ กระตุ้นให้ผู้เรียนมีเสรีภาพในการเลือกอย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งด้านการสร้างอุปนิสัยและรสนิยมที่ฝึกให้ผู้เรียนมีสำนึกในเสรีภาพการเลือกอย่างมีความรับผิดชอบ จึงมีการนำแนวคิดดังกล่าวมาพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเลือก เพื่อในหลักสูตรส่งเสริมผู้เรียนให้มีเสรีภาพในการเลือกอย่างกว้างขวาง
  • อิงตามปรัชญาการศึกษาประสบการณ์นิยม (Pragmatism)  ที่มุ่งส่งเสริมสร้างประสบการณ์ของสังคม  โดยจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner-centered Learning) ใช้วิธีการแก้ปัญหาและการทดลองค้นคว้าให้ทำกิจกรรมเป็นหลัก และฝึกให้ผู้เรียนรู้จักตัดสินใจและยึดถือความเห็นของคนส่วนใหญ่โดยคำนึงถึงผลส่วนรวม
  • อิงตามแนวคิดปรัชญาการศึกษาอัตภาวะนิยม (Existentialism) ที่มีแนวคิดในด้านการเรียนการสอนที่มุ่งส่งเสริมผู้เรียนให้มีเสรีภาพในการเลือกสิ่งที่เรียนตามที่ตนต้องการ ให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด มีเสรีภาพในการเลือกตัดสินใจเมื่อเผชิญกับปัญหาและสถานการณ์ต่างๆ และสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นหาความหมายและสาระสำคัญของชีวิตด้วยตัวผู้เรียนเอง

(๒) ทฤษฎีการศึกษา  อิง ทฤษฎีการศึกษาพิพัฒนวาท (Progressivism)
  • การศึกษาจะต้องจัดให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน
  • เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการศึกษา
  • มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความเจริญงอกงามรอบด้านทั้งอารมณ์ สังคม ร่างกาย และจิตใจ

(๓) ทฤษฎีการเรียนรู้  อิงตามกลุ่มปัญญานิยม(Cognitivism) ได้แก่ทฤษฎีของบรูเนอร์และออซูเบล  (Brunner and  Ursubel) มีแนวคิดและหลักการคือ
  • ผู้เรียนจะเลือกรับรู้ในสิ่งที่ตนเองสนใจ และเป็นไปตามลำดับ
  • การเรียนรู้จะต้องเกิดจากกระบวนการที่ผู้เรียนค้นพบด้วยตนเอง
  • กระบวนการเรียนรู้นั้นต้องมีความหมายกับผู้เรียนด้วย
(๔) ทฤษฎีการสอน     ในประเด็นระดับการศึกษานี้ก็จะสอดคล้องกับการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อการบรรลุตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้   ของแต่ละชั้น  แต่ละช่วงชั้น  เหมาะสมสอดคล้องกับวัย วุฒิภาวะ  ความสนใจและความต้องการของผู้เรียนดังนั้นจึงอิงทฤษฎีการสอนหลายรูปแบบ  เช่น
  • ทฤษฎีการสอนที่ยึดครูเป็นศูนย์
  • ทฤษฎีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
  • พัฒนาการของผู้เรียนเป็นไปตามธรรมชาติ  โรงเรียนไม่ควรเร่งผู้เรียนให้ข้ามพัฒนาการ แต่ควรเป็นการจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการผู้เรียนสำหรับผู้เรียนที่มีพัฒนาการทางสติปัญญาที่สูงกว่า เพื่อช่วยเหลือผู้เรียนให้มีพัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว
  • ผู้เรียนจะเลือกรับรู้ในสิ่งที่ตนเองสนใจ และการเรียนรู้จะต้องเกิดจากกระบวนการที่ผู้เรียนค้นพบด้วยตนเอง และกระบวนการเรียนรู้นั้นต้องมีความหมายกับผู้เรียนด้วย
  • การจัดโครงสร้างของความรู้ต้องให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน และเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียนด้วย 
  • การกำหนดมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนในแต่ละระดับชั้นจะมีความสอดคล้องกับแนวคิดของกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivism)  โดยมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนในหลักสูตรเป็นไปตามพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น

๑๐.การจัดการเรียนรู้  หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ระบุรายละเอียดออกเป็น ๔ ประเด็น   สรุปโดยสังเขป คือ  ๑).หลักการจัดการเรียนรู้ ยึดหลักว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเอง    ๒).กระบวนการเรียนรู้  ในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   อาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย  เป็นเครื่องมือที่จะนำพาตนเองไปสู่เป้าหมายของหลักสูตร  เช่น กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการสร้างความรู้   กระบวนการคิด กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง กระบวนการปฏิบัติ ลงมือทำจริง  กระบวนการจัดการ กระบวนการวิจัย กระบวนการเรียนรู้การเรียนรู้ของตนเอง  ๓).การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาให้เข้าใจถึงมาตรฐานการเรียนรู้  ตัวชี้วัด  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์  และสาระการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน  แล้วจึงพิจารณาออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยเลือกใช้วิธีสอนและเทคนิคการสอน  สื่อ/แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด     ๔).บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน     ผู้สอนต้อง(๑)ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล  แล้วนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ ที่ท้าทายความสามารถของผู้เรียน  (๒)กำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ด้านความรู้และทักษะกระบวนการ ที่เป็นความคิดรวบยอด หลักการ และความสัมพันธ์ รวมทั้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์    (๓)ออกแบบการเรียนรู้และจัดการเรียนรู้  ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมอง เพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย  (๔)จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้  และดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้    (๕) จัดเตรียมและเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับกิจกรรมนำภูมิปัญญาท้องถิ่น  เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน (๖)ประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย  เหมาะสมกับธรรมชาติของวิชาและระดับพัฒนาการของผู้เรียน     (๗)วิเคราะห์ผลการประเมินมาใช้ในการซ่อมเสริมและพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนของตนเอง      บทบาทของผู้เรียน มีดังนี้ (๑)กำหนดเป้าหมายวางแผน และรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง   (๒)เสาะแสวงหาความรู้ เข้าถึงแหล่งการเรียนรู้  วิเคราะห์สังเคราะห์ข้อความรู้ตั้งคำถามคิดหาคำตอบหรือหาแนวทางแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่าง ๆ (๓) ลงมือปฏิบัติจริง สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเองและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง      (๔)มีปฏิสัมพันธ์ ทำงาน ทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มและครูประเมินและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง
ในประเด็นการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรฯ  มีการอิงปรัชญาการศึกษา ทฤษฎีการศึกษา ทฤษฎีการเรียนรู้  และทฤษฎีการสอน  ดังนี้


(๑๑) สื่อการเรียนรู้ การเลือกใช้สื่อควรเลือกให้มีความเหมาะสมกับระดับพัฒนาการ และลีลาการเรียนรู้ที่หลากหลายของผู้เรียน  การจัดหาสื่อการเรียนรู้ ผู้เรียนและผู้สอนสามารถจัดทำและพัฒนาขึ้นเอง  หรือปรับปรุงเลือกใช้อย่างมีคุณภาพจากสื่อต่างๆ ที่มีอยู่รอบตัวเพื่อนำมาใช้ประกอบในการจัดการเรียนรู้ที่สามารถส่งเสริมและสื่อสารให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้    โดยสถานศึกษาควรจัดให้มีอย่างพอเพียง เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่าง
ในประเด็นสื่อการเรียนรู้ ที่เป็นของหลักสูตรฯ  มีการอิงปรัชญาการศึกษา ทฤษฎีการศึกษา ทฤษฎีการเรียนรู้  และทฤษฎีการสอน  ดังนี้



(๑๒) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้  การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่บนหลักการพื้นฐานสองประการคือการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนและเพื่อตัดสินผลการเรียน   โดย การประเมินระดับชั้นเรียน  เป็นการวัดและประเมินผลที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนรู้  ผู้สอนดำเนินการเป็นปกติและสม่ำเสมอ ในการจัดการเรียนการสอน ใช้เทคนิคการประเมินอย่างหลากหลาย เช่น การซักถาม การสังเกต การตรวจการบ้าน การประเมินโครงงาน การประเมินชิ้นงาน/ ภาระงาน  แฟ้มสะสมงาน การใช้แบบทดสอบ  ฯลฯ  โดยผู้สอนเป็นผู้ประเมินเองหรือเปิดโอกาส    ให้ผู้เรียนประเมินตนเอง เพื่อนประเมินเพื่อน ผู้ปกครองร่วมประเมิน ในกรณีที่ไม่ผ่านตัวชี้วัดให้มี     การสอนซ่อมเสริมการประเมินระดับชั้นเรียนเป็นการตรวจสอบว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการความก้าวหน้าในการเรียนรู้  อันเป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด มีสิ่งที่จะต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุงและส่งเสริมในด้านใด นอกจากนี้ยังเป็นข้อมูลให้ผู้สอนใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนของตนด้วย ทั้งนี้โดยสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด.

ในประเด็นการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ของหลักสูตรฯ  มีการอิงปรัชญาการศึกษา ทฤษฎีการศึกษา ทฤษฎีการเรียนรู้  และทฤษฎีการสอน  ดังนี้
๑) ปรัชญาการศึกษา : อิง1.อิงตามแนวคิดปรัชญาการศึกษาอัตภาวะนิยม (Existentialism) ที่มีแนวคิดในด้านการเรียนการสอนที่มุ่งส่งเสริมผู้เรียนให้มีเสรีภาพในการเลือกสิ่งที่เรียนตามที่ตนต้องการ ให้ผูเรียนเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด มีเสรีภาพในการเลือกตัดสินใจเมื่อเผชิญกับปัญหาและสถานการณ์ต่างๆ และสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นหาความหมายและสาระสำคัญของชีวิตด้วยตัวผู้เรียนเอง


๒)อิงตามปรัชญาการศึกษาประสบการณ์นิยม (Pragmatism)  ที่มุ่งส่งเสริมสร้างประสบการณ์ของสังคม  โดยจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner-centered Learning) ใช้วิธีการแก้ปัญหาและการทดลองค้นคว้าให้ทำกิจกรรมเป็นหลัก และฝึกให้ผู้เรียนรู้จักตัดสินใจและยึดถือความเห็นของคนส่วนใหญ่โดยคำนึงถึงผลส่วนรวม  หลักสูตรจึงได้นำแนวคิดปรัชญาการศึกษาประสบการณ์นิยม (Pragmatism)  มาใช้เป็นแนวทางในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้

๓)อิงตามแนวคิดปรัชญาการศึกษาอัตภาวะนิยม (Existentialism) ที่มีแนวคิดในด้านการเรียนการสอนที่มุ่งส่งเสริมผู้เรียนให้มีเสรีภาพในการเลือกสิ่งที่เรียนตามที่ตนต้องการ ให้ผูเรียนเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด มีเสรีภาพในการเลือกตัดสินใจเมื่อเผชิญกับปัญหาและสถานการณ์ต่างๆ และสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นหาความหมายและสาระสำคัญของชีวิตด้วยตัวผู้เรียนเอง
 ๔)อิงตามปรัชญาการศึกษาประสบการณ์นิยม (Pragmatism)  ที่มุ่งส่งเสริมสร้างประสบการณ์ของสังคม  โดยจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner-centered Learning) ใช้วิธีการแก้ปัญหาและการทดลองค้นคว้าให้ทำกิจกรรมเป็นหลัก
 (๕)อิงตามแนวคิดปรัชญาการศึกษาอัตภาวะนิยม (Existentialism) ที่มีแนวคิดในด้านการเรียนการสอนที่มุ่งส่งเสริมผู้เรียนให้มีเสรีภาพในการเลือกสิ่งที่เรียนตามที่ตนต้องการ ให้ผูเรียนเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด มีเสรีภาพในการเลือกตัดสินใจเมื่อเผชิญกับปัญหาและสถานการณ์ต่างๆ และสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นหาความหมายและสาระสำคัญของชีวิตด้วยตัวผู้เรียนเอง
 (๖)อิงตามปรัชญาการศึกษาประสบการณ์นิยม (Pragmatism)  ที่มุ่งส่งเสริมสร้างประสบการณ์ของสังคม  โดยจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner-centered Learning) ใช้วิธีการแก้ปัญหาและการทดลองค้นคว้าให้ทำกิจกรรมเป็นหลัก และฝึกให้ผู้เรียนรู้จักตัดสินใจและยึดถือความเห็นของคนส่วนใหญ่โดยคำนึงถึงผลส่วนรวม


(๒) ทฤษฎีการศึกษา : อิงตามทฤษฎีการศึกษา พิพัฒนวาท (Progressivism) ที่มีแนวคิดว่าการศึกษาจะต้องจัดให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการศึกษา มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความเจริญงอกงามรอบด้านทั้งอารมณ์ สังคม ร่างกาย และจิตใจ โดยเน้นการเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา ความรู้เป็นเครื่องมือสำหรับการแสวงหาประสบการณ์ การทดลองจะได้รับการเน้นมากกว่าการมุ่งสอนเนื้อหาวิชาทฤษฎี โดยโรงเรียนต้องจัดประสบการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคม      โดยนำแนวคิดของทฤษฎีการศึกษา พิพัฒนวาท (Progressivism) มากำหนดแนวทางในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายเป็นเครื่องมือที่จะนำพาผู้เรียนไปสู่เป้าหมายของหลักสูตร และเป็นผู้ที่มีพัฒนาการที่เต็มที่อย่างสมบูรณ์ที่สุด


(๓) ทฤษฎีการเรียนรู้  อิงตามทฤษฎีการเรียนรู้พหุปัญญา (Multiple Intelligences Theory) ของการ์ดเนอร์(Gardner) และอิงตามกลุ่มมนุษยนิยม  (Humanism)ตามทฤษฎีของโรเจอร์  (Roger)
  • มีแนวคิดเชื่อว่าผู้เรียนแต่ละคนมีเชาวน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เหมือนกัน
  • การจัดการเรียนการสอนควรมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลาย ๆ ด้าน จะช่วยให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสที่จะพัฒนาตนเองอย่างรอบด้าน พร้อมทั้งช่วยส่งเสริมอัจริยภาพหรือความสามารถเฉพาะตนของผู้เรียนไปในตัว
  • โรเจอร์มีแนวคิดว่าผู้เรียนจะสามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาพที่ผ่อนคลายเป็นอิสระ
  • การจัดการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ( student-centered teaching) โดยครูทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน
  • วิธีการสอนที่ใช้ควรได้แก่ วิธีสอนแบบชี้แนะ    การเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ (process learning)  เนื่องจากกระบวนการเรียนรู้เป็นเครื่องมือสำหรับผู้เรียนใช้ในการดำรงชีวิตและแสวงหาความรู้ต่อไปในชีวิตจริง และกระบวนเรียนรู้ควรเปิดโอกาสและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำประสบการณ์ ความรู้ ทักษะ เจตคติ ไปใช้ในชีวิตประจำวัน


๑๑. สื่อการเรียนรู้   การเลือกใช้สื่อควรเลือกให้มีความเหมาะสมกับระดับพัฒนาการ และลีลาการเรียนรู้ที่หลากหลายของผู้เรียน  การจัดหาสื่อการเรียนรู้ ผู้เรียนและผู้สอนสามารถจัดทำและพัฒนาขึ้นเอง  หรือปรับปรุงเลือกใช้อย่างมีคุณภาพจากสื่อต่างๆ ที่มีอยู่รอบตัวเพื่อนำมาใช้ประกอบในการจัดการเรียนรู้ที่สามารถส่งเสริมและสื่อสารให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้    โดยสถานศึกษาควรจัดให้มีอย่างพอเพียง เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่าง



๑๒. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้    การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่บนหลักการพื้นฐานสองประการคือการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนและเพื่อตัดสินผลการเรียน   โดย การประเมินระดับชั้นเรียน  เป็นการวัดและประเมินผลที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนรู้  ผู้สอนดำเนินการเป็นปกติและสม่ำเสมอ ในการจัดการเรียนการสอน ใช้เทคนิคการประเมินอย่างหลากหลาย เช่น การซักถาม การสังเกต การตรวจการบ้าน การประเมินโครงงาน การประเมินชิ้นงาน/ ภาระงาน  แฟ้มสะสมงาน การใช้แบบทดสอบ  ฯลฯ  โดยผู้สอนเป็นผู้ประเมินเองหรือเปิดโอกาส   ให้ผู้เรียนประเมินตนเอง เพื่อนประเมินเพื่อน ผู้ปกครองร่วมประเมิน ในกรณีที่ไม่ผ่านตัวชี้วัดให้มี    การสอนซ่อมเสริมการประเมินระดับชั้นเรียนเป็นการตรวจสอบว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการความก้าวหน้าในการเรียนรู้  อันเป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด มีสิ่งที่จะต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุงและส่งเสริมในด้านใด นอกจากนี้ยังเป็นข้อมูลให้ผู้สอนใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนของตนด้วย ทั้งนี้โดยสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด.

(๑) ปรัชญาการศึกษา :  อิงตามปรัชญาการศึกษาอัตภาวะนิยม (Existentialism)
  • แนวคิดในด้านการเรียนการสอนที่มุ่งส่งเสริมผู้เรียนให้มีเสรีภาพในการเลือกสิ่งที่เรียนตามที่ตนต้องการ
  • ให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด มีเสรีภาพในการเลือกตัดสินใจเมื่อเผชิญกับปัญหาและสถานการณ์ต่างๆ
  • สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นหาความหมายและสาระสำคัญของชีวิตด้วยตัวผู้เรียนเอง
  • ดังนั้นในการวัดและประเมินผลต้องใช้เทคนิคการประเมินที่หลากหลายเพื่อให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้  และศักยภาพผู้เรียนแต่ละคน     พร้อมทั้งสามารถสะท้อนคุณภาพการศึกษาที่แท้จริงได้

(๒)ทฤษฎีการศึกษา  :   อิงตามทฤษฎีการศึกษาพิพัฒนวาท (Progressivism)
  • แนวคิดด้านการศึกษาต้องจัดให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการศึกษา
  • มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความเจริญงอกงามรอบด้านทั้งอารมณ์ สังคม ร่างกาย และจิตใจ โดยเน้นการเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา
  • ความรู้เป็นเครื่องมือสำหรับการแสวงหาประสบการณ์ การทดลองจะได้รับการเน้นมากกว่าการมุ่งสอนเนื้อหาวิชาทฤษฎี หลักสูตรจึงได้นำแนวคิดของทฤษฎีการศึกษาพิพัฒนวาท(Progressivism)มากำหนดแนวทางในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้อย่างหลากหลาย

(๓) ทฤษฎีการเรียนรู้ อิงตามพหุปัญญา (Multiple Intelligences Theory) ของการ์ดเนอร์(Gardner)
  • มีแนวคิดเชื่อว่าการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ควรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนไปจากแนวคิดเดิมที่ใช้การทดสอบเพื่อวัดความสามารถทางเชาวน์ปัญญาเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
  • วิธีการประเมินผลการเรียนการสอนที่ดี ควรมีการประเมินหลาย ๆ ด้าน และในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วย
  • ดังนั้นการนำแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ของการ์ดเนอร์(Gardner) มาใช้เป็นแนวทางในการออกแบบหลักสูตรองค์ประกอบ   ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้มีความหลากหลายทั้งด้านเครื่องมือวัด แบบประเมินและเกณฑ์การประเมิน วัดหลายคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้เรียน และควรวัดหลายครั้งในรูปแบบการวัดเพื่อพัฒนาผู้เรียน และสามารถสะท้อนคุณภาพการเรียนรู้ที่แท้จริงของผู้เรียน

(๒) อิงกลุ่มพฤติกรรมนิยม( Behaviorism)  ตามแนวคิดของทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นสไดด์
(Thorndike’s Classical) 
  • มีแนวคิดความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ซึ่งมีหลายรูปแบบ และกฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Law of Effect)
  • เมื่อผู้เรียนได้รับผลที่พึงพอใจย่อมอยากจะเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าได้รับผลที่ไม่พึงพอใจ จะไม่อยากเรียนรู้ ดังนั้นการได้รับผลที่พึงพอใจ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ด้วยแนวคิดของทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดของทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นสไดด์ (Thorndike’s Classical)  ไปใช้ในการออกแบบหลักสูตรในองค์ประกอบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่จะต้องเป็นการวัดและประเมินผลเพื่อการ

บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว โดยเป็นผลงานในการศึกษาวิชา

ของผู้เขียนเอง


แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศึกษาศาสตร์