ที่มาของแนวคิด Teach Less, Learn More
แนวคิด Teach Less, Learn More (TLLM)เป็นแนวคิดการจัดการศึกษาของประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์
ภายใต้วิสัยทัศน์ในการพัฒนาระบบการศึกษาที่กล่าวว่า Thinking Schools,
Learning Nation(TSLN) ซึ่งต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการศึกษาเพื่อการ จัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ซึ่งThinking Schools เป็นวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้โรงเรียนทุกโรงเรียนจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นนักคิด
ส่วน Learning Nation เป็นวิสัยทัศน์ของการเรียนรู้ที่ต้องการให้ผู้เรียนมีความรู้ที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับนวัตกรรมและความสามารถในกาiสร้างสรรค์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
นอกจากนี้แนวคิด Teach Less,Learn More
(TLLM) ยังมุ่งเน้นประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนที่ดีขึ้นและเป็นการเตรียมความพร้อมในการใช้ชีวิตของผู้เรียน
ซึ่งต้องการเปลี่ยนจากการจัดการศึกษาในเชิงปริมาณไปสู่การจัดการศึกษาในเชิงคุณภาพ คือต้องการเพิ่มการจัดการศึกษาในเชิงคุณภาพและลดกาiจัดการศึกษาในเชิงปริมาณซึ่งการเพิ่มการจัดการศึกษาในเชิงคุณภาพ
คือ การเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดของตนเอง
ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการใช้แนวการสอนหรือวิธีสอนที่มีประสิทธิภาพเพื่อทำ ให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จทางการเรียนรู้
ส่วนการลดการจัดการศึกษา ในเชิงปริมาณ คือ การลดบทบาทของครูจากผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้นำ
กระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ การลดการเรียนรู้โดยการท่องจำ การสอบ และการหาคำตอบ
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สนับสนุนแนวคิด Teach Less, Learn More
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สนับสนุนแนวคิด
Teach Less, Learn More ได้แก่ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist) เป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับตัวผู้เรียน เชื่อว่าผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ ได้ด้วยตนเอง จากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อมอย่างกระตือรือร้น
กรอบแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
1. ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง
และผู้เรียนแต่ละคนสร้างความรู้ด้วยวิธีการที่แตกต่างกันรวมทั้งอาจแตกต่างกับแนวทางของผู้สอน
2.ประสบการณ์เดิมของผู้เรียนเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการสร้างความรู้ใหม๋และผู้เรียนแต่ละคนมีความรู้และประสบการณ์เดิมที่แตกต่างกัน
3. การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม การมีประสบการณ์ตรง
และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันของผู้เรียนมีส่วนช่วยในการสร้างความรู้ใหม่
4. ครูมีบทบาทในการจัดบริบทการเรียนรู้ตั้งคำถามที่ท้าทายความสามารถ
กระตุ้นสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการสร้างความรู้ และให้ความช่วยเหลือผู้เรียนในทุกๆด้าน
สมมติฐานของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
มีสมมติฐานเกี่ยวกับการสร้างความรู้ของผู้เรียน (อัมพร ม้าคนอง ,
2546:6-7) ดังนี้
1. มนุษย์สร้างความรู้ผ่านกิจกรรมการไตร่ตรอง
การสื่อสาร และการอภิปราย ซึ่งทำให้พวกเขาสร้างประสบการณ์ในการแก้ปัญหา
โดยมีแผนภาพโมเดลการเพิ่มพลัง การเรียนรู้ของผู้เรียน ในการอธิบายความอยากรู้อยากเห็นการมีปฏิสัมพันธ์ ความขัดแย้ง การไตร่ตรอง การจัดโครงสร้างใหม่ การสร้างพลังกับเพื่อน
ทางปัญญา การเรียนรู้
1.1 ความอยากรู้อยากเห็น และความขัดแย้งเป็นกลไกสำคัญในการกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียน
1.2 การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเป็นองค์ประกอบที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา
1.3 ความขัดแย้งทางปัญญานำมาซึ่งการไตร่ตรอง
1.4 การไตร่ตรองกระตุ้นให้เกิดการจัดโครงสร้างใหม่ทางปัญญา
1.5 ข้อ 1.1 ถึง 1.4 เกิดเป็นวงจร โดยประสบการณ์ของผู้เรียนมีผลต่อการเกิดของวงจรและวงจรนี้เองที่ทำให้ผู้เรียนสามารถสร้างพลังการเรียนรู้ให้กับตนเอง
2.การสร้างความรู้ของผู้เรียนแต่ละคนแตกต่างกันและต่างจากที่ผู้สอนคาดหวังผู้สอนต้องยอมรับและจัดการที่จะสนับสนุนสิ่งที่ผู้เรียนคิด
3. องค์ประกอบสำคัญในการจัดการเรียนรู้
มีดังนี้
3.1 การรวบรวมสิ่งที่ผู้เรียนสร้างขึ้นให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง
3.2 การสร้างแรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างความรู้
3.3 การวิเคราะห์ความคิดของผู้เรียนในกระบวนการเรียนการสอน
จากที่กล่าวมา พบว่า แนวคิด Teach Less, Learn More เป็นแนวคิดในการจัดการเรียนรู้ที่อยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
ที่เน้นให้ผู้เรียนได้คิดและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น โดยครูมีบทบาทมีเพียงส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดและเกิดการสร้างองค์ความรู้
บทบาทของผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด
Teach
Less, Learn More
ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Teach Less, Learn More ผู้สอนต้องสอนให้น้อยลงหรือ Teach Less แต่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากขึ้นหรือ
Learn More นั่นคือผู้สอนต้องกระตุ้นให้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง
ซึ่งบทบาทการสอนของผู้สอนแม้จะน้อยลง แต่บทบาทที่เพิ่มมากขึ้นของผู้สอน คือ ผู้สอนต้องมีการวางแผนและออกแบบกิจกรรมเรียนการสอน
เตรียมสื่อและแหล่งเรียนรู้ และเตรียมคำถามที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด TL, LM ผู้สอนต้องคำนึงถึงคำถาม 3
คำถาม ได้แก่
1.ทำไมต้องสอน ?
2.สอนอะไร ?
3. สอนอย่างไร ?
รายละเอียดของทั้ง3 คำถามสรุปเป็นประเด็นที่ผู้สอนควรคำนึงถึง
ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Teach Less, Learn More :
TL,LM ได้ดังนี้
1.ผู้สอนควรตระหนักว่าในการจัดการศึกษาแก่ผู้เรียนนั้นควรส่งเสริม
ให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียนรู้ และมีกำลังในการเรียนรู้
ไม่ใช่เน้นแต่เพียงเนื้อหา/ความรู้ที่จะสอนเท่านั้o
2.ผู้สอนควรสอนให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับมโนทัศน์และแนวคิดที่สำคัญ
มากกว่าการท่องจำ ได้
3.ผู้สอนควรสอนเพื่อเตรียมผู้เรียนสำหรับการทดสอบของชีวิตมากกว่ามีชีวิตเพื่อการทดสอบ
4.ผู้สอนควรสอนให้ผู้เรียนเห็นภาพรวมของเนื้อหาและเข้าใจการเชื่อมโยงกันของเนื้อหา
มากกว่าที่จะสอนเนื้อหาแยกกันเป็นเรื่องๆ
5. ผู้สอนควรกระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นคุณค่า
มีทัศนคติที่ดี และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง มากกว่าที่จะนำความรู้ไปใช้ในการสอบเท่านั้น
6. ผู้สอนควรเน้นที่กระบวนการของการเรียนรู้ของผู้เรียนมากกว่าการเน้นไปที่ผลการเรียนรู้เพียงอย่างเดียว
7. ผู้สอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยการใช้คำ
ถามกระตุ้น มากกว่าการให้ผู้เรียนปฏิบัติตามคำสั่งเท่านั้น
8. ผู้สอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
มากกว่าการที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการทำแบบฝึกหัดและท่องจำ
9. ผู้สอนควรเป็นผู้แนะนำ สร้างบรรยากาศและจัดสถานการณ์ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
มากกว่าการเรียนจากคบอกของผู้สอน
10. ในการจัดการเรียนรู้ผู้สอนควรคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน ทั้งในด้านความเหมาะสมกับผู้เรียนมากกว่าการใช้วิธีสอนแบบเดียวกันกับผู้เรียนทั้งหมด
11. ผู้สอนควรใช้วิธีการประเมินผลที่หลากหลาย
และเป็นการประเมินตามสภาพจริง ในการวิเคราะห์คุณภาพและพัฒนาการของผู้เรียน
มากกว่าการประเมินผู้เรียนจากการสอบเท่านั้น
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Teach Less, Learn More
การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Teach Less, Learn More สามารถจัดการเรียนรู้ได้หลากหลายวิธี แต่ต้องเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Teach Less, Learn
More ที่โรงเรียน Raffles Girls’ School ณ ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์
พบว่าวิธีหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้ คือ การออกแบบย้อนกลับ
(Backward Design) ซึ่งพัฒนาโดย Wiggins & McTighe ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 3 ขั้นตอน ได้แก่
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้
ประกอบด้วย การกำหนดคำถามสำคัญ การกำหนดความเข้าใจที่คงทน (enduring understanding) จุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา/ความรู้ที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้
และทักษะที่ต้องการพัฒนา เมื่อเสร็จสิ้นการสอนแล้วผู้เรียนต้องเกิดความเข้าใจที่คงทน
(enduring understanding) ซึ่งเป็นความสามารถอย่างลึกซึ้งในการอธิบาย ประยุกต์ใช้ความรู้และเชื่อมโยงไปสู่สถานการณ์ต่างๆ โดยการกำหนดความเข้าใจที่คงทน (enduring
understanding) มีหลักเกณฑ์ในการกำหนด ดังนี้
1. ความเข้าใจที่คงทนของเรื่องที่กำลังสอนควรสามารถถ่ายโอนไปสู่เรื่องอื่นๆ
และชีวิตจริง เพื่อเห็นความเชื่อมโยงของเนื้อหาและความสำคัญของเนื้อหาที่มีต่อชีวิตจริง
2. ความเข้าใจที่คงทนต้องผ่านกระบวนการสืบสวน
อภิปราย ตั้งคำถาม และประเมินผล ไม่สามารถทำความเข้าใจได้ในทันที
3. ความเข้าใจที่คงทนเกิดมาจากการเชื่อมโยงมโนทัศน์
หลักการ กฎ หรือทฤษฎีกับทักษะ/กระบวนการ
4. ความเข้าใจที่คงทนควรนำไปสู่บทสรุปของเรื่องโดยผ่านกระบวนการคิดขั้นสูง
ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดหลักฐานการเรียนรู้และการประเมินผลการเรียนรู้
หลักฐานการเรียนของผู้เรียน ได้แก่ ชิ้นงานหรือภาระงาน ซึ่งจะเป็นร่องรอยของการเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติงานหรือทำกิจกรรมของผู้เรียน
ทำให้ผู้สอนทราบว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ หรือไม่ตัวอย่างของชิ้นงาน
เช่น รายงาน เรียงความ แผนภาพ หุ่นจำลอง แฟ้มสะสมผลงาน
โครงงาน เป็นต้น ตัวอย่างของภาระงาน เช่น การสอบ การพูดปากเปล่า การแสดงบทบาทสมมติ
การตอบคำถาม การอธิบาย การกล่าวรายงาน การอภิปราย เป็นต้นการประเมินผลการเรียนรู้ เป็นกระบวนการในการการตรวจสอบ
ค้นหา หรือรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนแล้วนำ ผลที่ได้มาสรุป และตัดสินว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่
การประเมินผลการเรียนรู้เป็นองค์ประกอบสำคัญของการเรียนการสอน และไม่สามารถแยกออกจากกระบวนการเรียนการสอนได้
ซึ่งการประเมินผลที่สอดคล้องกับแนวคิด TL,LM คือการประเมินตามสภาพจริง เนื่องจากเป็นการประเมินผลที่สามารถประเมินได้ทั้งกระบวนการ
และผลที่ได้จากการเรียนรู้ประเด็นที่ผู้สอนควรคำนึงถึงในการพิจารณา กำหนด และประเมินหลักฐานการเรียนรู้ของผู้เรียนได้แก่
1. ความเข้าใจที่คงทน/ผลการเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนคืออะไร
2. จะใช้เครื่องมือใดในการประเมินความเข้าใจที่คงทน/ผลการเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน
3. ผู้สอนจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้วหรือยัง
4. หลักฐานที่แสดงว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้คืออะไรและเพียงพอที่จะสรุปว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่
5. การประเมินผลการเรียนรู้ควรประเมินตามผลการเรียนรู้ที่ตั้งไว้
ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
เป็นการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดขั้นสูง ซึ่งต้องสอดคล้องกับขั้นตอนที่ 1 และ2 โดยประเด็นที่ต้องคำนึงถึงในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน
มีดังนี้
1. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ควรอยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่ผู้เรียนสนใจ
และแหล่งเรียนรู้ควรอยู่ในชีวิตจริง
2. เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
และ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน รวมทั้งได้นำ
ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์
เป็นนักคิด และนักแก้ปัญหา
4. ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สืบสอบหาความรู้
ลงมือปฏิบัติและแก้ปัญหาด้วยตนเอง
5.ผู้สอนมีบทบาทในการจัดบริบทการเรียนรู้ที่หลากหลายตั้งคำถามที่ท้าทายความสามารถและกระตุ้นสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการสร้างความรู้
บทสรุป
จากที่กล่าวมาตั้งแต่ต้น พบว่า แนวคิดTeach Less, Learn More
(TLLM) เป็นแนวคิดหนึ่งในการจัดการศึกษาของประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ที่สอดคล้องกับแนวการจัดการศึกษาระดับชาติของประเทศไทย
โดยอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ซึ่งต้องการให้ผู้สอนลดบทบาทในการสอนของตนเองให้น้อยลง
และส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดTeach
Less, Learn More สามารถจัดการเรียนรู้ได้หลากหลายวิธีแต่ต้องเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ
ซึ่งวิธีการหนึ่งที่ประเทศสิงคโปร์นำ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้คือ
การออกแบบย้อนกลับ
(Backward Design) ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 3 ขั้นตอน ได้แก่
1.การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้
2.การกำหนดหลักฐานการเรียนรู้
3.การวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
โดยที่ในขั้นตอนที่ 3 การวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ สามารถประยุกต์ใช้แนวการจัดการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด
(Cognitively Guided Instruction : CGI) ซึ่งเป็นแนวการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ ละการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
ให้ความสำคัญกับการคิดของผู้เรียน โดยมีผู้สอนเป็นผู้สนับสนุน
และเอื้ออำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำงานเป็นกลุ่ม
มีโอกาสนำ เสนอความคิดของตนเอง ร่วมกันอภิปราย ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงความรู้เดิมกับชีวิตจริงซึ่งสอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด
Teach Less, Learn More : TLLM
…………………………………………………………………….
คัดจากบทความทางวิชาการ ของ ดร.เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร
เรื่อง
การประยุกต์ใช้แนวคิด Teach Less, Learn More (TLLM) สู่การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ Application of Teach Less,
Learn More to Learning Management in Mathematics Classroom
จากวารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 23 ฉบับที่
1 เดือนตุลาคม 2554 - มกราคม 2555
วัชราภรณ์ วัตรสุข : เรียบเรียง
(ตัดทอนตัวอย่างคณิตศาสตร์ออก เพื่อใช้ประกอบการอบรมครูภาษาไทย)