วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

ขั้นตอนการวิจัยแบบผสม และการวิจัยแบบบูรณาการ

มุมมองของเราเอง จาก e-learning หน้า Web Board
















ขั้นตอนการวิจัยแบบผสม และการวิจัยแบบบูรณาการ

สามารถแยกพิจารณาได้เป็นสองส่วน คือ ขั้นตอนการวิจัยในส่วนที่เหมือนกันของการวิจัยทั้งสองแบบ และขั้นตอนเฉพาะของแต่ละแบบ ดังนี้


1. ขั้นตอนการวิจัยในส่วนที่เหมือนกัน

ขั้นตอนการวิจัยที่ใช้ในการวิจัยแบบผสมกับที่ใช้ในการวิจัยแบบบูรณาการ ส่วนที่เหมือนกัน คือ การวิจัยทั้งสองแบบใช้กระบวนการหรือขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ ที่ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ

(1) ขั้นกำหนดปัญหาของการวิจัย
(2) ขั้นกำหนดสมมติฐานของการวิจัย
(3) ขั้นกำหนดวิธีการและเก็บรวบรวมข้อมูล
(4) ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
(5) ขั้นสรุปผลการวิจัย



2. ขั้นตอนการวิจัยที่เป็นลักษณะเฉพาะของการวิจัยแต่ละแบบ มีดังนี้

2.1 ขั้นตอนการวิจัยที่เป็นลักษณะของการวิจัยแบบผสม เป็นขั้นตอนที่เฉพาะเจาะจงหรือขั้นตอนเพิ่มเติม ที่อาจแทรกเสริมจาก 5 ขั้นตอนหลัก ได้แก่

1) ขั้นกำหนดปัญหาของการวิจัย ในการวิจัยแบบผสมนั้น เมื่อนักวิจัยมีความชัดเจนในเรื่องปัญหาวิจัยแล้ว นักวิจัยจะต้องพิจารณาว่าการวิจัยนั้นเหมาะสมที่จะใช้วิธีการผสมหรือไม่ ดังนั้นในขั้นตอนนี้จึงเป็นการพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะใช้วิธีการแบบผสม กล่าวคือ พิจารณาว่าปัญหานั้นเหมาะสมที่จะใช้วิธีการแบบผสมหรือไม่ นักวิจัยมีทักษะทั้งสองวิธีการเพียงพอหรือไม่ มีทรัพยากรเพียงพอหรือไม่ เป็นความต้องการของผู้ใช้งานวิจัยนั้นด้วยหรือไม่

2) ขั้นกำหนดสมมติฐานของการวิจัย นักวิจัยจะต้องกำหนดคำตอบหรือคาดคะเนผลของการวิจัย โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นการเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ด้วยวิธีเชิงปริมาณ อย่างไรก็ตามในส่วนที่เป็นเชิงคุณภาพหากมีหลักฐาน แนวโน้ม ที่ชัดเจน นักวิจัยก็อาจตั้งสมมติฐานได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการประมวลเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในการวิจัยแบบผสมอาจมีสมมติฐานที่ต้องตรวจสอบด้วยข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงวิจัยคุณภาพประกอบกันด้วยก็ได้

3) ขั้นกำหนดวิธีการและเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยจะต้องกำหนดแผนหรือขั้นตอนปฏิบัติการว่าเมื่อใดจะเก็บรวบรวมข้อมูลชนิดใด ใช้วิธีการอะไร (เชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพ) สิ่งที่ต้องมีความชัดเจนในขั้นนี้ก็คือ ในส่วนของวิธีเชิงปริมาณ นักวิจัยต้องกำหนดประชากร จำนวนและวิธีการเลือกตัวอย่าง นิยามปฏิบัติการของตัวแปร รวมถึงวิธีการรวบรวมข้อมูล ในส่วนของวิธีเชิงคุณภาพนักวิจัยต้องกำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เทคนิคหรือเครื่องมือที่ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูล วิธีการรวบรวมข้อมูล รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือและวิธีการรวบรวมข้อมูล เมื่อใดจะเก็บรวบรวมข้อมูลชนิดใด ใช้วิธีการอะไร (เชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพ) สิ่งที่ต้องมีความชัดเจนในขั้นนี้ก็คือ ในส่วนของวิธีเชิงปริมาณ นักวิจัยต้องกำหนดประชากร จำนวนและวิธีการเลือกตัวอย่าง นิยามปฏิบัติการของตัวแปร รวมถึงวิธีการรวบรวมข้อมูล ในส่วนของวิธีเชิงคุณภาพนักวิจัยต้องกำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เทคนิคหรือเครื่องมือที่ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูล วิธีการรวบรวมข้อมูล รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือและวิธีการรวบรวมข้อมูล

4) ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล นักวิจัยจะต้องคำนึงถึงการวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละชนิดที่รวบรวมได้ในแต่ละขั้นตอนของการวิจัย โดยอาจวิเคราะห์แบบแยก คือ เชิงปริมาณส่วนหนึ่ง เชิงคุณภาพส่วนหนึ่ง หรือวิเคราะห์แบบรวมกัน คือวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แล้วนำผลที่ได้บูรณาการหรือเสริมกัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับแบบการวิจัยที่ใช้ ขั้นตอนของการวิจัย โดยอาจวิเคราะห์แบบแยก คือ เชิงปริมาณส่วนหนึ่ง เชิงคุณภาพส่วนหนึ่ง หรือวิเคราะห์แบบรวมกัน คือวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แล้วนำผลที่ได้บูรณาการหรือเสริมกัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับแบบการวิจัยที่ใช้

5) ขั้นสรุปผลการวิจัย ในการวิจัยแบบผสมการสรุปผลการวิจัยอาจทำเป็นตอน ๆ (ถ้าการวิจัยแบ่งเป็นตอน เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ) หรือสรุปผลการวิจัยแบบผสมระหว่างผลที่พบจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพประกอบกัน



2.2 ขั้นตอนการวิจัยที่เป็นลักษณะที่เป็นลักษณะเฉพาะของการวิจัยแบบบูรณาการ

ขั้นตอนที่เฉพาะเจาะจงหรือขั้นตอนเพิ่มเติม พิจารณาแทรกเสริมจาก 5 ขั้นตอนหลักของการวิจัยแบบบูรณาการ ได้แก่

1) ขั้นกำหนดปัญหาของการวิจัย ในการวิจัยแบบบูรณาการต้องพิจารณาว่าปัญหานั้นเป็นปัญหาที่มีลักษณะบูรณาการของสาขาวิชาตั้งแต่สองสาขาวิชาขึ้นไปหรือไม่ ถ้าใช่มีสาขาวิชาอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง ปัญหาดังกล่าวอาจเรียกว่า ปัญหาหลักของการวิจัย จากปัญหาหลักนักวิจัยจะวิเคราะห์แยกเป็นปัญหารองของการวิจัย ซึ่งแต่ละปัญหารองอาจเป็นแบบบูรณาการปัญหาจากหลายสาขาวิชา หรือเป็นปัญหาของเฉพาะแต่ละสาขาวิชา

2) ขั้นกำหนดสมมติฐานของการวิจัย สมมติฐานของการวิจัยแบบบูรณาการจะกำหนดให้สอดคล้องกับปัญหาย่อยหรือวัตถุประสงค์ของการวิจัย กล่าวคือเป็นสมมติฐานแบบบูรณาการสาขาวิชาหรือเฉพาะสาขาวิชา สมมติฐานอาจมีจำนวนเท่ากันหรือมากกว่าจำนวนวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้

3) ขั้นกำหนดวิธีการและเก็บรวบรวมข้อมูล ในการเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยแบบบูรณาการ นักวิจัยต้องพิจารณาวิธีวิทยาของสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำมาใช้อย่างเหมาะสม นักวิจัยต้องประชุมปรึกษากันว่าจะผสมผสานระหว่างวิธีวิทยาหรือจะใช้แต่ละวิธีวิทยากับแต่ละปัญหาย่อยของการวิจัย

4) ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิจัยแบบบูรณาการนักวิจัยจะวางแผนที่สอดรับกับสมมติฐานและปัญหาย่อยของการวิจัย รวมทั้งข้อมูลที่รวบรวมได้ด้วย ในขั้นนี้ก็เช่นกันที่นักวิจัยจะต้องนำวิธีวิทยาในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการกับข้อมูลของแต่ละสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องมาใช้อย่างเหมาะสม

5) ขั้นสรุปผลการวิจัย ขั้นนี้นักวิจัยจะต้องนำผลการวิเคราะห์ข้อมูล และผลการวิจัยที่พบไปตรวจสอบกับปัญหาวิจัย โดยตรวจสอบปัญหาย่อย และบูรณาการคำตอบทั้งหมดเพื่อตอบปัญหาหลักของการวิจัย.