กฎหมายความมั่นคงจีน เดิมพันครั้งใหญ่ของสีจิ้นผิง และการเปลี่ยนฮ่องกงเป็น Ground Zero ในสงครามเย็นใหม่29.05.2020
HIGHLIGHTS
- 😆การผลักดันกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติของจีนกลายเป็นชนวนความขัดแย้งใหม่ระหว่างสหรัฐฯ และจีน และจุดกระแสลุกฮือในฮ่องกงขึ้นมาอีกครั้ง เพราะคนฮ่องกงและสหรัฐฯ มองว่ากฎหมายใหม่อาจทำลายระบบยุติธรรมและจำกัดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของพลเรือน อีกทั้งอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกำจัดศัตรูทางการเมืองและผู้เห็นต่างในฮ่องกง
- 😄นักวิชาการไทยมองว่าฮ่องกงได้กลายเป็นสมรภูมิการปะทะกันของวิสัยทัศน์ทางการเมืองสองขั้ว ซึ่งถ้าโลกตะวันตกยอมล่าถอยก็เท่ากับว่าระเบียบโลกแบบประชาธิปไตยที่เป็นฐานกำลังหลักของสหรัฐฯ หรือยุโรปก็จะพ่ายแพ้ต่อระเบียบโลกแบบอำนาจนิยมของจีน
- 😍อาจกล่าวได้ว่าเวลานี้เราเริ่มนับถอยหลังสู่จุดสิ้นสุดของฮ่องกงที่โลกรู้จัก และดูเหมือนว่าสีจิ้นผิงกำลังปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ที่มีต่อฮ่องกง โดยไม่ต้องการรักษาฮ่องกงในฐานะเขตกันชนกับโลกตะวันตกอีกต่อไป แต่ผู้นำจีนกำลังมองฮ่องกงเป็นสมรภูมิแนวหน้าในสงครามเย็นใหม่กับสหรัฐฯ ด้วยแรงขับจากการเมืองชาตินิยม
ในบทความที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ The Diplomat ไบรอัน ซี.เอช.ฟง นักรัฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญการเมืองการปกครองเชิงเปรียบเทียบ ได้เปรียบการเสนอกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติของจีนว่าเป็นการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ในดินแดนฮ่องกง ด้วยเหตุนี้ศูนย์กลางการเงินของโลกจึงกลายสภาพเป็น ‘กราวด์ซีโร่’ ทว่าไม่ใช่สมรภูมิที่เสียหายจากแรงระเบิดปรมาณูตามความหมายของมัน หากแต่เป็นสมรภูมิการปะทะกันอย่างดุเดือดระหว่างระเบียบโลกสองขั้ว ซึ่งในสายตาของเจ้าของบทความมองว่าหมากตานี้อาจไม่มีใครได้ประโยชน์ รวมถึงพรรคคอมมิวนิสต์จีนเองด้วย
ย้อนกลับไปเมื่อตอนที่สภานิติบัญญัติฮ่องกงนำเสนอกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนในปี 2019 เราได้พูดคุยกับ ผศ.ดร.จันจิรา สมบัติพูนศิริ นักวิชาการประจำสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ German Institute of Global and Area Studies ซึ่งครั้งนั้น ดร.จันจิรา วิเคราะห์สาเหตุการประท้วงที่รุนแรงว่าเป็นเพราะคนฮ่องกงไม่ต้องการให้กฎหมายดังกล่าวเข้ามาทำลายอัตลักษณ์ที่ชาวฮ่องกงหวงแหน ไม่ว่าจะเป็นหลักนิติธรรมและประชาธิปไตย ซึ่งเป็นคุณค่าที่ตะวันตกเชิดชู
การผลักดันกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติครั้งนี้ก็ไม่ต่างกัน หรืออาจร้ายแรงกว่านั้นมาก เพราะสำหรับชาวฮ่องกงจำนวนมากแล้วถือเป็นการทิ่มแทงที่หัวใจหรือจุดตายของกระบวนการยุติธรรมและอำนาจพิจารณาคดีของศาลที่แยกอิสระจากจีนมานานนับศตวรรษ และหลักนิติธรรมนั้นก็เป็นรากฐานสำคัญของความสำเร็จทางเศรษฐกิจ รวมถึงเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของฮ่องกง
เพราะหลังจากกฎหมายใหม่มีผลบังคับใช้หรือบรรจุลงในกฎหมายพื้นฐาน (Basic Law) ซึ่งเป็นธรรมนูญของฮ่องกงแล้วจะทำให้ชาวฮ่องกงอยู่ภายใต้การสอดส่องอย่างเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งในสายตาชาวฮ่องกงหัวก้าวหน้าแล้ว พวกเขากลัวว่าจะถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างสิ้นเชิง
กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติมีเนื้อหาอะไรบ้าง
แม้ยังไม่มีรายละเอียดออกมามากนัก แต่กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติที่สภาประชาชนจีน (NPC) เพิ่งผ่านความเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม มีสาระสำคัญคือการแบนกิจกรรมที่เข้าข่ายการปลุกระดม ก่อความไม่สงบ แบ่งแยกดินแดน บ่อนทำลาย หรือโค่นล้มรัฐบาลจีน พร้อมเปิดทางให้จีนสามารถเข้าไปตั้งหน่วยงานความมั่นคงในฮ่องกงเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อย
การผ่านกฎหมายครั้งนี้ไม่ได้ผ่านกระบวนการพิจารณาในสภานิติบัญญัติฮ่องกง ซึ่งยังมีนัยเท่ากับการโหวตไม่ไว้วางใจโมเดลการปกครองฮ่องกงทางอ้อมแบบเดิมด้วย ซึ่งในอนาคตคณะผู้นำรวมถึงผู้บริหารเขตปกครองพิเศษอาจได้รับคำสั่งโดยตรงจากรัฐบาลจีนมากขึ้น
THE STANDARD มีโอกาสพูดคุยกับ ดร.จันจิรา อีกครั้ง เพื่ออัปเดตสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงชวนวิเคราะห์ถึงกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ว่ามีนัยสำคัญต่อจีนและกระทบชาวฮ่องกงอย่างไร
ทำไมสีจิ้นผิงเลือกผลักดันกฎหมายในเวลานี้
ดร.จันจิรา มองว่าจีนมีระบบข้อมูลข่าวสารปิด และในช่วงเวลาที่โควิด-19 กำลังระบาดนี้ เจ้าหน้าที่รัฐทั้งในและต่างประเทศ เช่น นักการทูตในยุโรป ต่างช่วยกันโฆษณาชวนเชื่อผลงานของรัฐบาลในเรื่องการช่วยเหลือประเทศอื่นๆ เช่น การแจกจ่ายหน้ากากและอุปกรณ์การแพทย์ ซึ่งสิ่งนี้ทำให้ยุโรปหวาดระแวงจีน
การที่ผู้นำจีนเลือกผลักดันกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติในเวลานี้อาจเพราะเห็นว่าเป็นจังหวะที่ดี เนื่องจากโควิด-19 อาจทำให้คนออกมาประท้วงไม่มากเหมือนแต่ก่อน ขณะเดียวกันในภาวะวิกฤตแบบนี้ คนจีนในประเทศก็มักยึดโยงอยู่กับตัวผู้นำโดยให้ความไว้วางใจสูงมาก ไม่ว่าผู้นำจะทำอะไร กระแสไม่พอใจหรือวิพากษ์วิจารณ์ก็อาจไม่มากเท่าภาวะปกติ
ก็เหมือนกับรัฐบาลหลายประเทศ รัฐบาลจีนอาจเห็นว่าช่วงนี้เป็นโอกาสทอง แต่มันอาจไม่สอดคล้องกับกระแสโลกหรือกระแสแนวคิดในฮ่องกงเอง ดังนั้นจึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดการปะทะกันขึ้น
ในมุมมองของ ดร.จันจิรา จีนอยากทำให้ฮ่องกงเหมือนซินเจียง คือสามารถกำกับควบคุมอาณาบริเวณของจีนเอาไว้ได้ทั้งหมด สิ่งนี้เชื่อมโยงกับความทะเยอทะยานของรัฐบาลจีนที่จะก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจของโลก ซึ่งผูกติดอยู่กับความรู้สึกที่ว่าจีนต้องมีเอกภาพ มีบูรณภาพของดินแดน จีนคิดว่าการจะเป็นมหาอำนาจได้ต้องคุมคนของตัวเองให้อยู่
ทว่าฮ่องกงไม่ใช่ซินเจียง แต่ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางของโลก ดังนั้นที่นั่นจึงกลายเป็นสมรภูมิของการปะทะกัน ไม่ใช่แค่สหรัฐฯ กับจีนในฐานะประเทศมหาอำนาจเท่านั้น แต่ยังเป็นการปะทะกันของระเบียบโลกสองแกน
เพราะฮ่องกงเคยอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ จึงได้รับเอาวิธีคิดเรื่องประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมของอังกฤษมาใช้ เพราะฉะนั้นจึงเป็นรากตัวแทนของระเบียบโลกแบบประชาธิปไตยเสรีนิยม ส่วนจีนที่เข้ามาปกครองตั้งแต่ปี 1997 ก็เป็นตัวแทนของระเบียบโลกแบบอำนาจนิยมที่กำลังขึ้นมาท้าทายระเบียบเก่า
ฮ่องกงเป็นสมรภูมิในแง่ที่เป็นการปะทะกันของวิสัยทัศน์ทางการเมืองสองขั้ว ซึ่งถ้าโลกตะวันตกยอมล่าถอยก็เท่ากับว่าระเบียบโลกแบบประชาธิปไตยที่เป็นฐานกำลังหลักของสหรัฐฯ หรือยุโรปก็จะพ่ายแพ้ไปด้วย
ดังนั้นเดิมพันของสีจิ้นผิงครั้งนี้จึงใหญ่หลวง แต่สำหรับคนฮ่องกงจะเป็นเรื่องของชะตากรรมในการปกครองตนเองหรือเป็นเรื่องของความเป็นชาติ ซึ่งการรุกคืบของจีนผ่านกฎหมายความมั่นคงจะถือเป็นการทำลายความสามารถในการปกครองตนเองของฮ่องกง
สิ่งที่น่าจับตาคือฮ่องกงไม่ใช่ซินเจียง ที่ผ่านมาฮ่องกงไม่เคยเผชิญกับการถูกกดทับเช่นนี้มาก่อน ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดกระแสโต้กลับที่รุนแรง
แรงผลักดันจากเหตุประท้วงต่อต้านกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน ปี 2019
แต่เหตุผลหลักที่ทำให้จีนต้องเร่งผ่านกฎหมายความมั่นคงในที่ประชุมสภาประชาชนแห่งชาติในปีนี้ก็คือเหตุการณ์ประท้วงใหญ่ที่สร้างความโกลาหลและส่งแรงกระเพื่อมไปถึงกรุงปักกิ่ง จีนมองว่าเหตุการณ์นี้เป็นอันตรายต่ออธิปไตยและความมั่นคงอย่างร้ายแรง
ดร.จันจิรา แยกเรื่องนี้ออกเป็น 3 ประเด็นหลักๆ ประเด็นแรก จีนมองว่าการประท้วงในปีที่แล้วมีความรุนแรงเข้ามาเกี่ยวข้องและควบคุมได้ยาก เนื่องจากเป็นการประท้วงแบบกระจาย โดยจลาจลที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่เป็นการตัดสินใจของคนแต่ละกลุ่ม ไม่มีหัวหรือแกนนำแบบการปฏิวัติร่มเมื่อปี 2014 ดังนั้นจึงควบคุมได้ยากยิ่งขึ้น
ประเด็นที่ 2 แรงจูงใจของการก่อจลาจลเป็นเรื่องของความเป็นชาติ เรื่องอัตลักษณ์ของคนฮ่องกง หรือความเป็นประชาธิปไตยของฮ่องกง เพราะฉะนั้นจึงเป็นปัญหาที่ใกล้หัวใจ ผู้ประท้วงพร้อมเสี่ยงชีวิต เราจะเห็นได้ว่าการประท้วงเมื่อปีที่แล้วยืดเยื้อยาวนาน และคนฮ่องกงก็สู้สุดใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่คุมได้ยาก ดังนั้นจีนจึงระมัดระวังตัวมากขึ้น และต้องหาทางป้องกัน
ประเด็นที่ 3 ซึ่ง ดร.จันจิรา มองว่าสำคัญมากคือการผ่านกฎหมายสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยฮ่องกง (Hong Kong Human Rights and Democracy Act) ในสภาคองเกรสสหรัฐฯ ซึ่งในสายตาจีนมองเป็นฝันร้ายที่เตือนความจำในอดีต อย่างที่กล่าวไปในตอนต้นว่าความทะเยอทะยานของจีนเชื่อมโยงอยู่กับความคิดที่ว่าต้องปกป้องอาณาบริเวณของตัวเอง และความรู้สึกที่ต้องปกป้องดินแดนนี้ก็มีรากเหง้ามาจากอดีตที่จีนเคยสูญเสียแผ่นดินเหล่านี้มาก่อน
เมื่อย้อนดูประวัติศาสตร์ จีนมีช่วงเวลาที่เรียกว่าศตวรรษหรือ 100 ปีแห่งความอัปยศอดสูที่จีนเสียพื้นที่ต่างๆ ให้โลกตะวันตก ซึ่งมันได้ก่อร่างความเป็นชาตินิยมจีนในปัจจุบัน ซึ่งชาตินิยมจีนนี้ก็ไปมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศของจีนด้วย
ดร.จันจิรา เตือนว่าสิ่งที่จีนกำลังทำคือ ‘อันตราย’ ซึ่งอาจเลวร้ายถึงขั้นทำให้ฮ่องกงเป็นพื้นที่ที่ปกครองไม่ได้ เพราะเราได้เห็นรูปแบบที่ขบวนการประท้วงเริ่มต้นมาจากการไม่ใช้ความรุนแรง ก่อนจะกลายเป็นจลาจล จากนั้นสิ่งที่รัฐบาลจีนทำก็คือเอาน้ำมันไปราดกองไฟ ตอนนี้มันจึงลุกลามมากขึ้น กรณีเลวร้ายที่อาจเกิดขึ้นหลังจากนี้ก็คือการก่อตัวของขบวนการติดอาวุธใต้ดินในฮ่องกง
ปัญหาการตีความที่กว้างในกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่
นักวิเคราะห์ในต่างประเทศตั้งข้อสังเกตว่ากฎหมายความมั่นคงแห่งชาติที่จีนผลักดันมีเนื้อหาที่ห้ามการทำกิจกรรมที่เข้าข่ายก่อกบฏ ปลุกปั่น ปลุกระดม หรือบ่อนทำลายชาติและอธิปไตย ซึ่งทำให้เกิดความกังวลว่าจีนกำลังสร้างเครื่องมือที่ชอบธรรมในการปราบปรามศัตรูทางการเมืองหรือผู้เห็นต่าง และจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนมากขึ้น
ดร.จันจิรา ได้ยกตัวอย่างกฎหมายมาตรา 116 ของไทยว่าเป็นกฎหมายที่คล้ายคลึงกัน หลายประเทศใช้กฎหมายป้องกันการก่อกบฏเป็นอาวุธทางการเมือง และที่สำคัญคือคนจำนวนมากไม่ไว้ใจระบบยุติธรรมของจีน หลายคนกังวลว่าถ้าเราเป็นแค่คนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลจีน แต่เราก็อาจถูกกล่าวหาว่าก่อกบฏ ซึ่งโทษมันร้ายแรงมาก เพราะมันไม่ใช่กฎหมายอาญาปกติ แต่เป็นกฎหมายความมั่นคง เราได้เห็นการใช้กฎหมายความมั่นคงในหลายประเทศมาเป็นเวลายาวนาน ซึ่งมันส่งผลต่อการสร้างความหวาดกลัวและการเซนเซอร์ความเห็นของคน
ดร.จันจิรา ชี้ให้เห็นถึงอันตรายของกฎหมายนี้ เนื่องจากมันใช้ภาษาความมั่นคง จึงทำให้คนที่เห็นต่างกลายเป็นภัยคุกคามความมั่นคง ซึ่งอันที่จริงสองสิ่งนี้แตกต่างกัน เพราะคนเห็นต่างอาจจะไม่จำเป็นต้องทำลายรัฐเสมอไป พอคุณเอาเขาไปอยู่ในหมวดหมู่ภัยคุกคามความมั่นคง เท่ากับบ่งบอกว่าพวกเขาเป็นผู้ก่อการร้าย เป็นการผลักให้คนที่อยากหาทางออกจากความขัดแย้งด้วยสันติวิธีไปเป็นผู้ก่อการร้าย ซึ่งทำให้ความขัดแย้งไม่มีวันยุติ
โอกาสที่จีนจะใช้กำลังทหารกับผู้ประท้วง เมื่อมองเป็นการปลุกระดมที่ผิดกฎหมาย
ในประเด็นนี้ ดร.จันจิรา มองว่าจีนเองก็เรียนรู้บทเรียนในอดีตจากเหตุการณ์เทียนอันเหมินในปี 1989 ดังนั้นการใช้กำลังทหารกับผู้ประท้วงโดยตรงอาจไม่เกิดขึ้น สิ่งที่จีนจะทำก็คือการใช้เทคโนโลยีควบคุมและสอดส่องตรวจตราแบบเดียวกับที่ทำกับชาวมุสลิมอุยกูร์ในเขตปกครองตนเองซินเจียง
สิ่งที่จะเกิดขึ้นจากกฎหมายความมั่นคงฉบับนี้คือการสร้างสายลับหรือสำนักงานข่าวกรองขึ้นมา ทำให้การใช้ชีวิตของผู้ที่เห็นต่างยากลำบากมากขึ้น เราได้เห็นตัวอย่างมากมายจากระบบโซเชียลเครดิต การตัดแต้ม การควบคุมพฤติกรรมของคน กล่าวคือผู้คนจะถูกเก็บข้อมูลทุกย่างก้าว แค่การเติมน้ำมัน รัฐบาลก็จะรู้ข้อมูลว่าคุณซื้อน้ำมันเกินถังรถหรือเปล่า จะเอาน้ำมันไปใช้ก่อการร้ายหรือไม่ ดังนั้นความตึงเครียดก็จะเพิ่มขึ้น
ด้วยความที่ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางทางการเงินของโลก และอยู่ในเรดาร์การจับตาของผู้คนทั่วโลก ดร.จันจิรา จึงคิดว่าจีนคงไม่อยากให้ไปถึงจุดที่ต้องใช้กำลังทหาร เพราะสหรัฐฯ ก็ยังไม่ถอยฉากออกไปจากเอเชีย ไม่ว่า โดนัลด์ ทรัมป์ จะชนะการเลือกตั้งได้เป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 2 หรือไม่ หรือเป็นแคนดิเดตจากเดโมแครตขึ้นมาเป็นผู้นำทำเนียบขาว ท่าทีหรือนโยบายที่มีต่อจีนก็ไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงไปมากนัก เพราะฉะนั้นจีนคงจะระมัดระวังมากขึ้น และจะใช้กฎหมายในการปราบปรามมากกว่า
การที่ไม่มีฝ่ายใดยอมถอยจึงทำให้การประท้วงมีแนวโน้มยืดเยื้อและอาจไม่แผ่วไปง่ายๆ เพราะจากการที่ ดร.จันจิรา ได้มีโอกาสสัมผัสและพูดคุยกับคนฮ่องกงจำนวนหนึ่ง พบว่าพวกเขามีความเชื่อในสิ่งที่ทำและไม่ย่อท้อ พวกเขาเชื่อว่าประชาธิปไตยคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในฮ่องกง และจีนกำลังรุกรานอำนาจในการปกครองตนเองของฮ่องกง ดังนั้นจึงยังมองไม่เห็นทางลงจากความขัดแย้งนี้ในขณะนี้
หากมองในมุมการดำเนินนโยบายของจีนนั้น ดร.จันจิรา เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างและชี้จุดอ่อนของจีนว่า ตอนที่สหรัฐฯ ขึ้นเป็นมหาอำนาจใหม่ๆ สิ่งที่สหรัฐฯ ทำคือการใช้ทั้งกำลังและบารมี โดยสร้างวิธีคิดให้คนรู้สึกว่าสหรัฐฯ มีความชอบธรรม ซึ่งในการศึกษาการเมืองระหว่างประเทศถือเป็นเรื่องสำคัญมาก หากคุณไม่สร้างอุดมการณ์ที่ทำให้คนเห็นด้วยกับวิธีคิดของคุณ อำนาจของคุณก็จะไม่มีความชอบธรรม ส่วนจีนไม่ได้เดินหมากที่ทำให้คนเห็นภาพลักษณ์ที่ดีเกี่ยวกับจีนมากนัก แม้ตอนนี้โลกอาจแบ่งเป็นสองขั้วอย่างที่ใครหลายคนเชื่อ แต่หากจีนใช้การเมืองภายในไปกำหนดนโยบายต่างประเทศมากเท่าใด มันจะยิ่งทำให้คนไม่เห็นด้วยและต่อต้านจีนมากขึ้นเท่านั้น
สงครามเย็นใหม่ เปลี่ยนฮ่องกงจาก ‘กันชน’ เป็นสมรภูมิ ‘แนวหน้า’
ผู้เชี่ยวชาญทั้งไทยและเทศต่างเห็นตรงกันว่าเวลานี้เราอยู่ในยุคสงครามเย็นระหว่างสหรัฐฯ และจีนแล้ว ซึ่งมันเริ่มก่อตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากสงครามการค้าในปี 2019 ขณะที่สองประเทศมหาอำนาจกำลังแข่งขันกันอย่างไม่ลดราวาศอกในทุกมิติ ทั้งการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และการทหาร
ความบาดหมางที่สะสมมาหลายเรื่องได้ฉุดความสัมพันธ์ของทั้งคู่ตกต่ำลงสุดขีด โดยชนวนความขัดแย้งใหม่มาจากวิกฤตโควิด-19 ที่ต่างฝ่ายต่างกล่าวโทษซึ่งกันและกันว่ารับมือกับไวรัสล้มเหลว จนเป็นเหตุให้โรคระบาดลุกลามไปทั่วโลก
หวังอี้ รัฐมนตรีต่างประเทศของจีน เคยเตือนเมื่อไม่นานมานี้ว่าสหรัฐฯ ติด ‘ไวรัสการเมือง’ และกำลังนำความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติมาเป็นตัวประกัน ซึ่งท้ายที่สุดจะผลักสองประเทศไปสู่สงครามเย็นครั้งใหม่
หนึ่งในพื้นที่แนวหน้าของสงครามเย็นครั้งใหม่ก็คือฮ่องกง อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น การผลักดันกฎหมายประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนฮ่องกงในสภาคองเกรสเมื่อปีที่แล้วเท่ากับเป็นการลั่นกลองรบเปิดศึกกับจีนถึงหน้าประตูบ้าน ซึ่งปักกิ่งมองว่าสหรัฐฯ พยายามแทรกแซงกิจการภายในประเทศอย่างโจ่งแจ้ง ขณะที่กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติในฮ่องกงที่จีนเร่งผลักดันในเวลานี้ก็เป็นการแก้เกมเพื่อสกัดการแทรกแซงจากรัฐบาลต่างชาติ โดยเฉพาะสหรัฐฯ
ในบทความของ ไบรอัน ซี.เอช.ฟง วิเคราะห์ไว้ว่าเวลานี้เราเริ่มนับถอยหลังสู่จุดสิ้นสุดของฮ่องกงที่โลกรู้จัก และดูเหมือนว่าสีจิ้นผิงกำลังปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ที่มีต่อฮ่องกง โดยไม่ต้องการรักษาฮ่องกงในฐานะเขตกันชนกับโลกตะวันตกอีกต่อไป แต่ผู้นำจีนกำลังมองฮ่องกงเป็นสมรภูมิแนวหน้าในสงครามเย็นใหม่กับสหรัฐฯ ด้วยแรงขับจากการเมืองชาตินิยม
ดร.จันจิรา ยังเห็นด้วยว่าสถานการณ์ที่น่ากังวลที่สุดก็คือการโหมกระพือกระแสชาตินิยมจีนเข้าไปในความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในขอบเขตที่กว้างขึ้น เพราะประวัติศาสตร์บ่งบอกเราว่ากระแสชาตินิยมที่เปี่ยมด้วยความทะเยอทะยานอาจนำไปสู่การขยายอาณาบริเวณที่อ้างกรรมสิทธิ์อย่างแข็งกร้าวมากขึ้น ซึ่งหากระบอบของสีจิ้นผิงสามารถปกครองฮ่องกงโดยตรงและรอดพ้นจากกระแสตีกลับที่รวมถึงมาตรการคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ ได้สำเร็จ จะยิ่งทำให้รัฐบาลชาตินิยมจีนมีความฮึกเหิมมากขึ้น และเพิ่มความทะเยอทะยานในการแผ่ขยายขอบเขตอิทธิพลไปยังไต้หวันและทะเลจีนใต้ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น สงครามเย็นระหว่างสหรัฐฯ และจีนก็มีโอกาสกลายเป็นสงครามประจันหน้าทางทหารเต็มรูปแบบขึ้นก็เป็นได้
ถอดบทเรียนเยอรมนีช่วงสงครามโลก
ทำไมก้าวนี้ของสีจิ้นผิงอาจเป็นก้าวที่ผิดพลาด
ดร.จันจิรา เตือนว่าในประวัติศาสตร์เราได้เห็นความผิดพลาดของนาซีเยอรมนีในการใช้กระแสชาตินิยมนำนโยบายต่างประเทศ ซึ่งจีนก็มีโอกาสผิดพลาดซ้ำรอย และอาจถูกต่อต้านหรือนำไปสู่การก่อตัวของกระแสเกลียดชังจีน (Sinophobia) ทั่วโลก
ในแง่เศรษฐกิจ การผลักดันกฎหมายความมั่นคงยังนำมาซึ่งความเสี่ยงทางการเงินและเศรษฐกิจ เพราะนับตั้งแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นต้นมา ฮ่องกงมีบทบาทเป็นแหล่งดึงดูดเงินทุนจากต่างชาติที่สำคัญ และเวลานี้ก็อาจสำคัญกว่าที่เคย ในยามที่บริษัทของจีนตกเป็นเป้าถูกขับออกจากตลาดทุนสหรัฐฯ โดยบริษัทจำนวนมากถูกบีบให้หาแผนสำรองโดยจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงด้วย
ด้วยเหตุนี้การผ่านกฎหมายความมั่นคงจึงเปรียบเหมือนการทุบหม้อข้าวตัวเอง และเพิ่มแรงกดดันต่อเศรษฐกิจจีนที่เวลานี้กำลังชะลอตัวจากวิกฤตโรคระบาดทั่วโลก
แต่สำหรับภาคธุรกิจจากโลกตะวันตกแล้ว พวกเขาก็กำลังสูญเสียศูนย์กลางธุรกิจที่เป็นมิตรกับตะวันตกมากที่สุดในดินแดนของจีน โดยผลประโยชน์ของบริษัทเหล่านี้จะไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายจารีตประเพณีแบบอังกฤษอีกต่อไป ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทจากสหรัฐฯ ดำเนินงานในฮ่องกงราว 1,300 แห่ง และมีการลงทุนโดยตรงมูลค่า 8.25 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
เมื่อมองจากภาพรวม นักวิเคราะห์จึงมองว่าหมากของสีจิ้นผิงตานี้ไม่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายไหน เพราะอาจมีแต่เสียกับเสีย โดยสร้างแรงกระเพื่อมที่สั่นคลอนทั้งฮ่องกงและประชาคมโลก
เหตุผลที่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมจีนจึงตัดสินใจเลือกทางเดินที่มีแต่เสียกับเสียก็คือมันอาจเหมาะกับนโยบายชาตินิยมในยุคสีจิ้นผิง เพราะวิกฤตโควิด-19 ได้สร้างปัญหาท้าทายให้กับเศรษฐกิจและแรงกดดันในการรักษาเสถียรภาพภายในประเทศ เมื่อจีนเผชิญแรงกดดันทางการเมืองจากสหรัฐฯ และนานาชาติ ทำให้จีนสามารถปลุกกระแสชาตินิยมเพื่อเบนความสนใจจากปัญหาภายใน ซึ่งคนในชาติก็พร้อมหนุนหลังผู้นำเพื่อต่อสู้กับศัตรูต่างชาติ
แม้ฮ่องกงเป็นเกาะขนาดเล็ก แต่มีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์เกินกว่าที่จะละเลยได้ เพราะเป็นสมรภูมิการต่อสู้เพื่อรักษาระเบียบโลกเสรีนิยมแบบเก่าหรือแทนที่ด้วยระเบียบโลกอำนาจนิยมใหม่ ศึกครั้งนี้จึงใหญ่หลวงและเดิมพันสูง ซึ่งเราอาจได้เห็นเกมการเมืองที่ดุเดือดชนิดที่ไม่อาจละสายตาได้เลย
https://thestandard.co/xi-jinping-new-laws-on-trying-to-change-hongkong-into-ground-zero/
- 😆การผลักดันกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติของจีนกลายเป็นชนวนความขัดแย้งใหม่ระหว่างสหรัฐฯ และจีน และจุดกระแสลุกฮือในฮ่องกงขึ้นมาอีกครั้ง เพราะคนฮ่องกงและสหรัฐฯ มองว่ากฎหมายใหม่อาจทำลายระบบยุติธรรมและจำกัดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของพลเรือน อีกทั้งอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกำจัดศัตรูทางการเมืองและผู้เห็นต่างในฮ่องกง
- 😄นักวิชาการไทยมองว่าฮ่องกงได้กลายเป็นสมรภูมิการปะทะกันของวิสัยทัศน์ทางการเมืองสองขั้ว ซึ่งถ้าโลกตะวันตกยอมล่าถอยก็เท่ากับว่าระเบียบโลกแบบประชาธิปไตยที่เป็นฐานกำลังหลักของสหรัฐฯ หรือยุโรปก็จะพ่ายแพ้ต่อระเบียบโลกแบบอำนาจนิยมของจีน
- 😍อาจกล่าวได้ว่าเวลานี้เราเริ่มนับถอยหลังสู่จุดสิ้นสุดของฮ่องกงที่โลกรู้จัก และดูเหมือนว่าสีจิ้นผิงกำลังปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ที่มีต่อฮ่องกง โดยไม่ต้องการรักษาฮ่องกงในฐานะเขตกันชนกับโลกตะวันตกอีกต่อไป แต่ผู้นำจีนกำลังมองฮ่องกงเป็นสมรภูมิแนวหน้าในสงครามเย็นใหม่กับสหรัฐฯ ด้วยแรงขับจากการเมืองชาตินิยม
ในบทความที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ The Diplomat ไบรอัน ซี.เอช.ฟง นักรัฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญการเมืองการปกครองเชิงเปรียบเทียบ ได้เปรียบการเสนอกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติของจีนว่าเป็นการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ในดินแดนฮ่องกง ด้วยเหตุนี้ศูนย์กลางการเงินของโลกจึงกลายสภาพเป็น ‘กราวด์ซีโร่’ ทว่าไม่ใช่สมรภูมิที่เสียหายจากแรงระเบิดปรมาณูตามความหมายของมัน หากแต่เป็นสมรภูมิการปะทะกันอย่างดุเดือดระหว่างระเบียบโลกสองขั้ว ซึ่งในสายตาของเจ้าของบทความมองว่าหมากตานี้อาจไม่มีใครได้ประโยชน์ รวมถึงพรรคคอมมิวนิสต์จีนเองด้วย
ย้อนกลับไปเมื่อตอนที่สภานิติบัญญัติฮ่องกงนำเสนอกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนในปี 2019 เราได้พูดคุยกับ ผศ.ดร.จันจิรา สมบัติพูนศิริ นักวิชาการประจำสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ German Institute of Global and Area Studies ซึ่งครั้งนั้น ดร.จันจิรา วิเคราะห์สาเหตุการประท้วงที่รุนแรงว่าเป็นเพราะคนฮ่องกงไม่ต้องการให้กฎหมายดังกล่าวเข้ามาทำลายอัตลักษณ์ที่ชาวฮ่องกงหวงแหน ไม่ว่าจะเป็นหลักนิติธรรมและประชาธิปไตย ซึ่งเป็นคุณค่าที่ตะวันตกเชิดชู
การผลักดันกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติครั้งนี้ก็ไม่ต่างกัน หรืออาจร้ายแรงกว่านั้นมาก เพราะสำหรับชาวฮ่องกงจำนวนมากแล้วถือเป็นการทิ่มแทงที่หัวใจหรือจุดตายของกระบวนการยุติธรรมและอำนาจพิจารณาคดีของศาลที่แยกอิสระจากจีนมานานนับศตวรรษ และหลักนิติธรรมนั้นก็เป็นรากฐานสำคัญของความสำเร็จทางเศรษฐกิจ รวมถึงเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของฮ่องกง
เพราะหลังจากกฎหมายใหม่มีผลบังคับใช้หรือบรรจุลงในกฎหมายพื้นฐาน (Basic Law) ซึ่งเป็นธรรมนูญของฮ่องกงแล้วจะทำให้ชาวฮ่องกงอยู่ภายใต้การสอดส่องอย่างเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งในสายตาชาวฮ่องกงหัวก้าวหน้าแล้ว พวกเขากลัวว่าจะถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างสิ้นเชิง
กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติมีเนื้อหาอะไรบ้าง
แม้ยังไม่มีรายละเอียดออกมามากนัก แต่กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติที่สภาประชาชนจีน (NPC) เพิ่งผ่านความเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม มีสาระสำคัญคือการแบนกิจกรรมที่เข้าข่ายการปลุกระดม ก่อความไม่สงบ แบ่งแยกดินแดน บ่อนทำลาย หรือโค่นล้มรัฐบาลจีน พร้อมเปิดทางให้จีนสามารถเข้าไปตั้งหน่วยงานความมั่นคงในฮ่องกงเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อย
การผ่านกฎหมายครั้งนี้ไม่ได้ผ่านกระบวนการพิจารณาในสภานิติบัญญัติฮ่องกง ซึ่งยังมีนัยเท่ากับการโหวตไม่ไว้วางใจโมเดลการปกครองฮ่องกงทางอ้อมแบบเดิมด้วย ซึ่งในอนาคตคณะผู้นำรวมถึงผู้บริหารเขตปกครองพิเศษอาจได้รับคำสั่งโดยตรงจากรัฐบาลจีนมากขึ้น
THE STANDARD มีโอกาสพูดคุยกับ ดร.จันจิรา อีกครั้ง เพื่ออัปเดตสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงชวนวิเคราะห์ถึงกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ว่ามีนัยสำคัญต่อจีนและกระทบชาวฮ่องกงอย่างไร
ทำไมสีจิ้นผิงเลือกผลักดันกฎหมายในเวลานี้
ดร.จันจิรา มองว่าจีนมีระบบข้อมูลข่าวสารปิด และในช่วงเวลาที่โควิด-19 กำลังระบาดนี้ เจ้าหน้าที่รัฐทั้งในและต่างประเทศ เช่น นักการทูตในยุโรป ต่างช่วยกันโฆษณาชวนเชื่อผลงานของรัฐบาลในเรื่องการช่วยเหลือประเทศอื่นๆ เช่น การแจกจ่ายหน้ากากและอุปกรณ์การแพทย์ ซึ่งสิ่งนี้ทำให้ยุโรปหวาดระแวงจีน
การที่ผู้นำจีนเลือกผลักดันกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติในเวลานี้อาจเพราะเห็นว่าเป็นจังหวะที่ดี เนื่องจากโควิด-19 อาจทำให้คนออกมาประท้วงไม่มากเหมือนแต่ก่อน ขณะเดียวกันในภาวะวิกฤตแบบนี้ คนจีนในประเทศก็มักยึดโยงอยู่กับตัวผู้นำโดยให้ความไว้วางใจสูงมาก ไม่ว่าผู้นำจะทำอะไร กระแสไม่พอใจหรือวิพากษ์วิจารณ์ก็อาจไม่มากเท่าภาวะปกติ
ก็เหมือนกับรัฐบาลหลายประเทศ รัฐบาลจีนอาจเห็นว่าช่วงนี้เป็นโอกาสทอง แต่มันอาจไม่สอดคล้องกับกระแสโลกหรือกระแสแนวคิดในฮ่องกงเอง ดังนั้นจึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดการปะทะกันขึ้น
ในมุมมองของ ดร.จันจิรา จีนอยากทำให้ฮ่องกงเหมือนซินเจียง คือสามารถกำกับควบคุมอาณาบริเวณของจีนเอาไว้ได้ทั้งหมด สิ่งนี้เชื่อมโยงกับความทะเยอทะยานของรัฐบาลจีนที่จะก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจของโลก ซึ่งผูกติดอยู่กับความรู้สึกที่ว่าจีนต้องมีเอกภาพ มีบูรณภาพของดินแดน จีนคิดว่าการจะเป็นมหาอำนาจได้ต้องคุมคนของตัวเองให้อยู่
ทว่าฮ่องกงไม่ใช่ซินเจียง แต่ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางของโลก ดังนั้นที่นั่นจึงกลายเป็นสมรภูมิของการปะทะกัน ไม่ใช่แค่สหรัฐฯ กับจีนในฐานะประเทศมหาอำนาจเท่านั้น แต่ยังเป็นการปะทะกันของระเบียบโลกสองแกน
เพราะฮ่องกงเคยอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ จึงได้รับเอาวิธีคิดเรื่องประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมของอังกฤษมาใช้ เพราะฉะนั้นจึงเป็นรากตัวแทนของระเบียบโลกแบบประชาธิปไตยเสรีนิยม ส่วนจีนที่เข้ามาปกครองตั้งแต่ปี 1997 ก็เป็นตัวแทนของระเบียบโลกแบบอำนาจนิยมที่กำลังขึ้นมาท้าทายระเบียบเก่า
ฮ่องกงเป็นสมรภูมิในแง่ที่เป็นการปะทะกันของวิสัยทัศน์ทางการเมืองสองขั้ว ซึ่งถ้าโลกตะวันตกยอมล่าถอยก็เท่ากับว่าระเบียบโลกแบบประชาธิปไตยที่เป็นฐานกำลังหลักของสหรัฐฯ หรือยุโรปก็จะพ่ายแพ้ไปด้วย
ดังนั้นเดิมพันของสีจิ้นผิงครั้งนี้จึงใหญ่หลวง แต่สำหรับคนฮ่องกงจะเป็นเรื่องของชะตากรรมในการปกครองตนเองหรือเป็นเรื่องของความเป็นชาติ ซึ่งการรุกคืบของจีนผ่านกฎหมายความมั่นคงจะถือเป็นการทำลายความสามารถในการปกครองตนเองของฮ่องกง
สิ่งที่น่าจับตาคือฮ่องกงไม่ใช่ซินเจียง ที่ผ่านมาฮ่องกงไม่เคยเผชิญกับการถูกกดทับเช่นนี้มาก่อน ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดกระแสโต้กลับที่รุนแรง
แรงผลักดันจากเหตุประท้วงต่อต้านกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน ปี 2019
แต่เหตุผลหลักที่ทำให้จีนต้องเร่งผ่านกฎหมายความมั่นคงในที่ประชุมสภาประชาชนแห่งชาติในปีนี้ก็คือเหตุการณ์ประท้วงใหญ่ที่สร้างความโกลาหลและส่งแรงกระเพื่อมไปถึงกรุงปักกิ่ง จีนมองว่าเหตุการณ์นี้เป็นอันตรายต่ออธิปไตยและความมั่นคงอย่างร้ายแรง
ดร.จันจิรา แยกเรื่องนี้ออกเป็น 3 ประเด็นหลักๆ ประเด็นแรก จีนมองว่าการประท้วงในปีที่แล้วมีความรุนแรงเข้ามาเกี่ยวข้องและควบคุมได้ยาก เนื่องจากเป็นการประท้วงแบบกระจาย โดยจลาจลที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่เป็นการตัดสินใจของคนแต่ละกลุ่ม ไม่มีหัวหรือแกนนำแบบการปฏิวัติร่มเมื่อปี 2014 ดังนั้นจึงควบคุมได้ยากยิ่งขึ้น
ประเด็นที่ 2 แรงจูงใจของการก่อจลาจลเป็นเรื่องของความเป็นชาติ เรื่องอัตลักษณ์ของคนฮ่องกง หรือความเป็นประชาธิปไตยของฮ่องกง เพราะฉะนั้นจึงเป็นปัญหาที่ใกล้หัวใจ ผู้ประท้วงพร้อมเสี่ยงชีวิต เราจะเห็นได้ว่าการประท้วงเมื่อปีที่แล้วยืดเยื้อยาวนาน และคนฮ่องกงก็สู้สุดใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่คุมได้ยาก ดังนั้นจีนจึงระมัดระวังตัวมากขึ้น และต้องหาทางป้องกัน
ประเด็นที่ 3 ซึ่ง ดร.จันจิรา มองว่าสำคัญมากคือการผ่านกฎหมายสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยฮ่องกง (Hong Kong Human Rights and Democracy Act) ในสภาคองเกรสสหรัฐฯ ซึ่งในสายตาจีนมองเป็นฝันร้ายที่เตือนความจำในอดีต อย่างที่กล่าวไปในตอนต้นว่าความทะเยอทะยานของจีนเชื่อมโยงอยู่กับความคิดที่ว่าต้องปกป้องอาณาบริเวณของตัวเอง และความรู้สึกที่ต้องปกป้องดินแดนนี้ก็มีรากเหง้ามาจากอดีตที่จีนเคยสูญเสียแผ่นดินเหล่านี้มาก่อน
เมื่อย้อนดูประวัติศาสตร์ จีนมีช่วงเวลาที่เรียกว่าศตวรรษหรือ 100 ปีแห่งความอัปยศอดสูที่จีนเสียพื้นที่ต่างๆ ให้โลกตะวันตก ซึ่งมันได้ก่อร่างความเป็นชาตินิยมจีนในปัจจุบัน ซึ่งชาตินิยมจีนนี้ก็ไปมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศของจีนด้วย
ดร.จันจิรา เตือนว่าสิ่งที่จีนกำลังทำคือ ‘อันตราย’ ซึ่งอาจเลวร้ายถึงขั้นทำให้ฮ่องกงเป็นพื้นที่ที่ปกครองไม่ได้ เพราะเราได้เห็นรูปแบบที่ขบวนการประท้วงเริ่มต้นมาจากการไม่ใช้ความรุนแรง ก่อนจะกลายเป็นจลาจล จากนั้นสิ่งที่รัฐบาลจีนทำก็คือเอาน้ำมันไปราดกองไฟ ตอนนี้มันจึงลุกลามมากขึ้น กรณีเลวร้ายที่อาจเกิดขึ้นหลังจากนี้ก็คือการก่อตัวของขบวนการติดอาวุธใต้ดินในฮ่องกง
ปัญหาการตีความที่กว้างในกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่
นักวิเคราะห์ในต่างประเทศตั้งข้อสังเกตว่ากฎหมายความมั่นคงแห่งชาติที่จีนผลักดันมีเนื้อหาที่ห้ามการทำกิจกรรมที่เข้าข่ายก่อกบฏ ปลุกปั่น ปลุกระดม หรือบ่อนทำลายชาติและอธิปไตย ซึ่งทำให้เกิดความกังวลว่าจีนกำลังสร้างเครื่องมือที่ชอบธรรมในการปราบปรามศัตรูทางการเมืองหรือผู้เห็นต่าง และจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนมากขึ้น
ดร.จันจิรา ได้ยกตัวอย่างกฎหมายมาตรา 116 ของไทยว่าเป็นกฎหมายที่คล้ายคลึงกัน หลายประเทศใช้กฎหมายป้องกันการก่อกบฏเป็นอาวุธทางการเมือง และที่สำคัญคือคนจำนวนมากไม่ไว้ใจระบบยุติธรรมของจีน หลายคนกังวลว่าถ้าเราเป็นแค่คนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลจีน แต่เราก็อาจถูกกล่าวหาว่าก่อกบฏ ซึ่งโทษมันร้ายแรงมาก เพราะมันไม่ใช่กฎหมายอาญาปกติ แต่เป็นกฎหมายความมั่นคง เราได้เห็นการใช้กฎหมายความมั่นคงในหลายประเทศมาเป็นเวลายาวนาน ซึ่งมันส่งผลต่อการสร้างความหวาดกลัวและการเซนเซอร์ความเห็นของคน
ดร.จันจิรา ชี้ให้เห็นถึงอันตรายของกฎหมายนี้ เนื่องจากมันใช้ภาษาความมั่นคง จึงทำให้คนที่เห็นต่างกลายเป็นภัยคุกคามความมั่นคง ซึ่งอันที่จริงสองสิ่งนี้แตกต่างกัน เพราะคนเห็นต่างอาจจะไม่จำเป็นต้องทำลายรัฐเสมอไป พอคุณเอาเขาไปอยู่ในหมวดหมู่ภัยคุกคามความมั่นคง เท่ากับบ่งบอกว่าพวกเขาเป็นผู้ก่อการร้าย เป็นการผลักให้คนที่อยากหาทางออกจากความขัดแย้งด้วยสันติวิธีไปเป็นผู้ก่อการร้าย ซึ่งทำให้ความขัดแย้งไม่มีวันยุติ
โอกาสที่จีนจะใช้กำลังทหารกับผู้ประท้วง เมื่อมองเป็นการปลุกระดมที่ผิดกฎหมาย
ในประเด็นนี้ ดร.จันจิรา มองว่าจีนเองก็เรียนรู้บทเรียนในอดีตจากเหตุการณ์เทียนอันเหมินในปี 1989 ดังนั้นการใช้กำลังทหารกับผู้ประท้วงโดยตรงอาจไม่เกิดขึ้น สิ่งที่จีนจะทำก็คือการใช้เทคโนโลยีควบคุมและสอดส่องตรวจตราแบบเดียวกับที่ทำกับชาวมุสลิมอุยกูร์ในเขตปกครองตนเองซินเจียง
สิ่งที่จะเกิดขึ้นจากกฎหมายความมั่นคงฉบับนี้คือการสร้างสายลับหรือสำนักงานข่าวกรองขึ้นมา ทำให้การใช้ชีวิตของผู้ที่เห็นต่างยากลำบากมากขึ้น เราได้เห็นตัวอย่างมากมายจากระบบโซเชียลเครดิต การตัดแต้ม การควบคุมพฤติกรรมของคน กล่าวคือผู้คนจะถูกเก็บข้อมูลทุกย่างก้าว แค่การเติมน้ำมัน รัฐบาลก็จะรู้ข้อมูลว่าคุณซื้อน้ำมันเกินถังรถหรือเปล่า จะเอาน้ำมันไปใช้ก่อการร้ายหรือไม่ ดังนั้นความตึงเครียดก็จะเพิ่มขึ้น
ด้วยความที่ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางทางการเงินของโลก และอยู่ในเรดาร์การจับตาของผู้คนทั่วโลก ดร.จันจิรา จึงคิดว่าจีนคงไม่อยากให้ไปถึงจุดที่ต้องใช้กำลังทหาร เพราะสหรัฐฯ ก็ยังไม่ถอยฉากออกไปจากเอเชีย ไม่ว่า โดนัลด์ ทรัมป์ จะชนะการเลือกตั้งได้เป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 2 หรือไม่ หรือเป็นแคนดิเดตจากเดโมแครตขึ้นมาเป็นผู้นำทำเนียบขาว ท่าทีหรือนโยบายที่มีต่อจีนก็ไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงไปมากนัก เพราะฉะนั้นจีนคงจะระมัดระวังมากขึ้น และจะใช้กฎหมายในการปราบปรามมากกว่า
การที่ไม่มีฝ่ายใดยอมถอยจึงทำให้การประท้วงมีแนวโน้มยืดเยื้อและอาจไม่แผ่วไปง่ายๆ เพราะจากการที่ ดร.จันจิรา ได้มีโอกาสสัมผัสและพูดคุยกับคนฮ่องกงจำนวนหนึ่ง พบว่าพวกเขามีความเชื่อในสิ่งที่ทำและไม่ย่อท้อ พวกเขาเชื่อว่าประชาธิปไตยคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในฮ่องกง และจีนกำลังรุกรานอำนาจในการปกครองตนเองของฮ่องกง ดังนั้นจึงยังมองไม่เห็นทางลงจากความขัดแย้งนี้ในขณะนี้
หากมองในมุมการดำเนินนโยบายของจีนนั้น ดร.จันจิรา เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างและชี้จุดอ่อนของจีนว่า ตอนที่สหรัฐฯ ขึ้นเป็นมหาอำนาจใหม่ๆ สิ่งที่สหรัฐฯ ทำคือการใช้ทั้งกำลังและบารมี โดยสร้างวิธีคิดให้คนรู้สึกว่าสหรัฐฯ มีความชอบธรรม ซึ่งในการศึกษาการเมืองระหว่างประเทศถือเป็นเรื่องสำคัญมาก หากคุณไม่สร้างอุดมการณ์ที่ทำให้คนเห็นด้วยกับวิธีคิดของคุณ อำนาจของคุณก็จะไม่มีความชอบธรรม ส่วนจีนไม่ได้เดินหมากที่ทำให้คนเห็นภาพลักษณ์ที่ดีเกี่ยวกับจีนมากนัก แม้ตอนนี้โลกอาจแบ่งเป็นสองขั้วอย่างที่ใครหลายคนเชื่อ แต่หากจีนใช้การเมืองภายในไปกำหนดนโยบายต่างประเทศมากเท่าใด มันจะยิ่งทำให้คนไม่เห็นด้วยและต่อต้านจีนมากขึ้นเท่านั้น
สงครามเย็นใหม่ เปลี่ยนฮ่องกงจาก ‘กันชน’ เป็นสมรภูมิ ‘แนวหน้า’
ผู้เชี่ยวชาญทั้งไทยและเทศต่างเห็นตรงกันว่าเวลานี้เราอยู่ในยุคสงครามเย็นระหว่างสหรัฐฯ และจีนแล้ว ซึ่งมันเริ่มก่อตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากสงครามการค้าในปี 2019 ขณะที่สองประเทศมหาอำนาจกำลังแข่งขันกันอย่างไม่ลดราวาศอกในทุกมิติ ทั้งการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และการทหาร
ความบาดหมางที่สะสมมาหลายเรื่องได้ฉุดความสัมพันธ์ของทั้งคู่ตกต่ำลงสุดขีด โดยชนวนความขัดแย้งใหม่มาจากวิกฤตโควิด-19 ที่ต่างฝ่ายต่างกล่าวโทษซึ่งกันและกันว่ารับมือกับไวรัสล้มเหลว จนเป็นเหตุให้โรคระบาดลุกลามไปทั่วโลก
หวังอี้ รัฐมนตรีต่างประเทศของจีน เคยเตือนเมื่อไม่นานมานี้ว่าสหรัฐฯ ติด ‘ไวรัสการเมือง’ และกำลังนำความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติมาเป็นตัวประกัน ซึ่งท้ายที่สุดจะผลักสองประเทศไปสู่สงครามเย็นครั้งใหม่
หนึ่งในพื้นที่แนวหน้าของสงครามเย็นครั้งใหม่ก็คือฮ่องกง อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น การผลักดันกฎหมายประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนฮ่องกงในสภาคองเกรสเมื่อปีที่แล้วเท่ากับเป็นการลั่นกลองรบเปิดศึกกับจีนถึงหน้าประตูบ้าน ซึ่งปักกิ่งมองว่าสหรัฐฯ พยายามแทรกแซงกิจการภายในประเทศอย่างโจ่งแจ้ง ขณะที่กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติในฮ่องกงที่จีนเร่งผลักดันในเวลานี้ก็เป็นการแก้เกมเพื่อสกัดการแทรกแซงจากรัฐบาลต่างชาติ โดยเฉพาะสหรัฐฯ
ในบทความของ ไบรอัน ซี.เอช.ฟง วิเคราะห์ไว้ว่าเวลานี้เราเริ่มนับถอยหลังสู่จุดสิ้นสุดของฮ่องกงที่โลกรู้จัก และดูเหมือนว่าสีจิ้นผิงกำลังปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ที่มีต่อฮ่องกง โดยไม่ต้องการรักษาฮ่องกงในฐานะเขตกันชนกับโลกตะวันตกอีกต่อไป แต่ผู้นำจีนกำลังมองฮ่องกงเป็นสมรภูมิแนวหน้าในสงครามเย็นใหม่กับสหรัฐฯ ด้วยแรงขับจากการเมืองชาตินิยม
ดร.จันจิรา ยังเห็นด้วยว่าสถานการณ์ที่น่ากังวลที่สุดก็คือการโหมกระพือกระแสชาตินิยมจีนเข้าไปในความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในขอบเขตที่กว้างขึ้น เพราะประวัติศาสตร์บ่งบอกเราว่ากระแสชาตินิยมที่เปี่ยมด้วยความทะเยอทะยานอาจนำไปสู่การขยายอาณาบริเวณที่อ้างกรรมสิทธิ์อย่างแข็งกร้าวมากขึ้น ซึ่งหากระบอบของสีจิ้นผิงสามารถปกครองฮ่องกงโดยตรงและรอดพ้นจากกระแสตีกลับที่รวมถึงมาตรการคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ ได้สำเร็จ จะยิ่งทำให้รัฐบาลชาตินิยมจีนมีความฮึกเหิมมากขึ้น และเพิ่มความทะเยอทะยานในการแผ่ขยายขอบเขตอิทธิพลไปยังไต้หวันและทะเลจีนใต้ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น สงครามเย็นระหว่างสหรัฐฯ และจีนก็มีโอกาสกลายเป็นสงครามประจันหน้าทางทหารเต็มรูปแบบขึ้นก็เป็นได้
ถอดบทเรียนเยอรมนีช่วงสงครามโลก
ทำไมก้าวนี้ของสีจิ้นผิงอาจเป็นก้าวที่ผิดพลาด
ทำไมก้าวนี้ของสีจิ้นผิงอาจเป็นก้าวที่ผิดพลาด
ดร.จันจิรา เตือนว่าในประวัติศาสตร์เราได้เห็นความผิดพลาดของนาซีเยอรมนีในการใช้กระแสชาตินิยมนำนโยบายต่างประเทศ ซึ่งจีนก็มีโอกาสผิดพลาดซ้ำรอย และอาจถูกต่อต้านหรือนำไปสู่การก่อตัวของกระแสเกลียดชังจีน (Sinophobia) ทั่วโลก
ในแง่เศรษฐกิจ การผลักดันกฎหมายความมั่นคงยังนำมาซึ่งความเสี่ยงทางการเงินและเศรษฐกิจ เพราะนับตั้งแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นต้นมา ฮ่องกงมีบทบาทเป็นแหล่งดึงดูดเงินทุนจากต่างชาติที่สำคัญ และเวลานี้ก็อาจสำคัญกว่าที่เคย ในยามที่บริษัทของจีนตกเป็นเป้าถูกขับออกจากตลาดทุนสหรัฐฯ โดยบริษัทจำนวนมากถูกบีบให้หาแผนสำรองโดยจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงด้วย
ด้วยเหตุนี้การผ่านกฎหมายความมั่นคงจึงเปรียบเหมือนการทุบหม้อข้าวตัวเอง และเพิ่มแรงกดดันต่อเศรษฐกิจจีนที่เวลานี้กำลังชะลอตัวจากวิกฤตโรคระบาดทั่วโลก
แต่สำหรับภาคธุรกิจจากโลกตะวันตกแล้ว พวกเขาก็กำลังสูญเสียศูนย์กลางธุรกิจที่เป็นมิตรกับตะวันตกมากที่สุดในดินแดนของจีน โดยผลประโยชน์ของบริษัทเหล่านี้จะไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายจารีตประเพณีแบบอังกฤษอีกต่อไป ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทจากสหรัฐฯ ดำเนินงานในฮ่องกงราว 1,300 แห่ง และมีการลงทุนโดยตรงมูลค่า 8.25 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
เมื่อมองจากภาพรวม นักวิเคราะห์จึงมองว่าหมากของสีจิ้นผิงตานี้ไม่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายไหน เพราะอาจมีแต่เสียกับเสีย โดยสร้างแรงกระเพื่อมที่สั่นคลอนทั้งฮ่องกงและประชาคมโลก
เหตุผลที่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมจีนจึงตัดสินใจเลือกทางเดินที่มีแต่เสียกับเสียก็คือมันอาจเหมาะกับนโยบายชาตินิยมในยุคสีจิ้นผิง เพราะวิกฤตโควิด-19 ได้สร้างปัญหาท้าทายให้กับเศรษฐกิจและแรงกดดันในการรักษาเสถียรภาพภายในประเทศ เมื่อจีนเผชิญแรงกดดันทางการเมืองจากสหรัฐฯ และนานาชาติ ทำให้จีนสามารถปลุกกระแสชาตินิยมเพื่อเบนความสนใจจากปัญหาภายใน ซึ่งคนในชาติก็พร้อมหนุนหลังผู้นำเพื่อต่อสู้กับศัตรูต่างชาติ
แม้ฮ่องกงเป็นเกาะขนาดเล็ก แต่มีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์เกินกว่าที่จะละเลยได้ เพราะเป็นสมรภูมิการต่อสู้เพื่อรักษาระเบียบโลกเสรีนิยมแบบเก่าหรือแทนที่ด้วยระเบียบโลกอำนาจนิยมใหม่ ศึกครั้งนี้จึงใหญ่หลวงและเดิมพันสูง ซึ่งเราอาจได้เห็นเกมการเมืองที่ดุเดือดชนิดที่ไม่อาจละสายตาได้เลย
https://thestandard.co/xi-jinping-new-laws-on-trying-to-change-hongkong-into-ground-zero/
https://thestandard.co/xi-jinping-new-laws-on-trying-to-change-hongkong-into-ground-zero/