วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การเขียนบทคัดย่อวิชาการเขียนความเรียงขั้นสูง: กรณีศึกษาครูณัฏฐ์ชรินท์ ตลอดพงษ์






















มาเขียนบทคัดย่อ ในวิชาการเขียนความเรียงขั้นสูงกันเถอะ

คณะครูผู้สอนวิชาการเขียนความเรียงขั้นสูง ตามหลักสูตรมาตรฐานสากลนั้นมักจะถกเถียงกันเรื่อง การเขียนบทคัดย่อในวิชาการเขียนความเรียงขั้นสูง ผู้เขียนจึงขอแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับหลักการเขียนบทคัดย่อและตัวอย่างดังต่อไปนี้ค่ะ

บทคัดย่อ (Abstract) หมายถึง ส่วนที่แสดงเนื้อหาสำคัญของเอกสารโดยย่อ หรือ ข้อเขียนที่สรุปความของรายงานหรือบทความอย่างกะทัดรัดชัดเจนโดยมีใจความ ครอบคลุมเนื้อหาสำคัญทั้งหมด นั่นเอง
ลักษณะของบทคัดย่อ นั้น เมื่อผู้อ่านๆบทคัดย่อจบแล้ว ต้องมองภาพรวมของงานวิจัยทั้งเล่มออก ส่วนรายละเอียดนั้น ผู้อ่านสามารถติดตามอ่านได้ในบทความงานวิจัย

ประเภทของบทคัดย่อ
บทคัดย่อมี 2 ประเภท คือ
1. บทคัดย่อประเภทให้ข้อมูลความรู้ (Informative Abstract) เขียนเพื่อรายงานผลการศึกษา หรือบทสรุปที่ผู้ใช้ต้องการอย่างเพียงพอ เพื่อหลีกเลี่ยงความจำเป็นในการอ่านเอกสารต้นฉบับ
2. บทคัดย่อประเภทพรรณนา (Indicative of Descriptive Abstract) เขียน เพื่อชี้แนะข้อเท็จจริงที่สำคัญที่สุดในเอกสาร โดยปราศจากรายงานถึงผลการศึกษา ค้นคว้า หรือสรุป เพื่อให้ผู้อ่านใช้ประกอบการตัดสินใจ ว่าจะต้องอ่านหรือศึกษาเอกสารต้นฉบับหรือไม่ โดยทั่วไปนิยมใช้เขียนเพื่อสรุปเอกสารที่นำเสนอ หรือทัศนคติที่กว้างขวาง เช่น เอกสารด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือบทวิจารณ์ เป็นต้น

หลักการเขียนบทคัดย่อ มีหลักสำคัญ 3 ประการ ดังนี้

1. มีความสั้น กะทัดรัดและกระชับ (Concision) เขียนเฉพาะสาระที่เป็นประเด็นใจความสำคัญของเอกสาร โดยใช้สำนวนกะทัดรัด มีความกระชับ ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย ซ้ำซ้อน
2. มีความถูกต้อง (Precision) คือ สามารถถ่ายทอดประเด็นสำคัญของเอกสารได้อย่างถูกต้อง ตามความหมายเดิมของเอกสารต้นฉบับ ไม่ควรมีการตีความหรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ อันทำให้ผู้อ่านเข้าใจสาระของเอกสารต้นฉบับผิดไป
3. มีความชัดเจน (Clarity) คือมีการ เรียบเรียงถ้อยคำเพื่อเสนอในบทคัดย่อจะต้องสื่อความหมายให้เข้าใจชัดเจน โดยใช้รูปประโยคที่สมบูรณ์ไม่ใช่เขียนกระท่อนกระแท่นเป็นคำ ๆ

ที่มา
กลุ่มนักศึกษาปริญญาโท ยุทธศาสตร์การพัฒนารุ่นที่ 5. หลักการเขียนบทคัดย่อ. online ,
http://www.oknation.net/blog/ma-sd52/2009/08/11/entry-2
วัชรา ทองหยด. ประเด็นร้อนอีกประเด็นในการเขียนบทคัดย่อตามความเข้าใจ
ของผู้เขียน. online ,http://gotoknow.org/journals/watcha/entries/5534.




ตัวอย่างบทคัดย่อ

(คลิกที่นี่ค่ะ)

ทีนี้มาลองเขียนบทคัดย่อกันนะคะดูตามตัวอย่างค่ะ

เข้าชม : 6258

นำเสนอโดย : ณัฏฐ์ชรินท์ ตลอดพงษ์
โรงเรียนมัธยมตระการพืชผล
สพม.อุบลราชธานี -อำนาจเจริญ เขต 29
อยู่ในขั้น : ปรมาจารย์

แชร์ไปที่ Facebook3
..........................................................

คัดจากเว็บไซต์ http://www.sahavicha.com/?name=test&file=readtest&id=2195
เพื่อการศึกษา

ตัวอย่างการเขียนหน่วยการเรียนรู้ ความเรียงขั้นสูง ม.๑

หน่วยการเรียนรู้ ความเรียงขั้นสูง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
(Extended-Essay )


มาตรฐานการเรียนรู้ สาระที่ ๒ การเขียน

มาตรฐานที่ ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราว ในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ


ตัวชี้วัดที่ ๒. เขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำถูกต้องชัดเจน เหมาะสมและสละสลวย
๘. เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าและโครงงาน


คำอธิบายรายวิชา

เขียนชื่อเรื่อง และกำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการศึกษา เขียนคำนำ โดยใช้ภาษาที่สื่อความหมายชัดเจน นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นลำดับขั้นตอน ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเขียนบทสรุป ในส่วนของเนื้อหาการเขียนบทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ เขียนสารบัญ นำเสนอข้อมูลประกอบการอธิบายด้วย แผนที่ แผนภาพ แผนภูมิ ภาพประกอบและตาราง เขียนเอกสารอ้างอิง บรรณานุกรม และวิธีการนำเสนอการอ้างอิงถ้อยคำหรือความคิดเห็นอย่างถูกต้อง



หัวข้อเนื้อหาวิชา
๑. ความหมายและหลักการเขียนความเรียงขั้นสูง
๑. ความหมายของความเรียงขั้นสูง
๒. การพัฒนาทักษะการเขียน
๓. หลักการเรียบเรียงข้อความ

๒. หลักการเขียนความเรียงขั้นสูง
๑. การใช้คำและความหมายของคำ
๒. การใช้ระดับภาษาในการเขียน
๓. การใช้คำบุพบทและคำเชื่อมความ
๔. การใช้คำลักษณนาม

๓. องค์ประกอบของการเขียนความเรียงขั้นสูง
๑. การเขียนคำนำ
๒. การเขียนเนื้อเรื่อง
๓. ความสำคัญและที่มาของโครงาน
๔. วัตถุประสงค์ของโครงงาน
๕. สมมติฐานของโครงงาน
๖. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๗. ภาคผนวก



การเขียนความเรียงขั้นสูง (Extended Essay)

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดว่า เป็นการเขียนในเชิงวิชาการโดยใช้ภาษาอย่างถูกต้อง เนื้อหามุ่งเน้นเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ใช้สำหรับการเขียนรายงาน การวิจัย หรือการทำโครงงานของนักเรียนประกอบด้วย วิธีการเขียนชื่อเรื่อง การกำหนดประเด็นปัญหา การเขียนคำนำ ข้อมูลสารสนเทศ การใช้ภาษาที่สื่อความหมายชัดเจน นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นลำดับขั้นตอน ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเขียนบทสรุป
ในส่วนของเนื้อหาการเขียนบทคัดย่อ การเขียนกิตติกรรม ประกาศ การเขียนสารบัญ การนำเสนอประกอบการอธิบายด้วย แผนที่ แผนภาพ แผนภูมิ ภาพประกอบและตาราง การเขียนเอกสาร อ้างอิง บรรณานุกรม รวมทั้งวิธีการนำเสนอการอ้างอิงถ้อยคำหรือความคิดเห็นอย่างถูกต้อง
ความเรียงขั้นสูงเป็นการเขียน เพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้เรียบเรียงมีความรอบรู้ในทางวิชาการ สามารถนำประเด็นปัญหาของโครงงาน อันเป็นที่มาของการทำงานวิจัยในอนาคตต่อไป การเขียนจึงต้องใช้เทคนิค กระบวนการด้วยภาษาเชิงวิชาการขั้นสูงได้อย่างดี

การพัฒนาทักษะการเขียนความเรียงขั้นสูง
๑. การใช้คำ การใช้คำต้องใช้ให้ถูกต้องตรงตามความหมายของคำนั้นๆ เพื่อทำให้การเขียนหรือการพูดสื่อสารไปยังผู้อื่นได้ตามที่ต้องการ คือเกิดความเข้าใจที่ตรงกัน งานที่ทำบรรลุผลได้ง่าย ผู้ที่ใช้ภาษาได้ถูกต้องและดีทั้งการเขียนและพูดนั้น จะสร้างพลังทางภาษาให้เกิดขึ้นและได้รับความเชื่อถือกันทั่วไป การใช้คำที่ถูกจะสื่อความได้ชัดเจนและบรรลุผลตามที่ต้องการ หรือถ้าสื่อความได้ก็จะไม่มีความชัดเจน แต่ถ้าใช้ผิดความหมายจะไม่สื่อความ ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ เช่น หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งพาดหัวข่าวว่า
เด็กไทยกินเรียบภาษาไทยโอลิมปิก คำว่า กินเรียบ ความหมายตามพจนานุกรมฯ หมายถึง กินหมด ชนะหมด ในประโยคนี้หมายถึง ชนะทุกรายการ เป็นคำศัพท์ใช้เฉพาะกลุ่ม ถ้าคนที่ไม่รู้ความหมายจะไม่เข้าใจว่า ทำไมเด็กไทยจึงกินเรียบ แต่ถ้าใช้คำถูกต้องก็จะเป็นว่า เด็กไทยชนะการแข่งขันภาษาไทยโอลิมปิกทุกรายการ

นอกจากนั้นยังรวมไปถึงการใช้คำที่ไม่สอดคล้องกับความหมายตามบริบทหมายถึง คำหรือข้อความแวดล้อมหรือข้างเคียงที่ช่วยให้เข้าใจความหมายของคำบางคำ เช่น

"สมจิตรกลับโคราชชาวบ้านแตกตื่นชื่นชมความสามารถ คำว่า แตกตื่น หมายถึงแห่กันไปด้วยความตื่นเต้นตกใจหรืออยากรู้อยากเห็น"

ประโยคที่ใช้คำถูกต้อง คือ สมจิตรกลับโคราชชาวบ้านตื่นเต้นชื่นชมความสามารถ
พังสารภีช้างในปางช้างจ.อยุธยาคลอดลูกแล้ว คำว่า คลอดลูก เป็นคำกริยาหมายถึง ออกหรือออกลูก ใช้แก่คนทั่วไป ภายหลังใช้ว่า คลอด ส่วนสัตว์ทั่วไปจะใช้ว่า ออก แต่ช้างเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ต้องใช้ว่า ตกลูก

ประโยคที่ใช้คำถูกต้อง คือ พังสารภีช้างในปางช้างจ.อยุธยาตกลูกแล้ว


หรือการใช้สรรพนามที่ไม่ถูกต้อง เช่น ฉันสงสารเค้าเหลือเกิน แมวตัวนี้อุตส่าห์เลี้ยงมา ๕ ปีเค้าเสียชีวิตแล้ว แมวเป็นสัตว์ดังนั้นสรรพนามที่ใช้ต้องเป็น มัน ส่วนคำกริยาเสียชีวิตของสัตว์ต้องใช้ว่า ตาย

ประโยคที่ใช้คำถูกต้องคือ ฉันสงสารมันเหลือเกิน แมวตัวนี้อุตส่าห์เลี้ยงมา ๕ ปี มันตายแล้ว


แบบฝึกเรื่องการใช้คำให้ถูกต้อง

จงพิจารณาประโยคต่อไปนี้ว่าใช้คำใดที่ใช้ไม่ถูกต้องเหมาะสมแล้วเปลี่ยนให้ถูกต้อง

๑. เรามีเพลงที่เกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์เยอะที่สุด …………………………………………………………………………………………………………..
๒. ไก่ส่งเสียงร้องเจื้อยแจ้วแต่เช้าตรู่ทุกวัน …………………………………………………………………………………………………………..
๓. พี่สาวของธงชัยออกลูกเป็นชายเมื่อวานนี้ …………………………………………………………………………………………………………..
๔. ส.พ.ฐ. คลอดเกณฑ์การรับสมัครนักเรียนชั้นม.๑ และม.๔แล้ว …………………………………………………………………………………………………………..
๕. เขารู้สึกเซ็งกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจนกลายเป็นปัญหาที่ไม่รู้จักจบสิ้น …………………………………………………………………………………………………………..
๖. คุณตาและคุณยายทำพระพุทธรูปมอบแก่วัดใกล้บ้าน …………………………………………………………………………………………………………..
๗. สุรพงษ์ให้เงินทุนการศึกษาแก่นักเรียนชั้น ม.๑ ๓,๐๐๐ บาท
…………………………………………………………………………………………………………..
๘. สมใจนำอาหารไปเลี้ยงพระภิกษุสงฆ์เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา …………………………………………………………………………………………………………..
๙. คุณพ่อของสมศักดิ์ทำศาลาที่พักผู้โดยสารที่หน้าปากซอย …………………………………………………………………………………………………………..
๑๐. อากาศเดือนเมษายนปีนี้ร้อนจัดมากสมชายจึงติดแอร์ลดความร้อน …………………………………………………………………………………………………………..

แหล่งที่มา: ศักดิ์ แวววิริยะ เอกสารประกอบการเรียนภาษาไทย ท21102 ส.ก.น.

คัดมาจาก: http://www.skoolbuz.com/library/content/2443

เพื่อการศึกษา ด้วยความขอบคุณค่ะ

วิชาการสร้างองค์ความรู้

TOK เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้และมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ความรู้ที่ตนได้รับ และตอบสนองความรู้


วิชา การสร้างองค์ความรู้ หรือ วิชาทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge:TOK) เป็นอีกหนึ่งวิชาที่ โรงเรียนในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล จะต้องเปิดเป็นรายวิชาเพิ่มเติมในโครงสร้างหลักสูตร ดร.เฉลิม ฟักอ่อน ได้กรุณาให้รายละเอียด เกี่ยวกับวิชาทฤษฎีความรู้ และวิธีการวัดประเมินผล ดังนี้

Theory of knowledge(TOK) เป็นสาระ/วิชาเกี่ยวกับ วิชาการเกิดความรู้(Way of knowing)ของแต่ละบุคคล เช่น การมีความรู้หรือความรู้เกิดขึ้นจากความรู้สึก(Sense perception) จากการหาเหตุผล(Reason) จากอารมณ์/ภาษา/น้ำเสียง(Tone)/สัญลักษณ์(Symbol)/ชื่อเรียกต่าง ๆ(Nomencrature) -วิชาความรู้ด้านต่าง ๆ(Area of knowledge) เช่น คณิตศาสตร์(Mathematics) วิทยาศาสตร์(Natural science) ประวัติศาสตร์(History) ศิลปะและจริยธรรม/ศีลธรรม(Arts and Ethics)

โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนศึกษาความแตกต่างของธรรมชาติ และวิธีการหาความรู้ของแต่ละบุคคล การอธิบายความรู้ของแต่ละคน และการศึกษาปัญหาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการหาความรู้ เช่น อาจจะตั้งคำถามว่า จะเชื่อได้อย่างไรว่าวิธีการทางวิทยาศาสตร์(Scientific method) เป็นวิธีการหาความรู้หรือเป็นวิธีการได้รับความรู้ที่ถูกต้องหรือเชื่อถือได้? เพราะเหตุใดเราจึงต้องมีความรู้ทางประวัติศาสตร์? เราจะใช้ชีวิตอย่างไร? – วิชาธรรมชาติของความรอบรู้(Nature of knowing) โดยเรียนรู้ว่าสาระสนเทศ ข้อมูล ความเชื่อ ความศรัทธา ความคิดเห็น ความรู้ และภูมิปัญญา ว่าแตกต่างกันอย่างไร –วิชาชุมชนแห่งการเรียนรู้(Knowledge communites) ชุมชนแต่ละชุมชนมีอะไรบ้างที่เป็นองค์ความรู้ หรือเราควรจะตรวจสอบความเชื่อเรื่องอะไรบ้างในชุมชน –วิชาแหล่งความรู้ และการใช้ความรู้ของผู้รู้(Knowers’ source and applications of knowledge) เช่น อาจจะศึกษาว่า อายุ การศึกษา วัฒนธรรม และประสบการณ์ มีอิทธิพลต่อการเลือกแหล่งเรียนรู้และข้อมูลสารสนเทศของความรู้ที่สนใจอย่างไร? การที่เรารู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือรู้การทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราจำเป็นต้องมีองค์ความรู้หรือไม่? การพิสูจน์/ยืนยันความรู้ของเรา(Justifications of knowledge claims) เพราะเหตุใดจึงต้องมีการตรวจสอบ/ประเมินองค์ความรู้ที่ตนมีอย่างมีหลักเกณฑ์? เป็นไปได้หรือไม่ว่า ตรรกะ(Logic) การรับรู้ด้วยความรู้สึก(Sensory perception) การเปิดเผย/คำพูด/คำสอน(Revelation) ความเชื่อ/ความศรัทธา(Faith) ความจดจำ(Memory) เสียงส่วนใหญ่(Consensus) ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ(Authority) การหยั่งรู้(Intuition) และการตระหนัก(Self-awareness) เป็นหลักเกณฑ์การพิสูจน์/ตรวจสอบความรู้ต่าง ๆ ที่เชื่อถือได้? การใช้การเกาะเกี่ยวเชื่อมโยงของสิ่งต่าง ๆ(Coherence) ความสอดคล้องกัน(Correspondence) การทำงานในสภาพจริง/การปฏิบัติ(Pragmatism) และการยอมรับเป็นส่วนใหญ่มา เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบความจริงความถูกต้องของความรู้

TOK เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้และมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ความรู้ที่ตนได้รับ และตอบสนองความรู้/ปัญหาที่สำคัญ(Respond to knowledge issues)ในบริบทต่าง ๆ ที่ต้องใช้หลากหลายสาขาของความรู้(Different areas of knowledge) หลากหลายวิธีการรอบรู้(Ways of knowing) และหลากหลายวิธีในการนำเสนอแนวคิด(Expressing ideas) อย่างถูกต้อง(Accurately) และด้วยความซื่อสัตย์(Honestly) ตลอดจนยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เป็นประสบการณ์ตรงของผู้เรียนโดยจากการทำงาน TOK ที่ตนสนใจ

การทำงานในการเรียนสาระ/วิชา TOK มุ่งหวังให้ผู้เรียนมีการวางแผนการทำงาน และทำงานตามเป้าหมายที่ผู้เรียนกำหนดโดยอาจจะเป็นงานเดี่ยวหรืองานกลุ่ม(ไม่ควรเกิน 3 คน) หัวข้อเรื่องที่ศึกษาควรเป็นหัวข้อเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับชีวิตจริงที่เป็นความสนใจของผู้เรียน

การประเมิน TOK ประเมิน 2 ส่วน คือ ประเมินผลงานการเขียน/รายงานการศึกษา(Essay) และประเมินการนำเสนอผลงาน(Presentation) ซึ่งผลงานการเขียนที่เป็นองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาด้วยประสบการณ์จริงของผู้เรียนที่ผู้เรียนนำเสนอนั้น ควรเป็นผลงานที่มีเนื้อหาสาระที่เป็นความถูกต้อง เป็นความจริงมีเหตุผล มีหลักการทฤษฎีรองรับ เป็นเรื่องที่น่าสนใจและนำเสนอในลักษณะที่ชักชวนหรือเปิดให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ หรือแสดงความคิดเห็นได้ จากบุคคลอื่นหรือบุคคลทั่วไป หรือสาธารณชนที่ได้อ่านหรือฟังการนำเสนอ ว่าเห็นด้วยส่วนใดขององค์ความรู้ที่นำเสนอ และเห็นด้วยเพียงใด ในการนำเสนอผลงาน(Presentation)นั้น ผู้เรียนต้องแสดงไห้เห็นว่า เรื่องที่ทำมีความสำคัญ(Significant)อย่างไร เรื่องที่นำเสนอเกี่ยวข้องกับความรู้(Knowledge)ต่าง ๆ อย่างไร โดยผู้เรียนต้องบรรยายให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว พร้อมทั้งนำเสนอความรู้เพิ่มเติมที่เป็นความคิดหรือแนวคิดต่าง ๆ

ในมุมมองที่หลากหลาย ครูที่ปรึกษาควรช่วยให้ผู้เรียนเลือกหัวข้อเรื่องที่ศึกษา และช่วยให้ผู้เรียนเลือกแนวคิด(Approach)ที่เหมาะสมสอดคล้องกับเรื่องที่ศึกษา การนำเสนอผลงาน(Presentation)ตามหลักสากลจะกำหนดให้ผู้เรียนนำเสนอเรื่องละไม่เกิน 10 นาที โดยผู้เรียนจะนำเสนอได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น โต้วาที(Debate) เกมส์ skits สัมภาษณ์ ฯลฯ ยกเว้นนำเสนอด้วยการอ่านเอกสาร(ห้ามนำเสนอด้วยการอ่านเอกสาร ต้องนำเสนออย่างเป็นธรรมชาติ) ซึ่งจะประเมินได้ว่าผู้เรียนได้ทำงานนั้นจริงหรือไม่ มีหลักวิชาอะไรที่เป็นความรู้สนับสนุน ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ของเรื่องที่สนใจได้หรือไม่"

วิชาเพิ่มเติม ที่กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนแก่งคอยได้จัดลงในโครงสร้างหลักสูตร คือ วิชา การอ่านเพื่อการสร้างองค์ความรู้ โดยครูตั๊ก เขียนคำอธิบายรายวิชา ไว้ว่า

"ศึกษาหาความรู้จากหนังสือและสื่อต่างๆ จาก แหล่งการเรียนรู้อย่าง กว้างขวาง การใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ การเลือกใช้สารสนเทศประเภทต่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้ตามความสนใจ ความสามารถและความถนัดของตน บอกช่องทางการรับรู้ความรู้ สาขาของความรู้ องค์ประกอบต่างๆของความรู้ที่ได้รับ โดยใช้กระบวนการอ่าน การเขียน การฝึกปฎิบัติ กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการเรียนทางภาษา เพื่อให้ผู้เรียน รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน รักและภูมิใจในความเป็นไทย"

เขียนคำอธิบายรายวิชาไว้อย่างนี้ คงสนองตอบศักยภาพและองค์ความรู้ของผู้เรียน ให้ก้าวไกลทัดเทียมมาตรฐานสากลได้ในระดับหนึ่ง ค่ะ...ครูตั๊ก โรงเรียนแก่งคอย


การเขียนความเรียงขั้นสูง:กรณีศึกษาครูตั๊ก

บันทึกนี้ผู้เขียนได้คัดมาจากบันทึกของครูตั๊ก โรงเรียนแก่งคอย
เนื่องด้วยมีความสนใจในการสร้างหลักสูตรการเขียนความเรียงขั้นสูง (Extended Essay)
โดยเป็นหลักสูตรเฉพาะของโรงเรียนมาตรฐานสากล (หนึ่งในสี่ ของสาระเพิ่มเติมที่โรงเรียนต้องจัดทำ)
จึงขออนุญาตครูตั๊กและสมาชิกที่ร่วมแสดงความคิดเห็นและแสดงความประสงค์ที่จะขอศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม     ทั้งนี้เพื่อเป็นการศึกษา เรื่อง "กระบวนการสอนเขียนความเรียงขั้นสูง" อย่างละเอียดต่อไป    ด้วยความขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ค่ะ




การเขียนความเรียงขั้นสูง

เป็นการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเขียนและเรียบเรียงความคิดข้อคิดเห็น การให้ข้อเสนอเชิงวิชาการโดยใช้ภาษาอย่างถูกต้องเมื่อวันที่ 2มีนาคม 2553 ครูตั๊กได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมอบรม โรงเรียนมาตรฐานสากล ที่โรงเรียนปทุมวิไล จังหวัดปทุมธานี การไปครั้งนี้ ไปแบบไม่มีข้อมูลใดๆทั้งสิ้น ทราบเพียงคร่าวๆว่า โรงเรียนแก่งคอย เป็น 1 ใน 500 โรงเรียน ที่กระทรวงศึกษาธิการต้องการยกระดับให้เป็นโรงเรียนดีมีมาตรฐานสากล

เมื่อได้รับฟังข้อมูลต่างๆ แล้ว จึงทราบว่าภาระงานที่ต้องทำคือ จะขับเคลื่อนอย่างไรให้ ผู้เรียนจะมีศักยภาพเป็นพลโลก (World Citizen) ที่อยู่ภายใต้บริบท ล้ำเลิศวิชาการ สื่อสารอย่างน้อย 2 ภาษา ล้ำหน้าทางความคิด ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์การกล่อมเกลาผู้เรียนให้พร้อมใจกันรับผิดชอบและร่วมอนุรักษ์โลก

ภาระงานที่ได้รับมอบหมายอีกประการหนึ่งก็คือ การพัฒนาหลักสูตรและการสอน ขึ้นใหม่ ให้เทียบเคียงกับมาตรฐานสากล โดยจะต้องปรับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และจัดทำแผนกลยุทธ์กันใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดทำสาระเพิ่มเติม 4 เรื่อง ซึ่งได้แก่ ทฤษฎีความรู้ การเขียนความเรียงขั้นสูง กิจกรรมโครงงาน และ โลกศึกษา ท่านวิทยากรชี้แจงว่า แต่ละกลุ่มสาระต้องพิจารณาว่า ในรายวิชาทั้ง 4 เรื่องนั้น กลุ่มสาระใดจะรับเป็นเจ้าภาพ ก็ให้จัดทำเป็นรายวิชาเพิ่มเติมเข้าไป ดูท่าทีแล้ว กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่ครูตั๊กสังกัดอยู่คงจะหนีไม่พ้น วิชาความเรียงขั้นสูง เมื่อไปศึกษาเอกสารจึงพบว่า สาระการเรียนรู้ การเขียนความเรียงขั้นสูง เป็นการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเขียนและเรียบเรียงความคิดข้อคิดเห็น การให้ข้อเสนอเชิงวิชาการโดยใช้ภาษาอย่างถูกต้อง

เนื้อหาเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ใช้สำหรับการเขียนความเรียงขั้นสูง (Extended- Eassay) ได้แก่ วิธีการเขียนชื่อเรื่อง การกำหนดประเด็นปัญหา การเขียนคำนำ ข้อมูลสารสนเทศ การใช้ภาษาที่สื่อความหมายชัดเจน นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นลำดับขั้นตอน เป็นที่น่าเชื่อถือ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการเขียนบทสรุป เนื้อหาเกี่ยวกับการเรียบเรียงบทความ การเขียนบทคัดย่อ การเขียนกิตติกรรมประกาศ การเขียนสารบัญ การนำเสนอประกอบการอธิบายด้วย แผนที่ แผนภาพ แผนภูมิ ภาพประกอบและตาราง การเขียนเอกสารอ้างอิง บรรณานุกรม รวมทั้งวิธีการนำเสนอการอ้างอิงถ้อยคำหรือความคิดเห็น

เห็นขอบข่ายเนื้อหาวิชาแล้ว ก็น่าหนักใจ เพราะเหมือนกับการเขียนผลงานวิจัย หรือรายงานวิจัยนั่นเอง หนักหนาสาหัสมิใช่เล่นเลย

แต่เพื่อ ความเป็นมาตรฐานสากลของโรงเรียนแก่งคอย งานนี้ ครูตั๊ก สู้ตายค่ะ !!
....................................................................

คัดมาจาก http://www.gotoknow.org/blog/wipawann/342452?page=1

....................................................................


ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องที่แสดงความคิดเห็น

1.ครูผู้ร่วมชะตากรรม [IP: 202.143.128.135]
13 มีนาคม 2553 12:33
#1903686

นี่ขนาดว่าครูตั๊กเป็นครูภาษาไทยยังรู้สึกหนักใจแล้วดิฉันเป็นครูภาษาต่างประเทศล่ะคะ ตั้งแต่ไปรับหลักการมา 2 ครั้ง 5 วัน  รวมกับศึกษาจากเอกสารที่โหลดจากอินเทอร์เนต บอกได้คำเดียวว่า เป็นไปได้ยากมากสำหรับเด็กในอำเภอเล็ก ๆ ในต่างจังหวัด มันใช่ทุกขลาภหรือเปล่านี่ !!!!!!!!!!!!!!!!!!!!

2.คุณครูตั๊ก (ความเคลื่อนไหวล่าสุด)
19 มีนาคม 2553 21:14
#1914960

ครู อ. คะ ถ้าจะบูรณาการความเรียงขั้นสูงกับโลกศึกษา ก็ย่อมทำได้ค่ะ เพราะเนื้อหาของความเรียงขั้นสูง คือ การเขียนรายงานจากการค้นคว้า หากครูผู้สอนและนักเรียน จะร่วมกันกำหนดหัวข้อ โดยใช้เนื้อหาของโลกศึกษา ก็จะทำให้บูรณาการสองวิชานี่เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน บางทีอาจจะได้ วิชาสร้างองค์ความรู้ มาอีกวิชาหนึ่งด้วยนะคะ เพราะในเนื้อหา นั้น นักเรียนสามารถบอกช่องทางการค้นคว้าหาความรู้ บอกคุณค่า ประโยชน์ของเรื่องต่างๆได้ การจัดการเรียนการสอนในลักษItนี้ จะคล้ายๆกับ Storyline Approach ค่ะ ศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติมจาก

http://www.edu.buu.ac.th/journal/Journal%20Edu/Link_Jounal%20edu_14_1.pdf

เป็นกำลังใจให้ ครุผู้ร่มชะตากรรมและครูโอ๋ ค่ะ เรา จะก้าวไป พร้อมๆกันนะคะ

..........................................................


ครูเด็กดี [IP: 202.129.52.107]
25 มีนาคม 2553 10:32
#1923367

ได้รับมอบหมายให้สอนวิชานี้เหมือนกัน ไม่รู้จะทำอย่างไร มันเหมือนวิชาการเขียนรายงานจากการค้นคว้าหรือไม่

ช่วยบอกด้วยค่ะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ
...........................................................


ครูน้องใหม่
[IP: 180.180.59.13]
28 มีนาคม 2553 20:33
#1928963

คุณครูตั๊กค่ะ....พอจะมีเอกสารหรือแหล่งข้อมูลการเขียนความเรียงชั้นสูงบ้างไหมค่ะ

จะต้องสอนแล้วเป็นน้องใหม่ค่อนข้างลำบากใจมากๆ ยังไงขอรบกวนหน่อยนะคะ
...........................................................

ครูอยุธยา [IP: 125.26.1.174]
31 มีนาคม 2553 22:36
#1933425

ได้รับมอบหมายให้สอนความเรียงขั้นสูง (ระดับประถม) เช่นกันค่ะ ขอตัวอย่างโครงสร้างหลักสูตร คำอธิบายรายวิชา และแนวการสอนบ้างนะคะ คุณครูตั๊ก ขอบคุณค่ะ
............................................................

ครูไทย [IP: 119.42.68.140]
01 เมษายน 2553 15:13
#1934175

ถึง ครูตั๊ก

ได้รับมอบหมายให้สอนวิชานี้เช่นกันค่ะ

รบกวนขอดูตัวอย่าง โครงสร้างหลักสูตร คำอธิบายรายวิชา และแนวการสอนบ้างค่ะ

หนักใจมากเลย ขอบคุณมาล่วงหน้า
............................................................

ครูอดุลยภาคย์ [IP: 110.164.233.99]
07 เมษายน 2553 00:01
#1942680

ผมตลกยิ่งกว่านะครับ คือไม่ได้ไปอบรม ไม่รู้เรื่องมาก่อน ไม่มีรายชื่อเกี่ยวข้องในคำสั่งหางว่าว แต่ต้องทำหน้าที่เขียนเอกสารเพื่อให้ครูทั้งโรงเรียน 145 คน อ่าน เเละเขียนคำอํธิบายรายวิชา กำหนดเช่วโมงสอน ทั้ง 4 สาระ เลย ตลกมากๆ ผมก็ทำใกล้เสร็จแล้วครับ ก็ใช้ทั้งการค้นคว้า และวิชาประดาน้ำ ใครอยากได้ก็ส่งเมล์มาไว้นะครับ แต่ก็กรุณามีอะไรมาแลกเปลี่ยนกันก็ดี

ครับ ผม อดุลยภาคย์ คำเพราะ สอน ป ๖ รร อนุบาลขอนแก่นครับ แอด MSN ไว้ก็ได้นะครับ ตอนนี้ทำต่อก่อนครับ เขาต้องการเอางานก่อนเช้า
...........................................................

ครูดุ่ย [IP: 118.172.87.152]
09 เมษายน 2553 14:42
#1946312

เนื่องจากได้รับมอบหมายให้สอนรายวิชานี้ แต่ไม่รู้ว่าต้องสอนอะไรบ้าง เท่าที่อ่านน่าจะเกี่ยวกับภาษาไทย แต่นี่ทำไมให้ครูคอมมาสอนวิชานี้ก็ไม่ทราบ พอดีอ่านแล้วเจอความเห็นของ ครูอดุลยภาคย์ จึงอยากได้ข้อมูลมาศึกษา แต่ไม่รู้จะเมล์ไปที่ไหน จึงขออีเมล์ด้วยนะคะ
..............................................................

ครูน้องใหม่ [IP: 118.172.87.152]
09 เมษายน 2553 14:48
#1946319

ถึง ครูตั๊ก

ขอความกรุณาส่งข้อมูลเกี่ยวกับรายวิชานี้ให้ด้วยนะคะ เพราะตอนนี้งงเป็นไก่ตาแตก ว่าจะเอาอะไรไปสอนนักเรียนดี มันเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อย่างไร ทำไมต้องให้ครูคอมมาสอนวิชานี้ด้วย ยังไงช่วยส่งแนวการสอนมาให้ดิฉันด้วย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ครูน้องใหม่อย่างดิฉันด้วยนะคะ ก่อนที่จะท้อไปซะก่อน กับอาชีพครู

duidui50@hotmail.com (ครูคอมมัธยม จังหวัดพะเยา)
.................................................................

ครูเอ้ [IP: 202.139.223.18]
10 เมษายน 2553 22:21
#1948159

หากมีสิ่งดีๆเกียวกับการสอนแบบนี้ มาร่วมแลกเปลี่ยนวิธีการคิด การทำร่วมกันก็ดีนะคะ ส่วนโรงเรียนครูเอ้นั้นกลุ่มสาระฯไทยจะร่วมกันกับหมวดต่างประเทศร่วมกันออกแบบร่วมกันร่วมทั้งTAK แต่ไม่รู้ว่าจะออกมาแนวไหน .
................................................................

คุณครูตั๊ก (ความเคลื่อนไหวล่าสุด)
11 เมษายน 2553 16:19
#1949158

เพื่อนครูที่รักคะ ตอนนี้ครูตั๊กและเพื่อนครูก็กำลังจัดทำคำอธิบายรายวิชาและหน่วยการเรียนอยู่ค่ะ ซึ่งต้องรับผิดชอบทั้งมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยแบ่งออกเป็น 6 รายวิชาค่ะ สอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3 รายวิชา และมัธยมศึกษาตอนปลายอีก 3 รายวิชา บางโรงเรียน จัด 12 รายวิชา ซึ่งส่วนนี้ ขึ้นอยู่กับครูในกลุ่มสาระฯของแต่ละโรงเรียนจะตกลงกันค่ะ โครงสร้างรายวิชา ความเรียงขั้นสูง ที่กลุ่มสาระการเรียนรู้ของครูตั๊กทำไว้ และขอนำมาแลกเปลี่ยนกัน มีดังนี้ค่ะ

มัธยมศึกษาปีที่ 1 วิชาความเรียงขั้นสูง 1

มัธยมศึกษาปีที่ 2 วิชาความเรียงขั้นสูง 2

มัธยมศึกษาปีที่ 3 วิชาความเรียงขั้นสูง 3

ตัวอย่างคำอธิบายรายวิชา วิชาความเรียงขั้นสูง 3 รายวิชาเพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 1 ชั่วฌมง/ภาค 0.5 หน่วยกิต

"ศึกษาความหมาย และมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการค้นคว้า การใช้สารสนเทศ แหล่งและทรัพยากรสารสนเทศ การเลือกสรร สื่อการอ่าน การสืบค้นข้อมูล การเขียนรายงานทางวิชาการ ตามรูปแบบการเขียน โดยใช้กระบวนการอ่าน การเขียน เพื่อให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่าน รักการเขียน เห็นคุณค่าของการอ่าน มุ่งมั่นในการทำงานใฝ่เรียนรู้ และศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง" เพื่อนๆ คงจะพอได้ประโยชน์บ้างนะคะ หากเขียนเสร็จเต็มรูปแบบเมื่อไหร่ คงจะได้นำมาแลกเปลี่ยนกันอีกในโอกาสต่อไปค่ะ

ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆคนค่ะ

..................................................................

รัชนี สุวรรณนัท์ [IP: 125.26.151.77]
15 เมษายน 2553 18:39
#1955722

เรียน คณครูตั๊กค่ะ

กำลังศึกษาค้นคว้าเรื่องความเรียงขั้นสูงค่ะ พอดีอ่านพบจากคุณครูตั๊ก ดีใจจังค่ะรบกวนคุณครูตั๊ก่งขอมูลที่ e mail rat.sw06@hotmal.com ด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ
....................................................................

ครูตุ๊ [IP: 118.172.108.214]
15 เมษายน 2553 21:12
#1955930

ปี 2554 คงจะได้สอนวิชานี้เหมือนกันขอหลักสูตรนี้ด้วยคนนะคะ ขอบคุณค่ะ
....................................................................

จักรพันธ์ คำแหงพล [IP: 124.120.172.202]
17 เมษายน 2553 10:23
#1957823

รบกวนช่วยส่งข้อมูลวิชาการเขียนความเรียงขั้นสูงของชั้น ม.1 ให้ด้วยนะคะ ขอบคุณครูตั๊กมากค่ะ

....................................................................

ครูบ้านไกล [IP: 125.27.159.77]
22 เมษายน 2553 11:47
#1965280

สวัสดีค่ะครูตั๊ก

ตอนนี้มีปัญหาเช่นเดียวกับหลาย ๆ คนเพราะว่าได้รับมอบหมายให้เขียนหลักสูตรมาตรฐานสากล แต่ด้วยความที่ว่าไม่ได้มีความรู้พื้นฐานเรื่องนี้เลย เพราะไม่ได้รับการอบรมมาก่อน แต่ได้รับมอบหมายให้มาเขียน มันก็เลยประสบปัญหาที่ต้องการผู้ช่วยอย่างมาก

พอดีว่ามาพบตัวอย่างที่คุณครูทำไว้ มันน่าสนใจมากและต้องการนำมาเป็นตัวอย่างในการจัดทำของโรงเรียน จะรบกวนคุณครูส่งเมลมาให้ได้ไหมคะ เพราะว่าตอนนี้พยายามทำแล้วแต่ว่าเหมือนอยู่ในมหาสมุทร งมอะไรไม่เจอ ยิ่งกว่างมเข็มอีก

และสอนในรายวิชาภาษาไทยเหมือนกับคุณครูตั๊ก ถ้าอย่างไรขอความกรุณาคุณครูส่งเมลมาให้ได้ไหมคะ หวังว่าคุณครูคงให้แสงสว่างในการจัดทำ เพราะว่าเราก็ร่วมอยู่ในชะตากรรม 500 โรงเรียนแรกทั่วประเทศเหมือนกัน

ขอบคุณนะคะ

E-mail : sutheera15@hotmail.com
.................................................................

ครูดุ่ย [IP: 58.147.74.6]
22 เมษายน 2553 14:26
#1965419

ถึง ครูทุกคนที่ขอข้อมูล

ไม่ทราบว่าท่านที่ได้ขอข้อมูลครูตั๊กไป ได้รับข้อมูลกันรึเปล่า พอดีให้เมล์ไว้แล้ว แต่ไปเช็คดูไม่พบว่าครูตั๊กส่งข้อมูลมาให้เลย จึงอยากสอบถามท่านอื่นว่าได้รับหรือไม่ แต่ถ้าจะให้ดี ถ้าไม่เป็นการรบกวนครูตั๊กมากเกินไป ก็ให้ Link เพื่อเข้าไปโหลดได้เลย เพื่อที่จะได้ไม่ต้องลำบากครูตั๊กมากเกินไป และก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ครูท่านอื่นที่ร่วมชะตาเดียวกัน
....................................................................

แดง [IP: 118.173.44.182]
02 พฤษภาคม 2553 12:00
#1980240

อยากทราบโครงสร้างความเรียงชั้นสูงระดับประถมศึกษาคะ

.....................................................................

ครูทรรศน์ [IP: 110.168.70.62]
03 พฤษภาคม 2553 20:40
#1982034

สวัสดีค่ะ คุณครูตั๊ก

วันนี้ อยู่ ๆ ได้รับคำสั่งให้ไปทำหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล 4 เรื่อง โดยได้เรื่อง การเขียนความเรียงขั้นสูง ยังไม่ได้อบรมใด ๆ มาเลย ได้รับเกียรติอย่างมาก และขอขอบคุณคุณครูตั๊ก ที่มีรายละเอียดให้อ่าน พอเข้าใจบ้างหน่อย ๆ ค่ะ อยากให้คุณครูตั๊ก ช่วยอธิบายรายละเอียดให้มากกว่านี้ก็น่าจะเข้าใจและเป็นวิทยาทานแก่ครูแก่ ๆ ใกล้เกษียณก็จะดีนะคะ

ขอบคุณคุณครูทุกท่านที่ช่วยกันเขียนให้ความรู้ โดยเฉพาะคุณครูตั๊กค่ะ

....................................................................

พลาย (ความเคลื่อนไหวล่าสุด)
07 พฤษภาคม 2553 07:06
#1986369

เขียนเสร็จเมื่อไหร่อย่าลืมบอกนะครับ
.....................................................................

ครูเด็กดี [IP: 202.129.52.109]
08 พฤษภาคม 2553 13:06
#1988243

ครูเด็กดีขอบคุณครูตั๊กมากคะ อีเมลของครูเด็กดี คือ dpjan2@gmail.com ขอความกรุณาส่งเอกสารให้ด้วยนะคะ
.....................................................................


















คุณครูตั๊ก (ความเคลื่อนไหวล่าสุด)
10 พฤษภาคม 2553 00:42
#1990452



ต้องขอโทษเพื่อนครูทุกท่านด้วยนะคะ ที่หายไปนาน หลายคนฝาก mail ไว้ ขอโทษด้วยนะคะที่ไม่ได้ตอบเมล์ ครูตั๊กติดภาระงานเรื่องการจัดตารางเรียนของฝ่ายวิชาการค่ะ นำคำอธิบาย ในระดับ ม.ต้น มาฝากก่อน 3 รายวิชา ค่ะ ส่วนของ ม.ปลาย กำลังปรับแก้ค่ะ

รายวิชา ความเรียงขั้นสูง ๑ รหัสวิชา ท ๒๑๒๐๑
รายวิชาเพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
เวลา ๒๐ ชั่วโมง/ภาคเรียน จำนวน ๐.๕ หน่วยกิต

ศึกษาความหมาย และมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการศึกษาค้นคว้า การใช้สารสนเทศ แหล่งและทรัพยากรสารสนเทศ การเลือกสรร สื่อการอ่าน การสืบค้นข้อมูล องค์ประกอบของรายงานเชิงวิชาการ โดยใช้กระบวนการอ่าน การเขียน เพื่อให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่าน รักการเขียน เห็นคุณค่าของการอ่าน มุ่งมั่นใน การทำงานใฝ่เรียนรู้ และศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง

ผลการเรียนรู้

๑. อธิบายความหมายของการศึกษาค้นคว้าได้
๒. อธิบายระบบสารสนเทศได้
๓. บอกแหล่งและทรัพยากรสารสนเทศได้
๔. ใช้แหล่งและทรัพยากรสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้
๕. อธิบายรูปแบบและองค์ประกอบของรายงานเชิงวิชาการได้

................................


รายวิชา ความเรียงขั้นสูง ๒ รหัสวิชา ท ๒๒๒๐๑

รายวิชาเพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒


เวลา ๒๐ ชั่วโมง/ภาคเรียน จำนวน ๐.๕ หน่วยกิต

ศึกษาความหมายของการเขียนรายงาน ส่วนประกอบของรายงาน ขั้นตอนการเขียนรายงาน การอ้างอิง และบรรณานุกรม
โดยใช้กระบวนการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่าน รักการเขียน เห็นคุณค่าของการอ่าน มุ่งมั่นใน การทำงานใฝ่เรียนรู้ และศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง


ผลการเรียนรู้

๑. บอกความหมายของการเขียนรายงานได้
๒. บอกส่วนประกอบของรายงานได้
๓. เขียนรายงานตามขั้นตอนได้ถูกต้อง
๔. เขียนเอกสารอ้างอิง และบรรณานุกรมได้ถูกต้อง


..........................

รายวิชา ความเรียงขั้นสูง ๓ รหัสวิชา ท ๒๓๒๐๑
รายวิชาเพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

เวลา ๒๐ ชั่วโมง/ภาคเรียน จำนวน ๐.๕ หน่วยกิต

ศึกษาความหมาย ความสำคัญ ประเภท และลักษณะของบทความ เขียนบทความได้ตาม หลักการเขียนบทความ โดยใช้กระบวนการอ่าน การเขียน การฝึกปฎิบัติ กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการเรียนทางภาษา เพื่อให้ผู้เรียน มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานอย่างสร้างสรรค์ รักและภูมิใจในความเป็นไทย


ผลการเรียนรู้

๑. บอกความหมายและความสำคัญของการเขียนบทความได้
๒. ระบุประเภทของบทความได้
๓. อธิบายหลักทั่วไปในการเขียนบทความได้
๔. เขียนบทความได้

.........

ก็ขอนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะคะ คงยังไม่ดีที่สุด ใครมีข้อเสนอแนะอะไร ครูตั๊กยินดีน้อมรับฟังและพร้อมแก้ไขปรับปรุงค่ะ ในส่วนของหน่วยการเรียน คุณครูก็กำหนดเองตามความเหมาะสมค่ะ........................


คุณครูตั๊ก (ความเคลื่อนไหวล่าสุด)
10 พฤษภาคม 2553 21:55
#1991821

วันนี้ โรงเรียนได้เชิญ ท่านศน. รังสรรค์ เพ็งนู ศน. สพท ราชบุรี 1 มาบรรยายเรื่อง หลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล ให้กับคณะครู

ที่โรงเรียน ได้รับทราบ ท่านวิทยากรพูดชัดเจนค่ะ ขอสรุปคร่าวๆ ว่า ไม่ว่าเราจะสอนวิชาอะไร เราสามารถจัดกิจกรรมการเรียนสอนตามหลักสูตรมาตรฐานสากลได้ค่ะ เพราะการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนนั้นเราสอน 8 สาระ 1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เมื่อจบหลักสูตรแล้วนักเรียนจะเกิดสมรรถนะหลัก 5 ด้าน คือ สื่อสารเป็น

คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ใช้ทักษะชีวิต และใช้เทคโนโลยี

ในความเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลนั้น เราเพิ่ม TOK (ครูสอนโดยอย่ายึดติดกับหนังสือเรียนนะคะ) ขอบข่ายของความรู้

คือ วิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ มนุษยศาสตร์ ประวัติศาสตร์ จริยศาสตร์ คณิตศาสตร์ โดย

- ส่งเสริมความคิดวิเคราะห์วิจารณ์

- ส่งเสริมการเรียนรู้ว่าด้วยธรรมชาติและขอบข่ายของความรู้ วิพากษ์และประเมินขอบข่ายขององค์ความรู้สาขาต่างๆ

- วิเคราะห์ แยกแยะ ประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งความรู้

ส่วนวิชา ความเรียงขั้นสูงนั้น ท่านวิทยากร กล่าวว่า ให้นักเรียนเขียนตามศักยภาพของนักเรียน แต่เรื่องที่จะเขียนนั้น ไม่ใช่บทกวี หรือคำประพันธ์ แต่เป็นการเขียนรายงาน ที่เกิดจาก การศึกษา ค้นคว้า วิจัยอิสระในเรื่องที่นักเรียนสนใจ ประเด็นที่ศึกษา ไม่ควรกว้างหรือแคบจนเกินไป (วิทยากร ท่านยกตัวอย่างเรื่อง การตอกตะปู ท่านบอกว่า เขียนเรื่องนี้ แคบเกินไป) การเขียนความเรียงขั้นสูงนั้น จะศึกษาในเชิงลึก สัมพันธ์กับวิชาที่เรียน โดยมีความยาวประมาณ 4,000 คำ

ท่านวิทยากร ได้เน้นให้เห็นว่า การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนนั้นเราสอนตามหลักสูตรอยู่แล้ว เพียงแต่ เพิ่มความเข้มข้นในหลักสูตรให้มากขึ้น จึงมีกลุ่มวิชา TOK EE CAS และ Global เป็นหัวใจของการจบหลักสูตร

ฝากคุณครูไป อ่านเพิ่มเติม ในเว็บไซต์นี้นะคะ http://www.worldclassschoolthai.net/

เราจะก้าวเดินไปอย่างช้าๆ แต่มั่นคงค่ะ
.......................................................


ครูโรงเรียนสระแก้ว [IP: 125.27.132.169]
21 พฤษภาคม 2553 20:24
#2008420

คุณครูตั๊กคะ ครูภาษาไทยคนนี้ได้รับมอบหมายให้สอนวิชาความเรียงขั้นสูง (ระดับมัธยมศึกษา) เช่นกันค่ะขอตัวอย่างโครงสร้างหลักสูตร หน่วยการเรียน และแนวการสอนบ้างนะคะคุณครูตั๊ก เพื่อเป็นบุญเป็นกุศล ขอบคุณค่ะ

ส่งมาที่ pirom_ptu@hotmail.com ค่ะ
........................................................

ครูม.4 [IP: 125.27.132.194]
22 พฤษภาคม 2553 13:53
#2009572

เช่นกันค่ะขอตัวอย่างโครงสร้างหลักสูตร หน่วยการเรียน และแนวการสอนบ้างนะคะคุณครูตั๊ก ขอบคุณค่ะ เทอมนี้สอน 3 วิชา ไปไม่เป็นแล้วค่ะ

.......................................................

ตันเจริญ [IP: 125.24.35.147]
27 พฤษภาคม 2553 23:22
#2018210

คุณครูตั๊กคะ

ขอขอบคุณในความเอื้อเฟื้อตัวอย่างหลักสูตรการเขียนความเรียงขั้นสูง ม. ต้น

ถ้าหลักสูตรของ ม.ปลายเสร็จแล้ว กรุณาส่งผ่านe -mail ด้วยนะคะ

v.tancharoen@ gmsil.com

.......................................................

พินดา [IP: 118.173.165.17]
28 พฤษภาคม 2553 12:40
#2018908

รบกวนขอดูตัวอย่าง โครงสร้างหลักสูตร คำอธิบายรายวิชา และแนวการสอนอย่างคร่าวๆ บ้างค่ะ ส่งที่ manam_mee@hotmail.com ขอบพระคุณค่ะ
.......................................................

เพียงใจ เพชรบูรณ์ [IP: 222.123.237.223]
28 พฤษภาคม 2553 15:58
#2019157

ขอศึกษาตัวอย่าง การเขียนความเรียงขั้นสูง

กำลังพายเรือในอ่างอยู่เลยค่ะ ไม่รู้จะนำอะไรไปสอนให้กับนักเรียนได้อย่างถูกต้องดีค่ะ

รบกวนส่งมาที่เมลล์ piangjai_krujim@hotmail.com
........................................................


คุณครูตั๊ก (ความเคลื่อนไหวล่าสุด)
30 พฤษภาคม 2553 20:14
#2022557

เรียนคุณครูที่ต้องการคำอธิบายรายวิชา ความเรียงขั้นสูง นะคะ ครูตั๊กได้โพสต์ไว้แล้วค่ะ ที่ ความเห็น 29 มี 3 รายวิชาค่ะ ในระดับม.ต้น ขอบคุณ คุณครูทุกท่านนะคะ ที่เข้ามาแวะเวียนเยี่ยมชมค่ะ

.........................................................



คุณครูตั๊ก (ความเคลื่อนไหวล่าสุด)
14 มิถุนายน 2553 21:48
#2044014


ได้มีโอกาสไปประชุมที่ พัทยา เมื่อวันที่ 1้2-13 2553 มิถุนายน ได้รับหลักการ และแนวปฏิบัติ ในการสอน วิชาความเรียงขั้นสูง

โดยท่านวิทยากร อาจารย์ภาสกร พงษ์สิทธากร คุณครูที่ยังไม่ได้เข้า้รับการอบรม สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้นะคะที่

http://www.worldclassschoolthai.net/testimonials-1/xeksarprakxbkarbrryaykhorngkarprachumphathnabukhlakrkhorngkarykradabrongreiynmatrthansakl

จะมีเอกสารครบทั้ง 4 เรื่องค่ะ

สำหรับครูตั๊กเอง..ก็คงจะต้องไปปรับคำอธิบายรายวิชาใหม่อีกครั้งหนึ่งค่ะ ให้สอดคล้องกับรายละเอียดในเอกสาร ขอให้คุณครูทุกท่าน

ที่สอนวิชา EE มีความสุขในการทำงานนะคะ
.............................................................


ธัญญรัตน์ ต้นนุ่น [IP: 125.27.63.105]
25 มิถุนายน 2553 18:32
#2058780

คุณครูตั๊กคะ

หนูเป็นนิสิตฝึกสอนนะคะ ได้รับมอบหมายให้สอนวิชา ความเรียงขั้นสูง เพิ่งฝึกสอนก็ได้สอนวิชายากมากกกกซะแล้ว สับสนไปหมดเลยคะ ไม่รู้จะฝึกนักเรียน หรือ ขั้นตอนอย่างไรให้เด็กรู้ที่ละขั้น แล้วเขียนได้ หนูสอนป.6 คะ

ตอนนี้ทำแผนก็มึนไปหมด

คุณครูตั๊กพอจะมีเอกสารหรือวิธีการสอนแนะนำหนูบ้างไหมคะ รบกวนส่งมาที่เมลล์หน่อยนะคะ ขอบคุณมากเลยคะ

nune_sodami@hotmail.com

.......................................................

[IP: 117.47.2.212]
24 กรกฎาคม 2553 20:32
#2104422

การเขียนความเรียงต้องเริ่มอย่างไรก่อนคะ

เขียนเรื่องสมุนไพรในพระราชดำริอ่ะค่ะ
.......................................................


คุณครูตั๊ก (ความเคลื่อนไหวล่าสุด)
01 สิงหาคม 2553 17:06
#2114369

เริ่มต้น คงต้องวางโครงเรื่องที่จะเขียนก่อนนะคะ ว่า จะเขียนในหัวข้อใดบ้างทำเป็นหัวข้อย่อยๆ นะคะ

หลังจากได้โครงเรื่องแล้ว ก็ศึกษาเอกสารค่ะ ว่าหัวข้อต่างๆที่กำหนดไว้ จะค้นคว้าจากที่ไหนได้บ้าง หนังสือ เอกสาร เว็บไซต์ ฯลฯริ่มจา

ได้เอกสารแล้ว ก็เริ่มต้นเขียนค่ะ เริ่มจาก บทนำ.. เป็นการสร้างความสนใจให้ผู้อ่าน ส่วนเนื้อหา คือข้อมูลที่เราค้นคว้าไว้ เขียนตาม

โครงเรื่อง และส่วนสุดท้าย เป็นบทสรุป ค่ะ รวบรวมใจความสำคัญของแต่ละหัวข้อ มาเรียบเรียงในส่วนท้ายนี้..

ที่กล่าวมานี้เป้นหลักการนะคะ ส่วนการเขียนนั้น ที่โรงเรียนกำหนดให้เขียนเป็นบทหรือเปล่าคะ..

ครูตั๊กให้เด็กๆที่เขียนความเรียง ให้เขียนเป็นบทๆมาค่ะ แต่ละบทต้องมีองค์ประกอบครบ สามส่วน คือ บทนำ เนื้อหา และสรุป..

ในส่วนท้าย ต้องเขียนบรรณานุกรมมาด้วย.. ค่ะ

สงสัยอะไร อย่างไร แวะมาได้นะคะ ยินดีตอบข้อซักถามค่ะ /ครูตั๊ก..
................................................................



จุฬาลักษณ์ [IP: 110.49.193.87]
21 สิงหาคม 2553 14:17
#2143640

มีตัวอย่างการเขียนไหมค่ะ???

โครงร่างการศึกษา มีตัวอย่างไหมค่ะ

พอจะเขียน แล้วเขียนไม่ถูกค่ะ
..............................................................


ลีลา [IP: 202.143.191.2]
01 กันยายน 2553 12:58
#2157417

สวัสดีค่ะ หนูมีความประสงค์อยากให้ ครูตั๊กช้วย บอกวิธีการ เขียนเรียงความขั้นสูง โดยใช้หัวข้อ เรื่อง วัยรุ่นกับการเขียนหนังสือ ว่าเป็นอ่องไร ดดย เกิ่นนำด้วยว่าขึ้นต้นอย่างไรบ้างค่ะ ขอบคุณค่ะ
..............................................................



กร [IP: 119.42.93.118]
05 กันยายน 2553 13:58
#2162902

เขียนเกี่ยวกับควรเริ่มจากอะไรค่ะ

พิก [IP: 119.42.93.118]
05 กันยายน 2553 14:00
#2162910

เขียนเกี่ยวกับยาเสพติดควรเริ่มจากอะไรค่ะ

น่ารัก [IP: 119.42.107.50]
15 กันยายน 2553 11:56
#2175866

สวัสดีค่ะ หนูอยากให้ครูตั๊กช่วยสรุปความเรียง

ขั้นสูงเรือง ครอบครัวแสนวุ่นวายค่ะ

หนูอยากมีแนวทางในการดำเนินงาน
....................................................


ศศิรจน์ ร้อยดาพันธุ์ [IP: 61.19.66.219]
06 ตุลาคม 2553 21:58
#2206013

คุณครูตั๊กคะ...เพิ่งได้รับมอบหมายให้สอนความเรียง ม.ปลาย 10ห้อง

ไม่เคยสอน ไม่เคยอบรมเลย...พยายามศึกษาจากหลายๆแหล่งเรียนรู้แล้ว..คิดว่าไม่กระจ่าง

ขอความกรุณาคุณครูตั๊กช่วยเป็นวิทยาทานหน่อยนะคะ..ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ..

ครูตุ่ม...
...................................................



ครูไก่ เพื่อนเก่า [IP: 125.24.65.141]
08 ตุลาคม 2553 18:20
#2207977

ครูตั๊กคะ ดิฉันขอความกรุณาช่วยเหลือ แนะนำการเขียนความเรียงขั้นสูง ต้องฝึกเด็กแข่ง แต่เป็นภาษาอังกฤษ ชายเหน่งบังคับ ปลุกเร้าให้ลองทำ แต่ดิฉันไม่ได้สอนวิชานี้ เป็นงงมากๆ ช่วยด้วยนะ
..................................................


ผู้รอคอย [IP: 61.19.68.29]
09 ตุลาคม 2553 11:59
#2208515

สวัสดีค่ะ คุณครูตั๊ก ตอนนี้ดิฉันได้รับมอบหมายให้สอนวิชาการเขียนความเรียงขั้นสูง ของม.ปลาย ด้วยค่ะ แต่ยังไม่ทราบว่าจะเขียนคำอธิบายรายวิชาอย่างไรบ้าง ตามระดับความยากง่าย เพราะเริ่มตั้งแต่ ม.4 ถึง ม. 6 เลยค่ะ รบกวนคุณครูช่วยแนะนำด้วยนะคะ ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ
.........................................................



คุณครูตั๊ก (ความเคลื่อนไหวล่าสุด)
14 ตุลาคม 2553 00:31
#2213532


ตอบครูตุ่ม คุณศศิรจน์

คำอธิบายรายวิชา ความเรียงขั้นสูง ที่ไปรับหลักการมานะคะ คุณครูสามารถ ใช้คำอธิบายรายวิชา และผลการเรียนรู้ เหมือนกัน ตลอด 3 ปีค่ะ รายละเอียด ขึ้นอยู่กับบริบทของโรงเรียนนะคะแต่ในเอกสาร มีกรอบไว้ให้ค่ะว่าจะสอนในทิศทางใด โปรดไปศึกษาจากเอกสาร เรื่อง คู่มือการพัฒนาหลักสูตรและการสอน นะคะ ทุกโรงเรียนจะมีเล่มนี้ค่ะ..

ตอบ คุณจุฬาลักษณ์ คุณพิก คุณน่ารัก

กว่าจะตอบคำถามนี้ คงเสร็จสิ้นการสอบไปแล้ว ต้องขออภัยด้วยนะคะ การเริ่มต้นการเขียนความเรียง ก็เริ่มจาก

๑. การเลื่อกเรื่อง และตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจ

๒. กำหนดขอบเขตของเนื้อหา เพื่อนำมาจัดทำเป็นโครงเรื่อง และนำไปสู่แผนการแบ่งบท

๓. เมื่อได้โครงเรื่องแล้ว เป็นขั้นตอนของการไปเก็บรวบรวมข้อมูล และนำมาสังเคราะห์

๔. เรียบเรียงเรื่อง ตามโครงเรื่องหรือแผนแบ่งบทที่ได้จัดทำไว้ ค่ะ

ยกตัวอย่าง

๑. เรื่องยาเสพติด

๒. กำหนดขอบเขต

๒.๑ ความหมายของยาเสพติด

๒.๒ ชนิดของยาเสพติด

๒.๓ ลักษณะอาการของผู้ติดยาเสพติด

๒.๔ การป้องกันและการให้ความช่วยเหลือ

๓. จากขอบเขตที่กำหนดไว้ ก็ไปเก็บรวบรวมข้อมูลค่ะ จากหนังสือ สื่อต่างๆ เว็บไซต์

๔. นำเนื้อเรื่องทั้งหมด มาเขียนด้วยสำนวนของผู้เขียนเอง โดยการสังเคราะห์วรรณกรรมที่ไปสืบค้นหรือที่ไปค้นคว้ามา

๕. จัดทำรูปเล่มให้มีองค์ประกอบครบ ตามรูปแบบการเขียนรายงานทางวิชาการ

ในส่วนของครูผู้สอนนะคะ อาจประเมินผล ขั้นสุดท้ายด้วยการสอบสัมภาษณ์ แทนการสอบข้อเขียน เพราะนักเรียนแต่ละคน จะศึกษาค้นคว้าเรื่องตามความสนใจ

ตอบ คุณครูไก่เพื่อนเก่า

ดีใจมากๆค่ะ ที่ได้พบกัน สำหรับ EE ของวิชาภาษาอังกฤษ คงจะมาทำเป็นรูปแบบรายงานแบบของวิชาภาษาไทยไม่ได้

คงจะต้องนึกถึง สมัยเรียนวิชา writing นะคะ คุณครู คงต้องดูจากมาตรฐานและตัวชีวัดที่เกี่ยวข้องกับการเขียนค่ะ โดยผลการเรีรู้ร้อาจจะเริ่มจาก การสอน tense prefix suffix idoms etc. อันนี้ ดูจากบริบทของนักเรียนนะคะ. เริ่มจากง่ายไปหายากนะคะ

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเป็นกำลังใจให้ครูตั๊กค่ะ
.............................................................

artdy [IP: 113.53.171.89]
30 ตุลาคม 2553 07:22
#2231906

ครูตั๊กคะ

คือหนูได้รับมอบหมายเป็นตัวแทนเขียนความเรียงขั้นสูงอ่ะค่ะ

แต่หนูก็ไม่ค่อยรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้เท่าไหร่ คือหนูได้รับมอบหมายเรื่อง เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับไข่ไก่ค่ะ

แต่หนูไม่รู้จะขึ้นต้นคำนำด้วยอะไรหนูก็เลยอยากให้ครูตั๊กช่วยหนูด้วยนะคะ

(ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะครูต๊ก)

.............................................................

นิ่ม [IP: 223.206.1.45]
30 ตุลาคม 2553 17:51
#2232520

สวัสดีค่ะครูตั๊ก

ไม่รู้ว่าครูตั๊กจะมาเปิดอ่านทันไหม ครูตั๊กมีเบอร์ไหมคะ ขอให้หนูหน่อย ทางเมลล์ก็ได้ค่ะ a.tina68@hotmail.comหนูอยากปรึกษาความเรียงขั้นสูง

งงตั้งแต่ ตีความหมายคำไม่ถูก อยู่ดีๆ ก็ได้มาสอน เพราะไปรับปากหัวหน้าวิชาการไว้ ทีแรกก็นึกว่าเป็นเรียงความธรรมดา เพราะเคยเห็นข้อสอบที่ครูเค้าออกสอบมันคล้ายเรียงความเลยค่ะ งงว่าจะสอนแบบไหน แบบเรียงความ มีย่อหน้า 3 ย่อหน้างั้นเหรอคะ แต่ที่แน่ๆ อยากเห็นตัวอย่างค่ะ ขอดูหน่อยเถอะค่ะ หนูจะเริ่มสอนวันจันทร์ที่ 1 นี้
..............................................................


coco [IP: 125.26.59.7]
06 พฤศจิกายน 2553 14:37
#2241407

ครูคะ

คือว่าหนูอยากได้แบบฟอร์มอ่ะค่ะ

เเล้วหนูก็ทำหลักการเเละเหตุผลไม่เป็น

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
.................................................................

น้อง [IP: 118.173.193.22]
06 พฤศจิกายน 2553 23:46
#2241988

ช่วยหนูหน่อยนะค่ะ

หนูต้องทำงานเกี่ยวกับวิชานี้

ซึ่งกลุ่มของหนูเลือก อาหารที่ขึ้นชื่อในเบตง

แล้วหนูต้องทำยังงั้นให้มันออกมาแบสมบูรณ์แบบค่ะ

หนูพึ่งเรียนปีนี้ปีแรกหนูเลยไม่เข้าจัยค่ะ

ช่วยส่งมาทางเมลหนูนะค่ะ

หนูจะนำไปบอกเพื่อนในกลุ่มหนูค่ะ

ถ้าช่วยหนูได้

หนูขอขอบคุณล่วงนะเลยค่ะ

ขอบคุณนะค่ะ
....................................................


[IP: 119.42.115.133]
07 พฤศจิกายน 2553 12:46
#2242495

ครูตั๊กคะ เดี๊ยนได้รับผิดฃอบทั้งม.1,4 ความรุ้หลอกเด็กไม่มีเลยเรื่องนี้ เซ็งจิต

[IP: 182.232.40.49]
07 พฤศจิกายน 2553 19:48
#2242798

ครูค่ะครูของหนูให้เขียนเรียงความเรื่อง เรียนภาษาไทยอย่างไรให้ได้เกรด4 อะคค่ะต้องเขียนแบบไหนหรอค่ะ

ครูสาว [IP: 1.46.149.168]
07 พฤศจิกายน 2553 23:30
#2243022

ขอบคุณครูตั๊กที่ให้แนวคิดดีๆ เกี่ยวกับการเขียนความเรียงขั้นสูง มีปัญหาด้านการสอนความเรียงจะปรึกษานะค่ะ

19 [IP: 203.172.208.236]
08 พฤศจิกายน 2553 11:06
#2243386

สวัสดีค่ะคุณครูตั๊ก ถ้าหนูจะสอนให้เด็กเขียนความเรียงขั้นสูงเป็น หนูต้องเริ่มจากอะไรก่อนค่ะ คือหนูต้องทำเป็นแผนการสอนเรื่องการเขียนความเรียงขั้นสูง ขอครูตั๊กช่วยแนะนำหน่อยนะค่ะ

......................................................................

คุณครูตั๊ก (ความเคลื่อนไหวล่าสุด)
08 พฤศจิกายน 2553 20:55
#2244195

สวัสดีค่ะ ทุกๆท่าน ต้องขอโทษเป็นอย่างมากค่ะ ที่อาจจะเข้ามาตอบคำถามช้ามาก แต่คิดว่าคงจะพอได้รับประโยชน์นะคะ

ในส่วนของคุณครู ที่จะ้ต้องสอนวิชานี้ คุณครูสามารถค้นคว้า้เอกสาร เกี่ยวกับการเขียนรายงานจากการค้นคว้า การรวบรวมข้อมูลจากสารสนเทศ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จากเนต หรือจะซื้อหนังสือตามศูนย์หนังสือได้ค่ะ

ส่วนน้องๆนักเรียนที่เรียนวิชานี้ ก็จะคล้ายๆกับการเขียนรายงานโครงงานค่ะ เพียงแต่เนื้อหาเป็นการศึกษาค้นคว้า ข้อมูล ทฤษฎี แะนำมาเรียบเรียงด้วยภาษาของตนเอง ค่ะ

เริ่มจาก ชื่อเรื่องนะคะ ตั้งชื่อเรื่องให้มีความน่าสนใจ จากนั้น กำหนดขอบเขตว่า จะค้นคว้าในเรื่องใดบ้าง ซึ่งก็คือขั้นตอนของการวางโครงเรื่อง เมื่อได้ขอบเขตของเรื่องแล้ว ก็ลงมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร อินเตอร์เนต ตำรา ฯลฯ เมื่อได้ข้อมูลแต่ละเรื่องแล้ว ก็นำข้อมูลที่ได้ มาเขียนเรียบเรียง มีการอ้างอิง และควรจบบทด้วยการสรุปที่เขียนโดยภาษาของตนเอง ซึ่งลักษณะเช่นนี้ เป็นการเขียนเชิงคุณภาพ ค่ะ

ขอบคุณทุกคนที่ เข้ามาเยี่ยมเยือนนะคะ/ครูตั๊ก

...........................................................

นร.รร.บ้านหลวง น่าน [IP: 118.172.124.69]
09 พฤศจิกายน 2553 16:59
#2245518

ขอบพระคุณคุณครูตั๊กที่ให้ความรู้เรื่องการเขียนเรียงความที่ดี อีกไม่นานผมต้องไปแข่งขันเขียนเรียงความด้วยสิขอกำลังใจด้วยนะครับ

นร.สตรีพัทลุง [IP: 118.173.201.22]
14 พฤศจิกายน 2553 08:51
#2251502

ครูตั๊กขา การเขียนความเรียง กับ เรียงความ เหมือนกันไหมค่ะ แล้ววิธีการเขียนต้องมี 3 ย่อหน้าไหม

...........................................................


อาชิตะ ชะบาโตะ [IP: 110.49.151.225]
14 พฤศจิกายน 2553 21:17
#2252230

ครูตั๊กครับการเรียงความขั้นสูงมี3ย่อหน้าใช่ไหมครับคือ คำนำ เนื้อเรื่อง สรุป ใช่ป่าวครับ คุณครูตั๊กช่วยบอกทีคร้าฟ!!!

จุรีรัตน์ [IP: 182.232.242.102]
16 พฤศจิกายน 2553 19:53
#2254498

ครูค่ะหนูไม่รู้ว่าจะตั้งหัวข้อเรื่องอะไร

สรัลพร [IP: 222.123.94.145]
22 พฤศจิกายน 2553 19:16
#2262225

หนูเขียนแข่งขันได้ที่ 1 ของเพชรบุรีเป็นตัวแทนแข่งระดับภาคค่ะ

สรัลพร [IP: 222.123.94.145]
22 พฤศจิกายน 2553 19:24
#2262238

ไม่จำเป็นต้อง 3 ย่อหน้าหรอกค่ะถ้าอย่างเช่นสถานที่ท่องเที่ยวมีหลายที่ อย่างสมมุติ3ที่ ก็ย่อ3ย่อหน้าก็ได้ค่ะถ้ามีหัวข้อใหม่ก็ย่อหน้าได้ค่ะ ส่วนคำนำ เนื้อเรื่อง สรุป คนละส่วนค่ะ ต้องมี 1.หน้าปก 2.ปกรอง 3.คำนำ 4.สารบัญ 5.บทนำ 6.เนื้อเรื่อง ไม่จำเป็นต้องหน้าเดียว 7.บทสรุป 8.ภาพเกี่ยวกับเรื่องที่ทำ ไม่จำเป็นต้องหน้าเดียว 9.เอกสารอ้างอิงอย่างน้อย 2 ชื่อ

okนะคะคุณอาชิตะ ชะบาโตะ

บุษบา ชัยสา [IP: 118.172.228.83]
23 พฤศจิกายน 2553 15:44
#2263611

ความเรียงขั้นสูงไม่รู้จะมีกลวิธีใดให้นักเรียนที่เรียนอ่อนที่สุดห้อง 8-10 เรียนรู้เรื่องบอกหน่อยนะคะเอาบุญ

คุณครูตั๊ก (ความเคลื่อนไหวล่าสุด)
23 พฤศจิกายน 2553 17:39
#2263722

ขอบคุณ คุณสลัลพร มากค่ะ

คุณครูตั๊ก (ความเคลื่อนไหวล่าสุด)
23 พฤศจิกายน 2553 17:42
#2263726

คุณบุษบาคะ ห้องที่ครูตั๊กสอน ก็เป็นเด็กเรียนอ่อนค่ะ คุณครูมอบหมายงานให้ครั้งละน้อยๆ เพื่อให้เด็กทำได้ และจะได้เกิดกำลังใจในการทำงาน สู้ๆ นะคะ เอาใจช่วยทุกคนค่ะ

ครูวาสินี เวชชประสิทธิ์ [IP: 58.8.128.209]
29 พฤศจิกายน 2553 08:48
#2271013

ขอบคุณครูตั๊กมากเลยค่ะ ที่กรุณาเปิดไฟให้ห้องเรียน EE ความเรียงขั้นสูงสว่างไสวขึ้นอีกแรงหนึ่ง ให้กำลังใจครูตั๊กสร้างกุศลนี้ต่อไปอีกค่ะ


ศุภลักษณ์ [IP: 119.31.126.66]
29 พฤศจิกายน 2553 14:35
#2271489

ไม่รู้จะเริ่มทำยังไงดีค่ะครูสั่งงานให้ทำวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาแล้วต้องส่งพฤหัสนี้ค่ะ งงมาก เป็นครั้งแรกที่ได้ทำ ไม่รู้รูปแบบการทำด้วย อยากรู้รูปแบบการทำมากๆ ค่ะ

ด.ข.พีรณัฐ สิงคาน [IP: 223.207.155.84]
29 พฤศจิกายน 2553 19:18
#2271807

ครู คับคือว่า การเขียนเรียงความอะคับ เขา ดูกันตรงไหนบ้งคับ แล้ว ต้องอ้างอิงด้วยไหม

ขวัญ [IP: 223.206.86.132]
08 ธันวาคม 2553 19:28
#2283489

หนูเขียยนไม่เปน

รัชตะ คำใบ [IP: 113.53.70.170]
14 ธันวาคม 2553 18:59
#2289905

คุรครูครับคำนำความเรียงเขียนยังไงครับ

สราลี [IP: 61.19.66.102]
18 ธันวาคม 2553 20:01
#2294790

ครูค่ะ

คือว่ามันยากมากเข้าใจยากมากค่ะครู

คือหนูไม่เข้าใจวิธีการทำค่ะ

ทำส่งอาจารย์ที่ไรก็ผิดตลอดเลยค่ะครู

คุณครูตั๊ก (ความเคลื่อนไหวล่าสุด)
19 ธันวาคม 2553 20:15
#2296371

วันนี้ได้มีโอกาสไปร่วมงาน ประชุมทางวิชาการและเสนอผลงานโรงเรียนมาตรฐานสากล ที่ ศูนย์ราชการเฉลิมพระกียรติ 80 พรรษาที่ กทม. ได้ชมนิทรรศการของโรงเรียนต่างๆ ด้วยความื่นตาติ่นใจ และได้เห็นหลักสูตร EE ของโรงเรียนที่นำมาจัดนิทรรศการ

ก็มีความเชื่อมั่นค่ะ ว่าทุกโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนวิชาความเรียงขั้นสูง ได้เป็นอย่างดี เป็นกำลังใจให้คุณครูทุกท่าน ที่สอวิชา ความเรียงขั้นสูง และเป็นกำลังใจให้นักเรียน ทุกคนค่ะ

ทุกคนอาจจะเหนื่อย งวยงง หลงทาง แต่ทุกอย่างไม่มีอะไรผิดอะไรถูก ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละโรงเรียน และสามารถปรับแก้ไขหลักสูตรได้ตลอดเวลาค่ะ ยังมีนิทรรศการในวันที่ 20 ธ.ค. อีกหนึ่งวันค่ะ คุณครูที่ว่างจากการสอน และไปกลับสะดวก

ครูตั๊กขอเชิญมาชมนิทรรศการนะคะ ได้ประโยชน์และได้แนวทางไปปรับใช้ในโรงเรียนของเราได้มากทีเดียวค่ะ

อินทรา [IP: 202.129.52.213]
20 ธันวาคม 2553 09:34
#2297118

คือว่าหนูไม่เข้าใจครูมีตัวอย่างให้ดูใหมค่ะ

คุณครูตั๊ก (ความเคลื่อนไหวล่าสุด)
21 ธันวาคม 2553 03:41
#2298584

สำหรับน้องๆ นักเรียนที่เขียนขอตัวอย่างมาหรือ อยากให้เขียนอธิบาายพิ่มเติม ส่ง e-mail มานะคะ ครูตั้กจะแนบไฟล์ตัวอย่างไปให้ค่ะ

ภาณุ [IP: 111.84.184.239]
06 มกราคม 2554 17:44
#2320454

ขอตัวอย่างเรื่องเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวหน่อยได้หมัยครับ

ok [IP: 115.87.98.160]
12 มกราคม 2554 01:39
#2326939

รบกวนขอตัวอย่าง "การเขียนความเรียงขั้นสูง" ภาษาไทย 1 เล่ม นะคะ

อยากทราบว่ามี ตัวอย่าง "Extended Essay" จากเพื่อนครูอังกฤษที่โรงเรียนหรือไม่ ขอเป็นตัวอย่าง สัก 1 ชุด

เพราะเคยส่งนักเรียนเข้าแข่งขัน แต่ทั้งครูและกรรมการเองก็ไม่สันทัด ผลงานก็ยังไม่เคยได้ถึงเกณฑ์

ไปนิทรรศการในวันที่ 20 ธ.ค.เช่นกันค่ะ EEที่เป็นภาษาอังกฤษหายากมาก พบ1ชิ้น แต่ถูกหยิบยืมไปจนไม่ทราบอยู่ที่ไหนเลยค่ะ

จึงอยากขอแลกเปลี่ยนเพื่อเรียนรู้ จะเป็นพระคุณยิ่ง

ขอขอบคุณล่วงหน้าด่วนๆๆนะคะ จะแสดงในOpen House พฤหัส 13 ม.ค.นี้แล้วค่ะ

วันทนา คันธสร [IP: 203.172.161.118]
12 มกราคม 2554 09:06
#2327066

เป็นครูสอนการเขียนความเรียงอยากได้ตัวอย่างผลงานเขียนความเรียงไว้เพื่อศึกษาและเป็นตัวอย่างให้นักเรียนด้วยค่ะ

ขอขอบคุณครูตั๊กมากเลยค่ะ

[IP: 180.183.212.78]
12 มกราคม 2554 18:10
#2327662

อยากดูตัวอย่างค่ะ

วนพรรณ [IP: 125.27.229.133]
13 มกราคม 2554 22:16
#2329306

คือว่าโรงรียนหนูก็เรียนงงมากคะ

ประภัสสร [IP: 1.47.204.178]
18 มกราคม 2554 10:39
#2334405

การเขียนความเรียงขั้นสูง เรื่อง โขน

ควรจะเขียน บทนำ อย่างไรดีค่ะ จึงจำถูกต้องเหมาะสม

ครูสมสมร จรจรัส [IP: 124.121.228.124]
19 มกราคม 2554 17:00
#2336101

ดิฉันว่าการเขียนความขั้นสูงไม่ใช่เรื่องง่ายค่ะ

แอลฟ่า [IP: 49.230.171.80]
25 มกราคม 2554 21:10
#2342608

ทำเรื่องไดโนเสาร์ค่ะ แต่ไม่รุว่าควรเขียนบดคัดย่อกับบทนำยังไงค่ะช่วยบอกให้ทราบได้ไหมค่ะ

จะขอบคุณมากค่ะอาจารย์

จิราวรรณ [IP: 182.232.244.15]
27 มกราคม 2554 18:21
#2344314

คุณครูค่ะหนูอยากดูตัวอย่างมากเลยค่ะตอนนี้ เพราะหนูไม่ค่อยเข้าใจเรื่องนี้เท่าไหร่เลย

อรณิชา [IP: 61.7.177.222]
30 มกราคม 2554 22:33
#2347646

รบกวนขอตัวอย่าง "การเขียนเรียงความขั้นสูง" ภาษาไทย หน่อยนะคะ

น้ำฟ้า [IP: 203.114.109.2]
31 มกราคม 2554 11:52
#2348049

คุณครูตั๊กค่าช่วยแนะนำการเขียนความเรียงขั้นสูง เรื่องภาวะโลกร้อน ถ้ามีตัวอย่างช่วยส่งมาทางอีเมลล์ด้วยนะค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าหวังอาจารย์คงช่วยหนูได้ ขอบคุณค่ะ

[IP: 118.174.88.94]
09 กุมภาพันธ์ 2554 18:12
#2358223

ตอนนี้หนูเกิดภาวะงงกับความเรียงอะค่ะไม่รู้ว่าขั้นตอนการทำเป็นยังไง
.......................................................................

นร.พะเยา [IP: 118.172.131.237]
12 กุมภาพันธ์ 2554 07:34
#2360681

ตอนนี้หนูเรียนระบบมาตรฐานสากล แล้วตองเขียนความเรียงอาชีพที่อยากเป็น โดยใช้การอ้างอิง หนูไม่ค่อยเข้าใจเลยค่ะ คะแนนก็สูงมากเลย

ไม่มีอะ [IP: 61.7.171.58]
21 กุมภาพันธ์ 2554 18:42
#2371369

อะรัยวะตูงง

[IP: 112.121.131.194]
25 กุมภาพันธ์ 2554 08:20
#2375023

ดิฉันน่ะไม่เคยศึกษาหรือไปอบรมเรื่องนี้มาก่อน แต่จากการศึกษาและอ่านตามแนวการเขียนเรียงความขั้นสูง เขาบอกว่าเป็นสาระว่าด้วยการศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระในเรื่องที่ผู้เรียนสนใจจากสาระการเรียนรู้เน้นการฝึกกระบวนการค้นคว้าด้วยตนเอง การถ่ายทอดสื่อความหมายแนวคิดและข้อมูลเป็นความเรียง พวกคุณกำลังหลงทางหรือเปล่าวิชานี้น่าจะเป็นการบูรณาการทุกสาระการเรียนรู้และครูบรรณารักษ์ตามคู่มือ ไม่ใช่ครูภาษไทยเป็นคนสอนเลย ครูภาษาไทยแค่ช่วยให้ใช้ภาษาไทยที่เรียนมาแล้วเรียบเรียงเนื้อหา มันจึงไม่ใช่ความเรียงหรือเรียงความ แต่เป็นการเรียบเรียงรายงานการค้นคว้าวิจัย

มีอาจารย์ที่จบดุษฎีบัณฑิตทางอักษรศาสตร์ท่านหนึ่งฝากถามพวกคุณว่า เรียงความมีขั้นสูงและขั้นตำล่ะมีมั้ย ชักเลอะเทอะกันใหญ่

คนเป็นครู ภาษาย ๓๐ กว่าปี



ครูไทย [IP: 202.143.191.26]
11 มีนาคม 2554 15:39
#2387540

ได้รับมอบหมายให้สอนวิชานี้ชั้น ม.2 แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจนัก จึงต้องรบกวนครูตั๊กขอแนวทางการจัดการเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชา และรายละเอียดของมาตรฐาน/ผลการเรียนรู้(ทั้ง 3 ชั้น เลยนะคะ) ขอบคุณมากค่ะ

ครูไทย [IP: 202.143.191.26]
11 มีนาคม 2554 15:50
#2387549

ขอรายละเอียดโครงสร้างหลักสูตร คำอธิบายรายวิชาไว้ กรุณาส่ง atcha45@hotmail.com นะคะ เมื่อสักครู่ลือบอกอีเมล์ค่ะ

สับสนเหมือนกันค่ะ [IP: 61.19.67.229]
03 พฤษภาคม 2554 12:29
#2427513

สอนโรงเรียนมาตรฐานสากลเหมือนกัน พออ่านข้อความของเพื่อนครูแล้วก็สับสน เพราะท่ี่่ีโรงเรียนจัดวิชาความเรียงขั้นสูงในสาระภาษาต่างประเทศด้วย ตอนนี้นอนไม่หลับแล้วววว.... ตกลงตามหลักเกณฑ์แล้วเขาให้จัดอย่างไรกันแน่ แล้ววิธีสอนก็ต้องค้นค้วาเองหรือ ยากนะคะ ครูว่ายากนักหนาแล้ว ... แล้วนักเรียนละ.....แต่ถ้ายังไม่เออลี่ ก็สู้ ๆๆ ค่ะ...

นักเรียน [IP: 223.205.37.72]
14 พฤษภาคม 2554 10:16
#2439188

คือ ว่าทำไม มันเยอะจัง ค่ะ เขียนก็ยากเหมือนเขียนวิจัยเลย ค่ะ คือมันเร็วไปรึเปล่า สำหรับเด็ก ม4. เรียงความขั้นสูง2เล่มต่อ ปี คือ ว่ามันคิดยากนะ ค่ะ กว่าจะทำได้

เด็กอุบล [IP: 180.180.34.232]
19 พฤษภาคม 2554 14:54
#2442844

หนูยุป.6ก็เขียนนะค่ะ

ถวัลย์ [IP: 113.53.137.92]
22 พฤษภาคม 2554 11:04
#2447179

ยากจังคับ

เด็ก สุรศักดิ์ [IP: 115.67.220.226]
24 พฤษภาคม 2554 20:49
#2449652

ยาก จางเยย นร๊ คับ

[IP: 202.143.143.130]
26 พฤษภาคม 2554 10:45
#2450709

อย่าๆๆๆๆๆ

อิอิ

555+

Lnw Ma [IP: 118.172.97.10]
27 พฤษภาคม 2554 18:16
#2451751

ยากๆๆๆๆๆๆๆๆ

ควาเห็นของนักเรียน [IP: 101.51.1.179]
28 พฤษภาคม 2554 12:53
#2452393

ตอนนี้หนูต้องเขียนเรียงความขั้นสูงค่ะ หนูเป็นนักเรียนห้องเรียนอัจฉริยะ จึงคิดว่าการหาข้องมูลหรือการนำมาเรียบเรียง รวมถึงเวลาที่ค่อนข้างนานหรือความซับซ้อนของเรียงความขั้นสูงไม่ใช่ปัญหาสำหรับหนูเลยค่ะ แต่ปัญหาที่อยากให้อาจารย์ผู้สอนทุกท่านให้ความสำคัญอย่างมากเลยก็คือ การสอนหรือการอธิบายให้เด็กเข้าใจค่ะ ว่ากำลังต้องการให้เด็กทำอะไร ตอนนี้พวกหนูมึนกับคำอธิบายและการสั่งงานของอาจารย์มากค่ะ พวกหนูถามเรื่องหนึ่งอาจารย์กลลับตอบอีกเรื่อง หรือที่สื่อสารกับไม่เข้าใจเป็นเพราะอายุที่ห่างกันมาาาาากกกกกกเหลือเกิน ขอความกรุณาอาจารย์ทุกท่านรับไว้พิจารณาด้วยค่ะ หนูไม่อยากให้เพื่อนๆอีกหลายพันคนต้องมึนเหมือนกับหนูค่ะ

มะลิวัลย์ [IP: 115.67.69.208]
30 พฤษภาคม 2554 20:50
#2454830

สวัสดีค่ะครู วิภาวรรณ เรืองวิรัตน์ หนูมีงานที่ครูร.ร สั่งมาต้องการคำช่วยเหลือจากครูค่ะเพราะพึ่งส่งมาครั้งแรกเองค่ะ เรื่องการเขียนความเยงเกี่ยวกับรายวิชาภาไทย

นักเรียน ครับบบ [IP: 110.49.235.111]
30 พฤษภาคม 2554 22:35
#2454931

ผมอยากทราบว่า การเขียนความเรียงขั้นสูงเรืองไหนควรเขียนหรึอไม่ควรเขียนครับบ ผมยังงงอยู่เลยไม่รู้จะทำเรื่องแบบไหนครับบ กรุณาด้วยนะครับ..

ครูแบงค์ [IP: 223.206.188.178]
02 มิถุนายน 2554 14:02
#2456933

คือผมสอนคณิตศาสตร์ แล้วจำเป็นต้องสอนหลักสูตร TOK นี้ด้วย แต่..กระผมเองก็ยังไม่เข้าใจรูปแบบสักเท่าไร

ตอนนี้ผมเริ่มสอนเด็กโดย 1.อธิบายให้เด็กฟังคร่าว ๆไปว่าเป็น ทฤษฎีสร้างองค์ความรู้ด้วยต้นเอง นำสิ่งที่เรียนไป

ประยุกต์กับชีวิตประจำวัน เช่น การแปลงทางเรขาสู่ลวดลายศิลป์

2. แล้ว ก็ให้เด็กไปคิดหัวข้อที่สนใจกันมาเพื่อนจะนำมาศึกษา หรือ ปฏิบัติ กันต่อ

......แล้วผมควร สอนต่อแบบไหน ดี ครับ...ขอคำแนะนำด้วยครับ...

อนุชา [IP: 113.53.221.206]
05 มิถุนายน 2554 12:52
#2459451

ผมไม่รู้จะเริ่มต้นการเขียนความเรียงยังงัยคับตอนนี้ผมกำลัง งง มากคับ และควรเขียนเรื่องไหนดี ผมขอคำแนะนำด้วยนะคับ ....ขอบคุณครับ.....

นวพร [IP: 49.48.147.100]
05 มิถุนายน 2554 13:49
#2459488

เป็นครูโรงเรียนมาตรฐานสากลเหมือนกันค่ะได้รับมอบหมายให้สอนวิชาความเรียงขั้นสูงม.2 ไม่เคยอบรมเลยขอความกรุณาช่วยส่งโครงสร้างรายวิชามาที่ n_aw3@hotmail.com และอยากให้อาจารย์ตั๊กนำตัวอย่างผลงานนักเรียนบางส่วนที่พอจะเผยแพร่ได้ลงในเว็บของอาจารย์ด้วยนะคะถือซะว่าเป็นวิทยาทานก็แล้วกันค่ะ

เรณุกา วุฒิสาร [IP: 115.87.135.9]
05 มิถุนายน 2554 15:34
#2459564

ได้รับมอบหมายให้สอนวิชาความเรียงขั้นสูงม.1 ไม่เคยอบรมเลยขอความกรุณาช่วยส่งโครงสร้างรายวิชามาที่ ranukawut@hotmail.com และอยากให้อาจารย์ตั๊กนำตัวอย่างผลงานนักเรียนลงในเว็บของอาจารย์ด้วยนะคะถือซะว่าเป็นวิทยาทานก็แล้วกันค่ะ

ขอบคุณอาจารย์มากๆค่ะ

เรณุกา วุฒิสาร

โรงเรียนป้อมนาคราชสวาทยานนท์

อ. พระสมุทรเจดีย์

จังหวัด สมุทรปราการ

โทร 084 649- 4084

วิลาวรรณ ศรีคุ้ย [IP: 1.47.235.218]
12 มิถุนายน 2554 05:42
#2464731

ขอดูตัวอย่างการเขียนความเรียงขั้นสูงเรื่องอะไรก็ได้คะ แบบฉบับเต็มที่เริ่มตั้งแต่ต้นจนจบนะคะ ดิฉันต้องนำไปสอนเด็กแต่ครูก็ทำไม่ถูกเหมือนกันคะ ส่งมาที่ อีเมลนี้ได้เลยนะคะ poo.-kob@hotmail.com ขอบพระคุณอย่างสูงคะ ครูวิลาวรรณ

นางสาวศรัณยา ลำบาล [IP: 119.42.96.88]
16 มิถุนายน 2554 13:02
#2467866

สวัสดีค่ะ

หนูขอตัวอย่างเรียงความชั้นสูง เพื่อที่จะได้เป็นแนวทางในการเขียนและทำความเข้าใจในการเขียนเรียงความชั้นสูง ขอความกรุณาคุณครูช่วยส่ง มาที่ อีเมล saranya_joy2011@hotmail.com ด้วยนะคะ

ชนัญชิดา ไชยสถาน [IP: 111.84.197.230]
23 มิถุนายน 2554 16:17
#2472715

ครูที่โรงเรียนให้หนูเขียนความเรียงชั้นสูงส่งประกวด แล้วหนูไม่เคยทำมาก่อนเลยค่ะ ต้องทำอะไรมั่งคะ

พรพิมล หงษ์น้อย [IP: 115.67.22.243]
26 มิถุนายน 2554 09:44
#2474841

เรียนครูตั๊ก หนูเพิ่งจบปริญญาตรีค่ะเข้าสอนในโรงเรียนครั้งแรกต้องสอนรายวิชาความเรียนขั้นสูงในระดับชั้น ม.2 ค่ะ หนูไม่แน่ใจว่าสิ่งที่หนูสอนเด็กอยู่นี้หนูทำถูกต้องแล้วหรือยังเพราะหนูก็ไม่ค่อยเข้าใจในรายละเอียดของสาระเท่าไหร่ และไม่เคยอบรมค่ะ แต่หนูก็ได้สอนรายวิชานี้ หนูจึงอยากรบกวนอาจาย์ช่วยอธิบายในรายละเอียดของวิชานี้และขอรบกวนดูผลงานของนักเรียนด้วยค่ะ ขอกราบขอบพระคุณมาล่วงหน้า ณ โอกาสนี้ miss_you_to_me@hotmail.com อีเมล์ของหนูค่ะ

พิมพ์ชนก ปิงสุแสน [IP: 61.7.228.130]
30 มิถุนายน 2554 14:32
#2478366

ขอดูตัวอย่างการเขียนความเรียงขั้นสูงเรื่องอะไรก็ได้คะ แบบฉบับเต็มที่เริ่มตั้งแต่ต้นจนจบนะคะ ดิฉันต้องนำไปสอนเด็กแต่ครูก็ทำไม่ถูกเหมือนกันคะ ส่งมาที่ อีเมลนี้ได้เลยนะคะ pimcha_kendo@hotmail.com และอยากให้อาจารย์ตั๊กนำตัวอย่างผลงานนักเรียนบางส่วนที่พอจะเผยแพร่ได้ลงในเว็บของอาจารย์ด้วยนะคะถือซะว่าเป็นวิทยาทานก็แล้วกันค่ะ

ขอบพระคุณอย่างสูงคะ ครูวิลาวรรณ

รุณณี รุ่งระวีวิลาศ [IP: 223.206.22.212]
30 มิถุนายน 2554 20:53
#2478588

เรียน ครูตั๊ก

โรงเรียนดิฉันไม่ใช่โรงเรียนมาตรฐานสากล แต่ดิฉันได้อ่านเรื่องเรียงความขั้นสูงจากการที่ ศึกษานิเทศก์ให้โรงเรียนส่งนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันการเขียนเรียงความขั้นสูงซึ่งดิฉันไม่เคยสอนเด็กเลย เพราะในหลักสูตรไม่มีแต่เคยอ่านในอินเทอร์เน็ต จึงไม่กล้าส่ง นักเรียนเข้าร่วมแข่งขัน ทราบแต่ว่ามีลักษณะการเขียนคล้ายการเขียนรายงานวิจัย ดิฉันจึงใคร่ขอรบกวนครูตั๊ก กรุณาส่งตัวอย่างการเขียนความเรียงขั้นสูงเรื่องอะไรก็ได้คะ แบบฉบับเต็มที่เริ่มตั้งแต่ต้นจนจบนะคะ ดิฉันต้องนำไปสอนเด็กแต่ครูก็ทำไม่ถูกเหมือนกันคะ ส่งมาที่ อีเมลนี้ได้เลยนะคะ runnee@live.com และอยากให้อาจารย์ตั๊กนำตัวอย่างผลงานนักเรียนบางส่วนที่พอจะเผยแพร่ได้ลงใน เป็นตัวอย่างให้ด้วยนะคะ ดิฉันขอขอบพระคุณครูตั๊กล่วงหน้าค่ะ

พัชราภรณ์ พันนังศณี [IP: 118.173.145.2]
04 กรกฎาคม 2554 17:48
#2481036

ยากมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก................


 

Extended essay

Extended essay

From Wikipedia, the free encyclopedia

The extended essay (EE) is a mandatory core component of the IB Diploma Programme. It is a research paper of up to 4,000 words giving students an opportunity to conduct independent research or investigation on a topic that interests them.[1] Like the theory of knowledge (TOK) essay, TOK presentation and participation in creativity, action, service activities, submitting an extended essay is a prerequisite for award of the Diploma.
-------------------------------------------------------


Recommended subjects


Although the extended essay may be written on a topic of the student's choice, it is recommended that it be taken from the field of one of the IB subjects that one is studying (e.g. one can write about a book that has not been studied as part of IB English,[you are not allowed to study a book for EE that you have already studied in class]).[2] However, the topic must not be too broad or too narrow so it is difficult to write 4000 words, and the general subject must be taught under the IB diploma program by one of the members of staff at the high school (so that there is someone with expertise able to help). The subject (not topic) on which the extended essay is written is recommended to be one that the candidate has formally studied, but this is not required. Also, the EE may not be written across different subjects – it must concentrate on one subject only[citation needed]. However, some subjects include several disciplines, with an emphasis towards one. An example is the subject Environmental Systems and Societies, which can include chemistry, biology, psychology, etc. generally with an emphasis toward one discipline.

--------------------------------------

Supervision

The supervisor provides the student with assistance in putting together their EE, including guiding them in finding a suitable research question and on how to acquire the necessary resources to complete the research (such as a specific resource material–often hard-to-find documents or books–or laboratory equipment). The supervisor may suggest improvements to a version of the EE, but must not be engaged in writing it. The IBO recommends that the supervisor spend approximately two to three hours in total with the candidate discussing the EE. Some schools allow their students to choose a supervisor from outside their school, provided that the student appoint a teacher from inside the school to handle required administrative paperwork (such as anti-plagiarism policies).

......................................

Assessment

Extended essays are marked by external assessors (examiners appointed by the IB) on a scale of 0 to 36. There are "general" and "subject-specific" criteria, at a ratio of 2:1 (24 possible marks for the general criteria and 12 marks for the subject-specific one). The total mark is converted into a grade from A to E. A similar system is used for theory of knowledge and students can gain up to 3 points for the diploma based on the grades achieved for EE and TOK. Prior to the class of 2010, a diploma candidate could receive a failing grade in either the extended essay or theory of knowledge and still be awarded a diploma. However, if a student scores an E on both the extended essay or TOK essay he or she will not be eligible to receive an IB diploma.

......................................

References

The Dwight School- The Extended Essay An Exercise in Authentic Research

This article includes a list of references, related reading or external links, but its sources remain unclear because it lacks inline citations. Please improve this article by introducing more precise citations where appropriate. (February 2009)

^ "IB Diploma Programme curriculum, extended essay". International Baccalaureate. http://www.ibo.org/diploma/curriculum/core/essay/. Retrieved 2009-07-23.
^ "IB Diploma Programme, Extended Essay Handbook". International Baccalaureate. http://www.fc.aes.ac.in/~jreberio/FOV1-00019957/EE%20Handbook%202010-11.pdf. Retrieved 2010-08-13.
^ ibsca Curriculum Content Guide, February 2009
Retrieved from "http://en.wikipedia.org/wiki/Extended_essay"

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

World Class Standard School (3)











ภาพความสำเร็จโรงเรียนมาตรฐานสากล

ลักษณะการเป็นมาตรฐานสากล ประกอบด้วย

1. การจัดการเรียนการสอน
2. บริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ



คุณลักษณะโรงเรียนมาตรฐานสากล มีดังนี้

1. ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก [เป็นเลิศวิชาการ,สื่อสารสองภาษา, ล้ำหน้าทางความคิด , ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์]
2. การจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล
3. บริหารจัดการด้วยระบบ คุณภาพ



วัตถุประสงค์ โรงเรียนมาตรฐานสากล
1. พัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพ เป็นพลโลก
2. ยกระดับการจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล
3. ยกระดับการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ



บทบาทและภารกิจการยกระดับคุณภาพโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล


สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1. จัดตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากลในระดับ สพฐ.
2. จัดตั้งภาคีเครือข่ายและคณะกรรมการประสานงานโรงเรียนร่วมพัฒนาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ
4. พัฒนาผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรหลัก เพื่อเพิ่มสมรรถนะการยกระดับคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล ตลอดจนสนับสนุนทรัพยากร งบประมาณ สื่อ เอกสาร ตำราเรียน เทคโนโลยี นวัตกรรมที่มีคุณภาพระดับสากลเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของโรงเรียน
5. วิจัยและพัฒนารูปแบบและแนวทางการพัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากลและติดตาม ประเมินผลการดำเนินการ รายงาน ประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่



สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
1. ศึกษา ทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากลและประสานงาน อำนวยความสะดวกให้กับโรงเรียนในโครงการ
2. ประสานงาน อำนวยความสะดวกในการดำเนินงานของ ศ.กม. และศน.ม
3. ส่งเสริมและสนับสนุน อำนวยความสะดวกในการนิเทศ ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียนของ ศน.ม.
4. ประสานการกำกับ ติดตาม ประเมินผลร่วมกับ ศ.กม.และศน.ม.


ศูนย์ประสานงานการจัดการมัธยมศึกษา(ศกม.) และกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัด

1. สร้างความเข้าใจ และความตระหนักให้กับผู้บริหาร ครู และบุคลากรในโรงเรียนในโครงการฯ
2. ประสาน สพท. ศน.ม. และ สพฐ.ในการดำเนินงานบริหารโครงการ
3. ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของ ศน.ม. โรงเรียน และเครือข่ายโรงเรียนร่วมพัฒนา
4. ประสาน ศน.ม.ในการสรรหาโรงเรียนต้นแบบ และการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของโรงเรียนระหว่างเครือข่ายในส่วนภูมิภาค
5. กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานของโรงเรียนมาตรฐานสากล
6. รายงานผลการดำเนินงาน ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่



เครือข่ายการนิเทศการมัธยมศึกษา(ศน.ม.)

1. นิเทศ ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล
2. ส่งเสริมให้โรงเรียนจัดทำแผนกลยุทธ์และจัดทำพันธะสัญญากับสพฐ.
3. ประสานความร่วมมือระหว่าง สพฐ. ศ.กม. สมป.จังหวัด และสพท. ในการการนิเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของภาคีเครือข่ายโรงเรียนร่วมพัฒนาทั้งในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระหว่างประเทศ
4. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินงานของโรงเรียนระหว่างเครือข่ายการนิเทศ ในระดับภูมิภาคและสรรหาโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับกลุ่มจังหวัด
5. พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน
6. วิจัยและพัฒนาแบบมีส่วนร่วมการพัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากล
7. นิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการพัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากลและรายงานผลการดำเนินงาน ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่



สถานศึกษา
1. สร้างความตระหนักและชี้แจงแนวทางพัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากลให้แก่ ครู บุคลากร และผู้เกี่ยวข้อง
2. ทบทวน ปรับแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล
3. พัฒนาครูและบุคลากรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อยกระดับคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล
4. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กระบวนการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผลตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล
5. พัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี ห้องสมุด และแหล่งเรียนรู้
6. แสวงหาภาคีเครือข่าย และ จัดกิจกรรมการพัฒนากับโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partner Schools) ทั้งภายในและต่างประเทศ
7. วิจัยและพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการสอน
8. นิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล รายงาน ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่



ขั้นตอนการดำเนินงาน

ขั้นตอนการดำเนินงานการยกระดับคุณภาพโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล ประจำปีงบประมาณ 2553

ลำดับ
กิจกรรมหลัก
เป้าหมาย
ตัวชี้วัด

1.จัดทำสื่อ เอกสารสนับสนุนการดำเนินงานผลิตเอกสาร คู่มือ แนวทางการดำเนินงานโครงการ 4 ต้นฉบับ สำหรับบุคลากร สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานจำนวนสื่อ/เอกสารที่จัดพิมพ์เผยแพร่ต่อต้นฉบับ

2.ประชุมสัมมนาส่ร้างความเข้าใจการขับเคลื่อนคุณภาพโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรหลักโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย 1,300 คน ทราบแนวทางการดำเนินงาน จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา

3.ศน.ม ประชุมปฏิบัติการทบทวนแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนและจัดทำพันธะสัญญากับสพฐ.(MOU)โรงเรียน 500โรงเรียนทบทวน จัดทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ และพันธะสัญญากับ สพฐ.ร้อยละของโรงเรียนที่จัดทำพันธะสัญญา

4.จัดตั้งภาคีเครือข่ายและคณะกรรมการประสานงานโรงเรียนร่วมพัฒนาทั้งในประเทศและต่างประเทศ (Partner Schools)
โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายทุกโรงเรียนมีเครือข่ายที่ปฏิบัติกิจกรรมการร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษา ร้อยละของโรงเรียนที่ปฏิบัติกิจกรรมการการร่วมพัฒนากับโรงเรียนในเครือข่าย

5.คัดสรรและจัดหาสื่อ เอกสาร ตำราเรียนที่มีคุณภาพระดับสากล สนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียน โรงเรียน 500 โรงเรียนมีสื่อ เอกสาร ตำราเรียนที่มีคุณภาพระดับสากลใช้ในการจัดการเรียนการสอน ร้อยละของโรงเรียนที่นำ สื่อ/ตำราเรียนที่ได้รับ ไปใช้จัดการเรียนการสอน

6.ประชุมปฏิบัติการจัดทำแนวทางการพัฒนาหลักสูตรและการสอน โรงเรียน 500 โรงเรียนและผู้เกี่ยวข้องมีเอกสารแนวทางการพัฒนาหลักสูตรและการสอนที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศและสอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียน ร้อยละของโรงเรียนที่จัดหลักสูตรและการสอนได้สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียนและขีดความสามารถของโรงเรียน

7.พัฒนาผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเพิ่มสมรรถนะการยกระดับคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล สพฐ.ดำเนินการวิจัยผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่เกี่ยวข้องทุกคนเพิ่มขีดความสามารถในการการยกระดับคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล จำนวนผู้เกี่ยวข้องที่ได้รับการพัฒนา

8.พัฒนารูปแบบและแนวทางการพัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากลแบบมีส่วนร่วม (PAR)มีรูปแบบการพัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐานสากลระดับประเทศ รายผลการวิจัย 1 เรื่อง

9.ศน.ม นิเทศ วิจัยและพัฒนาแบบมีส่วนร่วม การพัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากล(PAR)มีผลการวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับภูมิภาค รายงานผลการวิจัยระดับกลุ่มจังหวัด 19 เรื่อง

10.โรงเรียนวิจัยและพัฒนารูปแบบและหลักสูตรการสอนโรงเรียนทุกโรงเรียนมีรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรและการสอนที่พัฒนาแล้ว
รายงานผลการวิจัยและพัฒนาของโรงเรียน 500 เรื่อง

11.โรงเรียนจัดกิจกรรมการพัฒนาและเทียบเคียงมาตรฐานกับโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partner Schools) ทั้งภายในและต่างประเทศโรงเรียน 500 โรงเรียน จัดกิจกรรมการพัฒนาและเทียบเคียงมาตรฐานร้อยละของโรงเรียนที่จัดกิจกรรมการพัฒนาและเทียบเคียงมาตรฐาน


12.จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินงานของโรงเรียนระหว่างเครือข่ายการนิเทศในระดับภูมิภาคผู้บริหาร ครูและบุคลากรทุกโรงเรียนในโครงการ19 กลุ่มจังหวัดได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าในการพัฒนาโรงเรียน จำนวนบุคลากร:โรงเรียนที่ได้ร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในแต่ละกลุ่มจังหวัด

13.สรรหาโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับกลุ่มจังหวัด มีโรงเรียนที่เป็นต้นแบบโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับกลุ่มจังหวัดอย่างน้อยกลุ่มจังหวัดละ 1 โรง จำนวนโรงเรียนต้นแบบในแต่ละกลุ่มจังหวัดที่ผ่านการประเมินสรรหาตามเกณฑ์

14.นิเทศ กำกับ ติดตาม ผลการพัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากลโรงเรียนทุกโรงเรียนได้รับการ ส่งเสริมสนับสนุนเพื่อการพัฒนา อย่างต่อเนื่องจำนวนโรงเรียนที่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุน

15.ประเมินผลการดำเนินการ รายงาน ประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่โรงเรียนมีการพัฒนาตามเกณฑ์และมีผลการพัฒนา ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ร้อยละของโรงเรียนที่มีผลการประเมิน ผ่านเกณฑ์

16.สัมมนานำเสนอผลงานระดับชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ยกย่องเชิดชูเกียรติ (National Symposium) สพฐ.ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ ครู บุคลากรทางการศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 2,000 คนเข้าร่วมประชุมสัมมนาจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา

World Class Standard School (2)























กระบวนทัศน์


เรา คือ ประชาคมโลก

ความใฝ่รู้ไม่มีพรมแดนในชุมชนโลก สัมพันธภาพ และความเป็นเครือญาติพี่น้อง นั่นคือ
ความรับผิดชอบร่วมกันของมวลมนุษยชาติต่อประชาคมโลก



ความใฝ่รู้ คือ วิถีไปสู่ความรู้แจ้ง

สร้างวิถีแห่งการรู้แจ้ง สร้างแรงกระตุ้นใหม่ๆ แสดงความมหัศจรรย์และเป้าหมายของสาระวิชา ปริมาณความรู้ คือความเพลิดเพลินในการแสวงหา


โรงเรียนมาตรฐานสากลมีหลายรูปแบบ

เป็นตัวของตัวเอง พัฒนาศักยภาพขององค์กร เร่งให้เกิดความพร้อมโดยระดมทรัพยากรรอบด้าน จากแบบอย่างความสำเร็จที่หลากหลาย



โรงเรียนสอนวิถีแห่งภูมิปัญญา

เด็กมีภูมิปัญญา ความสามารถต่างกัน ความถนัดเป็นสิ่งเพิ่มศักยภาพได้ รู้จักและเข้าใจ ใช้กระบวนการคัดกรองในระบบดูแลช่วยเหลือเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อส่งเสริมพหุปัญญาของเด็กที่แตกต่างกัน



โรงเรียนประชาบาล

การจัดการศึกษาไม่ใช่ภาระของรัฐบาลโดยลำพัง เครือข่ายพันธกิจ เริ่มต้นจากมิตรภาพในชุมชนท้องถิ่นไปสู่ภูมิภาค ข้ามพรมแดนไปสู่สังคมโลก สร้างสังคมที่ดีเป็นหน้าที่ของทุกคน เยาวชน คือ อนาคตของชุมชน ความหวังของชาติ และชะตากรรมของมวลมนุษยชาติ


World Class Standard School (1)












เจตนารมณ์

ในปัจจุบัน ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการสื่อสาร ทำให้สังคมโลกมีการลื่นไหลระหว่างวัฒนธรรมมากขึ้น การเมืองแบบเสรีประชาธิปไตยเป็นที่นิยมยอมรับกันทั่วโลก ประเทศไทยจะมีความสัมพันธ์กับชุมชนโลกบนพื้นฐานของศักดิ์ศรีและความเท่าเทียมกันจะมีความสามารถในการแข่งขันและร่วมมือกับประชาคมโลกได้ ต่อเมื่อเรามีการปรับเปลี่ยนแนวทางการจัดการศึกษาให้สามารถพัฒนาคนและสังคมไทยให้มีสมรรถนะในการแข่งขัน มีคุณภาพสูงขึ้น รู้จักเลือกที่จะรับกระแสของวัฒนธรรมต่างชาติ ปลูกจิตสำนึกและความภาคภูมิใจในความเป็นคนไทย รวมถึงการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้ทันต่อสภาวการณ์โลกเรามีเจตนารมณ์มุ่งมั่นที่จะบรรลุความคาดหวังสำคัญดังนี้

1. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพอันหมายถึงเป็นคนดี เป็นคนเก่งเป็นคนที่สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุข บนพื้นฐานของความเป็นไทยภายใต้บริบทสังคมโลกใหม่รวมทั้งเพิ่มศักยภาพและความสามารถในระดับสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการสื่อสาร เพื่อการพึ่งตนเองและเพื่อสมรรถนในการแข่งขัน

2. โรงเรียนยกระดับคุณภาพสูงขึ้นสู่มาตรฐานสากล ผ่านการรับรองมาตรฐานคุณภาพแห่งชาติ(TQA) เป็นโรงเรียนยุคใหม่ที่จัดการศึกษาแบบองค์รวมและบูรณการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมศาสนา และการเมืองเพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

3. โรงเรียนพัฒนาหลักสูตร รูปแบบและวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นความแตกต่างตามศักยภาพของผู้เรียนโดยคำนึงผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งนี้จำเป็นต้องมีสื่อ อุปกรณ์ เครื่องมือ สื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม และปรับประยุกต์ใช้ได้สมประโยชน์ ทันต่อการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก

4. ผู้บริหาร ครู ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาด้วยวิธีการที่เหมาะสมหลากหลายอย่างทั่วถึง ต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนรู้และเพิ่มพูนประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสู่ความเป็นเลิศในระดับสากล ตลอดจนเพื่อจรรโลงความพึงพอใจและความผูกพันต่อวิชาชีพอย่างแน่นแฟ้น

5. โรงเรียนมีภาคีเครือข่ายการจัดการเรียนรู้และร่วมพัฒนากับสถานศึกษาระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระหว่างประเทศ ตลอดจนเครือข่ายสนับสนุนจากสถาบันอุดมศึกษาและองค์กรอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเป็นศูนย์และร่วมเป็นเครือข่ายพัฒนาความรู้ให้กับประชาชนในชุมชนและบุคคลทั่วไป


สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน