วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Teach Less Learn More ตอน 7 :การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก


(ภาพกระตุ้นให้คิด ขอบคุณผู้ post ใน facebook)


การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก 
(Problem–based Learning : PBL)


การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL) 

       ได้พัฒนามาจากความคิดของ John Dewey นักการศึกษาของอเมริกัน John Dewey ให้คาแนะนาว่านักศึกษาควรจะนาเสนอปัญหาในชีวิตจริงและช่วยในการค้นหาคาตอบโดยการค้นพบข้อมูลในการแก้ปัญหาของนักศึกษาเอง และเริ่มมีการใช้ใหม่อีกครั้งในปีค..1960 ในรูปแบบของการสอนแบบใฝ่รู้ในวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากผลงานของ Bruner และ Piaget วิธีการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นหลักเป็นการเรียนที่ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนใช้เทคนิคกระบวนการแก้ปัญหาแบบกลุ่มและการเรียนเป็นรายบุคคล และในปีค..1971Haward Barrow เป็นผู้นาการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักมาใช้กับนักศึกษาแพทย์เป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัย Mc Master ประเทศแคนาดา เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้รับความรู้แบบบูรณาการสามารถพัฒนาและประยุกต์ใช้ทักษะการแก้ปัญหาเกี่ยวกับผู้ป่วย

      สำหรับประเทศไทยได้มีการนาแนวคิดของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักมาใช้ครั้งแรกในหลักสูตรแพทยศาสตร์ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ..2531และมีการนำไปประยุกต์ใช้ในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ และพยาบาลศาสตร์ ของสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาอื่นๆ (อาภรณ์ แสงรัศมี, 2543 : 12) ทั้งนี้กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักยังสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..2542 หมวด 4 แนวการจัดการศึกษามาตรา 24 ที่กล่าวถึงกระบวนการเรียนรู้ โดยให้มีการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมที่ให้การฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติ ผสมผสานสาระความรู้ต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน




ความหมายของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก
          การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ดังรายละเอียดต่อไปนี้
เฉลิม วราวิทย์ (2531 อ้างใน อุดม รัตนอัมพรโสภณ, 2544 : 35) ให้ความหมายว่า การเรียนแบบการใช้ปัญหาเป็นหลัก เป็นวิธีการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้น ให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ปัญหา โดยเน้นให้   ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาและรู้จักการทางานร่วมกันเป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องน้อยที่สุด
ไพลิน นุกูลกิจ (2539 อ้างใน วิภาภรณ์ บุญทา, 2541 : 32) ให้ความหมายว่า การเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นหลัก เป็นวิธีการที่ใช้ปัญหา/สถานการณ์ เป็นจุดเริ่มต้นในการระบุความต้องการ (need) การเรียนรู้ ผลจากการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นหลัก จะมาจากกระบวนการทางานเป็นกลุ่ม ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในสถานการณ์และสามารถแก้ปัญหาได้
Barrow (1980) ให้ความหมายว่า การเรียนแบบการใช้ปัญหาเป็นหลักเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ใช้คาถามกระตุ้นให้นักเรียนได้คิด วิเคราะห์ แสววงหาและบูรณาการความรู้ใหม่ให้เหมาะกับสภาพจริง โดยไม่จาเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องนั้นมาก่อน
Allen and Duch (1998 อ้างใน อาภรณ์ แสงรัศมี, 2543 : 14) ให้ความหมายว่า การเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก คือ การเรียนที่เริ่มต้นด้วยปัญหาการสอบถาม หรือปริศนาที่ผู้เรียนต้องการแก้ปัญหา เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนระบุและค้นคว้ามโนทัศน์และหลักการที่พวกเขาต้องการรู้เพื่อความก้าวหน้าโดยผ่านปัญหา ผู้เรียนทางานเป็นทีม การเรียนเล็กๆ ซึ่งเป็นการเรียนที่ได้ทักษะต่างๆ เช่น การติดต่อสื่อสารและการบูรณาการความรู้ และเป็นกระบวนการที่คล้ายกับการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
Howard (1999 อ้างใน อาภรณ์ แสงรัศมี, 2543 : 14) ให้ความหมายว่า การเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก เป็นวิธีการทางการศึกษาที่นาเสนอผู้เรียนด้วยปัญหา ที่มีรูปแบบของโครงสร้างที่ซับซ้อนในระยะเริ่มแรกของประสบการณ์การเรียน ข้อมูลที่ได้ในระยะเริ่มแรกไม่เพียงพอให้แก้ปัญหา คาถามต่างๆ ที่เกี่ยวกับปัญหาจะผลักดันให้ไปทาการสืบเสาะหาความรู้
จากคำจำกัดความดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นหลัก คือ การใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ไขปัญหา ได้คิดเป็น ทำเป็น มีการตัดสินใจที่ดี และสามารถเรียนรู้การทำงานเป็นทีม โดยเน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และสามารถนำทักษะจากการเรียนมาช่วยแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก คือ วิธีการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาหรือสถานการณ์เป็นจุดเริ่มต้นของการแสวงหาความรู้ซึ่งเป็น การเรียนที่พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหา การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการทำงานร่วมกันเป็นทีม




ลักษณะเด่นของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก
1. ใช้ปัญหาแท้จริงเป็นตัวกระตุ้นการแก้ปัญหาและเป็นจุดเริ่มต้นในการแสวงหาความรู้
2. ยืดถือนักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
3. เน้นทักษะการคิด
4. เรียนโดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย
5. มีบูรณาการของเนื้อหาความรู้
6. การเรียนโดยการกากับตนเอง (Self – directed learning)

ทักษะการเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง
1. ประเมินตนเองและบ่งชี้ความต้องการได้
2. จัดระบบประเด็นการเรียนรู้ได้อย่างเที่ยงตรง
3. รู้จักเลือกและใช้แหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม
4. เลือกกิจกรรมการศึกษาที่ตรงประเด็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. บ่งชี้ข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องได้ และคัดทิ้งได้อย่างรวดเร็ว
6. ประยุกต์ใช้ความรู้ใหม่เชิงวิเคราะห์ได้
7. รู้จักขั้นตอนการประเมิน

แรกพบผู้เรียนในการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก
1. สร้างความเข้าใจการสอนแบบการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก
2. จัดกลุ่มย่อยตั้งชื่อกลุ่ม แนะนำเพื่อน
3. ระดมสมอง ตั้งกฎกติกาในการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
4. หมุนเวียนสับเปลี่ยนหน้าที่
5. ตั้งเกณฑ์การประเมิน
6. อธิบาย บทบาทหน้าที่ของนักเรียนและผู้สอน





แหล่งข้อมูล
www.afaps.ac.th/~edbsci/pdf/km/pys1_pbl001.pdf
http://www.youtube.com/watch?v=bvxK644taUM (ชมงานวิจัย ของ สกศ.)
http://www.youtube.com/watch?v=-5omNEmWicU (น่าสนใจมาก เหมาะกับยุคสมัยอาเซียน)