วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ทำอย่างไรให้กลุ่มชาติพันธุ์อ่านเขียนพูดไทยชัดชัด

      
บทความดีๆที่ขออนุญาตนำมาเผยแพร่และศึกษา

 

ถ้าไม่เชื่อเรื่องบุญทำกรรมแต่งแล้วจะเชื่ออะไร เมื่อได้มีโอกาสทำงานวิจัย ที่คาดไม่ได้คิดไม่ถึงว่าจะมีวันนี้ วันที่ได้เรียนรู้มากมายหลากหลายประสบการณ์ทั้งจากพื้นที่ ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ ประสบการณ์นี้คงซื้อหาไม่ได้ แต่เอาไว้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มประสบการณ์ให้กับชีวิตในมุมมองหนึ่ง 

            เมื่อต้องไปทำงานวิจัยการรู้หนังสือสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่   นี่มันคืออะไรกันนี่ คำถาม/ปัญหาการวิจัย คือ ทำอย่างไรให้คนกลุ่มชาติพันธุ์อ่านออกเขียนได้ แล้วทำอย่างไร มีอะไรที่เป็นนวกรรมเพื่อการเรียนรู้ที่จะทำให้คนอ่านออกเขียนได้ ทำอย่างไรกันนี่

            งานวิจัยนี้มีลูกพี่เป็น ดร. สองท่าน เป็นหัวหน้าวิจัย ก็นับว่ามีที่พึ่งได้ในระดับหนึ่งก็แล้วกัน แต่ทั้งลูกพี่และลูกน้องต่างก็ยังคิดกันไม่ออกเลยว่าจะทำอย่างไรให้คนที่ไม่ได้พูดภาษาไทยตั้งแต่เกิด หันมาพูดภาษาไทยได้อย่างดี นี่เขาก็สอนกันมาจนผมขาวหนวดขาวกันหมด กลุ่มชาติพันธุ์ก็ยังพูดภาษาไทยไม่ค่อยได้ และที่สำคัญยังพูดไม่ชัดอีกด้วย จะทำอย่างไรกันนี่

ในประเทศไทยคำว่า การศึกษาแบบทวิภาษา (Bilingual Education) อาจเป็นคำที่ยังไม่คุ้นเคย แต่ที่คุ้นเคย คือคำว่าโรงเรียนสองภาษา หรือ โรงเรียนโปรแกรมภาษาอังกฤษ (English-school programme) ซึ่งใช้กันแพร่หลายในความหมายที่คนเข้าใจกันคือ การศึกษาที่โรงเรียนจัดโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการสอนวิชาต่างๆ ให้กับนักเรียน มีความพยายามที่จะจัดการศึกษาแบบทวิภาษาในประเทศไทยให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งมีภาษาที่หลากหลาย ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ของประเทศไทยและต้องอธิบายให้คลุมกระบวนการและประโยชน์ที่เด็กหรือผู้เรียนกลุ่มชาติพันธุ์จะได้รับ  [1]

           ความหมายของการศึกษาแบบทวิภาษา (Bilingual Education) ตามที่ Wikipedia,  the free encyclopedia[2] ได้อธิบายนั้นครอบคลุมการสอนรายวิชาต่างๆทุกวิชาในโรงเรียนโดยใช้สองภาษาที่ต่างกัน- ในสหรัฐอเมริกา การสอนเกิดขึ้นโดยใช้ภาษาอังกฤษและภาษาของชนกลุ่มน้อย เช่น ภาษา สแปนิช หรือภาษาจีน โดยที่จำนวนการใช้แต่ละภาษามีสัดส่วนแปรเปลี่ยนไป รูปแบบของโปรแกรม (program models) มีดังนี้:

 ·         การศึกษาทวิภาษาแบบสองทางหรือสองภาษา (Two-Way or Dual Language Bilingual Education) โปรแกรมนี้ออกแบบเพื่อช่วยให้นักเรียนทั้งที่เป็นผู้ที่พูดภาษาอังกฤษหรือไม่ได้พูดภาษาอังกฤษในชีวิต(native and non-native English speakers) กลายเป็นผู้ที่ใช้ได้สองภาษาหรือรู้หนังสือทั้งสองภาษา(bilingual or biliterate) โดยอุดมการณ์แล้ว โปรแกรมดังกล่าวในบริบทของสหรัฐอเมริกานั้น ครึ่งหนึ่งของนักเรียนเป็นผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตและอีกครึ่งหนึ่งใช้ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์เช่นภาษาสแปนิช โปรแกรมสองภาษาในลักษณะนี้ได้รับอนุญาตในโรงเรียนของสหรัฐอเมริกาน้อยกว่าถึงแม้ว่าผลการวิจัยจะแสดงให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดในการช่วยให้เรียนภาษาอังกฤษได้ดี และในระยะยาวช่วยพฤติกรรมของผู้เรียนภาษาอังกฤษในโรงเรียนได้ (Center for Applied Linguistics, 2005; Thomas & Collier, 1997; Lindholm-Leary, 2000).
           
·         วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดของการศึกษาแบบทวิภาษาคือ โปรแกรมสองภาษา (Dual Language programme) ซึ่งจะทำนักเรียนเรียนได้ 2 วิธี คือ (1) สอนรายวิชาต่างๆที่หลากหลายด้วยภาษาที่สองของนักเรียน โดยครูทวิภาษาที่ได้รับการอบรมเป็นพิเศษซึ่งสามารถเข้าใจนักเรียนเมื่อเขาถามด้วยภาษาแม่(native language) แต่ครูก็มักตอบด้วยภาษาที่สอง และ (2) ห้องเรียนเพื่อการรู้หนังสือในภาษาแม่ (Native language literacy classes) เพื่อช่วยปรับปรุงการเขียนและทักษะภาษาที่หนึ่ง(first language)ของนักเรียนให้สูงขึ้น การวิจัยพบว่าทักษะต่างๆที่เรียนด้วยภาษาแม่สามารถถ่ายโอนได้ง่ายไปสู่ภาษาที่สองได้ โปรแกรมชนิดนี้ชั้นเรียนภาษาแม่ไม่ได้สอนรายวิชาต่างๆ ชั้นเรียนที่ใช้ภาษาที่สองเน้นเนื้อหามากกว่าไวยากรณ์ ดังนั้นนักเรียนจึงเรียนทุกรายวิชาด้วยภาษาที่สอง


             ฟังแค่เรื่องความหมายของทวิภาษาคืออะไรก็อย่าพึ่งเป็นลมเป็นแล้งไปก่อนล่ะ เรื่องนี้ยังมีอีกยาว ๆ ๆ แล้วค่อย ๆ จับเข่าคุยกันไปก็แล้วกัน เพราะเป้าหมายสำคัญของงานวิจัยคือมีวิธีการอย่างไรที่จะทำอย่างไรให้กลุ่มชาติพันธุ์สามารถเรียนภาษาไทยได้ดีและพูดภาษาไทยได้แบบชัดชัด

·         การศึกษาทวิภาษาแบบพัฒนาการ (Developmental Bilingual Education) เป็นการศึกษาแบบทวิภาษาที่ใช้ภาษาแม่ของเด็กในช่วงเวลาพิเศษที่ขยายเพิ่มขึ้น ควบคู่ไปกับการศึกษาในภาษาอังกฤษ เป้าหมายคือการพัฒนาความเป็นสองภาษา(bilingualism) และให้รู้หนังสือทั้งสองภาษา โปรแกรมลักษณะนี้จัดหาได้เพียงพอสำหรับเด็กที่ภาษาแม่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ และเป็นโปรแกรมที่ธรรมดากว่าโปรแกรมการถ่ายโอน โดยสรุป การศึกษาแบบทวิภาษา เป็นการจัดการศึกษาให้กับนักเรียนที่มีภาษาแม่หรือภาษาชาติกำเนิดของตนเอง โปรแกรมทวิภาษาอาจจัดโดยเริ่มต้นด้วยภาษาแม่เพื่อถ่ายโอนไปยังภาษาหลักซึ่งเป็นภาษาประจำชาติหรือภาษาอังกฤษสำหรับบางประเทศ เพื่อให้เด็กมีความก้าวหน้าในเนื้อหาวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา และมุ่งให้เด็กคล่องแคล่วในการใช้ได้ทั้งสองภาษา
·         การศึกษาทวิภาษาเพื่อการถ่ายโอน (Transitional Bilingual Education) การศึกษาแบบนี้ครอบคลุมการศึกษาสำหรับเด็กที่มีภาษาแม่ของตนเอง โดยปกติเป็นเด็กอายุไม่เกิน 3 ขวบ เพื่อที่จะทำให้มั่นใจว่าเด็กๆ จะไม่ล้าหลังในเนื้อหาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษาในขณะที่กำลังเรียนภาษาอังกฤษ  เป้าหมายคือช่วยให้นักเรียนถ่ายโอนโดยเร็วไปสู่กระแสหลัก(mainstream) คือห้องเรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษเพียงอย่างเดียวและเป้าหมายของโปรแกรมคือการใช้ภาษาอังกฤษอย่างเดียวเท่านั้น โปรแกรมทวิภาษาในประเทศสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่เป็นโปรแกรมเพื่อการถ่ายโอนนี้
            และแล้วก็เหมือนฟ้ามาโปรด เมื่อลูกพี่ ดร.วิศนี ศิลตระกูล พยายามค้นข้อมูลก็ได้เรื่องราวเกี่ยวกับทวิภาษา        ทวิภาษา คืออะไร แล้วจะทำอย่างไรให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ภาษาไทยได้อย่างดีและคล่องแคล่วเมื่อความจำเป็นอย่างนี้ จึงต้องตะลุยกันหาว่า นวกรรมการศึกษาด้าน ทวิภาษา จนพอจะสรุปความหมายได้ว่า


 
           ความหมายของการศึกษาแบบทวิภาษา (Bilingual Education) ตามที่ Wikipedia,  the free encyclopedia[2] ได้อธิบายนั้นครอบคลุมการสอนรายวิชาต่างๆทุกวิชาในโรงเรียนโดยใช้สองภาษาที่ต่างกัน- ในสหรัฐอเมริกา การสอนเกิดขึ้นโดยใช้ภาษาอังกฤษและภาษาของชนกลุ่มน้อย เช่น ภาษา สแปนิช หรือภาษาจีน โดยที่จำนวนการใช้แต่ละภาษามีสัดส่วนแปรเปลี่ยนไป รูปแบบของโปรแกรม (program models) มีดังนี้:

[2] Wikipedia, the free encyclopedia.  Bilingual education. http://en.wikipedia.org/wiki/Bilingual_education



ขอบคุณแหล่งข้อมูล