วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐


ตัวอย่างหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐

หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ที่จัดทำโดย โรงเรียนวัดวชิราลงกรณวราราม มาให้ทุกท่านได้ดาวน์โหลดและนำไปปรับใช้กัน ต้องขอขอบพระคุณโรงเรียนวัดวชิราลงกรณวราราม เป็นอย่างสูงที่เอื้อเฟื้อเอกสารฉบับนี้ โดยขออนุญาตนำเนื้อหาบางส่วนมานำเสนอดังนี้
ความนำ
สภาพการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม
และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
รวมทั้งกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี(พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่
๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔) แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑) แผนยุทธศาสตร์ชาติด้านเด็กปฐมวัย
(พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔)นำไปสู่การกำหนดทักษะสำคัญสำหรับเด็กในศตวรรษที่ ๒๑
ที่มีความสำคัญในการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีความสอดคล้องและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทุ
กด้าน
กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายให้มีการพัฒนาการศึกษาปฐมวัยอย่างจริงจังและต่อเนื่องโดยได้แต่งตั้งคณะทำงานพิ
จารณาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ เป็นหลักสูตรสถานศึกษา สถาบันพัฒนาเด็กปฐมวัย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นำไมใช้เป็นกรอบและทิศทางในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานตามจุดหมา
ยหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐
ที่กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา
ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติในอนาคต

ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย
การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง ๖ ปี บริบูรณ์ อย่างเป็นองค์รวม
บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดู
และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละคน
ให้เต็มตามศักยภาพภายใต้บริบทสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก
ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคน
เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เกิดคุณค่าต่อตนเ
อง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ
วิสัยทัศน์
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมุ่งพัฒนาเด็กทุกคนให้ได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย
อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง
ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีความสุขและเหมาะสมตามวัย
มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นคนดี มีวินัย
และสำนึกความเป็นไทย โดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา พ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน
และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก
หลักการ
เด็กทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
ตลอดจนไดรับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเหมาะสม
ด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่ เด็กกับผู้สอน
เด็กกับผู้เลี้ยงดูหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการอบรมเลี้ยงดู การพัฒนา และให้การศึกษาแก่เด็กปฐมวัย
เพื่อให้เด็กมีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นของพัฒนาการทุกด้าน อย่างเป็นองค์รวม มีคุณภาพ
และเต็มตามศักยภาพโดยมีหลักการดังนี้
๑. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกคน
๒. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและวิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม
และวัฒนธรรมไทย
๓.ยึดพัฒนาการและการพัฒนาเด็กโดยองค์รวมผ่านการเล่นอย่างมีความหมายและมีกิจกรรมที่หลา
กหลาย ได้ลงมือกระทำในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เหมาะสมกับวัย
และมีการพักผ่อนที่เพียงพอ
๔. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กมีทักษะชีวิต
และสามารถปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นคนดี มีวินัย และมีความสุข
๕. สร้างความรู้
ความเข้าใจและประสานความร่วมมือในการพัฒนาเด็กระหว่างสถานศึกษากับพ่อแม่ ครอบครัว
ชุมชน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
แนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัย
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช๒๕๖๐
พัฒนาขึ้นบนแนวคิดหลักสำคัญเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย
โดยถือว่าการเล่นของเด็กเป็นหัวใจสำคัญของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ภายใต้การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานของสมอง
ผ่านสื่อที่ต้องเอื้อให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่นประสาทสัมผัสทั้งห้า
โดยครูจำเป็นต้องเข้าใจและยอมรับว่าสังคมและวัฒนธรรมที่แวดล้อมตัวเด็กมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้แล
ะการพัฒนาศักยภาพและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ทั้งนี้
หลักสูตรฉบับนี้มีแนวคิดในการจัดการศึกษาปฐมวัย ดังนี้
๑. แนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก
พัฒนาการของมนุษย์เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในตัวมนุษย์เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิไปจ
นตลอดชีวิต พัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะมีลำดับขั้นตอนลักษณะเดียวกัน
แต่อัตราและระยะเวลาในการผ่านขั้นตอนต่างๆอาจแตกต่างกันได้ขั้นตอนแรกๆจะเป็นพื้นฐานสำหรับ
พัฒนาการขั้นต่อไป พัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา
แต่ละส่วนส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน
เมื่อด้านหนึ่งก้าวหน้าอีกด้านหนึ่งจะก้าวหน้าตามด้วยในทำนองเดียวกันถ้าด้านหนึ่งด้านใดผิดปกติจะ
ทำให้ด้านอื่นๆผิดปกติตามด้วย
แนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีพัฒนาการด้านร่างกายอธิบายว่าการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กมีลักษณ
ะต่อเนื่องเป็นลำดับชั้น เด็กจะพัฒนาถึงขั้นใดจะต้องเกิดวุฒิภาวะของความสามารถด้านนั้นก่อน
สำหรับทฤษฎีด้านอารมณ์ จิตใจ และสังคมอธิบายว่า
การอบรมเลี้ยงดูในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพของเด็ก เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่
ความรักและความอบอุ่นเป็นพื้นฐานของความเชื่อมั่นในตนเอง
เด็กที่ได้รับความรักและความอบอุ่นจะมีความไว้วางใจในผู้อื่น เห็นคุณค่าของตนเอง
จะมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตน ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี
ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของความเป็นประชาธิปไตยและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และทฤษฎีพัฒนาการด้
านสติปัญญาอธิบายว่า เด็กเกิดมาพร้อมวุฒิภาวะ ซึ่งจะพัฒนาขึ้นตามอายุ ประสบการณ์
รวมทั้งค่านิยมทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เด็กได้รับ
๒. แนวคิดเกี่ยวกับการเล่นของเด็ก
การเล่นเป็นหัวใจสำคัญของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
การเล่นอย่างมีจุดมุ่งหมายเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานที่ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวน
การเรียนรู้ของเด็ก ขณะที่เด็กเล่นจะเกิดการเรียนรู้ไปพร้อมๆกันด้วย
จากการเล่นเด็กจะมีโอกาสเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
ได้ใช้ประสาทสัมผัสและการรับรู้ผ่อนคลายอารมณ์ และแสดงออกของตนเอง
เรียนรู้ความรู้สึกของผู้อื่น เด็กจะรู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลิน ได้สังเกต มีโอกาสทำการทดลอง
คิดสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหาและค้นพบด้วยตนเอง การเล่นช่วยให้เด็กเรียนรู้สิ่งแวดล้อม
และช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา
ดังนั้นเด็กควรมีโอกาสเล่น ปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สิ่งแวดล้อมรอบตัว
และเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง
๓. แนวคิดเกี่ยวกับการทำงานของสมอง
สมองเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญที่สุดในร่างกายของคนเรา
เพราะการที่มนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้นั้นต้องอาศัยสมองและระบบประสาทเป็นพื้นฐานการรับ
รู้ รับความรู้สึกจากประสาทสัมผัสทั้งห้า การเชื่อมโยงต่อกันของเซลล์สมองส่วนมากเกิดขึ้นก่อนอายุ
๕ ปี และปฏิสัมพันธ์แรกเริ่มระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่
มีผลโดยตรงต่อการสร้างเซลล์สมองและจุดเชื่อมต่อ โดยในช่วง ๓ ปีแรกของชีวิต
สมองเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมาก มีการสร้างเซลล์สมองและจุดเชื่อมต่อขึ้นมามากมาย
มีการสร้างไขมันหรือมันสมองหุ้มล้อมรอบเส้นใยสมองด้วย พอเด็กอายุ ๓ ปี
สมองจะมีขนาดประมาณ ๘๐ % ของสมองผู้ใหญ่ มีเซลล์สมองนับหมื่นล้านเซลล์
เซลล์สมองและจุดเชื่อมต่อเหล่านี้ยิ่งได้รับการกระตุ้นมากเท่าใด
การเชื่อมต่อกันระหว่างเซลล์สมองยิ่งมีมากขึ้นและความสามารถทางการคิดยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น
ถ้าหากเด็กขาดการกระตุ้นหรือส่งเสริมจากสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
เซลล์สมองและจุดเชื่อมต่อที่สร้างขึ้นมาก็จะหายไป
เด็กที่ได้รับความเครียดอยู่ตลอดเวลาจะทำให้ขาดความสามารถที่จะเรียนรู้ อย่างไรก็ตาม
ส่วนต่างๆของสมองเจริญเติบโตและเริ่มมีความสามารถในการทำหน้าที่ในช่วงเวลาต่างกัน
จึงอธิบายได้ว่าการเรียนรู้ทักษะบางอย่างจะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเฉพาะในช่วงเวลาหนึ่งที่เรียกว่า”หน้าต่าง
ของโอกาสการเรียนรู้” ซึ่งเป็นช่วงที่พ่อแม่
ผู้เลี้ยงดูและครูสามารถช่วยให้เด็กเรียนรู้และพัฒนาสิ่งนั้นๆได้ดีที่สุด
เมื่อพ้นช่วงนี้ไปแล้วโอกาสนั้นจะฝึกยากหรือเด็กอาจทำไม่ได้เลย เช่น
การเชื่อมโยงวงจรประสาทของการมองเห็นและรับรู้ภาพจะต้องได้รับการกระตุ้นทำงานตั้งแต่ ๓ หรือ
๔ เดือนแรกของชีวิตจึงจะมีพัฒนาการตามปกติ ช่วงเวลาของการเรียนภาษาคือ อายุ ๓ – ๕
ปีแรกของชีวิต เด็กจะพูดได้ชัด คล่องและถูกต้อง
โดยการพัฒนาจากการพูดเป็นคำๆมาเป็นประโยคและเล่าเรื่องได้ เป็นต้น
๔. แนวคิดเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่วางไว้
ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมเข้าใจยากกลายเป็นรูปธรรมที่เด็กเข้าใจและเรียนรู้ได้ง่าย รวดเร็ว เพลิดเพลิน
เกิดการเรียนรู้และค้นพบด้วยตนเอง การใช้สื่อการเรียนรู้ต้องปลอดภัยต่อตัวเด็กและเหมาะสมกับวัย
วุฒิภาวะ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสนใจ และความต้องการของเด็กที่หลากหลาย
สื่อประกอบการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยควรมีสื่อทั้งที่เป็นประเภท ๒ มิติและ/หรือ ๓ มิติ
ที่เป็นสื่อของจริง สื่อธรรมชาติ สื่อที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก สื่อสะท้องวัฒนธรรม สื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น
สื่อเพื่อพัฒนาเด็กในด้านต่างๆให้ครบทุกด้าน ทั้งนี้
สื่อต้องเอื้อให้เด็กเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าโดยการจัดการใช้สื่อสำหรับเด็กปฐมวัยต้องเริ่มต้นจ
ากสื่อของจริง ของจำลอง ภาพถ่าย ภาพโครงร่างและสัญลักษณ์ตามลำดับ
๕. แนวคิดเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม
เด็กเมื่อเกิดมาจะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและวัฒนธรรม
ซึ่งไม่เพียงแต่จะได้รับอิทธิพลจากการปฏิบัติแบบดั้งเดิมตามประเพณี มรดก
และความรู้ของบรรพบุรุษ แต่ยังได้รับอิทธิพลจากประสบการณ์
ค่านิยมและความเชื่อของบุคคลในครอบครัว และชุมชนของแต่ละที่ด้วย
บริบทของสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่หรือแวดล้อมตัวเด็กทำให้เด็กแต่ละคนแตกต่างกันไป
ครูจำเป็นต้องเข้าใจและยอมรับว่าสังคมและวัฒนธรรมที่แวดล้อมตัวเด็ก มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้
การพัฒนาศักยภาพและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน
ครูควรต้องเรียนรู้บริบททางสังคมและวัฒนธรรมของเด็กที่ตนรับผิดชอบ
เพื่อช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนา
เกิดการเรียนรู้และอยู่ในกลุ่มคนที่มาจากพื้นฐานเหมือนหรือต่างจากตนได้อย่างราบรานมีความสุข
เป็นการเตรียมเด็กไปสู้สังคมในอนาคตกับการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
การทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความหลากหลายทางความคิด ความเชื่อและวัฒนธรรมเช่น
ความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเรื่องศาสนา ประเทศ
พม่า ลาว กัมพูชาก็จะคล้ายคลึงกับคนไทยในการทำบุญตักบาตร การสวดมนต์ไหว้พระ
การให้ความเคารพพระสงฆ์ การทำบุญเลี้ยงพระ การเวียนเทียนเนื่องในวันสำคัญทางศาสนา
ประเพณีเข้าพรรษา สำหรับประเทศมาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามจึงมีวัฒนธรรมแบบอิสลาม
ประเทศฟิลิปปินส์ได้รับอิทธิพลจากคริสต์ศาสนา ประเทศสิงคโปร์และเวียดนามนับถือหลายศาสนา
โดยนับถือลัทธิธรรมเนียมแบบจีนเป็นหลัก เป็นต้น
***********************************

ดาวน์โหลดไฟล์ตัวอย่างหลักสูตรสถานศึกษาที่นี่ดาวน์โหลดไฟล์หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ที่นี่ http://www.escd.or.th/data/2017/kin_curriculum2560.pdf