วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์

ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

การตีความลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ แสดงในรูปของพีระมิดโดยมีความต้องการพื้นฐานกว่าอยู่ข้างล่าง[1]ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (อังกฤษ: Maslow's hierarchy of needs) เป็นทฤษฎีทางจิตวิทยา ที่เสนอโดย อับราฮัม มาสโลว์ ในรายงานเรื่อง "A Theory of Human Motivation" ปี 1943[2] หลังจากนั้นมาสโลว์ยังไปขยายแนวคิดไปรวมถึงข้อสังเกตของเขาเกี่ยวกับความอยากรู้อยากเห็นแต่กำเนิดของมนุษย์ ทฤษฎีของเขาคล้ายกับทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการหลาย ๆ ทฤษฎี ซึ่งทั้งหมดเน้นที่การเติบโตของมนุษย์ในระยะต่าง ๆ

เนื้อหา [ซ่อน]
1 ลำดับขั้น
1.1 ความต้องการทางกายภาพ
1.2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย
1.3 ความรักและความเป็นเจ้าของ
1.4 ความเคารพนับถือ
1.5 ความสมบูรณ์ของชีวิต
2 ทัศนะวิจารณ์
3 ธุรกิจ
3.1 การตลาด
3.2 ธุรกิจระหว่างประเทศ
4 อ้างอิง
5 แหล่งข้อมูลอื่น


[แก้] ลำดับขั้นลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ มักถูกนำเสนอโดยรูปพิระมิด ที่ความต้องการที่มากที่สุด พื้นฐานที่สุดจะอยู่ข้างล่างและความต้องการความสมบูรณ์ของชีวิต (self-actualization) จะอยู่บนสุด[3]

พิระมิดแบ่งออกเป็น 5 ชั้นคร่าวๆของความต้องการต่างๆ คือ ความสมบูรณ์ของชีวิต (self-actualization), ความเคารพนับถือ (esteem), มิตรภาพและความรัก (friendship and love), ความมั่นคงปลอดภัย (security), และความต้องการทางกายภาพ ถ้าความเคารพนับถือ, มิตรภาพและรัก หรือ ความมั่นคงปลอดภัย ขาดพร่องไป แม้ร่างกายจะไม่ได้แสดงอาการใดๆออกมาแต่บุคคลนั้นๆรู้สึกกระวนกระวายและเกร็งเครียด ทฤษฎีของมาสโลว์ยังบอกด้วยว่า ชั้นความต้องการที่พื้นฐานมากกว่าหรืออยู่ข้างล่างของพิระมิด จะต้องได้รับการตอบสนองก่อนที่บุคคลจะเกิดความปรารถนาอย่างแรงกล้าต่อความต้องการในระดับที่สูงขึ้นได้

[แก้] ความต้องการทางกายภาพความต้องการทางกายภาพ เป็นความต้องการเพื่อจะอยู่รอดของมนุษย์

ถ้าความต้องการพื้นฐานที่สุดนี้ไม่ได้รับการตอบสนอง ร่างกายของมนุษย์ก็ไม่สามารถทำงานได้ หรือไม่สามารถทำงานได้ดี

อากาศ น้ำ อาหาร เป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการเพื่อใช้ในกระบวนการสร้างและสลาย เพื่อให้มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้ เสื้อผ้าเครื่องนุ่นห่มและ ที่พัก จะให้การปกป้องที่จำเป็นกับมนุษย์ จากสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม สัญชาตญาณและความต้องการทางเพศ ถูกพัฒนามาจากการแข่งขันเพื่อโอกาสในการผสมและสืบพันธุ์

[แก้] ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยเมื่อความต้องการทางการภาพได้รับการตอบสนองในระดับที่พอเพียง ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยจะมีอิทธิพลกับพฤติกรรม ถ้าไม่มีความปลอดภัยทางกายภาพ (จากสาเหตุ เช่น อาชญากรรม สงคราม การก่อการร้าย ภัยพิบัติธรรมชาติ หรือ ความรุนแรงในครอบครัว) คนอาจมีอาการของความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (post-traumatic stress disorder) และอาจมีส่งผ่านความเครียดนี้ไปยังคนรุ่นหลังได้ ถ้าไม่มีความปลอดภัยมั่นคงทางเศรษฐกิจ (จากสาเหตุ เช่น วิกฤติเศรษฐกิจ หรือ การขาดโอกาสทางการงาน) ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยนี้ อาจปรากฎออกมาในรูปของ การนิยมงานที่มีความมั่นคง กระบวนการร้องทุกข์เพื่อปกป้องบุคคลจากการกลั่นแกล้งของผู้บังคับบัญชา หรือ ปกป้องบัญชีเงินฝาก เรียกร้องนโยบายประกันภัย ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต ต่างๆ การเรียกร้องที่พักที่เหมาะสมสำหรับคนพิการ เป็นต้น

ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย รวมถึง

ความมั่นคงปลอดภัยส่วนบุคคล
ความมั่นคงปลอดภัยทางการเงิน
สุขภาพและความเป็นอยู่
ระบบรับประกัน-ช่วยเหลือ ในกรณีของอุบัติเหตุ/ความเจ็บป่วย
[แก้] ความรักและความเป็นเจ้าของเมื่อความต้องการทางกายภาพและความปลอดภัยได้รับการตอบสนองแล้ว ระดับขั้นที่สามของความต้องการมนุษย์คือ ความต้องการเป็นเจ้าของ ความต้องการนี้จะรุนแรงมากในวัยเด็กและบางครั้งอาจจะชนะความต้องการความปลอดภัยได้ในบางครั้ง ดังเห็นได้จากการที่เด็กติดพ่อแม่ที่เป็นอันตราย ซึ่งบางครั้งเรียกว่า "Stockholm syndrome" การขาดความรักและความเป็นเจ้าของ (อาจมาจาก การขาดความผูกพันธ์จากผู้เลี้ยงดูขณะเป็นทารก (hospitalism), การถูกทอดทิ้ง (neglect), การถูกสังคมรังเกียจหรือกีดกัน (shunning), การถูกขับออกจากกลุ่ม (ostracism) เป็นต้น) อาจมีผลทำให้บุคคลไม่สามารถพัฒนาหรือรักษาความสัมพันธ์ที่สำคัญ (เช่น มิตรภาพ ความรัก ครอบครัว) ไว้ได้

มนุษย์ต้องการที่จะรู้สึกเป็นเจ้าของและถูกยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นในระดับกลุ่มสังคมใหญ่ เช่น สโมสร กลุ่มศาสนา องค์กรสายอาชีพ ทีมกีฬา แก็งส์ หรือ ความสัมพันธ์ทางสังคมเล็กๆ (สมาชิกในครอบครัว คู่ชีวิต พี่เลี้ยง เพื่อนสนิท) มนุษย์ต้องการที่จะรักและถูกรักจากคนอื่น ถ้าขาดความต้องการเรื่องนี้ไป หลายๆคนกลายเป็นคนขี้เหงา มีปัญหาการเข้าสังคม และ เป็นโรคซึมเศร้า ความต้องการเป็นเจ้าของนี้ บ่อยครั้งที่สามารถจะชนะความต้องการทางกายภาพและความมั่นคงปลอดภัยได้ ขึ้นกับแรงกดดันจากคนรอบข้าง (peer pressure) เช่น คนที่มีอาการ anorexic (เบื่ออาหาร) อาจละเลยความต้องการอาหาร และความปลอดภัย เพียงเพื่อได้ความต้องการควบคุมและเป็นเจ้าของ[ต้องการอ้างอิง]

[แก้] ความเคารพนับถือมนุษย์ทุกคนต้องการที่จะได้รับการนับถือและเคารพให้เกียรติ ความเคารพนับถือแสดงถึงความต้องการของมนุษย์ที่จะได้รับการยอมรับและเห็นคุณค่าโดยคนอื่น คนต้องการที่จะทำอะไรจริงจังเพื่อจะได้รับการยอมรับนับถือและต้องการจะมีกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกว่าเขาได้มีส่วนทำประโยชน์ เพื่อจะรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ หรือ งานอดิเรก ความไม่สมดุลย์ในความเคารพนับถือ อาจส่งผลให้มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำและรู้สึกต้อยต่ำ คนที่มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำต้องการการเคารพจากคนอื่นๆ เขาอาจพยายามแสวงหาความมีชื่อเสียง (ซึ่งขึ้นกับผู้อื่น) หมายเหตุ อย่างไรก็ตาม คนจำนวนมากที่มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ ไม่สามารถที่จะแก้ไขความภาคภูมิใจตัวเองได้ง่ายๆโดยการมีชื่อเสียง ได้รับความเคารพ จากภายนอก แต่ต้องยอมรับตัวเองจากภายใน ความไม่สมดุลย์ทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า อาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถมีความภาคภูมิใจในตนเอง (self-esteem) ได้

คนส่วนใหญ่มีความต้องการความเคารพและความภาคภูมิในในตนเองที่มั่นคง มาสโลว์ได้กล่าวถึงต้องการความเคารพนับถือใน 2 ระดับ คือ ระดับล่าง กับ ระดับสูง ระดับล่าง เป็นความต้องการความนับถือจากคนอื่น ความต้องการสถานะ การยอมรับ ชื่อเสียง ศักดิ์ศรี และ ความสนใจ ระดับสูง เป็นความต้องการความเคารพตัวเอง ความต้องการความแข็งแกร่ง ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ความมั่นใจในตัวเอง ความเป็นตัวของตัวเอง และ อิสระ ที่ความต้องการเหล่านี้จัดเป็นระดับสูง ก็เพราะว่า มันขึ้นกับความสามารถภายในมากกว่า ซึ่งได้มาโดยผ่านประสบการณ์

การขาดความต้องการเหล่านี้ อาจทำให้ความรู้สึกต่ำต้อย อ่อนแอ และช่วยตัวเองไม่ได้ หมดหนทาง

มาสโลว์ได้หมายเหตุไว้ว่าการแบ่งขั้นความต้องการความเคารพนับถือระดับล่างกับสูงนี้เกี่ยวข้องกันมากกว่าที่จะเป็นการแบ่งแยกกันอย่างชัดเจน

[แก้] ความสมบูรณ์ของชีวิตดูบทความหลักที่ ความสมบูรณ์ของชีวิต
“อะไรที่บุคคลเป็นได้ เขาต้องเป็น” (“What a man can be, he must be.”)[4] เป็นคำกล่าวของมาสโลว์ที่สรุปความหมายของความต้องการความสมบูรณ์ของชีวิตไว้ ความต้องการนี้ เกี่ยวกับ ศักยภาพสูงสุดของบุคคล และ การตระหนักถึงศักยภาพนั้น มาสโลว์อธิบายว่านี้คือความต้องการที่ปรารถนาจะเป็นมากกว่าที่่เขาเป็นอยู่ เป็นความปรารถนาที่จะเป็นทุกๆอย่างที่เขาจะสามารถเป็นได้[5]

เพื่อที่จะเข้าใจความต้องการความสมบูรณ์ของชีวิตได้ บุคคลจะต้องได้รับการตอบสนองความต้องการอื่นๆ (กายภาพ ความปลอดภัย ความรัก ความเคารพนับถือ) อย่างดีแล้วก่อน

[แก้] ทัศนะวิจารณ์มีงานศึกษาลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์อย่างกว้างขวาง หนึ่งในนั้น วาบาและบริดจ์เวลล์ (Wahba and Bridgewell) พบว่า มีหลักฐานน้อยมากที่ยืนยันถึงลำดับขั้นตามที่มาสโลว์บรรยาย หรือแม้แต่หลักฐานของการมีลำดับขั้นเองก็น้อยมาก[6]

ลำดับของลำดับขั้นที่วางความสมบูรณ์ของชีวิตไว้บนสุด ถูกวิจารณ์โดย เจิร์ต ฮอฟสตีด (Geert Hofstede) ว่าเป็นทฤษฎีที่ลำเอียงตามเชื้อชาติเผ่าพันธ์ (ethnocentric)[7] การที่เจิร์ต ฮอฟสตีด วิจารณ์พิระมิดของมาสโลว์ว่าลำเอียงจากเชื้อชาติเผ่าพันธ์นั้น อาจมาจาก ลำดับขั้นของมาสโลว์ ไม่ได้อ้างถึง หรือ อธิบายถึงความแตกต่างของ ความต้องการทางสังคมและบุคคล ที่เติบโตในสังคมที่มีแนวคิดแบบปัจเจกนิยม (individualism) กับสังคมที่มีแนวคิดแบบคติรวมหมู่นิยม (collectivism) มาสโลว์ เสนอลำดับขั้นจากมุมมองของแนวคิดแบบปัจเจกนิยม ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมในสังคมของมาสโลว์ ความต้องการของและแรงจูงใจของคนที่อยู่ในสังคมปัจเจกนิยม มักเน้นที่ตัวเองมากกว่า คนที่อยู่ในสังคมแบบคติรวมหมู่นิยม เนื่องจากลำดับขั้นถูกกำหนดจากมุมมองของคนในสังคมปัจเจกนิยม ลำดับของความต้องการความสมบูรณ์ของชีวิตที่ถูกวางไว้บนสุดของลำดับความต้องการ นั้นไม่สามารถใช้อธิบายลำดับความต้องการของบุคคลจากสังคมคติรวมหมู่นิยมได้ โดยในสังคมแบบคติรวมหมู่นิยม ความต้องการการยอมรับและกลุ่มสังคมจะมีความสำคัญเหนือกว่าความต้องการอิสรภาพและความเป็นตัวของตัวเอง[8]

ลำดับขั้นของมาสโลว์ ก็ยังถูกวิจารณ์ว่าเป็นปัจเจกนิยมจากการที่ลำดับที่เขาใส่ความต้องการทางเพศไว้ในพิระมิด มาสโลว์ใส่ความต้องการทางเพศไว้ล่างสุดของพิระมิด ซึ่งเป็นระดับเดียวกับ ความต้องการหายใจ และ ความต้องการอาหาร ซึ่งมุมมองนี้เป็นมุมมองถูกจัดว่าเป็นมุมมองแบบปัจเจกนิยม ไม่ใช่มุมมองจากสังคมแบบคติรวมหมู่นิยม มุมมองความต้องการทางเพศแบบปัจเจกนิยมนี้ไม่มีการนำปัจจัยเรื่องของครอบครัวและชุมชนที่มีความสำคัญในคติรวมหมู่นิยมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย[9][10]

[แก้] ธุรกิจ[แก้] การตลาดมีการนำลำดับขั้นของมาสโลว์มาใช้ในการเรียนการสอนเรื่องการตลาด เพื่อช่วยในการเข้าใจแรงจูงใจของลูกค้า นักการตลาดจะวิเคราะห์ประวัติความต้องการของลูกค้าเพื่อหาวิธีดำเนินการทางการตลาด ถ้าผู้ผลิตออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ลูกค้ามักจะเลือกผลิตภัณฑ์นั้นมากกว่าผลิตภัณฑ์แบบเดียวกันจากคู่แข่ง

[แก้] ธุรกิจระหว่างประเทศการเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์สำคัญมากสำหรับสาขาธุรกิจระหว่างประเทศ การประเมินความต้องการ ค่านิยม แรงจูงใจ และ การให้ความสำคัญ ที่ต่างกันระหร่าวคนจากประเทศต่างๆ มีค่ามากในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมที่ต่างกัน นอกจากนั้นมันยังทำให้เห็นด้วยว่าค่านิยมที่ต่างกันจากวัฒนธรรมที่ต่างกัน มีผลกับบรรยากาศและจริยธรรมในการทำงานอย่างไร เช่น วัฒนธรรมปัจเจกนิยม อาจนำไปสู่ความได้เปรียบทางการวิจัยและพัฒนา ในขณะที่วัฒนธรรมคติรวมหมู่นิยม อาจได้เปรียบในองค์กรแรงงาน ในการควบคุมคุณภาพของสินค้าและบริการและ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคู่ค้า[11]

[แก้] อ้างอิง1.^ Maslow's Hierarchy of Needs[ลิงก์เสีย]
2.^ A.H. Maslow, A Theory of Human Motivation, Psychological Review 50(4) (1943):370-96.
3.^ Bob F. Steere (1988). Becoming an effective classroom manager: a resource for teachers. SUNY Press. ISBN 0887066208, 9780887066207. http://books.google.com/?id=S2cwd56VvOMC&pg=PA21&dq=Maslow's+hierarchy+of+needs&cd=3#v=onepage&q=Maslow's%20hierarchy%20of%20needs.
4.^ Maslow, Abraham. Motivation and personality. Harper and Row New York, New York 1954 pg 91
5.^ Maslow, Abraham. Motivation and personality. Harper and Row New York, New York 1954 pg 92
6.^ Wahba, A; Bridgewell, L (1976). "Maslow reconsidered: A review of research on the need hierarchy theory". Organizational Behavior and Human Performance (ฉบับที่ 15): 212–240.
7.^ Hofstede, G (1984). "The cultural relativity of the quality of life concept". Academy of Management Review 9 (ฉบับที่ 3): 389–398. doi:10.2307/258280. http://www.nyegaards.com/yansafiles/Geert%20Hofstede%20cultural%20attitudes.pdf.
8.^ Cianci, R., Gambrel, P.A. (2003). Maslow's hierarchy of needs: Does it apply in a collectivist culture. Journal of Applied Management and Entrepreneurship, 8(2), 143-161.
9.^ Kenrick, D. (2010, May 19). Rebuilding Maslow’s pyramid on an evolutionary foundation. Psychology Today: Health, Help, Happiness + Find a Therapist. Retrieved July 16, 2010, from http://www.psychologytoday.com/blog/sex-murder-and-the-meaning-life/201005/rebuilding-maslow-s-pyramid-evolutionary-foundation
10.^ Kenrick, D.T., Griskevicius, V., Neuberg, S.L., & Schaller, M. (2010). Renovating the pyramid of needs: Contemporary extensions built upon ancient foundations. Perspectives on Psychological Science, 5. Retrieved July 16, 2010, from http://www.csom.umn.edu/assets/144040.pdf
11.^ Li, J., Lam, K., Fu, P. (2000). Family-oriented collectivism and its effect on firm performance: A comparison between overseas Chinese and foreign firms in China. International Journal of Organizational Analysis, 8(4), 364-379.
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่นA Theory of Human Motivation, original 1943 article by Maslow.
Maslow's Hierarchy of Needs, Teacher's Toolbox. A video overview of Maslow's work by Geoff Petty.
A Theory of Human Motivation: Annotated.
Theory and biography including detailed description and examples of self-actualizers.
Maslow's Hierarchy of Needs, Valdosta.
Abraham Maslow by C George Boheree
บทความนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล
..................................................
จาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B9%8C