วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ทักษะการคิด (Thinking skill)


                                                                                

                                                                                                                                                           

 



ทักษะการคิด

             
         สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีนโยบายเพื่อผลักดันให้การจัดการเรียนการสอนของครูที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนได้คิดให้มากกว่าการเป็นเพียงผู้รับฟังข้อมูลจากครู หรือส่งเสริมสนับสนุนให้ครูเพิ่มสัดส่วนของการสอน เพื่อให้ผู้เรียนใช้ความรู้และสร้างความรู้ให้มากขึ้นกว่าการสอนที่ผู้เรียนเป็นเพียงผู้รับความรู้ 
                

       หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการเรียนต่อ และประกอบอาชีพสุจริต จึงได้กำหนดสมรรถนะสำคัญของ ผู้เรียน ไว้ 5 ประการ ประกอบด้วย
                              1.  ความสามารถในการสื่อสาร
                              2.  ความสามารถในการคิด
                              3.  ความสามารถในการแก้ปัญหา
                              4.  ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
                              5.  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 

      สมรรถนะเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นสิ่งจำเป็นที่นักเรียนจำเป็นต้องมี เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐาน ที่หลักสูตรกำหนด ความสามารถในการคิดเป็นสมรรถนะที่มีความสำคัญเนื่องด้วยสมรรถนะอื่นต้องอาศัยการคิดเป็นพื้นฐานในการสร้างสมรรถนะอื่นๆ ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างเป็นระบบ การคิดอย่างสร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
      หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ได้มุ่งเน้นความสำคัญในทั้งความรู้ความสามารถ ทักษะกระบวนการ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญและเน้นการจัดการเรียนรู้สภาพจริง โดยสอดแทรกการฝึกทักษะการคิดลงในกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ ดังนี้

       ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 
        มุ่งเน้น...การเรียนรู้ตามสภาพจริง ปฏิบัติจริง พัฒนาทักษะขั้นพื้นฐานในการสื่อสาร การคิดคำนวณ   การคิดวิเคราะห์ 
       ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
       มุ่งเน้น...การทำงานเป็นกลุ่ม การบูรณาการ การทำโครงงาน ให้ผู้เรียนพัฒนาการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง การสร้างสรรค์ผลงาน
       ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 
        มุ่งเน้น...การจัดการเรียนแบบโครงงานมากขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถในการพัฒนาตนเองเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่อาชีพและการศึกษาต่อในอนาคต





        การคิด เป็นตัวกำหนดพฤติกรรม เพราะสิ่งที่นักเรียนแสดงอออกมาล้วนแต่เป็นสิ่งที่นักเรียนคิดและสร้างแบบแผนของพฤติกรรมของตนเองออกมาให้เห็น   นักเรียนบางคนแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เพราะคิดว่าการแสดงพฤติกรรมเช่นนั้นจะสามารถเอาชนะครูหรือเพื่อนได้  หากครูต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้เรียนควรเปลี่ยนที่ความคิดของผู้เรียน   ซึ่งเนื้อหาต่อไปนี้จะทำให้ครูเข้าใจระบบของความคิดและแนวทางการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนในด้านการคิดได้ดียิ่งขึ้น

         ทิศนา แขมมณี กล่าวถึง มิติของความคิดไว้ 6 ด้าน ดังนี้
                              1.  มิติด้านข้อมูลที่ใช้ในการคิด ข้อมูลที่ใช้ในการคิด เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อมและข้อมูลวิชาการ ซึ่งในการคิดควรใช้ข้อมูลประกอบการคิดในหลาย ๆ ด้าน ประกอบการวิเคราะห์อย่างรอบด้าน เพื่อการคิดตัดสินใจ
                              2.  มิติด้านคุณสมบัติที่เอื้ออำนวยต่อการคิด การเป็นนักคิดต้องมีองค์ประกอบที่ส่งเสริม สนับสนุน ทำให้การคิดมีพลังมากขึ้น เช่น การเป็นนักฟังที่ดี ช่างสงสัย รอบคอบ กระตือรือร้น กล้าเสี่ยง มีความอดทน มีเหตุผล
                              3.  มิติด้านทักษะการคิด เป็นสิ่งที่ครูต้องพัฒนาผู้เรียนบนความแตกต่างของผู้เรียน จากทักษะการคิดขั้นพื้นฐานผสมผสานจนเกิดทักษะการคิด ขั้นสูง
                              4.  มิติด้านลักษณะการคิด เป็นเป้าหมายของการว่าต้องการคิดแบบใด คิดกว้าง คิดไกล คิดอย่างมีเหตุผล
                              5.  มิติด้านกระบวนการคิด เป็นการคิดที่ต้องดำเนินการไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน เช่น กระบวนการคิดแก้ปัญหาที่เริ่มจาก
                              6.  มิติด้านการควบคุมและประเมินการคิดของตนเอง เป็นการรู้เท่าทันความคิดของตนเอง และสามารถควบคุมความคิดของตนเอง และสามารถนำผลของการคิดของตนเองไปประเมินความสามารถในการคิด พัฒนาตนเองได้

          การคิดเป็นกระบวนการที่มีลำดับขั้นตอน มีความซับซ้อนและมีความจำเป็น นักเรียนควรได้รับการฝึกฝนจนเกิดเป็นทักษะและเป็นนักคิดที่ดี อยากที่จะเรียนรู้และปรับปรุงทักษะกระบวนการคิดของตนเองอย่างสม่ำเสมอ





ทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน



                              สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาได้กล่าวถึง กรอบทักษะการคิด โดยแบ่งเป็นทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน และทักษะการคิดขั้นสูง ดังนี้


                          1.  ทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย

                                 1.1  ทักษะการคิดที่ใช้ในการสื่อสาร มี 4 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่าน ทักษะการเขียน 
                                 1.2  ทักษะการคิดที่เป็นแกน มี 18 ทักษะ ได้แก่ 
                                            1.ทักษะการสังเกต 
                                            2.ทักษะการสำรวจ 
                                            3.ทักษะการสำรวจค้นหา 
                                            4.ทักษะการตั้งคำถาม 
                                            5.ทักษะการระบุ 
                                            6.ทักษะการคัดแยก 
                                            7.ทักษะการรวบรวมข้อมูล 
                                            8.ทักษะการเปรียบเทียบ 
                                            9.ทักษะการจัดกลุ่ม 
                                          10.ทักษะการจำแนกประเภท 
                                          11.ทักษะการเรียงลำดับ 
                                          12.ทักษะการแปลความ 
                                          13.ทักษะการเชื่อมโยง
                                          14.ทักษะการนำความรู้ไปใช้ 
                                          15.ทักษะการตีความ 
                                          16.ทักษะการสรุปย่อ 
                                          17.ทักษะการสรุปอ้างอิง 
                                          18.ทักษะการให้เหตุผล   


                                                      
                         2.  ทักษะการคิดขั้นสูง ประกอบด้วย


                                  2.1  ทักษะการคิดซับซ้อน มี 18 ทักษะ ได้แก่
                                                1.ทักษะการให้ความกระจ่าง 

                                                2.ทักษะการสรุปลงความเห็น 
                                                3.ทักษะการให้คำจำกัดความ 
                                                4.ทักษะการจัดระเบียบ 
                                                5.ทักษะการวิเคราะห์ 
                                                6.ทักษะการสังเคราะห์ 
                                                7.ทักษะการประยุกต์ใช้ความรู้ 
                                                8.ทักษะการสร้างความรู้ 
                                                9.ทักษะการจัดโครงสร้าง 
                                                10.ทักษะการปรับโครงสร้าง 
                                                11.ทักษะการหาแบบแผน 
                                                12.ทักษะการพยากรณ์ 
                                                13.ทักษะการหาความเชื่อพื้นฐาน 
                                                14.ทักษะการตั้งสมมติฐาน 
                                                15.ทักษะการพิสูจน์ความจริง 
                                                16.ทักษะการทดสอบสมมติฐาน 
                                                17.ทักษะการตั้งเกณฑ์   
                                                18.ทักษะการประเมิน 

                                  2.2  ทักษะพัฒนาลักษณะการคิด มี 9 ทักษะ ได้แก่ 
                                               1.ทักษะการคิดคล่อง 
                                               2.ทักษะการคิดหลากหลาย 
                                               3.ทักษะการคิดละเอียด 
                                               4.ทักษะการคิดชัดเจน 
                                               5.ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล 
                                               6.ทักษะการคิดถูกทาง 
                                               7.ทักษะการคิดกว้าง 
                                               8.ทักษะการคิดไกล 
                                               9.ทักษะการคิดลึกซึ้ง 

                                  2.3  ทักษะกระบวนการคิด มี 5 ทักษะ ได้แก่ 

                                               1.ทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 
                                               2.ทักษะกระบวนการคิดตัดสินใจ 
                                               3.ทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา
                                               4.ทักษะกระบวนการวิจัย 
                                               5.ทักษะกระบวนการคิดสร้างสรรค์    
              





  ขอบคุณข้อมูลจาก 
https://sites.google.com/site/thinkcon3unit1/title1/hnwy-1-reuxng-thi-3-1