วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กลยุทธ์ในการเลือกวารสารนานาชาติเพื่อการตีพิมพ์


กลยุทธ์ในการเลือกวารสารนานาชาติเพื่อการตีพิมพ์

 ๑. กรอบแนวคิดในการเลือกวารสารนานาชาติเพื่อการตีพิมพ์

               ๑.๑ กลุ่มเป้าหมาย ถ้าเราคิดว่าเหมือนลูกค้า เราจะหาลูกค้าที่จะอ่านงานวารสารของเราได้อย่างเราฉะนั้นอันดับแรกจะมีวารสารอยู่ให้เลือกลงแบบไหน

                      ๑) วารสารที่เป็นเนื้อหาแบบกว้าง ๆ เช่น การศึกษา เขาไม่ได้เน้นว่า การศึกษาผู้ใหญ่
การศึกษาแบบไหน หรือ วิทยาศาสตร์ เป็นวิทยาศาสตร์แบบทั่วไป หรือวิทยาศาสตร์เฉพาะทาง เพราะฉะนั้นเราเลือกวารสารที่มี theme เนื้อหาแบบมุมกว้าง ๆ มีผู้อ่านเยอะ ผู้อ่านเยอะก็คือ ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องรู้ศัพท์เฉพาะก็ได้ ผมไม่ใช่นักศึกษาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้รู้ทางนี้ แต่ผมอย่างรู้ทางนี้ ถ้าต้องผู้อ่านแบบเยอะ ๆ ผมจะเน้นเนื้อหาแบบกว้าง ๆ ใครอ่านก็ได้และก็ ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ ฉะนั้น อย่างเราใช้ภาษาไทยเป็นภาษาพื้น ไม่จำเป็นว่าเราจะอ่านภาษาอังกฤษเข้าใจทุกประโยค ลักษณะที่เป็นอย่างนี้เราก็เลือกแบบตีพิมพ์ที่ไม่ได้เป็นฝรั่ง ไม่ได้เป็นเจ้าของภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์ที่ไหนก็อ่านได้ทั่วโลก แต่ถ้าเกิดว่าเราเลือกขายเฉพาะกลุ่มของเรา พวกนี้ต้องอ่านลึกในรายละเอียดต้นตอของงาน ใช้แล้วประยุกต์เป็นอย่างไร มีศัพท์เฉพาะเยอะ ๆ กลุ่มที่จะใช้ต้องเป็นกลุ่มเฉพาะที่มีความรู้ศาสตร์ทางนี้เป็นหลัก ซึ่งอาจจะเป็นคนกลุ่มน้อย แต่ถ้าเราเน้นเนื้อหากลาง ๆ กลุ่มนี้ก็จะมีคนอ่านมาก ซึ่งจะอยู่ในกลุ่มที่ ๑ นั่นเอง

                     ๒) เราจะดูว่าวารสารไหนที่ตรงกับสาขาเรามากที่สุด เช่น วารสารที่สมมติว่าเป็นทันตกรรม ผมต้องการตีพิมพ์ ซึ่งผมทำเรื่องฟันผุ แต่วารสารที่ต้องการลงนั้นเขาไม่ได้เน้นเรื่องฟันผุ เขาเน้นเรื่องจัดฟัน ตรงนี้เขาก็จะปฏิเสธเพราะไม่ตรงตามศาสตร์สาขาย่อย เหมือนเราที่เกี่ยวกับการศึกษา แต่เขาอาจจะเล่นในเรื่องการศึกษาพิเศษ เป็นต้น ตรงนี้เราต้องดู         scope เนื้อหาของเขาก่อนตรงกับสาขาที่เรากำลังจะส่งหรือไม่

                     ๓) อันดับต่อมาคือ ไปถามรุ่นพี่ที่เขาเคยตีพิมพ์ในศาสตร์นี้มาก่อน มามีรายชื่ออะไรแนะนำเราบ้างอันนี้ก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

                     ๔) ความจำเป็นเร่งด่วน อันนี้ต้องไปดูว่าเราถูกบีบด้วยกรอบเวลาหรือไม่ เช่น เราตีพิมพ์ภายใน ๖ เดือน หรือภายในกี่เดือน อันนี้ต้องไปดูว่าขั้นตอนที่เราส่งงานใช้เวลาเท่าไร่ในการพิจารณา สู่ขั้นตอน peer review หรือ ผ่าน peer review แล้ว ตอบรับใช้เวลาเท่า กว่าจะได้ตีพิมพ์ใช้เวลาเท่าไหร่

                    ๕) อีกอันหนึ่งก็คือ Issue per year คือปีหนึ่งออกกี่ฉบับ ดังนั้นถ้าปีหนึ่งมันออกฉบับเดียว คิวอาจจะยาวมากและมีคนส่งเยอะคู่แข่งก็จะเยอะ ลักษณะนี้ก็จะใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา แต่ถ้าเกิดมี issue per year ต่อปีมาก หลายครั้ง โอกาสที่จะได้ตีพิมพ์ก็มีมากเช่นกัน

                    ๖) การวางสินค้ามาขาย ถ้าเราทำอาหารอร่อย แต่ร้านเราอยู่ในมุมมืด คนซื้อก็จะซื้ออยู่ในแต่หมู่บ้านเรา อันนี้เราจะทำอย่างไรให้อาหารของเรานั้นได้ขายตาม seven ตรงนี้เราหมายความว่า Index ก็คือถ้าเราตีพิมพ์ในวารสารนี้ไม่ใช่ต้องซื้อหรืออาจเฉพาะคนอ่านที่รับเฉพาะวารสารนี้เท่านั้น บทความของเราต้องเข้าไป Index ในฐานข้อมูลอื่น ๆ มากกว่า ๑ ที่ นั่นหมายความว่า มันมีช่องทางในการจำหน่ายบทความนี้หลายช่องทาง ฉะนั้นแต่ละวารสารจะมีฐานข้อมูลของเขาว่าวารสารมี Index อยู่ในฐานข้อมูลไหนบ้าง อย่างเช่น Index อยู่ใน ProQuest ซึ่งเป็น Aggregated publication มันเป็น supermarket ลงทุนน้อยแต่ได้บทความวารสารหลายแหล่ง เหมือนกันกับ Medline/Scopus เพราะฉะนั้นวารสารที่มีตัวแทนจำหน่ายเยอะ ๆ ไม่จำเป็นต้องมาค้นที่ตัวเขาที่เดียว ค้นที่ไหนก็เจอวารสารของเขาก็จะสามารถเข้าถึงได้ง่าย วิธีการดูก็คือดูที่ about ในส่วนนี้วารสารแต่ละชนิดจะบอกว่าวารสารของเขานั้นมี Index อยู่ที่ใดบ้าง ซึ่งบางวารสารก็จะมีช่องทางวางจำหน่ายหลาย ๆ ร้าน ดังนั้นงานของเราจะมีช่องทางจำหน่ายได้มาก ถ้าไปที่ไหนก็จะเจองานของเรา นั่นคือความหมายของคำว่า Index

                     ๗) อีกอันหนึ่งเราจะดูว่าร้านนี้ดีหรือไม่ดี เราจะดูจาก ๑. ความถี่ที่จะนำไปใช้ในวงวิชาการคือดูว่าวารสารนั้นมี Impact หรือเปล่า ๒. วารสารนั้นมีการใช้ข้อมูลยาวนานอย่างต่อเนื่องไหม (Cited half life) หรือ การประเมินอายุเฉลี่ยของมันว่าถ้าวารสารไหนที่มีคนใช้ในฉบับเก่า ๆ คือ ไม่ล้าสมัย หรือ ใช้ข้อมูลย้อนหลังต่อเนื่อง ดังนั้นฐานข้อมูลส่วนใหญ่ ถ้าข้อมูลของเขาใช้เยอะเขาก็จะบอกค่า Impact ไว้ด้วย
                      ๘) ค่าธรรมเนียม เราต้องจ่ายเองหรือมีคนจ่ายให้เรา บางวารสารเก็บค่ารูปสี บางวารสาร อย่าง springer ไม่เก็บค่าภาพสี ให้ดูในเงื่อนไขของเขา อีกอันคือ open access หมายความว่า เราเป็นผู้เขียนแต่เราจ่ายเงินให้ผู้อ่านอ่านฟรี เพราะฉะนั้นต้องดูให้ดี กับอีกแบบหนึ่งก็คือวารสารแบบปิด หรือ subscription หมายความว่า ผู้อ่านต้องจ่ายเงินเข้าไปอ่าน ฉะนั้นการใช้แบบ open access มันดีตรงที่ว่าใคร ๆ ก็เข้าถึงบทความของเราได้ง่ายขึ้นโดยที่ไม่ต้องมาติดในเรื่องของการจ่ายเงินเพื่อดู fulltext

                      ๙) ค่าใช้จ่ายในเรื่องของการตรวจเรียกว่าการตรวจ plagiarism เดี๋ยวนี้บางยี่ห้อบังคับ คุณต้องไปตรวจมาก่อน หรือ รับมาแล้วต้องเสียเงินตรวจ บางยี่ห้อจะบอกไว้เลยว่ากี่เหรียญ

                      ๑๐) ส่วนถัดมาก็คือเรื่องของภาษา มันจะบอกไว้เลยว่าถ้าเจ้าของงานไม่ใช่เจ้าของภาษาอังกฤษ ถ้าตรวจงานจะต้องมีค่าใช้จ่าย ใครจ่าย เสียเงินหรือเปล่า ต้องตรวจสอบดูด้วย

 ๒. การเตรียมต้นฉบับ
                เราต้องดูว่าสาขาตรงหรือเปล่า
               ความยาว เช่น การจำกัดคำ ไม่เกินกี่คำ ฉะนั้นต้องไปดูว่าถ้าเราตัดคำเสร็จแล้วอยู่ในขอบวารสารหรือไม่ เพราะบางยี่ห้อต่ำกว่า 5,000 คำ เรียกว่า letter ถ้ามากกว่านั้นก็จะเรียกว่า บทความ ประมาณนี้
                โครงสร้าง บทคัดย่อ กี่คำ Keyword จะมีอย่างน้อยกี่คำ เราต้องคิดให้ดีว่า key word ตัวไหนที่จะทำให้เราขายได้ ฉะนั้นให้งานของเราเรียกเข้ามาง่าย ๆ อย่างน้อยหนึ่งคำต้องเจอแน่ ๆ
                รูปแบบ วารสารบางแห่งไม่ได้ใช้รูปแบบพื้นฐานเหมือนมหาวิทยาลัย เช่น APA บางวารสารบังคับใช้รูปแบบของเขาเอง ตรงนี้ก็ต้องดูให้ดี

๓. การจัดส่งต้นฉบับ (manuscript submission)
                ไฟล์ที่จะส่งเป็นไฟล์ประเภทใด ซึ่งแต่ละยี่ห้อจะไม่เหมือนกัน นามสกุลอะไร ไฟล์กับรูปภาพต้องแยกกันหรือเปล่า
สมมติว่าเราเอางานส่วนหนึ่งที่เราเคยประชุมทางวิชาการไปใช้ในบทความดังกล่าว อันนี้เราต้องเขียนบอกเขาด้วย (cover letter)
                ภาษาอังกฤษต้องตรวจสอบให้ดี ลองเอางานของเราให้คนอื่นอ่านบ้าง (proof reading)
                การอ้างอิงครบถ้วนไหม
                มหาวิทยาลัยเรามีตัวตรวจที่ชื่อว่า turnitin
                ห่วงเรื่องลิขสิทธิ์ เอารูปภาพหรือตารางเขามาใช้ต้องมีหนังสือขออนุญาตของเขาด้วย
                สามารถตามงาน

 ๔. เมื่อถูกปฏิเสธ
                อันดับแรกเตรียมชื่อสำรองไว้ห้าถึงสิบชื่อ แต่ห้ามส่งพร้อมกันทีเดียวสิบชื่อ เวลาเรามีรายชื่อสิบรายชื่อแล้วไม่ควรส่งไปพร้อมกัน เราจะดำเนินการส่งชื่อที่สอง ชื่อที่สามได้ จนกว่าเขาปฏิเสธชื่อนั้น (ชื่อแรก) ที่นี้เวลาเขาปฏิเสธเขาจะบอกเหตุผลว่าเพราะอะไร ส่วนไหนไม่ได้ตามเกณฑ์ให้เราแก้ไขใหม่ ปรับปรุงใหม่ และส่งไปในชื่อใหม่ เพราะฉะนั้นชื่อนี้ไม่ได้ ชื่อนั้นไม่ได้ หลาย ๆ ครั้ง จนกว่าเราจะได้รับการตีพิมพ์ เขียนไว้ สัก ๑๐ – ๒๐ ชื่อ ก็ว่าไป สำหรับเว็บที่ใช้ Impact factor ก็จะใช้เว็บ Journal citation report และ เว็บที่ใช้หาวารสารจาก Keyword ก็จะใช้ Web of science

๕. จริยธรรมในการทำวิจัย
                เกณฑ์ก็คือ ๑) duplicate ก็คือว่าต้นฉบับที่มีหลายชื่อตีพิมพ์พร้อมกน ถ้าเราส่งไปหลายอันพร้อมกันจะถูกปฏิเสธทั้งหมด ถือว่าเป็น duplicate ซ้ำซ้อน ๒) self-plagiarism หมายถึงว่าเอางานของตนเองไปส่งอีกครั้งหรือเอางานตนเองบางส่วน เช่น method, discussion มาใช้ใหม่ ๓) เป็น copy method เอา method ของเขามาใช้ เปลี่ยนตัวเลขใหม่ เปลี่ยนแค่ตัวเลข ชายเป็นหญิง เป็นต้น แต่ถ้าวิธีการที่เป็นทฤษฏี ที่ต้องใช้วิธีนี้ถึงจะได้ผลลัพธ์แบบนี้ ทางออกก็คือต้องใช้สำนวนของตนเอง เขียนใหม่ ใช้ภาษาของตนเอง อธิบายแนวคิดหรือทฤษฏี ๔) ไม่อ้างอิงแหล่งที่มาของทฤษฏีนั้น หรือ ยกคำพูดของเขามาเกินจำเป็น และ ๕) ข้อมูลที่เป็นเท็จ เช่น สร้างผลลัพธ์ก่อน หรือการทำ lab แห้ง
                คราวหน้าผมจะมาสรุปเรื่องการใช้เว็บ ในการหาค่า impact การดู half of life การดูว่าวารสารใดอยู่ใน ranking เท่าไรนะครับ... และก็การใช้ web of science ในการค้นหาแหล่งที่มาของวารสาร ขอเวลานิดหน่อยครับ... น่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยครับ....

ขอบคุณผู้เขียนค่ะ  :  มนตรี (๑/๐๗/๒๕๕๕)
แหล่งข้อมูล : https://goo.gl/u2lBs8