วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554

การวิจัยเชิงประเมิน

1. แนวคิดของประเด็นหลัก

1.1 การวิจัยเชิงประเมิน เป็นการศึกษาค้นคว้าในเชิงปริมาณที่เป็นระบบ ด้วยวิธีการที่เชื่อถือได้หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เน้นการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างคลอบคลุม ครบถ้วน เชื่อถือได้ และกำหนดเกณฑ์ในการตัดสินที่เป็นปรนัย เป็นการวิจัยประยุกต์ที่มุ่งตัดสินคุณค่าของ “ปฏิบัติการใด ๆ” ที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเป็นการวิจัยที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลประกอบการตัดสินใจเพื่อการพัฒนางาน
1.2 กระบวนการวิจับเชิงประเมิน มีขั้นตอนการดำเนินงานในลักษณะใกล้เคียงกับการวิจัยโดยทั่วไป ทั้งนี้ในทางปฏิบัติ มีขั้นตอนการดำเนินงานที่สำคัญ ๆ คือ วิเคราะห์/ทำความรู้จักกับ “เป้า” หรือ “สิ่งที่ต้องการประเมิน” ระบุหลักการและเหตุผล หรือจุดมุ่งมายหลักของการประเมิน กำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน กำหนดขอบเขตการประเมิน ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีแบบจำลองการประเมิน และตัวอย่างของงานประเมินต่าง ๆ ออกแบบประเมินพัฒนาเครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมิน วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการประเมิน และรายงานผลการประเมินต่อผู้เกี่ยวข้อง
1.3 การประกันคุณภาพ เป็นระบบงานที่มีการกำหนดมาตรฐานของงาน มีการพัฒนาและควบคุมให้การดำเนินงานเป็นไปตามมาตรฐาน และมีการประเมินหรือตรวจสอบผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ เพื่อตัดสินว่าการดำเนินงานและผลงานเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่ การประเมินหรือการวิจัยเชิงประเมินจึงเป็นกิจกรรมปรือเงื่อนไขที่สำคัญประการหนึ่งของระบบประกันคุณภาพเพื่อพัฒนาการศึกษา
1.4 การวิจัยเชิงประเมินในแต่ละกรณี จะมีการออกแบบและดำเนินในลักษณะที่มีจุดเน้นแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความต้องการสารสนเทศประกอบกับการตัดสนใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง



2. แนวคิดเกี่ยวกับการวิจัยเชิงประเมิน

ความหมายของการประเมินและการวิจัยเชิงประเมิน

การประเมินมีความหมายที่แตกต่างกันหลานลักษณะ เช่น การประเมินเป็นการให้บริการ (Evaluation = Serviceหรือ E = S) เป็นการรวบรวมข้อมูลและใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจของลูกค้าผู้เกี่ยวข้องกลุ่มต่าง ๆ การประเมินที่สอดคล้องกับกลุ่มแนวคิดนี้อย่างชัดเจน เช่น แนวคิดของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam, 1968) ที่ให้คำนิยามว่า “การประเมิน คือ การรวบรวมข้อมูลและใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ” หรือแนวคิดของ แพทตัน (Patton, 1978) ผู้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ “การประเมินโดยยืดประโยชน์ใช้สอย (Utilization-Focused Evaluation)” เป็นต้น หรือนิยามว่า การประเมินเป็นการตัดสินคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ (Evaluation = Judgement หรือ E = J ) โดยตัดสินคำคุณว่า ดี-เลว มีคุณภาพ-ไม่มีคุณภาพ ฯลฯ การปฏิบัติที่สะท้อนแนวคิดนี้อย่างชัดเจน เช่น การประเมินเพื่อรับรองวิทยฐานะในอดีต การตัดสินบุคคลใด ๆ ว่าสวย-ไม่สวย โดยอาศัยความรู้สึกของตนเองเป็นเกณฑ์ เป็นต้น หรือนิยามว่า การประเมินเป็นกระบวนการที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูล และตัดสินคุณค่าขิงสิ่งต่าง ๆ โดยเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด
การวิจัยเชิงประเมิน ถือเป็นมิติหนึ่งของการพิจารณากิจกรรมการประเมินเทียบเคียงกับกระบวนการวิจัย เป็นการศึกษาค้นคว้าในเชิงประเมนที่เป็นระบบด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เน้นการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างครอบคลุม ครบถ้วน เชื่อถือได้

การวิจัยเชิงประเมิน มีลักษณะหรือจุดเน้นที่แตกต่างจากงานวิจัยทั่วไปในหลายลักษณะ ที่สำคัญ ๆ คือ 1.) มุ่งหาสารสนเทศประกอบการตัดสินใจ ขณะที่การวิจัยทั่วไปมุ่งเน้นสร้างองค์ความรู้ใหม่ 2.) มุ่งตอบสนองความต้องการสารสนเทศของผู้ที่เกี่ยวข้อง ขณะที่การวิจัยทั่วไปเน้นสนองความต้องการของผู้วิจัย 3.) มุ่งตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ต้องการประเมินเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ขณะที่การวิจัยทั่วไปเน้นหาข้อสรุปเกี่ยวกับตัวแปรในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง และ 4.) ข้อสรุปจากการประเมินมีลักษณะเฉพาะเจาะจงสูง ขณะที่การวิจัยทั่วไปสามารถสรุปพาดพิงได้ในวงกว้างกว่า



ความสำคัญของการวิจัยเชิงประเมิน

การวิจัยเชิงประเมินมีความสำคัญ เพราะก่อให้เกิดประโยชน์ที่สำคัญ ๆ ในลักษณะต่อไปนี้
1. ทำให้ได้ข้อมูล สารสนเทศต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบาย หรือทิศทางการ
ดำเนินงานขององค์กร
2. ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง สื่อ/ชิ้นงาน แผนงาน โครงการ ให้เหมาะสม
ก่อนนำไปปฏิบัติ ลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดปัญหา อุปสรรคที่จะทำให้กิจกรรม หรือการดำเนินงานโครง
การใด ๆ ล้มเหลว
3. การประเมินความก้าวหน้าของงานในความรับผิดชอบทำให้ผู้รับผิดชอบงาน/โครงการทราบ
จุดเด่น จุดด้อยของงาน มีโอกาสที่จะปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นการลดโอกาสความสูญเปล่าในการปฏิบัติงาน
4. การประเมินความสำเร็จของงาน จะทำให้ทราบว่าการปฏิบัติการใด ๆ ที่ลงทุนไปแล้ว เกิด
ประโยชน์คุ้มค่าหรือไม่ ช่วยลดโอกาสการสูญเปล่าในการดำเนินงาน
5. การประเมินโดยเฉพาะในกรณีของการประเมินตนเอง จะทำให้ผู้รับผิดชอบงานเห็นจุดอ่อน
ของตน จะเกิดแรงจูงใจในการพัฒนางาน และเกิดการยกระดับคุณภาพงานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ๆรวมทั้งหากบุคคลได้มีโอกาสมองเห็นความสำเร็จในการปฏิบัติงานก็จะทำให้เกิดแรงจูงใจ เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ ในการปฏิบัติงานได้อีกลักษณะหนึ่ง



หลักการของการวิจัยเชิงประเมิน

การวิจัยเชิงประเมินยึดหลักการที่สำคัญ ๆ ดังนี้
1. เป็นกิจกรรมการวิจัยที่มุ่งหาสารสนเทศประกอบกับการตัดสินใจในกระบวนการพัฒนางาน
2. มุ่งเสนอความต้องการสารสนเทศประกอบการตัดสินใจของผู้เกี่ยวข้อง มากกว่าความต้องการ
สารสนเทศของนักวิจัยเอง
3. มุ่งแสวงหาสารสนเทศเพื่อการปรับปรุง พัฒนางานมากกว่าการตัดสินความสำเร็จหรือความ
ล้มเหลว
4. ให้ความสำคัญกับการกำหนดเกณฑ์ตัดสินคุณค่าที่มีความเป็นปรนัย สะท้อนคุณภาพ โดย
กำหนดไว้ล่วงหน้าอย่างชัดเจนและเป็นที่ยอมรับ
5. ให้ความสำคัญกับการเสนอแนะทางเลือกที่หลากหลายภายหลังจากการตัดสินคุณค่า เพื่อช่วย
ให้สามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นตรง โอกาสการสูญเปล่า
6. ใช้วิธีการศึกษา นคว้าอย่างเป็นระบบ โดยอิงวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ เช่นเดียวกับ
การทำวิจัยทั่วไป
7. ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการในภาวะแวดล้อมที่มีความเฉพาะเจาะจงสูง เพื่อนำข้อมูลไป
ใช้ในสถานการณ์เฉพาะ ไม่คาดหวังผลในการสรุปพาดพิงในวงกว้าง



เป้าของการประเมิน หรือสิ่งที่ต้องการประเมิน

การนำกิจกรรมการประเมินไปใช้กับเป้าหรือสิ่งที่ต้องการประเมินที่สำคัญ ๆ เช่น
1. ประเมินสื่อ/อุปกรณ์/ชิ้นงาน ระบบงาน หรือรูปแบบการทำงานใหม่ ๆ ซึ่งในกรณีนี้ใช้
2. ประเมินบุคลากร ซึ่งมักจะพบในงานบริหารบุคคล
3. ประเมินงานปกติของหน่วยงาน
4. ประเมินนโยบาย แผนงาน โครงการ และหลักสูตร
5. ประเมินองค์กรหรือหน่วยงาน ในการประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานต่าง ๆ
เป้าของการประเมิน หรือสิ่งที่ต้องการประเมินแต่ละประเภท แต่ละสถานการณ์มีความซับซ้อนที่แตกต่างกัน การประเมินบางกรณีไม่ได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ครบถ้วนสมบรูณ์ เช่น กรณีการประเมินการปฏิบัติงานบุคลากรในองค์กร ในขณะที่ในกรณีของการประเมินนโยบาย แผนงานหรือโครงการ มีการเลือกกิจกรรมหรือทางเลือกที่เห็นว่าที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุดแล้วนำไปปฏิบัติการพัฒนาระยะหนึ่ง เสมือนการใส่ปฏิบัติการ (treatment) ในงานวิจัยเชิงทดลอง โดยมีการตั้งสมมติฐานว่า ผลงานหรือคุณภาพงานตามตัวชี้วัดใด ๆ จะสูงขึ้นหรือดีขึ้น และในขั้นตอนสุดท้ายมีการพิสูจน์หรือตรวจสอบผลการดำเนินงาน ซึ่งการดำเนินการในลักษณะนี้เรียกว่า การวิจัยประเมินผลโครงการ


ประเภทของการวิจัยเชิงประเมิน

การวิจัยเชิงประเมินจำแนกได้หลายประเภทขึ้นอยู่กับ “เกณฑ์” ที่ใช้จำแนกได้ ดังนี้

1.จำแนกโดยเกณฑ์ “จุดมุ่งหมายและลักษณะการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ” จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 การประเมินเพื่อการปรับปรุง เป็นการประเมินเพื่อมุ่งตรวจสอบว่างานเป็นไปตาม
แผนหรือไม่ มีปัญหา อุปสรรคอย่างไรบ้าง ผลงานเริ่มเกิดขึ้นหรือไม่ หรือมีปัจจัยใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของงาน
1.2 การประเมินเพื่อสรุปผล เป็นการประเมินที่มุ่งเน้นตรวจสอบผลลัพธ์ว่าเกิดผลดีหรือสัมฤทธิ์ผล
ตามความคาดหวังของโครงการหรือไม่ บางครั้งอาจเน้นตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นในระยะเสร็จสิ้นโครงการใหม่ ๆ หรืออาจเป็นการศึกษาผลทางตรงที่เกิดขึ้นในระยะยาวก็ได้

2. จำแนกโดยเกณฑ์ “การยึดวัตถุประสงค์ของการประเมิน” แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 การประเมินโดยยึดวัตถุประสงค์เป็นหลัก (Goal-Based evaluation) เป็นการประเมินที่เน้นการตรวจสอบความสำเร็จตามเจตนารมณ์ของงาน/โครงการ ว่าทำได้ตามวัตถุประสงค์หรือเป็นไปตามที่คาดหวังในการปฏิบัติการหรือไม่
2.2 การประเมินที่อิสระ ไม่ยึดวัตถุประสงค์ (Goal-Free evaluation) เป็นการประเมินผลที่เกิดขึ้นทั้งหมด โดยนักประเมินไม่เน้นเพียงการตรวจสอบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการเท่านั้น แต่เน้นการเก็บรวบรวมข้อมูลในแนวกว้างเพื่อวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นในทุกแง่มุม

3. จำแนกโดยเกณฑ์ “ระยะเวลาที่ประเมิน” จำแนกได้ ดังนี้
3.1 ประเมินก่อนเริ่มปฏิบัติการ จำแนกได้ 2 ลักษณะที่สำคัญ คือ การประเมิน
ความต้องการจำเป็น (needs assessment) เพื่อกำหนดนโยบาย กำหนดแผนงาน หรือโครงการหลังจากมีแผนงาน/โครงการเกิดขึ้นแล้วจะเกิดจากการประเมินความเหมาะสมหรือความเป็นไปได้ของโครงการ
3.2 การประเมินในระหว่างกานดำเนินงาน เป็นการประเมินการดำเนินงานเมื่อนำแผนงาน/โครงการ หรือกิจกรรมที่วางแผนไว้ไปปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อศึกษาถึงจุดเด่น จุดด้อย ปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้าง การดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่กำหนดให้หรือไม่
3.3 การประเมินหลังการดำเนินงาน เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบ หรือตอบคำถามว่านโยบายแผนงาน โครงการ หลักสูตรการเรียนการสอน หรือปฏิบัติการใดๆ ที่ดำเนินการแล้วเสร็จได้ประสบผลสำเร็จตามที่คาดหวังไว้หรือไม่ ผลที่เกิดขึ้นได้จากการบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการหรือไม่ คุ้มค่าหรือไม่ อาจแบ่งการประเมินผลงานออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.ประเมินทันทีที่สุดโครงการ 2.การติดตามผลหรือประเมินผลกระทบจากการปฏิบัติการ ซึ่งต้องอาศัยการทิ้งช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม

4. จำแนกโดยเกณฑ์ “ลักษณะการใช้เกณฑ์ในการตัดสิน” จำแนกได้เป็น
4.1 การประเมินแบบอิงเกณฑ์ มักจะพบบ่อยในการประเมินผลการเรียน หรือการประเมินบุคลากร
โดยมีการกำหนดเกณฑ์การตัดสินผลการประเมินอย่างชัดเจนล่วงหน้า
4.2 การประเมินแบบอิงกลุ่ม มักพบบ่อยในการประเมินผลการเรียน หรือประเมินศักยภาพของบุคคล โดยเน้นการเปรียบเทียบกันเองภายในกลุ่มของผู้ถูกประเมิน แล้วตัดสินว่ากลุ่มใดจัดเป็นกลุ่มเก่ง หรืออ่อน เมื่อเทียบกับกลุ่ม


5. จำแนกตามสภาพการดำเนินงานหรือความต้องการสารสนเทศประกอบการตัดสินใจในกระบวนการ
ดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ซึ่งในการบริหารจัดการเชิงระบบ จำแนกขั้นตอนการจัดการเป็น 5 ขั้นตอน คือ
5.1 ประเมินเมินสภาพปัจจุบัน/ปัญหา หรือความต้องการจำเป็น
5.2 พิจารณาค้นหาหรือพัฒนาทางเลือกใหม่ ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพงาน และเลือกทางที่เหมาะสม
5.3 วางแผน/จัดทำแผนงาน โครงการ ตามทางเลือกที่คัดสรรแล้ว
5.4 ดำเนินงานตามแผน โดยมีการกำกับ ติดตาม ประเมินความก้าวหน้าของงาน และตัดสินใจปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง
5.5 ประเมินผลการดำเนินงานเพื่อตัดสินใจขยายขอบข่ายงาน หรือยุติแผนงาน/โครงการ ซึ่งในสภาพทางปฏิบัติ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน จะดำเนินการเป็นวงจรต่อเนื่องกัน โดยกิจกรรมการวิจัยหรือกิจกรรมการพัฒนาในลักษณะต่าง ๆ หลายลักษณะ คือ
1. การวิจัย/ประเมินสภาพปัจจุบัน/ปัญหา หรือความต้องการจำเป็น
2. การวิจัย/ประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรมหรือทางเลือกใหม่ ๆ
3. การวิจัย/ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของนโยบาย แผนงาน หรือโครงการ
4. การวิจัย/ประเมินความก้าวหน้าของนโยบาย แผนงาน หรือโครงการ
5. การวิจัย/ประเมินสรุปผลการดำเนินงาน การติดตามผล และประเมินผลกระทบต่าง ๆ



กระบวนการวิจัยเชิงประเมิน

กรณีที่เป้าของการประเมินหรือสิ่งที่มุ่งประเมินมีความซับซ้อนแตกต่างกัน เช่น ประเมินสื่อ ชิ้นงานประเมินนโยบาย แผนงาน โครงการ ประเมินหลักสูตรการเรียนการสอน ประเมินองค์กร ประเมินบุคลากร การประเมินในแต่ละกรณีอาศัยหลักการและแนวปฏิบัติที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งในที่นี้จะขอยกตัวอย่างแนวทางการดำเนินการวิจัยประเมินโครงการเป็นหลัก พร้อมทั้งชี้แนะในกรณีที่ “เป้า หรือสิ่งที่ต้องการประเมิน” แปรเปลี่ยนเป็นลักษณะอื่น ๆ ซึ่งโดยสรุปจะมีแนวปฏิบัติที่สำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้


1. วิเคราะห์ทำความรู้จักกับ “เป้า หรือสิ่งที่ต้องการประเมิน”
การวิเคราะห์ทำความรู้จักกับ “เป้า หรือสิ่งที่ต้องการประเมิน” เช่น โครงการต่าง ๆ มีประโยชน์ที่สำคัญ คือ
1. ทำให้ผู้ประเมินรู้จักโครงการ หรือสิ่งที่ต้องการประเมินมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เป็นนักประเมินภายนอก
2. ทำให้สามารถกำหนดภาพความสำเร็จของโครงการ หลักสูตร องค์กร บุคลากร หรือผลงานใด ๆได้ตลอดจนสามารถกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จในแต่ละกรณีได้อย่างชัดเจน
3. ทำให้สามารถเห็นกรอบแนวทางในการวางแผนประเมินหรือออกแบบประเมิน
4. เมื่อพบจุดเด่น จุดด้อย จุดอ่อน ข้อจำกัด ความสำเร็จ ความล้มเหลวของโครงการ หรือสิ่งที่มุ่งประเมิน นักประเมินจะสามารถอธิบายเหตุผลหรือสาเหตุได้อย่างคมขัดยิ่งขึ้น
5. เป็นประโยชน์ต่อการบรรยายโครงการ หรือบรรยายเป้าของการประเมิน หรือสิ่งที่ต้องการประเมินไว้ในรายงานการประเมิน เพื่อให้ผู้สนใจได้รับทราบธรรมชาติและลักษณะของสิ่งที่มุ่งประเมิน


2. ระบุหลักการและเหตุผล หรือจุดมุ่งหมายหลักของการประเมิน : ทำไมจึงต้องประเมิน
ในขั้นตอนนี้ต้องกล่าวถึงความเป็นมาของโครงการหรือความเป็นมาของสิ่งที่ต้องการประเมิน ตลอดจนความจำเป็นและความสำคัญของการประเมินผล ผลดีของการประเมิน หรือผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น ถ้าไม่ทำการประเมิน รวมทั้งจะต้องระบุจุดหมายหลักไว้ได้ว่าการประเมินในครั้งนี้จะเน้นความประเมินความก้าวหน้า ประเมินสรุปรวม หรือเป็นการศึกษาผลกระทบจากปฏิบัติการใด ๆ ผู้สนใจที่จะใช้ข้อมูลคือใคร นำข้อมูลไปใช้ตัดสินใจในลักษณะใด การระบุหลักการและเหตุผลที่ชัดเจนจะนำไปสู่การกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินที่ชัดเจนตามไปด้วย


3. กำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน : ประเมินอะไรบ้าง
วัตถุประสงค์ของการประเมิน เป็นกรอบหรือทิศทางที่ทำให้ทราบว่าการประเมินครั้งนี้มุ่งศึกษาหรือมุ่งประเมินในด้านใด ศึกษาตัวบ่งชี้ใดบ้าง จะเป็นการควบคุมทิศทางการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมด และต้องไม่ลืมว่าจุดมุ่งหมายหลักของการประเมิน คือ หาข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ดังนั้นการตั้งวัตถุประสงค์ของการประเมินจะต้องเขียนอย่างชัดเจน และชี้นำทิศทางในการประเมิน และต้องตรงกับความต้องการใช้ผลการประเมินของผู้บริหาร หรือลูกค้าที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ต้องมีความหมายเฉพาะ
เจาะจง วัดได้ ประเมินได้เป็นปรนัย และเป็นที่ยอมรับของผู้ถูกประเมิน
ในการกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน บ่อยครั้งที่ใช้โมเดลหรือแบบจำลองการประเมินเป็นกรอบในการกำหนดวัตถุประสงค์


4. กำหนดขอบเขตการประเมิน
การกำหนดขอบเขตของการประเมิน เป็นการกำหนดขอบเขตของงานว่าจะทำอย่างไร กับใครที่ไหน เมื่อไหร่ โดยทั่วไปขอบเขตของการประเมินมักจะระบุรายการต่อไปนี้ คือ
1. เป้า หรือสิ่งที่ต้องการประเมินคืออะไร โครงการคืออะไร ของหน่วยงานใด เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เมื่อใด องค์กรใด บุคลากรใด
2. ตัวแปร ตัวบ่งชี้ หรือประเด็นที่มุ่งศึกษาในการประเมินคืออะไรบ้าง
3. ช่วงระยะเวลาของการประเมิน/ช่วงระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือช่วงเวลาใด


5. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี แบบจำลองการประเมิน และตัวอย่างงานประเมินต่าง ๆ
การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ตัวอย่างงานประเมินที่มีลักษณะใกล้เคียงกับงานประเมินที่นักประเมินกำลังจะดำเนินการ จะทำให้นักประเมินโดยเฉพาะนักประเมินมือใหม่เห็นแนวทางในการดำเนินการประเมินได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น สามารถออกแบบการประเมินได้คมชัดยิ่งขึ้น ในกรณีที่กำลังจะดำเนินการประเมินนโยบาย แผนงาน โครงการ ควรศึกษากรณีตัวอย่างผลงานประเมินในกลุ่มนี้ หรือในกรณีที่กำลังจะประเมินองค์กรก็ควรศึกษากรณีตัวอย่างผลงานประเมินองค์กร/การประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานองค์กรต่าง ๆ หรือในกรณีที่กำลังจะประเมินการปฏิบัติงาน ก็ควรศึกษาแนวคิด แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินการปฏิบัติงาน รวมทั้งตัวอย่างผลการประเมินการปฏิบัติงาน

การศึกษาแบบจำลองการประเมิน ถือเป็นอีกทางหนึ่งที่จะทำให้นักประเมินสามารถออกแบบการประเมินได้คมชัดมากขึ้น แบบจำลองการประเมิน คือ กรอบความคิดในการประเมินที่เสนอโดยนักประเมินอาชีพ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะบอกให้ทราบว่าในการประเมินนั้นควรพิจารณาในเรื่องใดบ้าง ในขณะเดียวกันหรือเสนอแนะด้วยว่าในการประเมินแต่ละเรื่อง แต่ละรายการควรพิจารณาหรือตรวจสอบอย่างไร เป็นลักษณะของการเสนอแนะวิธีการ


6. ออกแบบประเมิน : จะประเมินอย่างไร
ในการอกแบบการวิจัยเชิงประมาณ นักวิจัยจะต้องออกแบบหรือพิจารณาให้ครอบคลุมในเรื่องการเลือกใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย (sampling design) การวัดหรือการเก็บรวบรวมข้อมูล (measurement design) และแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลหรือสถิติที่ใช้ (statistical design) ซึ่งอาจจัดทำในลักษณะของการกำหนดกรอบแนวทางการประเมิน ดังตัวอย่างการกำหนดกรอบแนวทางการประเมินโครงการ ต่อไปนี้
ในการออกแบบการประเมินในแต่ละวัตถุประสงค์ นักประเมินจะต้องระบุประเด็นหรือตัวบ่งชี้ที่มุ่งประเมิน พร้อมกำหนดรายละเอียดอย่างน้อย 3 เรื่องที่สำคัญ คือ
1) เรื่องแหล่งข้อมูล หรือผู้ให้ข้อมูลหลัก(key informants) คือใคร จำนวนเท่าไร ผู้ให้ข้อมูลหลักจะต้องเป็นผู้รู้เห็น สามารถให้ข้อมูลได้อย่างชัดเจน ตรงประเดน การเลือกใช้กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลในงานประเมิน มักเลือกใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) ยกเว้นในกรณีมีผู้ที่สามารถให้ข้อมูลได้จำนวนมาก และสามารถให้ข้อมูลได้พอๆ กัน ในกรณีนี้อาจกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยอาศัยกระบวนการวิจัยทั่วไปในงานประเมินบางลักษณะ
2) เรื่องเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จะใช้เครื่องมือชนิดใด จะพัฒนาเครื่องมือชนิดนั้นอย่างไร จะตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้วยวิธีใด
3) เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูล จะใช้วิธีการทางสถิติอย่างไร เกณฑ์ในการตัดสินความสำเร็จเป็นอย่างไร จะพัฒนาเกณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับของผู้เกี่ยวข้องอย่างไร


ในการวิจัยเชิงประเมิน กำหนดตัวบ่งชี้ (indicators) และเกณฑ์ (criteria) ในการประเมินถือเป็นเงื่อนไขสำคัญและเป็นเงื่อนไขโดดเด่นที่ทำให้งานประเมินมีลักษณะที่แตกต่างไปจากงานวิจัยโดยทั่วไป ซึ่งในการออกแบบการประเมิน นักประเมินจะต้องกำหนดตัวบ่งชี้และเกณฑ์ในการตัดสินคุณค่าอย่างชัดเจน

ตัวบ่งชี้ หมายถึงตัวแปร หรือค่าที่สามารถวัดได้ สังเกตได้ ซึ่งใช้ตัวบ่งชี้บอกสถานภาพ หรือสะท้อนลักษณะกำดำเนินงาน หรือผลการดำเนินงาน เช่น ตัวบ่งชี้ความสำเร็จในการเรียนคือเกรดเฉลี่ย (GPA) ตัวบ่งชี้ความสำเร็จในการฝึกอบรมคือ คะแนนทดสอบความรู้ ความพึงพอใจของผู้รับการอบรม พฤติกรรมหลังการอบรม ตัวบ่งชี้ของการรณรงค์เพื่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกคือ ความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับโรคไข้เลือกออก ความตระหนักในปัญหาไข้เลือกออก พฤติกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก เป็นต้น

เกณฑ์ในการประเมิน หมายถึง สิ่งที่ใช้ในการตัดสินคุณค่าของทรัพยากร สื่อ/ชิ้นงาน การปฏิบัติ หรือคุณภาพของผลงาน เป็นการกำหนดระดับของตัวบ่งชี้ว่าควรเกิดขึ้น หรือควรปรากฏในลักษณะใด ระดับใดจึงจะถือว่าเป็นที่ยอมรับเกณฑ์ที่ใช้อาจกำหนดแตกต่างกันได้หลายวิธีโดยทั่วไปจำแนกเกณฑ์ในการประเมินได้ 2 ลักษณะ คือ
1) เกณฑ์สัมบูรณ์ เป็นการกำหนดเกณฑ์โดยหลักเหตุผลหรือจากการวิจัยเชิงประจักษ์
2) เกณฑ์สัมพัทธ์ เป็นการเปรียบเทียบกับปกติวิสัย เปรียบเทียบกับกลุ่มที่หลายลักษณะ
โดยทั่วไป หลังจากจบขั้นตอนที่ 6 แล้ว นักประเมินจะจัดทำเป็นรายละเอียดโครงการประเมิน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการของบประมาณสนับสนุนในการประเมิน รวมทั้งจะทำให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมองเห็นกรอบและแนวทางการดำเนินการประเมินที่เป็นรูปธรรมชัดเจนและเป็นที่เข้าใจตรงกันรวมทั้งจะเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการพัฒนา และโอกาสความสำเร็จในการประเมินได้อีกทางหนึ่งด้วย


7. พัฒนาเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมิน

การพัฒนาเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล โดยทั่วไปมักจะทำหลังจากที่โครงการประเมินได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการแล้ว สิ่งที่นักประเมินจะต้องทำคือ ตรวจสอบว่าเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมีหรือยัง จะใช้เครื่องมือที่มีอยู่แล้วหรือจะต้องสร้างขึ้นมาใหม่ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลจะต้องสร้างให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ของการประเมิน ข้อคำถามควรเฉพาะเจาะจงเป็นปรนัย ควรผ่านการตรวจสอบ ความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีการทดลองใช้ และตรวจสอบคุณภาพขั้นพื้นฐานของเครื่องมือ
ในทางปฏิบัติ ผู้ประเมินควรใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลหลายวิธีประกอบกัน เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจและน่าจะสอดคล้องกับธรรมชาติของการประเมิน เช่น การวิเคราะห์ผลงาน การทอสอบฝีมือ/ความสามารถในการปฏิบัติงานการประชุม สัมมนาผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาข้อสรุปในเรื่องใดเรื่องหนึ่งการใช้สถานการณ์จำลอง การอภิปรายเป็นคณะ การใช้เทคนิคเดลฟาย การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ฯลฯ อีกทั้งนักประเมินควรคำนึงถึงแหล่งข้อมูลประเภทแหล่งทุติยภูมิ ควบคู่ไปกับการคำนึงถึงแหล่งปฐมภูมิ บ่อยครั้งที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้แล้วในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง นักประเมินควรเลือกใช้ข้อมูลเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการประเมิน


8. เก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลจะต้องมีการวางแผนอย่างดี ในกรณีที่มีเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนหลายฉบับ และต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลจำนวนมาก ควรจัดทำคู่มือการเก็บรวบรวมข้อมูล ปฏิทินการเก็บรวบรวมข้อมูล และประสานงานกับแหล่งข้อมูลเป็นอย่างดี เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความละเอียดสมบูรณ์ ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริง
ในกรณีของการประเมินองค์กร หรือการประเมินบุคลากร ควรเน้นการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการประเมิน ระบบฐานข้อมูลที่ดี หรือมีการจัดระบบแฟ้มสะสมงานที่ดี จะนำไปสู่ระบบการประเมินที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้สามารถสรุป ประเมินผลงานขององค์กรหรือบุคลากรได้อย่างต่อเนื่อง และเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาอย่างแท้จริง


9. วิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเชิงประเมิน นักประเมินไม่จำเป็นต้องเน้นวิธีการทางสถิติที่หรูหราซับซ้อน ควรเลือกใช้วิธีการทางสถิติที่ง่ายต่อการสื่อความหมาย แต่สามารถตอบคำถามในการประเมินได้อย่างชัดเจน สถิติที่ใช้อาจเป็นสถิติภาคบรรยาย (Descriptive Statistics) เช่น การวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์ค่ากลาง และดัชนีชี้การกระจายต่าง ๆ หรือสถิติอ้างอิง อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้เนื่องจากมีโปรแกรมสำเร็จรูปจำนวนมากที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนั้นปัญหาเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลจึงไม่น่าจะเป็นปัญหาสำคัญสำหรับนักประเมิน
กระบวนการการวิเคราะห์ข้อมูลอาจใช้วิธีการเชิงสถิติบ้างตามความจำเป็น เช่นถ้าเป็นข้อมูลเชิงปริมาณก็สามารถนำมาวิเคราะห์โดยสถิติต่าง ๆ เช่น แจกแจงความถี่ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน อัตราส่วน ร้อยละ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การทอสอบความแตกต่างด้วยสถิติทดสอบที หรือสถิติทดสอบเอฟ เป็นต้น ข้อควรระวังคือ จะใช้สถิติใดต้องตรวจสอบว่าข้อมูลเป็นไปตามข้อตรงลงหรือไม่ ส่วนข้อมูลที่ไม่ใช่ปริมาณนั้นสามารถวิเคราะห์ได้โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา
การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นการเปรียบเทียบข้อมูลกับเกณฑ์ หากการเปรียบเทียบ ปรากฏผลที่สอดคล้องกัน หรือผ่านเกณฑ์ หรือแตกต่างกันอย่างชัดเจน การตัดสินคุณค่าก็อาจทำได้อย่างตรงไปตรงมา แต่ถ้าเป็นกรณีที่ข้อมูลมีลักษณะไม่แตกต่างกันชัดเจนนัก การตัดสินคุณค่าจะยากลำบากมากขึ้นและในกรณีดังกล่าว อาจต้องดูข้อมูลสภาพแวดล้อมอื่นๆ ประกอบด้วย


10. สรุปผลการประเมิน และรายงานผลการประเมินต่อผู้เกี่ยวข้อง

เป้าหมายปลายทางของการวิจัยเชิงประเมินคือ การนำข้อมูลผลการประเมินไปใช้เพื่อการวินิจฉัยสั่งการ หรือตัดสินใจในการปรับปรุงและพัฒนางาน และถือเป็นเป้าหมายสูงสุดของการประเมิน ดังนั้นในขั้นตอนนี้นักประเมินจะต้องจัดทำรายงานการประเมินเพื่อนำเสนอให้ผู้บริหารได้ใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจรายงานการประเมินสามารถทำได้ใน 2 ลักษณะ คือ รายงานสรุปสำหรับผู้บริหาร เป็นรายงานการสรุปผลการประเมินที่สั้น กะทัดรัด ปกติมีความยาว 1-5 หน้า ให้สารสนเทศที่ใช้ประกอบการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารได้ ลักษณะของการรายงานประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ วัตถุประสงค์ของการคำนวณ ผลการประเมิน และข้อเสนอแนะ




การวิจัยเชิงประเมินกับการประกันคุณภาพเพื่อพัฒนาการศึกษา

1. ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา
อังกฤษเป็นประเทศแรกที่ริเริ่มแนวความคิดเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา โดยได้นำแนวความคิดเกี่ยวกับการประกันคุณภาพไปใช้ในสถานศึกษาในปี ค.ศ. 1988 ต่อมาแนวคิดนี้จึงได้แพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ในส่วนของประเทศไทย แนวคิดในเรื่องของการประกันคุณภาพการศึกษายังถือว่าเป็นเรื่องใหม่ เริ่มมีการดำเนินงานอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2537 เมื่อที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยได้เสนอหลักการแนวทาง และวิธีการในการประกันคุณภาพทางวิชาการอย่างเป็นระบบในมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก และมีผู้ให้คำนิยามด้านการประกันคุณภาพการศึกษาไว้ในความหมายต่างๆ กัน ดังตัวอย่าง ต่อไปนี้
สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย (2541 : 1) ให้ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษาว่าคือ กิจกรรมหรือการปฏิบัติใดๆ ที่หากได้ดำเนินการตามระบบและแผนที่ได้วางไว้แล้ว จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นได้ว่าจะได้บัณฑิตที่มีคุณภาพตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์

กรมวิชาการ (2539) กำหนดว่า การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นมาตรการหนึ่งที่จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นได้ว่า สถานศึกษาที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ผู้จบการศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (2540) กำหนดว่า การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นวิธีการหรือกลยุทธ์ที่กำหนดแนวปฏิบัติหรือแนวทางการดำเนินงานในการจัดการศึกษาที่เป็นหลักประกันว่า นักเรียนมีคุณภาพมาตรฐานการศึกษา และเป็นที่ยอมรับของสังคม
สถาบันส่งเสริมการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ (2543) ให้ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษาว่า เป็นการบริหารจัดการ และการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับบริการโดยตรง และผู้รับบริการทางอ้อม ว่าการดำเนินงานของสถานศึกษาจะมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด

โดยสรุป การประกันคุณภาพทางการศึกษา เป็นกระบวนการหรือระบบการดำเนินงานเพื่อควบคุมหรือพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษาว่าการดำเนินงานของสถานศึกษาที่กำหนด ลักษณะสำคัญของระบบประกันคุณภาพการศึกษาคือ มีการกำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาที่กำหนด มีการพัฒนางานให้ได้ตามมาตรฐาน มีการควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบคุณภาพ และประเมินผลการพัฒนาเป็นระยะๆ เพื่อตรวจสอบว่าได้เกิดคุณภาพมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่


2. ความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา

การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด และเมื่อมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จะทำให้คุณภาพการจัดการศึกษามีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับระดับสากล หรือก้าวสู่ความเป็นเลิศได้
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดการประกันคุณภาพไว้ในหมวดที่ 6 ว่าด้วยการมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา โดยได้กำหนดให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วยระบบประกันคุณภาพภายในและระบบประกันคุณภาพภายนอก สำหรับการประกันคุณภาพภายใน ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก โดยในมาตรา 49 กำหนดให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษามีฐานะเป็นองค์กรมหาชน ทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษา เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยในหนึ่งครั้งในทุกห้าปีนับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ (2549) กล่าวว่า การประกันคุณภาพการศึกษามีความสำคัญ 3 ประการ คือ
1) ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้ เกิดความเชื่อมั่น และสามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน
2) ป้องกันการจัดการการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค และเกิดความเสอมภาคในโอกาสที่จะได้รับการบริการการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง
3) ทำให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการศึกษาสู่คุณภาพและมาตรฐานอย่างจริงจัง ซึ่งมีผลให้การศึกษามีพลังที่จะพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง การประกันคุณภาพการศึกษาจึงเป็นการบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการการศึกษา ทั้งยังเป็นการป้องกันการจัดการการศึกษาที่ด้อยคุณภาพ และสร้างสรรค์การศึกษาให้เป็นกลไกที่มีพลังในการพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น

ในทางปฏิบัติ การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกิจกรรมที่มีบทบาทสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. เป็นการตรวจสอบยืนยันสภาพจริงในการดำเนินงานของสถานศึกษา
2. ช่วยให้ได้ข้อมูลซึ่งช่วยสะท้อนให้เห็นจุดอ่อน จุดแข็งของสถานศึกษา
3. ช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
4. ช่วยส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน
5. ช่วยให้ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการวางแผนและดำเนินการเพื่อพัฒนา
คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
6. รายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้หน่วยงานที่
เกี่ยวข้องและสาธารณชนทราบ
7. เพิ่มความมั่นใจและคุ้มครองประโยชน์ให้ผู้รับบริการทางการศึกษา


3. ประเภทของการประกันคุณภาพของการศึกษา
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาอาจจำแนกได้เป็น 2 ส่วน คือ การประกันคุณภาพภายใน และการประกันคุณภาพภายนอก
3.1 การประกันคุณภาพภายใน หมายถึงกิจกรรมการควบคุมคุณภาพภายในสถาบัน โดยการดำเนินการของสถานบันเอง เพื่อให้มีความมั่นใจว่าสถานบันได้ดำเนินการามภารกิจหลักอย่างมีคุณภาพ กระบวนการประกันคุณภาพภายใน ประกอบด้วย การวบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
3.2 การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึงการดำเนินการตามระบบควบคุมคุณภาพ พร้อมทั้งการตรวจสอบและการประเมินผลทั้งระบบ โดยหน่วยงานภายนอก เพื่อประกันว่าสถาบันการศึกษาได้ดำเนินการภารกิจหลักได้อย่างมีคุณภาพ กระบวนการประกันคุณภาพภายนอก ประกอบด้วย การตรวจสอบคุณภาพที่ผ่านกระบวนการประกันคุณภาพภายใน การประเมินคุณภาพ และการให้การรับรอง


4. การวิจัยเชิงประเมิน ในกระบวนการประกันคุณภาพเพื่อพัฒนาการศึกษา
ตามที่ได้สรุปในตอนต้นว่า ลักษณะสำคัญของระบบประกันคุณภาพการศึกษา คือมีการกำหนดมาตรฐานคุณภาพการจัดการศึกษา มีการพัฒนางานให้ได้ตามมาตรฐาน มีการควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบคุณภาพ และประเมินผลการพัฒนาเป็นระยะๆ เพื่อตรวจสอบว่าได้เกิดคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่ ตามนัยนี้ จะเห็นว่าการประเมินอย่างเป็นระบบด้วยวิธีการที่เชื่อถือได้ หรือการวิจัยเชิงประเมิน ถือเป็นกิจกรรมสำคัญในระบบประกันคุณภาพการศึกษา หรือหากวิเคราะห์ระบบประกันคุณภาพการศึกษา จะพบว่ามีภารกิจหลักที่สำคัญ 4 ส่วน ซึ่งต้องแยกบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน คือ
1) การกำหนดมาตรฐาน หรือหลักเกณฑ์ของระบบการประกันคุณภาพ เป็นหน้าที่ส่วนกลาง เช่น กระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นต้น
2) การประเมินภายใน เป็นหน้าที่ของสถานศึกษา หรือหน่วยงานต้นสังกัดในการพัฒนาระบบการประเมินภายใน โดยดึงชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งนี้ในการประเมินภายใน สถานศึกษาหรือหน่วยงานต้นสังกัดสามารถเพิ่มเติมมาตรฐานการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นเอกลักษณ์ของตนเองได้
3) การประเมินภายนอก ให้องค์กรอิสระในรูปองค์การมหาชนทำหน้าที่การประเมินภายนอก การที่ให้องค์กรอิสระทำหน้าที่นี้เพราะต้องการให้อิสระจากฝ่ายราชการ และต้องทำหน้าที่ระบบประเมินทั้งสถานศึกษาของรัฐและเอกชน
4) การรำผลการประเมินไปใช้เพื่อการปรับปรุง เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารการศึกษา
ตามภารกิจของระบบดังกล่าวนี้ จะเห็นว่าการประเมินไม่ว่าจะเป็นการประเมินภายในหรือการประเมินจากภายนอก ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบประกันคุณภาพการศึกษา


5. แนวปฏิบัติในการดำเนินงานประกันคุณภาพเพื่อพัฒนาการศึกษา
การดำเนินงานประกันคุณภาพของสถานศึกษา สามารถดำเนินการได้ตามแนวปฏิบัติต่อไปนี้ (สถานบันส่งเสริมการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ 2543)

กิจกรรมที่ 1 การเตรียมความพร้อม เน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจ เจตคติที่ดีของบุคลกรในสถานศึกษา สร้างแรงจูงใจและแต่งตั้งคณะทำงาน รวมทั้งการเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการประกันคุณภาพภายใน เช่น งบประมาณเพื่อการดำเนินงาน ปฏิทินการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 2 การศึกษาสภาพและผลการดำเนินงานของสถานศึกษาที่ผ่านมา เป็นการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานรวมทั้งผลการดำเนินของสถานศึกษาที่ผ่านมาแล้ว มาแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดทราบ เพื่อพิจารณาตัดสินใจในการกำหนดแนวทางการประเมินและการพัฒนาสถานศึกษาของตนเอง

กิจกรรมที่ 3 การทำความเข้าใจกับบุคลากรในสถานศึกษา เกี่ยวกับสภาพและผลการดำเนินงานของสถานศึกษา เป็นการนำเสนอรายงานผลการดำเนินงานของสถานศึกษาให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน และพร้อมที่จะร่วมมือกันดำเนินงาน ตรวจสอบว่าสถานศึกษาดำเนินการเกี่ยวกับการประกันคุณภาพสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาหรือไม่

กิจกรรมที่ 4 การกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน มาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่จะใช้ในการประเมิน เป็นการกำหนดเป้าหมายที่บุคลากรทุกคนในสถานศึกษารับรู้และร่วมกันจัดทำว่าจะมีการตรวจสอบการทำงานของตนเองในด้านใด เรื่องใดบ้าง

กิจกรรมที่ 5 การกำหนดกรอบการประเมิน เป็นการกำหนดแนวทางการทำการประเมินผลว่าจะดำเนินการอย่างไร เมื่อใด และใครเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องใด ซึ่งวิธีการประเมินจะขึ้นอยู่กับลักษณะของตัวบ่งชี้

กิจกรรมที่ 6 การกำหนดเกณฑ์การประเมิน ซึ่งมีกิจกรรมย่อยคือ กำหนดเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินตัวบ่งชี้ และตรวจสอบความเหมาะสมของเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินตัวบ่งชี้

กิจกรรมที่ 7 การกำหนดวิธีการที่ใช้ในการประเมิน เป็นการเลือกวิธีการเครื่องมือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลรูปแบบสอบถาม โครงสร้างคำถามที่จะใช้ และสร้างเครื่องมือประเมินโดยเริ่มตั้งแต่สร้างคำถาม ตรวจสอบคุณภาพ ทอลองใช้ ปรับปรุงก่อนนำมาใช้จริง

กิจกรรมที่ 8 การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการกำหนดแนวทางในการวิเคราะห์ ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เลือกวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสม ทำการวิเคราะห์ข้อมูล และกำหนดวิธีการนำเสนอข้อมูล

กิจกรรมที่ 9 การวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของสถานศึกษา เป็นการนำผลการประเมินมาใช้วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ประเมินความต้องการจำเป็นของสถานศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองของสถานศึกษาต่อไป

กิจกรรมที่ 10 แนวทางการพัฒนาสถานศึกษา เป็นการนำจุดอ่อนที่ค้นพบมาวิเคราะห์หาสาเหตุเพื่อทำการปรับปรุง แก้ไข หรือพัฒนาสถานศึกษาให้เข้าสู่มาตรฐานต่อไป


กิจกรรมที่ 11 การจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง
เป็นการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดได้รู้ และเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพนอก

กิจกรรมที่ 12 การใช้ประโยชน์จากการประเมินตนเอง เป็นการนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ เพื่อพัฒนาปรับปรุงตนเองของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง


ในทางปฏิบัติการประกันคุณภาพเพื่อการพัฒนาการศึกษาอาจดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้
1) สร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักในความสำคัญ/ความจำเป็นของการประกันคุณภาพงานในองค์กร
2) กำหนดมาตรฐานคุณภาพงานขององค์กรให้ครอบคลุมภารกิจขององค์กร และครอบคลุมมาตรฐานการประกันคุณภาพจากภายนอก ทั้งนี้มาตรฐานการศึกษา อาจประกอบด้วย มาตรฐานด้านปัจจัย เช่น ความพร้อมของครู ศักยภาพของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นต้น มาตรฐานด้านกระบวนการ เช่น การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นมาตรฐาน การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นต้น และมาตรฐานด้านผลผลิตหรือผู้เรียน เช่น ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
3) ประเมินสภาพปัจจุบัน/ปัญหา หรือความต้องการจำเป็นเร่งด่วนเกี่ยวกับงานที่ต้องดำเนินการพัฒนาก่อนหลังโดยใช้มาตรฐานที่กำหนดขึ้นเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน พร้อมทั้งวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งขององค์กร
4) จัดทำแผน/โครงการเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันปัญหาขององค์กร
5) มอบหมายให้ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องดำเนินการพัฒนางานตามแผนโดยมีระบบในการกับติดตามงานที่มีประสิทธิภาพ
6) ประเมินความก้าวหน้าของงานเป็นระยะๆ โดยมีการปรับปรุง พัฒนางานของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นลำดับ
7) ประเมินประสิทธิภาพและผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด จัดทำรายงานผลการประเมินเสนอผู้เกี่ยวข้อง
8) หากพิจารณาเห็นว่าสถานศึกษามีความพร้อมหรือผ่านการประเมินตามมาตรฐานที่กำหนด ก็สามารถขอให้องค์กรภายนอกเข้ามาทำการประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานได้

วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554

การวิจัยเชิงประเมิน

การวิจัยเชิงประเมิน

แนวคิด
1.1 การวิจัยเชิงประเมิน เป็นการศึกษาค้นคว้าในเชิงปริมาณที่เป็นระบบ ด้วยวิธีการที่เชื่อถือได้หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เน้นการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างคลอบคลุม ครบถ้วน เชื่อถือได้ และกำหนดเกณฑ์ในการตัดสินที่เป็นปรนัย เป็นการวิจัยประยุกต์ที่มุ่งตัดสินคุณค่าของ “ปฏิบัติการใด ๆ” ที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเป็นการวิจัยที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลประกอบการตัดสินใจเพื่อการพัฒนางาน

1.2 กระบวนการวิจับเชิงประเมิน มีขั้นตอนการดำเนินงานในลักษณะใกล้เคียงกับการวิจัยโดยทั่วไป ทั้งนี้ในทางปฏิบัติ มีขั้นตอนการดำเนินงานที่สำคัญ ๆ คือ วิเคราะห์/ทำความรู้จักกับ “เป้า” หรือ “สิ่งที่ต้องการประเมิน” ระบุหลักการและเหตุผล หรือจุดมุ่งมายหลักของการประเมิน กำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน กำหนดขอบเขตการประเมิน ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีแบบจำลองการประเมิน และตัวอย่างของงานประเมินต่าง ๆ ออกแบบประเมินพัฒนาเครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมิน วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการประเมิน และรายงานผลการประเมินต่อผู้เกี่ยวข้อง

1.3 การประกันคุณภาพ เป็นระบบงานที่มีการกำหนดมาตรฐานของงาน มีการพัฒนาและควบคุมให้การดำเนินงานเป็นไปตามมาตรฐาน และมีการประเมินหรือตรวจสอบผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ เพื่อตัดสินว่าการดำเนินงานและผลงานเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่ การประเมินหรือการวิจัยเชิงประเมินจึงเป็นกิจกรรมปรือเงื่อนไขที่สำคัญประการหนึ่งของระบบประกันคุณภาพเพื่อพัฒนาการศึกษา

1.4 การวิจัยเชิงประเมินในแต่ละกรณี จะมีการออกแบบและดำเนินในลักษณะที่มีจุดเน้นแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความต้องการสารสนเทศประกอบกับการตัดสนใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง



แนวคิดเกี่ยวกับการวิจัยเชิงประเมิน

ความหมายของการประเมินและการวิจัยเชิงประเมิน


การประเมินมีความหมายที่แตกต่างกันหลายลักษณะ เช่น การประเมินเป็นการให้บริการ (Evaluation = Serviceหรือ E = S) เป็นการรวบรวมข้อมูลและใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจของลูกค้าผู้เกี่ยวข้องกลุ่มต่าง ๆ การประเมินที่สอดคล้องกับกลุ่มแนวคิดนี้อย่างชัดเจน เช่น แนวคิดของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam, 1968) ที่ให้คำนิยามว่า “การประเมิน คือ การรวบรวมข้อมูลและใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ” หรือแนวคิดของ แพทตัน (Patton, 1978) ผู้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ “การประเมินโดยยืดประโยชน์ใช้สอย (Utilization-Focused Evaluation)” เป็นต้น หรือนิยามว่า การประเมินเป็นการตัดสินคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ (Evaluation = Judgement หรือ E = J ) โดยตัดสินคำคุณว่า ดี-เลว มีคุณภาพ-ไม่มีคุณภาพ ฯลฯ การปฏิบัติที่สะท้อนแนวคิดนี้อย่างชัดเจน เช่น การประเมินเพื่อรับรองวิทยฐานะในอดีต การตัดสินบุคคลใด ๆ ว่าสวย-ไม่สวย โดยอาศัยความรู้สึกของตนเองเป็นเกณฑ์ เป็นต้น หรือนิยามว่า การประเมินเป็นกระบวนการที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูล และตัดสินคุณค่าขิงสิ่งต่าง ๆ โดยเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด

การวิจัยเชิงประเมิน ถือเป็นมิติหนึ่งของการพิจารณากิจกรรมการประเมินเทียบเคียงกับกระบวนการวิจัย เป็นการศึกษาค้นคว้าในเชิงประเมนที่เป็นระบบด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เน้นการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างครอบคลุม ครบถ้วน เชื่อถือได้

การวิจัยเชิงประเมิน มีลักษณะหรือจุดเน้นที่แตกต่างจากงานวิจัยทั่วไปในหลายลักษณะ ที่สำคัญ ๆ คือ
1) มุ่งหาสารสนเทศประกอบการตัดสินใจ ขณะที่การวิจัยทั่วไปมุ่งเน้นสร้างองค์ความรู้ใหม่
2) มุ่งตอบสนองความต้องการสารสนเทศของผู้ที่เกี่ยวข้อง ขณะที่การวิจัยทั่วไปเน้นสนองความต้องการของผู้วิจัย
3) มุ่งตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ต้องการประเมินเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ขณะที่การวิจัยทั่วไปเน้นหาข้อสรุปเกี่ยวกับตัวแปรในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง
4) ข้อสรุปจากการประเมินมีลักษณะเฉพาะเจาะจงสูง ขณะที่การวิจัยทั่วไปสามารถสรุปพาดพิงได้ในวงกว้างกว่า


ความสำคัญของการวิจัยเชิงประเมิน

การวิจัยเชิงประเมินมีความสำคัญ เพราะก่อให้เกิดประโยชน์ที่สำคัญ ๆ ในลักษณะต่อไปนี้

1. ทำให้ได้ข้อมูล สารสนเทศต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบาย หรือทิศทางการ
ดำเนินงานขององค์กร
2. ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง สื่อ/ชิ้นงาน แผนงาน โครงการ ให้เหมาะสม
ก่อนนำไปปฏิบัติ ลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดปัญหา อุปสรรคที่จะทำให้กิจกรรม หรือการดำเนินงานโครง
การใด ๆ ล้มเหลว
3. การประเมินความก้าวหน้าของงานในความรับผิดชอบทำให้ผู้รับผิดชอบงาน/โครงการทราบ
จุดเด่น จุดด้อยของงาน มีโอกาสที่จะปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นการลดโอกาสความสูญเปล่าในการปฏิบัติงาน
4. การประเมินความสำเร็จของงาน จะทำให้ทราบว่าการปฏิบัติการใด ๆ ที่ลงทุนไปแล้ว เกิด
ประโยชน์คุ้มค่าหรือไม่ ช่วยลดโอกาสการสูญเปล่าในการดำเนินงาน
5. การประเมินโดยเฉพาะในกรณีของการประเมินตนเอง จะทำให้ผู้รับผิดชอบงานเห็นจุดอ่อน
ของตน จะเกิดแรงจูงใจในการพัฒนางาน และเกิดการยกระดับคุณภาพงานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ๆรวมทั้งหากบุคคลได้มีโอกาสมองเห็นความสำเร็จในการปฏิบัติงานก็จะทำให้เกิดแรงจูงใจ เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ ในการปฏิบัติงานได้อีกลักษณะหนึ่ง


หลักการของการวิจัยเชิงประเมิน

การวิจัยเชิงประเมินยึดหลักการที่สำคัญ ๆ ดังนี้
1. เป็นกิจกรรมการวิจัยที่มุ่งหาสารสนเทศประกอบกับการตัดสินใจในกระบวนการพัฒนางาน
2. มุ่งเสนอความต้องการสารสนเทศประกอบการตัดสินใจของผู้เกี่ยวข้อง มากกว่าความต้องการ
สารสนเทศของนักวิจัยเอง
3. มุ่งแสวงหาสารสนเทศเพื่อการปรับปรุง พัฒนางานมากกว่าการตัดสินความสำเร็จหรือความ
ล้มเหลว
4. ให้ความสำคัญกับการกำหนดเกณฑ์ตัดสินคุณค่าที่มีความเป็นปรนัย สะท้อนคุณภาพ โดย
กำหนดไว้ล่วงหน้าอย่างชัดเจนและเป็นที่ยอมรับ
5. ให้ความสำคัญกับการเสนอแนะทางเลือกที่หลากหลายภายหลังจากการตัดสินคุณค่า เพื่อช่วย
ให้สามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นตรง โอกาสการสูญเปล่า
6. ใช้วิธีการศึกษา นคว้าอย่างเป็นระบบ โดยอิงวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ เช่นเดียวกับ
การทำวิจัยทั่วไป
7. ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการในภาวะแวดล้อมที่มีความเฉพาะเจาะจงสูง เพื่อนำข้อมูลไป
ใช้ในสถานการณ์เฉพาะ ไม่คาดหวังผลในการสรุปพาดพิงในวงกว้าง

เป้าของการประเมิน หรือสิ่งที่ต้องการประเมิน

การนำกิจกรรมการประเมินไปใช้กับเป้าหรือสิ่งที่ต้องการประเมินที่สำคัญ ๆ เช่น
1. ประเมินสื่อ/อุปกรณ์/ชิ้นงาน ระบบงาน หรือรูปแบบการทำงานใหม่ ๆ ซึ่งในกรณีนี้ใช้
2. ประเมินบุคลากร ซึ่งมักจะพบในงานบริหารบุคคล
3. ประเมินงานปกติของหน่วยงาน
4. ประเมินนโยบาย แผนงาน โครงการ และหลักสูตร
5. ประเมินองค์กรหรือหน่วยงาน ในการประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานต่าง ๆ
เป้าของการประเมิน หรือสิ่งที่ต้องการประเมินแต่ละประเภท แต่ละสถานการณ์มีความซับซ้อนที่แตกต่างกัน การประเมินบางกรณีไม่ได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ครบถ้วนสมบรูณ์ เช่น กรณีการประเมินการปฏิบัติงานบุคลากรในองค์กร ในขณะที่ในกรณีของการประเมินนโยบาย แผนงานหรือโครงการ มีการเลือกกิจกรรมหรือทางเลือกที่เห็นว่าที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุดแล้วนำไปปฏิบัติการพัฒนาระยะหนึ่ง เสมือนการใส่ปฏิบัติการ (treatment) ในงานวิจัยเชิงทดลอง โดยมีการตั้งสมมติฐานว่า ผลงานหรือคุณภาพงานตามตัวชี้วัดใด ๆ จะสูงขึ้นหรือดีขึ้น และในขั้นตอนสุดท้ายมีการพิสูจน์หรือตรวจสอบผลการดำเนินงาน ซึ่งการดำเนินการในลักษณะนี้เรียกว่า การวิจัยประเมินผลโครงการ

ประเภทของการวิจัยเชิงประเมิน

การวิจัยเชิงประเมินจำแนกได้หลายประเภทขึ้นอยู่กับ “เกณฑ์” ที่ใช้จำแนกได้ ดังนี้
• จำแนกโดยเกณฑ์ “จุดมุ่งหมายและลักษณะการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ” จำแนกเป็น
2 ประเภท คือ
1. การประเมินเพื่อการปรับปรุง เป็นการประเมินเพื่อมุ่งตรวจสอบว่างานเป็นไปตาม
แผนหรือไม่ มีปัญหา อุปสรรคอย่างไรบ้าง ผลงานเริ่มเกิดขึ้นหรือไม่ หรือมีปัจจัยใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของงาน
2. การประเมินเพื่อสรุปผล เป็นการประเมินที่มุ่งเน้นตรวจสอบผลลัพธ์ว่าเกิดผลดีหรือสัมฤทธิ์ผล
ตามความคาดหวังของโครงการหรือไม่ บางครั้งอาจเน้นตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นในระยะเสร็จสิ้นโครงการใหม่ ๆ หรืออาจเป็นการศึกษาผลทางตรงที่เกิดขึ้นในระยะยาวก็ได้

จำแนกโดยเกณฑ์ “การยึดวัตถุประสงค์ของการประเมิน” แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.การประเมินโดยยึดวัตถุประสงค์เป็นหลัก (Goal-Based evaluation) เป็นการประเมินที่เน้น
การตรวจสอบความสำเร็จตามเจตนารมณ์ของงาน/โครงการ ว่าทำได้ตามวัตถุประสงค์หรือเป็นไปตามที่คาดหวังในการปฏิบัติการหรือไม่

2. การประเมินที่อิสระ ไม่ยึดวัตถุประสงค์ (Goal-Free evaluation) เป็นการประเมินผลที่เกิดขึ้นทั้งหมด โดยนักประเมินไม่เน้นเพียงการตรวจสอบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการเท่านั้น แต่เน้นการเก็บรวบรวมข้อมูลในแนวกว้างเพื่อวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นในทุกแง่มุม


จำแนกโดยเกณฑ์ “ระยะเวลาที่ประเมิน” จำแนกได้ ดังนี้

1. ประเมินก่อนเริ่มปฏิบัติการ จำแนกได้ 2 ลักษณะที่สำคัญ คือ การประเมิน
ความต้องการจำเป็น (needs assessment) เพื่อกำหนดนโยบาย กำหนดแผนงาน หรือโครงการหลังจากมีแผนงาน/โครงการเกิดขึ้นแล้วจะเกิดจากการประเมินความเหมาะสมหรือความเป็นไปได้ของโครงการ

2. การประเมินในระหว่างการดำเนินงาน เป็นการประเมินการดำเนินงานเมื่อนำแผนงาน/โครงการ หรือกิจกรรมที่วางแผนไว้ไปปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อศึกษาถึงจุดเด่น จุดด้อย ปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้าง การดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่กำหนดให้หรือไม่

3. การประเมินหลังการดำเนินงาน เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบ หรือตอบคำถามว่านโยบายแผนงาน โครงการ หลักสูตรการเรียนการสอน หรือปฏิบัติการใดๆ ที่ดำเนินการแล้วเสร็จได้ประสบผลสำเร็จตามที่คาดหวังไว้หรือไม่ ผลที่เกิดขึ้นได้จากการบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการหรือไม่ คุ้มค่าหรือไม่ อาจแบ่งการประเมินผลงานออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.ประเมินทันทีที่สุดโครงการ 2.การติดตามผลหรือประเมินผลกระทบจากการปฏิบัติการ ซึ่งต้องอาศัยการทิ้งช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม

จำแนกโดยเกณฑ์ “ลักษณะการใช้เกณฑ์ในการตัดสิน” จำแนกได้เป็น

1. การประเมินแบบอิงเกณฑ์ มักจะพบบ่อยในการประเมินผลการเรียน หรือการประเมินบุคลากร
โดยมีการกำหนดเกณฑ์การตัดสินผลการประเมินอย่างชัดเจนล่วงหน้า

2. การประเมินแบบอิงกลุ่ม มักพบบ่อยในการประเมินผลการเรียน หรือประเมินศักยภาพของบุคคล โดยเน้นการเปรียบเทียบกันเองภายในกลุ่มของผู้ถูกประเมิน แล้วตัดสินว่ากลุ่มใดจัดเป็นกลุ่มเก่ง หรืออ่อน เมื่อเทียบกับกลุ่ม


จำแนกตามสภาพการดำเนินงานหรือความต้องการสารสนเทศประกอบการตัดสินใจในกระบวนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ซึ่งในการบริหารจัดการเชิงระบบ จำแนกขั้นตอนการจัดการเป็น 5 ขั้นตอน คือ
1. ประเมินเมินสภาพปัจจุบัน/ปัญหา หรือความต้องการจำเป็น
2. พิจารณาค้นหา หรือพัฒนาทางเลือกใหม่ ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพงาน และเลือกทางที่เหมาะสม
3. วางแผน/จัดทำแผนงาน โครงการ ตามทางเลือกที่คัดสรรแล้ว
4. ดำเนินงานตามแผน โดยมีการกำกับ ติดตาม ประเมินความก้าวหน้าของงาน และตัดสินใจปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง
5. ประเมินผลการดำเนินงานเพื่อตัดสินใจขยายขอบข่ายงาน หรือยุติแผนงาน/โครงการ ซึ่งในสภาพทางปฏิบัติ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน จะดำเนินการเป็นวงจรต่อเนื่องกัน โดยกิจกรรมการวิจัยหรือกิจกรรมการพัฒนาในลักษณะต่าง ๆ หลายลักษณะ คือ
1. การวิจัย/ประเมินสภาพปัจจุบัน/ปัญหา หรือความต้องการจำเป็น
2. การวิจัย/ประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรมหรือทางเลือกใหม่ ๆ
3. การวิจัย/ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของนโยบาย แผนงาน หรือโครงการ
4. การวิจัย/ประเมินความก้าวหน้าของนโยบาย แผนงาน หรือโครงการ
5. การวิจัย/ประเมินสรุปผลการดำเนินงาน การติดตามผล และประเมินผลกระทบต่าง ๆ


กระบวนการวิจัยเชิงประเมิน
กรณีที่เป้าของการประเมินหรือสิ่งที่มุ่งประเมินมีความซับซ้อนแตกต่างกัน เช่น ประเมินสื่อ ชิ้นงานประเมินนโยบาย แผนงาน โครงการ ประเมินหลักสูตรการเรียนการสอน ประเมินองค์กร ประเมินบุคลากร การประเมินในแต่ละกรณีอาศัยหลักการและแนวปฏิบัติที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งในที่นี้จะขอยกตัวอย่างแนวทางการดำเนินการวิจัยประเมินโครงการเป็นหลัก พร้อมทั้งชี้แนะในกรณีที่ “เป้า หรือสิ่งที่ต้องการประเมิน” แปรเปลี่ยนเป็นลักษณะอื่น ๆ ซึ่งโดยสรุปจะมีแนวปฏิบัติที่สำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้

1. วิเคราะห์ทำความรู้จักกับ “เป้า หรือสิ่งที่ต้องการประเมิน”
การวิเคราะห์ทำความรู้จักกับ “เป้า หรือสิ่งที่ต้องการประเมิน” เช่น โครงการต่าง ๆ มีประโยชน์ที่สำคัญ คือ
1. ทำให้ผู้ประเมินรู้จักโครงการ หรือสิ่งที่ต้องการประเมินมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เป็นนักประเมินภายนอก
2. ทำให้สามารถกำหนดภาพความสำเร็จของโครงการ หลักสูตร องค์กร บุคลากร หรือผลงานใด ๆได้ตลอดจนสามารถกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จในแต่ละกรณีได้อย่างชัดเจน
3. ทำให้สามารถเห็นกรอบแนวทางในการวางแผนประเมินหรือออกแบบประเมิน
4. เมื่อพบจุดเด่น จุดด้อย จุดอ่อน ข้อจำกัด ความสำเร็จ ความล้มเหลวของโครงการ หรือสิ่งที่มุ่งประเมิน นักประเมินจะสามารถอธิบายเหตุผลหรือสาเหตุได้อย่างคมขัดยิ่งขึ้น
5. เป็นประโยชน์ต่อการบรรยายโครงการ หรือบรรยายเป้าของการประเมิน หรือสิ่งที่ต้องการประเมินไว้ในรายงานการประเมิน เพื่อให้ผู้สนใจได้รับทราบธรรมชาติและลักษณะของสิ่งที่มุ่งประเมิน

2. ระบุหลักการและเหตุผล หรือจุดมุ่งหมายหลักของการประเมิน : ทำไมจึงต้องประเมิน
ในขั้นตอนนี้ต้องกล่าวถึงความเป็นมาของโครงการหรือความเป็นมาของสิ่งที่ต้องการประเมิน ตลอดจนความจำเป็นและความสำคัญของการประเมินผล ผลดีของการประเมิน หรือผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น ถ้าไม่ทำการประเมิน รวมทั้งจะต้องระบุจุดหมายหลักไว้ได้ว่าการประเมินในครั้งนี้จะเน้นความประเมินความก้าวหน้า ประเมินสรุปรวม หรือเป็นการศึกษาผลกระทบจากปฏิบัติการใด ๆ ผู้สนใจที่จะใช้ข้อมูลคือใคร นำข้อมูลไปใช้ตัดสินใจในลักษณะใด การระบุหลักการและเหตุผลที่ชัดเจนจะนำไปสู่การกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินที่ชัดเจนตามไปด้วย

3. กำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน : ประเมินอะไรบ้าง
วัตถุประสงค์ของการประเมิน เป็นกรอบหรือทิศทางที่ทำให้ทราบว่าการประเมินครั้งนี้มุ่งศึกษาหรือมุ่งประเมินในด้านใด ศึกษาตัวบ่งชี้ใดบ้าง จะเป็นการควบคุมทิศทางการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมด และต้องไม่ลืมว่าจุดมุ่งหมายหลักของการประเมิน คือ หาข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ดังนั้นการตั้งวัตถุประสงค์ของการประเมินจะต้องเขียนอย่างชัดเจน และชี้นำทิศทางในการประเมิน และต้องตรงกับความต้องการใช้ผลการประเมินของผู้บริหาร หรือลูกค้าที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ต้องมีความหมายเฉพาะ
เจาะจง วัดได้ ประเมินได้เป็นปรนัย และเป็นที่ยอมรับของผู้ถูกประเมิน
ในการกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน บ่อยครั้งที่ใช้โมเดลหรือแบบจำลองการประเมินเป็นกรอบในการกำหนดวัตถุประสงค์

4. กำหนดขอบเขตการประเมิน
การกำหนดขอบเขตของการประเมิน เป็นการกำหนดขอบเขตของงานว่าจะทำอย่างไร กับใครที่ไหน เมื่อไหร่ โดยทั่วไปขอบเขตของการประเมินมักจะระบุรายการต่อไปนี้ คือ
1. เป้า หรือสิ่งที่ต้องการประเมินคืออะไร โครงการคืออะไร ของหน่วยงานใด เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เมื่อใด องค์กรใด บุคลากรใด
2. ตัวแปร ตัวบ่งชี้ หรือประเด็นที่มุ่งศึกษาในการประเมินคืออะไรบ้าง
3. ช่วงระยะเวลาของการประเมิน/ช่วงระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือช่วงเวลาใด

5. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี แบบจำลองการประเมิน และตัวอย่างงานประเมินต่าง ๆ
การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ตัวอย่างงานประเมินที่มีลักษณะใกล้เคียงกับงานประเมินที่นักประเมินกำลังจะดำเนินการ จะทำให้นักประเมินโดยเฉพาะนักประเมินมือใหม่เห็นแนวทางในการดำเนินการประเมินได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น สามารถออกแบบการประเมินได้คมชัดยิ่งขึ้น ในกรณีที่กำลังจะดำเนินการประเมินนโยบาย แผนงาน โครงการ ควรศึกษากรณีตัวอย่างผลงานประเมินในกลุ่มนี้ หรือในกรณีที่กำลังจะประเมินองค์กรก็ควรศึกษากรณีตัวอย่างผลงานประเมินองค์กร/การประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานองค์กรต่าง ๆ หรือในกรณีที่กำลังจะประเมินการปฏิบัติงาน ก็ควรศึกษาแนวคิด แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินการปฏิบัติงาน รวมทั้งตัวอย่างผลการประเมินการปฏิบัติงาน
การศึกษาแบบจำลองการประเมิน ถือเป็นอีกทางหนึ่งที่จะทำให้นักประเมินสามารถออกแบบการประเมินได้คมชัดมากขึ้น แบบจำลองการประเมิน คือ กรอบความคิดในการประเมินที่เสนอโดยนักประเมินอาชีพ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะบอกให้ทราบว่าในการประเมินนั้นควรพิจารณาในเรื่องใดบ้าง ในขณะเดียวกันหรือเสนอแนะด้วยว่าในการประเมินแต่ละเรื่อง แต่ละรายการควรพิจารณาหรือตรวจสอบอย่างไร เป็นลักษณะของการเสนอแนะวิธีการ


6. ออกแบบประเมิน : จะประเมินอย่างไร
ในการอกแบบการวิจัยเชิงประมาณ นักวิจัยจะต้องออกแบบหรือพิจารณาให้ครอบคลุมในเรื่องการเลือกใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย (sampling design) การวัดหรือการเก็บรวบรวมข้อมูล (measurement design) และแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลหรือสถิติที่ใช้ (statistical design) ซึ่งอาจจัดทำในลักษณะของการกำหนดกรอบแนวทางการประเมิน ดังตัวอย่างการกำหนดกรอบแนวทางการประเมินโครงการ ต่อไปนี้

ในการออกแบบการประเมินในแต่ละวัตถุประสงค์ นักประเมินจะต้องระบุประเด็นหรือตัวบ่งชี้ที่มุ่งประเมิน พร้อมกำหนดรายละเอียดอย่างน้อย 3 เรื่องที่สำคัญ คือ
1) เรื่องแหล่งข้อมูล หรือผู้ให้ข้อมูลหลัก(key informants) คือใคร จำนวนเท่าไร ผู้ให้ข้อมูลหลักจะต้องเป็นผู้รู้เห็น สามารถให้ข้อมูลได้อย่างชัดเจน ตรงประเดน การเลือกใช้กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลในงานประเมิน มักเลือกใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) ยกเว้นในกรณีมีผู้ที่สามารถให้ข้อมูลได้จำนวนมาก และสามารถให้ข้อมูลได้พอๆ กัน ในกรณีนี้อาจกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยอาศัยกระบวนการวิจัยทั่วไปในงานประเมินบางลักษณะ
2) เรื่องเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จะใช้เครื่องมือชนิดใด จะพัฒนาเครื่องมือชนิดนั้นอย่างไร จะตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้วยวิธีใด
3) เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูล จะใช้วิธีการทางสถิติอย่างไร เกณฑ์ในการตัดสินความสำเร็จเป็นอย่างไร จะพัฒนาเกณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับของผู้เกี่ยวข้องอย่างไร

ในการวิจัยเชิงประเมิน กำหนดตัวบ่งชี้ (indicators) และเกณฑ์ (criteria) ในการประเมินถือเป็นเงื่อนไขสำคัญและเป็นเงื่อนไขโดดเด่นที่ทำให้งานประเมินมีลักษณะที่แตกต่างไปจากงานวิจัยโดยทั่วไป ซึ่งในการออกแบบการประเมิน นักประเมินจะต้องกำหนดตัวบ่งชี้และเกณฑ์ในการตัดสินคุณค่าอย่างชัดเจน

ตัวบ่งชี้ หมายถึงตัวแปร หรือค่าที่สามารถวัดได้ สังเกตได้ ซึ่งใช้ตัวบ่งชี้บอกสถานภาพ หรือสะท้อนลักษณะกำดำเนินงาน หรือผลการดำเนินงาน เช่น ตัวบ่งชี้ความสำเร็จในการเรียนคือเกรดเฉลี่ย (GPA) ตัวบ่งชี้ความสำเร็จในการฝึกอบรมคือ คะแนนทดสอบความรู้ ความพึงพอใจของผู้รับการอบรม พฤติกรรมหลังการอบรม ตัวบ่งชี้ของการรณรงค์เพื่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกคือ ความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับโรคไข้เลือกออก ความตระหนักในปัญหาไข้เลือกออก พฤติกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก เป็นต้น

เกณฑ์ในการประเมิน หมายถึง สิ่งที่ใช้ในการตัดสินคุณค่าของทรัพยากร สื่อ/ชิ้นงาน การปฏิบัติ หรือคุณภาพของผลงาน เป็นการกำหนดระดับของตัวบ่งชี้ว่าควรเกิดขึ้น หรือควรปรากฏในลักษณะใด ระดับใดจึงจะถือว่าเป็นที่ยอมรับเกณฑ์ที่ใช้อาจกำหนดแตกต่างกันได้หลายวิธีโดยทั่วไปจำแนกเกณฑ์ในการประเมินได้ 2 ลักษณะ คือ
1) เกณฑ์สัมบูรณ์ เป็นการกำหนดเกณฑ์โดยหลักเหตุผลหรือจากการวิจัยเชิงประจักษ์
2) เกณฑ์สัมพัทธ์ เป็นการเปรียบเทียบกับปกติวิสัย เปรียบเทียบกับกลุ่มที่หลายลักษณะ

โดยทั่วไป หลังจากจบขั้นตอนที่ 6 แล้ว นักประเมินจะจัดทำเป็นรายละเอียดโครงการประเมิน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการของบประมาณสนับสนุนในการประเมิน รวมทั้งจะทำให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมองเห็นกรอบและแนวทางการดำเนินการประเมินที่เป็นรูปธรรมชัดเจนและเป็นที่เข้าใจตรงกันรวมทั้งจะเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการพัฒนา และโอกาสความสำเร็จในการประเมินได้อีกทางหนึ่งด้วย

7. พัฒนาเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมิน
การพัฒนาเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล โดยทั่วไปมักจะทำหลังจากที่โครงการประเมินได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการแล้ว สิ่งที่นักประเมินจะต้องทำคือ ตรวจสอบว่าเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมีหรือยัง จะใช้เครื่องมือที่มีอยู่แล้วหรือจะต้องสร้างขึ้นมาใหม่ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลจะต้องสร้างให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ของการประเมิน ข้อคำถามควรเฉพาะเจาะจงเป็นปรนัย ควรผ่านการตรวจสอบ ความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีการทดลองใช้ และตรวจสอบคุณภาพขั้นพื้นฐานของเครื่องมือ
ในทางปฏิบัติ ผู้ประเมินควรใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลหลายวิธีประกอบกัน เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจและน่าจะสอดคล้องกับธรรมชาติของการประเมิน เช่น การวิเคราะห์ผลงาน การทอสอบฝีมือ/ความสามารถในการปฏิบัติงานการประชุม สัมมนาผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาข้อสรุปในเรื่องใดเรื่องหนึ่งการใช้สถานการณ์จำลอง การอภิปรายเป็นคณะ การใช้เทคนิคเดลฟาย การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ฯลฯ อีกทั้งนักประเมินควรคำนึงถึงแหล่งข้อมูลประเภทแหล่งทุติยภูมิ ควบคู่ไปกับการคำนึงถึงแหล่งปฐมภูมิ บ่อยครั้งที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้แล้วในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง นักประเมินควรเลือกใช้ข้อมูลเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการประเมิน

8. เก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลจะต้องมีการวางแผนอย่างดี ในกรณีที่มีเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนหลายฉบับ และต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลจำนวนมาก ควรจัดทำคู่มือการเก็บรวบรวมข้อมูล ปฏิทินการเก็บรวบรวมข้อมูล และประสานงานกับแหล่งข้อมูลเป็นอย่างดี เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความละเอียดสมบูรณ์ ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริง
ในกรณีของการประเมินองค์กร หรือการประเมินบุคลากร ควรเน้นการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการประเมิน ระบบฐานข้อมูลที่ดี หรือมีการจัดระบบแฟ้มสะสมงานที่ดี จะนำไปสู่ระบบการประเมินที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้สามารถสรุป ประเมินผลงานขององค์กรหรือบุคลากรได้อย่างต่อเนื่อง และเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาอย่างแท้จริง

9. วิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเชิงประเมิน นักประเมินไม่จำเป็นต้องเน้นวิธีการทางสถิติที่หรูหราซับซ้อน ควรเลือกใช้วิธีการทางสถิติที่ง่ายต่อการสื่อความหมาย แต่สามารถตอบคำถามในการประเมินได้อย่างชัดเจน สถิติที่ใช้อาจเป็นสถิติภาคบรรยาย (Descriptive Statistics) เช่น การวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์ค่ากลาง และดัชนีชี้การกระจายต่าง ๆ หรือสถิติอ้างอิง อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้เนื่องจากมีโปรแกรมสำเร็จรูปจำนวนมากที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนั้นปัญหาเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลจึงไม่น่าจะเป็นปัญหาสำคัญสำหรับนักประเมิน
กระบวนการการวิเคราะห์ข้อมูลอาจใช้วิธีการเชิงสถิติบ้างตามความจำเป็น เช่นถ้าเป็นข้อมูลเชิงปริมาณก็สามารถนำมาวิเคราะห์โดยสถิติต่าง ๆ เช่น แจกแจงความถี่ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน อัตราส่วน ร้อยละ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การทอสอบความแตกต่างด้วยสถิติทดสอบที หรือสถิติทดสอบเอฟ เป็นต้น ข้อควรระวังคือ จะใช้สถิติใดต้องตรวจสอบว่าข้อมูลเป็นไปตามข้อตรงลงหรือไม่ ส่วนข้อมูลที่ไม่ใช่ปริมาณนั้นสามารถวิเคราะห์ได้โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา
การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นการเปรียบเทียบข้อมูลกับเกณฑ์ หากการเปรียบเทียบ ปรากฏผลที่สอดคล้องกัน หรือผ่านเกณฑ์ หรือแตกต่างกันอย่างชัดเจน การตัดสินคุณค่าก็อาจทำได้อย่างตรงไปตรงมา แต่ถ้าเป็นกรณีที่ข้อมูลมีลักษณะไม่แตกต่างกันชัดเจนนัก การตัดสินคุณค่าจะยากลำบากมากขึ้นและในกรณีดังกล่าว อาจต้องดูข้อมูลสภาพแวดล้อมอื่นๆ ประกอบด้วย

10. สรุปผลการประเมิน และรายงานผลการประเมินต่อผู้เกี่ยวข้อง
เป้าหมายปลายทางของการวิจัยเชิงประเมินคือ การนำข้อมูลผลการประเมินไปใช้เพื่อการวินิจฉัยสั่งการ หรือตัดสินใจในการปรับปรุงและพัฒนางาน และถือเป็นเป้าหมายสูงสุดของการประเมิน ดังนั้นในขั้นตอนนี้นักประเมินจะต้องจัดทำรายงานการประเมินเพื่อนำเสนอให้ผู้บริหารได้ใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจรายงานการประเมินสามารถทำได้ใน 2 ลักษณะ คือ รายงานสรุปสำหรับผู้บริหาร เป็นรายงานการสรุปผลการประเมินที่สั้น กะทัดรัด ปกติมีความยาว 1-5 หน้า ให้สารสนเทศที่ใช้ประกอบการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารได้ ลักษณะของการรายงานประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ วัตถุประสงค์ของการคำนวณ ผลการประเมิน และข้อเสนอแนะ


การวิจัยเชิงประเมินกับการประกันคุณภาพเพื่อพัฒนาการศึกษา

1. ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา
อังกฤษเป็นประเทศแรกที่ริเริ่มแนวความคิดเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา โดยได้นำแนวความคิดเกี่ยวกับการประกันคุณภาพไปใช้ในสถานศึกษาในปี ค.ศ. 1988 ต่อมาแนวคิดนี้จึงได้แพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ในส่วนของประเทศไทย แนวคิดในเรื่องของการประกันคุณภาพการศึกษายังถือว่าเป็นเรื่องใหม่ เริ่มมีการดำเนินงานอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2537 เมื่อที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยได้เสนอหลักการแนวทาง และวิธีการในการประกันคุณภาพทางวิชาการอย่างเป็นระบบในมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก และมีผู้ให้คำนิยามด้านการประกันคุณภาพการศึกษาไว้ในความหมายต่างๆ กัน ดังตัวอย่าง ต่อไปนี้
สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย (2541 : 1) ให้ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษาว่าคือ กิจกรรมหรือการปฏิบัติใดๆ ที่หากได้ดำเนินการตามระบบและแผนที่ได้วางไว้แล้ว จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นได้ว่าจะได้บัณฑิตที่มีคุณภาพตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์
กรมวิชาการ (2539) กำหนดว่า การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นมาตรการหนึ่งที่จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นได้ว่า สถานศึกษาที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ผู้จบการศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (2540) กำหนดว่า การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นวิธีการหรือกลยุทธ์ที่กำหนดแนวปฏิบัติหรือแนวทางการดำเนินงานในการจัดการศึกษาที่เป็นหลักประกันว่า นักเรียนมีคุณภาพมาตรฐานการศึกษา และเป็นที่ยอมรับของสังคม
สถาบันส่งเสริมการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ (2543) ให้ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษาว่า เป็นการบริหารจัดการ และการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับบริการโดยตรง และผู้รับบริการทางอ้อม ว่าการดำเนินงานของสถานศึกษาจะมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด

โดยสรุป การประกันคุณภาพทางการศึกษา เป็นกระบวนการหรือระบบการดำเนินงานเพื่อควบคุมหรือพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษาว่าการดำเนินงานของสถานศึกษาที่กำหนด ลักษณะสำคัญของระบบประกันคุณภาพการศึกษาคือ มีการกำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาที่กำหนด มีการพัฒนางานให้ได้ตามมาตรฐาน มีการควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบคุณภาพ และประเมินผลการพัฒนาเป็นระยะๆ เพื่อตรวจสอบว่าได้เกิดคุณภาพมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่

2. ความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด และเมื่อมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จะทำให้คุณภาพการจัดการศึกษามีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับระดับสากล หรือก้าวสู่ความเป็นเลิศได้
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดการประกันคุณภาพไว้ในหมวดที่ 6 ว่าด้วยการมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา โดยได้กำหนดให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วยระบบประกันคุณภาพภายในและระบบประกันคุณภาพภายนอก สำหรับการประกันคุณภาพภายใน ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก โดยในมาตรา 49 กำหนดให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษามีฐานะเป็นองค์กรมหาชน ทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษา เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยในหนึ่งครั้งในทุกห้าปีนับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ (2549) กล่าวว่า การประกันคุณภาพการศึกษามีความสำคัญ 3 ประการ คือ
1) ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้ เกิดความเชื่อมั่น และสามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน
2) ป้องกันการจัดการการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค และเกิดความเสอมภาคในโอกาสที่จะได้รับการบริการการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง
3) ทำให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการศึกษาสู่คุณภาพและมาตรฐานอย่างจริงจัง ซึ่งมีผลให้การศึกษามีพลังที่จะพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง การประกันคุณภาพการศึกษาจึงเป็นการบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการการศึกษา ทั้งยังเป็นการป้องกันการจัดการการศึกษาที่ด้อยคุณภาพ และสร้างสรรค์การศึกษาให้เป็นกลไกที่มีพลังในการพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น

ในทางปฏิบัติ การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกิจกรรมที่มีบทบาทสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. เป็นการตรวจสอบยืนยันสภาพจริงในการดำเนินงานของสถานศึกษา
2. ช่วยให้ได้ข้อมูลซึ่งช่วยสะท้อนให้เห็นจุดอ่อน จุดแข็งของสถานศึกษา
3. ช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
4. ช่วยส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน
5. ช่วยให้ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการวางแผนและดำเนินการเพื่อพัฒนา
คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
6. รายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้หน่วยงานที่
เกี่ยวข้องและสาธารณชนทราบ
7. เพิ่มความมั่นใจและคุ้มครองประโยชน์ให้ผู้รับบริการทางการศึกษา


3. ประเภทของการประกันคุณภาพของการศึกษา
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาอาจจำแนกได้เป็น 2 ส่วน คือ การประกันคุณภาพภายใน และการประกันคุณภาพภายนอก
3.1 การประกันคุณภาพภายใน หมายถึงกิจกรรมการควบคุมคุณภาพภายในสถาบัน โดยการดำเนินการของสถานบันเอง เพื่อให้มีความมั่นใจว่าสถานบันได้ดำเนินการามภารกิจหลักอย่างมีคุณภาพ กระบวนการประกันคุณภาพภายใน ประกอบด้วย การวบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
3.2 การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึงการดำเนินการตามระบบควบคุมคุณภาพ พร้อมทั้งการตรวจสอบและการประเมินผลทั้งระบบ โดยหน่วยงานภายนอก เพื่อประกันว่าสถาบันการศึกษาได้ดำเนินการภารกิจหลักได้อย่างมีคุณภาพ กระบวนการประกันคุณภาพภายนอก ประกอบด้วย การตรวจสอบคุณภาพที่ผ่านกระบวนการประกันคุณภาพภายใน การประเมินคุณภาพ และการให้การรับรอง


4. การวิจัยเชิงประเมิน ในกระบวนการประกันคุณภาพเพื่อพัฒนาการศึกษา
ตามที่ได้สรุปในตอนต้นว่า ลักษณะสำคัญของระบบประกันคุณภาพการศึกษา คือมีการกำหนดมาตรฐานคุณภาพการจัดการศึกษา มีการพัฒนางานให้ได้ตามมาตรฐาน มีการควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบคุณภาพ และประเมินผลการพัฒนาเป็นระยะๆ เพื่อตรวจสอบว่าได้เกิดคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่ ตามนัยนี้ จะเห็นว่าการประเมินอย่างเป็นระบบด้วยวิธีการที่เชื่อถือได้ หรือการวิจัยเชิงประเมิน ถือเป็นกิจกรรมสำคัญในระบบประกันคุณภาพการศึกษา หรือหากวิเคราะห์ระบบประกันคุณภาพการศึกษา จะพบว่ามีภารกิจหลักที่สำคัญ 4 ส่วน ซึ่งต้องแยกบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน คือ
1) การกำหนดมาตรฐาน หรือหลักเกณฑ์ของระบบการประกันคุณภาพ เป็นหน้าที่ส่วนกลาง เช่น กระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นต้น
2) การประเมินภายใน เป็นหน้าที่ของสถานศึกษา หรือหน่วยงานต้นสังกัดในการพัฒนาระบบการประเมินภายใน โดยดึงชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งนี้ในการประเมินภายใน สถานศึกษาหรือหน่วยงานต้นสังกัดสามารถเพิ่มเติมมาตรฐานการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นเอกลักษณ์ของตนเองได้
3) การประเมินภายนอก ให้องค์กรอิสระในรูปองค์การมหาชนทำหน้าที่การประเมินภายนอก การที่ให้องค์กรอิสระทำหน้าที่นี้เพราะต้องการให้อิสระจากฝ่ายราชการ และต้องทำหน้าที่ระบบประเมินทั้งสถานศึกษาของรัฐและเอกชน
4) การรำผลการประเมินไปใช้เพื่อการปรับปรุง เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารการศึกษา
ตามภารกิจของระบบดังกล่าวนี้ จะเห็นว่าการประเมินไม่ว่าจะเป็นการประเมินภายในหรือการประเมินจากภายนอก ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบประกันคุณภาพการศึกษา

5. แนวปฏิบัติในการดำเนินงานประกันคุณภาพเพื่อพัฒนาการศึกษา

การดำเนินงานประกันคุณภาพของสถานศึกษา สามารถดำเนินการได้ตามแนวปฏิบัติต่อไปนี้ (สถานบันส่งเสริมการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ 2543)
กิจกรรมที่ 1 การเตรียมความพร้อม เน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจ เจตคติที่ดีของบุคลกรในสถานศึกษา สร้างแรงจูงใจและแต่งตั้งคณะทำงาน รวมทั้งการเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการประกันคุณภาพภายใน เช่น งบประมาณเพื่อการดำเนินงาน ปฏิทินการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 2 การศึกษาสภาพและผลการดำเนินงานของสถานศึกษาที่ผ่านมา เป็นการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานรวมทั้งผลการดำเนินของสถานศึกษาที่ผ่านมาแล้ว มาแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดทราบ เพื่อพิจารณาตัดสินใจในการกำหนดแนวทางการประเมินและการพัฒนาสถานศึกษาของตนเอง
กิจกรรมที่ 3 การทำความเข้าใจกับบุคลากรในสถานศึกษาเกี่ยวกับสภาพและผลการดำเนินงานของสถานศึกษา เป็นการนำเสนอรายงานผลการดำเนินงานของสถานศึกษาให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน และพร้อมที่จะร่วมมือกันดำเนินงาน ตรวจสอบว่าสถานศึกษาดำเนินการเกี่ยวกับการประกันคุณภาพสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาหรือไม่
กิจกรรมที่ 4 การกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน มาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่จะใช้ในการประเมิน เป็นการกำหนดเป้าหมายที่บุคลากรทุกคนในสถานศึกษารับรู้และร่วมกันจัดทำว่าจะมีการตรวจสอบการทำงานของตนเองในด้านใด เรื่องใดบ้าง
กิจกรรมที่ 5 การกำหนดกรอบการประเมิน เป็นการกำหนดแนวทางการทำการประเมินผลว่าจะดำเนินการอย่างไร เมื่อใด และใครเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องใด ซึ่งวิธีการประเมินจะขึ้นอยู่กับลักษณะของตัวบ่งชี้
กิจกรรมที่ 6 การกำหนดเกณฑ์การประเมิน ซึ่งมีกิจกรรมย่อยคือ กำหนดเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินตัวบ่งชี้ และตรวจสอบความเหมาะสมของเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินตัวบ่งชี้
กิจกรรมที่ 7 การกำหนดวิธีการที่ใช้ในการประเมิน เป็นการเลือกวิธีการเครื่องมือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลรูปแบบสอบถาม โครงสร้างคำถามที่จะใช้ และสร้างเครื่องมือประเมินโดยเริ่มตั้งแต่สร้างคำถาม ตรวจสอบคุณภาพ ทอลองใช้ ปรับปรุงก่อนนำมาใช้จริง
กิจกรรมที่ 8 การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการกำหนดแนวทางในการวิเคราะห์ ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เลือกวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสม ทำการวิเคราะห์ข้อมูล และกำหนดวิธีการนำเสนอข้อมูล
กิจกรรมที่ 9 การวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของสถานศึกษา เป็นการนำผลการประเมินมาใช้วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ประเมินความต้องการจำเป็นของสถานศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองของสถานศึกษาต่อไป
กิจกรรมที่ 10 แนวทางการพัฒนาสถานศึกษา เป็นการนำจุดอ่อนที่ค้นพบมาวิเคราะห์หาสาเหตุเพื่อทำการปรับปรุง แก้ไข หรือพัฒนาสถานศึกษาให้เข้าสู่มาตรฐานต่อไป
กิจกรรมที่ 11 การจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง เป็นการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดได้รู้ และเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพนอก
กิจกรรมที่ 12 การใช้ประโยชน์จากการประเมินตนเอง เป็นการนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ เพื่อพัฒนาปรับปรุงตนเองของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง


ในทางปฏิบัติ การประกันคุณภาพเพื่อการพัฒนาการศึกษาอาจดำเนินการตามขั้นตอน ต่อไปนี้
1) สร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักในความสำคัญ/ความจำเป็นของการประกันคุณภาพงานในองค์กร
2) กำหนดมาตรฐานคุณภาพงานขององค์กรให้ครอบคลุมภารกิจขององค์กร และครอบคลุมมาตรฐานการประกันคุณภาพจากภายนอก ทั้งนี้มาตรฐานการศึกษา อาจประกอบด้วย มาตรฐานด้านปัจจัย เช่น ความพร้อมของครู ศักยภาพของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นต้น มาตรฐานด้านกระบวนการ เช่น การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นมาตรฐาน การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นต้น และมาตรฐานด้านผลผลิตหรือผู้เรียน เช่น ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
3) ประเมินสภาพปัจจุบัน/ปัญหา หรือความต้องการจำเป็นเร่งด่วนเกี่ยวกับงานที่ต้องดำเนินการพัฒนาก่อน – หลังโดยใช้มาตรฐานที่กำหนดขึ้นเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน พร้อมทั้งวิเคราะห์จุดอ่อน – จุดแข็งขององค์กร
4) จัดทำแผน/โครงการเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันปัญหาขององค์กร
5) มอบหมายให้ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องดำเนินการพัฒนางานตามแผนโดยมีระบบในการกับติดตามงานที่มีประสิทธิภาพ
6) ประเมินความก้าวหน้าของงานเป็นระยะๆ โดยมีการปรับปรุง พัฒนางานของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นลำดับ
7) ประเมินประสิทธิภาพและผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด จัดทำรายงานผลการประเมินเสนอผู้เกี่ยวข้อง
8) หากพิจารณาเห็นว่าสถานศึกษามีความพร้อมหรือผ่านการประเมินตามมาตรฐานที่กำหนด ก็สามารถขอให้องค์กรภายนอกเข้ามาทำการประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานได้

การวิจัยแบบผสมและการวิจัยแบบบูรณาการ

การวิจัยแบบผสมและการวิจัยแบบบูรณาการ

แนวคิดหลัก

1. แนวคิดเกี่ยวกับความหมายของการวิจัยแบบผสมและการวิจัยแบบบูรณาการ การวิจัย แบบผสมเป็นการใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกันในงานวิจัยเดียวกัน การวิจัยแบบบูรณาการเน้นใช้วิธีวิทยาการจากหลากหลายสาขาวิชา เพื่อหาคำตอบในการวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ แบบองค์รวม การวิจัยทั้งสองแบบมีความสำคัญที่ทำให้สามารถหาคำตอบของการวิจัยอย่างมีความครอบคลุมหรือเป็นองค์รวมมากกว่าการใช้วิธีการวิจัยเดียวหรือวิทยาการวิจัยเดียว

2. แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการของการวิจัยแบบผสมและการใช้วิจัยแบบบูรณาการ ขั้นตอนใหญ่ ๆ กระบวนการของการวิจัยแบบผสม และการวิจัยแบบบูรณาการเหมือนกับการวิจัยทั่วไป คือ ดำเนินการตามขั้นตอนวิทยาศาสตร์ 5 ขั้น แต่เนื่องจากเป็นการผสมผสานระหว่าง 2 วิธีการ หรือเป็นการบูรณาการจากหลายสาขาวิชา การดำเนินการแต่ละขั้นตอนจึงอาจมีความซับซ้อนและมีกิจกรรมที่มากขึ้น

การวิจัยแบบผสม กิจกรรมสำคัญอยู่ที่การผสมผสานระหว่างวิธีการวิจัยเชิงปริมาณกับวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ
การวิจัยแบบบูรณาการ กิจกรรมสำคัญอยู่ที่การบูรณาการปัญหาวิจัย และการใช้วิธีวิทยาของสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการแต่ละขั้นตอนของการวิจัย



สาระสังเขป
แนวคิดเกี่ยวกับการวิจัยแบบผสม และการวิจัยแบบบูรณาการ


การวิจัยแบบผสม
1.ความหมาย การวิจัยแบบผสม (mixed research) หมายถึง การวิจัยที่ได้นำเอาวิธีการเชิงปริมาณ(quantitative) กับวิธีการเชิงคุณภาพ (qualitative)มาผสมผสานใช้ในงานวิจัยเดียวกันโดยลักษณะการใช้อาจเป็นแบบใช้สองวิธีคู่ขนานกัน หรือใช้คน ละช่วงเป็นลำดับก่อนหลัง

2.ความสำคัญและประโยชน์ของ การวิจัยแบบผสม (mixed research) หากยึดแนวความคิดที่ว่าวิธีการวิจัยดีที่สุด ก็คือวิธีการที่ให้คำตอบของการวิจัยได้ดีที่สุด (เที่ยงตรง เชื่อมั่นได้) และมีประสิทธิภาพสูงสุดในการสรุปอ้างอิง (generalization) วิธีการวิจัยแบบผสมอาจมีความเหมาะสมกว่าจะใช้วิธีการเชิงปริมาณ หรือวิธีการเชิงคุณภาพอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว เพราะการรวมเอาวิธีการวิจัยทั้งสองวิธีมาไว้ในงานวิจัยเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดประเภทข้อมูล วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล หรือทุกอย่างที่กล่าวเข้าด้วยกันจะช่วยทำให้ผลการวิจัยมีความถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

3. หลักการ การวิจัยแบบผสม เป็นการใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกันในงานวิจัยเดียวกัน โดยมีหลักการ ดังนี้ (1) เน้นการใช้วิธีการวิจัย เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพประกอบกัน (2) การผสมระหว่างวิธีการทั้งสองอาจมีได้หลายแบบ เช่น ใช้วิธีการเชิงปริมาณบางขั้นตอน ใช้วิธีการเชิงคุณภาพบางขั้นตอน หรือใช้ทั้งสองวิธีการไปพร้อม ๆ กัน และการใช้สองวิธีการดังกล่าวอาจเป็นลักษณะที่วิธีหนึ่งมีบทบาทเด่น อีกวิธีหนึ่งมีบทบาทด้อย หรือทั้งสองวิธีมีบทบาทเท่าๆ กันก็ได้ (3)การผสมเน้นการผสมวิธีการ มิใช่การผสมเนื้อหาหรือสาขาวิชาการ


การวิจัยแบบบูรณาการ
1.ความหมาย การวิจัยแบบบูรณาการ (Integrated research) หมายถึง การวิจัยที่ใช้ความรู้ แนวคิด ทฤษฎี และวิธีวิทยาการจากสาขาต่าง ๆ ร่วมกัน เพื่อแสวงหาคำตอบการวิจัยเรื่องหนึ่ง โดยมุ่งให้ได้คำตอบที่มีความครบถ้วน สมบูรณ์ แบบองค์รวม

2.ความสำคัญและประโยชน์ การวิจัยแบบบูรณาการมีความสำคัญอย่างน้อยสามประการ คือ (1) การวิจัยแบบบูรณาการ เป็นการเชื่อมโยงคำตอบ องค์ความรู้ที่ได้เป็นเนื้อเดียวกัน ตอบคำถามของการวิจัยได้หลายด้าน หรืออาจตอบได้ครบถ้วนสมบูรณ์ทุกด้าน (2)การใช้ศาสตร์หรือวิธีวิทยาจากหลายสาขาวิชาในงานวิจัยเดียวกัน ทำให้เกิดการเสริมเติมเต็มซึ่งกันและกัน เกิดพลัง และความสมบูรณ์มากกว่าการแยกส่วน หรือใช้ศาสตร์ /วิธีวิทยาจากสาขาวิชาเดียว (3) การวิจัยแบบบูรณาการเป็นความร่วมมือกันจากนักวิชาการฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ใช้ความรู้ ทฤษฎี วิธีวิทยา จากสาขาวิชาต่างๆ แบบผสมผสาน ทำให้ได้ผลผลิตที่เป็นองค์รวม และยังได้พลังความร่วมมือทางวิชาการ รวมทั้งความสมานฉันท์อีกด้วย

3.หลักการ การวิจัยแบบบูรณาการจเป็นการมุ่งให้ได้คำตอบที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์แบบองค์รวม (holistic) การวิจัยแบบบูรณาการระหว่างสาขาวิชาที่มิได้เน้นเป้าหมายให้ได้คำตอบถึงระดับที่เป็นองค์รวมเป็นสำคัญ เรียกการวิจัยแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary research) หรืออาจว่าการวิจัยแบบสหวิทยาการนั้นเป็นการวิจัยแบบบูรณาการแบบหนึ่ง อย่างไรก็ตามในการวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ นักวิจัยย่อมพยายามที่จะแสวงหาคำตอบของปัญหาการวิจัยในเรื่องนั้น ๆ ให้ได้ถูกต้อง เที่ยงตรง และครอบคลุมที่สุด โดยที่คำตอบนั้นจะได้ความเป็นองค์รวมหรือไม่ก็ตาม

1) บูรณาการแบบพหุวิทยาการ(multidisciplinary) เป็นการรวมตัวกัน ระหว่างวิทยาการสองสาขาวิชาขึ้นไป โดยไม่มีการผสมผสานระหว่างองค์ประกอบของศาสตร์
2) บูรณาการแบบอเนกวิทยาการ (pluridisciplinarity) เป็นการรวมตัวกันระหว่างวิทยาการที่มีจุดมุ่งหมายใกล้เคียงกัน และเป็นวิทยาการระดับเดียวกัน ผลจากการบูรณาการได้เป็นวิชาใหม่ที่มีขอบเขตกว้างกว่าเดิมและก้าวหน้ามากขึ้น
3) บูรณาการแบบสหวิทยาการ(Interdisciplinarity)เป็นการผสมผสานของวิทยาการในอุดมคติของวิทยาการทั้ง 4 แบบ มีการผสมผสานองค์ประกอบของวิทยาการเข้าเป็นระบบเดียวกัน ได้เป็นวิทยาการสาขาใหม่ที่ครอบคลุมมวลวิทยาการเดิมและความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาการเดิมด้วย


สาระสังเขป
กระบวนการวิจัยแบบผสม และการวิจัยแบบบูรณาการ


กระบวนการวิจัยแบบผสม และกระบวนการวิจัยแบบบูรณาการ สามารถแยกพิจารณาได้เป็นสองส่วน คือ กระบวนการวิจัยในส่วนที่เหมือนกันกับกระบวนการวิจัยแต่ละแบบ ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงกระบวนการส่วนที่เหมือนกันจึงกล่าวไปพร้อมกันได้ แต่เมื่อกล่าวถึงกระบวนการเฉพาะ ควรที่กล่าวถึงกระบวนการของการวิจัยแต่ละแบบแยกจากกัน

1. กระบวนการวิจัยในส่วนที่เหมือนกัน
กระบวนการวิจัยที่ใช้ในการวิจัยแบบผสมกับที่ใช้ในการวิจัยแบบบูรณาการ ส่วนที่เหมือนกันคือการวิจัยทั้งสองแบบคงใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย ๕ ขั้นตอน คือ ขั้นกำหนดปัญหาของการวิจัย ขั้นกำหนดสมมติฐานของการวิจัย ขั้นกำหนดวิธีการและเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล ขั้นสรุปผลการวิจัย สำหรับกระบวนการวิจัยแบบผสมหรือแบบบูรณาการที่เป็นทางการศึกษา อาจมีการกำหนดกระบวนการหรือขั้นตอนที่ละเอียดลงไป เป็น ๙-๑๐ ขั้นตอน


2. กระบวนการการวิจัยที่เป็นลักษณะเฉพาะของการวิจัยแต่ละแบบ

2.1 กระบวนการวิจัยที่เป็นลักษณะของการวิจัยแต่ละแบบ
ขั้นตอนที่เฉพาะเจาะจงหรือขั้นตอนเพิ่มเติมที่อาจแทรกเสริมจาก 5 ขั้นตอนหลักของการวิจัยแบบผสมนี้ ได้แก่

1) ขั้นกำหนดปัญหาของการวิจัย ในการวิจัยแบบผสมนั้น เมื่อนักวิจัยมีความชัดเจน ปัญหาวิจัยแล้ว นักวิจัยจะต้องพิจารณาว่าการวิจัยนั้นเหมาะสมที่จะใช้วิธีการผสมหรือไม่ ในขั้นตอนนี้เป็นการพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะใช้วิธีการแบบผสม กล่าวคือพิจารณาว่าปัญหานั้นเหมาะสมที่จะใช้วิธีการแบบผสมหรือไม่ นักวิจัยมีทักษะทั้งสองวิธีการเพียงพอหรือไม่ มีทรัพยากรเพียงพอหรือไม่ เป็นความต้องการของผู้ใช้งานวิจัยนั้นด้วยหรือไม่

2) ขั้นกำหนดสมมติฐานของการวิจัย นักวิจัยจะต้องกำหนดคำตอบหรือคาดคะเนผลของการวิจัย โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นการเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ด้วยวิธีเชิงปริมาณ อย่างไรก็ตามในส่วนที่เป็นเชิงคุณภาพหากมีหลักฐาน แนวโน้ม ที่ชัดเจน นักวิจัยก็อาจตั้งสมมติฐานได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการประมวลเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในการวิจัยแบบผสมอาจมีสมมติฐานที่ต้องตรวจสอบด้วยข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงวิจัยคุณภาพประกอบกันด้วยก็ได้

3) ขั้นกำหนดวิธีการและเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยจะต้องกำหนดแผนหรือขั้นตอนปฏิบัติการว่าเมื่อใดจะเก็บรวบรวมข้อมูลชนิดใด ใช้วิธีการอะไร (เชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพ) สิ่งที่ต้องมีความชัดเจนในขั้นนี้ก็คือ ในส่วนของวิธีเชิงปริมาณ นักวิจัยต้องกำหนดประชากร จำนวนและวิธีการเลือกตัวอย่าง นิยามปฏิบัติการของตัวแปร รวมถึงวิธีการรวบรวมข้อมูล ในส่วนของวิธีเชิงคุณภาพนักวิจัยต้องกำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เทคนิคหรือเครื่องมือที่ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูล วิธีการรวบรวมข้อมูล รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือและวิธีการรวบรวมข้อมูล

เมื่อใดจะเก็บรวบรวมข้อมูลชนิดใด ใช้วิธีการอะไร (เชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพ)
สิ่งที่ต้องมีความชัดเจนในขั้นนี้ก็คือ ในส่วนของวิธีเชิงปริมาณ นักวิจัยต้องกำหนดประชากร จำนวนและวิธีการเลือกตัวอย่าง นิยามปฏิบัติการของตัวแปร รวมถึงวิธีการรวบรวมข้อมูล ในส่วนของวิธีเชิงคุณภาพนักวิจัยต้องกำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เทคนิคหรือเครื่องมือที่ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูล วิธีการรวบรวมข้อมูล รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือและวิธีการรวบรวมข้อมูล

4) ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล นักวิจัยจะต้องคำนึงถึงการวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละชนิดที่รวบรวมได้ในแต่ละขั้นตอนของการวิจัย โดยอาจวิเคราะห์แบบแยก คือ เชิงปริมาณส่วนหนึ่ง เชิงคุณภาพส่วนหนึ่ง หรือวิเคราะห์แบบรวมกัน คือวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แล้วนำผลที่ได้บูรณาการหรือเสริมกัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับแบบการวิจัยที่ใช้

ขั้นตอนของการวิจัย โดยอาจวิเคราะห์แบบแยก คือ เชิงปริมาณส่วนหนึ่ง เชิงคุณภาพส่วนหนึ่ง หรือวิเคราะห์แบบรวมกัน คือวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แล้วนำผลที่ได้บูรณาการหรือเสริมกัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับแบบการวิจัยที่ใช้

5) ขั้นสรุปผลการวิจัย ในการวิจัยแบบผสมการสรุปผลการวิจัยอาจทำเป็นตอน ๆ (ถ้าการวิจัยแบ่งเป็นตอน เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ) หรือสรุปผลการวิจัยแบบผสมระหว่างผลที่พบจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพประกอบกัน

นอกจากการดำเนินการ 5 ขั้นตอนดังกล่าวแล้ว ในการเขียนรายงานวิจัยของการวิจัยแบบผสม ก็มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งอาจมีสองลักษณะ คือ เขียนแยกส่วน เป็นส่วนเชิงปริมาณ กับส่วนเชิงคุณภาพ อีกลักษณะหนึ่ง คือ ในแต่ละตอนของการรายงานได้รวมทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับการตั้งคำถามการวิจัย


2.2 กระบวนการวิจัยที่เป็นลักษณะเฉพาะของการวิจัยแบบบูรณาการ

ขั้นตอนที่เฉพาะเจาะจงหรือขั้นตอนเพิ่มเติม พิจารณาแทรกเสริมจาก 5 ขั้นตอนหลักของการวิจัยแบบบูรณาการนี้ ได้แก่
1) ขั้นกำหนดปัญหาของการวิจัย ในการวิจัยแบบบูรณาการต้องพิจารณาว่าปัญหานั้นเป็นปัญหาที่มีลักษณะบูรณาการของสาขาวิชาตั้งแต่สองสาขาวิชาขึ้นไปหรือไม่ ถ้าใช่มีสาขาวิชาอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง ปัญหาดังกล่าวอาจเรียกว่า ปัญหาหลักของการวิจัย จากปัญหาหลักนักวิจัยจะวิเคราะห์แยกเป็นปัญหารองของการวิจัย ซึ่งแต่ละปัญหารองอาจเป็นแบบบูรณาการปัญหาจากหลายสาขาวิชา หรือเป็นปัญหาของเฉพาะแต่ละสาขาวิชา

2) ขั้นกำหนดสมมติฐานของการวิจัยสมมติฐานของการวิจัยแบบบูรณาการจะกำหนดให้สอดคล้องกับปัญหาย่อยหรือวัตถุประสงค์ของการวิจัย กล่าวคือเป็นสมมติฐานแบบบูรณาการสาขาวิชาหรือเฉพาะสาขาวิชา สมมติฐานอาจมีจำนวนเท่ากันหรือมากกว่าจำนวนวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้

3)ขั้นกำหนดวิธีการและเก็บรวบรวมข้อมูล ในการเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยแบบบูรณาการ นักวิจัยต้องพิจารณาวิธีวิทยาของสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำมาใช้อย่างเหมาะสม นักวิจัยต้องประชุมปรึกษากันว่าจะผสมผสานระหว่างวิธีวิทยาหรือจะใช้แต่ละวิธีวิทยากับแต่ละปัญหาย่อยของการวิจัย

4)ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิจัยแบบบูรณาการนักวิจัยจะวางแผนที่สอดรับกับสมมติฐานและปัญหาย่อยของการวิจัย รวมทั้งข้อมูลที่รวบรวมได้ด้วย ในขั้นนี้ก็เช่นกันที่นักวิจัยจะต้องนำวิธีวิทยาในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการกับข้อมูลของแต่ละสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องมาใช้อย่างเหมาะสม

5)ขั้นสรุปผลการวิจัย ขั้นนี้นักวิจัยจะต้องนำผลการวิเคราะห์ข้อมูล และผลการวิจัยที่พบไปตรวจสอบกับปัญหาวิจัย โดยตรวจสอบปัญหาย่อย และบูรณาการคำตอบทั้งหมดเพื่อตอบปัญหาหลักของการวิจัย

การออกแบบการวิจัยเชิงนโยบาย การวิจัยสถาบัน และการวิจัยเชิงปฎิบัติการ

การออกแบบการวิจัยเชิงนโยบาย การวิจัยสถาบัน และการวิจัยเชิงปฎิบัติการ

การวิจัยเชิงนโยบาย เป็นการวิจัยที่มุ่งกำหนดแนวทางการดำเนินการของแต่ละสถาบันหรือหน่วยงานจากปัจจุบันไปสู่อนาคต เพื่อมุ่งหวังให้การตัดสินใจสู่การดำเนินการดังกล่าวมีความถูกต้องเหมาะสม และเป็นไปได้มากที่สุด จัดได้ว่าเป็นเครื่องมือของการบริหารองค์การที่จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถค้นหาข้อเท็จจริงและแนวความคิดมาประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายการบริหารได้อย่างมีประสิทธิผลและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยสถาบันเป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับแต่ละสถาบัน ทั้งนี้เพื่อนำข้อค้นพบไปประยุกต์ใช้สำหรับการวางแผนการตัดสินใจหรือการแก้ปัญหาในแต่ละสถาบันโดยเฉพาะ

กระบวนการออกแบบการวิจัยเชิงนโยบาย การวิจัยสถาบันและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีการดำเนินการในลักษณะเดียวกับการวิจัยทั่วไป ได้แก่ ขั้นกำหนดปัญหาการวิจัย ขั้นกำหนดสมมติฐานของการวิจัย ขั้นกำหนดวิธีการและเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล และขั้นสรุปผลการวิจัย แต่ความสำคัญและความจำเป็นของแต่ละขั้นตอนหลักจะมีมากหรือน้อยแตกต่างกันไป และอาจมีขั้นตอนเฉพาะหรือขั้นตอนเพิ่มเติมที่เสริมจากขั้นตอนหลักด้วย



สาระสังเขป
แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบการวิจัยเชิงนโยบาย การวิจัยสถาบัน และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ


1. ความหมายการวิจัยเชิงนโยบาย (policy research) หมายถึง การวิจัยที่มุ่งกำหนดแนวทางการดำเนินการของแต่ละสถาบันหรือหน่วยงานจากปัจจุบันไปสู่อนาคต เพื่อมุ่งหวังให้การตัดสินใจสู่การดำเนินการดังกล่าวมีความถูกต้อง เหมาะสม และเป็นไปได้มากที่สุด

การวิจัยสถาบัน (institutional research) หมายถึง การวิจัยที่มุ่งศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับแต่ละสถาบัน ทั้งนี้เพื่อนำข้อค้นพบไปประยุกต์ใช้สำหรับการวางแผนการตัดสินใจหรือการแก้ปัญหาในแต่ละสถาบันโดยเฉพาะ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) หมายถึง การวิจัยที่มุ่งศึกษาการแก้ปัญหาการปฏิบัติงานโดยที่ผู้รับผิดชอบหรือผู้ที่ปฏิบัติงานนั้นโดยตรง เช่น การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (classroom action research) ก็เป็นการวิจัยที่ทำโดยครูผู้สอนในห้องเรียน เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียน และนำผลมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียนนั่นเอง

2. ความสำคัญและประโยชน์
การวิจัยเชิงนโยบายจัดได้ว่าเป็นเครื่องมือของการบริหารองค์การที่จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถค้นหาข้อเท็จจริง และแนวความคิดมาประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายการบริหารได้อย่างมีประสิทธิผลและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผลการวิจัยนโยบายจะช่วยให้พิจารณาได้ว่านโยบายต่าง ๆ มีความถูกต้องแน่นอน และเหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นจริง มีความเป็นไปได้สำหรับการดำเนินการหรือไม่ เมื่อดำเนินการไปแล้วผลที่ได้จะสนองต่อวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ อย่างไร

3. หลักการสำคัญ
การวิจัยเชิงนโยบาย มีหลักการสำคัญดังนี้
3.1 การวิจัยเชิงนโยบาย เริ่มต้นจากปัญหาทางสังคมแล้วเปลี่ยนไปเป็นปัญหา
การวิจัย ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจในขอบเขตของนโยบายและความชำนาญในระเบียบวิธีวิจัย ก่อให้เกิดความรู้ในเรื่องนั้นและส่งผลของการวิจัยจะนำไปสู่การกำหนดนโยบายในที่สุด

3.2 การวิจัยเชิงนโยบาย ศึกษาได้ใน 3 ลักษณะ คือ ศึกษาตัวนโยบาย ศึกษาการนำนโยบายไปปฏิบัติ และศึกษาผลของนโยบาย

3.3 การศึกษาเกี่ยวกับนโยบาย จะสนใจในประเด็นต่อไปนี้
- นโยบายเกิดขึ้นได้อย่างไร และทำไมจึงมีนโยบายนี้
- ผลของนโยบายยาวนานแค่ไหน
- เคยมีการปรับนโยบายหรือไม่ มีการปรับเมื่อไร และทำไมจึงปรับ
- ทัศนคติในปัจจุบันที่มีต่อนโยบาย
- เปรียบเทียบนโยบายที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน
- ข้อดีและข้อเสียของนโยบาย

3.4 การวิจัยเชิงนโยบาย จะต้องพิจารณาด้วยว่านโยบายไม่ใช่สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นทันทีทันใด แต่เกิดจากวิวัฒนาการของการสั่งสม ดังนั้นจึงมีลักษณะของกระบวนการต่อเนื่อง และทำให้ต้องอาศัยคณะนักวิจัยจากสหสาขาวิชา ทำให้การทำงานยากขึ้น

3.5 การวิจัยเชิงนโยบาย มักจะสนใจตัวแปรที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจจะสามารถควบคุมได้บ้างและการวิจัยจะต้องตอบสนองความต้องการของผู้ใช้โดยตรง

การวิจัยสถาบัน มีหลักการสำคัญ ดังนี้
1) การกำหนดเป้าหมาย (purpose) จะต้องมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจงและชัดเจน การกำหนดเป้าหมายควรจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างการวิจัยสถาบันและการวางแผน รวมทั้งการกำหนดเป้าหมายและการตัดสินใจด้วย
2) การดำเนินการวิจัยต้องให้ได้ผลที่รวดเร็ว ทันเวลาที่จะใช้ และมีคุณภาพที่เชื่อถือได้
3) การสื่อความหมาย (communication) ในการนำเสนอข้อค้นพบของการวิจัยสถาบันให้สื่อความหมายนั้นทำได้หลายรูปแบบ บางครั้งอาจจะนำเสนอปากเปล่าทางโทรศัพท์ ซึ่งเป็นการตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมา อย่างไรก็ตามการนำเสนอข้อมูลส่วนใหญ่ที่มีประสิทธิภาพอาจต้องใช้ตาราง แผนภูมอ หรือกราฟประกอบ
4) การแปลหรือการตีความหมาย (interpretation) หมายถึง ความพยายามของผู้วิจัยที่จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัยสถาบันให้ละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่ยังคลุมเครืออยู่ เพื่อจะได้ตีความตรงกัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนหรือเสนอแนะเพื่อการกำหนดนโยบาย และการตัดสินใจของผู้บริหารต่อไป

5) การเขียนรายงาน (written report) เป็นผลิตผลที่สำคัญของการวิจัยสถาบัน ผู้ทำการวิจัยต้องพยายามเขียนรายงานให้ถูกต้อง ในรายงานอาจมีการชี้แนะเพื่อให้ตรงกับปัญหาที่เผชิญอยู่ หลังจากเขียนรายงานและเผยแพร่แล้วควรมีการติดตามผลด้วยว่าผู้นำไปใช้มีความเข้าใจและแปลความผลการวิจัยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมหรือไม่ เพียงไร

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีหลักการสำคัญดังนี้
1) เป็นการวิจัยที่สะท้อนกลับของผลการปฏิบัติงานของตนเอง เช่น การวิจัยของ
ครูผู้สอนใน ชั้นเรียนที่สะท้อนกลับการทำงานของครูผู้สอนเอง

2) เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีส่วนในการวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานและวิพากษ์ วิจารณ์ผลที่ได้รับ เช่น ครูผู้สอนนำวิธีการแก้ปัญหาที่ตนเองคิดขึ้นไปทดลองใช้กับผู้เรียน แล้วสังเกตผลการแก้ปัญหานั้น จากนั้นนำผลและวิธีการมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อนครูในโรงเรียนในลักษณะของการวิจัยแบบร่วมมือ (collaborative research) วิจารณ์ผลที่ได้รับ เช่น ครูผู้สอนนำวิธีการแก้ปัญหาที่ตนเองคิดขึ้นไปทดลองใช้กับผู้เรียน แล้วสังเกตผลการแก้ปัญหานั้น จากนั้นนำผลและวิธีการมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อนครูในโรงเรียนในลักษณะของการวิจัยแบบร่วมมือ (collaborative research)

3) เป็นกระบวนการวิจัยที่มีการดำเนินงานเป็นวงจรต่อเนื่องและปฏิบัติให้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงาน เช่น เป็นการวิจัยที่เกิดขึ้นในห้องเรียนในขณะที่การเรียนการสอนกำลังดำเนินอยู่ เป็นการวิจัยด้วยวิธีการที่มีวงจรการทำงานต่อเนื่อง และสะท้อนกลับการทำงานของครูผู้สอนเอง

4) ผลที่ได้จากการวิจัยนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงาน เช่น เป็นการแสวงหาวิธีการแก้ไข ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนการสอนให้ดีขึ้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน


สาระสังเขป
กระบวนการออกแบบการวิจัยเชิงนโยบาย การวิจัยสถาบัน และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ


กระบวนการออกแบบการวิจัยทั้งการวิจัยเชิงนโยบาย การวิจัยสถาบัน และการวิจัยเชิงปฏิบัติการต่างก็ยังคงใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นกำหนดปัญหาการวิจัย ขั้นกำหนดสมมติฐานของการวิจัย ขั้นกำหนดวิธีการและเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล และขั้นสรุปผลการวิจัย ซึ่งอาจมีการกำหนดกระบวนการออกแบบที่ละเอียดลงไปเป็น 9-10 ขั้นตอน

1. กระบวนการออกแบบการวิจัยเชิงนโยบาย
ผู้วิจัยเชิงนโยบายต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เพียงพอที่จะพิจารณาทิศทางการวิจัย เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ จึงต้องศึกษาบริบทของการจัดทำนโยบายก่อน ได้แก่ ศึกษากระบวนการตัดสินใจในการกำหนดนโยบาย การเลือกใช้กลไกของนโยบาย ได้แก่ เป็นกฎหมาย เป็นมาตรการในการควบคุม เป็นแรงจูงใจด้านงบประมาณ เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาถึงกลุ่มคนที่มีส่วนในการตัดสินใจกำหนดนโยบายด้วย อีกทั้งต้องศึกษาถึงชนิดของแนวข้อเสนอนโยบายที่จะเป็นประโยชน์และเป็นไปได้ เพื่อช่วยในการประเมินทางเลือกต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาของผู้กำหนดนโยบายด้วย

กระบวนการออกแบบการวิจัยเชิงนโยบาย มีขั้นตอนสำคัญที่เป็นขั้นตอนเฉพาะและเสริมจาก 5 ขั้นตอน
1.1 ขั้นกำหนดปัญหาการวิจัย มีหลักการดังนี้
1.1.1 เลือกปัญหาสังคม
1.1.2 ระบุประเด็นที่สำคัญจากนโยบาย
1.1.3 วิเคราะห์ข้อกฎหมายในอดีตของประเด็นนโยบายนั้น
1.1.4 ติดตามความก้าวหน้าในเรื่องนั้น ๆ จากงานวิจัยอื่น ๆ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
1.1.5 ศึกษาเกี่ยวกับสายงานการตัดสินใจในองค์กร
1.1.6 ร่างรูปแบบของกระบวนการจัดทำนโยบาย
1.1.7 สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
1.1.8 สังเคราะห์สารสนเทศที่ได้รับ

1.2 ขั้นกำหนดขอบเขตของปัญหา
เมื่อทราบถึงประเด็นปัญหาในการวิจัยแล้ว งานขั้นต่อไปคือ การกำหนดขอบเขตของปัญหา ซึ่งเป็นการจัดทำปัญหาการวิจัยที่เฉพาะเจาะจง มีหลักการดำเนินการดังนี้
1.2.1 ตัดสินใจเกี่ยวกับผลกระทบที่คาดหวัง
1.2.2 เลือกแง่มุมของปัญหาสังคม ถ้าลักษณะของแง่มุมเป็นพหุมิติ ผลของการวิจัยจะได้ผลที่มีความหมายมากขึ้น
1.2.3 ระบุตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
1.2.4 จัดทำปัญหาการวิจัย

1.3 ขั้นกำหนดวิธีการและเก็บรวบรวมข้อมูล
เป็นขั้นตอนการให้นิยามเชิงปฏิบัติการกับตัวแปร การกำหนดระเบียบวิธีในการศึกษา โดยเลือกระเบียบวิธีที่เหมาะกับปัญหา ควรมีความยืดหยุ่น สามารถปรับได้ในระหว่างการดำเนินการวิจัย มีการเลือกใช้เครื่องมือและวิธีการเก็บข้อมูลที่ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดเรื่องเวลาและต้นทุนด้วย อีกทั้งแผนการวิจัยต้องมีความตรง ตอบสนองผู้ที่ต้องการใช้ และมีศักยภาพต่อการเปลี่ยนปลงในอนาคต

1.4 ขั้นวิเคราะห์ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย
เป็นส่วนที่แตกต่างไปจากการวิจัยประเภทอื่น คือ การวิจัยนโยบายจะต้องมีการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะของการวิจัย ซึ่งมีประเด็นสำคัญ ได้แก่
1.4.1 การวิเคราะห์ตัวแปรที่มีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ หมายถึง ผู้ที่รับผิดชอบในการนำนโยบายไปปฏิบัติ หรือคุณลักษณะขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับนโยบายนั้น ๆ เช่น เสนอแนะให้เห็นถึงจำนวนทรัพยากรที่ผู้รับผิดชอบสามารถนำไปใช้ได้ ความสามารถของผู้ที่รับผิดชอบในการบริหารทรัพยากรเหล่านั้น โครงสร้างขององค์กรในการปฏิบัตินโยบาย กลไกที่จำเป็นต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติเป็นต้น
1.4.2 การคาดการณ์ถึงศักยภาพของข้อเสนอแนะ เช่น ผลที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจในข้อเสนอแนะผลกระทบของข้อเสนอแนะที่มีต่อนโยบายอื่น ผลที่จะเกิดหากข้อเสนอแนะไม่ถูกนำไปใช้ เป็นต้น
1.4.3 การคาดการณ์ความน่าจะเป็นในการนำไปปฏิบัติ เป็นการพิจารณาถึงโครงสร้างทางอำนาจของผู้รับผิดชอบ และโครงสร้างขององค์กรที่จะสามารถนำข้อเสนอแนะไปปฏิบัติ การนำข้อเสนอแนะไปใช้นี้ขึ้นกับสารสนเทศที่ผู้วิจัยเสนอแนะไว้เป็นสำคัญ ซึ่งจะต้องพิจารณาในเรื่องของเวลาและความน่าจะเป็นในการตัดสินใจเป็นหลักใหญ่
1.4.4 การเตรียมข้อเสนอแนะในขั้นสุดท้าย เป็นข้อสำคัญที่สุดของการพิจารณาความเป็นไปได้ และปรับปรุงข้อเสนอแนะที่เหมาะสม หลังจากวิเคราะห์และคาดการณ์ในประเด็น 1.4.1-1.4.3 เป็นอย่างดีแล้ว
1.5 ขั้นการติดต่อสื่อสารระหว่างนักวิจัยและผู้กำหนดนโยบาย
ขั้นการติดต่อสื่อสารนี้จะเป็นประเด็นที่นอกเหนือจากระบวนการออกแบบการวิจัยทั่วไป อาจจะกล่าวได้ว่าไม่น่าจะอยู่ในขั้นตอนของการวิจัยก็น่าจะได้


2. กระบวนการออกแบบการวิจัยสถาบัน
มีประเด็นเสริมสำคัญตามกระบวนการวิจัยหลักโดยสังเขป ดังนี้
2.1 ขั้นกำหนดปัญหาการวิจัย
เพื่อให้ได้ข้อค้นพบไปประยุกต์ใช้สำหรับการวางแผนการตัดสินใจ หรือการแก้ปัญหาในสถาบัน ซึ่งปัญหาอาจครอบคลุมหลายหน่วยงานย่อยในสถาบันหรือผลการวิจัยส่งผลไปยังหน่วยงานย่อย ดังนั้นการกำหนดปัญหาการวิจัยอาจได้มาจากการมองปัญหาของคณะกรรมการที่มาจากหน่วยงานย่อย ต่าง ๆ เพื่อให้ครอบคลุมประเด็นที่ต้องการแนวคิดที่หลากหลาย ดังนั้นการวิจัยสถาบันจึงมักดำเนินการ ในรูปแบบของคณะกรรมการวิจัย
2.2 ขั้นกำหนดวิธีการและการเก็บรวบรวมข้อมูล
ขั้นนี้ก็คงไม่แตกต่างไปจากกระบวนการวิจัยทางสังคมศาสตร์ทั่ว ๆ ไป แต่มีข้อควรคำนึง คือขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งจะต้องเก็บข้อมูลจากบุคคลในหน่วยงาน บางครั้งข้อคำถามอาจทำให้เกิดความรู้สึกว่าถูกประเมิน หรือเกิดความรู้สึกไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน หรือความรู้สึกว่าถูกรบกวน ถูกเพิ่มงาน ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะมีผลต่อความสมบูรณ์ของข้อมูลในการวิจัยเป็นอย่างมาก
2.3 ขั้นการนำเสนอผลการวิจัย
การนำเสนอหรือเผยแพร่ผลการวิจัยสถาบันจะแตกต่างจากผลงานวิจัยทางวิชาการทั่ว ๆ ไป โดยการวิจัยเชิงวิชาการเป็นเรื่องการค้นพบข้อความรู้ใหม่ จึงมุ่งเผยแพร่โดยทั่วไปให้กว้างขวางที่สุด แต่การวิจัยสถาบันเป็นเรื่องราวที่เกิดในสถาบัน มุ่งนำผลไปใช้เพื่อตัดสินใจ การวางแผนและการบริหาร ดังนั้นการเผยแพร่งานวิจัยจึงต้องคำนึงถึงนโยบายและผลกระทบที่เกิดขึ้นด้วย ส่วนใหญ่แล้วการเผยแพร่ จึงมักจะเป็นลักษณะการนำเสนอผู้บริหารหรือคณะกรรมการที่มีหน้าที่พิจารณาโดยตรง มากกว่าจะเป็นรายงานที่เผยแพร่ได้ทั่วไป


3. กระบวนการออกแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
กระบวนการออกแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้จะมุ่งไปที่การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ซึ่งเป็นการวิจัยที่ทำโดยครูผู้สอนในห้องเรียน เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียน และนำผลมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน จึงมีกระบวนการออกแบบที่เป็นขั้นตอนเฉพาะเสริมจาก ๕ ขั้นตอนหลัก กล่าวคือ

Freeman (1996 อ้างถึงใน สุวิมล ว่องวาณิช 2544:23) ได้เสนอขั้นตอนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้
1.เป็นการตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับสภาพที่เกิดขึ้น
2.เป็นการกำหนดปัญหาวิจัยหรือคำถามวิจัยที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ซึ่งเป็นคำถามที่สามารถวิจัยได้
3.เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล
4.เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบคำถามวิจัย
5.เป็นการทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น
6.เป็นการนำข้อค้นพบไปเผยแพร่ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบและใช้ประโยชน์

3.1 ขั้นกำหนดปัญหาของการวิจัย
กำหนดจากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียน คือ ปรากฎการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลให้การเรียนการสอนไม่บรรลุเป้าหมายที่กำหนด สิ่งที่สังเกตจะนำไปสู่การกำหนดข้อสงสัยว่ามีอะไรเกิดขึ้น สิ่งนั้นก่อให้เกิดปัญหาอย่างไร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เป็นต้น ข้อสงสัยที่กำหนดนี้ทำให้ครูผู้วิจัยเกิดความสนใจที่จะค้นหาคำตอบและทำการศึกษาเพื่อให้ตนเองมีความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จึงนำไปสู่ประเด็นปัญหาของการวิจัย

3.2 ขั้นกำหนดสมมติฐานของการวิจัย
การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนที่ต้องการแก้ปัญหาคุณภาพการเรียนการสอน เช่น การใช้วิธีการสอนแบบใหม่แทนวิธีสอนแบบเดิม การเปรียบเทียบคุณภาพของวิธีสอนแบบหนึ่งกับอีกแบบหนึ่ง การใช้สื่อนวัตกรรมในกระบวนการเรียนการสอนแทนของเดิม เป็นต้น ซึ่งผู้วิจัยต้องตั้งสมมติฐานการวิจัยที่คาดหวังว่าวิธีสอน สื่อนวัตกรรมที่นำมาใช้ใหม่ หรือที่เชื่อว่าดี มีคุณภาพ จะส่งผลต่อการพัฒนาการเรียนการสอนที่ดีขึ้น

3.3 ขั้นกำหนดวิธีการและการเก็บรวบรวมข้อมูล
เป็นขั้นตอนการปฏิบัติตามแผนที่กำหนด ซึ่งครูผู้วิจัยต้องจัดทำเป็นแผนการสอน (lesson plan ) แล้วนำไปใช้ตามแบบแผนการวิจัยที่กำหนด เช่น การวิจัยเชิงทดลองที่เปรียบเทียบการสอน 2 วิธี ที่แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 2 กลุ่ม แต่ละกลุ่มก็จะมีแผนการสอนที่แตกต่างกันออกไป

3.4 ขั้นวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล
เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ มักใช้ข้อมูลดิบโดยการแจงนับเป็นความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และการนำเสนอข้อมูลก็มักใช้กราฟหรือแผนภูมิ เพื่อให้เข้าใจง่าย ส่วนการวิเคราะห์เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์โดยจัดกลุ่มจากความสัมพันธ์ของข้อมูลที่มีหรือจำแนกข้อมูลให้เข้าตามกลุ่มที่กำหนดไว้แล้ว

3.5 ขั้นการสะท้อนผล
เพื่อให้เกิดการวิพากษ์และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้เกี่ยวข้องร่วมกัน เป็นขั้นตอนเฉพาะของการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน มีการดำเนินการ 4 ระดับ ดังนี้
3.5.1ระดับการบรรยายสภาพที่เกิดขึ้น เป็นการวิพากษ์ในเนื้อหาที่เกี่ยวกับสภาพที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนและข้อค้นพบต่าง ๆ
3.5.2 ระดับการประเมินข้อค้นพบ เป็นการวิพากษ์เชิงประเมินว่าสิ่งที่ดำเนินการหรือสิ่งค้นพบดีหรือไม่ดีอย่างไร เพราะอะไร
3.5.3 ระดับการอธิบายข้อค้นพบในระดับที่สูงขึ้นกว่าระดับการประเมิน เป็นการวิพากษ์เพื่อหาคำอธิบายต่อสิ่งที่ค้นพบ
3.5.4 ระดับการประยุกต์ใช้สิ่งที่ค้นพบ เป็นการวิพากษ์เพื่อนำผลที่ค้นพบไปใช้ประโยชน์หรือปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติในครั้งต่อไป

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

การออกแบบวิจัยเพื่อพัฒนาโมเดล

การออกแบบวิจัยเพื่อพัฒนาโมเดล

การออกแบบวิจัยเพื่อพัฒนาโมเดล มีประเด็นสาระในการศึกษารวม 3 ประเด็น ดังนี้

1.แนวคิดหลักของการออกแบบวิจัยเพื่อพัฒนาโมเดล
2.กระบวนการออกแบบวิจัยเพื่อพัฒนาโมเดล
3.วิเคราะห์กรณีตัวอย่างงานวิจัยเพื่อพัฒนาโมเดล


สรุปโดยสังเขป ดังนี้

1.แนวคิดหลักของการออกแบบวิจัยเพื่อพัฒนาโมเดล

1.1 ความหมายของการออกแบบวิจัยเพื่อพัฒนาโมเดล เป็นการจัดทำแผนหรือโครงการวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ทั้งในทางทฤษฎีและจากงานวิจัยเชิงประจักษ์ในอดีต เพื่อจัดทำโครงสร้าง(construct) ทางทฤษฎีที่ใช้เป็นตัวแทนแนวคิดบางอย่าง โดยที่โครงสร้างนั้นประกอบด้วยชุดตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันและกันเชิงเหตุและผลและเชิงปริมาณ มีความสำคัญในการได้นำองค์ความรู้จากงานวิจัยในอดีตมาศึกษาในเชิงอภิมาน ทำให้ได้เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่จะช่วยให้สามารถนำไปใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ในสังคมและนำไปใช้ประโยชน์ในการควบคุมปรากฏทางสังคมต่อไป

1.2 ความสำคัญและประโยชน์ของการออกแบบวิจัยเพื่อพัฒนาโมเดล คือการยอมให้นำตัวแปรที่ได้ศึกษาย้อนหลังและพบว่ามีความสัมพันธ์กันในเชิงเหตุและผลมาบูรณาการกับทฤษฎีเกี่ยวกับตัวแปรทั้งหลายที่พบ และนำมาจัดระบบ สร้างแบบแผน โครงสร้าง ให้เห็นเป็นโมเดลของความสัมพันธ์และผลของความสัมพันธ์ และผลของความสัมพันธ์นั้นต่อปรากฏการณ์ในสังคม ในแง่เศรษฐกิจ คือ ลดการวิจัยซ้ำซ้อนโดยอาศัยเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วย เป็นการประหยัดทรัพยากร ลดเวลาที่จะใช้ในการวิจัยเชิงทดลอง และแก้ปัญหาความซับซ้อนของการทดลองที่ต้องใช้ตัวแปรในการทดลองหลายๆตัว

1.3ประโยชน์ของการออกแบบวิจัยเพื่อพัฒนาโมเดล คือ
(1) ช่วยทำให้เกิดแนวคิดในการวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตัวแปรเชิงเหตุและผลโดยไม่ต้องใช้การทดลอง แต่ใช้ในการศึกษางานวิจัยในประเด็นเดียวกันย้อนหลังหรือการวิเคราะห์อภิมาน
(2) ช่วยให้มีการนำผลการวิจัยในอดีตมาบูรณาการและใช้ประโยชน์
(3) ทำให้ได้โมเดลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ด้วยการทดลองใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์
(4) ช่วยให้แนวทางในการวิจัยที่เชื่อถือได้ และได้ผลการวิจัยที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริงในการนำไปใช้ในบริบทที่เป็นธรรมชาติ

1.4 หลักการออกแบบวิจัยเพื่อพัฒนาโมเดล การวิจัยลักษณะนี้ จะกระทำได้ผู้วิจัยต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้วิจัยต้องมีความรู้ความสามารถในการออกแบบวิจัย
(2) ผู้วิจัยต้องรู้จักประเภทและเข้าใจธรรมชาติของตัวแปรในการวิจัยเป็นอย่างดี
(3) ผู้วิจัยต้องมีความรู้เป็นอย่างดีในตัวแปรที่นำมาใส่ในแผนแบบการวิจัย
(4) ผู้วิจัยต้องมีความรู้ในเรื่องของโมเดลที่เหมาะสมในการที่จะพัฒนาขึ้น
(5) ผู้วิจัยต้องมีความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการตรวจสอบโมเดล
(6) ผู้วิจัยต้องมีความเปิดกว้าง ยอมรับทฤษฎีใหม่ๆและงานวิจัยใหม่ๆที่มีผู้ทำขึ้นมา
(7) งานวิจัยต้องมีตัวแปรเกินและตัวแปรกลางที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรตามที่ศึกษา
(8) ต้องมีการออกแบบวิจัยที่สามารถควบคุมความแปรปรวนได้อย่างเหมาะสม
(9) ต้องมีขั้นตอนในการตรวจสอบความถูกต้อง(validate) ของโมเดลที่พัฒนาขึ้น


2.กระบวนการออกแบบวิจัยเพื่อพัฒนาโมเดล
กระบวนการหรือขั้นตอนของการออกแบบวิจัยเพื่อพัฒนาโมเดล มีขั้นตอนในการดำเนินงาน คือ
(1) การกำหนดปัญหาวิจัย/ชื่อเรื่องการวิจัย
(2) การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ศึกษา
(3) การศึกษางานวิจัยหรือสภาพปัจจุบันของสิ่งที่ศึกษา
(4) การตั้งสมมุติฐานการวิจัย เป็นการบรรยายถึงตัวแปรทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เป็นการทำนายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีข้อมูลสนับสนุน
(5) การกำหนดวิธีตรวจสอบความกลมกลืนหรือความตรงหรือความเป็นไปได้ของโมเดล
(6) การกำหนดกรอบประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
(7) การออกแบบและพัฒนาเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
(8) วิเคราะห์ข้อมูลและการปรับปรุงและนำเสนอโมเดลที่ปรับปรุงแล้ว
(9) ปรับปรุงและนำเสนอโมเดลที่ปรับปรุงแล้ว

3. กรณีตัวอย่างงานวิจัยเพื่อพัฒนาโมเดล
การศึกษางานวิจัยเพื่อพัฒนาโมเดล จะทำให้เข้าใจลักษณะและรูปแบบการดำเนินงานในขั้นตอนต่างๆ ได้เห็นจุดเด่นและจุดด้อยของการออกแบบในงานวิจัยที่นำมาเสมอ การได้ศึกษาจากเนื้อหาที่นำเสนอในเอกสาร การอภิปรายและวิเคราะห์จากผู้เขียนจะทำให้เห็นแนวทางในการศึกษาและวิเคราะห์งานวิจัยเพื่อพัฒนาโมเดลอื่นๆได้อย่างถูกต้องตามหลักการทางวิชาการ

(จะหาตัวอย่างมาเพิ่มค่ะ)

การออกแบบการวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาอิทธิพลปฏิสัมพันธ์

การออกแบบวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาอิทธิพลปฏิสัมพันธ์


ความหมาย
1. การออกแบบวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ เป็นการเขียนแผนหรือโครงการวิจัย ที่มีตัวแปรอิสระหรือตัวแปรทดลองตั้งแต่สองตัวขึ้นไป เพื่อใช้เสมือนเป็นพิมพ์เขียวในการดำเนินงานวิจัยความสำคัญของการออกแบบวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ คือ ช่วยในการควบคุมความแปรปรวนของผลการทดลอง และช่วยให้สามารถใช้แผนแบบการวิจัยควบคุมความแปรปรวนของตัวแปรเกินที่มีผลต่อตัวแปรตาม ช่วยให้ได้ผลการวิจัยที่มีความชัดเจน เที่ยงตรง และเป็นปรนัย เป็นไปตามหลัก Max-Min-Con

2 กระบวนการออกแบบวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ ประกอบด้วย กิจกรรม 8 ขั้นตอน คือ การนิยามตัวแปรอิสระและตัวแปรตามที่จะศึกษา การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ศึกษา การตั้งสมมุติฐานการวิจัย การเลือกแผนแบบการทดลอง การกำหนดกรอบประชากร และการเลือกตัวอย่าง การออกแบบและพัฒนาเครื่องมือ และวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การวางแผนการทดลองและการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวางแผนการวิเคราะห์ข้อมูล และการจัดทำ ตารางหุ่น

3. กรณีศึกษากรณีตัวอย่างงานวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ จะทำให้เห็นตัวอย่างของแผนแบบการวิจัยและกระบวนการออกแบบและดำเนินงานตามแผนแบบวิจัย ทำให้ได้เห็นจุดเด่น จุดด้อยในการนำไปใช้ในบริบทจริง รวมทั้งได้ฝึกวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อให้มีประสบการณ์ในการที่จะนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ได้อย่างเหมาะสมต่อไป




แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาอิทธิพลปฏิสัมพันธ์

1.ความหมายของการออกแบบวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาอิทธิพลปฏิสัมพันธ์
การออกแบบวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ เป็นการวางแผนและโครงสร้างของการวิจัยที่ทำเพื่อที่จะตอบคำถามวิจัย เกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผล (cause and effect) ระหว่างตัวแปร 2 ประเภทคือ ตัวแปรอิสระซึ่งเป็นตัวแปรเหตุ และตัวแปรตามหรือตัวแปรผล โดยที่ต้องการศึกษาความสัมพันธ์ในลักษณะที่มีตัวแปรอิสระมากกว่า 1 ตัว และแต่ละตัวมีระดับตัวแปรมากกว่า 1 ระดับ เป็นการกำหนดแผนและกิจกรรมในการดำเนินงานโดยแบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบคำถามวิจัยที่กำหนดไว้ และเพื่อควบคุมความแปรปรวนของการวิจัยทั้งที่เกิดจากตัวแปรทดลอง ตัวแปรเกิน (extraneous variable) ตัวแปรกลาง (moderator variable) และความแปรปรวนคาดเคลื่อน

2.ความสำคัญและประโยชน์ของการออกแบบวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาอิทธิพลปฏิสัมพันธ์
ความสำคัญของการออกแบบวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาอิทธิพลปฏิสัมพันธ์อาจแบ่งได้เป็นสองลักษณะ ลักษณะแรกเป็นความสำคัญของการออกแบบวิจัยที่ดีทั่วไป คือการช่วยให้ผู้วิจัยสามารถตอบคำถามวิจัยด้วยความถูกต้อง เชื่อถือได้ เป็นปรนัย และใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด ลักษณะที่สองช่วยทำให้เห็นกรอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ให้แนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งด้านเครื่องมือ วิธีการ และประเภทข้อมูลที่ต้องการ รวมทั้งแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล
สำหรับประโยชน์ของการออกแบบวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาอิทธิพลปฏิสัมพันธ์นั้น อาจมองได้ในแง่ของความตรงภายในของงานวิจัย นั่นคือ ประการแรก ทำให้สามารถแยกความแปรปรวนของตัวแปรอิสระที่มีต่อตัวแปรตามได้อย่างชัดเจนขึ้น อันเนื่องมาจากการออกแบบวิจัยที่นำตัวแปรเกินและตัวแปรกลางเข้ามาใส่ในแผนแบบวิจัย ประการที่สอง ช่วยให้สามารถควบคุมความแปรปรวนของตัวแปรเกินและเพิ่มความกระจ่างในสาเหตุของการเกิดตัวแปรตามมากกว่าการวิจัยเชิงทดลองแบบง่าย และทำให้ผลการวิจัยเป็นที่เชื่อถือได้ และนำไปใช้ได้ในบริบทที่เป็นธรรมชาติ ประการที่สอง ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถดำเนินการทดลองในด้านการวัดตัวแปรและการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างราบรื่น ประการที่สี่ ช่วยให้เกิดการควบคุมการทดลองด้วยหลัก MaxMinCon อย่างสมบูรณ์กว่าแผนแบบวิจัยทดลองอื่น ๆ ช่วยให้ตอบคำถามวิจัยได้อย่างเที่ยงตรง เป็นปรนัย และมีความถูกต้องชัดเจน ไม่คลุมเครือ ประการสุดท้าย คือ ช่วยให้ผู้สนใจ ได้นำผลการวิจัยไปใช้ได้อย่างเหมาะสม และเป็นประโยชน์มากขึ้นในทางปฏิบัติ


3.หลักการออกแบบวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาอิทธิพลปฏิสัมพันธ์
3.1หลักการออกแบบวิจัยเชิงทดลองทั่ว ๆ ไป คือ ต้องใช้หลัก Max-Min-Con มาพิจารณาในการออกแบบวิจัย ดังนี้
3.1.1ทำให้ความแปรปรวนอันเกิดจากการทดลองมีค่าสูงสุด (Maximization of Experimental Variance)
3.1.2 ลดความแปรปรวนคลาดเคลื่อนให้เหลือน้อยที่สุด (Minimization of Error Variance)
3.1.3การควบคุมอิทธิพลของตัวแปรเกิน (Control of Extraneous Variable)
1) การควบคุมด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มสองระดับ (randomization) หรือการจับคู่ (matching)
2) การควบคุมตัวแปรเกินที่พบว่ามีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม
3.2 หลักการในการใช้แผนแบบการทดลองเพื่อศึกษาอิทธิพลของปฏิสัมพันธ์


4. แผนแบบการทดลองเพื่อศึกษาอิทธิพลปฏิสัมพันธ์
4.1 แผนแบบการทดลองแบบแฟคทอเรียลแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Factorial Design-CRF)เป็นการออกแบบการวิจัยเชิงทดลองเมื่อต้องการศึกษาอิทธิพบของตัวแปรอิสระ ตั้งแต่สองตัวขึ้นไปในขณะเดียวกัน เพื่อศึกษาอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสอง การทดลองแบบนี้ ตัวแปรแต่ละตัวต้องมีระดับตั้งแต่ 2 ระดับขึ้นไป โดยมีข้อตกลงเบื้องต้นในการใช้ดังนี้
4.1.1 มีตัวแปรทดลองตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป
4.1.2 การกำหนดหน่วยทดลองเข้าในผลร่วม pq ทำแบบสุ่ม
4.1.3 การกำหนดระดับของตัวแปรทดลอง
4.1.4 การกำหนดหน่วยการทดลองเข้าสู่ตัวแปรทดลองร่วม
4.1.5 การเรียกชื่อแผนการทดลอง
4.1.6 ความหมายของตัวแปรทดลองคงที่และตัวแปรทดลองสุ่ม (Fixed and Random Factor)
4.2 แผนแบบการทดลองแบบสุ่มกลุ่ม (Randomized Block Factorial Design-RBF)
4.3 แผนแบบการทดลองแบบแฟคทอเรียลแยกส่วน (Split-Plot Factorial Design-SPF)
4.4 แผนแบบการทดลองแบบแฟคทอเรียลชนิดชั้นภูมิ (Hierarchical Factorial Design)





กระบวนการออกแบบวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาอิทธิพลปฏิสัมพันธ์

กระบวนการออกแบบการทดลอง มีขั้นตอนดังนี้

1. นิยามตัวแปรอิสระและตัวแปรตามที่จะศึกษา
การนิยามตัวแปรที่จะศึกษา เป็นขั้นเริ่มต้นของการวิจัยทั่ว ๆ ไปทุกประเภท ความแตกต่างอยู่ที่การศึกษาเชิงทดลอง ต้องการะบุตัวแปรตามประเภทที่เป็นตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ซึ่งในขั้นแรกนั้นอาจประกอบด้วยตัวแปรอิสระหลักที่ต้องการศึกษาและตัวแปรตาม

2. ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ศึกษา
ขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการออกแบบวิจัยเพื่อศึกษาอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ เนื่องจากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ศึกษานั้น นอกจากศึกษาเกี่ยวกับตัวแปรที่ต้องการศึกษาเช่นเดียวกับการวิจัยทั่วไปแล้ว การวิจัยเพื่อศึกษาอิทธิพลปฏิสัมพันธ์นั้น การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ต้องเน้นที่การศึกษาถึงตัวแปรอื่น ๆ นอกจากตัวแปรอิสระที่มีผลต่อ ตัวแปรตาม

3. ตั้งสมมติฐานการวิจัย
การทดสอบนัยสำคัญทางสถิติของการออกแบบวิจัยเพื่อศึกษาอิทธิพลปฏิสัมพันธ์นั้น จุดที่สนใจคือความมีนัยสำคัญของปฏิสัมพันธ์ สำหรับการตั้งสมมติฐานจึงมีการตั้งสมมติฐานทั้งที่เกี่ยวกับนัยสำคัญของผลหลัก คือ ผลของตัวแปรแต่ละตัวในแต่ละระดับของตัวแปรอีกตัว

4. เลือกแผนแบบการทดลอง
การเลือกแผนแบบการทดลองนั้น ผู้วิจัยต้องศึกษาหาความรู้ในแผนแบบที่สามารถนำมาใช้เพื่อศึกษาอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ ให้มีความรู้ในแผนแบบนั้นอย่างดี ทั้งในเรื่องของรูปแบบการจัดกลุ่มทดลองและการวัดหรือการเก็บข้อมูลจากการทดลอง

5. กำหนดกรอบประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
กำหนดกรอบประชากรว่าเป็นใคร หรืออะไร กำหนดลักษณะของการจัดหน่วยในการทดลอง กำหนดจำนวนตัวอย่างให้เหมาะสมกับสภาพการทดลอง และการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากประชากร และการสุ่มการทดลองให้กับกลุ่มตัวอย่าง ทั้งนี้การกำหนดกรอบประชากร การเลือกกลุ่มตัวอย่าง การกำหนดจำนวนตัวอย่าง และการจัดกลุ่มตัวอย่างนั้น ต้องให้สอดคล้องกับแผนแบบการวิจัยที่เลือกใช้

6. ออกแบบและพัฒนาเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

7. วางแผนการทดลองและการเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการนี้ ต้องระบุระยะเวลาการทดลอง อาจต้องมีการฝึกอบรมหรือประชุมตกลงกันในการทดลอง และการเก็บข้อมูลเพื่อให้มีความเข้าใจตรงกัน และมีความเป็นมาตรฐานเดียวกั้น ถ้าต้องใช้ผู้ทดลองหลายคน

8. วางแผนการวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำตารางหุ่น (Dummy Table)
เลือกวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลให้สอดคล้องกับแผนแบบการวิจัย การจัดทำตารางหุ่นหรือโครงสร้างการรายงานวิจัยจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ถูกต้อง และรวดเร็วขึ้น

(มีต่อ)