วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ทำอย่างไรให้กลุ่มชาติพันธุ์อ่านเขียนพูดไทยชัดชัด

      
บทความดีๆที่ขออนุญาตนำมาเผยแพร่และศึกษา

 

ถ้าไม่เชื่อเรื่องบุญทำกรรมแต่งแล้วจะเชื่ออะไร เมื่อได้มีโอกาสทำงานวิจัย ที่คาดไม่ได้คิดไม่ถึงว่าจะมีวันนี้ วันที่ได้เรียนรู้มากมายหลากหลายประสบการณ์ทั้งจากพื้นที่ ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ ประสบการณ์นี้คงซื้อหาไม่ได้ แต่เอาไว้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มประสบการณ์ให้กับชีวิตในมุมมองหนึ่ง 

            เมื่อต้องไปทำงานวิจัยการรู้หนังสือสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่   นี่มันคืออะไรกันนี่ คำถาม/ปัญหาการวิจัย คือ ทำอย่างไรให้คนกลุ่มชาติพันธุ์อ่านออกเขียนได้ แล้วทำอย่างไร มีอะไรที่เป็นนวกรรมเพื่อการเรียนรู้ที่จะทำให้คนอ่านออกเขียนได้ ทำอย่างไรกันนี่

            งานวิจัยนี้มีลูกพี่เป็น ดร. สองท่าน เป็นหัวหน้าวิจัย ก็นับว่ามีที่พึ่งได้ในระดับหนึ่งก็แล้วกัน แต่ทั้งลูกพี่และลูกน้องต่างก็ยังคิดกันไม่ออกเลยว่าจะทำอย่างไรให้คนที่ไม่ได้พูดภาษาไทยตั้งแต่เกิด หันมาพูดภาษาไทยได้อย่างดี นี่เขาก็สอนกันมาจนผมขาวหนวดขาวกันหมด กลุ่มชาติพันธุ์ก็ยังพูดภาษาไทยไม่ค่อยได้ และที่สำคัญยังพูดไม่ชัดอีกด้วย จะทำอย่างไรกันนี่

ในประเทศไทยคำว่า การศึกษาแบบทวิภาษา (Bilingual Education) อาจเป็นคำที่ยังไม่คุ้นเคย แต่ที่คุ้นเคย คือคำว่าโรงเรียนสองภาษา หรือ โรงเรียนโปรแกรมภาษาอังกฤษ (English-school programme) ซึ่งใช้กันแพร่หลายในความหมายที่คนเข้าใจกันคือ การศึกษาที่โรงเรียนจัดโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการสอนวิชาต่างๆ ให้กับนักเรียน มีความพยายามที่จะจัดการศึกษาแบบทวิภาษาในประเทศไทยให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งมีภาษาที่หลากหลาย ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ของประเทศไทยและต้องอธิบายให้คลุมกระบวนการและประโยชน์ที่เด็กหรือผู้เรียนกลุ่มชาติพันธุ์จะได้รับ  [1]

           ความหมายของการศึกษาแบบทวิภาษา (Bilingual Education) ตามที่ Wikipedia,  the free encyclopedia[2] ได้อธิบายนั้นครอบคลุมการสอนรายวิชาต่างๆทุกวิชาในโรงเรียนโดยใช้สองภาษาที่ต่างกัน- ในสหรัฐอเมริกา การสอนเกิดขึ้นโดยใช้ภาษาอังกฤษและภาษาของชนกลุ่มน้อย เช่น ภาษา สแปนิช หรือภาษาจีน โดยที่จำนวนการใช้แต่ละภาษามีสัดส่วนแปรเปลี่ยนไป รูปแบบของโปรแกรม (program models) มีดังนี้:

 ·         การศึกษาทวิภาษาแบบสองทางหรือสองภาษา (Two-Way or Dual Language Bilingual Education) โปรแกรมนี้ออกแบบเพื่อช่วยให้นักเรียนทั้งที่เป็นผู้ที่พูดภาษาอังกฤษหรือไม่ได้พูดภาษาอังกฤษในชีวิต(native and non-native English speakers) กลายเป็นผู้ที่ใช้ได้สองภาษาหรือรู้หนังสือทั้งสองภาษา(bilingual or biliterate) โดยอุดมการณ์แล้ว โปรแกรมดังกล่าวในบริบทของสหรัฐอเมริกานั้น ครึ่งหนึ่งของนักเรียนเป็นผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตและอีกครึ่งหนึ่งใช้ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์เช่นภาษาสแปนิช โปรแกรมสองภาษาในลักษณะนี้ได้รับอนุญาตในโรงเรียนของสหรัฐอเมริกาน้อยกว่าถึงแม้ว่าผลการวิจัยจะแสดงให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดในการช่วยให้เรียนภาษาอังกฤษได้ดี และในระยะยาวช่วยพฤติกรรมของผู้เรียนภาษาอังกฤษในโรงเรียนได้ (Center for Applied Linguistics, 2005; Thomas & Collier, 1997; Lindholm-Leary, 2000).
           
·         วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดของการศึกษาแบบทวิภาษาคือ โปรแกรมสองภาษา (Dual Language programme) ซึ่งจะทำนักเรียนเรียนได้ 2 วิธี คือ (1) สอนรายวิชาต่างๆที่หลากหลายด้วยภาษาที่สองของนักเรียน โดยครูทวิภาษาที่ได้รับการอบรมเป็นพิเศษซึ่งสามารถเข้าใจนักเรียนเมื่อเขาถามด้วยภาษาแม่(native language) แต่ครูก็มักตอบด้วยภาษาที่สอง และ (2) ห้องเรียนเพื่อการรู้หนังสือในภาษาแม่ (Native language literacy classes) เพื่อช่วยปรับปรุงการเขียนและทักษะภาษาที่หนึ่ง(first language)ของนักเรียนให้สูงขึ้น การวิจัยพบว่าทักษะต่างๆที่เรียนด้วยภาษาแม่สามารถถ่ายโอนได้ง่ายไปสู่ภาษาที่สองได้ โปรแกรมชนิดนี้ชั้นเรียนภาษาแม่ไม่ได้สอนรายวิชาต่างๆ ชั้นเรียนที่ใช้ภาษาที่สองเน้นเนื้อหามากกว่าไวยากรณ์ ดังนั้นนักเรียนจึงเรียนทุกรายวิชาด้วยภาษาที่สอง


             ฟังแค่เรื่องความหมายของทวิภาษาคืออะไรก็อย่าพึ่งเป็นลมเป็นแล้งไปก่อนล่ะ เรื่องนี้ยังมีอีกยาว ๆ ๆ แล้วค่อย ๆ จับเข่าคุยกันไปก็แล้วกัน เพราะเป้าหมายสำคัญของงานวิจัยคือมีวิธีการอย่างไรที่จะทำอย่างไรให้กลุ่มชาติพันธุ์สามารถเรียนภาษาไทยได้ดีและพูดภาษาไทยได้แบบชัดชัด

·         การศึกษาทวิภาษาแบบพัฒนาการ (Developmental Bilingual Education) เป็นการศึกษาแบบทวิภาษาที่ใช้ภาษาแม่ของเด็กในช่วงเวลาพิเศษที่ขยายเพิ่มขึ้น ควบคู่ไปกับการศึกษาในภาษาอังกฤษ เป้าหมายคือการพัฒนาความเป็นสองภาษา(bilingualism) และให้รู้หนังสือทั้งสองภาษา โปรแกรมลักษณะนี้จัดหาได้เพียงพอสำหรับเด็กที่ภาษาแม่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ และเป็นโปรแกรมที่ธรรมดากว่าโปรแกรมการถ่ายโอน โดยสรุป การศึกษาแบบทวิภาษา เป็นการจัดการศึกษาให้กับนักเรียนที่มีภาษาแม่หรือภาษาชาติกำเนิดของตนเอง โปรแกรมทวิภาษาอาจจัดโดยเริ่มต้นด้วยภาษาแม่เพื่อถ่ายโอนไปยังภาษาหลักซึ่งเป็นภาษาประจำชาติหรือภาษาอังกฤษสำหรับบางประเทศ เพื่อให้เด็กมีความก้าวหน้าในเนื้อหาวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา และมุ่งให้เด็กคล่องแคล่วในการใช้ได้ทั้งสองภาษา
·         การศึกษาทวิภาษาเพื่อการถ่ายโอน (Transitional Bilingual Education) การศึกษาแบบนี้ครอบคลุมการศึกษาสำหรับเด็กที่มีภาษาแม่ของตนเอง โดยปกติเป็นเด็กอายุไม่เกิน 3 ขวบ เพื่อที่จะทำให้มั่นใจว่าเด็กๆ จะไม่ล้าหลังในเนื้อหาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษาในขณะที่กำลังเรียนภาษาอังกฤษ  เป้าหมายคือช่วยให้นักเรียนถ่ายโอนโดยเร็วไปสู่กระแสหลัก(mainstream) คือห้องเรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษเพียงอย่างเดียวและเป้าหมายของโปรแกรมคือการใช้ภาษาอังกฤษอย่างเดียวเท่านั้น โปรแกรมทวิภาษาในประเทศสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่เป็นโปรแกรมเพื่อการถ่ายโอนนี้
            และแล้วก็เหมือนฟ้ามาโปรด เมื่อลูกพี่ ดร.วิศนี ศิลตระกูล พยายามค้นข้อมูลก็ได้เรื่องราวเกี่ยวกับทวิภาษา        ทวิภาษา คืออะไร แล้วจะทำอย่างไรให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ภาษาไทยได้อย่างดีและคล่องแคล่วเมื่อความจำเป็นอย่างนี้ จึงต้องตะลุยกันหาว่า นวกรรมการศึกษาด้าน ทวิภาษา จนพอจะสรุปความหมายได้ว่า


 
           ความหมายของการศึกษาแบบทวิภาษา (Bilingual Education) ตามที่ Wikipedia,  the free encyclopedia[2] ได้อธิบายนั้นครอบคลุมการสอนรายวิชาต่างๆทุกวิชาในโรงเรียนโดยใช้สองภาษาที่ต่างกัน- ในสหรัฐอเมริกา การสอนเกิดขึ้นโดยใช้ภาษาอังกฤษและภาษาของชนกลุ่มน้อย เช่น ภาษา สแปนิช หรือภาษาจีน โดยที่จำนวนการใช้แต่ละภาษามีสัดส่วนแปรเปลี่ยนไป รูปแบบของโปรแกรม (program models) มีดังนี้:

[2] Wikipedia, the free encyclopedia.  Bilingual education. http://en.wikipedia.org/wiki/Bilingual_education



ขอบคุณแหล่งข้อมูล

วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

จุดมุ่งหมายและขั้นตอนของการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง




จุดมุ่งหมายของการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง

โดยทั่วไปนักวิจัยจะทำการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อเพื่อจุดมุ่งหมายประการใดประการหนึ่งหรือหลายประการดังนี้
1. เพื่อแสวงหาแนวคิดพื้นฐานเชิงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำวิจัย
2. เพื่อสำรวจสถานภาพขององค์ความรู้ในเรื่องที่จะทำวิจัย
3. เพื่อแสวงหาสารสนเทศที่จะช่วยตัดสินใจกำหนดแนวทางการวิจัย
4. เพื่อแสวงหาหลักฐานอ้างอิงมาสนับสนุนความคิดเห็นในการอภิปรายผลการวิจัย


ขั้นตอนในการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง
1.     กำหนดจุดมุ่งหมายของการทบทวนเอกสารให้ชัดเจน  การกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนจะช่วยให้ทราบว่าเอกสารใดบ้างควรเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำวิจัย มีแนวทางในการการคัดเลือกเอกสาร และการจับประเด็นจากเอกสารต่าง ๆ ทำได้ง่ายและชัดเจนขึ้น
2.     สำรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง นักวิจัยจะต้องสำรวจว่าการจะทบทวนเอกสารเพื่อจุดมุ่งหมายแต่ละอย่างนั้น ควรจะมีเอกสารอะไรบ้างที่จะต้องนำมาทบทวน  การสำรวจอาจจะเริ่มจากเอกสารรอง ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นโดยใช้สารสนเทศจากเอกสารหลัก
3.     สืบค้นหาเอกสารที่เกี่ยวข้อง  นักวิจัยต้องทราบว่าเอกสารที่ต้องการนั้นอยู่ที่ไหน จะหามาได้อย่างไรนักวิจัยจะต้องรู้จักแหล่งเอกสารประเภทต่างๆ เช่น ห้องสมุด ศูนย์สารนิเทศ ศูนย์เอกสารสนเทศ   หอจดหมายเหตุ ฯลฯ เป็นต้น  และที่สำคัญคือจะต้องมีทักษะในการสืบค้น (Searching skill   หาเอกสารเหล่านั้นด้วย  นั่นคือจะต้องมีความรู้ว่าเอกสารเหล่านั้นจัดเก็บไว้อย่างไร จะเข้าถึงเอกสารนั้นได้อย่างไร  ปัจจุบันเทคโนโลยีในการจัดเก็บเอกสารได้พัฒนาก้าวหน้าไปมาก มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยจัดเก็บเอกสารไว้ในสื่อรูปแบบต่างๆ ที่จะช่วยให้การสืบค้นเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วและกว้างขวาง  นักวิจัยจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการสืบค้นเอกสารจากสื่อเหล่านี้ และติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางด้านนี้อย่างต่อเนื่องเพราะมีการพัฒนาไปค่อนข้างจะรวดเร็ว  จึงจะทำให้การสืบค้นเอกสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4.     คัดเลือกเอกสาร  เอกสารที่ได้จากการสืบค้นในข้อ 3 นั้นไม่ใช่ว่าจะใช้ได้ทั้งหมด นักวิจัยจะทำการคัดเลือกเอาเฉพาะเอกสารที่มีความเกี่ยวข้องจริงๆ ตามจุดมุ่งหมาย  อังนั้นเมื่อได้เอกสารมานักวิจัยจะต้องอ่านอย่างคร่าวๆ (Scanning) ก่อนว่าเอกสารนั้นมีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะวิจัยอย่างแท้จริงหรือไม่  และจะคัดเลือกไว้เฉพาะเอกสารที่มีความเกี่ยวข้องอย่างแท้จริงเท่านั้นเพื่อทบทวนอย่างลึกซึ้งต่อไป
5.    ลงมืออ่านเอกสารอย่างละเอียดจับประเด็นสำคัญให้ได้ตามจุดมุ่งหมาย ถ้าเป็นเอกสารงานวิจัยประเด็นสำคัญที่ต้องการมักจะได้แก่ ปัญหาหรือคำถามหรือวัตถุประสงค์ของการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย ข้อสันนิษฐาน วิธีดำเนินการวิจัย  สรุปผลการวิจัย เป็นต้น  
6.     จดบันทึกสาระที่ได้จากการอ่าน  ควรจดบันทึกลงในบัตร ขนาดของบัตรที่นิยมใช้บันทึกมักจะมีขนาดประมาณ 3 x 5 นิ้ว  ควรบันทึกประเด็นที่ได้จากการอ่านลงในบัตรประเด็นละใบ  และไม่ควรลืมบันทึกข้อมูลบรรณานุกรมของเอกสารด้วย เพื่อจะใช้ประโยชน์ในการอ้างอิงถึงเมื่อจะต้องเรียบเรียงผลการประมวลเอกสารที่เกี่ยวข้อง
7.     สังเคราะห์สาระที่ได้จากอ่านเข้าด้วยกัน
8.     เรียบเรียงผลการประมวลเอกสารที่เกี่ยวข้อง


การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง


การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

วรรณกรรมหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง  (related literature) หมายถึง  เอกสารงานเขียนที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับหัวข้อปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอาจมีหลายลักษณะ เช่น เป็นตำรา สารานุกรม  พจนานุกรม นามานุกรม ดัชนี รายงานสถิติ หนังสือรายปี บทความในวารสาร จุลสาร  ที่สำคัญก็คือรายงานผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น  ผู้วิจัยจะต้องทำการสำรวจอ่านทบทวนอย่างพินิจพิเคราะห์  ทักษะที่สำคัญของการทำวิจัยในขั้นตอนนี้คือ ทักษะในการสืบค้นหาสารนิเทศจากแหล่งต่าง ๆ และทักษะในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
ความสำคัญของการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง
1.   ช่วยให้ผู้วิจัยได้ทราบถึงสภาพขององค์ความรู้ (state of the art) ในเรื่องที่จะทำการวิจัย  คือจะได้ทราบว่าในหัวข้อเรื่องที่ผู้วิจัยสนใจหรือมีข้อสงสัยใคร่หาคำตอบนั้น ได้มีผู้ศึกษาหาคำตอบได้เป็นความรู้ไว้แล้วในแง่มุมหรือประเด็นใดแล้วบ้าง  การจะศึกษาวิจัยเพื่อหาคำตอบในเรื่องนั้นต่อไปควรจะได้ทราบเสียก่อนว่าเรารู้อะไรกันแล้วบ้างเกี่ยวกับเรื่องนั้น ความรู้เหล่านั้นมีความชัดเจนเพียงใด  ยังมีข้อความรู้ที่ขัดแย้งไม่ลงรอยกันบ้างหรือไม่  ประเด็นใดที่ยังไม่มีคำตอบบ้าง  การทราบถึงสถานภาพขององค์ความรู้ในเรื่องที่จะทำวิจัยจะช่วยให้ผู้วิจัยมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ความรู้ใหม่ที่จะได้จากการวิจัยของตนเองนั้นจะมีความสัมพันธ์อย่างไรกับองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วในเรื่องนั้น จะเป็นความรู้ใหม่ที่มีคุณค่าหรือความสำคัญเพียงใด และจะเข้าไปจัดระเบียบอยู่ในองค์ความรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างผสมกลมกลืนได้อย่างไร
2.   ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถหลีกเลี่ยงการทำวิจัยซ้ำซ้อนกับผู้อื่น การวิจัยเป็นเรื่องของการแสวงหาความรู้ใหม่ นักวิจัยไม่นิยมแสงหาความรู้เพื่อที่จะตอบปัญหาเดิมโดยไม่จำเป็น เพราะจะเป็นการเสียเวลา สิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุ สิ่งใดที่รู้แล้วมีผู้หาคำตอบไว้แล้ว นักวิจัยจะไม่ทำวิจัยเพื่อหาคำตอบในเรื่องนั้นซ้ำอีก ดังนั้นนักวิจัยจึงพยายามหลีกเลี่ยงการทำวิจัยซ้ำกับที่ผู้อื่นได้ทำไว้แล้วซึ่งถือเป็นจรรยาบรรณอย่างหนึ่งของนักวิจัย และทำให้การวิจัยนั้นด้อยคุณค่าลง การทบทวนเอกสารวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างถี่ถ้วนและรอบคอบจะทำให้นักวิจัยได้ทราบว่าประเด็นที่ตนเองสนใจจะทำวิจัยนั้นได้มีผู้หาคำตอบไว้แล้วหรือยัง  ถ้ามีแล้วก็จะได้เลี่ยงไปศึกษาในประเด็นอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้มีผู้ศึกษาเอาไว้ต่อไป
3.     ช่วยให้ผู้วิจัยได้มีแนวคิดพื้นฐานเชิงทฤษฎีในเรื่องที่จะทำการวิจัยอย่างเพียงพอ การจะทำวิจัยในเรื่องใดนั้นผู้วิจัยจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นอยู่พอสมควร โดยเฉพาะกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี (Theriticalหรือ Conceptual framwork) เกี่ยวกับเรื่องนั้นจะต้องชัดเจน  สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้วิจัยกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัยได้อย่างชัดเจน  สามารถกำหนดแนวทางในการศึกษาได้อย่างเหมาะสม เข้าใจเนื้อหาสาระของเรื่องที่วิจัยได้อย่างแจ่มแจ้ง
4.     ช่วยให้ผู้วิจัยได้เห็นแนวทางในการดำเนินงานวิจัยของตน  จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องไม่เพียงแต่ทำให้นักวิจัยได้ทราบว่าเรื่องที่สนใจนั้นได้มีผู้วิจัยอื่นได้ค้นคว้าหาคำตอบไว้อย่างไรแล้วเท่านั้น ยังจะได้ทราบด้วยว่านักวิจัยคนอื่น ๆ เหล่านั้นได้มีวิธีการหาคำตอบเอาไว้อย่างไร  มีปัญหาอุปสรรคอย่างไรในการทำวิจัยในเรื่องนั้น  คำตอบที่ได้มามีความชัดเจนแจ่มแจ้งเพียงใด  คำตอบสอดคล้องหรือขัดแยังกันหรือไม่  เอกสารเชิงทฤษฎีต่าง ๆ ได้ชี้แนะแนวทางในการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนั้นอย่างไร  สารสนเทศเหล่านี้นักวิจัยจะนำมาใช้ตัดสินใจกำหนดแนวทางในการวิจัยของตนเริ่มตั้งแต่ การกำหนดประเด็นปัญหาที่เหมาะสม การกำหนดขอบเขตและข้อสันนิษฐานการวิจัยอย่างสมเหตุสมผล ออกแบบวิจัยเพื่อดำเนินการหาคำตอบซึ่งจะเกี่ยวกับการเลือกระเบียบวิธีวิจัย การเลือกตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์หรือประมวลผลข้อมูล ตลอดจนการสรุปและรายงานผลการวิจัย   นักวิจัยจะวางแผนการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาอุปสรรคที่จะทำให้งานวิจัยนั้นล้มเหลวได้  ช่วยให้โอกาสที่จะทำงานมีวิจัยนั้นให้สำเร็จอย่างมีคุณภาพมีสูงขึ้น
5.     ช่วยให้ผู้วิจัยได้มีหลักฐานอ้างอิงเพื่อสนับสนุนในการอภิปรายผลการวิจัย  เมื่อผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยจนได้ข้อสรุปหรือคำตอบให้กับปัญหาแล้ว  ในการรายงานผลการวิจัยผู้วิจัยจะต้องแสดงความคิดเห็นเขิงวิพากษ์วิจารณ์ผลการวิจัย  การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบถี่ถ้วนจะช่วยให้ผู้วิจัยมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการแสดงความเห็นได้อย่างสมเหตุสมผลและมีความหนักแน่นน่าเชื่อถือ
6.     ช่วยสร้างคุณภาพและมาตรฐานเชิงวิชาการให้แก่งานวิจัยนั้น  การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยนั้นจะต้องประมวลมาเป็นรายงานสรุปใส่ไว้ในรายงานการวิจัย หรือเค้าโครงร่างของการวิจัย(Research proposal)ด้วย  การไปทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องมาอย่างกว้างขวางครอบคลุมในเรื่องที่ศึกษาและนำมาเรียบเรียงเอาไว้อย่างดี จะทำให้รายงานหรือโครงร่างการวิจัยนั้นมีคุณภาพและได้มาตรฐาน  เป็นการแสดงถึงศักยภาพของนักวิจัยได้ทางหนึ่งว่ามีความสามารถเพียงพอที่จะทำวิจัยในเรื่องนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ  ในการพิจารณาโครงร่างการวิจัยส่วนหนึ่งที่กรรมการมักจะพิจารณาเป็นพิเศษก็คือ รายงานการประมวลเอกสารที่เกี่ยวข้องนี่เอง