วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม (Existentialism)



ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม (Existentialism)

ปรัชญานี้เกิดขึ้นเนื่องจากความรู้สึกที่ว่ามนุษย์กำลังสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง การศึกษาที่มีอยู่ก็มีส่วนทำลายความเป็นมนุษย์ เพราะสอนให้ผู้เรียนอยู่ในกรอบของสังคมที่จำกัดเสรีภาพความเป็นตัวของตัวเองให้ลดน้อยลง นอกจากนี้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังมีส่วนในการทำลายความเป็มนุษย์ เพราะต้องพึ่งพามันมากเกินไปนั่นเองผู้ให้กำเนิดแนวความคิดใหม่ทางปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม ได้แก่ ซอเร็นคีร์เคอร์การ์ด (Soren Kierkegard) นักปรัชญาชาวเดนมาร์ค เขาได้เสนอความคิดว่า ปรัชญาเป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคน ดังนั้นทุกคนจึงควรสร้างปรัชญาของตนเองจากประสบการณ์  ไม่มีความจริงนิรันดร์ให้ยึดเหนี่ยวเป็นสรณะตัวตาย ความจริงที่แท้คือสภาพของมนุษย์ (Human condition)(กีรติ บุญเจือ 2522: 14 ) แนวคิดของ คีร์เคอร์การ์ด มีผู้สนับสนุนอีกหลายคน ซึ่งเป็นคนร่วมสมัยในช่วงปี .. 1950 – 1965 แต่ความพยายามที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาก็เป็นเวลาราว10 ปีต่อมาและผู้ริเริ่มนำมาใช้ทดลองในโรงเรียน คือ เอ เอส นีลล์ (A.S. Neil) โดยทดลองในโรงเรียนสาธิตและโรงเรียนซัมเมอร์ฮิลล์ (Summer hill) ในประเทศอังกฤษ

1 แนวความคิดพื้นฐาน ปรัชญานี้มีความสนใจและความเชื่อในเรื่องเกี่ยวกับการมีชีวิตอยู่จริงของมนุษย์ มนุษย์จะต้องเข้าใจและรู้จักตนเอง มนุษย์ทุกคนมีความสำคัญและมีลักษณะเด่นเฉพาะตนเอง ทุกคนมีเสรีภาพที่จะเลือกตัดสินใจในการกระทำสิ่งใดๆ  แต่จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น ปรัชญาอัตถิภาวนิยมนี้ยกย่องมนุษย์เหนือสิ่งอื่นใด ส่งเสริมให้มนุษย์มีความเป็นตัวของตัวเองแต่ก็ต้องไม่มองข้ามเสรีภาพของอื่น หมายถึงจะต้องเป็นผู้ใช้เสรีภาพบนความรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดแระโยชน์ต่อส่วนรวม

2 แนวความคิดทางการศึกษา คำว่า อัตถิภาวะ ตามสารานุกรมปรัชญาอธิบายว่า มาจากคำว่าอัตถิ = เป็นอยู่ + ภาวะ = สภาพ (กีรติ บุญเจือ 2521 : 280) เมื่อรวมกันแล้วแปลว่า สภาพที่เป็นอยู่ (Existence) ดังนั้นการศึกษาตามปรัชญาอัตถิภาวนิยมจึงส่งเสริมให้มนุษย์แต่ละคนรู้จักพิจารณาตัดสินสภาพและเจตจำนงที่มีความหมายต่อการดำรงชีวิต การศึกษาจะต้องให้อิสระแก่ผู้เรียนที่จะเลือกสรรสิ่งต่างๆได้อย่างเสรี มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

3 จุดมุ่งหมายของการศึกษา
การศึกษาจะต้องทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตนเอง ว่ามีความต้องการอย่างไร แล้วพัฒนาตนเองไปตามความต้องการอย่างอิสระ เพื่อจะได้พัฒนาความเป็นมนุษย์ของตนเองได้อย่างเต็มที่ด้วยการเลือกเรียนได้ตามความพอใจ และมีความรับผิดชอบในสิ่งที่เลือก นอกจากนี้ยังมุ่งให้ผู้เรียนเป็นผู้มีวินัยในตนเอง (Self discipline)

4 องค์ประกอบของการศึกษา

1) หลักสูตร ไม่กำหนดตายตัว แต่ต้องเป็นหลักสูตรที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเองได้ดีขึ้น เนื้อหาของหลักสูตรจะเน้นทางสาขามนุษยศาสตร์ (Humanities) เช่น ศิลปะ ปรัชญาวรรณคดี ประวัติศาสตร์ การเขียน การละคร จิตรกรรม ศิลปะประดิษฐ์ นักปรัชญาเชื่อว่างวิชาเหล่านี้จะฝึกฝนผู้เรียนทางด้านสุนทรียศาสตร์ อารมณ์ และศีลธรรม จริยธรรมอันดีงาม วิชาต่าง ๆไม่ได้จัดให้เรียนตายตัว แต่จะให้ผู้เรียนเลือกได้ตามความพอใจ และความเหมาะสมเพื่อผู้เรียนจะได้พัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง

2) ครู มีบทบาทคล้ายกับปรัชญาพิพัฒนาการนิยม ทำหน้าที่คอยกระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนตื่นตัว ให้เข้าใจตนเอง สามารถใช้ความถนัดและความสามารถเฉพาะตัวออกมาให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุด ครูจะให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนมาก ให้เสรีภาพ และเคารพในศักดิ์ศรีของผู้เรียน ให้ผู้เรียนรู้จักรับผิดชอบในการกระทำของตนเอง และครูจะต้องเป็นผู้รู้จริงในเรื่องที่สอนซื่อสัตย์และจริงใจต่อผู้เรียน

3) ผู้เรียน ถือว่าผู้เรียนเป็นผู้ที่สำคัญที่สุดในกระบวนการศึกษาและเชื่อว่าผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความคิด มีความสามารถในตนเองมีเสรีภาพอย่างแท้จริง เป็นผู้ทีเลือกแนวทางที่จะพัฒนาตนเองด้วยตนเอง เพราะเป้าหมายการศึกษามิใช่เนื้อความรู้ มิใช่เพื่อสังคม แต่เพื่อผู้เรียนที่จะรู้จักตนเอง เข้าใจตนเอง ด้วนเหตุนี้แนวทางจริยธรรม และการประพฤติปฏิบัติต่างๆเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่จะเลือกใช้วีธีทางใด แต่ทั้งนี้จะต้องมีวินัยในตนเอง และรับผิดชอบต่อการกระทำและผลที่เกิดขึ้น (Power 1982 : 145 อ้างถึงใน อรสา สุขเปรม 2541)

4)โรงเรียน ต้องสร้างบรรยากาศแห่งเสรีภาพทั้งในและนอกห้องเรียนและจัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้เรียนเกิดความพอใจที่จะเรียน สร้างคนให้เป็นตัวของตนเอง คือให้นักเรียนเลือกอย่างอิสระ ส่วนแนวทางในด้านจริยธรรม ทางโรงเรียนจะไม่กำหนดตายตัวแต่จะให้ผู้เรียนได้เลือกแนวทางของผู้เรียน

5) กระบวนการเรียนการสอน เน้นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด ให้ผู้เรียนพบความเป็นจริงด้วยตัวเอง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรียนด้วยตนเองของเขาเอง การเรียนจะต้องเรียนรู้จากสิ่งภายในก่อน หมายถึงจะต้องให้ผู้เรียนรู้ว่าตนเองพอใจอะไรมีความต้องการอะไรอย่างแท้จริง แล้วเลือกเรียนในสิ่งที่พอใจหรือต้องการ กระบวนการเรียนการสอนจะเน้นการมีส่วนร่วม เป็นหลักสำคัญในการเรียนรู้   ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม เป็นปรัชญาที่ท้าทายแนวความคิดของคนรุ่นใหม่ และได้แพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ ในประเทศไทยได้มีการนำมาทดลองใช้เป็นครั้งแรกที่โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก จังหวัดกาญจนบุรี เป็นความพยายามที่จะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีอิสรเสรีภาพในเลือกเรียนวิชาต่างๆ ปัจจุบันโรงเรียนนี้ยังดำเนินการสอนอยู่ แต่ก็ปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสมและนับได้ว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง

สรุป

ปรัชญาพื้นฐาน เป็นปรัชญาที่เป็นรากฐานในการกำเนิดปรัชญาการศึกษา ดังนั้นการศึกษาพื้นฐานทำให้เรามีความเข้าใจที่มา แนวคิดในลักษณะปรัชญาได้ถ่องแท้มากขึ้น ไม่จิตนิยม ที่เน้นจิตเป็นสำคัญ เน้นความเชื่อในโลกแห่งวัตถุ    และการสัมผัส   ประสบการณ์นิยมที่เน้นโลกแห่งประสบการณ์เป็นหลักให้เรามุ่งทำงาน มากกว่าเรียนแต่ทฤษฎี       อัตถิภาวนิยม เห็นว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับความว่างเปล่าและให้ความสำคัญของมนุษย์มากปรัชญาการศึกษาทั้ง 5 ลัทธิดังกล่าว  แต่ละปรัชญาจะมีแนวทางในการนำไปสู่การปฏิบัตืที่แตกต่างกัน การนำไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษจะต้องพิจารณาว่าแนวทางใดจึงจะดีที่สุด ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการปกครอง ปรัชญาการศึกษาลัทธิหนึ่งอาจจะเหมาะกับประเทศหนึ่งเพราะเป็นประเทศเล็กๆ ประเทศหนึ่งซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ต้องใช้ลัทธิการศึกษาอีกลัทธิหนึ่ง ประเทศไทยก็ได้นำเอาปรัชญาการศึกษานั้นมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม





ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism)


ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism)


ในปี ..1930 ได้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในสหรัฐอเมริกา เกิดปัญหาการว่างงาน คนไม่รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เกิดช่องว่างระหว่างชนชั้นในสังคม จึงมีนักคิดกลุ่มหนึ่งพยายามจะแก่ปัญหาสังคมโดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสังคม   ผู้นำของกลุ่มนักคิดกลุ่มนี้ ได้แก่ จอรัจ เอส เค้าทส์ (George S.Counts) ซึ่งมีความเห็นด้วยกับหลักการประชาธิปไตย แต่ต้องเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และควรเห็นว่าโรงเรียนควรมีหน้าที่แก้ปัญหาเฉพาะอย่างของสังคมผู้ที่วางรากฐานและตั้งทฤษฎีปฏิรูปนิยม ได้แก่    ธีโอดอร์ บราเมลด์ (TheodoreBrameld)ในปีค..1950 โดยได้เสนอปรัชญาการศึกษาเพื่อปฏิรูปสังคมและได้ตีพิมพ์ลงในหนังสือหลายเล่ม ธีโอดอร์ บราเมลด์ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม

1 แนวความคิดพื้นฐาน ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมมีแนวความคิดที่พัฒนามาจากปรัชญาพิพัฒนาการนิยม หรือ ปฏิบัตินิยม ซึ่งมีความเชื่อว่า ความรู้ ความจริง เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ความรู้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ปรัชญาพิพัฒนาการนิยมเน้นความสำคัญของการพัฒนาผู้เรียน ส่วนปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมมีแนวความคิดว่า ผู้เรียนมิได้เรียนเพื่อมุ่งพัฒนาตนเองเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเรียนเพื่อนำความรู้ไปพัฒนาสังคมให้สังคมเป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริงคำว่า ปฏิรูป หรือ Reconstruct หมายถึง บูรณะ การสร้างขึ้นมาใหม่ หรือทำขึ้นใหม่ เน้นการสร้างสังคมใหม่ เพราะว่าสังคมขณะนั้นมีปัญหาต่าง มากมาย ทั้งปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และการเมือง การศึกษาจึงมีบทบาทในการเป็นเครื่องมือสร้างสังคมและวัฒนธรรมที่ดีงามขึ้นมาใหม่ เป็นสังคมในอุดมคติ ที่มีความเพียบพร้อม และจะต้องทำอย่างรีบด่วน

2 แนวคิดทางการศึกษา เนื่องจาการศึกษามีความสัมพันธ์กับสังคมอย่างแยกไม่ออก การศึกษาจึงควรนำสังคมไปสู่สภาพที่ดีที่สุด การศึกษาต้องทำให้ผู้เรียนเข้าใจและ มุ่งมั่นที่จะสร้างสังคมอุดมคติขึ้นมาให้เหมาะสมกับพื้นฐานทางวัฒนธรรมและภาวะทางเศรษฐกิจของโลกยุคใหม่ 

3. จุดมุ่งหมายของการศึกษา การศึกษาจะต้องมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์ระบบสังคมขึ้นมาใหม่จากพื้นฐานเดิมที่มีอยู่ และสังคมใหม่ที่สร้างขึ้นนั้นจะต้องอยู่บนรากฐานของประชาธิปไตย การศึกษาจะต้องส่งเสริมการพัฒนาสังคม ให้ผู้เรียนนำความรู้ไปพัฒนาสังคมโดยตรง

4. องค์ประกอบของการศึกษา
1) หลักสูตร เนื้อหาวิชาที่นำมาบรรจุไว้ในหลักสูตร จะเกี่ยวกับปัญหาและสภาพของสังคมเป็นส่วนใหญ่จะเน้นวิชาสังคมศึกษา เช่น กระบวนการทางสังคมการดำรงชีวิตในสังคม สภาพเศรษฐกิจและการเมือง วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ศิลปะในชีวิตประจำวัน สิ่งเหล่านี้จะทำให้มีความเข้าใจในกลไกของสังคม และสามารถหาแนวทางในการสร้างขึ้นมาสังคมใหม่

2) ครู    ทำหน้าที่รวบรวม สรุป วิเคราะห์ปัญหาของสังคมแล้วเสนอแนวทางให้ผู้เรียนแก้ปัญหาของสังคม ครูจะต้องให้ผู้เรียนทุกคนใส่วนร่วมในการคิดพิจารณาในการแก้ปัญหาต่างๆและเห็นความจำเป็นที่จะต้องสร้างสรรค์สังคมขึ้นมาใหม่ และเชื่อมั่นว่าจะกระทำได้โดยวิถีทางแห่งประชาธิปไตย

3) ผู้เรียน ปรัชญานี้เชื่อว่า ผู้เรียนคือผู้ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาสังคม และมรความยุติธรรมดังนั้น ผู้เรียนจะได้รับการปลูกฝังให้ตระหนักในปัญหาสังคมเรียนรู้วิธีการทำงานร่วมกันเพื่อการแก้ปัญหาสังคม ผู้เรียนจะได้รับการเรียนรู้เทคนิควิธีการต่างๆที่จะนำมาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาของสังคม แล้วให้ผู้เรียนหาข้อสรุปและตัดสินใจเลือก (Kneller 1971 : 36)

4) โรงเรียน ตามปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมโรงเรียนจะมีบทบาทต่อสังคมโดยตรง โดยมีส่วนในการรับรู้ปัญหาของสังคม ร่วมกันแก้ปัญหาของสังคม รวมทั้งสร้างสังคมใหม่ที่เหมาะสม ดีงาม โรงเรียนจะต้องใฝ่หาว่า อนาคตของสังคมจะเป็นเช่นไร แล้วนำทางให้ผู้เรียนไปพบกับสังคมใหม่ โดยให้การศึกษาแก่ผู้เรียนเพื่อพร้อมที่จะวางแผนให้กับสังคมใหม่และโรงเรียนจะต้องมีบรรยากาศในการเป็นประชาธิปไตย ยอมรับฟังความคิดเห็นของคน ส่วนใหญ่ ละเปิดโอกาสให้คนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการคิด วงแผน และดำเนินการเป้าหมายของ โรงเรียน คือ โรงเรียนชุมชน (Community school)

5) กระบวนการเรียนการสอน มีลักษณะคล้ายกับปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม คือ ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง และลงมือกระทำเอง สามารถมองเห็นปัญหาและเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ด้วนตนเอง โดยใช้วิธีการต่างๆ หลายวิธี เช่นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) วิธีการโครงสร้าง (Project method) และวิธีการแก้ปัญหา (Problem solving)เป็นเครื่องมือ