1.1 ทักษะการคิดที่ใช้ในการสื่อสาร เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ หรือพฤติกรรมที่เข้าใจตรงกัน เพื่อรับรู้ ตีความ แล้วจดจำและเมื่อต้องการที่จะระลึก เรียบเรียง และถ่ายทอดความคิดของตนให้แก่ผู้อื่น สมองจะแปลความคิดให้อยู่ในรูปของภาษาทั้งที่เป็นข้อความ คำพูด ทักษะการสื่อความหมายที่สำคัญ ประกอบด้วย ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่านและทักษะการเขียน
1.1.1 ทักษะการฟัง เป็นการรับรู้ความหมายจากเสียงที่ได้ยิน ตีความ และจับความสิ่งที่รับรู้นั้นเข้าใจและจดจำไว้ เพื่อติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน ความเพลิดเพลิน เพื่อเรียนรู้ ได้คติชีวิต และความจรรโลงใจ ผู้สอนควรกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจเรื่องต้องการให้เรียนรู้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทำความเข้าในเรื่องที่รับฟัง ตั้งคำถาม ตอบคำถาม ผ่านกิจกรรมเดี่ยว คู่ และกลุ่ม หรือให้นักเรียนจับประเด็นที่สำคัญ คำสำคัญ หรือเหตุการณ์สำคัญฟังแล้วตอบคำถามให้ได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร แยะแยะข้อความใดเป็นข้อเท็จจริงและความคิดเห็น และอาจให้นักเรียนพิจารณาจุดมุ่งหมาย เหตุผลและความเป็นไปได้ของผู้พูดการฟังที่ดีต้องใช้สมาธิ ฟังด้วยใจที่ไม่มีอคติ
1.1.2 ทักษะการพูด เป็นการใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง รวมทั้งกิริยาอาการถ่ายทอดความรู้ ความคิดและความรู้สึกของผู้พูดให้ผู้ฟังได้รับรู้และเกิดการตอบสนอง บรรยาย รายงาน แนะนำ แสดงความคิดเห็น จูงใจ ทำให้ผู้ฟังเข้าใจเนื้อหาที่พูดได้ง่าย ชัดเจน และรวดเร็ว สามารถแสดงพฤติกรรมตอบสนองได้ตรงตามจุดมุ่งหมายเหมาะสมกับผู้ฟังและสถานการณ์
1.1.3 ทักษะการอ่าน เป็นการรับรู้ข้อความในการเขียนของตนเองหรือของผู้อื่น รวมถึงการรับรู้ความหมายจากเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อทบทวน จดจำ เข้าใจ หาข้อมูล สะท้อนความคิด ตัวอย่างกิจกรรมการพัฒนาการอ่าน เช่น การจับใจความสำคัญ สรุปสาระสำคัญ แยกแยะความรู้ ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ตีความ แปลความ วิเคราะห์ วิจารณ์ ประเมินค่าเรื่องที่อ่านอย่างมีเหตุผล
1.1.2 ทักษะการพูด เป็นการใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง รวมทั้งกิริยาอาการถ่ายทอดความรู้ ความคิดและความรู้สึกของผู้พูดให้ผู้ฟังได้รับรู้และเกิดการตอบสนอง บรรยาย รายงาน แนะนำ แสดงความคิดเห็น จูงใจ ทำให้ผู้ฟังเข้าใจเนื้อหาที่พูดได้ง่าย ชัดเจน และรวดเร็ว สามารถแสดงพฤติกรรมตอบสนองได้ตรงตามจุดมุ่งหมายเหมาะสมกับผู้ฟังและสถานการณ์
1.1.3 ทักษะการอ่าน เป็นการรับรู้ข้อความในการเขียนของตนเองหรือของผู้อื่น รวมถึงการรับรู้ความหมายจากเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อทบทวน จดจำ เข้าใจ หาข้อมูล สะท้อนความคิด ตัวอย่างกิจกรรมการพัฒนาการอ่าน เช่น การจับใจความสำคัญ สรุปสาระสำคัญ แยกแยะความรู้ ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ตีความ แปลความ วิเคราะห์ วิจารณ์ ประเมินค่าเรื่องที่อ่านอย่างมีเหตุผล
กระบวนการอ่าน มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นแรก การอ่านออก อ่านได้ หรืออ่านออกเสียงได้ถูกต้อง ขั้นที่สอง การอ่านแล้วเข้าใจ ความหมายของคำ วลี ประโยค สรุปความได้ ขั้นที่สามการอ่านแล้วรู้จักใช้ความคิด วิเคราะห์ วิจารณ์และออกความเห็นในทางที่ขัดแย้งหรือเห็นด้วยกับผู้เขียนอย่างมีเหตุผล และขั้นสุดท้าย การอ่านเพื่อนำไปใช้ ประยุกต์ใช้ในเชิงสร้างสรรค์
การฝึกทักษะการอ่าน ครูควรจะตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านว่ามีเนื้อหาอะไรบ้าง? หัวข้อแต่ละบทนั้นหมายความว่าอะไร? คำถามที่ตั้งไว้ก็จะเป็น ใคร(Who) ทำอะไร(What) ที่ไหน(Where) เมื่อไร(When) และอย่างไร(How)
นักเรียนบางคนอ่านแล้วจับใจความไม่ได้เลย จะทำอย่างไร? ครูควรสร้างรูปแบบการอ่านให้นักเรียน 2-3 ครั้ง ก่อน เช่น การอ่านบทความเรื่องสารในชีวิตประจำวัน จากนั้นครูให้นักเรียนใช้เทคนิคการทำสัญลักษณ์ลงในบทความด้วยการวงกลมตัวอย่างสารที่พบในชีวิตประจำวัน ขีดเส้นใต้ข้อความที่แสดงถึงคุณสมบัติของสารแต่ละชนิด(หรือใช้ปากกาที่มีสีแตกต่างกัน) จากนั้นบันทึกลงในตารางแยกประเภทและชนิดของสาร หรือนำมาเขียนลงบนผังความคิด จะช่วยให้นักเรียนจำได้และอ่านได้เข้าใจดียิ่งขึ้น
เทคนิคฝึกให้ผู้เรียนรักการอ่าน
1. อ่านหนังสือให้นักเรียนฟังบ่อยๆ โดยเฉพาะการอ่านนิทาน ครูสามารถเสริมจินตนาการด้วยท่าทาง น้ำเสียง ซึ่งทำให้เรื่องราวมีความน่าสนใจและสนุกยิ่งขึ้น ก็จะยิ่งทำให้การอ่านเข้าไปอยู่ในใจของผู้เรียนได้
2. ให้โอกาสในการเลือกอ่านในสิ่งที่ชอบหรือสนใจสิ่งใดหรือเรื่องใดเป็นพิเศษ แล้วเชื่อมโยงเข้ากับการอ่าน
3. สอดแทรกการอ่านเข้ากับกิจวัตรประจำวัน เช่น การชี้ชวนให้นักเรียนอ่านป้ายฉลากบนบรรจุภัณฑ์ ป้ายโฆษณา แล้วมาเล่าให้เพื่อนฟังหน้าชั้นเรียน
4. จัดมุมประสบการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีบริเวณศึกษาเรียนรู้นอกเวลาจากหนังสือหรือสื่อที่ครูจัดเตรียมไว้ให้
5. ครูเป็นต้นแบบของนักอ่านที่ดี อ่านเป็นประจำและอ่าน
6. อ่านผ่านการเล่นเกม อาจะเป็นการใบ้คำ หาคำจากภาพ หรือจับคู่คำกับภาพที่เห็นก็ได้ โดยเป็นคำง่ายๆ ที่ใช้บ่อยๆ ในชีวิตประจำวัน
1.1.4 ทักษะการเขียน เป็นการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึก และความต้องการออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ เพื่อบรรยาย อธิบาย แสดงความคิดเห็น ความรู้สึก รายงาน
กระบวนการคิดกับกระบวนการเขียนนั้นมีความสัมพันธ์กัน เนื่องจากการเขียนงานทุกประเภทต้องใช้ความคิด ต้องสร้างสรรค์ วิเคราะห์ กลั่นกรอง เรียบเรียงให้ดีเสียก่อน แล้วจึงลงมือเขียน การเขียนที่ดีนั้นต้องคิดให้ตรงจุด จำกัดขอบเขตของเนื้อหาให้ชัดเจน คิดให้เป็นระเบียบทั้งลำดับของเรื่องราว สถานที่และลำดับเหตุผลไม่วกไปวนมา และควรคิดให้กระชับและชัดเจน
การจัดการเรียนให้ประสบความสำเร็จนั้น ครูควรจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ฝึดทักษะทุกด้านทั้งฟัง พูด อ่านและเขียนไปพร้อมกัน และใส่ท่าทางประกอบจะยิ่งช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และจดจำได้ดี ต่อไปนี้เป็นวิดีโอสาธิตการสอนแบบใช้ประสาทสัมผัสหลายอย่างรวมกันของ แคท ไวท์ ครูฝึกจากศูนย์การศึกษา "พอซิทีฟลี แมค" ซึ่งมีแนวความคิดว่า สมองสามารถจัดเรียงข้อมูลได้ดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการใช้ประสาทสัมผัสหลาย ๆ อย่างร่วมกัน
การจัดการเรียนให้ประสบความสำเร็จนั้น ครูควรจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ฝึดทักษะทุกด้านทั้งฟัง พูด อ่านและเขียนไปพร้อมกัน และใส่ท่าทางประกอบจะยิ่งช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และจดจำได้ดี ต่อไปนี้เป็นวิดีโอสาธิตการสอนแบบใช้ประสาทสัมผัสหลายอย่างรวมกันของ แคท ไวท์ ครูฝึกจากศูนย์การศึกษา "พอซิทีฟลี แมค" ซึ่งมีแนวความคิดว่า สมองสามารถจัดเรียงข้อมูลได้ดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการใช้ประสาทสัมผัสหลาย ๆ อย่างร่วมกัน
1.2 ทักษะการคิดที่เป็นแกน
หมายถึง ทักษะการคิดที่จำเป็นต้องใช้อยู่เสมอในการดำรงชีวิตประจำวันและเป็นพื้นฐานของการคิดขั้นสูงที่มีความสลับซับซ้อน ซึ่งคนเราจำเป็นต้องใช้ในการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการต่าง ๆ ตลอดจนใช้ในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ ได้แก่
1.2.1 การสังเกต เป็นการรับรู้และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เพื่อให้ได้รายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ไม่มีการใช้ประสบการณ์และความคิดเห็นของผู้สังเกตในการเสนอข้อมูล ข้อมูลจากการสังเกตมีทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
- ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลที่ได้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือตา หู จมูก ลิ้น ในการสังเกตวัตถุนั้น ๆ เช่น ไข่ไก่มีลักษณะทรงรี ฐานกว้าง ผิวหยาบ
- ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตโดยอ้างอิงหน่วยการวัด เช่น สมุดเล่นนี้มีความกว้าง 26.5 ตารางเซนติเมตร เหรียญ 10 บาท มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 26 มิลลิเมตร - ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง เป็นข้อมูลที่ได้จากผลการเปลี่ยนแปลงของวัตถุเมื่อกระทำด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การให้ความร้อน การบีบ การนำไปแช่น้ำ เป็นต้น เช่น เมื่อนำดินน้ำมันไปให้ความร้อน ดินน้ำมันจะละลาย
- ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตโดยอ้างอิงหน่วยการวัด เช่น สมุดเล่นนี้มีความกว้าง 26.5 ตารางเซนติเมตร เหรียญ 10 บาท มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 26 มิลลิเมตร - ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง เป็นข้อมูลที่ได้จากผลการเปลี่ยนแปลงของวัตถุเมื่อกระทำด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การให้ความร้อน การบีบ การนำไปแช่น้ำ เป็นต้น เช่น เมื่อนำดินน้ำมันไปให้ความร้อน ดินน้ำมันจะละลาย
1.2.2 การสำรวจ เป็นการพิจารณาตรวจสอบสิ่งที่สังเกตอย่างมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง และความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งนั้น โดยครูหรือนักเรียนกำหนดสิ่งหรือเรื่องที่จะสำรวจ แสวงหาวิธีการในการรวบรวมข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงและความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งนั้นซึ่งหากเป็นนักเรียนในระดับประถมปลายอาจเริ่มให้นักเรียนออกแบบวิธีการหรือกระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยมีมีครูคอยให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ จากนั้นรวบรวมข้อเท็จจริงและความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่สำรวจ นำเสนอข้อเท็จจริงและความคิดเห็นที่ได้จากการสำรวจในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ทำโปสเตอร์ แผ่นพับ การทำโครงงาน เป็นต้น
1.2.3 การสำรวจค้นหา เป็นการค้นหาสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ยังไม่รู้หรือรู้น้อยมากอย่างมีจุดหมายด้วยวิธีการต่างๆเพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด ขั้นตอนการฝึกทักษะการสำรวจค้นหา จะเหมือนกับการสำรวจต่างกันเพียงเล็กน้อย คือ การสำรวจค้นหาเป็นการสำรวจเพื่อหาคำตอบสำหรับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งบางครั้งการสำรวจจำเป็นต้องใช้ทักษะการสังเกตร่วมด้วย ครูควรเรียงลำดับการคิดจากระดับการคิดง่ายๆไปสู่การคิดที่ซับซ้อนขึ้น
1.2.4 การตั้งคำถาม เป็นการพูดหรือการเขียนสิ่งที่สงสัย หรือสิ่งที่ต้องการรู้ นักเรียนสามารถตั้งคำถามได้ ครูต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนผลัดกันถามและ ผลัดกันตอบ คำถามนั้นอาจมาสิ่งที่นักเรียนสงสัยใคร่รู้ จึงเป็นบทบาทหน้าที่ของครูในการกระตุ้น เร้าความสนใจของผู้เรียนด้วยกิจกรรมแปลกใหม่ ท้าทายความสามารถ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระดับความรู้ วัย และเนื้อหาในบทเรียน ในช่วงแรกครูควรถามนำนักเรียนก่อนโดยการเปิดประเด็นเกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนเคยมีประสบการณ์ หรือเป็นสิ่งที่สังคมกำลังให้ความสนใจ ทุกครั้งที่นักเรียนตั้งคำถามถามครู ครูควรใช้ประโยคเริ่มการสนทนาว่า "นั่นเป็นคำถามที่ดี" จะช่วยกระตุ้นให้นักเรียนคนอื่นๆ ในชั้นเรียนอยากตั้งคำถามถามครูบ้าง และครูหลายท่านอาจเคยประสบปัญหาที่ว่า "นักเรียนไม่ตอบคำถาม" นั่นมาจากหลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งมาจากการถามคำถามของครูไม่ชัดเจน กว้างเกินไป นักเรียนกลัวตอบผิด ครูต้องเปลี่ยนกลยุทธ์ในการตั้งคำถาม เช่น การปรับคำถามให้ง่ายขึ้น แคบลง ยกตัวอย่างเพิ่มเติม และปรับกิจกรรมให้ท้าทาย น่าสนุก เช่น การแข่งกันตอบคำถาม
1.2.5 การระบุ เป็นการบ่งชี้สิ่งต่างๆหรือบอกส่วนต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบหรือลักษณะของสิ่งที่ศึกษา เริ่มจากการให้นักเรียนสังเกตสิ่งที่ศึกษา บอกข้อมูล สิ่งที่สังเกตให้ได้มากที่สุดและเชื่อมโยงสิ่งที่สังเกตกับประสบการณ์เดิม
1.2.6 การรวบรวมข้อมูล เป็นการใช้วิธีการต่างๆเก็บข้อมูลที่ต้องการรู้ ข้อมูลที่ได้ควรมีความถูกต้อง เชื่อถือได้และตรงประเด็น โดยการกำหนดจุดประสงค์ของการเก็บข้อมูลว่าจะต้องการข้อมูลอะไร และเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในเรื่องใด จากนั้นจึงออกแบบวิธีการในการเก็บข้อมูลที่เหมาะสมโดยการกำหนดข้อมูล แหล่งข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง ระยะเวลา และเลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสม แล้วนำเสนอข้อมูลที่รวบรวมได้
1.2.7 การเปรียบเทียบ เป็นการจำแนกระบุสิ่งของหรือเหตุการณ์ต่างๆ ในสิ่งที่เหมือนกันและสิ่งที่ต่างกัน ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดสิ่งของอย่างน้อย 2 สิ่ง สังเกตลักษณะสิ่งของทั้งสองสิ่งแล้วเขียนออกมาให้ได้มากที่สุด จับคู่ลักษณะที่เหมือนกันหรือตรงข้ามกัน
1.2.8 การคัดแยก เป็นการแยกสิ่งที่มีลักษณะต่างกันตั้งแต่ 1 อย่างขึ้นไปออกจากกัน เริ่มจากการสังเกตสิ่งที่ต้องการแยก บอกลักษณะที่สังเกตได้ปรียบเทียบความแตกต่าง คัดแยกออกจากกัน และอธิบายความแตกต่างของสิ่งที่แยกออกจากกัน
1.2.9 การจัดกลุ่ม เป็นการนำสิ่งต่างๆที่มีสมบัติเหมือนกันตามเกณฑ์มาจัดเป็นกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มมีเกณฑ์ต่างกัน ให้นักเรียนสังเกตความเหมือน ความต่าง และภาพรวมของสิ่งต่างๆ ที่จะจัดกลุ่ม จากนั้นกำหนดเกณฑ์ของสิ่งที่จะมารวมกลุ่มเดียวกัน ซึ่งแต่ละกลุ่มมีเกณฑ์ต่างกันไป ทำการจำแนกหรือแยกสิ่งต่างๆ เข้ากลุ่มตามเกณฑ์ที่กำหนด อธิบายผลการจัดกลุ่มพร้อมทั้งเกณฑ์ที่ใช้
1.2.10 การจำแนกประเภท เป็นการนำสิ่งต่างๆ มาแยกเป็นกลุ่มตามเกณฑ์ที่ได้รับการยอมรับทางวิชาการหรือยอมรับโดยทั่วไป โดยการสังเกตสิ่งที่สนใจจะจำแนกประเภท สังเกตภาพรวม สังเกตสิ่งที่เหมือนกัน สิ่งที่ต่างกัน กำหนดเกณฑ์ที่ได้รับการยอมรับทางวิชาการหรือยอมรับโดยทั่วไปในการแยกสิ่งต่างๆ ออกจากกัน แยกสิ่งต่างๆ ออกจากกันตามเกณฑ์ จัดกลุ่มสิ่งที่มีลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกัน อธิบายผลการจำแนกประเภทอย่างมีหลักเกณฑ์
1.2.11 การเรียงลำดับ เป็นการนำสิ่งต่างๆ มาจัดเรียงไปในทิศทางเดียวกัน โดยใช้เกณฑ์การจัดเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่ง จากปริมาณมากไปยังปริมาณน้อย หรือจากปริมาณน้อยไปยังปริมาณมาก
1.2.12 การแปลความ เป็นการเรียบเรียงและถ่ายทอดข้อมูลในรูปแบบ/วิธีการใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิมแต่ยังคงสาระเดิม เริ่มต้นให้นักเรียนทำความเข้าใจในสาระและความหมายของ สิ่งที่จะแปลความ จากนั้นให้นักเรียนนำเสนอสาระและความหมายนั้น ในรูปแบบ/วิธีการใหม่แต่ยังให้คงสาระและความหมายเดิม เรียบเรียงและถ่ายทอดสาระและความหมายนั้นตามกลวิธีที่กำหนด
1.2.12 การแปลความ เป็นการเรียบเรียงและถ่ายทอดข้อมูลในรูปแบบ/วิธีการใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิมแต่ยังคงสาระเดิม เริ่มต้นให้นักเรียนทำความเข้าใจในสาระและความหมายของ สิ่งที่จะแปลความ จากนั้นให้นักเรียนนำเสนอสาระและความหมายนั้น ในรูปแบบ/วิธีการใหม่แต่ยังให้คงสาระและความหมายเดิม เรียบเรียงและถ่ายทอดสาระและความหมายนั้นตามกลวิธีที่กำหนด
1.2.13 การตีความ เป็นการบอกความหมายหรือความสัมพันธ์ของข้อมูลหรือสาระที่แฝงอยู่ไม่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน โดยการเชื่อมโยงกับบริบทความรู้/ประสบการณ์เดิมหรือข้อมูลอื่นๆ ศึกษาข้อมูล/ข้อความ/เรื่องที่ต้องการ ตีความให้เข้าใจ หาความหมายของข้อความที่ไม่ได้บอกไว้ โดยเชื่อมโยงข้อมูล/ ข้อความที่มีกับข้อมูลอื่นๆ ทั้งที่มีอยู่และที่เป็นความรู้หรือประสบการณ์เดิมและเชื่อมโยงข้อมูลอย่างมีเหตุผล ระบุความหมายที่แฝงอยู่โดยอธิบายเหตุผลประกอบ
1.2.14 การเชื่อมโยง เป็นการบอกความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลอย่างมีความหมาย โดยพิจารณาข้อมูลต่างๆ เลือกข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกันมาสัมพันธ์กันให้มีความหมาย โดยอาศัยความรู้ประสบการณ์เดิมและแสวงหาความรู้และข้อมูลใหม่ อธิบายความสัมพันธ์และความหมายของข้อมูลที่นำมาเชื่อมโยงกัน
1.2.15 การสรุปย่อ เป็นการจับเฉพาะใจความสำคัญของเรื่องที่ต้องการสรุปและนำมาเรียบเรียงให้กระชับ เริ่มจากศึกษาเรื่องที่ต้องการสรุปย่อให้เข้าใจ จับใจความสำคัญของเรื่อง โดยจับจุดมุ่งหมายของเรื่อง ลำดับเหตุการณ์ ระบุเหตุการณ์หรือความหมายของเรื่องที่จำเป็นต่อการเข้าใจเรื่องให้ครบถ้วน ตัดรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ที่ไม่จำเป็นต่อการเข้าใจเหตุการณ์หรือความหมายสำคัญของเรื่องออกไป นำเหตุการณ์หรือความหมายของเรื่องที่สำคัญจำเป็นขาดไม่ได้ต่อการเข้าใจเรื่องมาเรียบเรียงให้กระชับ
1.2.16 การสรุปอ้างอิง เป็นการนำความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาใช้ในการสรุปลงความเห็นเกี่ยวกับข้อมูลสังเกตสิ่งต่างๆ / ปรากฏการณ์ต่างๆ อธิบาย / สรุปสิ่งที่สังเกตตามข้อมูลเชิงประจักษ์ ขยายข้อมูลจากสิ่งที่สังเกตได้ออกไปโดยการอ้างอิงจากความรู้หรือประสบการณ์เดิม สรุปความคิดเห็นจากการอ้างอิง
1.2.17 การให้เหตุผล เป็นการอธิบายเหตุการณ์หรือการกระทำต่างๆโดยเชื่อมโยงให้เห็นถึงสาเหตุและผลที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์หรือการกระทำนั้นๆ จากการรับรู้และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือ การกระทำต่างๆ ที่ต้องการอธิบายให้เหตุผล ค้นหาสาเหตุของเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นโดยอาศัยหลักตรรกะ/การยอมรับของสังคม / ข้อมูลหลักฐานสนับสนุน / การทดสอบตรวจสอบ/เหตุผลเชิงประจักษ์ อธิบายให้เห็นความสอดคล้องของเหตุและผลในเหตุการณ์หรือการกระทำนั้นๆ
1.2.18 การนำความรู้ไปใช้ เป็นการนำความรู้ที่เกิดจากความเข้าใจไปใช้ เพื่อให้เกิดความชำนาญโดยการทบทวนความรู้ที่มี มองเห็นความเหมือนกันของสถานการณ์ใหม่กับสถานการณ์เดิมที่เคยเรียนรู้มา นำความรู้ที่มีไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ที่ใกล้เคียงกับที่ได้เคยเรียนรู้แล้ว